จุลสาร ราชดำเนิน

จุลสาร ราชดำเนิน รายงานความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจในแวดวงสื่อมวลชน ทั้งของไทย และของโลก

"ราชดำเนิน" เป็นชื่อจุลสารของสมาคมนักข่าวฯ ที่จัดทำขึ้นเพื่อรายงานความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจในแวดวงสื่อมวลชน ตั้งแต่ระดับนักข่าวภาคสนามของไทย ไปจนถึงองค์กรสื่อระดับโลก

15/03/2025

#กสทช

กสทช. ผ่านร่างประกาศสนับสนุนเนื้อหารายการที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม และกำหนดหลักเกณฑ์ social credit สำหรับประเมินคุณภาพเนื้อหารายการโทรทัศน์

จากมติที่ประชุมคณะกรรมการ กสทช. เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2568 เห็นชอบหลักเกณฑ์สนับสนุนรายการที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม โดยเน้นการสนับสนุนรายการสำหรับเด็กและเยาวชน รายการส่งเสริมเอกลักษณ์ท้องถิ่น และรายการที่ส่งเสริมความหลากหลายของสังคม

ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.พิรงรอง รามสูต กสทช.ด้านกิจการโทรทัศน์ เปิดเผยว่า ระบบ Social Credit จะใช้ควบคู่กับระบบวัดเรตติ้งปัจจุบัน โดยผู้ที่เข้าร่วมและมีผลประเมินดีจะได้รับเครื่องหมายรับรองคุณภาพเนื้อหาจาก กสทช. พร้อมสิทธิประโยชน์อื่นๆ เช่น ส่วนลดค่าธรรมเนียมรายปี และโควตาพิเศษในการพิจารณาสนับสนุนการผลิตเนื้อหา

🔴 อ่านเพิ่มเติม >> https://spbth.co/3FHoNpZ

หน้า 1 นสพ.ฉบับวันที่ 15 มี.ค.2568 #จุลสารราขดำเนิน  #ข่าววันนี้  #ข่าวล่าสุด
15/03/2025

หน้า 1 นสพ.ฉบับวันที่ 15 มี.ค.2568

#จุลสารราขดำเนิน #ข่าววันนี้ #ข่าวล่าสุด

14/03/2025

3 ทฤษฎีจิตวิทยาที่คนอยากรู้เรื่องใต้สะดือคนดัง นักวิชาการเด็ก-ครอบครัวชี้ผลกระทบจากข่าวทั้งบวกทั้งลบ ส่งผลระยะยาวต่อสังคม สร้างค่านิยมที่ผิดเพี้ยนสร้างมาตรฐานใหม่เรื่องเสรีทางเพศที่อันตรายต่อเด็กและวัยรุ่น แนะสื่อ-พิธีกรนำเสนอข่าวควรเติมความรู้ด้านกฎหมาย นักวิชาการสื่อชี้ สื่อหยุดนำเสนอเรื่องฉาวเมื่อไหร่เอไอก็หยุดฟีด “ไทยพีบีเอส” ตอกย้ำ สื่อเลี่ยงไม่ได้ ก็ต้องเติมแง่มุมที่เป็นประโยชน์สาธารณะ

อ่านต่อในคอมเมนต์

หน้า 1 นสพ.ฉบับวันที่ 14 มี.ค.2568 #จุลสารราขดำเนิน  #ข่าววันนี้  #ข่าวล่าสุด
14/03/2025

หน้า 1 นสพ.ฉบับวันที่ 14 มี.ค.2568

#จุลสารราขดำเนิน #ข่าววันนี้ #ข่าวล่าสุด

13/03/2025

Meta โดนสำนักข่าวในสหรัฐฯ และฝรั่งเศสฟ้อง เหตุละเมิดลิขสิทธิ์ใช้ผลงานคนอื่นมาเทรน AI
แม้ Meta จะเป็นแพลตฟอร์มใหญ่ที่มีข้อมูลผู้ใช้กว่า 3 พันล้านคนแล้ว แต่สุดท้ายก็ยังต้องพึ่งพาข้อมูลภายนอกเพื่อพัฒนาโมเดล AI อยู่ ส่งผลให้ล่าสุด Meta ต้องเผชิญคดีในสหรัฐฯ เนื่องจากการใช้เนื้อหาที่มีลิขสิทธิ์โดยไม่ได้รับอนุญาตในการนำมาเทรน Llama ซึ่งเป็น AI ของ Meta
รวมถึงสมาคมสำนักพิมพ์ฝรั่งเศส (SNE) ซึ่งเป็นตัวแทนของสำนักพิมพ์รายใหญ่อย่าง Hachette และ Editis ได้ร่วมกับสมาคมนักเขียน SGDL และสหภาพนักเขียน SNAC ในการยื่นฟ้องต่อศาลด้านทรัพย์สินทางปัญญาในปารีสเมื่อวันพุธที่ผ่านมา ในข้อหาที่ Meta ละเมิดลิขสิทธิ์โดยการใช้หนังสือของพวกเขาโดยไม่ได้รับอนุญาตอีกด้วย
โดยทั้งกลุ่มนักเขียนในสหรัฐฯ และสำนักพิมพ์ฝรั่งเศสพบว่าเนื้อหาที่ AI ของ Meta สร้างออกมามีความคล้ายคลึงกับผลงานของพวกเขา ซึ่งเป็นตัวชี้ว่าข้อมูลเหล่านี้ถูกดึงมาจากแหล่งละเมิดลิขสิทธิ์ สาเหตุอาจเป็นเพราะ OpenAI เติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดดตั้งแต่ปี 2022 ทำให้ Mark Zuckerberg เจ้าของ Meta ต้องการพัฒนาโมเดล AI ของ Meta ให้เป็นคู่แข่งของ OpenAI
ซึ่งการเร่งพัฒนา AI ของตัวเองให้ตามทัน OpenAI ต้องอาศัยข้อมูลเพิ่มเติมมากมาย The New York Times รายงานว่าก่อนหน้านี้ Meta ได้มีการประชุมภายในและเสนอแนวคิดซื้อลิขสิทธิ์หนังสือเล่มละ 10 ดอลลาร์ หรือซื้อสำนักพิมพ์ Simon & Schuster นอกจากนี้ Meta ยังมีการหารือเกี่ยวกับการรวมรวบข้อมูลเพิ่มเติมจากหนังสือ บทความ และผลงานอื่น ๆ จากอินเทอร์เน็ตโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้จะเสี่ยงต่อการโดนฟ้องร้องก็ตาม
จนในที่สุด Meta ก็มีการใช้ข้อมูลที่ละเมิดลิขสิทธิ์ทั้งที่รู้ว่าเข้าข่ายผิดกฎหมาย เนื่องจากข้อมูลของผู้ใช้งานบนแพลตฟอร์มไม่เพียงพอต่อการเทรน AI ด้วยปัจจัยต่าง ๆ เช่น ผู้ใช้มักลบโพสต์เก่า, โพสต์ส่วนใหญ่มีเนื้อหาสั้น ซึ่งไม่เหมาะกับการฝึกโมเดลภาษา และรูปแบบการเขียนไม่ตรงกับลักษณะของแชตบอตที่ต้องการข้อมูลที่เป็นทางการ เป็นต้น
Meta จึงต้องการแหล่งข้อมูลใหม่ และต้องเผชิญกับคดีความตามที่กล่าวไปข้างต้น ซึ่งหากศาลตัดสินให้ Meta จ่ายค่าชดเชย ในอนาคตสำนักข่าวทั่วโลกอาจฟ้องดำเนินคดีในลักษณะเดียวกันเพื่อเรียกร้องค่าเสียหาย และอาจส่งผลให้ Meta ต้องเผชิญกับคดีความจำนวนมากได้
เช่นเดียวกัน OpenAI ที่ประสบปัญหาเรื่องการใช้เนื้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ในรูปแบบเดียวกัน แม้จะเป็นความเสี่ยงในการถูกฟ้องร้องและเรียกค่าปรับจำนวนมาก แต่ท้ายที่สุดบริษัทที่เข้าถึงแหล่งข้อมูลที่ดีที่สุดจะได้เปรียบในการพัฒนา AI เพราะได้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพและแม่นยำกว่า นี่จึงอาจเป็นสาเหตุที่ทั้ง Meta และ OpenAI กล้าเสี่ยงในครั้งนี้
อย่างไรก็ตามการละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย และจะถูกนำเข้าสู่กระบวนการพิจาณคดี ซึ่งอาจกินเวลาหลายปี รวมถึงระหว่างนั้นกฎหมายเกี่ยวกับการฝึก AI อาจเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งอาจส่งผลต่อผลลัพธ์ของคดีความในอนาคตก็เป็นได้ ส่วนข้อสรุปของเรื่องนี้จะเป็นอย่างไรคงต้องติดตามกันต่อไป
ที่มา: https://www.socialmediatoday.com/news/meta-faces-lawsuit-france-copyright-protected-works-ai-llm/742369/
อ่านบนเว็บไซต์ https://www.rainmaker.in.th/meta-ai-copyright-lawsuit/
-----
🎲 iCreator Camp Gen 2 Presented by SONY: Pave to the Top
♟️ แคมป์ปั้นครีเอเตอร์ฟรี คัดเลือกแค่ 100 คนเท่านั้น!
📌 สมัครตั้งแต่วันนี้ - 17 มี.ค. 68: https://www.rainmaker.in.th/icreatorcamp2025
-----
💙 ช่องทางการติดตาม RAiNMaker 💙
→ page: Rainmaker
→ Website: www.rainmaker.in.th
→ X: https://twitter.com/rainmakerth
→ YouTube: https://www.youtube.com/

13/03/2025

คอลเซนเตอร์ เขียนแบบนี้
ส่องป้ายสำคัญ ที่แปะท่ามกลางคนข่าวในกองบรรณาธิการ ONE NEWS
ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา มีประเด็นหนึ่งที่เข้ามาพัวพันกับสังคมไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้มายาวนาน เกี่ยวข้องทั้งกับกลุ่มคนบริหารประเทศระดับบน ไปจนถึงกลุ่มคนชนชั้นรากหญ้าที่มีสมาร์ตโฟนใช้ นั่นคือ 'การหลอกลวงทางคอลเซนเตอร์' หรือ 'สแกมเมอร์' อย่างที่เราเห็นจากหน้าสื่อ และคลิปฮา ๆ บน TikTok ที่ผู้คนทั่วไปมากมายต่างโดนเบอร์โทรศัพท์ของแก๊งคอลเซนเตอร์โทรหากันเป็นว่าเล่น และต้องหากระบวนการโต้ตอบแบบปั่น ๆ กันเอาเองให้คนร้ายรำคาญแล้ววางหูไป
ในวงการสื่อเองก็มีการนำเสนอข่าวนี้อยู่หลายครั้ง และเกิดเป็นภาพน่าสนใจที่วันนี้ SUM UP One Shot เก็บมาฝากกันจากตึก GMM GRAMMY ถัดจากชั้นที่เราทำงานอยู่ขึ้นไปเพียงไม่กี่ชั้น นั่นคือชั้นของกองบรรณาธิการข่าว 'ONE NEWS' นั่นเอง ซึ่งที่ประตูกระจกบานหนึ่งมีแผ่นกระดาษ A4 แปะเอาไว้เด่น ๆ เลยว่า "คอลเซนเตอร์ เขียนแบบนี้" จนเราเกิดความสงสัย และเดินไปถามคนทำงานที่นั่งอยู่แถวนั้นว่าทำไมต้องมีป้ายนี้เอาไว้
ฝ่ายโปรดิวเซอร์ของกองคนหนึ่งบอกกับเราว่า การมีป้ายนี้ติดเอาไว้ในออฟฟิศของกองเพื่อให้เป็นที่รู้กันว่าคำนี้ต้องเขียนแบบนี้ เพราะจริง ๆ แล้ว คำว่า 'Call Center' เขียนทับศัพท์ได้ 2 รูปแบบ นั่นคือ 'คอลเซนเตอร์' และ 'คอลเซ็นเตอร์' ซึ่งโดยปกติแล้วเวลาทำชิ้นงานสื่อสารครั้งหนึ่ง ไม่ว่าจะภาพปกข่าว แถบเฮดไลน์ข่าวบนหน้าจอโทรทัศน์ หรือแคปชันประกอบเนื้อความข่าวก็จะมีคนตะโกนถามข้ามโต๊ะอยู่เสมอว่าคำนี้ต้องสะกดแบบไหนกันแน่
และเพื่อให้เป็นกฎเกณฑ์ร่วมกันจึงต้องแปะป้ายนี้เอาไว้ว่าที่กองบรรณาธิการข่าวนี้จะใช้คำที่มีการสะกดแบบนี้ เพื่อให้เป็นรูปแบบเดียวกันทั้งระบบ และไม่เกิดข้อสงสัยต่อผู้ชมหรือผู้ติดตามเนื้อหาของเราว่าจริง ๆ แล้วคำนี้มันสะกดแบบไหน ซึ่งจริง ๆ มันสะกดได้ทั้ง 2 แบบนั่นแหละ แต่ในทางปฏิบัติแล้วเราควรจะเลือกหนทางใดหนทางหนึ่งเพื่อให้เป็นระบบเดียวกัน นั่นจึงเป็นที่มาที่เรามักเห็นว่าทำไมสื่อนั้นสะกดคำนี้แบบนั้น แล้วอีกสื่อสะกดคำเดียวกันอีกแบบ ที่ก็ถูกต้องเหมือนกันนั่นเอง
เรื่อง : ศุภณัฐ เลิศรักษ์กุล
ภาพ : ศดิศ ศาสตร์ปรีชา
กราฟิก : มณฑล ชลสุข

----------
ติดตาม SUM UP บนช่องทางต่าง ๆ https://linktr.ee/sumup.th
อ่านทุกเรื่องบนเว็บไซต์ https://www.sumupth.com/
----
#คอลเซนเตอร์
#คอลเซ็นเตอร์
#แก๊งคอลเซนเตอร์
#แก๊งคอลเซ็นเตอร์
#สำนักข่าววันนิวส์
#ข่าวช่องวัน


หน้า 1 นสพ.ฉบับวันที่ 13 มี.ค.2568 #จุลสารราขดำเนิน  #ข่าววันนี้  #ข่าวล่าสุด
13/03/2025

หน้า 1 นสพ.ฉบับวันที่ 13 มี.ค.2568

#จุลสารราขดำเนิน #ข่าววันนี้ #ข่าวล่าสุด

12/03/2025

ถ้า AI ทำข่าวแทนคน

12/03/2025
12/03/2025

จริยธรรมสื่อ ว่าด้วยเสรีภาพภายใต้ความรับผิดชอบ และการซ้ำเติมชะตากรรมผู้สูญเสีย

12/03/2025

งานวิจัยพบโซเชียลมีเดียและเว็บไซต์บันเทิงมีอิทธิพลทางการเมืองมากกว่าที่คิด
เมื่อพูดถึงแหล่งข้อมูลข่าวสารทางการเมือง หลายคนก็คงจะคิดถึงเว็บไซต์ของสำนักข่าวต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศที่คอยรายงานข่าวสารทางการเมืองให้ผู้ติดตามได้รับรู้ อย่างไรก็ตาม งานวิจัยชิ้นล่าสุดที่ถูกเผยแพร่ในวารสาร Political Communiation ชี้ให้เห็นว่า ข่าวสารทางการเมืองส่วนใหญ่ที่ผู้คนพบเห็นทางออนไลน์และมีอิทธิพลต่อความคิดของผู้คนกลับไม่ได้มาจากเว็บไซต์ของสำนักข่าวโดยตรง
งานวิจัยได้ทำการวิเคราะห์พฤติกรรมออนไลน์ของผู้คนในประเทศเนเธอร์แลนด์ สหรัฐอเมริกา และโปแลนด์ พบว่า 66% ของเนื้อหาทางการเมืองที่ผู้คนพบเห็นออนไลน์มาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของสำนักข่าว เช่น โซเชียลมีเดีย บล็อก ฟอรั่ม และเว็บไซต์บันเทิงต่างๆ
สิ่งที่น่าสนใจคือ ผู้เข้าร่วมงานวิจัยในครั้งนี้แทบจะไม่เคยเข้าเว็บไซต์ของสำนักข่าวเลย การเข้าไปอ่านข่าวในเว็บไซต์ของสำนักข่าวโดยตรงคิดเป็นเพียง 3.4% ของกิจกรรมออนไลน์ทั้งหมด หรือถ้าพวกเขาเข้าไปในเว็บไซต์ของสำนักข่าวก็มีเพียง 26% เท่านั้นที่เข้าไปอ่านเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการเมือง ซึ่งคิดเป็นน้อยกว่า 1% ของกิจกรรมออนไลน์ทั้งหมด
การค้บพบนี้สะท้อนให้เห็นว่าเนื้อหาทางการเมืองจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของสำนักข่าวมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมและมุมมองทางการเมืองของผู้คนไม่ว่าพวกเขาจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม ข้อมูลทางการเมืองที่ได้รับจากโพสต์บนโซเชียลมีเดีย บทความในบล็อก วิดีโอ หรือเว็บไซต์ทั่วไป ล้วนมีบทบาทสำคัญในการกำหนดมุมมองและการมีส่วนร่วมทางการเมืองของผู้คนในสังคมแทบทั้งสิ้น
งานวิจัยดังกล่าวได้แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในวิธีที่ผู้คนได้รับข้อมูลข่าวสารทางการเมือง และเว็บไซต์ของสำนักข่าวก็ไม่ได้เป็นแหล่งข้อมูลหลักสำหรับหลายๆ คนแล้ว ดังนั้น สิ่งสำคัญที่สุดในฐานะผู้รับข่าวสารก็คือการตระหนักรู้ถึงแหล่งที่มาของข้อมูลและเลือกบริโภคข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องและน่าเชื่อถือ ก่อนที่ตัวเองจะแชร์เนื้อหาที่ไม่ถูกต้องนั่นเอง
#ข่าวสาร #โซเชียลมีเดีย

หน้า 1 นสพ.ฉบับวันที่ 12 มี.ค.2568 #จุลสารราขดำเนิน  #ข่าววันนี้  #ข่าวล่าสุด
12/03/2025

หน้า 1 นสพ.ฉบับวันที่ 12 มี.ค.2568

#จุลสารราขดำเนิน #ข่าววันนี้ #ข่าวล่าสุด

11/03/2025
หน้า 1 นสพ.ฉบับวันที่ 11 มี.ค.2568 #จุลสารราขดำเนิน  #ข่าววันนี้  #ข่าวล่าสุด
11/03/2025

หน้า 1 นสพ.ฉบับวันที่ 11 มี.ค.2568

#จุลสารราขดำเนิน #ข่าววันนี้ #ข่าวล่าสุด

หน้า 1 นสพ.ฉบับวันที่ 10 มี.ค.2568 #จุลสารราขดำเนิน  #ข่าววันนี้  #ข่าวล่าสุด
10/03/2025

หน้า 1 นสพ.ฉบับวันที่ 10 มี.ค.2568

#จุลสารราขดำเนิน #ข่าววันนี้ #ข่าวล่าสุด

09/03/2025
หน้า 1 นสพ.ฉบับวันที่ 9 มี.ค.2568 #จุลสารราขดำเนิน  #ข่าววันนี้  #ข่าวล่าสุด
09/03/2025

หน้า 1 นสพ.ฉบับวันที่ 9 มี.ค.2568

#จุลสารราขดำเนิน #ข่าววันนี้ #ข่าวล่าสุด

ที่อยู่

538/1 ตรงข้ามโรงพยาบาลวชิระ ถนนสามเสน เขตดุสิต
กรุงเทพ
10300

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ จุลสาร ราชดำเนินผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ ธุรกิจของเรา

ส่งข้อความของคุณถึง จุลสาร ราชดำเนิน:

วิดีโอทั้งหมด

แชร์