กลุ่มวิเคราะห์ดิน สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 11

กลุ่มวิเคราะห์ดิน สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 11 มีหน้าที่วิเคราะห์ดิน ปุ๋ยอินทรีย์ และให้คำแนะนำการปรับปรุงดิน การใส่ปุ๋ยแก่เกษตรกร

ต้องการลดการใส่ปุ๋ยเคมี ต้องทำให้ดินมีอินทรียวัตถุเพิ่มขึ้นดินดำหรือดินที่มีอินทรียวัตถุสูง มีผลต่อการดูดซับธาตุอาหารในด...
09/06/2025

ต้องการลดการใส่ปุ๋ยเคมี ต้องทำให้ดินมีอินทรียวัตถุเพิ่มขึ้น

ดินดำหรือดินที่มีอินทรียวัตถุสูง มีผลต่อการดูดซับธาตุอาหารในดิน จากคลิปก่อนที่บอกว่า “ในฝนจะมีธาตุอาหารบางชนิด” ซึ่งพืชสามารถนำไปใช้ได้ แต่ถ้าหากดินในแปลงของเราเป็นดินทรายที่มีอินทรียวัตถุต่ำ จะกักเก็บธาตุอาหารจากฝนได้น้อยลงนั้นเอง

เมื่อดินมีคุณภาพดี อินทรียวัตถุสูง จึงเปรียบได้ว่า เรามีภาชนะใบใหญ่ที่จะรองรับธาตุอาหารจากฝนเพื่อไว้ให้พืชได้ใช้ จึงช่วยลดการใส่ปุ๋ยเคมีลงในแปลงเพาะปลูกของเราได้

การวิเคราะห์อินทรียวัตถุในดินจึงมีความสำคัญมาก โดยจะต้องวิเคราะห์ในห้องแลป หากสังเกตุด้วยสายตา
- ดินสีอ่อนจะมีอินทรียวัตถุต่ำ
- ดินสีเข้มจะมีอินทรียวัตถุสูง ตามความเข้มของสีดิน

ภาพที่ 1 ดินมีอินทรียวัตถุ ประมาณ 1.2%
ภาพที่ 2 ดินมีอินทรียวัตถุ ประมาณ 3.0%

จากทฤษฎี ดินจากกักเก็บไนโตรเจนในดินได้ 5% แสดงว่า
- อินทรียวัตถุ 1.2% กักเก็บไนโตรเจนได้ 0.06%
- อินทรียวัตถุ 3.0% กักเก็บไนโตรเจนได้ 0.15%

ปริมาณไนโตรเจนที่ควรมีในดิน คือ 0.2%

แสดงว่า หากมีฝนตก ดินที่มีอินทรียวัตถุสูงสามารถกักเก็บไนโตรเจนและธาตุอื่นๆ ไว้ในดินได้มาก เพื่อให้พืชนำไปใช้ในการเจริญเติบโตและสร้างผลผลิต

เพราะฉะนั้นการเพิ่มอินทรียวัตถุ โดยการใส่ปุ๋ยอินทรีย์อย่างสม่ำเสมอ ช่วยให้พี่น้องเกษตรกรลดการใช้ปุ๋ยเคมีได้ในช่วงฤดูฝนครับ

#กลุ่มวิเคราะห์ดิน_สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต11
#อินทรียวัตถุ

เราลองมาศึกษารายงานผลการวิเคราะห์ดินฉบับนี้กันครับเกษตรกรที่เข้ามาปรึกษาเรื่องการวิเคราะห์ดิน แอดจะบอกเสมอว่าครั้งแรกให้...
08/06/2025

เราลองมาศึกษารายงานผลการวิเคราะห์ดินฉบับนี้กันครับ

เกษตรกรที่เข้ามาปรึกษาเรื่องการวิเคราะห์ดิน แอดจะบอกเสมอว่าครั้งแรกให้เข้ามารับผลด้วยตัวเองก่อน เพราะหากไม่มีความรู้เรื่องการอ่านผลการวิเคราะห์ดิน อาจทำความเข้าใจรายงานได้ยาก จากรายงานจะอธิบายได้ดังนี้ครับ

ดินแปลงนี้ กำลังจะปลูกทุเรียน แสดงว่าตอนนี้ยังไม่ได้เริ่มปลูก ซึ่งมีวิธีการปรับปรุงดินตามสภาพพื้นที่ครับ รายงานจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ

1. ปัญหาดิน และการแก้ไข
2. การใช้ปุ๋ยตามความต้องการของพืช

ส่วนที่ 1 ปัญหาดิน
- กรดด่างในดิน ที่ดินแปลงนี้ มี pH 5.05 เป็นกรดจัด ควรจะต้องปรับปรุงดินด้วยวัสดุปูน เพื่อให้ pH เป็นกลาง เมื่อปลูกทุเรียนจะได้ใช้ปุ๋ยทางดินได้ดี และลดการเกิดโรคทางดินครับ โดยแนะนำให้ใส่ปูนตามตาราง แอดมินจะแนะนำให้ใช้โดโลไมท์ 1,020 kgต่อไร่ โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง ครั้งละ 510 kg ระยะห่างกัน 6 เดือน หรือจะใส่เฉพาะทรงพุ่มก็ได้แต่ต้องคำนวณพื้นที่ทรงพุ่มครับ

- อินทรียวัตถุ 2.68% อยู่ในระดับสูง ให้ใส่ปุ๋ยอินทรีย์อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อลดการเกิดโรค

- ค่าการนำไฟฟ้า 0.027 dS/m บอกได้ว่าดินไม่เค็ม พืชจะใช้ปุ๋ยทางดินได้ดี

แสดงว่าดินมีปัญหาเรื่องดินกรดครับ

ส่วนที่ 2 ธาตุอาหารในดิน
- ธาตุไนโตรเจน จะคำนวณจากอินทรียวัตถุในดิน คือ 2.68 x5/100 =0.134% มีค่อนข้างสูงแต่ยังไม่พอดีจะต้องให้ปุ๋ยไนโตรเจนเพิ่ม

- ธาตุฟอสฟอรัส 1.54 mg/kg ระดับต่ำมาก จะต้องใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัสเพิ่ม

-ธาตุโพแทสเซียม 80 mg/kg ระดับปานกลาง จะต้องใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมเพิ่ม

ธาตุอาหารที่มีน้อยในดินคือฟอสฟอรัสครับ

โดยการแนะนำปุ๋ย จะมีทั้งแม่ปุ๋ย 3 ชนิด และปุ๋ยสูตร ให้เลือกใส่ เช่นสูตร 26-15-15 หรือ 16-10-10 ปุ๋ยสูตรนี้เป็นสูตรตามความต้องการของพืชที่หักลบธาตุอาหารในดินแล้ว ซึ่งเกษตรอาจต้องผสมเองครับ หากต้องการซื้อสำเร็จ ให้เลือกสูตรใกล้เคียงครับ โดยปริมาณที่ให้ไว้เป็นต่อต้นต่อปี หากต้องการใส่ เดือนละ 1 ครั้งให้นำ 12 ไปหาร

คำอธิบายยาวหน่อยครับ การแนะนำจะแตกต่างกันไปตามชนิดของพืช ซึ่งแอดมินจะต้องพิจารณาทั้งเนื้อดิน ลักษณะพื้นที่ ปัญหาที่เกษตรกรพบเจอมา รวมไปถึงผลผลิตที่เกษตรได้รับ และความต้องการที่จะพัฒนาแปลงเพาะปลูกครับ

#กลุ่มวิเคราะห์ดิน_สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต11

วิธีการจัดการดินง่ายๆ หลังจากพี่น้องเกษตรกรได้รับผลการวิเคราะห์ดินมีดังนี้1. หากดินในแปลงเป็นดินกรด ให้ปรับดินให้เป็นกลา...
08/06/2025

วิธีการจัดการดินง่ายๆ หลังจากพี่น้องเกษตรกรได้รับผลการวิเคราะห์ดินมีดังนี้

1. หากดินในแปลงเป็นดินกรด ให้ปรับดินให้เป็นกลาง ด้วยวัสดุปูนทางการเกษตร ปริมาณที่ใส่บอกในรายงาน

2. ใส่ปุ๋ยเคมีตามผลวิเคราะห์ดิน

3. ใส่ปุ๋ยอินทรีย์อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ถ้าใส่ได้ 6 เดือนครั้งจะดีมากๆ ครับ

3 สิ่งนี้เป็นวิธีง่ายๆ แต่แฝงไปด้วยความหมายที่ลึกซึ้ง หากเพื่อนๆ มีคำถาม สอบถามได้เลยครับ แอดมินยินดีตอบให้ครับ

#กลุ่มวิเคราะห์ดิน_สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต11

อาการขาดธาตุแมกนีเซียม (ภาพที่1) อาการขาดโบรอน (ภาพที่2)ในพืชปาล์มน้ำมัน หรือพืชตระกูลปาล์มอื่นๆทำไมอาการขาดธาตุอาหารจึง...
05/06/2025

อาการขาดธาตุแมกนีเซียม (ภาพที่1)
อาการขาดโบรอน (ภาพที่2)
ในพืชปาล์มน้ำมัน หรือพืชตระกูลปาล์มอื่นๆ

ทำไมอาการขาดธาตุอาหารจึงเกิดมากในปาล์มน้ำมัน

เพราะปาล์มน้ำมันใช้ธาตุอาหารในการสร้างทะลายค่อนข้างสูง และนำชิ้นส่วนทะลายออกจากแปลงทำให้ธาตุอาหารไม่หมุนเวียนลงในดิน เมื่อเจ้าของสวนขาดการใส่ปุ๋ยจึงทำให้ต้นปาล์มแสดงอาการขาดธาตุอาหาร ส่งผลให้ผลผลิตลดลง

เมื่อวานนี้แอดมินเดินทางไปเยี่ยมเกษตรกรแปลงใหญ่ปาล์มน้ำมัน โครงการวิเคราะห์ดิน อ.ถ้ำพรรณรา จ.นครศรีธรรมราช เจ้าของแปลงปาล์มน้ำมันแปลงหนึ่งสอบถามว่าปาล์มน้ำมันใบเหลืองเกิดจากอะไร ทำให้เกิดการซักถามเรื่องการใช้ปุ๋ย พบว่า ไม่ได้ใส่แมกนีเซียม และโบรอนมาหลายปีแล้ว ได้ผลผลิตต่ำด้วย จากผลการวิเคราะห์ดิน มี pH 4.5 เมื่อทราบพฤติกรรมของเกษตรกร แอดมินจึงสามารถ

มีข้อแนะนำดังนี้

1. ใส่ปุ๋ยตามผลวิเคราะห์ เช่น 13-7-23 ปริมาณ 9.9 kg/ต้น/ปี ให้แบ่งใส่ 3 ครั้ง ช่วงนี้ราคาปาล์มน้ำมันถูก เราใส่ปุ๋ยประมาณนี้ต้นปาล์มเจริญเติบโตได้ดีครับ

2. หลังจากใส่ปุ๋ย 2 เดือน ให้ใส่โดโลไมท์เพื่อปรับสภาพดินกรด ซึ่งโดโลไมท์มี Ca25 % Mg 15% เพียงพอต่อความต้องการของปาล์มน้ำมัน หากใส่โดโลไมท์เป็นแหล่งธาตุอาหารให้ใส่ประมาณ 2 kgต่อต้น โดโลไมท์เป็นแร่ธรรมชาติ เมื่อละลายน้ำจะค่อยๆ ปล่อยธาตุ Ca และ Mg ออกมาซึ่งจะแตกต่างกับ คีเซอไรด์ ที่ปลดปล่อยอย่างรวดเร็ว และโดโลไมท์มีราคาถูกกว่ามาก เป็นทางเลือกให้แก่เกษตรกรครับ

3. ใส่โบร่อน 130 g ต่อต้นต่อปี อาการขาดโบร่อนในปาล์มน้ำมันจะเกิดที่ยอดอ่อนก่อน และยอยจะเปลี่ยนเป็นใบแก่ อาการนี้จะไม่หายไป ทำให้สังเคราะห์แสงสร้างสารอาหารได้น้อย ใบอ่อนแอ หากใส่ 130 g ตามความต้องการแล้วยังมีอาการขาด แสดงว่าลักษณะภูมิประเทศไม่เหมาะสม เป็นที่ลาด หรือถูกน้ำพัดพา ให้เพิ่มปริมาณการใส่เป็น 200 g

4. ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ หรือมูลสัตว์ ปีละ 1 ครั้งเพื่อเป็นแหล่งจุลธาตุ Fe Cu Zn Mn B Cl เป็นต้น

ขอให้เจ้าของแปลงทุกท่านฝึกสังเกตุพืชที่ท่านปลูก เพื่อจะได้แก้ปัญหาได้ทันครับ 😊🙏

#ปาล์มน้ํามัน
#กลุ่มวิเคราะห์ดิน_สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต11

เกษตรกรสอบถามว่าใบปาล์มน้ำมันเป็นโรคอะไร ส่งตรวจได้หรือไม่อาการใบเป็นจุดสีส้มนูน มีการขยาย แสดงถึงราที่เจริญเติบโตได้ดีบ...
04/06/2025

เกษตรกรสอบถามว่าใบปาล์มน้ำมันเป็นโรคอะไร ส่งตรวจได้หรือไม่

อาการใบเป็นจุดสีส้มนูน มีการขยาย แสดงถึงราที่เจริญเติบโตได้ดีบนใบปาล์มน้ำมัน เรียกว่า ใบจุดสาหร่าย หรือราสนิม เมื่อเกิดขึ้นทำให้ใบปาล์มน้ำมันสังเคราะห์แสงได้น้อยลง ส่งผลใบผลิตสารอาหารไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ได้น้อย จะเกิดในช่วงฝนตกชุก ความชื้นสูง เป็นมากที่ใบล่างใกล้พื้นดินครับ

แก้ปัญหาโดยการตัดแต่งทางใบล่างออก เพื่อให้ต้นปาล์มน้ำมันมีความโปร่ง อากาศถ่ายเทได้ดีครับ

#ปาล์มน้ํามัน
#กลุ่มวิเคราะห์ดิน_สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต11

การขาดธาตุแมกนีเซียมภาพต้นโมก เป็นไม้ประดับ ดอกมีกลิ่นหอม มีลักษณะของการขาดธาตุแมกนีเซียม ซึ่งลักษณะการขาดธาตุแมกนีเซียม...
31/05/2025

การขาดธาตุแมกนีเซียม

ภาพต้นโมก เป็นไม้ประดับ ดอกมีกลิ่นหอม มีลักษณะของการขาดธาตุแมกนีเซียม ซึ่งลักษณะการขาดธาตุแมกนีเซียมในพืชอื่นจะแสดงอาการคล้ายกัน คือ “ใบเหลืองเส้นใบเขียว”

ความสำคัญของธาตุแมกนีเซียม เป็นส่วนประกอบของคลอโรฟิลหรือสารสีเขียวในพืช หากมีการขาดจะทำให้ใบเหลืองเส้นใบเขียว มีพื้นที่สังเคราะห์แสงได้น้อยลง ทำให้พืชเจริญเติบโตช้า ให้ผลผลิตต่ำ

วิธีการแก้ไข ให้ใส่ปุ๋ยหรือสารปรับปรุงดินที่มีแมกนีเซียมเป็นส่วนประกอบ ยกตัวอย่างเช่น
1. ปูนโดโลไมท์ ให้ใส่บางๆ ในทรงพุ่ม ปูนชนิดนี้มี Ca 25% Mg 15%
2. ปุ๋ยอินทรีย์ มีธาตุอาหารพืชครบ 14 ชนิด รวมทั้ง Mg ด้วย หว่านในทรงพุ่ม 1-2 kg ตามขนาดทรงพุ่ม

ธาตุอาหารในดินมีการลดลงตลอดเวลาเมื่อพืชนำไปใช้ เราจึงควรใส่ปุ๋ยอย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันการขาดธาตุอาหารของพืช

#กลุ่มวิเคราะห์ดิน_สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต11

กรดในดินมีทั้งกรดจริงและกรดแฝง เป็นปัญหาสำคัญของเกษตรกรทั้งประเทศ-กรดจริงคือกรดที่ละลายออกมาจากดินได้ง่ายด้วยน้ำ-กรดแฝง ...
29/05/2025

กรดในดินมีทั้งกรดจริงและกรดแฝง เป็นปัญหาสำคัญของเกษตรกรทั้งประเทศ

-กรดจริงคือกรดที่ละลายออกมาจากดินได้ง่ายด้วยน้ำ
-กรดแฝง คือกรดที่อยู่ในอนุภาคดิน จะต้องใช้สารเคมี (สารละลายสีเหลืองในภาพ เรียกว่า woodruff’s buffer) ในการทำให้กรดแฝงออกมา

การตรวจวิเคราะห์ ทั้งกรดจริงและกรดแฝง เป็นการวิเคราะห์ความต้องการปูน ทำให้ทราบปริมาณปูนเป็นกิโลกรัมต่อไร่ในการปรับปรุงดินกรด โดยปูนที่ทางกลุ่มวิเคราะห์ดินแนะนำนั้นมี 3 ประเภท คือ
- หินปูนบด
- ปูนขาว
- โดโลไมท์

เป็นปูนทางการเกษตรที่ราคาไม่แพง แอดมินจะแนะนำโดโลไมท์ทุกครั้ง เพราะหาได้ง่าย ยังให้ธาตุรองที่พืชต้องการ 2 ชนิด คือ Ca 25% Mg 15%

การปรับปรุงดินกรดมีความสำคัญมากสำหรับเกษตรกรทั้งประเทศ เพราะปัจจุบัน เราใช้ปุ๋ยเคมีเป็นจำนวนมาก ปุ๋ยเคมีเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ดินเป็นกรด เป็นผลให้พืชของเกษตรกรใช้ปุ๋ยได้น้อย ส่งผลให้ผลผลิตลดลง และยังทำให้พืชเกิดโรคทางดินได้ง่าย

เราจึงควรส่งตัวอย่างดินวิเคราะห์คุณภาพอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อปรับปรุงดินกรดครับ

ภาพที่ 1 woodruff’s buffer ใช้สำหรับตรวจกรดแฝงในดิน
ภาพที่ 2 ปูนโดโลไมท์ใช้ปรับปรุงดินกรด

#ดินกรด
#กลุ่มวิเคราะห์ดิน_สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต11

พื้นที่ดินกรดที่เราพอจะสังเกตุด้วยสายตา คือ จะเห็นสีเหลืองส้ม ในชั้นใต้ดินเมื่อเราขุดลึกลงไปประมาณ 30-100 cm ซึ่งผลึกสีเ...
28/05/2025

พื้นที่ดินกรดที่เราพอจะสังเกตุด้วยสายตา คือ จะเห็นสีเหลืองส้ม ในชั้นใต้ดินเมื่อเราขุดลึกลงไปประมาณ 30-100 cm ซึ่งผลึกสีเหลืองส้มนี้เป็นกำมะถันที่สะสมในดิน ในพื้นที่น้ำทะเลเคยท่วมถึงมาก่อน เป็นผลให้เราแก้ยังดินกรดก็ไม่หายไปจากพื้นที่ทำการเกษตรของเราสักที เพราะมีกำมะถันที่เข้มข้น ปลดปล่อยกรดออกมาสู้ชั้นที่เราปลูกพืชตลอดเวลา

การแก้ปัญหาเบื้องต้น ด้วยการใส่ปูนเป็นการแก้ปัญหาทางเดียว ทำให้เราต้องใส่ปูนในดินแปลงนั้นตลอดไปเพราะกรดในดินจะถูกสร้างโดยกำมะถันซึ่งเป็นจุดกำเนิด โดยให้เกษตรเลือกปูนที่หาง่ายในพื้นที่ดังนี้ครับ
- ปูนขาว
- หินปูนบด
- ปูนมาร์ล
- ปูนโดโลไมท์ เป็นต้น

นอกจากนี้การใส่ปุ๋ยอินทรีย์สม่ำเสมอจะช่วยป้องกันดินกรดได้อีกทางครับ

ดินกรดจะทำให้พืชที่เกษตรกรปลูกใช้ปุ๋ยได้น้อยลง เป็นผลทำให้พืชขาดปุ๋ยได้ สามารถสังเกตุลักษณะการขาดปุ๋ยจากใบ ต้น เช่น อาการใบเหลืองใบเล็ก ใบมีจุด การเติบโตช้า ผลผลิตต่ำ การใช้ปูนทางการเกษตรช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยได้ แต่ยังต้องใส่ต่อเนื่องทุกปี โดยดูปริมาณการใส่ปูนจากผลการวิเคราะห์ดิน แต่ละแปลงใส่ปูนไม่เท่ากัน

ภาพ: ดินกรดรุนแรงที่มีการขุดดินล่างที่มีกำมะถันขึ้นมาถมในชั้นดินบนทำให้ปลูกพืชไม่ได้

#กลุ่มวิเคราะห์ดิน_สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต11
#ดินกรด

27/05/2025

วิธีอ่านรายงานผลวิเคราะห์ดินครับ

เมื่อเพื่อนๆ เก็บตัวอย่างดินได้อย่างถูกต้อง และนำมาส่งแลปวิเคราะห์ดินแล้ว การทำความเข้าใจรายงานผลการวิเคราะห์ดินมีความสำคัญมาก เพื่อจะได้นำไปใช้
- ปรับปรุงดิน
- ใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินให้ถูกต้องครับ

#กลุ่มวิเคราะห์ดิน_สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต11

อาการขาดธาตุฟอสฟอรัสในมะพร้าว และพืชตระกูลปาล์มแอดมินได้เข้าเยี่ยมแปลงเกษตรกร พบปัญหามะพร้าวไม่ออกลูก จึงสอบถามถึงการใช้...
24/05/2025

อาการขาดธาตุฟอสฟอรัสในมะพร้าว และพืชตระกูลปาล์ม

แอดมินได้เข้าเยี่ยมแปลงเกษตรกร พบปัญหามะพร้าวไม่ออกลูก จึงสอบถามถึงการใช้ปุ๋ย เกษตรกรแจ้งว่าไม่เคยใส่ปุ๋ยเลยตั้งแต่ปลูกมา

ตามหลักวิชาการ อาการแบบนี้เป็นอาการขาดธาตุฟอสฟอรัส ทำให้พืชตระกูลปาล์ม มีรูปทรงเป็นทรงพิระมิด เกิดจากการขาดธาตุฟอสฟอรัสรุนแรง ชาวสวนปาล์มสวนมะพร้าวลองไปสังเกตุในสวนของตัวเองดูนะครับ

แล้วทำไมไม่ใส่ปุ๋ยต้นมะพร้าวต้นนี้ยังโตได้ดี ก็เพราะว่าสวนนี้อยู่ภาคใต้ อยู่.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช ฝนตกชุก ในฝนจะมีธาตุอาหารเกือบครบทุกตัวยกเว้นฟอสฟอรัส ที่ในฝนไม่ได้ส่งลงมาให้ครับ

วิธีแก้
1. ใส่ปุ๋ยเคมี เป็นสูตรเสมอ ก็ได้ครับ มีฟอสฟอรัสเยอะ
2. ใส่มูลสัตว์ มูลไก่มีฟอสฟอรัสเยอะ
3. ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ก็ได้ครับ แล้วรอดูการเปลี่ยนแปลง

#กลุ่มวิเคราะห์ดิน_สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต11

กลุ่มวิเคราะห์ดิน ยินดีต้อนรับ นศ.ฝึกงานจาก ม.เกษตร และ มอ. ครับ น้องนักศึกษาจะได้ได้รับความรู้ และประสบการณ์ด้านการวิเค...
23/05/2025

กลุ่มวิเคราะห์ดิน ยินดีต้อนรับ นศ.ฝึกงานจาก ม.เกษตร และ มอ. ครับ

น้องนักศึกษาจะได้ได้รับความรู้ และประสบการณ์ด้านการวิเคราะห์ดิน การปรับปรุงดิน ใช้ปุ๋ย ทราบปัญหาและวิธีแก้ปัญหาดินให้แก่เกษตรกร

ในสัปดาห์แรก แอดมิน และ น้องนศ. ลงพื้นที่แปลงทุเรียนสวนลุงโหน่ง พื้นที่ 40 ไร่ ของนายกสมาคมทุเรียนใต้ คุณศิริ เฮ่าสกุล ถ่ายทอดประสบการณ์ปลูกทุเรียน การจัดการสวนให้ฟัง และร่วมแลกเปลี่ยน การแก้ปัญหา เรื่องดิน น้ำ ปุ๋ย เพื่อเพิ่มคุณภาพทุเรียน

โดยปัญหาเรื่องดิน คือ
1. ดินกรดจากการใช้ปุ๋ยเคมี เป็นผลให้ต้นทุเรียนใช้ปุ๋ยทางดินได้น้อย แม้จะใส่ปุ๋ยในปริมาณมาก

2. ปุ๋ยตกค้างจากการใช้ปุ๋ยสูตร 8-24-24 ทั้งช่วงทำดอก และช่วงหลังติดผล ส่งผลให้มีธาตุฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมสูงเกินความต้องการ ส่งผลกระทบดังนี้
- ฟอสฟอรัสจับกับจุลธาตุทำให้ขาดจุลธาตุ เช่น เหล็ก ทองแดง สังกะสี แมงกานีส ทางดิน
- โพแทสเซียม ปริมาณมาก ทำให้พืชใช้แคลเซียม และแมกนีเซียมได้น้อยลง

น้อง นศ. จึงช่วยกันเก็บตัวอย่างดินส่งวิเคราะห์คุณภาพ ต่อไป

นอกจากลงพื้นที่แล้ว เจ้าหน้าที่กลุ่มวิเคราะห์ดินได้แนะนำกระบวนการทำงาน และการวิเคราะห์คุณภาพดินให้แก่น้อง นศ. ด้วย

ถึงน้องนักศึกษาที่ต้องการฝึกงานในสายงานเกษตร สามารถติดต่อกลุ่มวิเคราะห์ดินได้ครับ แอดมินรอให้ความรู้กับน้องๆ อยู่ครับ

#กลุ่มวิเคราะห์ดิน_สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต11

🔬🧪กลุ่มวิเคราะห์ดิน ลงพื้นที่แปลงใหญ่มังคุด ต.เกาะขันธ์ อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช “ให้ความรู้ และร่วมกันแก้ปัญหาดิน เพื่อค...
21/05/2025

🔬🧪กลุ่มวิเคราะห์ดิน ลงพื้นที่แปลงใหญ่มังคุด ต.เกาะขันธ์ อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช “ให้ความรู้ และร่วมกันแก้ปัญหาดิน เพื่อคุณภาพผลผลิตมังคุด“ วันที่ 21 พฤษภาคม 2568
___________________________
พบปัญหาที่ควรร่วมแก้ไขดังนี้
1. ดินกรด ทำให้ต้นมังคุดนำธาตุอาหารทางดินไปใช้ได้น้อย แนะนำให้ใช้โดโลไมท์เพิ่ม pH ดิน และยังมี Ca 25% ทำให้ราก และยอดเจริญได้ดี Mg 15% ทำให้ใบสีเขียวเข้ม ต้นมังคุดสังเคราะห์แสงได้ดี สร้างอาหารได้มากขึ้น ควรหว่านให้กระจายเต็มทรงพุ่มตามผลการวิเคราห์ดิน

2. ดินอินทรียวัตถุต่ำ เป็นดินทราย แนะนำให้เพิ่มอินทรียวัตถุด้วยปุ๋ยหมัก เศษพืชใบไม้ มูลสัตว์เพื่อเพิ่มคุณภาพดิน ดินสามารถจับธาตุอาหารได้นาน ลดการชะล้างธาตุอาหารเมื่อฝนตกปริมาณมาก

3. ธาตุอาหารในดินต่ำ ในช่วงมังคุดให้ผลผลิต ทำให้ขนาดลูกเล็ก แนะนำให้ใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน เพิ่มการใช้ปุ๋ยที่มีโพแทสเซียมยม ลดการใช้ปุ๋ยฟอสฟอรัสซึ่งตกค้างในช่วงทำดอก หากมีฟอสฟอรัสในดินสูงเกินค่ามาตรฐาน (50 mg/kg) ยังมีโอกาสทำให้พืชขาดจุลธาตุอีกด้วย

4. แนะนำใส่วัสดุปูน เช่นโดโลไมท์ กรณีดินกรด ช่วยเพิ่มธาตุแคลเซียมตามค่าวิเคราะห์ดิน เพื่อลดการเกิดเนื้อแก้วยางไหลจากการขาดธาตุแคลเซียม

5. แนะนำการจัดการปุ๋ย ธาตุอาหารหลักจากปุ๋ยเคมี ( N P K)ธาตุอาหารรองจากวัสดุปูน (Ca Mg S) จุลธาตุจากปุ๋ยอินทรีย์และมูลสัตว์ (Fe Cu Zn Mn Cl B Mo Ni)

สอบคุณภาพดินปีละ 1 ครั้ง ได้ฟรีที่แลปวิเคราะห์ดิน กรมพัฒนาที่ดินใกล้บ้านท่านครับ😊🙏

#กลุ่มวิเคราะห์ดิน_สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต11

ที่อยู่

สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 11 เลขที่ 3 ต. ท่าข้าม อ. พุนพิน
สุราษฎร์ธานี
84130

เบอร์โทรศัพท์

077311110

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ กลุ่มวิเคราะห์ดิน สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 11ผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

แชร์