27/07/2023
จากซาอุดรถึงผีน้อย…
“หากขับรถลึกเข้าไปในชุมชนของอำเภอเพ็ญ บนผืนดินแห้งแล้งสีน้ำตาล เราจะเห็นบ้านปูนสีสดใสตั้งอยู่อย่างโดดเด่น หลายหลังมีขนาดใหญ่โตแตกต่างจากบ้านไม้หลังอื่นๆ ในชุมชน เป็นที่รู้กันว่า หากที่ดินตรงไหนปรากฏสิ่งปลูกสร้างใหม่อย่างบ้านชั้นเดียวรูปทรงทันสมัย ฉาบปูนเรียบเนียน ทาสีเขียวหรือชมพู บ้านหลังนั้นมักเกิดจากน้ำพักน้ำแรงของแรงงานไกลบ้านที่ส่งเงินมาให้ครอบครัว และคนหาเงินแทบไม่เคยได้กลับมาอยู่อาศัย หรือไม่ก็อาจเป็นบ้านของคนที่มีสามีเป็นชาวต่างชาติ โดยมากคนที่ยังอาศัยอยู่ในชุมชนมักเป็นเด็กและผู้สูงอายุ เป็นครอบครัวแหว่งกลางที่คนวัยทำงานออกจากบ้านไปหาเงินมาดูแลครอบครัว”
“การไปทำงานไกลบ้านของคนอีสาน ไม่เหมือนการออกจากบ้านไปตอนเช้าแล้วกลับมากินข้าวอย่างพร้อมหน้าในตอนเย็น แต่มันคือการไปด้วยชีวิตทั้งชีวิต ที่ความสัมพันธ์ในครอบครัวเป็นเพียงเยื่อบางๆ เกาะเกี่ยวกันในนามความทรงจำเท่านั้น พ่อบางคนจากบ้านไปตั้งแต่ลูกยังเป็นเด็กหญิงและจนลูกแต่งงานมีครอบครัว พ่อก็ยังไม่ได้กลับมา”
“‘ผมถามนักเรียนผมคนหนึ่งว่า จบ ม.6 แล้วอยากทำอะไร เขาบอกว่าอยากไปหาญาติที่ต่างประเทศ จุดประสงค์หลักคือไปทำงาน ขณะเดียวกันเขาก็ถือวีซ่านักเรียนเพื่อไปเรียนต่อ แต่เขาไม่ได้มุ่งที่การเรียน เขามุ่งไปทำงาน พอถามว่าทำไมถึงเลือกไป เขาบอกว่า เพราะมีญาติอยู่ต่างประเทศ หลายคนก็เอาลูกเอาหลานไป ได้เงินดี แล้วค่าจ้างทุกวันนี้ได้เยอะมาก ถ้าเทียบแล้ว สมมติทำงานใช้แรงงานที่ไทยได้วันละ 350 บาท ไปทำที่ต่างประเทศอาจได้วันละ 3,500 บาท ถ้าเป็นแบบนั้นเขาก็มองว่าไปทำงานต่างประเทศดีกว่าไหม’ ครูสุนันท์กล่าว”
101 ชวนอ่านสารคดีว่าด้วยชีวิตของคนในอำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี ที่คนจำนวนมากต้องออกไปทำงานต่างประเทศ เพราะในพื้นที่ไม่สามารถทำมาหากินได้อย่างที่คาดหวัง
ปัญหาทางเศรษฐกิจส่งผลต่อปัญหาครอบครัวอย่างไร และเด็กที่เกิดและเติบโตมาโดยห่างไกลพ่อแม่มีวิธีคิดและมองโลกแบบไหน จากชีวิตแบบ ‘ซาอุดร’ มาถึงยุค ‘ผีน้อย’ แตกต่างกันแบบไหน และอะไรคือมรดกตกทอดที่พ่อจะส่งให้ลูก
อ่านได้ที่ : https://www.the101.world/pen-district-documentary/
เรื่อง: ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย
ภาพ: เมธิชัย เตียวนะ