AZIZ the family ข้อคิด/ความบรรเทิง

วังสลินดงบายู(วังพิพิธภัคดี) #วังสลินดงบายู
22/04/2025

วังสลินดงบายู(วังพิพิธภัคดี)
#วังสลินดงบายู

บรรยากาศเช้านี้
16/04/2025

บรรยากาศเช้านี้

รถบัส จากกรุงเทพสู่ภาคใต้คนใต้กลับรายอกัน #สลามัตฮารีรายอ
30/03/2025

รถบัส จากกรุงเทพสู่ภาคใต้
คนใต้กลับรายอกัน
#สลามัตฮารีรายอ

03/03/2025

#การถือศิลอดในเดือนรอมฎอน
1.มารยาทในการถือศิลอด
มารยาทในการถือศีลอด มีดังต่อไปนี้
- ไม่มองสิ่งต้องห้าม เช่นมองผู้ชาย/หญิงที่สามารถแต่งงานกับเราได้(اجنبي)
- สงบปากสงบคำ ไม่พูดสิ่งที่ศาสนาห้าม เช่นนินทาคนอื่น วิพากวิจารณ์คนอื่น ไม่พูดวาจาหยาบคายและไม่ทะเลาะวิวาท
-รำลึกถึงอัลลอฮฺ เช่น ละหมาดซูนัตต่างๆ อ่านอัลกุรอานและซิกรุลลอฮฺ
-ไม่ฟังสิ่งต้องห้ามตามหลักการศาสนา เช่น ดูหนังฟังเพลง
-ละศิลอดด้วยทานอินทผลัมและน้ำเปล่าก่อน และไม่รับประทานอาหารขณะละศีลอดมากเกินความพอดี ถ้าเรารับประทานอาหารมาก จะทำให้ไม่มีแรงที่จะทำอีบาดะห์ เช่น ละหมาดตารอแวะห์
-หลังละศีลอด หัวใจต้องโยงยึดอยู่กับอัลลอฮฺ  เพื่อหวังในความเมตตาจากพระองค์ เพราะไม่ทราบว่าพระองค์จะตอบรับการถือศีลอดหรือไม่ ?
-ทรงเสริมให้รับประมาณอาหารซาโฮรใกล้ๆเข้าซุบฮี
-บริจาคอาหารละศิลอดให้เพื่อนบ้าน

2.ประเภทการถือศีลอด
ประเภทของการถือศีลอด แบ่งออกเป็น2ประเภทใหญ่ๆ คือ 1)ถือศิลอดที่เป็นวาญิบ 2)ถือศิลอดที่เป็นซูนัต
(1)การถือศีลอดที่เป็นวาญิบ(ข้อบังคับ) มีดังนี้ คือ
- การถือศีลอดในเดือนรอมฎอน
- การถือศีลอดเกาะฎอ (ชดเชย)
- การถือศีลอดกัฟฟาเราะฮ์ (การปรับโทษ)
- การถือศีลอดนะซัร (การบนบาน)
(2)การถือศิลอดที่เป็นสูนัต มีดังนี้ คือ
- การถือศิลอดวันอารอฟะห์ในวันที่9ของเดือนซุลฮิจญะหฺ
- การถือศิลอดวันตัรวียะห์ในวันที่1-8เดือนซุลฮิจญะหฺ
- การถือศิลอดวันตาซูอาอ.ในวันที่9เดือนมูฮารอม
- การถือศิลอดวันอาซูรอในวันที่10เดือนมูฮารอม
- การถือศิลอด6วันในเดือนเซาวาล
- การถือศิลอดวันจันทร์และวันพฤหัส


3.ผู้ทีต้องละศีลอดในเดือนรอมฏอน
(1)ผู้สูงอายุ คนแก่ที่อายุมาก
(2)นักเดินทางหรือผู้ที่กำลังเดินทางไกล2มัรฮาเลาะห์(90กิโลเมตรโดยประมาณ)
(3)คนป่วย
(4)สตรีที่ตั้งครรภ์
(5)ผู้ที่กระหายน้ำมาก
(6)ผู้หญิงที่ให้นมบุตร

4. การละศีลอด ให้ละศีลอดหลังจากเข้ามัฆริบ สิ่งจะนำมารับประทานเพื่อละศีลอดจะต้องเป็นสิ่งที่สะอาดและฮาลาล ต้องปราศจากความสงสัยใดๆ ว่าเป็นสิ่งต้องห้าม หรือเป็นสิ่งฮาลาล สมควรอย่างยิ่งที่จะละศีลอดด้วยผลอินทผลัมที่ฮาลาล ซึ่งจะส่งผลให้การปฏิบัติอีบาดะห์มีผลบุญมากถึงสี่ร้อยเท่า และการละศีลอดกับอินทผลัม น้ำเปล่า นมสด น้ำร้อน ถือเป็นสิ่งที่ดียิ่ง

عن ابْنِ عُمَرَ رَضِيَ اللهُ عَنْهُمَا قَالَ :كَانَ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ إِذَا أَفْطَرَ قَالَ : «ذَهَبَ الظَّمَأُ، وَابْتَلَّتِ الْعُرُوقُ، وَثَبَتَ الأَجْرُ، إِنْ شَاءَ اللهُ». (أبو داود رقم 2010، صحيح سنن أبي داود رقم2066: حسن)

จากท่านอิบนุ อุมัรฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา เล่าจากท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม เมื่อท่านละศีลอดท่านจะกล่าวว่า

«ذَهَبَ الظَّمَأُ، وَابْتَلَّتِ الْعُرُوقُ، وَثَبَتَ الأَجْرُ، إِنْ شَاءَ اللهُ»

ซะฮะบัซ เซาะมะอุ, วับตัลละติล อุรูก, วะษะบะตัล อัจญ์รุ, อินชา อัลลอฮฺ

“ความกระหายได้ดับลงแล้ว เส้นโลหิตก็เปียกชื้น และผลบุญก็ได้มั่นคงแล้ว อินชาอัลลอฮฺ (หากอัลลอฮฺทรงประสงค์)”
.
คำอธิบายหะดีษ

หะดีษบทนี้ถือว่าเป็นหะดีษที่เศาะฮีหฺที่สุดจากท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ที่เกี่ยวกับการขอดุอาอ์ขณะละศีลอด และไม่มีดุอาอ์ใดๆ ในการละศีลอดเว้นแต่มาจากหะดีษนี้ แต่ผู้ที่ถือศีลอดสามารถขอดุอาอ์ได้ด้วยการขอดุอาอ์อื่นๆ ที่คิดว่าสามารถให้ประโยชน์แก่ตัวเขาทั้งในดุนยาและอาคิเราะฮฺ

บทเรียนจากหะดีษ

(1) ส่งเสริมให้อ่านดุอาอ์เมื่อละศีลอด
(2) เป้าหมายในการขอดุอาอ์ก็เพื่อให้ผู้ที่ถือศีลอดวิงวอนขอความดีและความโปรดปรานจากอัลลอฮฺอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องที่เกี่ยวกับการถือศีลอดเพื่อให้พระองค์ทรงตอบรับ
(3) ส่งเสริมให้ปฏิบัติตามซุนนะฮฺของท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ในการประกอบอิบาดะฮฺทุกอย่าง
(4) แท้จริงดุอาอ์นั้นสามารถทำให้ความยำเกรงและความมั่นใจเพิ่มมากขึ้น

5.การถือศีลอดชดเชย
การชดใช้ (กอฎออฺ)การถือศีลอดในเดือนรอมฎอน
การถือศิลอดชดเชย แบ่งออก3 ประเภท
(1)ผู้ที่ต้องถือศิลอดชดเชยโดยที่ไม่ต้องจ่าย
ฟิดยะห์(فديه)
- หญิงที่ขาดการถือศีลอดเนื่องจากการมีประจำเดือน (ฮัยฎ์)
- ผู้ที่ขาดถือศิลอดโดยเจตนา
- ผู้ที่ป่วยสันธิฐานว่าจะหายป่วย
(2)ผู้ที่ไม่ต้องชดเชยโดยที่ต้องจ่ายฟิดยะห์(فديه)
- ผู้ที่ป่วยสันธิฐานว่าจะไม่หายป่วยแล้ว
- กรณีเสียชีวิตไม่ทันได้ชดเชยถือศิลอด
(3)ผู้ที่ต้องชดเชยและต้องจ่ายฟิดยะห์(فديه)
- ผู้ที่ละเลยการชดเชยโดยข้ามรอมฎอนของปีถัดไป
- ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์และที่ให้นมลูก

6.สิ่งที่ผู้ถือศิลอดสามารถกระทำได้
(1)สามารถอาบน้ำญานาบะห์ได้
(2)สามารถนอนพักผ่อนได้
(3)การอมน้ำในปากได้เพื่อจะได้ไม่กระหายน้ำ
(4)การกรอกเลือด การถอนฟัน การแคะหู แคะจมูก
(5)การกลืนน้ำลาย(น้ำลายที่สะอาด) การสูดดมกลิ่นอาหารและแปรงฟัน
(6)การชิมแกง เมื่อรู้รสแล้วจำเป็นจะต้องบ้วนทิ้ง

7.หลักการและวิธีการปฏิบัติในเดือนรอมฎอน
หลักการถือศิลอดมี 3ประการ
(1)นียัต
(2)ซอเอ็ม(صائم)ผู้ที่ถือศิลอด
(3)อิมซาก(مناهنكن ديري)

วิธีการปฏิบัติในเดือนรอมฎอน
(1)ต้องนียัตตอนกลางคืนก่อนจะเข้าวันที่เราจะเริ่มถือศิลอด
(2)ตื่นทานซาโฮรในเวลา1ส่วน3ของค่ำคืน คือเป็นส่วนที่3 ประมาณเวลา02.00-04.30น.
(3)พอถึงเวลาซุบฮีจนถึงเวลามัฆริบ ต้อง งดอาหารและสิ่งที่เสียการถือศิลอด โดยมีเงื่อนไขดังนี้
- เป็นคนอิสลาม
- มีสติที่ดีไม่มีอาการบ้า
- เป็นลมโดยไม่ละเลยถึงเวลาละศิลอด
- ไม่มีเลือดประจำเดือนและเลือดหลังจากคลอดบุตร


แหล่งอ้างอิง
กีตาบ บุฆยาตุตตอลับ(بغية الطلاب)
โดย เซคดาวุด อัลฟาตอนี

กีตาบ มูตอลาอินอัล-บัดรอย(مطلع البدرين)
โดย อัล-ฟานี มุฮัมมัด บิน อิสมาอิล ดาวุดอัล-ฟาตอนี

อินเตอร์เน็ตและยูทูป

อรุณสวัสดิ์ยามเช้า
05/02/2025

อรุณสวัสดิ์ยามเช้า

โรตีอาหรับ #อาหารอาหรับ
17/01/2025

โรตีอาหรับ
#อาหารอาหรับ

ที่อยู่

Amphoe Yarang

เบอร์โทรศัพท์

0936142074

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ AZIZ the familyผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

แชร์