วราพงษ์ คงเกียรติก้อง - Warapong Kongkiatkong

วราพงษ์ คงเกียรติก้อง - Warapong Kongkiatkong ข้อมูลการติดต่อ, แผนที่และเส้นทาง,แบบฟอร์มการติดต่อ,เวลาเปิดและปิด, การบริการ,การให้คะแนนความพอใจในการบริการ,รูปภาพทั้งหมด,วิดีโอทั้งหมดและข่าวสารจาก วราพงษ์ คงเกียรติก้อง - Warapong Kongkiatkong, ครีเอเตอร์ดิจิทัล, 3/2 หมู่. 5 ต. บ้านนา อ. มหาราช, Ayutthaya.

01/06/2025
28/05/2025

[ โลกกำลังวิกฤต แต่การจัดงบของประเทศไทยไม่เปลี่ยน ]
ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ - Natthaphong Ruengpanyawut หัวหน้าพรรคประชาชนและผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร อภิปรายเปิดในส่วนของพรรคร่วมฝ่ายค้าน ชี้ให้เห็นภาพรวมของงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2569
โดยระบุว่าปีงบประมาณ 2569 คือปีที่ 2 ติดต่อกันที่รัฐบาลเพื่อไทยตั้งงบขาดดุลสูงจนเกือบชนเต็มเพดาน โดยกำหนดกรอบงบประมาณรายจ่ายไว้ที่ 3.78 ล้านล้านบาท ขณะที่มีการประมาณการรายได้ของรัฐไว้เพียง 2.92 ล้านล้านบาท ส่งผลให้ต้องกู้เพื่อชดเชยขาดดุล 8.6 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 4.5% ของจีดีพี ใน 2568 ยังเป็นปีที่รัฐบาลเพื่อไทยทำสถิติกู้ชดเชยขาดดุลต่อจีดีพีสูงที่สุดในรอบ 36 ปี
แต่สิ่งที่น่ากังวลไม่ใช่เรื่องของการกู้ แต่คือการที่รัฐบาลกำลังใช้เงินเกินตัวโดยไม่มีแผนการลงทุนและการหารายได้มารองรับ ไม่มียุทธศาสตร์ ไม่มีความเชื่อมโยงกับการสร้างศักยภาพของประเทศในอนาคต มีแต่การกู้ซ้ำๆ ไปลงกับโครงการเดิมๆ ไม่ได้สร้างรายได้ให้กับประเทศ
และแม้ว่าปีนี้จะเป็นปีที่รัฐบาลเบ่งงบประมาณขึ้นสูงถึง 3.78 ล้านล้านบาท แต่งบประมาณที่นำไปใช้จ่ายได้จริงยังมีน้อยเหมือนเดิม เพราะรายจ่ายบุคลากรก็เพิ่มจากเดิมถึง 20,138 ล้านบาท งบชำระหนี้ก็เพิ่มขึ้นอีก 11,611 ล้านบาท งบผูกพันแม้จะลดลงเล็กน้อยแต่ก็ยังเป็นภาระต่อเนื่อง รวมเงินอุดหนุนให้ท้องถิ่น เงินชดใช้เงินคงคลังต่างๆ เหลือออกมาจะเหลืออยู่เพียงประมาณ 1 ใน 4 ของงบประมาณทั้งก้อน หรือราว 1.06 ล้านล้านบาทเท่านั้น
[ งบ69 กระจกสะท้อนรัฐบาล ไร้ทิศ-ไร้ทาง-ไร้ภาพ ]
ดังนั้นด้วยสถานการณ์ของประเทศในขณะนี้ที่มีพื้นที่ทางการคลังให้กู้ได้อีกไม่มาก และมีพื้นที่งบประมาณให้โครงการใหม่อยู่ก็เหลือน้อย ประชาชนจึงต้องการรัฐบาลที่รู้จักใช้อำนาจในการจัดสรรงบประมาณและบริหารเงินแผ่นดิน ไม่ใช่รัฐบาลที่เป็นแหล่งรวมของผู้แสวงหาอำนาจ ที่รวมตัวกันเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ และเพื่อให้ตัวเองดำรงอยู่ในอำนาจได้ต่อไป
งบประมาณปี 2569 จึงเป็นกระจกสะท้อนชั้นดีไปยังรัฐบาลชุดนี้ ที่ไร้ทิศ ไร้ทาง และไร้ภาพ ไม่ได้จัดงบเพื่อหาทางออกให้กับประเทศ แต่ปล่อยให้การบริหารราชการแผ่นดินเดินไปอย่างสะเปะสะปะ อยู่ในระบบราชการประจำ ใช้เวลาไปกับปัญหาความขัดแย้งกันเองภายในพรรคร่วมรัฐบาล
สิ่งที่ตอกย้ำภาพนี้ได้ชัดเจนที่สุดคือการนำงบกลางปี 2568 ที่มติคณะรัฐมนตรีเปลี่ยนจากนโยบายแจกเงินหมื่นไปเป็นนโยบายฟื้นฟูเศรษฐกิจผ่านการลงทุนระยะสั้น 1.57 แสนล้านบาท ที่สะท้อนว่ารัฐบาลไม่มีภาพในหัวเลย มันคือการโยนเงิน 1.57 แสนล้านให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 7,850 แห่ง ส่งคำขอรับงบประมาณเข้ามาให้ทันภายในเวลาเพียง 3 วัน แสดงให้เห็นว่านโยบายรัฐบาลไม่มีแผนแม่บท ไม่มีวิสัยทัศน์ร่วม ไม่มีเป้าหมายระดับประเทศ
นี่ไม่ใช่การกระจายอำนาจอย่างมียุทธศาสตร์แต่เป็นการกระจายภาระไปให้ท้องถิ่นคิดแทนรัฐบาล หรืออาจถูกตั้งคำถามว่า เป็นการกระจายผลประโยชน์ให้เฉพาะเครือข่ายกลุ่มคนใกล้ชิดรัฐบาลที่รู้ข่าวล่วงหน้า ถึงจะสามารถจัดทำคำของบงประมาณเข้ามาได้ทันภายในกรอบระยะเวลาอันสั้นนี้ใช่หรือไม่ ทั้งหมดนี้สะท้อนชัดเจนว่าเรากำลังมีรัฐบาลที่ขาดเจตจำนงในการบริหารประเทศ ไส้ในแทบไม่เปลี่ยนจากปี 2568 ความไร้ภาพนี้ไม่ใช่ความบังเอิญ แต่คือผลผลิตจากความไร้สภาพของรัฐบาลในการบริหารประเทศ
[ ส่งออก-ท่องเที่ยว-เกษตร ถูกกดดันทุกทาง ]
ในปีที่โลกปั่นป่วน อุณหภูมิโลกร้อนแรง การค้ารุนแรง เศรษฐกิจโลกเปราะบาง เรายังใช้งบประมาณสูตรเดิมที่ล้มเหลวกันมาต่อเนื่องหลายปี
งบประมาณปี 2569 คือคำตอบว่าประเทศไทยจะฝ่าวิกฤตนี้ไปได้หรือไม่ ทั้งอุณหภูมิโลกที่ร้อนแรงและความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศ ในสถานการณ์ที่แย่ที่สุดไทยมีโอกาสสูญเสียจีดีพีสูงถึง 45% และภาคส่วนที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบสูงสุดคือท่องเที่ยวและภาคการเกษตร สำหรับสงครามการที่ค้ารุนแรง กำแพงภาษีทรัมป์จะกระทบต่อการส่งออกสินค้าของไทย ซ้ำเติมปัญหาการนำเข้าสินค้าราคาถูกและการสวมสิทธิจากต่างประเทศ
ที่ผ่านมาจีดีพีภาคการผลิตและการบริโภคของไทยจะเติบโตไปในทิศทางเดียวกันตลอด นโยบายการแจกเงินเพื่อกระตุ้นการบริโภคสามารถกระตุ้นภาคการผลิตในอดีตได้ แต่หลังปี 2565 เป็นต้นมาจีดีพีภาคการผลิตกับการบริโภคโตสวนทางกัน แปลว่าเงินที่แจกไปไหลออกไปทางอื่น ไม่ตกถึงมือผู้ผลิตไทยในประเทศ หนำซ้ำยังถูกซ้ำเติมจากสินค้านำเข้าและสินค้าเถื่อนราคาถูก
แม้แต่เครื่องจักรที่ช่วยหาเงินเข้าประเทศอย่างการส่งออกก็กำลังจะทรุดหนักจากสงครามการค้า ผู้ประกอบการไทยที่ส่งออกสินค้าไปยังสหรัฐอเมริกา 6,300 ราย จ้างงาน 1.5 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็น SMEs 4,990 ราย ที่เอาตัวรอดมาได้จากโควิด-19 สามารถแข่งกับจีนและเวียดนามได้ แต่วันนี้อาจกำลังจะตายจากกำแพงภาษีที่รัฐบาลช้า และทำให้ความสามารถในการแข่งขันลดลง
เมื่อเดือนมีนาคม IMF คาดการณ์ว่าอัตราการเติบโตเศรษฐกิจโลกปี 2568 - 2569 จะอยู่ที่ 3.2-3.3% แต่ภายหลังจากวันปลดแอกของทรัมป์ ในเดือนเมษายน IMF ก็ออกมาปรับลดตัวเลขต่ำกว่า 3% เศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวอาจส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวของไทยในอนาคตแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นรายได้จากนักท่องเที่ยวที่จะกระจายตัวลงไปยังธุรกิจต่างๆ ในประเทศ รวมถึงค่าใช้จ่ายต่อหัวของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เริ่มมีแนวโน้มเริ่มหดตัวลง ยังไม่นับรวมความไม่แน่นอนทางภูมิรัฐศาสตร์อีกหลายแห่ง ที่กำลังปะทะกับโครงสร้างที่อ่อนแอของประเทศไทย
เศรษฐกิจไทยที่พึ่งพาการส่งออก การท่องเที่ยว และภาคการเกษตร กำลังถูกกดดันพร้อมกันในทุกด้าน สัดส่วนรายได้รัฐต่อจีดีพีของไทยมีแนวโน้มลดลงมาโดยตลอด ความสามารถในการชำระหนี้ของรัฐบาลถูกตั้งคำถาม มุมมองต่ออนาคตของประเทศไทยถูกปรับเป็นทางลบ ประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัญหาด้านการคลังอย่างรุนแรงในอนาคต หากรัฐบาลยังลงทุนไม่ถูกจุด ไม่มีเป้าหมายการใช้จ่ายงบประมาณที่ชัดเจน แล้วจะฝากความหวังไว้กับร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ได้อย่างไร
[ สักแต่ตั้งงบให้มีเงินใช้ ไม่ได้คิดสร้างการเปลี่ยนแปลง ]
2 ปีที่ผ่านมานับตั้งแต่การเลือกตั้งปี 2566 ถ้าเรามีรัฐบาลที่มีสมาธิในการบริหารประเทศและให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้าง อย่างเช่นการปฏิรูประบบงบประมาณ ประเทศไทยจะสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลง 5 ด้านให้เห็นผลเป็นรูปธรรมได้แน่นอน ไม่ว่าจะเป็น
1) การจัดทำงบประมาณที่มีการรักษาวินัยการเงินการคลังอย่างสมดุล มีพื้นที่เผื่อเหลือเผื่อขาดพื้นที่การคลังเพื่อรับมือกับความวิกฤตในอนาคต ไม่ใช่การขยายกรอบแล้วขยายกรอบอีก ขยายเพื่อกู้ ทำลายศักยภาพในการรับมือกับวิกฤตของประเทศในอนาคต
2) การลงทุนในเครื่องจักรเศรษฐกิจใหม่ไปพร้อมกับการฟื้นฟูเครื่องจักรเศรษฐกิจเดิม เช่น การลงทุนในอุตสาหกรรมไฮเทค การฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยว และการพัฒนาภาคการเกษตร ตลอดจนการยกระดับ SMEs ให้แข่งขันกับต่างประเทศได้ ไม่ใช่การจัดสรรงบประมาณแบบสะเปะสะปะ ปล่อยให้หน่วยราชการคิดทำกันเอง งบลงทุนส่วนใหญ่ของประเทศเอาไปตัดถนน ขุดคลอง ไม่ก็สร้างตึก
3) ได้งบประมาณที่ดูแลคุณภาพชีวิต สิ่งแวดล้อม การศึกษา และสวัสดิการที่ทั่วถึงและเพียงพอ ไม่ใช่งบประมาณที่ทำให้การศึกษาไม่ไปไหน การจัดการด้านสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับต่ำ และงบประมาณด้านสวัสดิการซึ่งเป็นงบอุดหนุนรายหัวที่ตั้งขาดและตกหล่นทุกปี
4) ได้เห็นงบประมาณที่โปร่งใส ทั้งเงินในและเงินนอกงบประมาณที่แฝงตัวอยู่ในธุรกิจกองทัพ รัฐวิสาหกิจ และรัฐพาณิชย์ต่างๆ ถูกเปิดเผยให้มีการตรวจสอบ มีการจัดทำงบประมาณจะเป็นแบบรวบยอด มองเห็นข้อมูลทั้งฝั่งรายได้ รายจ่าย และภาระทางการคลังอื่นๆ ของรัฐที่ไม่ได้อยู่ในนิยามของคำว่าหนี้สาธารณะ รวมถึงการมองเห็นข้อมูลตั้งแต่ชั้นคำของบประมาณ
5) ได้เห็นงบประมาณที่ท้องถิ่นมีสัดส่วนรายได้ต่อรัฐส่วนกลางเพิ่มมากขึ้น ผ่านการเร่งรัดการถ่ายโอนภารกิจ ที่งานไปพร้อมกับเงินและเงินไปพร้อมกับคน ส่งเสริมให้ท้องถิ่นเป็นกลไกหลักในการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน และเป็นกลไกเสริมในการพัฒนาเศรษฐกิจร่วมกับรัฐบาล ไม่ใช่งบประมาณที่สัดส่วนรายได้ท้องถิ่นไม่เคยเพิ่ม ไม่เคยเกิน 30% ตลอด 20 ปีที่ผ่านมา
ทั้งหมด 5 ข้อนี้คือความล้มเหลวเชิงโครงสร้าง ทั้งระบบงบประมาณที่ล้มเหลว รัฐบาลที่ล้มเหลว ประชาชนจึงได้งบประมาณสูตรเดิม งบประมาณในปีนี้จึงเป็นเพียงแค่การจัดกลุ่มตัวเลขในเอกสารงบประมาณรายจ่ายประจำปี ไม่ใช่การจัดลำดับความสำคัญให้กับประชาชน รัฐบาลสักแต่ตั้งงบเพื่อให้มีงบไปใช้ ไม่ได้คิดตั้งงบเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงใดๆ งบลงทุนส่วนใหญ่ของประเทศจึงยังคงถูกใช้ตัดถนน ขุดคลอง และสร้างตึกอยู่แบบทุกวันนี้ มองไม่เห็นการลงทุนแบบมียุทธศาสตร์เลย
[ ไม่ได้ขาดเงิน แต่ใช้เงินไม่เป็น ]
ประเทศไทยในตอนนี้ไม่ได้ขาดเงิน งบประมาณแผ่นดินปีละ 3.78 ล้านล้านบาทเป็นแค่งบก้อนเดียว แต่ถ้าจะพาประเทศผ่านพ้นวิกฤตไปได้รัฐบาลต้องบริหารเงินแผ่นดินที่หมายถึงเงินที่อยู่ในหน่วยงานของรัฐทุกหน่วย ทั้ง 1) งบประมาณรายจ่ายประจำปี 3.78 ล้านล้านบาท 2) เงินที่อยู่ในรัฐวิสาหกิจ 4 ล้านล้านบาท หักเงินอุดหนุนจากส่วนกลาง 1.43 แสนล้านบาท เหลือเงินรัฐวิสาหกิจซึ่งเป็นเงินแผ่นดินที่รัฐบาลพอบริหารจัดการได้ 3.86 ล้านล้านบาท 3) งบประมาณรายจ่ายท้องถิ่นทั่วทั้งประเทศ 7.51 แสนล้านบาท บวกกับเงินสะสม อปท. 3.3 แสนล้านบาท หักเงินอุดหนุนจากส่วนกลาง 3.89 แสนล้านบาท เหลือเงินท้องถิ่นซึ่งเป็นเงินแผ่นดินที่รัฐบาลพอบริหารจัดการได้ราว 7 แสนล้านบาท และ 4) ทุนสังคมจากเงินภาคเอกชน ภาคประชาสังคมที่ใช้ในการพัฒนาหลายแสนล้านบาท ทั้งบริษัทพัฒนาเมือง 10 แห่ง รวมถึงธุรกิจเพื่อสังคม
เมื่อรวมตัวเลข 3 ก้อนแรก รัฐบาลจะมีทรัพยากรในมือถึง 7-8 ล้านล้านบาทต่อปี คิดเป็น 40% ของจีดีพี แต่ปัญหาที่ผ่านมาคือไม่มีใครเชื่อมโยงเม็ดเงินเหล่านี้เข้าหากัน ต่างคนต่างใช้ ต่างคิด และต่างลงทุนตามลำพัง ท้องถิ่นส่วนใหญ่ใช้งบไปตามหน้าที่ ไม่ได้เชื่อมโยงกับเป้าหมายระดับประเทศ บริษัทพัฒนาเมืองที่มีความพร้อม มีเงิน อยากพัฒนาบ้านเกิดของตัวเองก็ทำไม่ได้เพราะถูกกฎระเบียบภาครัฐกดทับเอาไว้
นอกจากนี้ รัฐบาลยังสามารถใช้กลไกการจัดซื้อจัดจ้าง เช่น Green Procurement เพื่อใช้เงินแผ่นดินในการเหนี่ยวนำให้เกิดการเปลี่ยนผ่านห่วงโซ่อุปทานในประเทศ มีการลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่รักษ์โลกมากขึ้น ใช้ทั้งกลไกการจัดซื้อจัดจ้างและกลไกในการใช้เงินลงทุนควรจะครอบคลุมไปถึงรายจ่ายทั้งหมดของหน่วยงานของรัฐ โดยเงินแผ่นดินซึ่งครอบคลุมถึง 40% ของจีดีพี รัฐบาลที่บริหารเป็นย่อมเข้าใจและรู้จักใช้กลไกนี้ นำมาออกแบบนโยบายที่เปิดกว้างและจูงใจ ให้ทุกคนเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาประเทศร่วมกันกัน จูงใจให้ทุกคนร่วมลงทุนไปในทิศทางเดียวกัน และสร้างแรงบันดาลใจให้ทุกคนมีเห็นทางออกและมีภารกิจเป้าหมายเดียวกันในการพัฒนาประเทศ
ประเทศไทยตอนนี้ไม่ใช่ประเทศที่ขาดเงิน แต่ขาดวิธีการใช้เงิน ขาดการลงทุนอย่างมีเป้าหมาย เช่น งบการจัดการน้ำที่รัฐบาลทุ่มงบประมาณลงไปกับ ตลิ่ง เขื่อน คลอง มากกว่าการเพิ่มพื้นที่รับน้ำและการพัฒนาระบบเตือนภัย งบเกษตรที่รัฐบาลเน้นใช้งบประมาณไปกับการเยียวยา แต่ไม่มีการลงทุนเพื่อลดต้นทุนและพัฒนาการเกษตรสมัยใหม่ งบซอฟต์พาวเวอร์กลายเป็นงบจัดอีเวนต์ที่ซ้ำซ้อน ไม่ตอบโจทย์อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ เช่น เกม ภาพยนตร์ หรือวัฒนธรรมชุมชน งบสิ่งแวดล้อมที่ได้แค่ 4% ต่ำที่สุดในบรรดาทุกยุทธศาสตร์ แถมยังเน้นงานสร้าง-ซ่อมมากกว่าการจัดการเชิงระบบ โดยเฉพาะการฟื้นฟูพื้นที่ที่มีความเสียหายทางสิ่งแวดล้อม หรืองบสวัสดิการคนพิการที่ยังคงตกหล่น กระจัดกระจาย ซ้ำซ้อน และขาดการเข้าถึงอุปกรณ์พื้นฐาน
[ เสมือนไม่มีนายกฯ บริหารงบประเทศ ]
นี่คือสิ่งที่ประเทศไทยต้องช่วยกันเปลี่ยน จากวิธีการตั้งงบประมาณแบบเดิมไปสู่การตั้งงบประมาณแบบใหม่ที่ให้ผลทวีคูณ เช่น งบประมาณเพื่อประกันสินเชื่อให้ SMEs สามารถสร้างตัวคูณในระบบเศรษฐกิจได้ถึง 7 เท่า งบช่วยเหลือเกษตรกรเปลี่ยนจากเงินแจกเป็นเงินลงทุนแบบมีเป้าหมาย สนับสนุนเครื่องจักรให้เกษตรกรเฉพาะพื้นที่ เฉพาะพืช เฉพาะช่วงเวลา เพื่อให้เกษตรกรลดการเผา ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต และลดโลกร้อน การ Matching Fund กับท้องถิ่นรวมถึง Green Procurement เป็นต้น
“แม้นายกรัฐมนตรีอาจไม่ได้เป็นคนที่ทำงบประมาณด้วยตัวเอง แต่เป็นคนที่คุมสำนักงบประมาณด้วยตัวเอง เมื่อปล่อยให้ประเทศไทยใช้งบอย่างไร้เป้าหมายซ้ำแล้วซ้ำเล่า ไม่เคยปรับทิศ ไม่เคยปรับทาง ไม่เคยปรับทีม เราจึงต้องตั้งคำถามว่าประเทศไทยมีคนที่ทำหน้าที่เป็นผู้นำรัฐบาลอยู่จริงหรือไม่”
ในระบบราชการแบบไทยที่กระทรวง ทบวง กรม ทำงานกันแยกฝ่ายแยกส่วน ต่างคนต่างวิ่งงบประมาณ ยิ่งต้องมีผู้นำที่กล้ากำหนดทิศทาง เชื่อมเป้าหมายของประเทศเข้าด้วยกัน กล้าตัดงบที่ไม่จำเป็นออก แต่สิ่งที่เห็นในร่าง พ.ร.บ.งบประมาณปี 2569 คือสิ่งที่ตรงกันข้ามโดยสิ้นเชิง นายกรัฐมนตรีไม่เคยลงมือปรับ ไม่เคยลงมาดูว่าเป้าหมายที่ตัวเองประกาศไว้ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงาน มีการตั้งงบเข้ามาจริงหรือไม่ ไม่เคยสั่งให้หน่วยงานที่ตั้งเป้าเกินจริงให้กลับปรับทบทวนเป้าหมายให้ถูกต้อง และไม่เคยตัดโครงการที่ซ้ำซ้อน ทับซ้อน ไร้ผลเชิงยุทธศาสตร์
วันนี้การจัดทำงบประมาณที่ผิดพลาดคือกระจกสะท้อนถึงนายกรัฐมนตรีที่ไม่มีเป้าหมายให้กับประเทศ ในวันแถลงนโยบายนายกรัฐมนตรีประกาศต่อรัฐสภาและประชาชนทั้งประเทศว่าจะปฏิรูประบบราชการให้ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ แต่วันนี้แค่จัดทำงบประมาณให้สอดคล้องกับเป้าหมายที่ตัวเองตั้งไว้ยังทำไม่ได้ เราจึงยังเห็นหน้าตาร่างงบประมาณที่เหมือนเดิม โครงการเหมือนเดิม ล้มเหลวเหมือนเดิม ทั้งที่ประเทศไทยในปี 2569 จะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป
“ในขณะที่รัฐบาลเอาเวลาไปใช้กับการแก้สมการทางการเมืองมากกว่าการแก้งบประมาณให้ประเทศ คนไทยกำลังเผชิญกับวิกฤตแบบเต็มตัว เมื่อผู้นำไม่กล้าปรับเพื่อเปลี่ยน สุดท้ายคนที่ต้องรับกรรมก็คือประชาชนคนไทยทั้งประเทศ”
[ ประเทศไทยยังมีความหวัง ]
สถานการณ์ในตอนนี้ไม่ใช่วิกฤตทางการคลัง แต่คือวิกฤตทางการเมือง เป็นวิกฤตของสถาบันรัฐไทยที่เริ่มมีลักษณะเป็นระบบขูดรีด ประเทศที่ล้มเหลวไม่ได้ล้มเพราะขาดเงิน แต่ล้มเพราะชนชั้นนำจงใจรักษาระบบที่ตัวเองได้ประโยชน์ไว้ ไม่เคยปรับเปลี่ยนเพื่ออนาคตของคนส่วนใหญ่และประชาชนในประเทศ
ประเทศไทยเดินทางดิ่งลงมาไกลมาก เพียงแค่หนึ่งชั่วอายุคนเท่านั้น จากที่ไทยเคยเกือบจะเป็นเสือตัวที่ห้าตอนนี้เกือบจะเป็นรัฐล้มเหลว หากเรายังคงจัดทำงบประมาณอยู่แบบเดิมที่ไม่เปลี่ยน นายกรัฐมนตรียังทำงานแบบเดิมที่ไม่ปรับ ประเทศไทยจะไม่ใช่แค่ “เกือบ” แต่จะกลับลุกขึ้นมาไม่ได้อีก
“เพราะในสถานการณ์ประเทศที่วิกฤตที่สุด เศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว มีสงครามการค้าเข้ามากระทบ ส่งออกติดลบ ราคาสินค้าทางการเกษตรมีปัญหา ในฐานะที่พวกผมเป็นผู้แทนราษฎรในวันนี้จึงไม่ใช่การอภิปรายเพื่อวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลที่ล้มเหลวอยู่แล้วให้ล้มเหลวมากยิ่งขึ้น แต่คือการทำหน้าที่อภิปรายเพื่อยืนยันกับประชาชนทั้งประเทศว่าประชาชนยังมีความหวัง ประเทศไทยยังมีทางออก ลูกหลานไทยยังมีอนาคต”
“ความหวังของประเทศนี้คือรัฐบาลที่รู้จักใช้อำนาจ ไม่ใช่รัฐบาลที่แสวงหาอำนาจ คือกลไกทางการเมืองในระบบรัฐสภาและนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง ที่พวกผมจะช่วยกันปกป้องไม่ให้ประเทศล้มเหลว รัฐสภานี้ต้องเป็นสถาบันที่ปกป้องประเทศนี้ไว้ อนาคตของลูกหลานคือข้อเสนอที่พวกผมจะอภิปรายเสนอไปยังคณะรัฐมนตรีทุกท่าน” ณัฐพงษ์กล่าว
#งบประมาณปี69 #งบ69 #ประชุมสภา

14/05/2025
13/05/2025

[ เชิญร่วมกิจกรรม เพื่อ ประชาชน ]
พบกับ สส.ชริน วงศ์พันธ์เที่ยง
ในวันเสาร์ที่ 17 พฤษภาคม 2568 

#พี่น้องชาวบ้านแพรก และ #มหาราช ห้ามพลาด❗️
สส.ชริน วงศ์พันธ์เที่ยง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เขต 2 พรรคประชาชน
ร่วมกับ กลุ่มอาสาก้าวไกล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

🧡ขอเชิญร่วมกิจกรรม เพื่อพี่น้องประชาชน ดังนี้
• ตั้งโต๊ะรับเรื่องร้องเรียน รับฟังปัญหาจากประชาชนโดยตรง
• มอบแว่นสายตา “ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น”

🕶️คุณสมบัติผู้เข้ารับแว่นสายตา:
• มีปัญหาสายตาสั้นหรือสายตายาว (ตั้งแต่ 100 ถึง 400)
• อาศัยอยู่ใน อำเภอบ้านแพรก หรือ อำเภอมหาราช
• โปรดนำบัตรประชาชนตัวจริง เพื่อยืนยันสิทธิ

📌สถานที่จัดกิจกรรม:
วัดใหม่สองห้อง หมู่ 5 ตำบลสองห้อง อำเภอบ้านแพรก
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

⏳เริ่มเวลา 09.00 น. เป็นต้นไป

#สสพรรคประชาชน
#สส #พรรคประชาชน
#สสพรรคประชาชน #สสอยุธยา
#สสอยุธยาเขต2 #สสอยุธยาเขต2คนปัจจุบัน
#สสชรินวงศ์พันธ์เที่ยง #สสชริน #สสปูชริน #สสปู
#สสชรินพรรคประชาชน #สสปูพรรคประชาชน
#สสมหาราช #มหาราช
#สสบ้านแพรก #บ้านแพรก
#สสบางปะหัน #บางปะหัน
#สสนครหลวง #นครหลวง
#สสท่าเรือ #ท่าเรือ
#ชรินก้าวไกล
#อาสาก้าวไกล
#แว่นสายตา
#โครงการเพื่อประชาชน

12/05/2025
17/03/2025

🤝 ดีลแลกประเทศ 🔥
❌ เมื่อช้างสารชนกัน หญ้าแพรกก็แหลกลาญ
✅ เมื่อช้างสารดีลกัน ประชาชนก็แหลกลาญ
🔥 18 เดือนภายใต้รัฐบาลที่ดีลกันบนผลประโยชน์ของชนชั้นนำ เหยียบย่ำเสียงของประชาชน คนไทยต้องสูญเสียไปเท่าไหร่ เพื่อให้คนบางคนได้กลับบ้าน ประเทศเสียหายไปแค่ไหน เพื่อให้แพทองธาร ชินวัตร ได้เป็นนายกรัฐมนตรี
💸 ดิจิทัลวอลเล็ตกลายพันธุ์จนจำรูปร่างเดิมไม่ได้ แจกจ่ายไม่ทั่วถึง เศรษฐกิจโตต่ำรั้งท้ายอาเซียน คนไทยตกงานนับแสน ค่าครองชีพสูง ค่าแรงไม่ขึ้นตามสัญญา
🪖 กองทัพกลายเป็น "เขตทหาร ห้ามเข้า" รัฐบาลพลเรือนแตะต้องไม่ได้ ปฏิรูปกองทัพเป็นเพียงลมปาก
🏛️ แก้รัฐธรรมนูญไร้ความคืบหน้า นักโทษการเมืองติดคุกไม่ได้ประกัน ประเทศไทยถูกประณามเป็นที่อับอายในเวทีโลก
👀 ขอเชิญชวนพี่น้องประชาชน ร่วมติดตามการอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งแรกของพรรคประชาชน เปิดทุกดีลลับ คิดบัญชีทุกความสูญเสีย เปิดทุกแผลที่ถูกหมกเม็ด ของแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
🗓️ 24 มีนาคมนี้ เป็นต้นไป
#พรรคประชาชน #ประชุมสภา #อภิปรายไม่ไว้วางใจ

ที่อยู่

3/2 หมู่. 5 ต. บ้านนา อ. มหาราช
Ayutthaya
13150

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ วราพงษ์ คงเกียรติก้อง - Warapong Kongkiatkongผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

แชร์