Learning Stocks to Rich.

Learning Stocks to Rich. Learning Stocks to Rich.📊
คุณเคยพลาดโอกาสที่จะประสบความสำเร็จหรือไม่ ?
อย่าพลาดความสำเร็จและอย่าหยุดที่จะเรียนรู้
เชื่อว่าเราทำได้คุณก็ " ทำได้ "

GM ถอดใจธุรกิจ ‘แท็กซี่ไร้คนขับ’ ยุติการลงทุน Cruise ที่ขาดทุนต่อเนื่อง‘เจนเนอรัล มอเตอร์ส’ ถอดใจธุรกิจ ‘แท็กซี่ไร้คนขับ...
11/12/2024

GM ถอดใจธุรกิจ ‘แท็กซี่ไร้คนขับ’ ยุติการลงทุน Cruise ที่ขาดทุนต่อเนื่อง
‘เจนเนอรัล มอเตอร์ส’ ถอดใจธุรกิจ ‘แท็กซี่ไร้คนขับ’ หันมาพัฒนาเทคโนโลยีของรถยนต์ดีกว่า ยุติการลงทุนใน Cruise ที่ยังไม่ทำกำไรแถมขาดทุนต่อเนื่อง ท่ามกลางการแข่งขันสูงขึ้นเรื่อยๆ
สำนักข่าวเอพีรายงานว่า เจนเนอรัล มอเตอร์ส (General Motors: GM) ประกาศหยุดการลงทุนในธุรกิจรถ “แท็กซี่อัตโนมัติ” Cruise โดยให้เหตุผลว่า การพัฒนารถยนต์ไร้คนขับให้พร้อมใช้งานเชิงพาณิชย์นั้นต้องใช้เวลาและทรัพยากรจำนวนมหาศาล ในขณะที่ตลาดก็มีการแข่งขันสูงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ GM ตัดสินใจหันไปโฟกัสในธุรกิจอื่นที่สามารถสร้างผลตอบแทนได้เร็วกว่า
ฝ่ายพัฒนาเทคโนโลยีของ Cruise จะถูกรวมเข้ากับทีมพัฒนาเทคโนโลยีของ GM โดย GM ยังคงลงทุนเทคโนโลยีรถยนต์ไร้คนขับของ Cruise ต่อไป แต่เป็นการใช้งานสำหรับรถยนต์ส่วนบุคคล
แมรี่ บาร์รา ซีอีโอ GM กล่าวในช่วงแถลงรายละเอียดกับนักวิเคราะห์ว่า Cruise มีการดำเนินงานที่ดีในบริการรถแท็กซี่อัตโนมัติ แต่ในการให้บริการรถแท็กซี่นั้นมีอีกหลายที่ปัจจัยต้องดูแลเพิ่มเติม เช่น การบริหารปริมาณรถยนต์ที่วิ่งในถนน ทำให้ GM เลือกมาโฟกัสเฉพาะการพัฒนาเทคโนโลยีของรถยนต์เท่านั้น
ก่อนหน้านี้ GM ลงทุนมหาศาลใน Cruise ที่มีฐานอยู่ในซานฟรานซิสโก ด้วยความหวังจะสร้างกองยานแท็กซี่ไร้คนขับที่ทำกำไรได้ แต่หลังจากลงทุนไปหลายพันล้านดอลลาร์และถือหุ้นไปถึง 90% โครงการนี้ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย และยังคงขาดทุนอย่างต่อเนื่อง
การเข้าซื้อกิจการ Cruise ในปี 2559 มีผู้ร่วมลงทุนรายสำคัญเช่น Honda, Microsoft, Walmart บริษัทเผชิญปัญหาเมื่อปลายปีที่แล้วจากอุบัติเหตุ จนถูกพักใบอนุญาตให้บริการในรัฐแคลิฟอร์เนีย ตามมาด้วยการลาออกของซีอีโอกับผู้บริหารระดับสูง จากนั้นปลดพนักงานอีกราว 1,000 คนเมื่อ พ.ย. เพื่อพยายามลดต้นทุนและปรับลำดับความสำคัญภายในธุรกิจใหม่ ท่ามกลางสถานการณ์ตลาดที่กำลังเปลี่ยนแปลง
การเคลื่อนไหวดังกล่าวถือเป็นการก้าวถอยหลังอีกก้าวหนึ่งจากรถยนต์ไร้คนขับ ซึ่งก่อนหน้านี้บริษัทคู่แข่งอย่าง Ford ก็ไม่เห็นช่องทางการทำกำไรจนต้องยุติโครงการ Argo AI ซึ่งเป็นโครงการพัฒนารถยนต์ไร้คนขับร่วมกับ Volkswagen
อย่างไรก็ดี ตลาดรถแท็กซี่ไร้คนขับกำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยมีบริษัทชั้นนำอย่าง Waymo ที่ขยายบริการไปถึงไมอามี รวมถึงบริษัทสัญชาติจีนอย่าง Pony.ai และ WeRide ที่เริ่มขยายตลาดไปยังต่างประเทศ ขณะที่ Tesla ก็เตรียมเปิดตัว Cybercab เข้าสู่ตลาดในอีกไม่ช้า
ขณะเดียวกัน การลงทุนในอุตสาหกรรมรถยนต์ไร้คนขับยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีบริษัทขนาดใหญ่ เช่น SoftBank และ Amazon เข้ามาลงทุนในบริษัทสตาร์ทอัพอย่าง Wayve และ Zoox

Netflix กำลังทำตัวเหมือน YouTube เมื่อ 17 ปีก่อน /โดย ลงทุนแมน17 ปีก่อนหรือในปี 2007 คือช่วงเวลาที่ Netflix และ YouTube ...
10/12/2024

Netflix กำลังทำตัวเหมือน YouTube เมื่อ 17 ปีก่อน /โดย ลงทุนแมน
17 ปีก่อนหรือในปี 2007 คือช่วงเวลาที่ Netflix และ YouTube ตัดสินใจเลือกโมเดลธุรกิจที่ไปคนละทิศคนละทาง

ฝั่ง Netflix เริ่มให้บริการสตรีมมิงภาพยนตร์ ด้วยการเก็บค่าสมาชิกรายเดือน
ส่วนฝั่ง YouTube เริ่มแทรกโฆษณาลงไปคั่นระหว่างที่ผู้ใช้งานดูคลิปวิดีโอ

แต่มาวันนี้ ดูเหมือนว่าทั้งคู่พยายามทำตัวให้เหมือนอีกฝั่งเมื่อ 17 ปีก่อน..

"ปตท." พัฒนาเทคโนโลยี CCS สู่องค์กรคาร์บอนต่ำ เติบโตอย่างยั่งยืนหลายประเทศให้ความสำคัญกับโครงการดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์...
10/12/2024

"ปตท." พัฒนาเทคโนโลยี CCS สู่องค์กรคาร์บอนต่ำ เติบโตอย่างยั่งยืน
หลายประเทศให้ความสำคัญกับโครงการดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Capture and Storage : CCS) เพราะจะเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่จะช่วยรับมือกับ "ปัญหาโลกร้อน" รวมถึงประเทศไทยได้ให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนการลดก๊าซเรือนกระจก จึงมองว่าการนำเทคโนโลยี CCS มากักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไว้ในชั้นหินธรณีจะช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศ
สำหรับเทคโนโลยี CCS ถือเป็นเทคโนโลยีสำคัญที่ได้รับการยืนยันจากหลายประเทศแล้วว่า มีประสิทธิภาพสูง โดยประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกได้นำไปใช้และต่างยอมรับว่าเป็นหนึ่งในทางออกสำคัญที่จะช่วยให้บรรลุเป้าหมายการจัดการก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาณมากได้ อีกทั้งยังเหมาะสมกับอุตสาหกรรมที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ยาก
โดย IPCC ได้รายงานถึงความสำคัญของ CCS ในการบรรลุเป้าหมายการควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกให้อยู่ระหว่าง 1.5 - 2 องศาเซลเซียส ขณะที่ IEA รายงานถึงบทบาทสำคัญของ CCS ในการจัดการปัญหาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการผลิตไฟฟ้าและกระบวนการอุตสาหกรรม เช่น การแยกก๊าซธรรมชาติ ปูนซีเมนต์ เหล็กกล้า และเคมีภัณฑ์
ส่วนขั้นตอน CCS แบ่งเป็น 1. CO2 Capture กระบวนการดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากแหล่งกำเนิดในภาคอุตสาหกรรมหรือโรงไฟฟ้า 2. Transportation โดย CO2 ที่ถูกดักจับได้ จะถูกปรับความดันให้เหมาะสมเพื่อขนส่งไปยังแหล่งกักเก็บ 3. Storage โดย CO2 จะถูกกักเก็บบนฝั่งหรือนอกชายฝั่งในชั้นหินทางธรณีวิทยาไว้อย่างปลอดภัย
ปัจจุบันมีโครงการ CCS ที่ดำเนินการสำเร็จแล้ว 41 แห่งทั่วโลก โดยเฉพาะในอเมริกา อาทิ
1. โครงการ Northern Lights (Longship) ในประเทศนอร์เวย์ ซึ่งเป็นโครงการ CCS ขนาดใหญ่ครบวงจรและมีโมเดลธุรกิจแบบข้ามพรมแดน (Cross-Border) ในสหภาพยุโรปแห่งแรกของโลก ซึ่งโรงงานอุตสาหกรรมต้นแบบ 2 แห่งแรก ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐมากกว่า 60% ในการติดตั้งหน่วยดักจับ CO2 และได้ประโยชน์จากการลด CO2 และระบบการซื้อขายการปล่อยก๊าซของสหภาพยุโรป (EU Emissions Trading System : ETS) รวมทั้งไม่ต้องเสียค่าบริการ (Service fee) ในการขนส่งและกับเก็บ CO2 โดยโครงการนี้ใช้เงินลงทุนสูงถึง EUR 2.3 bn และสามารถเกิดขึ้นได้จากการสนับสนุนงบ 80% จากรัฐบาล
2. โครงการ Tomakomai CCS Demonstration (Pilot Project) โครงการสาธิตในการดำเนินการดักจับและกักเก็บ CO2 ลงในชั้นหินในช่วงปี 2016 - 2019 ประมาณ 300,000 ตัน CO2 ปัจจุบันอยู่ระหว่างการติดตามผล รวมทั้งด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม ซึ่งการดำเนินการในระยะต่อไปอยู่ระหว่างการศึกษาการขนส่งคาร์บอนไดออกไซด์ทางเรือ เพื่อนำมากักเก็บในโครงการฯ
ทั้งนี้ ประเทศไทยมีแนวโน้มให้ดำเนินการโครงการ CCS ในปี 2040 โดยจะมีส่วนช่วยในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างน้อย 40 ล้านตันต่อปี ภายในปี 2050 และ 60 ล้านตันต่อปี ภายในปี 2065
กลุ่ม ปตท. ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเทคโนโลยี CCS เพื่อรับการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน (Energy Transition) มุ่งสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ปี 2050 สอดรับกับทิศทางการเติบโตของธุรกิจพลังงานโลก

09/12/2024
 #ศูนย์วิจัยกสิกรไทย  #ทันหุ้น - ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ทรัมป์กลับมา! ความไม่แน่นอนต่อการลงทุนและการค้าโลก กระทบเศรษฐกิจไทยป...
09/12/2024

#ศูนย์วิจัยกสิกรไทย #ทันหุ้น - ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ทรัมป์กลับมา! ความไม่แน่นอนต่อการลงทุนและการค้าโลก กระทบเศรษฐกิจไทยปี 2568 โดยนโยบายทรัมป์ 2.0 มีทั้งปัจจัยบวก และลบต่อไทย ขณะที่ GDP ไทย ปี 2568 คาดเติบโต 2.4% สงครามการค้าและปัจจัยเสี่ยงเศรษฐกิจจีน ยังคงเป็นความท้าทายต่อเนื่อง

นายบุรินทร์ อดุลวัฒนะ กรรมการผู้จัดการ และ Chief Economist บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด กล่าวว่า การกลับมาอีกครั้งของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ได้ สร้างความไม่แน่นอนขึ้นมาต่อการลงทุนและการค้าโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นโยบายการขึ้นภาษีนำเข้าที่ต้องรอความชัดเจนในต้นปีหน้า ก่อให้เกิดความกังวล ว่า เศรษฐกิจโลกจะซบเซาเหมือนช่วงทศวรรษ 1930 นอกจากนั้น นโยบายอเมริกาเฟิร์สจะทำให้มีการเปลี่ยนระเบียบโลก (Global Order) สร้างความเสี่ยงต่อองค์กรระหว่างประเทศ อย่างเช่น WTO และ NATO ได้

อย่างไรก็ตามการกลับมาของโดนัลด์ ทรัมป์ อาจส่งผลกระทบต่อนิคมอุตสาหกรรมในประเทศไทยทั้งในเชิงบวกและลบ โดยผลกระทบเชิงบวกจะเห็นจากการย้ายฐานการผลิตจากจีนมายังไทยในบางอุตสาหกรรม เช่น โซลาร์เซลล์ อิเล็กทรอนิกส์ และ PCB ซึ่งส่งผลให้การออกบัตรส่งเสริมการลงทุนของ BOI ในอุตสาหกรรมยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นอย่างมาก

ในทางกลับกัน ผลกระทบเชิงลบเกิดจากความเสี่ยงที่จะเกิดสงครามการค้าใหม่ ซึ่งอาจส่งผลกระทบทางลบต่อนิคมอุตสาหกรรมไทยโดยตรง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมโซลาร์เซลล์ ยางล้อ และอิเล็กทรอนิกส์ที่อาจถูกเก็บภาษีนำเข้า จากสหรัฐ รวมถึงผลกระทบทางอ้อมที่อาจเกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมรถยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ เคมีภัณฑ์ เหล็ก สินค้าอุปโภคบริโภค เกษตรกรรม และการท่องเที่ยวจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นจากสินค้าจีน

การกลับมาของทรัมป์สร้างความไม่แน่นอนในนโยบายการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งอาจทำให้นักลงทุนต่างชาติตัดสินใจชะลอการลงทุนในไทย และอาจมีผลให้การย้ายฐานการผลิตเข้ามายังไทยชะลอตัวลง ข้อเสนอแนะสำหรับรัฐบาลไทยคือการมีมาตรการรองรับผลกระทบจากสงครามการค้าและส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย เช่น อุตสาหกรรมดิจิทัล พลังงานสะอาด และท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ เพื่อสร้างแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจใหม่

*ปี 68 คาดศก.โต 2.4%

นางสาวณัฐพร ตรีรัตน์ศิริกุล รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด เปิดเผยว่า ในปี 2568 เศรษฐกิจไทยคาดว่า จะเติบโตที่ 2.4% ชะลอลงจากปี 2567 ที่คาดว่า จะขยายตัว 2.6% จากแรงส่งจากการท่องเที่ยวที่ลดลงตามจำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้าใกล้ระดับก่อนโควิด เช่นกันกับส่งออกที่คาดว่า จะเติบโตช้าลงจากผลกระทบสงครามการค้า ทั้งทางตรงผ่านตลาดส่งออกสหรัฐ และ ทางอ้อมผ่านตลาดอื่นๆ ที่ต้องแข่งขันกับสินค้าจีน

การส่งออกปี 2568 คาดขยายตัว 2.5% จากปีนี้ 4.5% และ การนำเข้าขยายตัว อยู่ที่ 3.4% จากปีนี้ 6% ในขณะที่เงินเฟ้อทั่วไป ปี 2568 คาดอยู่ที่ 0.7% จากปีนี้ 0.5% ในขณะที่ราคาน้ำมัน ปี 2568 คาดอยู่ที่ 76 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล จากปีนี้ 79.5 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ส่วนจำนวนนักท่องเที่ยว ปี 2568 คาดอยู่ที่ 37 ล้านคน จากปีนี้ 35.6 ล้านคน และ ดอกเบี้ยนโยบาย ปี 2568 คาดอยู่ที่ 2% จากปีนี้ 2.25%

@กสิกรเล็งเห็นถึงปีหน้า

อย่างไรก็ตาม การเติบโตยังต้องเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงและความท้าทายหลายประการ โดยเฉพาะสงครามการค้าที่อาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกและภาคการผลิตของไทย สินค้าส่งออกหลักของไทยที่ไปยังสหรัฐ เช่น อิเล็กทรอนิกส์ โซลาร์เซลล์ และยางล้อรถยนต์อาจโดนเก็บภาษีเพิ่มขึ้น ในขณะที่สินค้าจีนอาจไหลเข้ามามากขึ้นทำให้เกิดการแข่งขันที่สูงขึ้นในตลาดภายในประเทศ

นอกจากนี้ การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนและปัญหาภาคการผลิตไทยที่ยังไม่ฟื้นตัวเป็นปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกและการเติบโตทางเศรษฐกิจ ขณะเดียวกันปัญหาหนี้ครัวเรือนที่ยังคงเป็นประเด็นที่ต้องติดตาม แม้ว่าสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP จะมีแนวโน้มลดลง

ส่วนมาตรการภาครัฐที่อาจปรับขึ้นภาษี VAT และลดภาษี CIT ยังไม่รวมอยู่ในการคาดการณ์ GDP นี้ ซึ่งต้องติดตามผลกระทบจากมาตรการเหล่านี้อย่างใกล้ชิด อีกทั้งยังไม่ได้พิจารณาผลกระทบจากการกลับมาของทรัมป์ต่อการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นอีกหนึ่งภาคเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย

“อย่าหยุดเรียนรู้ และจงมีใจรักในสิ่งที่ทำเสมอ” ..คำกล่าวบางช่วงบางตอนของ “วิลเลียม อี. ไฮเน็ค” ผู้ก่อตั้งและซีอีโอ ไมเนอ...
08/12/2024

“อย่าหยุดเรียนรู้ และจงมีใจรักในสิ่งที่ทำเสมอ” ..คำกล่าวบางช่วงบางตอนของ “วิลเลียม อี. ไฮเน็ค” ผู้ก่อตั้งและซีอีโอ ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน)
หนึ่งในซีอีโอระดับโลกที่ได้ร่วมขึ้นแสดงวิสัยทัศน์ด้านการบริหารธุรกิจท่ามกล่างความท้าทายให้ก้าวผ่านวิกฤติไปได้ บนเวที “Forbes Global CEO Conference” ครั้งที่ 22 ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 21 พ.ย. 2567 ที่ผ่านมา
วิลเลียม อี. ไฮเน็ค (William E. Heinecke) ผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการ บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) (Minor International) ซึ่งเป็นบริษัทระดับโลกที่มีธุรกิจหลากหลายในมือ ทั้งร้านอาหารและโรงแรม
เขาเล่าว่าตนเองเริ่มต้นเดินบนเส้นทางสายธุรกิจตั้งแต่อายุ 17 ปี เขาเริ่มสร้างธุรกิจด้วยลงมือทำ เนื่องจากไม่ได้เข้าเรียนในมหาวิทยาลัย จึงไม่มีพื้นฐานองค์ความรู้จากมหาวิทยาลัยและการทำวิจัย มาเป็นกรอบในการบริหาร และวิธีการคิดออกแบบต่างๆ ทั้งหมดมาจากการลงมือทำและเรียนรู้สิ่งใหม่ในทุกวัน
ก่อนหน้านี้เขาสนใจนำเสนอ ‘ธุรกิจพิซซ่า’ สู่ภูมิภาคเอเชีย โดยช่วงเวลาดังกล่าวคนในประเทศไทยอาจไม่คุ้นชินกับพิซซ่าและชีสมากนัก แต่ด้วยความใฝ่เรียนรู้และมองหาวิธีการทำงานแบบใหม่ๆ มาใช้ต่อยอดธุรกิจร้านอาหารฟาสต์ฟูด มาทำให้คนรู้จักมากขึ้น ทุกอย่างท้าทายองค์ความรู้แบบเก่าทั้งหมด เขาปรับเปลี่ยนมาเรื่อยๆ ในที่สุดธุรกิจก็เติบโตอย่างมาก โดยปัจจุบันมีร้านอาหารในเครือมากกว่า 1,000 แห่ง และมีการขยายสู่ธุรกิจโรงแรมด้วยจำนวนกว่า 500 แห่ง ใน 50 ประเทศทั่วโลก
“ผมอาจโชคดีที่ไม่ได้เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยเลย จึงไม่มีองค์ความรู้เหล่านั้นมาตีกรอบการทำธุรกิจ ผมคิดแค่ว่าอยากทำ พิซซ่า ที่เป็นอาหารฟาสต์ฟูดให้คนรู้จัก ให้คนไทยได้ชื่นชอบพิซซ่าและซีส คือความสำเร็จแล้ว”
สำหรับวิธีการบริหารธุรกิจให้สำเร็จ ต้องมุ่งมองโอกาสและความเป็นไปได้ในการทำ โดยเฉพาะการมองในสิ่งที่คนอื่นไม่เคยเห็น พร้อมมุ่งมั่นก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว และไม่หยุดนิ่ง รวมถึงต้องมีเงินทุนที่เพียงพอในการขับเคลื่อนธุรกิจเสมอ การเป็นผู้ประกอบการที่ดีต้องมีใจรักหรือแพสชัน (passion) ในสิ่งที่ทำเสมอ
ทั้งนี้เมื่อประเมินช่วงความท้าทายขององค์กรครั้งใหญ่ ยกตัวอย่างเช่นช่วงที่เกิดโรคระบาดโควิด บริษัทไมเนอร์ใช้แนวทางว่า ต้องปรับตัวและก้าวต่ออย่างรวดเร็วให้ทันกับสิ่งที่ไม่เคยรู้มาก่อน ต้องไม่หยุดนิ่ง รวมถึงต้องมีเงินทุนที่เพียงพอในการขับเคลื่อนธุรกิจ แม้จำเป็นต้องกู้เงินจำนวนมากก็ตาม จากการมุ่งมั่นและไม่ล้มเลิก ธุรกิจจึงกลับมาฟื้นตัวได้ ทั้งที่หลายฝ่ายมองว่า องค์กรไม่สามารถอยู่รอดได้เกินสองปีแน่นอน
“วันไหนที่ผมหยุดเรียนรู้ คือวันที่ผมต้องการเกษียณแล้ว ผมยึดแนวทางเรียนรู้สิ่งใหม่ในทุกวัน นำมาบริหารธุรกิจ” เขากล่าวทิ้งท้าย
#กรุงเทพธุรกิจ #กรุงเทพธุรกิจLifestyle #กรุงเทพธุรกิจLeadership

ผ่านไปร้อยปี ‘เทือกเขาแอลป์’ หิมะลดลง 34% ฝนตกหนักแทน ระวังน้ำท่วม ธุรกิจสกีอาจไปไม่รอด“การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” และ...
08/12/2024

ผ่านไปร้อยปี ‘เทือกเขาแอลป์’ หิมะลดลง 34% ฝนตกหนักแทน ระวังน้ำท่วม ธุรกิจสกีอาจไปไม่รอด
“การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” และ “ภาวะโลกร้อน” ส่งผลให้ “หิมะ” ตกลงน้อยลง แต่คงไม่มีใครคิดว่าผ่านไปแค่ 100 ปีหิมะบน “เทือกเขาแอลป์” ที่ขึ้นชื่อว่าเป็น “หลังคาของยุโรป” จะลดลงโดยเฉลี่ยถึง 34% โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณทางลาดด้านตะวันตกเฉียงใต้ของเทือกเขา
การศึกษาที่นำโดยนักวิทยาศาสตร์จากศูนย์วิจัย Eurac ในอิตาลี พบว่า ปริมาณหิมะลดลงอย่างเห็นได้ชัดหลังจากปี 1980 ซึ่งตรงกับช่วงที่อุณหภูมิเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นกัน กล่าวอีกนัยหนึ่ง การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกำลังเปลี่ยนแปลงรูปลักษณ์ของเทือกเขาที่สูงที่สุดของยุโรปอย่างมาก
แต่บริเวณของเทือกเขาแอลป์มีปริมาณหิมะหายไปไม่เท่ากัน โดยบริเวณทางตอนเหนือของเทือกเขาแอลป์มีหิมะน้อยลง 23% ส่วนบริเวณเนินเขาทางตะวันตกเฉียงใต้หิมะตกลดลงเกือบ 50% โดยเฉพาะพื้นที่ที่อยู่ต่ำกว่าระดับความสูง 2,000 เมตร และอยู่ในพื้นที่ทางตอนใต้ เช่น อิตาลี สโลวีเนีย รวมถึงเทือกเขาแอลป์ในออสเตรีย
ตั้งแต่ปี 1980 เป็นต้นมา อุณหภูมิอากาศเฉลี่ยที่สถานีตรวจอากาศบันทึกได้ เริ่มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยมีค่าสูงขึ้นเกือบ 1 องศาเซลเซียสเหนือค่าเฉลี่ย 100 ปี นอกจากนี้อุณหภูมิที่สูงขึ้นจะทำให้หิมะไม่สามารถก่อตัวได้ในระดับความสูงที่ต่ำกว่า แต่จะเปลี่ยนเป็นฝนแทน นี่จึงเป็นอีกสาเหตุที่ทำให้ปริมาณหิมะตกต่อปีลดลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในเขตอบอุ่นและระดับความสูงที่ต่ำกว่า
โดยเฉลี่ยภูมิภาคตะวันตกเฉียงใต้และตะวันออกเฉียงใต้มีหิมะตกลดลง 4.9% และ 3.8% ตามลำดับ ในแต่ละทศวรรษ ส่วนในพื้นที่สูงที่อุณหภูมิเย็นเพียงพอ ยังคงมีหิมะที่ตกลงมาค่อนข้างคงที่ แต่ข้อมูลจากการศึกษานี้พบว่ามีฝนตกหนักทับหิมะแม้ในพื้นที่สูง
การศึกษาก่อนหน้านี้แสดงให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้สกีรีสอร์ตหลายแห่งทั่วโลกมีความเสี่ยงสูงที่จะไม่มีหิมะภายในสิ้นศตวรรษนี้ โดยรีสอร์ต 1 ใน 8 แห่งทั่วโลกจะไม่มีหิมะตั้งแต่ปี 2071-2100
แม้แต่เทือกเขาแอลป์ในยุโรป ซึ่งเป็นที่ตั้งของลานสกี 69% ของโลก ก็คาดว่าจำนวนวันที่มีหิมะน้อยลง 42% ภายในปี 2100 ซึ่งในตอนนี้บริเวณเทือกเขาแอลป์ของออสเตรียได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุด มีหิมะปกคลุมเพียง 38 วันต่อปี

07/12/2024
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลสินเชื่อธุรกิจจากฐานข้อมูลบัญชีลูกหนี้นิติบุคคลอันเป็นฐานข้อมูลสถิติที่ไม่ระบุ...
06/12/2024

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลสินเชื่อธุรกิจจากฐานข้อมูลบัญชีลูกหนี้นิติบุคคลอันเป็นฐานข้อมูลสถิติที่ไม่ระบุตัวตนของบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (NCB) จำนวนบัญชีเฉลี่ย 1.7-1.8 ล้านบัญชีต่อไตรมาส ด้วยข้อมูลจนถึงไตรมาส 2/2567 พบ 5 ประเด็นสำคัญ ได้แก่
1. คุณภาพของหนี้ธุรกิจไทยกลับมาถดถอยลงตั้งแต่ช่วงปลายปี 2566 หลังหมดแรงส่งมาตรการช่วยเหลือทางการเงินช่วงโควิด-19
2. ธุรกิจยิ่งเล็ก ปัญหาหนี้เสียยิ่งรุนแรง
3. สถาบันการเงินทุกประเภทต่างก็เผชิญผลกระทบที่ชัดเจนมากขึ้น
4. เมื่อเจาะกลุ่มปัญหาเรื้อรังพบว่า ระดับความรุนแรงของปัญหาหนักกว่าพอร์ตสินเชื่อธุรกิจโดยรวม และปัญหาหนี้ของธุรกิจขนาดเล็กและกลางน่าห่วงมากขึ้น
5. ประเภทธุรกิจที่เผชิญปัญหาคุณภาพหนี้ คือ ภาคอสังหาริมทรัพย์ ที่พักและอาหาร ค้าส่งค้าปลีก และภาคการผลิต ซึ่งสะท้อนปมปัญหา ที่เกิดขึ้นจากโจทย์เฉพาะหน้าและปัญหาเชิงโครงสร้างที่รอทุกภาคส่วนร่วมแก้ไข

ที่อยู่

24/10 ทวีวัฒนา
Bangkok
10170

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ Learning Stocks to Rich.ผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

แชร์