Sasi Soraya karun

Sasi Soraya karun ข้อมูลการติดต่อ, แผนที่และเส้นทาง,แบบฟอร์มการติดต่อ,เวลาเปิดและปิด, การบริการ,การให้คะแนนความพอใจในการบริการ,รูปภาพทั้งหมด,วิดีโอทั้งหมดและข่าวสารจาก Sasi Soraya karun, บริษัทด้านสื่อ/ข่าวสาร, Bangkok.

17/04/2025

"เงินเปรียบเสมือนน้ำมันรถ
รถต้องการน้ำมันเพื่อขับเคลื่อน
ไม่ใช่ขับไป เพื่อเติมน้ำมัน
ธุรกิจก็เช่นกัน จุดประสงค์ของธุรกิจไม่ใช่แค่การทำเงิน
แต่เพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายหรืออุดมการณ์ที่ยิ่งใหญ่กว่า"
- ไซมอน ซิเน็ค นักพูดและผู้เขียนที่มีชื่อเสียงจากหนังสือ Start With Why
#ไซมอนซิเน็ค

30/03/2025

เรามีค่าต่อคนที่รักเราเสมอ
ทุกครั้งที่เราเจ็บปวดคนที่รักเราย่อมเจ็บยิ่งกว่า

#เกลาไปพร้อมกัน
#เกลานิสัยอันตราย

02/03/2025

กฏของการมีความสุขและดึงดูดชีวิตที่ต้องการ
คือการชื่นชมขอบคุณสิ่งต่างๆ รอบตัว
และมีทัศนคติต่อการใช้ชีวิตที่ดี

🌟The golden rule is to be grateful and positive.🌟

ในชีวิตคนเราแน่นอนว่า
เราไม่สามารถเจอแต่วันดีๆ ได้หรอก
แต่การมีทัศนคติต่อการใช้ชีวิตที่ดี
จะทำให้เราก้าวต่อไปได้อย่างมีความสุข
ทัศนคติที่ดี เกิดจากความคิดที่ดี
และความคิดที่ดีจะส่งผลให้พลังงานในตัวเราดีตามไปด้วย และคลื่นพลังงานเหล่านี้จะดึงดูดสิ่งที่มีความถี่และพลังงานระดับเดียวกันเข้ามาหาเรา
เมื่อเรามีความคิดดี จิตที่มุ่งโฟกัสแต่สิ่งที่ดี
ไม่คิดมาก ไม่เครียด ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่วิตกกังวล
อยู่กับปัจจุบันขณะ และมีสติรู้ตัวอยู่เสมอ
จะทำให้เรากลายเป็นคนที่มีคลื่นความถี่สูง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรู้สึกขอบคุณและชื่นชมยินดีต่อสิ่งต่างๆ ที่เรามีในชีวิตก็จะยิ่งทำให้เรามีพลังงานที่ดีมากขึ้นไปอีก
ฝึกชื่นชมยินดีกับสิ่งที่มี
และเชื่อมั่นไว้เสมอว่าเราคู่ควรกับสิ่งที่ดีเสมอ
ความเชื่อตัวนี้จะทำให้เรามองเห็นข้อดีในทุกๆ อุปสรรคและมีพลังใจในการใช้ชีวิตต่อไป

📍5 วิธีสร้างทัศนคติบวกๆ และมีพลังงานที่ดี

1 #ปรับมุมมอง
สิ่งใดเกิดขึ้นแล้วก็ให้หาบทเรียนจากมัน
การจมปลักกับความทุกข์ไม่ได้ช่วยให้อะไรดีขึ้น
เราสามารถมูฟออนและเริ่มต้นใหม่ได้เสมอ

2 #มีเป้าหมายของตัวเอง
ถ้าไม่มีเป้าหมายจะทำให้เราขาดพลังงานในการใช้ชีวิตและไม่รู้ว่าจะทำสิ่งต่างๆ ไปทำไม
ลองฝึกตั้งเป้าเล็กๆ และทำให้สำเร็จในแต่ละวันดู

3 #อย่าเป็นคนขี้บ่น
คำพูดมีผลต่อเรามาก โดยเฉพาะสิ่งที่เราพูดกับตัวเองเพราะสมองของเราจะได้ยินและเชื่อคำพูดเหล่านั้นเป็นคนแรก

4 #ฝึกมีความสุขกับสิ่งง่ายๆ
อย่าตั้งเงื่อนไขในการมีความสุขของตัวเองมากนัก ยิ้มให้ง่าย หัวเราะให้บ่อย แล้วจะพบว่าความสุขมันง่ายๆ แค่นี้เอง

5 #ไม่ย่อท้อต่อปัญหาแต่อย่าจมกับปัญหา
แม้จะมีเรื่องเครียดหรือกังวลมากแค่ไหน
อย่าให้มันมาทำให้เรากลายเป็นคนอมทุกข์
ปัญหามีไว้ให้แก้ ไม่ได้มีไว้ให้กลุ้ม
อย่ายอมแพ้..ทุกๆ วันคือการเริ่มต้นใหม่


#เกลาไปพร้อมกัน
#เกลานิสัยอันตราย

Writer : kanompang

Ref.
https://www.skilllane.com/blogs/4-ways-to-think-positively?srsltid=AfmBOoor2Vd3ICsGNrR7Ai18BepgVEZELI-L_H1a7BUuT2Jliqnq7Iym

22/02/2025

เป้าหมายที่ชัดเจน
บริหาร 2 อย่าง
"วินัย" กับ "เวลา"
ในโลกแห่งการพัฒนาตนเอง มีผู้เชี่ยวชาญมากมายที่ได้ถ่ายทอดแนวคิดและประสบการณ์ที่มีคุณค่า หนึ่งในนั้นคือ จิม โรห์น (Jim Rohn) เขาคือผู้ประกอบการ นักเขียน และนักพูดสร้างแรงบันดาลใจชาวอเมริกัน
เขาเขียนหนังสือหลายเล่มรวมถึงวิธีได้รับความมั่งคั่งและความสุข อย่าง The Five Major Pieces to the Life Puzzle , 7 Strategies for Wealth & Happiness
นี่คือ 9 แง่คิดและคำสอนที่ช่วยจุดประกายแรงบันดาลใจให้กับชีวิตของ โดย จิม โรห์น
1. "เราทุกคนต้องอดทนอยู่หนึ่งสิ่ง หากไม่ใช่ความเจ็บปวดจากการมีวินัย ก็คงเป็นความเจ็บปวดจากความผิดหวัง"
สอนให้เราเข้าใจว่า “ทุกการเลือกมีผลลัพธ์ การเลือกที่จะมีวินัยอาจยากลำบาก แต่ดีกว่าความเสียใจในภายหลัง”

2. "อย่าไปหวังว่ามันจะง่ายขึ้น แต่จงหวังว่าคุณจะต้องเก่งขึ้น อย่าไปหวังว่าปัญหาจะลดลง แต่จงหวังว่าคุณจะมีทักษะที่มากขึ้น"
เน้นย้ำถึงการพัฒนาตนเอง แทนที่จะรอให้สถานการณ์เอื้ออำนวย
3. "ความมีวินัย คือ สะพานที่เชื่อมระหว่างเป้าหมายและความสำเร็จ"
เขาจะเน้นย้ำเรื่องวินัยอยู่เสมอ แม้เราจะเก่งขนาดไหน แต่การขาดวินัยจะมาฉุดรั้งเราอยู่ดี
4. "สิ่งดีงามใด ๆที่เราสร้าง ท้ายที่สุดสิ่งนั้นก็จะมาสร้างเรา"
สะท้อนให้เห็นว่าการทำสิ่งดี ๆ จะส่งผลกลับมาพัฒนาตัวเราเองในที่สุด
5. "จงเรียนรู้ที่จะมีความสุขกับสิ่งที่คุณมี พร้อม ๆ กับการไล่ล่าทุกสิ่งที่คุณต้องการ"
สอนให้รู้จักสมดุลระหว่างความพอใจในปัจจุบันและความทะเยอทะยาน
6. "ความสำเร็จไม่มีอะไรที่มากไปกว่าการมีวินัยทั่ว ๆ ไป เพราะจำเป็นต้องฝึกฝนเป็นประจำทุก ๆ วัน".
เน้นว่าความสำเร็จมาจากการทำสิ่งเล็ก ๆ อย่างสม่ำเสมอ
7. "แรงกระตุ้นจะเป็นสิ่งที่ทำให้คุณได้เริ่มต้น แต่นิสัยจะเป็นสิ่งที่ทำให้คุณก้าวต่อไปข้างหน้า"
ชี้ให้เห็นความสำคัญของการสร้างนิสัยที่ดีมากกว่าแค่แรงบันดาลใจชั่วครั้งชั่วคราว

8. "วันแต่ละวันนั้นมีค่า เมื่อคุณใช้หมดไปหนึ่งวัน คุณก็จะเหลือวันให้ใช้น้อยลง"
เตือนให้ตระหนักถึงคุณค่าของเวลาและการใช้ชีวิตอย่างมีความหมาย
9. "เวลานั้นมีค่ามากกว่าเงิน เพราะเงินคุณสามารถหาเพิ่มได้เสมอ แต่คุณไม่สามารถหาหรือซื้อเวลาเพิ่มได้เลย"
ย้ำเตือนถึงความสำคัญของการบริหารเวลาและการใช้เวลาอย่างคุ้มค่า
ความสำเร็จไม่ได้มาจากโชคชะตาหรือพรสวรรค์ แต่มาจากการลงมือทำอย่างมีวินัย การพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง และการใช้เวลาอย่างชาญฉลาด
เขียนและเรียบเรียงโดย 100WEALTH
———
100WEALTH l ไปให้ถึง100ล้าน

#ไปให้ถึง100ล้าน
อ้างอิง
https://bit .ly/4hZ1upJ

16/02/2025

พบกับคลิปสัมภาษณ์ คุณประสาน อิงคนันท์
พิธีกร และเจ้าของช่อง มนุษย์ต่างวัย
ได้แล้ววันนี้ทางช่อง Youtube 👉🏻 klaoshow
#สัมภาษณ์
#เกลาไปพร้อมกัน
#เกลานิสัยอันตราย

06/02/2025

ใครสอบผ่านทั้ง 10 ข้อ ยกมือขึ้นนน
มีตัวเลขที่น่าสนใจจากกรมสุขภาพจิตชุดหนึ่งรายงานว่า สถิติการฆ่าตัวตายของประเทศไทยในช่วงเดือนตุลาคม 2565 ถึงเดือนกันยายน 2566 คนไทยเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายถึง 5,172 คน หรือเท่ากับ 7.94 ต่อแสนประชากร เฉลี่ยวันละ 14 คน หรือเสียชีวิต 1 คนในทุก 2 ชั่วโมง
ที่น่าสนใจไปกว่านั้นก็คือถ้าลงลึกไปเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุจะพบว่าหลังช่วงเทศกาลสำคัญๆ เช่น ปีใหม่, สงกรานต์ เส้นกราฟของการพยายามฆ่าตัวตายจะพุ่งสูงขึ้นอย่างชัดเจน
เหตุผลส่วนหนึ่งนั้นมาจากพฤติกรรมของผู้สูงอายุทั่วโลกจะเป็น Passive คือไม่อยากไปไหน แต่มักจะรอให้ลูกหลานที่ไปทำงานต่างถิ่นกลับมาเยี่ยมบ้าน ในขณะที่ลูกหลานพยายามส่งเสริมให้เป็น Active คือออกไปใช้ชีวิตนอกบ้านแต่ไม่มีเวลาให้
เมื่อความต้องการสวนทางกับความเป็นจริงบ่อยครั้งเข้าก็กลายเป็นปัญหาสังคมขึ้นมา
ที่ยกตัวอย่างมานี้เป็นเพียงเศษเสี้ยวส่วนหนึ่งของปัญหาสังคมที่ทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยี รวมไปถึงพฤติกรรมและค่านิยมของผู้คน
กลับมาที่แวดวงธุรกิจ ความเครียดจากสภาพเศรษฐกิจหลัง COVID-19 ที่ยังไม่ฟื้นตัวดีนักทำให้หลายองค์กรต้องเผชิญกับความท้าทายที่มาจากปัญหารอบด้าน อาทิ ปัญหาตัวเลขรายได้ ปัญหาช่องว่างระหว่างวัยในองค์กร ปัญหาเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ฯลฯ
เมื่อทุกอย่างหลอมรวมเข้าหากัน ในจังหวะเดียวกันก็กลายเป็นสิ่งที่มาบั่นทอนจิตใจคนวัยทำงาน ทั้งฝั่งเจ้าของธุรกิจไปจนถึงพนักงานทุกระดับ ดังจะเห็นได้จากตัวเลขเปอร์เซ็นต์การ Turn Over ของคนในองค์กรสูงขึ้นอย่างมาก
การที่คนไทยทุกเพศทุกวัยต้องเผชิญกับความเครียด ความวิตกกังวล ทั้งชีวิตส่วนตัวและเรื่องงานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นำมาซึ่งการป่วยจากปัญหาสุขภาพจิตขึ้นเป็นเงาตามตัว
มากจนกระแสสังคมเริ่มเรียกร้องให้ทุกภาคส่วนหันมาให้ความสำคัญกับเรื่อง Well-being มากขึ้น
และนี่คือ ดัชนีวัดสุขภาวะเบื้องต้นว่า ทุกคนยังโอเคอยู่ไหม?
1. Physical Well-being : #สุขภาวะทางกาย
ไม่ว่าคุณจะเป็นเจ้าของกิจการใหญ่โต พนักงานออฟฟิศ หรือกรรมกร แต่ถ้าวันไหนอดกินข้าวสักมื้อ นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ ก็มีสภาพอิดโรยไม่ต่างกัน แม้การกินให้อิ่มนอนหลับจะเป็นเป้าหมายธรรมดาๆ คือโอกาสในการเลือกอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน มีร่างกายที่แข็งแรง อันเป็นพื้นฐานสำคัญของการมีสุขภาวะที่ดี
2. Emotional Well-being : #สุขภาวะทางจิต
จากการสำรวจความสุขของประชากรโลกโดย World Happiness Report พบว่า ประเทศไทยของเราอยู่ในลำดับที่ 58 (5.976 คะแนน) วัดจากความพึงพอใจในชีวิตของตัวเองจากกลุ่มตัวอย่างราวๆ 1,000 คน แม้จะขยับขึ้นมา 2 ลำดับจากปีก่อน แต่จำนวนผู้ป่วยจิตเวชยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็น 2.3 ล้านคน (กรมสุขภาพจิต, 2564)
3. Spiritual Well-being : #สุขภาวะทางจิตวิญญาณ
ทุกคนต่างก็มีภาระและความคาดหวังที่ต้องแบกรับไว้ จนบางทีรู้สึกเหนื่อยกับเส้นทางชีวิตที่ดูเหมือนจะไร้จุดหมาย หากแต่เราค้นพบตัวตน (Self-Actualization) ตระหนักรู้ในคุณค่าของตัวเอง เตรียมใจเผชิญปัญหาที่อาจเจอในวันข้างหน้า ขัดเกลาศักยภาพที่มีให้เบ่งบาน ยอมรับในจุดด้อยของตัวเอง และโอบรับความไม่สมบูรณ์แบบของชีวิต ไม่ว่าอุปสรรคใด ๆ ก็จะผ่านไปได้อย่างราบรื่น แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ามีน้อยคนนักที่จะสามารถรับมือกับความทุกข์ได้อย่างทันท่วงที
4. Social Well-being : #สุขภาวะทางสังคม
ไม่ว่าใครก็อยากได้รับการยอมรับว่ามีตัวตน หรือได้เป็นคนสำคัญของสังคมนั้นๆ เมื่อได้รับการยอมรับก็จะรู้สึกมั่นใจที่จะลงมือทำสิ่งดี ๆ มากยิ่งขึ้น สุขภาวะทางสังคมจึงจำเป็นต่อสังคมการทำงาน เทียบเท่ากับเทรนด์การสร้างสภาพแวดล้อมการทำงาน DEI & B ย่อมาจาก Diversity (ความหลากหลาย), Equity (ความเสมอภาค), Inclusion (การหลอมรวม) และ Belonging (การเป็นส่วนหนึ่ง) ซึ่งเป็นหนึ่งในขั้นตอนการสร้างความเชื่อใจกันภายในทีม (Psychological Safety)
5. Intellectual Well-being : #สุขภาวะทางสติปัญญา
หลายคนอาจเคยได้ยินคำว่าการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Long Life Learning) ไม่ใช่การเรียนหนังสือจนแก่จนเฒ่า แต่เป็นความสามารถในการเพิ่มพูนทักษะและองค์ความรู้อย่างต่อเนื่อง เปิดใจรับแนวคิดและประสบการณ์ใหม่ ๆ เพราะการศึกษาไม่ได้จบแค่ในห้องเรียน ควรเป็นสิ่งที่ทำให้รู้จักตัวเองมากขึ้น เพื่อที่จะได้มีแนวทางในการพัฒนาตัวเองต่อไป
6. Occupational Well-being : #สุขภาวะในการทำงาน
คนเราจะรู้สึกว่าชีวิตมีคุณค่าก็ต่อเมื่อได้สร้างคุณประโยชน์อะไรบางอย่างขึ้นมา #การทำงานก็เช่นกัน แต่แม้จะทำออกมาได้ดีเพียงใด ในวันข้างหน้าก็อาจจะมีอุปสรรค จนก่อให้เกิดความเหนื่อยล้าทางกายและทางใจสะสมอย่างต่อเนื่อง ต่อให้งานนั้นเป็นสิ่งที่รักมากเพียงใด ก็สามารถทำให้รู้สึกไม่อยากทำอีกต่อไปเลยก็เป็นได้ หรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อภาวะหมดไฟ (Burnout Syndromes) เป็นเมกะเทรนด์ที่สะท้อนให้องค์กรกลับมาดูว่า สุขภาวะของพนักงานดีแล้วหรือยัง
7. Financial Well-being : #สุขภาวะด้านการเงิน
แม้ GDP จะขยับขึ้นมาเล็กน้อย หรือหนี้ครัวเรือนของคนไทยจะลดลงจากปี 2566 เป็น 90.7% แต่ก็ยังถือว่าสูงมากในประเทศที่ภาวะเศรษฐกิจผันผวน อธิบายให้เห็นภาพชัดๆ ก็คือนาย A มีเงินในกระเป๋าตัง 100 บาท แต่ต้องจ่ายหนี้ไปแล้ว 90 บาท เท่ากับว่านาย A จะเหลือเงินไว้ใช้เพียง 10 บาทเท่านั้น ซึ่งทำให้ความยืดหยุ่นทางการเงินติดลบ ประกอบกับปัจจัยมากมายที่ทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อยากขึ้น เช่น ค่าครองชีพ อัตราดอกเบี้ย ในขณะเดียวกันก็กระทบต่อภาคธุรกิจในหลาย ๆ อุตสาหกรรมอีกด้วย การวางแผนการเงินให้ครอบคลุมจึงเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องได้รับการ Educate มากขึ้น
8. Environmental Well-being : #สุขภาวะด้านสิ่งแวดล้อม
หากเปรียบเทียบกับชีวิตของเด็ก นอกจากที่บ้านแล้ว พวกเขาจะเติบโตหรือแหลกสลายก็ขึ้นอยู่กับโรงเรียน โดยเฉพาะเพื่อน ๆ คุณครูที่มีส่วนในการหล่อหลอมว่าเด็กคนนั้นจะโตมาเป็นคนแบบไหน เมื่อเป็นผู้ใหญ่ก็เปลี่ยนจากโรงเรียนเป็นที่ทำงาน ได้พบกับสังคมใหม่ ๆ ก็ต้องปรับตัวให้เข้ากับคนหมู่มาก ซึ่งนอกจากผู้คนแล้วก็ยังมีสภาพแวดล้อมก็มีส่วนสำคัญไม่แพ้กัน
9. Creative Well-being : #สุขภาวะทางความคิดสร้างสรรค์
มีศิลปินท่านหนึ่งกล่าวไว้ว่า “คุณค่าของศิลปะไม่ได้ขึ้นอยู่กับการตีราคา แต่อยู่ที่ว่าเราพร้อมที่จะยอมจ่ายให้มันได้มากน้อยแค่ไหน” เช่นเดียวกับความคิดสร้างสรรค์ จะควรค่าแก่การหยิบขึ้นมาเชิดชูก็ต่อเมื่อผู้คนเห็นคุณค่าบางอย่างในตัวมัน ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ทางศิลปะ วัฒนธรรม และมุมมองอันหลากหลายของผู้คนในสังคม
10. Digital Well-being : #สุขภาวะทางดิจิทัล
มีงานวิจัยมากมายที่เผยว่าโลกดิจิทัลมีส่วนทำให้สุขภาพย่ำแย่ลง กระทบต่อทั้งสุขภาพกายและจิตใจ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าเทคโนโลยีเข้ามาช่วยให้การใช้ชีวิตง่ายขึ้น แล้วแต่ว่าจะนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างไรได้บ้าง อย่างโลกของการทำงานก็นำ AI เข้ามาเป็น Co-Pilot ได้หลายอย่าง ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
อ่านเนื้อหาฉบับเต็มได้ที่
https://www.brandage.com/article/41565

#สุขภาวะ #สุขภาวะที่ดี

31/01/2025

ฝึกควบคุมอารมณ์ตัวเองให้เป็น
อย่าเป็นคนสติแตก
อย่าตกเป็นเหยื่อของสถานการณ์
"ควบคุมอารมณ์ได้ก็เป็นนายชีวิต"

คนที่สามารถควบคุมอารมณ์ตัวเองได้ดี
จะสามารถกำหนดทิศทางของชีวิตตัวเองได้ดีเช่นกัน
อย่าปล่อยให้อารมณ์เพียง 1% มาทำลายความพยายาม 99% ของคุณ
ถ้าเราจัดการอารมณ์ตัวเองไม่เป็น
อาจทำให้กลายเป็นโรคอื่นๆ ทางสุขภาพจิตตามมาได้ เพราะอารมณ์มีผลกระทบโดยตรงต่อร่างกายและจิตใจ..วันนี้เกลาจึงมีเทคนิคจัดการอารมณ์ง่ายๆ มาฝากกันค่ะ

📍เมื่อรู้สึกอารมณ์กำลังพุ่งสูงจนแทบจะควบคุมไม่ได้ ให้ลองทำตามวิธีเหล่านี้ดูนะ

🧚‍♀️วิธีเพิ่ม EI (Emotional intelligence )

1.เปลี่ยน stage (วิธีรวดเร็ว)
- เปลี่ยนสภาวะอารมณ์ ด้วยการเปลี่ยนกายภาพ
ให้ลุกขึ้นมาขยับร่างกายจะเต้นหรืออะไรก็ได้แต่ขอให้ได้ขยับ และมองแล้วยิ้มหัวเราะให้ตัวเองในกระจก

2.รู้เท่าทันอารมณ์ (รู้ว่าตัวเองกำลังรู้สึกอะไรอยู่)
--> เรียกชื่อมันออกมา --> ดูมัน
เช่นเรากำลังเครียด ให้เราทักมันเลยว่า‘ความเครียดกำลังเกิดในใจฉัน'
(ความเครียดกับเราคือคนละคน/คนละตัวกัน, อารมณ์กับตัวเราเป็นคนละส่วนกันนะ อย่าเอามันมาเป็นตัวเรา)

3.เขียนออกมาว่าเราจะจัดการกับเรื่องนี้ยังไง
แยกเป็น 2 ส่วนคือ
#แก้ได้
- แก้ได้ด้วยตัวเอง
- ขอความช่วยเหลือจากคนอื่น

#แก้ไม่ได้
- ถ้ามันเกิดไปแล้วและแก้ไม่ได้แล้ว (จิตของเราจะเกิดความกังวล) ให้เราหาวิธีป้องกัน
- ช่างแม่ง

แน่นอนว่าสิ่งเหล่านี้มันไม่ได้ทำได้ง่ายๆ
แต่เราต้องรู้จักฝึกและควบคุมอารมณ์ตัวเองให้เป็น เพื่อจะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อของสถานการณ์
และสามารถเลือกผลลัพธ์ของชีวิตที่ต้องการได้ด้วยตัวเอง 🧡


#เกลาไปพร้อมกัน
#เกลานิสัยอันตราย

Writer : kanompang

Ref.
• นักจิตวิทยาแนะนำ 6 ขั้นตอนควบคุมอารมณ์อย่างมีสติ
https://www.istrong.co/single-post/6steps-to-consciously-control-your-emotions?srsltid=AfmBOoo62iRZEMsw_AIkAIwy0sp_2pREYrYfWBgfBErTTufJ8V-Xq5Dx
• หนังสือควบคุมอารมณ์ได้ก็เป็นนายชีวิต
• เพจเฟสบุ๊คครูเงาะ รสสุคนธ์ กองเกตุ

15/01/2025

สกิลที่ต้องมีใน 2025
“เชื่อมั่นในทางที่เลือก”
แบบเผื่อความเสี่ยง
ทำให้สุดซักทางก่อน ค่อยเปลี่ยน
ตอนนี้ไม่มีอะไรเหมือนเดิมแล้ว ทุกอย่างเร็วมาก
ทางเลือกเยอะ เศรษฐกิจผันผวน เอาแน่นอนไม่ได้
จะตัดสินใจอะไรก็ดูท้าทายมากขึ้น
หลายคนอาจคุ้นเคยกับแนวคิด "กล้าที่จะลาออกเพื่อไล่ตามความฝัน"
แต่ในความเป็นจริง การมีงานประจำที่มั่นคงอาจเป็นฐานที่แข็งแกร่งที่จะช่วยให้เราก้าวไปสู่เป้าหมายได้มั่นคงกว่า โดยเฉพาะในช่วงที่เศรษฐกิจยังไม่แน่นอน
จากการสำรวจล่าสุดของ Indeed พบว่า พนักงานรุ่นใหม่ทั้ง Millennials และ Gen Z มีแนวโน้มที่จะเผชิญกับภาวะหมดไฟในการทำงานเร็วกว่ารุ่นก่อนหน้า
เพราะส่วนหนึ่งมาจากความกดดันทางการเงินและความคาดหวังในชีวิตที่สูงขึ้น การตัดสินใจลาออกโดยขาดการวางแผนที่ดีจึงอาจนำไปสู่ปัญหาที่ใหญ่กว่าเดิม
แทนที่จะมองหาทางออกด้วยการลาออกทันที การเรียนรู้ที่จะจัดการกับความท้าทายในงานปัจจุบันและค่อย ๆ สร้างโอกาสใหม่ควบคู่กันไป อาจเป็นทางเลือกที่ดีกว่า เพราะจะไม่ใช่แค่ช่วยลดความเสี่ยงทางการเงิน แต่ยังเปิดโอกาสให้เราได้เรียนรู้และพัฒนาตัวเองอย่างรอบด้านก่อนที่จะก้าวไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่
พูดง่ายๆว่า ทำควบไปก่อน หรือทำให้สุดซะก่อน แล้วค่อยเลือกดูอีกที
โดยสำหรับคำแนะนำให้ยังคงสามารถทำสิ่งใหม่ๆ ควบไปกับงานประจำได้ มีดังนี้
O ค้นหาและพัฒนาจุดแข็งในงานปัจจุบัน แทนที่จะมองหางานใหม่ทันที
ลองสำรวจว่าเราทำอะไรได้ดีในงานปัจจุบัน และหาโอกาสพัฒนาทักษะเหล่านั้นให้โดดเด่นยิ่งขึ้น เช่น ถ้าเราเก่งด้านการวิเคราะห์ข้อมูล อาจขอรับผิดชอบโปรเจกต์ที่ใช้ทักษะนี้มากขึ้น หรือถ้าชอบงานครีเอทีฟ ลองเสนอไอเดียใหม่ ๆ ให้ทีม
ข้อดีของการยังมีงานประจำคือ มีรายได้แน่นอนระหว่างเริ่มต้นธุรกิจ , ลดความเสี่ยงและความกดดันทางการเงิน , มีเงินทุนสำหรับลงทุนในธุรกิจส่วนตัว
O เริ่มต้นโปรเจกต์เล็ก ๆ ควบคู่ไปกับงานประจำ
ค่อย ๆ พัฒนาธุรกิจจากเล็ก ๆ เพื่อดูความมั่นคงในอนาคต จะได้มีเวลาทดลองและปรับปรุงแนวคิดธุรกิจ , สร้างฐานลูกค้าอย่างค่อยเป็นค่อยไป , เรียนรู้จากความผิดพลาดโดยไม่กระทบชีวิตมากเกินไป
O รักษาสมดุลชีวิตระหว่างงานประจำกับโปรเจกต์ส่วนตัว
จัดการเวลาระหว่างงานประจำและธุรกิจส่วนตัว พอมีเวลาที่ชัดเจนเราจะลดความเครียดจากการเริ่มต้นธุรกิจ ที่สำคัญจะมีความยืดหยุ่นในการวางแผนอนาคตด้วย
อย่าลืมว่าความสำเร็จไม่จำเป็นต้องแลกมาด้วยการเสียสละทุกอย่าง บางครั้งการมีงานประจำที่ดีก็เป็นฐานที่มั่นคงให้เราก้าวไปสู่เป้าหมายได้อย่างมีความสุขมากกว่า
เพียงแค่หางานที่ใช่ จัดสรรเวลาให้กับโปรเจกต์ส่วนตัวอย่างสม่ำเสมอ เรียนรู้และพัฒนาตัวเองไปทีละก้าว พร้อมทั้งมีความอดทนและเชื่อมั่นในเส้นทางที่เลือก ก็จะเจอทางที่สำเร็จได้ในแบบของตัวเองแบบเร็วที่สุด
เขียนและเรียบเรียงโดย 100WEALTH
———
100WEALTH l ไปให้ถึง100ล้าน


#ไปให้ถึง100ล้าน
อ้างอิง
https://bit .ly/4iRuSzc

08/01/2025

ในปี 2024 โลกแห่งปัญญาประดิษฐ์กำลังเผชิญกับจุดเปลี่ยนสำคัญที่สะท้อนถึงการแข่งขันอันดุเดือดในตลาดโมเดลภาษาใหญ่ (LLMs) ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นเครื่องมือทางเทคโนโลยี แต่ยังเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนนวัตกรรมทั่วโลก โมเดลเหล่านี้เข้ามามีบทบาทตั้งแต่แชตบอทถามตอบคำถาม การวิเคราะห์ข้อมูลในระดับองค์กร ไปจนถึงการผลักดันขีดจำกัดใหม่ของการสร้างสรรค์เนื้อหาที่ซับซ้อน
บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ต่างทุ่มทรัพยากรเพื่อพัฒนาโมเดลที่ตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของตลาด โดยแบ่งออกเป็นสองสายหลัก คือ โมเดลปิดหรือ Closed-source LLMs ที่พัฒนาโดยบริษัทเพื่อรักษาความเป็นเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญา และโมเดลเปิดหรือ Open-source LLMs ที่นักพัฒนาภายนอกสามารถปรับแต่งได้อย่างอิสระ โดยทั้งสองสายต่างก็มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนนวัตกรรมและตอบสนองความต้องการที่แตกต่างกัน
อ่านต่อได้ที่: https://techsauce.co/tech-and-biz/llms-trends-2025

25/12/2024

ภูเก็ตทำถึงมากกกกกก ♥️🫶🏼

ที่อยู่

Bangkok

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ Sasi Soraya karunผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

แชร์