
12/03/2025
ไม่ได้เขียนมานาน วันนี้อยากมาเล่าเรื่อง regulatory sandbox สำหรับผลิตภัณฑ์ cell cultivated products (CCPs) หรือผลิตภัณฑ์ที่ผลิตมาจากการเลี้ยงเซลล์ (รวมถึงเนื้อจากเซลล์ หรือ เนื้อจากแลบ ที่หลายๆคนเคยได้ยิน)
แน่นอนว่าขั้นตอนการพิจารณาเรื่องความปลอดภัยของอาหารใหม่ (novel food) ในทุกประเทศนั้นมีกฎระเบียบการพิจารณาแตกต่างกันไป แต่สิ่งหนึ่งที่เหมือนกันในแทบทุกประเทศคือ “ระยะเวลาในการร่างกฎระเบียบที่ใช้พิจารณา” ค่อนข้างนาน ยังไม่รวมขั้นตอนการส่งเอกสารให้อย.พิจารณาที่เยอะ และยุ่งยากซับซ้อน
ถ้าประเทศไหนมี guidelineชัดเจน ก็ช่วยให้บริษัทปฏิบัติตามได้ง่ายหน่อย
ยิ่งไม่ชัดเจน ก็อาจต้องจบที่การจ้างที่ปรึกษาให้ช่วยดำเนินการให้
‼️ความไม่ชัดเจน/ ความล่าช้า ด้านregulatory ส่งผลอย่างไร?
ผลดี: คณะกรรมการ/ อย. ได้พิจารณาอย่างถ้วนถี่ว่าผลิตภัณฑ์นั้นปลอดภัยจริง ก่อนอนุญาตให้จำหน่าย/บริโภคในเชิงพานิชย์
ผลเสีย: ความล่าช้าในการพิจารณาทำให้บริษัทไม่สามารถออกผลิตภัณฑ์ได้ ไม่สามารถขายทำเงิน ทำตลาด ไม่ทันเทรนด์/ กระแสความสนใจของผู้บริโภค ➡️ตกรถไฟตั้งแต่ยังไม่เริ่ม มีสิทธิได้เก็บกระเป๋าออกจากบ้านเอเอฟ😅
⁉️ปัญหาเกิดจากอะไร ทำไมล่าช้า
➡️ คนออกกฎ ไม่ได้ทำงาน/ ใช้ ส่วนคนทำงานไม่ได้มีส่วนร่วมในการร่างกฎ
อย.ไม่เคยพัฒนาเทคโนโลยีอุบัติใหม่ ไม่ได้ติดตามสถายการณ์เทคฯ ไม่เข้าใจข้อจำกัดของฝั่งผู้พัฒนา แต่ดันต้องมาร่างกฎควบคุมความปลอดภัย ทำให้เหมือนนั่งเทียนเขียนครอบจักรวาลไว้ก่อน ซึ่งหลายครั้งกลายเป็นการสร้างอุปสรรคให้กับการพัฒนาเทคฯ
*ปัญหาคลาสสิค*
🧐แนวคิดที่น่าสนใจ
มาจาก FSA (Food Standards Agency/ อย.)ประเทศอังกฤษ ที่ได้คัดเลือก8บริษัทผู้ผลิตCCPsให้มาเข้าร่วมโครงการ sandbox เป็นระยะเวลา2 ปี เพื่อให้ผู้พัฒนากับregulatory expertsได้มาร่วมร่างregulationsที่เหมาะสมไปด้วยกัน
โดย8บริษัทนี้ ได้แก่ Hoxton Farms (UK), BlueNalu (USA), Mosa Meat (The Netherlands), Gourmey (France), Roslin Technologies (UK), Uncommon Bio (UK), Vital Meat (France) and Vow (Australia).
จะเห็นได้ว่ามีทั้งบริษัทในประเทศอังกฤษเองและจากต่างชาติ เลือกมาตามความหลากหลายของเทคฯที่ใช้ผลิต และยังมีความร่วมมือกับหลายภาคส่วนทั้งฝั่งมหาลัย(academic), Association ที่ทำงานด้าน alternative protein รวมถึงองค์กร NGO เพื่อให้มีมุมมองจากรอบด้าน
➡️เพื่อวัตถุประสงค์เดียวกัน คือ ได้ผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยออกสู่ปากท้องผู้บริโภค (ส่วนผู้บริโภคจะเลือกกินมั้ย ว่ากันอีกทีนะ😅)
เป้าหมายของโครงการsandboxนี้จับต้องได้ชัดเจน คือได้อย่างน้อย2 ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านเกณฑ์ออกสู่ตลาดภายใน2 ปี
‼️ข้อเสีย/ข้อถกเถียง ในการที่เชิญบริษัทมาร่วมร่างกฎไปด้วยกัน คือ conflict of interest
ใครๆก็อยากให้ผลิตภัณฑ์ตัวเองผ่าน ก็อาจมีbiasดันเรื่องของตัวเองให้ผ่านเป็นพิเศษได้
แต่แอดฯก็ยังเชื่อว่าการมีภาคส่วนอื่นถ่วงดุลอยู่ในทีม น่าจะพอช่วยให้โปร่งใส เป็นกลางได้ระดับหนึ่ง
🇹🇭 ฝากทวงถามฝั่งไทยแลนด์
ร่างcell based meat guideline มา2ปีแล้ว จิ้มให้1ทีมวิจัยรับงานไปเขียนมา เชิญexpertsไประดมสมองแต่ไม่เปิดโอกาสรับฟังความคิดเห็น ไม่มีinputจากฝั่งเอกชน หรือมุมมองจากNGO แถมคนเข้าร่วมมีแต่ทีมไทยแลนด์ ลองพิจารณาsandbox modelนี้ดูไม่เสียหายนะคะ
ศึกนี้ยังอีกยาวไกล
กับตลาด alernative proteinที่กราฟตกทุกภาคส่วน ทั้งการลงทุน ยอดขาย ความนิยม (ใครบอกยังดีๆๆรบกวนส่งข้อมูลให้แอดฯดูยอดขาย/ surveyหน่อย)
แต่ถ้าregulationsคุมกำเนิดเสียแต่ยังไม่ลงแข่ง สนามนี้ก็ไม่ค่อยน่าสนุกเท่าไหร่เลย
ได้ลงแข่งก่อนแล้วให้ผู้บริโภคเป็นตัวชี้วัดความอยู่รอด สนุกกว่า😎
The sandbox programme, funded by the Department of Science, Innovation and Technology’s Engineering Biology Sandbox Fund, will make sure Cell-Cultivated Products (CCPs) are safe for consumers before they’re sold, whilst supporting innovation in the sector.