ฟื้นรากชาวกรุง

ฟื้นรากชาวกรุง สานความร่วมมือ ปลูกสำนึกรัก(ษ์)ถิ่น สร้างกรุงเทพฯ ให้น่าอยู่
Contact Us: [email protected]

“เครือข่ายฟื้นรากชาวกรุง” เป็นความร่วมมือของหน่วยงานและองค์กรภาคประชาชนต่าง ๆ โดยมีวัตถุประสงค์ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม และพัฒนาเมืองโดยเฉพาะกรุงเทพฯ ให้เป็นเมืองที่น่าอยู่และมีการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป

ภารกิจ :
*สร้างพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความเคลื่อนไหวขององค์กรภาคประชาสังคมต่าง ๆ ภายในเครือข่าย
**เผยแพร่ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาเมืองในมิติต่าง ๆ อ

าทิ การอนุรักษ์และฟื้นฟูย่านเก่า ผังเมือง สิทธิชุมชน การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและคูคลอง,ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นกรุงเทพฯ

30/07/2024

"เมื่อวันวานอันหอมหวานของหัวลำโพงไม่อาจหวนกลับ ทว่าเรื่องเล่าและผู้คนยังคงอยู่...ย่านหัวลำโพงในวันก่อน วันนี้เป็นอย่างไร? แล้วภาพอนาคตของพื้นที่แห่งนี้จะถูกกล่าวขานไปในทิศทางไหน?"

ขอเชิญชวนทุกท่านมาร่วมหาคำตอบในงาน #ย่านสร้างสรรค์ หัวลำโพง "Re-Tell The Details : รื้อ เล่า ขาน ตำนานหัวลำโพง"

📆 วันอาทิตย์ที่ 4 สิงหาคม 2567 ตั้งแต่ 10.00-18.00 น.
📍 ณ พื้นที่สร้างสรรค์ ใต้ทางด่วนชุมชนตรอกสลักหิน

กิจกรรมในงานประกอบด้วย

🚩 การนำเสนอ และแสดงผลงานการออกแบบสื่อ"เพื่อชุมชน จากนักศึกษาทั้ง 4 ทีม ได้แก่ ยอดรักสลักหิน ตอกรัก เสาะแสวง และ npths

🚩 กิจกรรมเวิร์กช็อปโดยชุมชนตรอกสลักหิน ภาคีเครือข่าย และเวทีดนตรีโดยเยาวชนในชุมชน

⭐️ กิจกรรมสอนพับกระดาษไหว้เจ้า และทำกระดุมจีน โดย ชุมชนตรอกสลักหิน
⭐️ กิจกรรมศิลปะ โดย มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก ศูนย์ดวงแข
⭐️ กิจกรรมวาดภาพ 'ชุมชนในฝัน' โดย Mutual Ground : มิวทวล กราวน์
⭐️ กิจกรรมสร้างสรรค์โดย นักศึกษานอกระบบ กรมส่งเสริมการเรียนรู้
⭐️ กิจกรรม 'จุดพบเธอ' โดย กลุ่มตอกรัก
⭐️ กิจกรรม 'วาดวันวาน ลานดิน สลักหิน' โดย กลุ่มยอดรักสลักหิน

🚶‍♂️ กิจกรรม Mini City Walk : พาทัวร์ชุมชนตรอกสลักหิน โดย ไกด์เด็กสลักหิน โดยพี่ ๆ ที่สนใจสามารถมาเลือกเวลาที่หน้างาน แล้วขอให้น้อง ๆ พาเราไปสำรวจชุมชนกันได้เลย

💬 ปิดท้ายวันด้วยเวทีเสวนาแลกเปลี่ยน ในหัวข้อ Re-Tell The Details: รื้อ เล่า กิจการย่านหัวลำโพง จากหลากหลายภาคส่วนที่ได้มามีส่วนเกี่ยวข้องในการสร้างสรรค์ย่านหัวลำโพงด้วยกันตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา
มาร่วมบอกเล่าตำนานหัวลำโพงไปด้วยกันกับชุมชนตรอกสลักหิน น้องไกด์เด็ก นักศึกษาทั้ง 4 ทีม พร้อมภาคีเครือข่าย งานดี ๆ แบบนี้พลาดไม่ได้แล้ว!
แล้วเจอกันวันอาทิตย์ที่ 4 สิงหาคมนี้ !!! 🤩
ชุมชนตรอกสลักหิน ย่านหัวลำโพง เป็นส่วนหนึ่งของโครงการย่านสร้างสรรค์ โดยประกอบด้วย ชุมชนตรอกสลักหิน กลุ่มริทัศน์บางกอก มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก เครือข่ายรองเมืองเรืองยิ้ม โดยร่วมมือและได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานเขตปทุมวัน Pathumwan District Office สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร และกรุงเทพมหานคร ในการดำเนินโครงการ
#ย่านสร้างสรรค์ #หัวลำโพง #ชุมชนตรอกสลักหิน #ริทัศน์บางกอก #กทม

18/04/2023

...,.....ปิดรับสมัครครบตามจำนวน.....
..สัมผัสวิถีวัฒนธรรมชุมชนเจริญไชย ..เรียนรู้เรื่องราวกระดาษไหว้
..ในวันพฤหัสบดีที่ 4 พฤษภาคม (วันฉัตรมงคล)
เวลา 10.30น. - 14.00น. ณ.บ้านเก่าเล่าเรื่อง ชุมชนเจริญไชย..ผู้สนใจ โทรศัพท์สมัครจองที่ เบอร์ 081-567-1142 เท่านั้น ตั้งแต่เวลา 10.00น.-15.00น. ไม่รับสมัครทางเฟสบุ๊ค......กิจกรรมนี้ไม่เสียค่าใช้จ่าย รับจำนวนจำกัด 12 ท่านเท่านั้น..หมายเหตุ​ เพื่อป้องกันการสับสนจึงรับสมัครทางโทรศัพท์​เท่านั้น...

10/04/2023

...แจ้งเรื่องปิดห้อง บ้านเก่าเล่าเรื่อง ตั้งแต่ 12--18 เม.ย. เนื่องในเทศกาลสงกรานต์ หลังจากนั้นจะมีการจัดกิจกรรม " สอนพับกระดาษไหว้เจ้า " แก่บุคคลทั่วไป สรุปเรื่องการจัดกิจกรรมเมื่อไหร่ จะมาแจ้งเปิดรับในเพจ บ้านเก่าเล่าเรื่อง...

28/03/2023
17/03/2023
06/12/2022

ไทใหญ่ ศูนย์ปฏิบัติธรรมสาธุประดิษฐ์ ในซอยสาธุประดิษฐ์ 44/1
รัฐฉาน(เมียนมาร์)>เขมร(บางส่วน)>จันทบุรี, กาญจนบุรี, กรุงเทพ
คนไทใหญ่อพยพเข้ามากรุงเทพฯ ตั้งแต่ช่วงต้นรัตนโกสินทร์ โดยมี วัดดอนหรือวัดดอนกุหล่า เป็นศูนย์กลางสำคัญ การตั้งบ้านเรือนของชาวไทใหญ่มักไม่ไกลจากวัด เนื่องจากชาวไทใหญ่ผูกพันกับวัด เพราะถือว่าเป็นแหล่งรวมจิตใจที่สำคัญ กระทั่งปี พ.ศ. 2517 เกิดไฟไหม้ครั้งใหญ่ที่วัดดอนกุหล่า ทำให้กลุ่มคนไทใหญ่ในกรุงเทพฯ ขาดศูนย์รวมจิตใจไปขณะหนึ่ง ต่อมาในปี พ.ศ.2520 ชาวไทใหญ่ได้พยายามสร้างศูนย์ปฏิบัติธรรมของกลุ่มตนขึ้นใหม่ในเขตสาธุประดิษฐ์ เพื่อเป็นศูนย์กลางของชาวไทใหญ่ในกรุงเทพฯ อีกครั้ง
การเข้ามาของชาวไทใหญ่ช่วงแรกเพื่อมาทำการค้าขาย โดยเฉพาะชาวกุหล่าหรือชาวไทใหญ่ในเขมรที่เชี่ยวชาญด้านการทำพลอย อาจกล่าวได้ว่ามีแหล่งอัญมณีที่ไหน มีชาวไทใหญ่อยู่ที่นั่น รวมถึงบ่อไพลินที่เขมร ต่อมาชาวไทใหญ่ประสบปัญหาความไม่สงบในบ้านเมืองของเขมร ทำให้ต้องแยกย้ายไปทำกินที่อื่นๆ ส่วนหนึ่งได้ข้ามเข้ามาทำพลอยในจังหวัดจันทบุรีและกาญจนบุรีของไทย บางส่วนเข้ามาเป็นช่างทำพลอยในกรุงเทพฯ ปัจจุบันช่างพลอยชาวไทใหญ่เหลืออยู่น้อยมาก ยังพบเห็นอยู่บ้างในแถบสีลม การอพยพย้ายถิ่นของชาวไทใหญ่มีเข้ามาเรื่อยๆ โดยระยะหลังชาวไทใหญ่ที่อพยพเข้ามามีทั้งต้องการเข้ามาประกอบอาชีพและผลจากปัญหาทางการเมือง
ปัจจุบันชาวไทใหญ่ในกรุงเทพฯ มี 2 กลุ่มคือ พ่อค้านักธุรกิจและลูกจ้างแรงงาน ส่วนใหญ่คือกลุ่มชนชั้นแรงงานที่ประกอบอาชีพลูกจ้างทั่วไป เช่น ช่างทาสีและทำงานในโรงงาน ในขณะที่ศูนย์รวมจิตใจของชาวไทใหญ่ในปัจจุบันคือ ศูนย์ปฏิบัติธรรมสาธุประดิษฐ์ ในซอยสาธุประดิษธุ์ 44/1 ศูนย์ปฏิบัติธรรมแห่งนี้เป็นสถานที่ที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อประกอบกิจทางศาสนาของพระสงฆ์และกิจกรรมทางสังคมร่วมกัน

อ้างอิง
ปิลันธน์ ไทยสรวง. (2559). ชาวไทใหญ่ในกรุงเทพฯ. มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์. ระบบออนไลน์เข้าถึงได้: https://lek-prapai.org/home/view.php?id=217
วิททยา แก้วบริสุทธิ์ และรุจี ศรีสมบัต. (2563). การศึกษาวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไต (ไทใหญ่)
ในกรุงเทพมหานคร. วารสารสุทธิปริทัศน์. ปีที่ 34. ฉบับที่ 111. ระบบออนไลน์เข้าถึงได้: file:///C:/Users/46121398/Downloads/dpujournal,+%7B$userGroup%7D,+WitayaKae.pdf.
ที่มารูปภาพ: Khurtai Maisoong

07/08/2022

*ปิดรับสมัครแล้วครับ

ชวนร่วมกิจกรรม
ย่ำตรอก ออกซอย ตามรอยบ้านแขกตานี
ทริปเดินสำรวจชุมชนมุสลิมย่านบางลำพู สัมผัสรากวัฒนธรรมมลายูใจกลางเมืองหลวง พร้อมฟังเรื่องเล่าทางประวัติศาสตร์ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และลองชิมอาหารวัฒนธรรมมุสลิมจากร้านอาอีซะฮ์รสดีในตำนาน
ร่วมเดินกับวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ
ศุกรีย์ สะเร็ม / นักประวัติศาสตร์อิสลาม
ก้อง ฤทธิ์ดี / รองผู้อำนวยการหอภาพยนตร์
ดร.วสมน สาณะเสน / นักวิชาการด้านศิลปะอิสลาม
วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม 2565 เวลา 16.00 – 19.30 น.
เข้าร่วมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย รับจำนวนจำกัด
สมัครเข้าร่วมกิจกรรม กรอกข้อมูลส่วนตัวและบอกเหตุผลที่สนใจเข้าร่วมเพื่อทำการคัดเลือกได้ทาง https://www.halallifemag.com/satupadu-trip
จัดโดย
Satu ≠ Padu Collaborative
De’Lapae Art Space Narathiwat
Halal Life
Bangkok Art Biennale

Satu ≠ Padu Collaborative ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2564 เป็นการร่วมทำงานกันระหว่างศิลปินและนักกิจกรรมหลากหลายกลุ่ม โดยมีปรัชญ์ พิมานแมน และ เดอลาแป อาร์ทสเปซ ประสานงานโครงการโดย คีต์ตา อิสรั่น ที่ทำงานร่วมกับกลุ่มคนในพื้นที่จังหวัด ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส มีผลงาน Checkpoint No #2 THE LIVING ARCHIVE ส่วนหนึ่งของนิทรรศการ [R]Ejecting Mantra # CH 1: The Enmeshed (พ.ศ. 2560/2562) โครงการวิจัยและนิทรรศการศิลปะร่วมสมัยรูปแบบต่อเนื่อง โดย ร้าย.ดี คอลเลคทีฟ
อีกทั้งยังได้ทำงานร่วมกับกลุ่ม Halal Life ที่จะนำไปสู่การสำรวจย่านในพื้นที่เชื่อมโยงระหว่างความเป็นมลายูบางกอก ที่บอกเล่าประวัติศาสตร์ของพื้นที่ นำไปสู่การเชื่อมโยงกับภูมิภาคปาตานี (ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) ที่เล่าเรื่องราวความรุนแรงและความขัดแย้งในหลากหลายมุมมองที่อยู่บนเส้นของการศึกษาประวัติศาสตร์การเชื่อมโยงกันของพื้นที่ ผ่านการติดตั้งในรูปแบบผลงานจัดวาง ภาพเคลื่อนไหว เสียง และปฏิสัมพันธ์กับชุมชน

26/07/2022

“หนังสือในสวน” เป็นงานที่คนรักหนังสือจะได้เปิดพื้นที่ แลกเปลี่ยนความคิด กันในพื้นที่สีเขียวใจกลางเมือง สำหรับงานหนังสือในสวนครั้งแรก จะเกิดขึ้นในวันศุกร์ที่ 29 ก.ค. นี้ ที่สวนลุมพินีฯ โดยในงานครั้งนี้จะมีกิจกรรมด้วยกัน 3 โซนหลักๆ แต่ละโซน ทีมผู้จัด JUST READ ได้ออกแบบให้เข้ากับผู้ร่วมงานหลากหลายประเภท หลากหลายอายุวัย

Zone A: Book Clubs ล้อมวงเล็กๆ นั่งพูดคุยกันในประเด็นต่างๆ ของหนังสือที่ตนเองชื่นชอบ ไลฟ์สไตล์การอ่านของตัวเอง หาเพื่อนที่สนใจเรื่องเดียวกัน พูดจาภาษาเดียวกัน ในบรรยากาศสบายๆ (ผู้ร่วมกิจกรรมนี้ ฝากเอาหนังสือมาคนละเล่ม มาร่วมพูดคุยกันด้วย) และเราก็มีล้อมวงสำหรับพ่อ-แม่ ที่ที่จะมาแลกเปลี่ยนทริคสร้างนิสัยรักการอ่านให้ลูกๆ ด้วย

Zone B: Mini talk
เวทีเสนาที่บริเวณศาลาแปดเหลี่ยม พูดคุยใน 2 หัวข้อ

หัวข้อแรก “แลกเปลี่ยนเล่าประสบการณ์การอ่านและหนังสือในดวงใจ” โดยมีแขกรับเชิญ คุณวีรพร นิติประภา และ คุณอลัน จากสนพ.ไดฟุกุ มาพูดถึงหนังสือเล่มแรกที่พาเข้าวงการนักอ่าน และหนังสือที่จะแนะนำให้ตัวเองอ่านหากย้อนเวลากลับไปได้

หัวข้อที่สอง “เวทีประชาชนของคนชอบอ่าน” ที่ได้คุณหนุ่ม-โตมร, คุณสฤณี และรองผู้ว่าฯ ศานนท์ มาพูดคุยถึงการอ่านในเมืองกรุงเทพฯ ว่าเป็นอย่างไร และจะทำอย่างไร ให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองนักอ่านได้

นอกจากนั้น ยังมี Zone C โซนนิทรรศการ ที่ให้ผู้ร่วมได้แสดงความคิดเห็น แชร์ไอเดียพัฒนาห้องสมุดกทม. /มาแนะนำหนังสือจากลิสต์ของตัวเอง และจัด Book Playlist ของตัวเอง/ รวมถึงการส่งต่อหนังสือที่มีประโยชน์ต่างๆ (ของดรับหนังสือธรรมะ หนังสือเรียน หนังสือ How to การลงทุน, เทรดคริปโต และนิตยสาร)

นี่ก็เป็นอีกหนึ่งกิจกรรม ที่เป็นไปตามนโยบายที่เราต้องการเปิดพื้นที่สาธารณะให้คนทุกกลุ่ม ให้ทุกกิจกรรมได้มาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ เพราะเมืองจะมีชีวิตเมื่อคนออกมาใช้ชีวิตครับ

25/06/2022

24 มิถุนายน วันฉลองวันชาติ
เดิมทีในอดีตรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามออกประกาศราชกิจจานุเบกษาให้วันที่ 24 มิถุนายนของทุกปีเป็นวันชาติ โดยลงประกาศเริ่มในวันที่ 18 กราฎาคม พ.ศ. 2481 โดยมีการประกาศสุนทรพจน์ออกวิทยุกระจายเสียงตอนหนึ่งว่า
“.... แม้ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 นั่นเล่า เท่าที่เราได้ทำการล่วงเกินต่อระบอบการปกครองสมัยนั้น ก็มีเพียงขอพระราชทานรัฐธรรมนูญจากองค์พระมหากษัตริย์ ผู้เป็นประมุขอย่างเดียว เพราะไม่มีวิถีทางอย่างอื่นที่จะพึงปฏิบัติได้ .... เราได้ถือตามมติมหาชนตลอดมา ไทยจึงอยู่ในระบอบการปกครองใหม่นั้นได้ดี ผู้ใดจะฝืนย่อมไม่มีความสำเร็จได้เลย ฉะนั้นจึงกล่าวได้เต็มปากว่าวันที่ 24 มิถุนายน นั้นเป็นวันมงคลแท้ของชาติ...”

พร้อมกับวาระแห่งการเฉลิมฉลองในวันชาติทางรัฐบาลได้จัดให้มีการสร้างอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยขึ้นกลางถนนราชดำเนินกลางพร้อมทั้งจัดสร้างสะพานข้ามคลองบางลำพูและตั้งชื่อว่า “สะพานฉลองวันชาติ” ก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2483 พร้อมทั้งรายงานความคืบหน้าของชาติไทยดังนี้

1 เปิดถนนและทางหลวงใหม่ 19 สาย สายยาวที่สุดคือ ถนนประชาธิปัตย์ (ถนนพหลโยธิน) จากกรุงเทพ ถึงลพบุรี
2 เปิดสะพานใหม่ 32 สะพาน
3 เปิดโรงเรียนรวม 66 แห่ง
4 เปิดที่ทำการใหม่ทั้งรัฐ และเทศบาล 21 แห่ง
5 เปิดโรงงานอุตสาหกรรม 10 แห่ง
6 เปิดธนาคาร 3 แห่ง
7 เปิดสนามบินพาณิชย์ 3 แห่ง
8 เปิดบ่อน้ำสาธารณะ 74 แห่ง
9 เปิดสุขศาลา 42 แห่ง
10 เปิดสถานพยาบาล 9 แห่ง
11 เปิดสายการบินใหม่ 2 สาย
12 เปิดราชพิพิธภัณฑ์
13 เปิดสถานอากาศตากทะเลที่ บางแสน บางปู

นอกจากประกาศเป็นวันหยุดราชการแล้ว ยังได้มีการสวนสนามของหทารบก ทหารเรือ นักเรียนนายร้อย นักเรียนเทคนิค ยุวชนทหาร ลูกเสือ นักเรียนชาย หญิง อย่างงดงามในถนนราชดำเนิน และสำหรับโรงเรียนอัสสัมชัญในปี พ.ศ. 2481 ได้จัดให้รวมแถวนักเรียนในตอนเช้ายืนพร้อมเพรียงต่อหน้าเสาธงไตรรงค์พร้อมกับเชิญธงสู่ยอดเสา และยืนสงบนิ่งเพื่อระลึกถึงชาติพร้อมร้องไชโย 3 ครั้งเป็นเสร็จพิธีการเคารพธงในวันชาติ

ภาพขาวดำต้นฉบับ ขอบคุณพี่ประวิทย์ แสงมี ครับ
ลงสี หนุ่มรัตนะ

20/04/2022

กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับ พิพิธภัณฑ์เหรียญกษาปณานุรักษ์ ในนามกรมธนารักษ์ และหน่วยงานเครือข่ายทางวัฒนธรรม จัดงานเฉลิมฉลอง "ใต้ร่มพระบารมี 240 ปี กรุงรัตนโกสินทร์"
ร่วมเดินทางย้อนอดีต เรียนรู้ประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์ ผ่านนิทรรศการเหรียญและเงินตรากว่า 2,000 รายการ
📌 นิทรรศการถาวร
- ปฐมบทแห่งเงินตรา
- นานาอาณาจักรเหรียญ
- เริ่มต้นอาณาจักรไทย
- กษาปณ์รัตนโกสินทร์
- เหรียญกับสังคมไทย
📌 นิทรรศการพิเศษ
- สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระผู้ปฏิรูปเหรียญกษาปณ์ไทย
- เงินตรารัตนโกสินทร์
เข้าชมฟรี! ระหว่างวันที่ 20 - 24 เมษายน 2565 ตั้งแต่เวลาเปิดทำการถึง 20.00 น.
(รอบรับชมสุดท้ายเวลา 19.00 น. และมีรอบทุก 1 ชั่วโมง)

06/02/2022
14/12/2021

สรุปเสวนา "ปิดหัวลำโพงเพื่อการพัฒนา หรือผลักภาระให้ประชาชน" ณ สถานีรถไฟหัวลำโพง (สถานีรถไฟกรุงเทพ) วันอังค.....

09/12/2021

📣12 ธันวาคมนี้

กรมธนารักษ์ร่วมกับประชาคมบางลำพูและหน่วยงานเครือข่าย จัดงาน “เทศกาลเสน่ห์บางลำพู : ตระเวนเที่ยว ตะลอนชิม”

ณ พิพิธบางลำพู ถนนพระสุเมรุ

ภายในงานประกอบด้วย
🔸กิจกรรมเวทีพิพิธภัณฑ์เสวนา เรื่อง “การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ที่มีพิพิธภัณฑ์และชุมชนย่านบางลำพูเป็นศูนย์กลาง”
🔸นิทรรศการพิเศษ เรื่อง “ตระเวนเที่ยว ตะลอนชิม”
🔸กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้เชิงปฏิบัติการ หัวข้อ “ชาญชราเล่าภาพอดีตย่านบางลำพู”

ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทางเพจเฟสบุ๊กพิพิธบางลำพู

#พิพิธบางลำพู #สถาบันไทยคดีศึกษา #สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ #สสส. #ประชาคมบางลำพู #ชมรมเกสรลำพู

ที่อยู่

Phra Nakhon

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ ฟื้นรากชาวกรุงผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ ธุรกิจของเรา

ส่งข้อความของคุณถึง ฟื้นรากชาวกรุง:

แชร์