CODE Me ข้อมูลการติดต่อ, แผนที่และเส้นทาง,แบบฟอร์มการติดต่อ,เวลาเปิดและปิด, การบริการ,การให้คะแนนความพอใจในการบริการ,รูปภาพทั้งหมด,วิดีโอทั้งหมดและข่าวสารจาก CODE Me, เว็บไซต์ข่าวและสื่อ, 84 Boriphat Road , Ban Bat, Pom Prap, Bangkok.

“Culture Decoded, Stories Unfolded”
Architecture & Design | Fashion & Craftmanship | Visual & Performing Arts | Cultural Heritage | Innovations in Cultural Design

What makes me happy is “ช่วยตัวเอง“ เดี่ยวไมโครโฟนของแตงโม___หลังจากเฝ้ารอและพลาดบัตรอยู่หลายรอบ ในที่สุดก็ได้ไปชมเดี่ยว...
02/06/2025

What makes me happy is “ช่วยตัวเอง“
เดี่ยวไมโครโฟนของแตงโม
___
หลังจากเฝ้ารอและพลาดบัตรอยู่หลายรอบ ในที่สุดก็ได้ไปชมเดี่ยวไมโครโฟน "ช่วยตัวเอง" ของ แตงโม – กิตติพร โรจน์วณิช ที่ LIFE Theater แถว CODE Studio ของเราจนได้!
ซึ่งพิเศษมาก เพราะได้ดูรอบทิ้งท้ายทิ้งทวน ในราคามหามิจ แตงโม888 เป็นการตั้งใจตั้งนาฬิกาปลุกเพื่อกดบัตรจนได้ดูเดี่ยวของ "แตงโม" ที่ไม่ได้มาเล่นๆ แต่มาพร้อมทั้งความไวรัล ความแน่น และความโดนใจ แถมมีบทเรียนชีวิตเบื้องหลังเสียงหัวเราะ ที่ทำให้เราคิดได้ว่า...บางทีความสุขก็เริ่มต้นจากการได้รู้จักตัวเองจริง ๆ
___
จุดเริ่มต้น: จากคลิปเสาหัก สู่ "ช่วยตัวเอง" ที่บัตรหมดเกลี้ยง!
___
สารภาพตามตรงว่ารู้จักแตงโมครั้งแรกก็จาก คลิปเสาหัก! ตอนนั้นนั่งดูซ้ำไป 8 รอบ เพื่อพยายามจับผิดว่านี่มันคอนเทนต์หรือฟลุ๊คจริงกันแน่? คลิปเดียวนี่ไวรัลไปทั่วราชอาณาจักร! แล้วเรื่องราวก็เงียบหายไป จนมาเห็นผู้หญิงแปลกหน้าในชุดแดงขึ้นเวที Fara Talk เมื่อไม่นานมานี้ อ้าว! นั่นมันสาวเสาหัก และนางชื่อแตงโม!
หลังจากนั้นก็ได้ยินว่าจะมีเดี่ยวที่ LIFE Theater แถว CODE Studio เลยนัดพวก ๆ ทันทีว่าจะไปดู! แต่แล้วก็ต้องช็อกเมื่อวันหนึ่งอาจารย์บัวจาก LIFE Theater โพสต์ว่าไปดูมาแล้วจ้า! อ่าว…แล้วเรายังไม่มีตั๋วเลย! ทำไงดีล่ะเนี่ย?! จึงรีบเช็คตั๋ว OMG! พบว่าเปิดมา 10 รอบ เต็มทุกรอบ! ที่นั่งเสริมก็เต็ม! กดบัตรก็ไม่ทันอีก!
จนสุดท้ายคิดกันเล่น ๆ ในออฟฟิศว่าถ้านางจะฮอตขนาดนี้เดี๋ยวก็ต้องเพิ่มรอบแหละ! และสุดท้ายก็เพิ่มจริง! เลยต้องตั้งนาฬิกาปลุกไว้ตอนเที่ยงวันศุกร์เพื่อเตรียมกดบัตรอย่างจริงจัง จนในที่สุดก็ได้มา 3 ใบ!
___
"What Makes You Happy?" – การเดินทางเพื่อค้นหาความสุขที่แท้จริง
___
แตงโมมาพร้อมกับประเด็นหลัก "What Makes You Happy?" ซึ่งได้มาจากประสบการณ์จริงในการพบจิตแพทย์ นางเล่าย้อนไปถึงช่วงชีวิตที่เจอวิกฤต ซึมเศร้าจนต้องพบจิตแพทย์ และต้อง "ช่วยตัวเอง" ซึ่งหมายถึงการช่วยให้ตัวเองหลุดพ้นจากสภาวะเหล่านั้น จนกลายมาเป็นชื่อโชว์!
จากนั้นแตงโมก็เล่าประสบการณ์ต่าง ๆ ที่สนุกและน่าสนใจ ตั้งแต่การเลิกพบจิตแพทย์ และออกไปใช้ชีวิต ด้วยการค่อยๆ "ช่วยตัวเอง" จนได้ลองตามแนวทางปรัชญา อิคิไก (Ikigai) ที่มี 4 ไอเดียหลักคือ
* ต้องทำสิ่งที่ชอบ
* ต้องทำได้ดี
* ต้องมีรายได้
* เป็นที่ต้องการของผู้คน
แล้วค่อย ๆ ลองค้นหาว่าตัวเองชอบทำอะไร ซึ่ง ณ วันนั้นแตงโมชอบ "ร้องไห้ + การแอคติ้ง" (เอ๊ะ...มันจะดีเหรอ!) แล้วก็ลองๆๆๆ ใช้ชีวิต ซึ่งที่แตงโมเอามาเล่าให้ฟังในวันนี้มันสนุกมาก แต่คิดว่าเบื้องหลังคงต้องผ่านอะไรมามากมาย และตั้งใจเรียบเรียงเรื่องราวมาทำเดี่ยวโดยเฉพาะ! สุดยอดมากกก!
___
สกิลการแสดงที่ไม่ธรรมดา และประสบการณ์สุดปัง
___
แตงโมใช้ชีวิตอยู่ทั้ง LA และ BKK นางได้อยู่ในสหภาพนักแสดง Hollywood แคสงานต่าง ๆ และทำงานแสดงบ้าง นางนำประสบการณ์ที่ผ่านมาหลังจากเดี่ยวครั้งแรกมาเล่าให้ฟังอย่างสนุกสนาน ย้อนกลับไปเมื่อครั้งแรกที่แตงโมทำเดี่ยว เพราะจิตแพทย์ให้เล่าเรื่องตลกให้ฟัง จนได้ทดลองและมาเจอ Community เดี่ยว และเริ่มลับฝีมือมาเรื่อย ๆ
ความพิเศษของเดี่ยวแตงโมคือการนำ ทักษะด้านการแสดงและการแอคติ้ง มาใช้ได้อย่างน่าทึ่ง การเดี่ยวครั้งนี้ก็เช่นกัน! มีบางจุดในโชว์ที่รู้สึกได้ถึงความจริงจังของการแสดงบทบาท เช่น ตอนที่เล่าว่าเศร้าและร้องไห้เก่งมาก แล้วนางก็แสดงบทเศร้าออกมาเหมือนน้ำตาจะไหลจริง ๆ หรือตอนที่ต้องไปทำงานหลอกผีในวันฮาโลวีน บางซีนนี่ถึงกับทำให้เรารู้สึกกลัวขึ้นมาจริง ๆ ด้วย
รวมทั้งการเล่าถึงการนำเทคนิคการแสดงไปใช้ในชีวิตการทำงาน เช่น เมื่อได้รับบทผีเป็นผีแม่บ้าน ในงานฮาโลวีนที่ 1 ปีมีครั้ง แต่ไม่ได้รับบรีฟเกี่ยวกับผีแม่บ้าน จนต้องตั้งคำถามว่า "กูตายยังไง และต้องหลอกยังไงคนจะกลัว?" มันทำให้กระตุกต่อมคิดว่าเออเป็นผีก็เหนื่อยเหมือนกันนะ ต้องมาคิดว่าจะหลอกคนให้ตราตรึงยังไง 555 และสิ่งเล็ก ๆ นี้ มันทำให้เราเห็นเรื่องราวความตั้งใจในการใช้ชีวิต จากประสบการณ์ที่สั่งสม เพื่อให้สนุกกับมัน และเก็บเกี่ยวทั้งประสบการณ์และรายได้!
___
ไฮไลต์: การเดินทางสู่ดินแดนภารตะ
___
ไฮไลต์ ของโชว์คือการเล่าเรื่องอินเดีย! แตงโมไปอินเดียเพื่อเหมือนไปหาคำตอบว่า "What makes you happy?" และนางได้พบว่าที่ประเทศนี้มันค่อนข้าง "เข้ากับตัวนาง" สามารถใช้สกิลการต่อรอง สามารถปล่อยพลังงานไปกับการสื่อสารที่ล้นเหลือ คุยกับคนอินเดียแบบรู้เรื่องบ้าง ไม่รู้เรื่องบ้าง! และมีเรื่องเหลือเชื่อที่เชื่อได้แบบอินเดียมาเล่าเต็มไปหมด
มันมีประโยคที่น่าสนใจอันหนึ่งที่นางพูดถึงวัฒนธรรม นางบอกว่าถ้าเจอสิ่งใดที่คนในพื้นที่ทำกันเยอะๆ และหาคำตอบไม่ได้ ให้คิดไว้ก่อนว่ามันคือ "วัฒนธรรม" ถ้าไม่เข้าใจก็ให้ลองขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวเพื่อให้ได้เรียนรู้แบบ "Stay Indian, be Indian, feel Indian" ซึ่งจากการลองเรียนรู้ผ่านการเป็นคนอินเดียของนาง ทำให้ท้ายที่สุดนางได้ Feel Indian อย่างแท้จริง!
___
บทเรียนจาก "หมูเด้ง" และการค้นพบความสุขที่แท้จริง
___
ช่วงสุดท้ายแตงโมเล่าถึงปรากฏการณ์ "หมูเด้ง" ที่มันไวรัลไปทั่วโลก จนสุดท้ายต้องตามไปดูหมูเด้งที่สวนสัตว์เปิดเขาเขียว และพบว่าความโด่งดังทั้งหลายที่น้องได้รับ น้องน่าจะไม่เคยรับรู้ น้องแค่ใช้ชีวิตของน้อง ความสุขของน้องอยู่ที่ความเป็นตัวของตัวเอง ใช้ชีวิตแบบนี้แหละ คนมาดูเอง!
ซึ่งถามว่าหมูเด้งรู้ไหมก็ไม่รู้ คนดังขนาดไหนมาดูแล้วหมูเด้งสนใจไหมก็ไม่ เพราะเขาอยู่เพื่อใช้ชีวิตของเขา แตงโมเอามาเปรียบเทียบกับชีวิตของคนเราเช่นกัน หากได้เป็นตัวของตัวเอง ใช้ชีวิตของตัวเอง การได้เรียนรู้ตัวเอง ได้ลองทำ ปลดล็อกทักษะต่างๆ ที่เราสนใจ เปิดโอกาสให้ตัวเองได้รู้ ได้เห็น ได้ทำสิ่งต่างๆ สิ่งเล็กๆ ที่สำเร็จคนแรกที่ควรรู้สึกว่ามันสำเร็จคือตัวเราเอง เพื่อที่จะได้ภาคภูมิใจไปกับมัน! ก่อนที่จะจบโชว์ด้วยคำถาม "What makes you happy?" ที่มีต่อผู้ชม
___
ความสุขที่แท้จริง และของขวัญสุดพิเศษ
___
วันนี้เรื่องราวที่แตงโมเตรียมมาไม่ได้ช่วยแค่ตัวเอง มันช่วยผู้ฟัง ช่วยคนอื่น ๆ ได้ด้วย ขอบคุณคุณแตงโมมากๆ ที่รวบรวมสรรพกำลังทุกอย่างและทุกทรัพยากรในชีวิต เพื่อมาแบ่งปันเรื่องราวของตัวเองให้พวกเราได้ฟัง! ต่อไปนี้เรื่องของแตงโมจะเป็นเรื่องที่เราใส่ใจเสมอ ตามประสาลูกค้าขาประจำ! ขอให้เธอได้ออสการ์!!!
สุดท้ายพร้อมกับเวลาหวยออก ความโชคดีที่ควรจะอยู่กับลอตเตอรี่ 5 ใบในกระเป๋าตังค์ กลับย้ายมาลงที่ใต้เก้าอี้! ทีมงานดันเอาโชคมาฝากไว้ที่ใต้เก้าอี้แบบสุ่มตัวที่พวกเรานั่งอยู่! พร้อมกับประกาศรางวัลพิเศษ 10 ชิ้น ที่มี 3 ชิ้นสำคัญ สำหรับคนที่ได้ป้ายที่เขียนว่า "แตงโม"! พี่แตงโมและทีมงานมี "แตงโม แตงโม แตงโม" (พูด 3 ครั้งโดยไม่ติดทำนองจินตหรา) มาฝากเป็นของที่ระลึกสำหรับเดี่ยวรอบพิเศษนี้! และแตงโมนั้นเป็นของเรา ขอบคุณคุณแตงโมมากๆ ครับ!
สุดท้ายนี้อยากบอกว่า...
ทำไมเธอไม่ชื่อแบบ คุณเพชร คุณทองคำแท่ง คุณแบงค์สีเทา อะไรงี้นะ
😁😁😏



#ชตอ
#แตงโมเดี่ยว

CODE Me ชวนสำรวจเบื้องหลังงานออกแบบ‘แม่ซื้อไม้โยกเยก’ — ของเล่นที่ เล่นได้ ใช้ได้ และเล่าเรื่องได้ในตัวเองผลงานโดย Cultu...
30/05/2025

CODE Me ชวนสำรวจเบื้องหลังงานออกแบบ
‘แม่ซื้อไม้โยกเยก’ — ของเล่นที่ เล่นได้ ใช้ได้ และเล่าเรื่องได้ในตัวเอง

ผลงานโดย Cultural-Oriented Design Studio ที่หยิบเรื่องเล่าทางวัฒนธรรมไทยอย่าง “แม่ซื้อ” เทพผู้คุ้มครองเด็กแรกเกิด มาตีความใหม่ในรูปแบบของเล่นไม้ร่วมสมัย พร้อมเปิดพื้นที่สนทนาระหว่าง อดีต-ปัจจุบัน-อนาคต ผ่านงานออกแบบที่เต็มไปด้วยความหมาย

จากม้าโยกสู่มุมมองร่วมสมัย
จากของเล่นสู่ผู้พิทักษ์ตัวน้อย
จากงานออกแบบสู่กิจกรรมท่องเที่ยวที่มีชีวิต

โครงการนี้ยังถูกต่อยอดสู่กิจกรรม ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในย่านเมืองเก่า โดย The Roots Routes ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบประสบการณ์ท่องเที่ยว และผู้พัฒนาแอปพลิเคชัน self-guided tour ที่เปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวได้สำรวจวัฒนธรรมอย่างลึกซึ้งด้วยตนเอง

#แม่ซื้อไม้โยกเยก







“พระร่วง มหาศึกสุโขทัย” — เมื่อตำนาน จารึกโบราณ พระราชนิพนธ์ และโรงละคร มาบรรจบกันในภาพยนตร์ไทยเรื่องเดียว___พระร่วง มหา...
28/05/2025

“พระร่วง มหาศึกสุโขทัย” — เมื่อตำนาน จารึกโบราณ พระราชนิพนธ์ และโรงละคร มาบรรจบกันในภาพยนตร์ไทยเรื่องเดียว
___
พระร่วง มหาศึกสุโขทัย คือ ภาพยนตร์ที่บอกกับเราว่า การเล่าเรื่องในเชิงประวัติศาสตร์สามารถ “งอกงาม” ได้ในรูปแบบใหม่ ๆ — เมื่องานสร้างสรรค์กล้าผสมผสานภูมิปัญญา ศิลปะ และการตั้งคำถามเข้าด้วยกันอย่างจริงใจ

ที่น่ายกย่อง คือ การที่ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับการสนับสนุนจาก “กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์” ซึ่งกำลังต่อยอดบทบาทของตนอย่างน่าสนใจ — จากการส่งเสริมสื่อเพื่อการเรียนรู้ สู่การเปิดพื้นที่ให้ศิลปะได้ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางของความคิด ความรู้สึก และคำถามร่วมสมัย

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น คือ ภาพยนตร์ที่สื่อสารได้อย่างทรงพลังและกลมกล่อม ทั้งในด้านแนวคิด การออกแบบ และรูปแบบการเล่าเรื่องที่แปลกใหม่
นี่จึงไม่เพียงเป็นผลงานชิ้นหนึ่ง แต่คือบทพิสูจน์ถึง “ศักยภาพ” ที่ยังขยายได้อีกไกลของวงการภาพยนตร์ไทย

สิ่งที่โดดเด่นและแตกต่าง คือ แนวทางการเล่าเรื่องใน “สามมิติ” ที่ทับซ้อนกัน ทั้งด้านเนื้อหาและศิลปะการนำเสนอ
___
1. ประวัติศาสตร์ — การอ่านและการตีความใหม่ของศิลาจารึก
___
รากฐานของภาพยนตร์เรื่องนี้อยู่ที่ศิลาจารึกวัดศรีชุม และศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง ซึ่งเป็นมรดกสำคัญของชาติ แต่ไม่ได้ถูกนำเสนอในฐานะหลักฐานตายตัว หากกลับถูกหยิบยกมาตีความใหม่ เติมเต็มร่องรอยที่ขาดหาย และใช้เป็นฐานในการสร้างเรื่องราวให้สมบูรณ์ขึ้น

ประเด็นสำคัญอยู่ตรงที่ภาพยนตร์เรื่องนี้ไม่ได้นำเสนออดีตในฐานะ “ข้อยุติ” แต่กลับวางประวัติศาสตร์เป็นพื้นที่ของ “คำถาม” ให้ผู้ชมได้คิดต่อ ตั้งข้อสงสัย และมองเห็นภาพซับซ้อนของอารยธรรมสุโขทัย — ซึ่งไม่ได้เกิดจากอำนาจเบ็ดเสร็จของใครคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นการประคับประคองระหว่างพี่น้อง ผู้นำ ผู้ค้า และผู้หญิงในสังคมหลากเชื้อชาติ

อีกจุดที่น่าสนใจ คือการผสมผสาน “นิทาน ภูมิปัญญา และคนตัวเล็กในประวัติศาสตร์” เข้าไว้ด้วยกัน — ไม่ใช่แค่ประวัติศาสตร์จากจารึก แต่รวมถึงเรื่องเล่าท้องถิ่น เช่น “ผักบุ้งเลื้อยขึ้นยอดพระปรางค์” ซึ่งถูกสานต่อเป็นนัยของความหวัง ว่าเมื่อใดพระร่วงกลับมา บ้านเมืองจะสงบสุข หรืออย่าง “ตำนานว่าวพระร่วง พระลือ” ก็ถูกนำมาใส่ไว้ในบทอย่างมีชั้นเชิง

การให้พื้นที่กับนิทานพื้นบ้านเหล่านี้ ไม่ใช่เรื่องละเมอฝัน แต่เพื่อนำเสนอว่า ภูมิปัญญาพื้นถิ่นและความทรงจำร่วมของผู้คน ก็เป็น “องค์ความรู้” แบบหนึ่ง ที่สามารถเติมเต็มช่องว่างในประวัติศาสตร์ได้เช่นกัน
___
2. บทพระราชนิพนธ์ — วรรณศิลป์กับภารกิจสร้างชาติ
___
อีกหนึ่งแรงบันดาลใจของบทภาพยนตร์ คือ บทละครพูดคำกลอนเรื่อง “พระร่วง” พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 6 ซึ่งเขียนขึ้นเพื่อสื่อสารอุดมการณ์ของรัฐ และปลูกฝังแนวคิดเรื่อง “ความเป็นชาติ” ผ่านวรรณศิลป์

ผู้สร้างภาพยนตร์ไม่ได้หยิบผลงานนี้มาใช้อย่างโบราณนิยม หากแต่เลือกใช้ “กลไกของละครเวที” มาเป็น “ภาษาหลักของการเล่าเรื่อง” โดยมีตัวละครยุคปัจจุบันเป็นนักแสดงที่กำลังซ้อมบทละครเรื่อง พระร่วง — จนเกิดเป็นการตัดสลับระหว่าง “ชีวิตจริง” กับ “บทบาทบนเวที” อย่างแนบเนียน

จุดแข็งในเชิงเทคนิคคือการใช้โครงสร้าง “ละครซ้อนละคร” (Play within a Play) ที่ทำให้เนื้อหาทั้งอดีตและปัจจุบันสามารถโต้ตอบกันได้ในระดับนามธรรม เป็นการตั้งคำถามต่อประวัติศาสตร์ผ่านพื้นที่ของการแสดง มากกว่าการอ้างอิงเชิงสารคดี

ด้วยเทคนิคนี้ ผู้ชมจึงไม่จำเป็นต้อง “เชื่อ” หรือตีความตามภาพยนตร์โดยตรง หากแต่สามารถตั้งข้อสงสัย ขณะที่ยัง “อิน” กับการแสดง—เพราะความรู้สึกทั้งหมดถูกเล่าในกรอบของ ละครเวที ซึ่งเป็นพื้นที่ปลอดภัยในการสำรวจอดีตอย่างเปิดกว้าง และนี่เองที่ทำให้คำถามเชิงประวัติศาสตร์ที่มีต่อภาพยนตร์ดู “กลมกล่อม” ขึ้น — เพราะเราเข้าใจว่าภาพยนตร์กำลังพูดด้วย “ภาษาแห่งการแสดง” มากกว่า “ภาษาของตำราประวัติศาสตร์”
___
3. Theatrical Cinema — ศิลปะโรงละครที่หลอมรวมอยู่ในภาพยนตร์
___
ผลลัพธ์ของการบูรณาการประวัติศาสตร์กับวรรณศิลป์ในภาพยนตร์เรื่องนี้ คือ “การทดลอง” ทางศิลปะภาพยนตร์ที่น่าสนใจมาก เพราะไม่ใช่แค่การตัดสลับยุคสมัย แต่ยังมีการแทรกการแสดงแบบวาไรตี้ — ทั้งการขับร้อง ท่าร่ายรำ กายกรรมปีนผ้า รวมถึงฉากบนเวทีที่ตั้งใจนำเสนอในแบบ “Theatrical” อย่างชัดเจน

นี่คือจุดที่เราอาจนิยามได้อย่างหลวม ๆ ว่าเป็นแนวทางแบบ “Theatrical Cinema” — แม้จะไม่ใช่คำทางเทคนิคอย่างเป็นทางการในแวดวงภาพยนตร์ แต่สามารถใช้เรียกภาพยนตร์ที่ใช้ “กลไกของโรงละคร” มาผสมใน “ภาษาของภาพยนตร์” ซึ่งผู้กำกับได้จงใจสอดแทรกเข้ามา

แม้ในช่วงแรกการสลับระหว่างโลกของละครเวทีกับเรื่องเล่าในภาพยนตร์จะสร้างความรู้สึก “ไม่แน่ใจ” หรือ “เอ๊ะ…เรากำลังดูอะไรอยู่กันแน่?” ให้กับผู้ชมจำนวนไม่น้อย แต่ผู้กำกับกลับเลือกที่จะรักษาความรู้สึกนี้ไว้ ไม่เร่งอธิบาย ไม่พยายามประนีประนอม แต่ใช้มันเป็นจังหวะของการเล่าเรื่อง — เพื่อให้ผู้ชมค่อย ๆ ปรับคลื่นความรู้สึกให้เข้ากับวิธีเล่าที่กำลังจะตามมา และในจังหวะที่การแสดงวาไรตี้ต่าง ๆ ทยอยปรากฏขึ้นซ้ำ ๆ ความ “เอ๊ะ” ที่เคยคลุมเครือก็เริ่มแปรเปลี่ยนเป็น “ความเข้าใจ” อย่างเป็นธรรมชาติ จนกลายเป็นเส้นนำทางให้ผู้ชมเข้าสู่โลกของเรื่องเล่า — ซึ่งตรงนี้ต้องอาศัยรสนิยมของผู้ชม ว่าพร้อมเปิดรับความแปลกใหม่นี้ได้มากน้อยเพียงใด

อย่างไรก็ตาม เทคนิคนี้ทำให้ภาพยนตร์เรื่องนี้มีความสดใหม่ และน่าสนใจ เพราะมันไม่เพียงวิธีการเล่าเรื่อง แต่ยัง “ให้เราดูตัวละครขณะกำลังเล่าเรื่อง” ไปพร้อมกันด้วย
___
แม้ภาพยนตร์จะเต็มไปด้วยชั้นเชิงทางศิลปะ แต่ก็อาจไม่ได้เข้าถึงผู้ชมทุกกลุ่มได้ง่ายในทันที เพราะโครงสร้างเรื่องแบบซ้อนชั้น และการเล่าเรื่องที่ตัดสลับระหว่างอดีต–ปัจจุบัน รวมถึงการใช้ภาษากวี และฉากการแสดงแนวละครเวที อาจทำให้ผู้ชมบางกลุ่มต้องใช้เวลาในการปรับจังหวะและตีความ

แต่หากได้ทำความเข้าใจกับบริบทเบื้องต้นเล็กน้อยก่อนการรับชม เช่น ความสำคัญของ ศิลาจารึกวัดศรีชุม ในฐานะหลักฐานต้นเรื่องของ “พระร่วง” บทบาทของ ตัวละครแต่ละตัว ในฐานะบุคคลในประวัติศาสตร์ และทิศทาง ที่ตั้งของเมืองในที่ปรากฏในภาพยนตร์ เช่น เมืองพัน เมืองราด เมืองศรีโสธรปุระ อยู่ตำแหน่งไหนในสถานที่จริง ก็อาจจะช่วยให้ผู้ชมได้รับชมและมองเห็น เรื่องราวในระดับที่ลึกยิ่งขึ้น ไม่ใช่เพียงเป็นผู้ชม แต่กลายเป็นผู้ร่วมเดินทางผ่านห้วงเวลาและวัฒนธรรมไปด้วยกัน
___
พระร่วง มหาศึกสุโขทัย ไม่ใช่ภาพยนตร์ที่ให้คำตอบสำเร็จรูป
ชวนให้ เข้าใจตำนาน มากกว่าการจดจำ
ชวนให้ ทบทวนอดีต ด้วยหัวใจที่เปิดกว้าง
และมองเห็น “คนในตำนาน” ในฐานะมนุษย์
ที่มีศรัทธา มีบาดแผล และมีความหวัง ไม่ต่างจากเรา

ภาพยนตร์เรื่องนี้อาจไม่ได้ยิ่งใหญ่ในแง่โปรดักชันอลังการ หรือทักษะนักแสดงระดับอินเตอร์
แต่ยิ่งใหญ่ใน “ความกล้า” ที่จะทำและนำเสนอสิ่งใหม่
ผ่านศิลปะที่ค่อย ๆ ถักทอ ความคิด ความรู้สึก และวัฒนธรรม ให้ออกมาอย่างร่วมสมัย และงดงาม
___
ใครที่อยากเห็นภาพยนตร์ไทยก้าวไปอีกขั้น
ขอเชิญไปร่วมรับชม พระร่วง มหาศึกสุโขทัย

29 พฤษภาคมนี้ ทุกโรงภาพยนตร์
___.

CR. ภาพจากสูจิบัตรภาพยนตร์ พระร่วง มหาศึกสุโขทัย


#พระร่วงมหาศึกสุโขทัย

#กองทุนสื่อปลอดภัยสร้างสรรค์

Swoon @ SAC Gallery – HomecomingWhen street art crosses continents and finds its voice in the chaos of Bangkok.Written b...
25/03/2025

Swoon @ SAC Gallery – Homecoming
When street art crosses continents and finds its voice in the chaos of Bangkok.
Written by Khidt Ladd
Published on CODE Me
_
On January 25, Swoon opened her first solo show in Asia at SAC gallery. This show is in collaboration with the U.S. Embassy and the Turner Gallery and will be open until April 12, 2025.

The showpiece is “Cicada” (2020), a beautiful blend of video and stop motion art that evokes woman hood and new beginnings. Alongside Cicada were other captivating pieces including an edition of Girl from Ranoon Province which greeted the attendees as they walked in the door.

A big part of this show was purportedly inspired by the time that Swoon has spent in South East Asia, and specifically in Thailand. Her time in Thailand clearly inspired and could be seen in this collection of work.

Unfortunately, for many Thais, the subversive culture of street art is foreign. Street art exists in a legally grey area and isn’t seen in the same rebellious way. Therefore, within this context, it was important to show Swoon’s humble history and her experiences, which influence her work immensely.

Some of the context was helpfully provided in a video that played in a corner of the room. The viewer was able to see the wood-block and wheat-paste street art of her origin and tie it back to the mediums used in the works in the gallery. When asked about whether she still does street art, Swoon said she doesn’t do much anymore so that she can focus on other things. Swoon’s story is compelling to Thai artists. There’s a strong street art culture in Thailand which has often translated to fine arts but there’s generally less perceived risk or social commentary surrounding street art in Thailand. The influences to street art in Swoon’s work are strong, not only in her choice of materials but also in her ability to capture the urban essence.

While she may no-longer be presenting her work guerilla style, the impact is just as strong, and important.

Swoon’s art has always been urban. Her ability to work within cities and streets and pull out shapes and attitudes is reflected in her pieces and is an incredible skill. Evoking the complicated shapes of Thai cities, Swoon’s work is not afraid to celebrate the tangled shapes and stripes we see in urban centers. The obvious comparison is Bangkok’s own snarled power lines.

One wall held pieces that integrated items found in Chiang Mai, among the wreckage of the floods, or in small junk shops. Collaborating with Thai artists in Chiang Mai, she was able to craft beauty from debris.

Swoon’s art appears to be intensely personal, feminine, and natural. Her work finds the natural beauty in that which has been made from the inherent creativity born from resilience. The term “ad-hoc” urbanism was highlighted in the artist’s statement and is referenced in much of the work. It’s clear that the “improvisational urban design formed out of necessity” inspires her.

Her “ability to read the language of Thai cities” has enabled her to create a contextually compelling collection that inspires the viewer to see the urban space outside the gallery doors more beautifully than before they entered.

We hope that Bangkok can attract more artists of Swoon’s caliber. It’s beautiful to see artists who are able to capture and celebrate Thailand’s urban aesthetic.
___.

If you’re drawn to street art, stories of survival, and the layered beauty of cities—this is a show not to miss.

On view until April 12, 2025
At SAC Gallery, Bangkok








Flat Girls: ชั้นห่างระหว่างเรา เมื่อ “แฟลต” กลายเป็นเครื่องมือในการเล่าเรื่อง—CODE Me ขอชวนทุกคนไปรับชมภาพยนตร์ Flat Gir...
04/02/2025

Flat Girls: ชั้นห่างระหว่างเรา
เมื่อ “แฟลต” กลายเป็นเครื่องมือในการเล่าเรื่อง


CODE Me ขอชวนทุกคนไปรับชมภาพยนตร์ Flat Girls (แฟลตเกิร์ล ชั้นห่างระหว่างเรา) กำกับโดย จิรัศยา วงษ์สุทิน เป็นภาพยนตร์ที่หากมองเพียงผิวเผิน อาจเป็นเรื่องราว coming-of-age ของวัยรุ่นในชุมชนแฟลตตำรวจ แต่สิ่งที่ทำให้หนังเรื่องนี้โดดเด่นคือ การใช้รูปแบบสถาปัตยกรรมของแฟลตเป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดเรื่องราว ทำให้ทุกองค์ประกอบของพื้นที่มีความหมายและสะท้อนถึงชีวิตของตัวละครได้อย่างแนบเนียนและทรงพลัง


ชีวิตในแฟลต: พื้นที่ที่กำหนดความสัมพันธ์และเส้นทางของชีวิต


สำหรับคนที่ไม่เคยอยู่แฟลต การใช้ชีวิตในพื้นที่แบบนี้อาจเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ยาก แฟลตไม่ใช่แค่ “อพาร์ตเมนต์ราคาประหยัด” แต่มันคือระบบโครงสร้างทางสังคมที่หล่อหลอมผู้คนที่เติบโตมาในนั้น

• พื้นที่ส่วนตัวแทบไม่มีจริง เพราะผนังบาง บันไดเป็นพื้นที่สาธารณะ และแม้แต่ระเบียงกับประตูของแต่ละห้องก็เชื่อมโยงกันจนยากที่จะมีความเป็นส่วนตัวอย่างแท้จริง

• การเติบโตในแฟลตเป็นทั้งแรงผลักและกรงขัง คนจำนวนมากฝันที่จะออกไปจากที่นี่ แต่ไม่ใช่ทุกคนที่มีโอกาสจะทำได้

หนังเรื่องนี้สามารถถ่ายทอดอารมณ์เหล่านี้ได้อย่างลึกซึ้งและสมจริง เพราะ ผู้กำกับ “จิรัศยา วงษ์สุทิน” เคยเป็น Flat Girl มาก่อน ทำให้เธอเข้าใจชีวิตในแฟลตจากมุมมองของคนที่เติบโตมากับมัน วิธีที่เธอเลือกถ่ายทอดเรื่องราวจึงเต็มไปด้วยรายละเอียดที่คนเคยอยู่แฟลตจะสัมผัสได้ และแม้แต่คนที่ไม่เคยใช้ชีวิตแบบนี้ ก็สามารถเข้าใจและเข้าถึงความรู้สึกของตัวละครได้


สถาปัตยกรรมของแฟลต: เครื่องมือในการถ่ายทอดเรื่องราว


หนึ่งในจุดแข็งของ Flat Girls คือการใช้ โครงสร้างของแฟลต เป็นเครื่องมือในการเล่าเรื่อง แทนที่จะเป็นเพียงฉากหลังธรรมดา

• โถงบันไดของแฟลต เป็นเส้นทางที่ตัวละครต้องเดินขึ้นลงทุกวัน มันเป็นทั้งทางผ่านและจุดยืนของพวกเขาในสังคม บางคนเดินขึ้นไปสู่โอกาสใหม่ บางคนยังคงติดอยู่ในวังวนของชีวิตที่ไม่มีทางออก

• ระเบียงของแฟลต เป็นพื้นที่ที่เชื่อมระหว่าง “ชีวิตส่วนตัว” และ “สังคม” ตัวละครใช้ระเบียงเป็นที่พูดคุยเรื่องอนาคต เป็นที่ปล่อยอารมณ์เงียบๆ ในค่ำคืน หรือเป็นจุดที่พวกเขาเฝ้ามองชีวิตคนอื่นที่เดินผ่านไป

• ประตูของแฟลต ทำหน้าที่เป็นขอบเขตของความฝันและความจริง ประตูของห้องในแฟลตเปิดเพราะพื้นที่เล็กเกินกว่าจะซ่อนความเป็นส่วนตัว บางบานเปิดออกสู่โอกาสใหม่ ขณะที่ บางบานเปิดทิ้งไว้เพราะต้องระวังไม่ให้ผู้ร่วมอาศัยเห็นเรื่องราวหลังบานประตูของกันและกัน ยิ่งห้องหันเข้าหากันมากเท่าไร ความลับก็ยิ่งยากจะเก็บซ่อนไว้

• พื้นที่คอร์ทกลางของแฟลต ทำหน้าที่เป็นทั้ง พื้นที่รวมศูนย์ของชุมชน และเป็นพื้นที่เฝ้าสังเกต ตัวละครใช้พื้นที่นี้ในการพบปะ สร้างความสัมพันธ์ หรือบางครั้งก็เป็นจุดที่ทำให้พวกเขาไม่สามารถหลบซ่อนจากสายตาของสังคมได้

ในมุมมองของ CODE Me ภาพยนตร์เรื่อง Flat Girls ถ่ายทอดสภาพแวดล้อมของชุมชนผ่านสถาปัตยกรรมของแฟลตอย่างแนบเนียน

พื้นที่ทางกายภาพไม่ได้เป็นแค่โครงสร้าง แต่มันกำหนดวิถีชีวิตและความสัมพันธ์ของคนที่เติบโตมาในนั้น หนังใช้แฟลตเป็นพื้นที่ที่ตัวละครต้องต่อสู้ ดิ้นรน และปรับตัว โครงสร้างของแฟลตสะท้อนข้อจำกัดของตัวละคร ทั้งในแง่ของความเป็นส่วนตัว และโอกาสในชีวิต คล้ายกับที่ “สถาปัตยกรรม” ในหลายสังคมมีบทบาทต่อโอกาสและความก้าวหน้าของผู้คน ตัวหนังไม่ได้มองแฟลตเป็นเพียงที่อยู่อาศัย แต่มองมันเป็นบริบททางวัฒนธรรม ที่หล่อหลอมวิธีคิด วิธีปฏิสัมพันธ์ และมุมมองของตัวละครที่มีต่ออนาคตของพวกเขา


Flat Girls: ภาพยนตร์ที่ชวนเราตั้งคำถาม


นอกเหนือจากความสัมพันธ์ระหว่างตัวละคร สิ่งที่ Flat Girls ทำได้อย่างยอดเยี่ยมคือการตั้งคำถามว่า “เราจะดีขึ้นได้ไหม?” ในโครงสร้างสังคมแบบที่เราเป็นอยู่

หนังไม่พยายามให้คำตอบแบบสำเร็จรูป แต่มันสะท้อน ความพยายามในการก้าวข้ามขีดจำกัดของสังคม ครอบครัว และตัวเอง ผ่านเรื่องราวของตัวละครที่ต้องเลือกเส้นทางของชีวิต โดยที่ไม่มีคำตอบไหนง่าย

สิ่งที่ทำให้ Flat Girls น่าสนใจยิ่งขึ้น คือการที่หนังสามารถ ยกประเด็นปัญหาฝังลึกของสังคมไทยขึ้นมาได้อย่างแยบคาย ไม่ว่าจะเป็น ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ โครงสร้างทางสังคมที่กดทับโอกาสของบางกลุ่ม การเอารัดเอาเปรียบกันในสังคม และการรับมือของคนในสังคมที่มีต่อสิ่งนั้น วัฒนธรรมการจับตามองกันในชุมชนปิด หรือแม้แต่เรื่องความคาดหวังของครอบครัวที่ฉุดรั้งอนาคตของลูกหลาน ทุกประเด็นถูกนำเสนอผ่านชีวิตของตัวละครแต่ละตัวอย่างมีชั้นเชิง เฉียบคมแต่ไม่ยัดเยียด ทำให้ผู้ชมสามารถซึมซับและตั้งคำถามกับสิ่งเหล่านี้ไปพร้อมๆ กับเรื่องราวที่ดำเนินไป

Flat Girls สามารถสร้างสมดุลระหว่างการเป็นหนัง Coming-of-Age ที่จริงใจ กับการเป็นภาพสะท้อนของปัญหาสังคมไทย โดยไม่พยายามกดดันให้เราต้องรู้สึกว่ากำลังเสพงานเชิงวิพากษ์ แต่มันทำให้เรารู้สึกว่า เรากำลังมองเห็นชีวิตของคนจริงๆ ที่ต้องเผชิญกับปัญหาเหล่านี้ทุกวัน


CODE Me ขอเชิญชวนทุกท่านสัมผัสความงามของ “แฟลต” ผ่านมุมมองที่ไม่เคยเห็นมาก่อน?


Flat Girls เป็นหนังที่ไม่ควรพลาด ทั้งในแง่ของ การกำกับที่ละเมียดละไม บทที่เฉียบคม และการใช้สถาปัตยกรรมของแฟลตเป็นเครื่องมือในการเล่าเรื่อง

นี่คือหนังที่ “เรียบง่าย” แต่ “เจ็บจี๊ด” และจะทำให้คุณตั้งคำถามถึงสังคมรอบตัว ในแบบที่หนังไทยไม่ค่อยได้ทำมาก่อน

Flat Girls: ชั้นห่างระหว่างเรา
กำกับโดย จิรัศยา วงษ์สุทิน Jirassaya Wongsutin
เข้าฉาย 6 กุมภาพันธ์นี้ ในโรงภาพยนตร์



#สถาปัตยกรรมเล่าเรื่อง

Lungs: ละครที่สะเทือนทั้งหัวใจและปอดของคุณเราควรมีลูกไหม…ในวันที่โลกกำลังพังทลาย?CODE Me ขอชวนคุณพบกับ Lungs ละครเวทีที่...
03/02/2025

Lungs: ละครที่สะเทือนทั้งหัวใจและปอดของคุณ
เราควรมีลูกไหม…ในวันที่โลกกำลังพังทลาย?

CODE Me ขอชวนคุณพบกับ Lungs ละครเวทีที่สะเทือนทั้งหัวใจและปอด ผลงานลึกซึ้งจาก Duncan Macmillan นักเขียนบทละครและผู้กำกับชาวอังกฤษ ที่จะพาคุณไปสำรวจ คำถามสำคัญของความรักและอนาคต

เมื่อโลกไม่แน่นอน ความรักและชีวิตจะเดินหน้าอย่างไร?

ในเดือนกุมภาพันธ์—เดือนแห่งความรัก ที่เต็มไปด้วยคำถามเกี่ยวกับหัวใจ แต่ในยุคที่โลกเผชิญกับวิกฤติสิ่งแวดล้อมและความไม่แน่นอน คำถามที่คู่รักยุคนี้ต้องเผชิญอาจลึกซึ้งกว่านั้น

💭 เราควรสร้างชีวิตใหม่หรือไม่?
💭 เราจะฝากความหวังไว้กับอนาคตได้จริงหรือ?

Lungs ไม่ใช่แค่ละครเวทีเกี่ยวกับความรัก แต่เป็น บทสนทนาที่สะท้อนถึงการดิ้นรนของมนุษย์ในโลกที่เปราะบาง ไม่ว่าจะเป็นการทะเลาะเบาะแว้ง ความกังวล หรือการพยายามประคับประคองความสัมพันธ์ ทั้งหมดถูกขับเคลื่อนด้วยความรักที่ยังคงมีอยู่เพียงแค่สองคน

📍 เมื่อโลกเปลี่ยนแปลง เราจะเลือกอะไร?
🤍 ความรักที่ต้องการความมั่นคง
💔 หรือ การยอมรับในความไม่แน่นอน

บทละครเรื่อง Lungs เขียนโดย Duncan Macmillan และเปิดตัวครั้งแรกในปี 2011 ที่ Studio Theatre, Washington D.C. ก่อนจะได้รับเสียงวิจารณ์ชื่นชมอย่างล้นหลาม และถูกนำไปแสดงในโรงละครระดับโลก เช่น The Old Vic, ลอนดอน นำแสดงโดย Claire Foy และ Matt Smith (The Crown) สิ่งที่ทำให้ Lungs พิเศษคือ ไม่มีฉาก ไม่มีอุปกรณ์ประกอบฉาก—มีเพียงนักแสดงสองคนที่ใช้พลังแห่งการแสดงและบทสนทนาเข้มข้นเพื่อนำเสนอเรื่องราวอันทรงพลัง

และในเดือนกุมภาพันธ์นี้ Lungs จะถูกตีความใหม่ผ่านมุมมองของผู้กำกับชาวไทย! คุณเก่ง สัณหวิชญ์ เมธีอนุวัตร Keng S. Meateanuwat จะนำ Lungs มาสู่บริบทของผู้ชมไทย ถ่ายทอดโดย เตย ทิพย์ตะวัน อุชัย และ วิน ดนัยนันท์ กฤดากร ณ อยุธยา

CODE Me ขอเชิญผู้สนใจร่วมค้นหาคำตอบไปด้วยกัน
พบกับ Lungs ครั้งแรกในประเทศไทย จำนวน 6 รอบการแสดง ที่ LiFE THEATRE โรงละครร่วมสมัยในย่านเมืองเก่ากรุงเทพฯ ที่จะทำให้คุณรู้สึกใกล้ชิดกับตัวละครมากกว่าที่เคย

รายละเอียดการแสดง

วันที่: 7-9 และ 14-16 กุมภาพันธ์ 2025
เวลา: 19:00 น.
สถานที่: LiFE Studio, กรุงเทพฯ
บัตรเข้าชม
• นิสิต นักศึกษา: 990 บาท
• ออนไลน์: 1,350 บาท
• หน้างาน: 1,500 บาท

พิเศษ! สำหรับวันวาเลนไทน์
วันที่ 14 กุมภาพันธ์ ซื้อบัตร 2 ใบในราคา 2,200 บาท พร้อมรับของขวัญสุดพิเศษเฉพาะรอบนี้เท่านั้น

สำรองที่นั่ง: Line Official:

มีคำบรรยายภาษาอังกฤษในทุกรอบการแสดง

ถ้าคุณเคยตั้งคำถามกับอนาคตของตัวเองและคนที่คุณรัก… นี่คือละครที่คุณต้องดู






“มหากาพย์จารึก” (Engraved Epics) – ภาพพิมพ์แกะไม้โบราณจากอินเดีย_CODE Me ขอเชิญชวน CODE’s friends ร่วมสัมผัสตำนานอินเดีย...
31/01/2025

“มหากาพย์จารึก” (Engraved Epics) – ภาพพิมพ์แกะไม้โบราณจากอินเดีย
_
CODE Me ขอเชิญชวน CODE’s friends ร่วมสัมผัสตำนานอินเดียโบราณ ผ่านคอลเล็กชัน ภาพพิมพ์แกะไม้อินเดีย (Indian wooden printing block) ที่หาชมได้ยาก ในนิทรรศการ “มหากาพย์จารึก” (Engraved Epics) ที่ Matdot Art Center
_
นิทรรศการนี้นำเสนอ พัฒนาการของงานพิมพ์อินเดีย ผ่านภาพพิมพ์แกะไม้ที่สะท้อน จุดเปลี่ยนสำคัญของวงการสิ่งพิมพ์ในศตวรรษที่ 18 ซึ่งเป็นยุคที่แท่นพิมพ์เริ่มเข้ามามีบทบาท ส่งผลให้การผลิตหนังสือพัฒนาจากการคัดลอกด้วยมือสู่การพิมพ์ที่แพร่หลายมากขึ้น งานพิมพ์เริ่มกลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการกระจายองค์ความรู้และวรรณกรรม

ต่อมาในศตวรรษที่ 19 ภาพพิมพ์แกะไม้เริ่มถูกนำมาใช้เป็นภาพประกอบในหนังสือ โดยเฉพาะมหากาพย์รามายณะและมหาภารตะ ทำให้เนื้อหาสามารถเข้าถึงผู้คนได้กว้างขวางยิ่งขึ้น นอกจากนี้การศึกษาศิลปะที่เป็นระบบในเมืองเบงกอลยังมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเทคนิคการพิมพ์ ทำให้ศิลปินมีความเชี่ยวชาญมากขึ้น ส่งผลให้หนังสือภาพได้รับความนิยมและแพร่หลายไปทั่วอินเดีย

นิทรรศการนี้จึงเป็นโอกาสพิเศษในการสำรวจ วิวัฒนาการของงานพิมพ์ และบทบาทของภาพพิมพ์แกะไม้ในฐานะสื่อสำคัญที่ช่วยถ่ายทอดเรื่องราวและวัฒนธรรมของอินเดียสู่คนรุ่นต่อไป
_
เบื้องหลังการสร้างคอลเล็กชัน “มหากาพย์จารึก” โดยภัณฑารักษ์ โจตีร์มอย ภัทชาร์ยา
_
โจตีร์มอย ภัทชาร์ยา (Jyotirmoy Bhattacharya) ภัณฑารักษ์ของนิทรรศการนี้ ได้คัดสรรและรวบรวม ภาพพิมพ์แกะไม้อินเดีย ที่ถูกใช้เป็นภาพประกอบใน หนังสือมหากาพย์รามายณะและมหาภารตะ จากหลากหลายสำนักพิมพ์ ซึ่งผลิตโดยช่างพิมพ์ชาวเบงกอลในช่วงศตวรรษที่ 19 ผลงานเหล่านี้สะท้อนถึง การผสมผสานระหว่างเทคนิคการพิมพ์แบบยุโรปและปกรณัมอินเดียโบราณ ทำให้เนื้อหาจากภาษาสันสกฤต สามารถถ่ายทอดออกเป็นภาษาท้องถิ่นได้กว้างขวางยิ่งขึ้น นิทรรศการแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก
_
รามายณะ: การตีความที่แตกต่างผ่านภาพพิมพ์หลากหลายเวอร์ชัน
_
นิทรรศการส่วนนี้นำเสนอการร้อยเรียงเรื่องราวจากรามายณะ ผ่านภาพพิมพ์จากหนังสือหลายเล่มในศตวรรษที่ 19 โดยภัณฑารักษ์ได้ เรียงลำดับเนื้อหาให้ครบถ้วนที่สุด ตั้งแต่ต้นจนจบมหากาพย์ เขาได้เลือกภาพพิมพ์ที่แสดงถึง มุมมองที่แตกต่างกันของหนังสือรามายณะแต่ละเวอร์ชัน ผ่านการตีความของศิลปินนิรนามที่มีต่อมหากาพย์ฉากตอนเดียวกัน ทำให้ผู้ชมสามารถเปรียบเทียบ เทคนิคการแกะสลักไม้และวิธีการเล่าเรื่อง ของศิลปินแต่ละท่านได้อย่างชัดเจน

ในขณะที่ทำงานเกี่ยวกับนิทรรศการนี้ ภัณฑารักษ์ได้ศึกษาเรื่องราวรามเกียรติ์ในศิลปะรัตนโกสินทร์ ผ่านภาพจิตรกรรมฝาผนังที่พระระเบียงวัดพระแก้ว และค้นพบ ความคล้ายคลึงกันอย่างน่าสนใจ โดยเฉพาะในตอน “หนุมานเผชิญหน้านางสุรสา” ซึ่งสะท้อนถึง การตีความที่มีความเกี่ยวเนื่องกันในวัฒนธรรมของทั้งสองประเทศ
_
มหาภารตะ: การตีความเทพเจ้าและเหตุการณ์สำคัญ
_
นอกจากรามายณะแล้ว นิทรรศการยังนำเสนอ ภาพพิมพ์จากมหาภารตะ ที่สะท้อนถึงเรื่องราวของเทพเจ้าในศาสนาฮินดูและเหตุการณ์สำคัญ เช่น การกวนเกษียรสมุทร – ตำนานการกวนมหาสมุทรเพื่อนำน้ำอมฤตขึ้นมา (น้ำทิพย์แห่งความเป็นอมตะ) ภาพพิมพ์ที่แสดงถึงเทพเจ้าสำคัญ เช่น พระกฤษณะ, พระอินทร์ และวีรบุรุษแห่งมหาภารตะ เป็นต้น

ภาพพิมพ์เหล่านี้สะท้อนถึง ต้นอารยธรรมอินเดีย และแสดงให้เห็นว่า ศิลปะการพิมพ์กลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการเผยแพร่วัฒนธรรมไปสู่ภูมิภาคอื่น ๆ โดยเฉพาะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
_.

CODE Me ขอเชิญผู้สนใจมาร่วมดื่มด่ำกับ ศิลปะภาพพิมพ์ที่สะท้อนเรื่องราวของมหากาพย์อินเดียโบราณ และค้นหาความเชื่อมโยงระหว่าง ศิลปะไทย-อินเดีย ที่แฝงอยู่ในภาพพิมพ์แกะไม้เหล่านี้ ที่ MATDOT Art Center
นิทรรศการเปิดให้เข้าชมฟรี ตั้งแต่วันที่ 27 มกราคม - 27 กุมภาพันธ์ 2568






ไอ้เป๊าะ CEO ม.6ศรัทธา ความรัก และความสำเร็จจากหัวใจบ้านด่านCODE Me ขอชวนชมภาพยนตร์แนวรอมคอม (romantic comedy) ที่เพิ่งเ...
30/01/2025

ไอ้เป๊าะ CEO ม.6
ศรัทธา ความรัก และความสำเร็จจากหัวใจบ้านด่าน

CODE Me ขอชวนชมภาพยนตร์แนวรอมคอม (romantic comedy) ที่เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อค่ำวันที่ 29 มกราคม 2568 ต้อนรับวันตรุษจีน เรื่อง ไอ้เป๊าะ CEO ม.6

ภาพยนตร์รอมคอมที่อบอุ่นหัวใจ “ไอ้เป๊าะ CEO ม.6” ถ่ายทอดเรื่องราวของ ศรัทธา มิตรภาพ และความมุ่งมั่น ผ่านเส้นทางชีวิตของ ขจรศักดิ์ ศรีบุญเรือง ชายหนุ่มผู้เติบโตมากับความรักและแรงศรัทธาในบ้านด่าน อำเภอราศรีไศล จังหวัดศรีสะเกษ จากเด็กชายผู้พบพระพุทธรูปหลวงพ่อทอง วัดบ้านด่าน วิหารหลวงพ่อทอง สู่ CEO ผู้ประสบความสำเร็จด้วยวุฒิ ม.6 เขาใช้พลังศรัทธานำพาชุมชนร่วมสร้างวิหารใหม่ให้หลวงพ่อทอง พร้อมยกระดับบ้านเกิดให้เป็นจุดหมายท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม

_
Spoiler alert!!!
_
เรื่องราวย้อนกลับไปวัยเด็ก เช้าวันหนึ่งระหว่างทางไปโรงเรียน ไอ้เป๊าะ เด็กป.6 ได้บังเอิญเจอพระพุทธรูปหลวงพ่อทอง พระยืนปางห้ามสมุทร สิ่งศักดิ์สิทธิคู่วัดประจำหมู่บ้าน ที่รอดพ้นจากการถูกโจรกรรม หลังจากนั้นหลวงพ่อทองได้ถูกนำกลับมาประดิษฐานไว้ที่ศาลาไม้ในวัดที่ตำแหน่งเดิม แต่เพิ่มเติมคือกรงเหล็กที่ชาวบ้านร่วมใจกันสร้างครอบองค์หลวงพ่อทองไว้เพื่อให้ปลอดภัยจากหัวขโมย

ตัวหนังเริ่มต้นด้วยประเด็นความศรัทธาที่ชาวบ้านมีต่อพระพุทธรูปสำคัญ โดยเล่าผ่านชีวิตการเจริญเติบโตของเป๊าะ ที่เติบโตมาพร้อมความรัก และการเลี้ยงดูอย่างดีของพ่อแม่ และท่ามกลางมิตรภาพของเหล่าเพื่อนวัยเยาว์ ที่เติบโตแบบมีพัฒนาการที่ดีต่อเนื่องเรื่อยมา จนกระทั่งจุดพลิกผันของชีวิตของเป๊าะ เป็นอุปสรรค และบทเรียนให้เขาต้องต่อสู้อย่างยากลำบากกว่าเพื่อนคนอื่นๆ แต่ด้วยศรัทธาที่มีต่อหลวงพ่อทอง และกตเวทิตาที่มีต่อพ่อแม่ ประกอบกับกัลยาณมิตรที่ร่วมทุกข์สุขกันมา ทำให้ท้ายที่สุดชีวิตของเป๊าะ คลี่คลายและประสบความสำเร็จ

เป๊าะในวัยปัจจุบัน ผู้ประสบความสําเร็จในอาชีพการงาน เป็น CEO ด้วยวุฒิม.6 ได้ใช้พลังศัทธา นำพาหลวงพ่อทองขึ้นประดิษฐานสู่วิหารหลังใหม่ ที่เขาและเหล่ากัลยาณมิตร พร้อมทั้งชาวบ้านด่าน อำเภอราศรีไศล จังหวัดศรีสะเกษ ร่วมกันสร้างเป็นศาสนสถานที่เป็นเครื่องยืนยันความมุ่งมั่น และตั้งใจ ประกอบกิจพัฒนาชีวิตของเป๊าะ คุณขจรศักดิ์ ศรีบุญเรือง
_
CODE Me ชวนผู้ชื่นชอบหนังไทยรอมคอม ที่ลำดับเรื่องได้อย่างเข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน ประกอบกับการแสดงของทีมนักแสดงรุ่นใหม่วัยเด็กหลายท่าน ทำให้บรรยากาศของหนังดูน่ารักน่าเอ็นดู ความพิเศษของหนังเรื่องนี้ อยู่ที่การฉายภาพและการพยายามถ่ายทอดภาพวิถีชีวิตของชาวบ้านอำเภอราศรีไศล และจังหวัดศรีสะเกษ ภาพบรรยากาศชนบทท้องทุ่ง และคันนา ถูกถ่ายทอดออกมาอย่างสวยงาม ที่เป็นไฮไลท์ของเรื่อง คือการถ่ายทอดภาพบรรยากาศในวันเชิญหลวงพ่อทองเข้าวิหารใหม่ ผู้ชมจะได้เห็นความงดงามของศรัทธาผู้คนที่มีต่อหลวงพ่อทอง โดย creative director แอบบอก CODE Me มาว่าแทนที่จะเซตฉากเพื่อถ่ายทำ ก็ยกกองกันไปถ่ายทำในวัดบ้านด่าน วันที่มีการเชิญหลวงพ่อทองเข้าวิหารใหม่กันจริง ๆ เลย ถือเป็นการผสมผสานเรื่องเล่าและภาพเหตุการณ์จริงไปพร้อมกันอย่างงดงาม
_
บทภาพยนตร์เรื่องนี้ ดัดแปลงจากเรื่องจริงของคุณขจรศักดิ์ ศรีบุญเรือง ซึ่งได้รับการถ่ายทอดออกมาอย่างเรียบร้อย ตัวหนังสัมผัสได้ถึงพลังงานบวกที่เกิดจากความตั้งมั่นในศรัทธาแรงกล้า ที่คุณขจรศักดิ์ได้ให้คำมั่นไว้กับพ่อแม่ ประกอบกับความภาคภูมิใจในถิ่นฐาน ที่อยากให้บ้านด่านเป็นอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวของศรีสะเกษ ถ้าจะพินิจให้เห็นถึงความตั้งใจจริงของคุณขจรศักดิ์ ที่ได้อำนวยการผลิตหนังเรื่องนี้ออกมาแล้ว จะเห็นว่าตัวหนังเป็นเพียงเครื่องมือหนึ่งในการร้อยเรียงความตั้งใจในการพัฒนาถิ่นฐานให้ปรากฏต่อสาธารณะชน วันนี้คนได้รู้จักบ้านด่าน ได้เห็นความงดงามของหลวงพ่อทองจากหนังเรื่องนี้ ซึ่งจะก่อให้เกิดผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจการท่องเที่ยวแก่ชุมชนในอนาคตอย่างยั่งยืน ผลแห่งความตั้งใจเหล่านี้เกิดจาก ไอ้เป๊าะ CEO ม.6
_.
มากกว่าภาพยนตร์ นี่คือแรงบันดาลใจที่ยืนยันว่าศรัทธาและความตั้งใจจริงสามารถเปลี่ยนชีวิตและชุมชนได้

ไอ้เป๊าะ CEO ม.6 เข้าฉายแล้ววันนี้ ในโรงภาพยนตร์
_
Photo credit: Naphatrapee S.

#ไอ้เป๊าะceoม6




ที่อยู่

84 Boriphat Road , Ban Bat, Pom Prap
Bangkok
10100

เวลาทำการ

จันทร์ 09:00 - 17:00
อังคาร 09:00 - 17:00
พุธ 09:00 - 17:00
พฤหัสบดี 09:00 - 17:00
ศุกร์ 09:00 - 17:00

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ CODE Meผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

แชร์