ฅนเก็บแสตมป์ - Stamps Keeper

ฅนเก็บแสตมป์ - Stamps Keeper พื้นที่บอกเล่าเรื่องราวที่ได้จากการสะสมแสตมป์

แสตมป์ชุด  #ประติมากรรมของศิลปินเอกออกจำหน่าย 3 พฤษภาคม 2547ภาพ : รูปหล่อสำริด  #ละครรำ รังสรรค์โดย  #สิทธิเดชแสงหิรัญ พ...
10/06/2025

แสตมป์ชุด #ประติมากรรมของศิลปินเอก
ออกจำหน่าย 3 พฤษภาคม 2547
ภาพ : รูปหล่อสำริด #ละครรำ รังสรรค์โดย #สิทธิเดชแสงหิรัญ พ.ศ 2496

แสตมป์ชุดบุคคลสำคัญ พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ  #กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์  #พระบิดาแห่งกองทัพเรือไทยที่ระลึกเนื่องในวโ...
09/06/2025

แสตมป์ชุดบุคคลสำคัญ พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ #กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ #พระบิดาแห่งกองทัพเรือไทย

ที่ระลึกเนื่องในวโรกาสคล้ายวันสิ้นพระชนม์ครบ 75 ปี วันที่ 19 พฤษภาคม 2541

ภาพแสตมป์ - พระสาทิสลักษณ์ พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ และเรือหลวงพระร่วง.

แสตมป์ชุดข้อความ ออกจำหน่ายเมื่อ 28 มกราคม 2553มี 6 ข้อความคือ สวัสดี, สุขสันต์วันเกิด, ขอบคุณ, รักนะ, คิดถึง และยินดีด้...
19/05/2025

แสตมป์ชุดข้อความ ออกจำหน่ายเมื่อ 28 มกราคม 2553
มี 6 ข้อความคือ สวัสดี, สุขสันต์วันเกิด, ขอบคุณ, รักนะ, คิดถึง และยินดีด้วย

พิมพ์ 3 แบบ คือแบบแสตมป์ดวง แผ่นละ 20 ดวง, แสตมป์สติ๊กเกอร์ เพิ่มเทคนิคเคลือบมัน+กลิตเตอร์ มีทั้งแผ่น รวม 6 ดวง และแบบ Booklet แบบละ 10 ดวง

วันเสาร์ที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๖๘พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดซุ้มประ...
25/01/2025

วันเสาร์ที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๖๘

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดซุ้มประตู เฉลิมพระเกียรติ ๗๒ พรรษา เนื่องในโอกาสพระราชพิธี มหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ณ ถนนเจริญกรุง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

🎊ทรงเปิดซุ้มประตู "วชิรสถิต ๗๒ พรรษา" บริเวณสะพานดำรงสถิต เขตพระนคร

🎊ทรงเปิดซุ้มประตู "วชิรธำรง ๗๒ พรรษา" บริเวณห้าแยกหมอมี เขตสัมพันธวงศ์

วันนี้เรื่องของ  #แสตมป์ เต็มหน้าฟีดมาคุยเรื่องแสตมป์กับเราไหม #ฅนเก็บแสตมป์
19/01/2025

วันนี้เรื่องของ #แสตมป์ เต็มหน้าฟีด
มาคุยเรื่องแสตมป์กับเราไหม
#ฅนเก็บแสตมป์

 !!เก็บจนครบ 77 จังหวัด #แสตมป์เสน่ห์ไทย ใครๆก็หลงรัก #แสตมป์เซเว่น
19/11/2024

!!
เก็บจนครบ 77 จังหวัด
#แสตมป์เสน่ห์ไทย ใครๆก็หลงรัก
#แสตมป์เซเว่น

  ceremony and the celebration of the UPU's 150th anniversary!!
09/10/2024

ceremony and the celebration of the UPU's 150th anniversary!!

เปลี่ยนมาเก็บแสตมป์แบบนี้บ้าง อะไรบ้างตั้งเป้าให้ครบ 77 จังหวัด #แสตมป์เสน่ห์ไทย ใครๆก็หลงรัก #แสตมป์เซเว่น
28/09/2024

เปลี่ยนมาเก็บแสตมป์แบบนี้บ้าง อะไรบ้าง
ตั้งเป้าให้ครบ 77 จังหวัด
#แสตมป์เสน่ห์ไทย ใครๆก็หลงรัก
#แสตมป์เซเว่น

 แสตมป์ 90 ปีความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทย-สวิตเซอร์แลนด์11 พฤศจิกายน 2564แสตมป์ไทยภาพขบวนรถไฟท่องเที่ยวของทั้ง 2 ประเ...
22/07/2024


แสตมป์ 90 ปีความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทย-สวิตเซอร์แลนด์
11 พฤศจิกายน 2564
แสตมป์ไทย
ภาพขบวนรถไฟท่องเที่ยวของทั้ง 2 ประเทศ
3 บาท - ขบวนรถไฟนําเที่ยวเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี
3 บาท - ขบวนรถไฟ Lucerne-Interlaken Express ทะเลสาบเบรียนซ์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

แสตมป์สวิตเซอร์แลนด์
ภาพวาดทิวทัศน์ใต้น้ำอันงดงามสองแห่งซึ่งสะท้อนให้เห็นอีกด้านหนึ่ง
100 ซองตีม - ภาพทะเลสาบบาชัลป์เหนือ เมืองกรินเดลวัลด์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
200 ซองตีม - จุดชมวิวเสม็ดนางชี อ่าวพังงา จ.พังงา

ถ้าสังเกตุในภาพ เงาในน้ำยังสะท้อนให้เห็นว่า "พระอาทิตย์ขึ้นเหนือทะเลไทย ในขณะที่พระอาทิตย์ตกที่ทะเลสาบบนภูเขาสวิส" เป็นสัญลักษณ์ของความแตกต่างของเวลา

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและสวิตเซอร์แลนด์เริ่มต้นขึ้นในศตวรรษที่ 17 เมื่อมิชชันนารีจากเมืองฟรีบูร์กเดินทางไปยังดินแดนที่เรียกว่า "สยาม" ความสัมพันธ์ได้มั่นคงขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และต้นศตวรรษที่ 20 หลังจากการเสด็จเยือนยุโรปของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปี ค.ศ. 1931 ทั้งสองประเทศได้ลงนามในข้อตกลงมิตรภาพและการค้าเป็นครั้งแรก

#90ปีไทยสวิส
#ฅนเก็บแสตมป์

ด้านบน 1 แผ่น เท่ากับข้างล่าง 20 แผ่นแสตมป์ชุด 50 ปีความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ฮังการีด้านบนแสตมป์ของฮังการีราคาหน้าดวง 2,...
19/07/2024

ด้านบน 1 แผ่น เท่ากับข้างล่าง 20 แผ่น

แสตมป์ชุด 50 ปีความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ฮังการี

ด้านบนแสตมป์ของฮังการีราคาหน้าดวง 2,000 โฟรินต์ฮังการี (ประมาณ 202 บาท)

ด้านล่างแสตมป์ของประเทศไทยราคาน่าดวง 10 บาท!!

#แสตมป์ไทย #แสตมป์ฮังการี

(ขอนอกเรื่องแสตมป์สักวัน)80 ปี นกขมิ้น🎼ค่ำคืน ฉันยืนอยู่เดียวดาย 🎻(16 กรกฎาคม 2487 - 16 กรกฎาคม 2567)เพลงนกขมิ้น เป็นเพล...
15/07/2024

(ขอนอกเรื่องแสตมป์สักวัน)
80 ปี นกขมิ้น
🎼ค่ำคืน ฉันยืนอยู่เดียวดาย 🎻
(16 กรกฎาคม 2487 - 16 กรกฎาคม 2567)
เพลงนกขมิ้น เป็นเพลงไทยเดิมตั้งแต่สมัยอยุธยา ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง มีการปรับปรุงทำนองไทยเดิมเรื่อยมา
16 กรกฎาคม 2487 'ประสาน ตันสกุล' เจ้าของโรงละครนิยมไทยให้ "พยงค์ มุกดา" แต่งเพลงประกอบละครเรื่อง "ป่าแก้ว" ทั้งคำร้องและทำนอง โดยมี "สีนวล แก้วบัวสาย" เป็นผู้ขับร้อง
และกลายเป็นปรากฏการณ์ เมื่อเพลง "นกขมิ้น" ได้กินใจเรียกน้ำตาผู้ชมละคร 'ป่าแก้ว' ได้ทุกรอบ ขณะนั้น 'พยงค์ มุกดา' มีอายุเพียง 18 ปี จึงได้กลายเป็นนักแต่งเพลงเต็มตัว
เพลง ''นกขมิ้น'' ได้รับการบันทึกแผ่นเสียงครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2492 ที่บริษัทสุโกศล โดยมี ทัศนีย์ ชอุ่มงาม เป็นผู้ขับร้อง ต่อมา ธานินทร์ อินทรเทพ นำมาขับร้องบันทึกแผ่นเสียงอีกครั้ง เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2507 และเพลงนี้ก็ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทานเมื่อปี พ.ศ. 2507 (ลิงก์เพลงในคอมเม้นต์)
ครูพยงค์ มุกดา แต่งเนื้อร้องเพลงนกขมิ้นไว้ 2 ตอน
เพลงนกขมิ้น // คำร้อง,ทำนอง : พยงค์ มุกดา
(ตอน 1)
ค่ำคืน ฉันยืนอยู่เดียวดาย
เหลียวมองรอบกาย มิวายจะหวาดกลัว
มองนภามืดมัว สลัวเย็นย่ำ
ค่ำคืนเอ๋ย
ยามนภาคล้ำไปใกล้ค่ำ
ยินเสียงร่ำคำบอก เจ้าช่อดอกไม้เอ๋ย
เจ้าดอกขจร นกขมิ้นเหลืองอ่อน
ค่ำแล้วจะนอนไหนเอย เล่านกเอย
อกฉัน ทุกวันเฝ้าอาวรณ์
เหมือนคนพเนจร ฉันนอนไม่หลับเลย
หนาว พระพายพัดเชย
อกเอ๋ยหนาวสั่น สุดบั่นทอน
ยามนี้เราหลงทาง กลางค่ำ
ยินเสียงร่ำ คำบอก เจ้าช่อไม้ดอกเอ๋ย
เจ้าดอกขจร
ฉันร่อนเร่พเนจร ไม่รู้จะนอนไหนเอย เอ๋ยโอ้หัวอกเอย..
(ตอน 2)
บ้านใดหรือใครจะเอ็นดู
รับรองอุ้มชู เลี้ยงดูให้หลับนอน
นก ขมิ้นเหลืองอ่อน
ค่ำไหนนอนนั่น อกฉันหมอง
ทนระกำ ช้ำใจยามค่ำ
ยินเสียงร่ำน้ำตก โอ้หัวอกเอ๋ย
อกโอ้อาวรณ์ ฉันไร้คู่ร่วมคอน
ต้องฝึกนอนหนาวเอย โอ้หัวอกเอย
เมื่อมอง หมายปองก็แลเห็น
หวิวในใจเต้น เหมือนเป็นเพียงแต่มอง
เหมือน พบรังจะครอง
แต่หมองเกรงที่ หวั่นจะมีเจ้าของ
ฟังสำเนียง เสียงเพลงครวญคร่ำ
ใครหนอร่ำ คำบอก เจ้าช่อดอกไม้เอ๋ย
เจ้าดอกขจร นกขมิ้นเหลืองอ่อน
ค่ำนี้จะนอนไหนเอย นอนที่นี่เอย
#เพลงนกขมิ้น #นกขมิ้นเหลืองอ่อน #นกขมิ้น #พยงค์มุกดา #ธานินทร์อินทรเทพ #ทัศนีย์ชอุ่มงาม

ที่อยู่

Bkk

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ ฅนเก็บแสตมป์ - Stamps Keeperผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

แชร์

ประเภท