Chiang Mai Learning City

Chiang Mai Learning City เมืองแห่งการเรียนรู้เชียงใหม่

ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา เชียงใหม่เมืองแห่งการเรียนรู้ไดเเข้าร่วมการประชุมนานาชาติ The International Mother Lang...
27/02/2025

ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา เชียงใหม่เมืองแห่งการเรียนรู้ไดเเข้าร่วมการประชุมนานาชาติ The International Mother Language Day (IMLD) Silver Jubilee Celebration จัดโดย UNESCO BANGKOK โดยความร่วมมือกับสถานฑูตบังกลาเทศ สวิตเซอร์แลนด์ และ มหาวิทยาลัยมหิดล
เชียงใหม่เมืองแห่งการเรียนรู้โดย อาจารย์อจิรภาส์ ประดิษฐ์ และ Dr.Alexandra Denes ได้รับเชิญมาร่วมนำเสนอเรื่องราวการทำงานขับเคลื่อนภายใต้หัวข้อ “Language preseravation, culture and inclusive knowledge societies" โดยเน้นการแลกเปลี่ยนด้านกระบวนการทำงานมุ่งเน้นการใช้ภาษาแม่ หรือ ภาษาพื้นถิ่นเป็นฐาน ในการสร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิตในเมือง โดยเฉพาะในบริบทเมืองเชียงใหม่ ที่มีลักษณะเป็นเมืองที่มี multilingualism โดยการเรียนรู้ผ่านการปฎิบัติด้านประเพณีวัฒนธรรม จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากขาดความเข้าใจภาษาพื้นถิ่น และ ความหลากหลายของภาษา
เมืองแห่งการเรียนรู้เชียงใหม่เริ่มต้นจากโครงการวิจัยที่ร่วมมือกันระหว่างนักวิชาการและหน่วยงานท้องถิ่น โดยเน้นที่การมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นผ่านประเพณีวัฒนธรรมและการพัฒนาคุณภาพชีวิตผ่านการศึกษาตลอดชีวิตตามประเด็นปัญหาในเมือง มุ่งเน้นการสนับสนุน “คุณลักษณะสำคัญ” ของการเรียนรู้ตลอดชีวิต ที่กล่าวถึง “การรับรู้ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมชุมชน และวิธีการเรียนรู้และเรียนรู้ของชนพื้นเมืองในฐานะทรัพยากรที่เป็นเอกลักษณ์และมีค่า” และ “การสร้างความตระหนักรู้ในคุณค่าทางศีลธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรมร่วมกัน และส่งเสริมการยอมรับความแตกต่าง”
การขับเคลื่อนเชียงใหม่เมืองแห่งการเรียนรู้ เกิดจากการผสมผสานระหว่างภาษาล้านนา หรือ ภาษาถิ่นอันมีบทบาทหลักในประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นเกือบทั้งหมด โดยมีภูมิหลังทางชาติพันธุ์ที่หลากหลายเนื่องมาจากสภาพทางภูมิศาสตร์ของภูเขาที่มีทั้งชาวเขาเผ่าและวัฒนธรรมไท หรือ ไต ลักษณะเหล่านี้พบได้ทั้งในเขตเมืองและเขตชานเมืองของเชียงใหม่
ดังนั้น ความหลากหลายทางภาษาจึงเป็น “รากฐาน” ของกรอบกลยุทธ์การเรียนรู้ตลอดชีวิตของเชียงใหม่ ซึ่งสะท้อนถึงการวางแผนเมืองในประวัติศาสตร์ด้วย เพื่อให้เข้าใจได้ง่าย ผู้คนจะไม่สามารถเข้าใจประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นได้หากไม่มีภาษาล้านนาพื้นฐาน�

_______________
#เมืองแห่งการเรียนรู้


#เชียงใหม่เมืองแห่งการเรียนรู้

“รางวัลเมืองแห่งการเรียนรู้ UNESCO คือสารเร่ง ให้ภาครัฐเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาเมืองโดยมีผู้คนอยู่ในสมการ”________อจิร...
17/02/2025

“รางวัลเมืองแห่งการเรียนรู้ UNESCO คือสารเร่ง ให้ภาครัฐเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาเมืองโดยมีผู้คนอยู่ในสมการ”
________
อจิรภาส์ ประดิษฐ์
นักวิจัยโครงการนิเวศการเรียนรู้เมืองเชียงใหม่ เพื่อยกระดับเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO และหัวหน้าโครงการฯย่อย
นอกจากการสนับสนุนกลไกความร่วมมือ และเชื่อมโยงนิเวศแห่งการเรียนรู้เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของคนเชียงใหม่ หนึ่งในเป้าหมายสำคัญของโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้เชียงใหม่ ในปี 2567 – 2568 นี้คือ การทำเอกสารเพื่อขอพิจารณารางวัลเมืองแห่งการเรียนรู้จาก UNESCO รวมถึงการทำแผนเมืองแห่งการเรียนรู้อย่างยั่งยืน สำหรับเป็นเครื่องมือให้เทศบาลนครเชียงใหม่นำไปพิจารณาปรับใช้ควบคู่กับนโยบายการพัฒนาเมือง
ทั้งนี้ คำถามที่ตามมาก็คือ นอกจากการได้เชิดหน้าชูตาในระดับสากล รางวัลเมืองแห่งการเรียนรู้ หรือ UNESCO Learning City Award จะยังประโยชน์อะไรกับเมืองและคนเชียงใหม่ เราได้คุยกับอาจารย์อจิรภาส์ ประดิษฐ์ อาจารย์ประจำคณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชมงคลล้านนา และนักวิจัยโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้เชียงใหม่ ผู้รับหน้าที่จัดทำเอกสารเพื่อขอพิจารณารางวัลฯ ถึงความสำคัญของรางวัลนี้ และความคาดหวังในการทำให้เชียงใหม่เป็นต้นแบบเมืองแห่งการเรียนรู้ระดับโลก
เพราะหัวใจสำคัญของการเรียนรู้คือการมีผู้คนเป็นศูนย์กลาง โดยเฉพาะกับเชียงใหม่ที่เราโฟกัสไปที่วัฒนธรรมชุมชนในการเป็นเครื่องมือขับเคลื่อนเศรษฐกิจเมือง กลไกนี้ปรากฏชัดผ่านประเพณีและเทศกาลที่เกิดในเมือง โดยเฉพาะ 3 เทศกาลหลักคือ ปีใหม่เมือง ประเพณีใส่ขันดอกอินทขิล และยี่เป็ง ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การที่ผู้คนในชุมชนร่วมไม้ร่วมมือกันจัดทำวัตถุสำหรับประกอบพิธี ไปจนถึงการร่วมแรงกันจัดงาน นิเวศของการเรียนรู้มันจึงเกิดขึ้นโดยตัวมันเอง คุณเป็นคนในชุมชนก็ได้เรียนรู้ หรือถ้าคุณเป็นคนต่างถิ่น เข้ามาในชุมชน หรือมาร่วมประเพณี คุณก็ได้ร่วมเรียนรู้ไปกับชุมชน เช่นนั้นแล้ว กลไกของเมืองแห่งการเรียนรู้เมืองเชียงใหม่ จึงเป็นกลไกของการบรรจุกระบวนการการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนเข้าไปในแผนการพัฒนาเมือง รางวัลเมืองแห่งการเรียนรู้ UNESCO จึงเป็นเหมือนสารเร่งให้ภาครัฐเห็นถึงความสำคัญในสมการนี้
เราเริ่มทำ conceptual framework ไปเมื่อปลายปี 2566 ผ่านการทำงานร่วมกับเทศบาลกับสำนักศึกษาและวัฒนธรรม โดยเริ่มจากการไปเช็คแผนพัฒนาต่าง ๆ เรื่องของทุนต่าง ๆ พร้อมไปศึกษาต้นแบบของเมืองที่ใช้วัฒนธรรมขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชนเมืองอื่น ๆ ในต่างประเทศว่าเขาเสนอโมเดลอะไรกันบ้าง พร้อมกันนั้นตลอดปี 2567 เราก็จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ เก็บ และสังเคราะห์ข้อมูล โดยปี 2568 เราจะเริ่มทำเอกสาร และ action plan หรือแผนเมืองแห่งการเรียนรู้อย่างยั่งยืนไปพร้อมกัน
อ่านต่อที่: https://shorturl.asia/FBdvs
บทความ: ฐิรัฐฏ์ ประเสริฐทรัพย์
อาร์ตเวิร์ค: ไข่มุก แสงมีอานุภาพ
_______________
#เมืองแห่งการเรียนรู้


#เชียงใหม่เมืองแห่งการเรียนรู้

ชวนไปเรียนรู้ ใช้พื้นที่เรียนรู้ 🌸"สวนเกสรและผีเสื้อ" คลองแม่ข่า ย่านไนท์บาซาร์ กันครับ
14/02/2025

ชวนไปเรียนรู้ ใช้พื้นที่เรียนรู้ 🌸"สวนเกสรและผีเสื้อ" คลองแม่ข่า ย่านไนท์บาซาร์ กันครับ

“การขอรางวัลเมืองแห่งการเรียนรู้จาก UNESCO คือเครื่องมือที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้กับเมืองของเรา”__________ภวฤทธิ์ กาญจ...
14/02/2025

“การขอรางวัลเมืองแห่งการเรียนรู้จาก UNESCO คือเครื่องมือที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้กับเมืองของเรา”
__________
ภวฤทธิ์ กาญจนเกตุ
รองนายกเทศมนตรี เทศบาลนครเชียงใหม่
“เชียงใหม่เป็นเมืองศูนย์กลางการศึกษา ศิลปวัฒนธรรม และการท่องเที่ยว สามสิ่งนี้เกี่ยวพันกันอย่างมีนัยสำคัญต่อชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน เทศบาลนครเชียงใหม่จึงเห็นถึงความสำคัญของโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ เพราะนี่ไม่ใช่แค่เครื่องมือในการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับคุณค่าของเมือง แต่มันยังช่วยสร้างโอกาสในการยกระดับเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของคนในเมือง
“เช่นนั้นแล้ว เทศบาลฯ จึงมุ่งมั่นที่จะขอรางวัลเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ภายในปีนี้ เพราะนี่คือหนึ่งในเครื่องมือกระตุ้นเศรษฐกิจที่สำคัญให้กับเมืองของเรา
“ในส่วนของพื้นที่การเรียนรู้ ผมไม่ค่อยมีความกังวลสักเท่าไหร่ เพราะเมืองของเรามีทั้งสถาบันการศึกษา และแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายครบครันสำหรับผู้คนทุกช่วงวัย อีกทั้งยังมีเทศกาลและงานประเพณีที่จัดขึ้นทุก ๆ เดือนตลอดทั้งปี เดือนกุมภาพันธ์เรามีเทศกาลไม้ดอกไม้ประดับ เราก็ได้เรียนรู้เรื่องพรรณไม้ เมษายนเรามีปีใหม่เมือง พฤษภาคมมีประเพณีบูชาเสาอินทขิล พฤศจิกายนมียี่เป็ง ธันวาคมมีเทศกาลดนตรี ไม่นับรวมประเพณีและเทศกาลย่อย ๆ ที่ชุมชนในเขตเทศบาลจัดขึ้นเองอีกนับไม่ถ้วน องค์ความรู้ด้านวัฒนธรรม ศิลปหัตถกรรม ธรรมชาติ ไปจนถึงด้านวิชาการมันฝังอยู่ในชีพจรของเมืองเรามาแต่ไหนแต่ไร"
“บทบาทหลักของเทศบาลฯ คือการทำให้ผู้คนเข้าถึงและมีส่วนร่วมกับเทศกาลเหล่านี้ให้ได้มากที่สุด ซึ่งไม่ใช่แค่ในฐานะผู้เข้าชม แต่ยังรวมถึงการเป็นผู้สร้างสรรค์ เพราะเรามีพ่อครูแม่ครู สล่า และปราชญ์พื้นบ้านเก่ง ๆ ครบทุกด้าน กระจายอยู่ทั่วทุก 100 ชุมชนในเขตเทศบาล เราก็ต้องหาวิธีให้พวกเขาเข้ามามีบทบาทในการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับผู้มาเยือน รวมถึงให้คนรุ่นหลังได้สืบสานภูมิปัญญาและทักษะฝีมือกันต่อไป
“อีกเรื่องที่เราให้ความสำคัญ คือการเพิ่มพื้นที่สาธารณะให้กับผู้คนทุกช่วงวัย เพราะเรามองพื้นที่ในความหมายเดียวกับพื้นที่การเรียนรู้ ล่าสุด เทศบาลได้จัดตั้ง ‘โรงเรียนผู้สูงอายุ’ โดยใช้สำนักงานแขวงทั้ง 4 แห่งของเรา ชวนผู้สูงอายุในแขวงต่าง ๆ มาเรียนฟ้อนรำ เรียนทำงานหัตถกรรม หรือมาร่วมกิจกรรมด้วยกัน โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ มาเป็นวิทยากร ผู้สูงอายุจะได้ไม่ต้องนั่งเหงาอยู่บ้าน ได้เจอเพื่อน ได้สนุกกับกิจกรรมต่าง ๆ ไปด้วยกัน
อ่านต่อที่: https://shorturl.asia/nbYty
บทความ: ฐิรัฐ ประเสริฐทรัพย์
อาร์ตเวิร์ค: ไข่มุก แสงมีอานุภาพ
_______________
#เมืองแห่งการเรียนรู้


#เชียงใหม่เมืองแห่งการเรียนรู้

“แม่ข่าเปลี่ยน เชียงใหม่เปลี่ยน” Mae Kha City Lab ภารกิจเปลี่ยนริมคลองแม่ข่าให้กลายเป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้________สาม...
10/02/2025

“แม่ข่าเปลี่ยน เชียงใหม่เปลี่ยน” Mae Kha City Lab ภารกิจเปลี่ยนริมคลองแม่ข่าให้กลายเป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้
________

สามารถ สุวรรณรัตน์
นักวิจัยผู้ร่วมก่อตั้ง แม่ข่า ซิตี้ แล็บ
เพราะการฟื้นฟูภูมิทัศน์ของคลองระบายน้ำโบราณที่ตั้งอยู่ในย่านกลางเมืองเชียงใหม่อย่าง ‘คลองแม่ข่า’ หาใช่แค่การปรับปรุงด้านกายภาพ แต่ยังรวมถึงการที่ผู้คนสามารถใช้ประโยชน์จากพื้นที่ได้อย่างยั่งยืน
“ซิตี้แล็บ (City lab) เป็นเครื่องมือพัฒนาเมืองเครื่องมือหนึ่ง เป็นห้องทดลองเชิงปฏิบัติการที่ชวนผู้คนในพื้นที่มาช่วยกันคิด ช่วยกันออกแบบย่านที่พวกเขาอยู่อาศัยให้ตอบโจทย์กับการใช้ชีวิต ขณะเดียวกัน ก็ทำหน้าที่ประสานผู้มีองค์ความรู้ในด้านต่างๆ ให้เข้ามาร่วมทำงานกับผู้คนในชุมชน” สามารถกล่าว
พร้อมกันนั้น ตลอดปี 2566 ถึงปัจจุบัน แม่ข่าซิตี้แล็บก็ได้ร่วมกับชาวบ้านในชุมชน จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในพื้นที่ริมคลองสำหรับผู้ที่สนใจเรื่อยมา ไม่ว่าจะเป็น…กิจกรรมแม่ข่าวอล์กอะลอง Mae Kha Walk Along กิจกรรมชวนผู้เชี่ยวชาญพาผู้ที่สนใจเดินชมคลองแม่ข่าในมิติต่างๆ ซึ่งครอบคลุมประเด็นการพัฒนาเมือง ประวัติศาสตร์ การเรียนรู้ทรัพยากรธรรมชาติ ชาติพันธุ์ ไปจนถึงสถาปัตยกรรม ฯลฯ

เทศกาลแสงแห่งแม่ข่า (Festival of Light)ที่ร่วมกับผู้ประกอบการในย่านไนท์บาซาร์ ชวนนักสร้างสรรค์มาร่วมออกแบบโคมไฟและจัดนิทรรศการศิลปะบริเวณพื้นที่ริมคลองในช่วงเทศกาลยี่เป็งเมื่อปี 2567 ที่ผ่านมา Wilding Garden หรือล่าสุดกับการร่วมกับผู้ประกอบการและชาวบ้านปลูกต้นไม้และดอกไม้พื้นถิ่นและพันธุ์ไม้ที่เหมาะสมริมคลองแม่ข่าในโครงการ ‘สวนเกสรและผีเสื้อ’ (Wilding Garden) เพื่อเติมพื้นที่สีเขียวและความหลากหลายทางชีวภาพให้กับพื้นที่ เมื่อช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2568 เป็นต้น
ลิงค์กิจกรรม Wilding Garden: https://www.facebook.com/share/14Dnx7fN8n3/
อ่านต่อที่: https://shorturl.asia/G6BsY
บทความ: ฐิรัฐ ประเสริฐทรัพย์
อาร์ตเวิร์ค: ไข่มุก แสงมีอานุภาพ
_______________

#เมืองแห่งการเรียนรู้


#เชียงใหม่เมืองแห่งการเรียนรู้
#สถาบันวิจัยพหุศาสตร์มช
#บพท

🦋🍃🌱🌿🪴
09/02/2025

🦋🍃🌱🌿🪴

“วิถีของชุมชนคือห้องเรียนทางศิลปวัฒนธรรม ที่ทำให้เชียงใหม่ เป็นเมืองแห่งการเรียนรู้อย่างเป็นไปเองโดยธรรมชาติ”___________...
05/02/2025

“วิถีของชุมชนคือห้องเรียนทางศิลปวัฒนธรรม ที่ทำให้เชียงใหม่ เป็นเมืองแห่งการเรียนรู้อย่างเป็นไปเองโดยธรรมชาติ”
___________
ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์
หัวหน้าโครงการนิเวศการเรียนรู้เมืองเชียงใหม่
เพื่อยกระดับเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO
“เชียงใหม่เป็นเมืองที่มีบรรยากาศของการเรียนรู้ที่ออร์แกนิกมาก ๆ จริงอยู่ เรามีพิพิธภัณฑ์ และศูนย์การเรียนรู้ที่ถูกจัดตั้งขึ้นมากมาย แต่ขณะเดียวกัน วิถีชีวิตของผู้คนในชุมชนต่าง ๆ ทั่วเมือง ก็ล้วนมีการถ่ายทอดองค์ความรู้เกิดขึ้นเป็นกิจวัตร เมืองเรามีนิเวศของการเรียนรู้ที่เป็นธรรมชาติมาก ๆ”
ข้างต้นคือมุมมองของ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ นักวิจัยจากสถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นักวิจัยชาวเชียงใหม่ผู้ขับเคลื่อนโครงการนิเวศการเรียนรู้เมืองเชียงใหม่เพื่อยกระดับเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ซึ่งได้รับทุนจาก บพท. มาขับเคลื่อนโครงการร่วมกับเทศบาลนครเชียงใหม่ ติดต่อกันเป็นปีที่ 2 (เริ่มตั้งแต่ปี 2565)
ในปีนี้ (2567-2568) หนึ่งในเป้าหมายสำคัญของโครงการ คือการจัดทำเอกสารข้อเสนอพิจารณารางวัลเมืองแห่งการเรียนรู้ UNESCO ซึ่งก่อนจะไปทำความเข้าใจว่ารางวัลนี้จะให้อะไรกับเมืองเชียงใหม่บ้าง เราชวน ดร.สุดารัตน์ ไล่เรียงถึงที่มาที่ไปของโครงการ รวมถึง ‘แต้มต่อ’ จากการที่เชียงใหม่มีมรดกทางวัฒนธรรมอันแสนรุ่มรวย และยังคงฝังอยู่ในวิถีชีวิตร่วมสมัยของผู้คนในเมืองแห่งนี้
“อย่างที่ทราบกันว่าสาเหตุที่เชียงใหม่เป็นเมืองท่องเที่ยวอันดับต้น ๆ ของประเทศ รวมถึงภูมิภาคอาเซียน คือการที่เมืองมีทรัพยากรธรรมชาติที่ค่อนข้างสมบูรณ์ และที่สำคัญคือการมีประวัติศาสตร์ยาวนานมากกว่า 700 ปี ประวัติศาสตร์ที่มาพร้อมกับการหลอมรวมศิลปวัฒนธรรมและมีเอกลักษณ์ของผู้คนหลากชาติพันธุ์เข้าด้วยกัน
อ่านต่อที่: https://shorturl.asia/XwVyW
บทความ: ฐิรัฐ ประเสริฐทรัพย์
อาร์ตเวิร์ค: ไข่มุก แสงมีอานุภาพ
_______________
#เมืองแห่งการเรียนรู้


#เชียงใหม่เมืองแห่งการเรียนรู้

🪴🦋🌿🍃🌱📚
03/02/2025

🪴🦋🌿🍃🌱📚

เปิด 🌸 "สวนเกสรและผีเสื้อ" 🦋
พื้นที่เรียนรู้นิเวศคลองแม่ข่า ใจกลางย่านไนท์บาซาร์ และกำแพงดิน

Mae Kha City Lab ผู้ประกอบการย่านไนท์บาซาร์ นำโดย Duangtawan Hotel, Chiang Mai Star Hotel Chiang Mai Mövenpick Suriwongse Hotel Chiang Mai และ Pavilion Night Bazaar

__

ขอเชิญทุกท่านร่วมชมสวนเกสรและผีเสื้อ สวนดอกไม้ริมคลองแม่ข่า ใจกลางย่านไนท์บาซาร์และกำแพงดิน ที่ริเริ่มและขับเคลื่อนโดยเครือข่ายผู้ประกอบการย่านไนท์บาซาร์ การสนับสนุนโดยเทศบาลนครเชียงใหม่ และ Mae Kha City Lab

สวนแห่งนี้เริ่มต้นพัฒนาความคิดมาตั้งแต่ปลายเดือน ม.ค.67 จากกิจกรรม Earth Day : Mae Kha & Night Bazaar และเริ่มเพาะกล้าช่วงเดือนกันยายน ก่อนจะประสบกับน้ำท่วมในเดือนตุลาคม และกลับมาพลิกฟื้นพื้นที่อีกครั้งในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน 2567 ที่ผ่านมา

โดยใช้แนวคิดและการออกแบบสวน Wild Gardening ที่เน้นการทำสวนให้สอดคล้องกับธรรมชาติ ส่งเสริมระบบนิเวศ ลดการแทรกแซง สร้างความหลากหลายทางชีวภาพ และเปิดพื้นที่ให้เป็นแหล่งเรียนรู้

สวนเกสรและผีเสื้อ พร้อมเปิดให้เข้าชม และนิทรรศการสื่อความหมาย ตั้งวันที่ 8-28 กุมภาพันธ์ 2568
Lacation :จุดเริ่มต้น ด้านข้างโรงแรมดวงตะวันเชียงใหม่ https://maps.app.goo.gl/DKYm8zkiDzuqpcAK8

#โรงแรมดวงตะวันเชียงใหม่ #เทศบาลนครเชียงใหม่

31/01/2025

Mae Kha City Lab 🟡 WHAT WE LEARNED
นักสื่อสารจัดการเรียนรู้คลองแม่ข่า (รุ่นใหม่)

ทุกคนครับ - เราเดินทางมาถึงช่วงท้ายของการทำ Lab เล็กๆ ห้องนี้แล้วนะครับ แล้วก่อนจะขยับขยายไปกับโจทย์ใหม่ หรือที่ทางตามความฝันของแต่ละคน เราอยากชวนทุกคน ติดตามบันทึกฉบับนี้ เป็นการเรียนรู้ที่เราอยากแบ่งปัน หวังว่ามันจะมีประโยชน์บ้าง และเพื่ออยากจะย้ำอีกสักครั้งว่า “แม่ข่าเปลี่ยนได้ เชียงใหม่จะเปลี่ยน” เพราะผู้คนที่เราพบเจอล้วนมหัศจรรย์ และมีใจอยากร่วมดูแล ออกแบบ และลงมือทำให้คลองแห่งนี้ดียิ่งๆ ขึ้น

ตอนแรกเราอยากชวนฟังเสียงจากอนาคต กับน้องๆ โรงเรียนเทศบาลวัดศรีดอนไชย ตัวแทนนักเรียนที่มาร่วมงาน Festival of Light กับเราและพี่ๆ ผู้ประกอบการย่านไนท์บาซาร์

งานนี้สนุกมาก และเกินคาด เพราะนอกจาก ข้อมูล ความรู้ที่เราส่งต่อให้น้องๆ เพื่อนำไปสื่อสารกับผู้ร่วมงาน น้องๆ ตื่นเต้นไปกับกิจกรรม คลองแม่ข่า และสนุกกับการออกแบบงาน พร้อมให้ feedback ซึ่งมันดีมากจริง ๆ แว๊ปหนึ่งคิดว่าคงไม่ต้องห่วงแล้วว่าวันหน้าคลองจะแย่ เพราะมีเด็กๆ ที่ยังสนใจ และอินกันมาก แต่ห่วงแค่พวกเรานี้แหละจะช่วยกันออกแบบ และรับฟังอย่างเข้าใจให้พวกเขาได้ปลดปล่อยพลังกันเต็มที่ได้อย่างไร ...ป่ะอ่านกันครับ

__

ที่ไนท์บาร์ซาร์พื้นที่เศรษฐกิจของจังหวัดเชียงใหม่ ยังมีสถานศึกษาที่กลมกลืนกับความหลากหลายของผู้คนอย่างโรงเรียนเทศบาลวัดศรีดอนไชย โรงเรียนขนาดกลางที่มีถึงระดับการศึกษาถึงมัธยมศึกษาตอนต้น Mae Kha City Lab ได้มีโอกาสทำงานร่วมกับคุณครู และตัวแทนน้อง ๆ นักเรียน ในช่วงเทศกาลยี่เป็งของเมืองผ่านกิจกรรม Festival of Light ได้ตัวแทนน้อง ๆ นักเรียน 6 คน เข้ามาร่วมเป็นนักสื่อสารจัดการเรียนรู้คลองแม่ข่า

เหตุเพราะความใกล้ชิดกับโรงเรียน และน้องๆ คุ้นเคยกับพื้นที่ เติมความรู้อีกหน่อยก็น่าจะพร้อม ที่สำคัญคือน้องๆ มีใจใผ่ เรียนรู้และอยากร่วมกิจกรรม
เราได้ชวนทั้งครู และน้อง ๆ เดินสำรวจเรียนรู้คลองแม่ข่า และสถานที่สำคัญ เช่น วัด กำแพงดิน และริมคลองในมุมใหม่ๆ ให้น้อง ๆ ได้เรียนรู้กับพื้นที่ น้อง ๆ ตื่นเต้นกับการได้เดินใกล้ชิดกับคลองแม่ข่า ที่ไม่เคยได้สังเกตว่ามีคลองสำคัญของเมือง อยู่ใกล้กับโรงเรียนขนาดนี้

__

นักจัดการเรียนรู้คลองแม่ข่า ที่อยากเล่าเรื่องแม่ข่าให้ทุกคนได้ฟัง

“หนูชอบกิจกรรมจัดขึ้น ทั้งการได้เดินริมคลองแม่ข่า เดินชมวัดที่เชื่อมกับคลองแม่ข่า และการจัดกิจกรรมที่ทำให้ผู้คนได้เข้ามาทำ Workshop ต่าง ๆ ได้แลกเปลี่ยนข้อมูลให้กับผู้คน และกิจกรรมที่มีทำให้ทุกคนได้มีประสบการณ์กับพื้นที่ คนมาร่วมมีทั้งคนไทย คนต่างชาติ มีทั้งเด็กและผู้ใหญ่
ประทับใจผู้คนที่มาหากัน ได้สื่อสารกัน พวกเราสนุกที่ได้พยายามที่จะได้สื่อสารให้เข้าใจ ทั้งถามทาง ถามเกี่ยวกับกิจกรรมเป็นว่าเป็นยังไง ชอบที่ได้พูดคุยกับคนแปลกหน้าที่สนใจในงานของเราค่ะ “การทำกิจกรรมนี้หนูคิดว่ามันทำให้คนรู้จักคลองแม่ข่าในย่านนี้มากขึ้น และหนูก็สนุกมากที่ได้ร่วมงานค่ะ”

อยากให้มีกิจกรรมที่หลากหลายที่สร้างการมีส่วนร่วมกับพื้นที่ เพราะผู้คนชื่นชอบที่ได้ลงมือทำ กิจกรรมที่จัดขึ้น เรามองว่าความปลอดภัยของพื้นที่เป็นสิ่งสำคัญ ทั้งไฟที่ให้ความสว่าง และป้ายบอกทางที่เห็นได้ชัดกว่านี้ การได้เป็นนักจัดการเรียนรู้ของคลองแม่ข่า คือการที่ต้องเข้าใจสถานที่ของตัวเองให้มาก เรื่องเล่าอดีตและปัจจุบัน

กิจกรรมนี้เป็นเป็นครั้งแรกของพวกเราที่ได้ออกมาทำในพื้นที่ ที่ไม่ใช่ในโรงเรียน เพราะส่วนมากเราจะทำแค่ในโรงเรียน ได้ความรู้ แต่เราไม่ได้ออกไปทำ ไม่ได้ออกไปเห็นของจริง กระตุ้นให้พวกเรามีความสนใจมากขึ้น และอยากชวนเพื่อนต่างโรงเรียนมาทำกิจกรรมแบบเรา ให้รู้จักกันมากขึ้นด้วย

“หนูชอบการพูดการสื่อสาร การได้เข้าหาผู้คน ได้เจอชาวต่างชาติด้วย เป็นโอกาสดีๆ ที่หาไม่ได้ในห้องเรียนค่ะ”

___

ขอบคุณน้องๆ

ด.ญ หนึ่งฤทัย
ด.ญ ลักษิกา
ด.ญ ณัฐธิดา
ด.ญ ปิ่นลดา
ด.ญ ปนัดดา
ด.ญ ชุติมา

น้อง ๆ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
และคุณครูพิพัฒน์ โรงเรียนเทศบาลวัดศรีดอนไชย
โรงเรียนเทศบาลวัดศรีดอนไชย เทศบาลนครเชียงใหม่

__

#โรงเรียนเทศบาลวัดศรีดอนไชย #นักจัดการเรียนรู้คลองแม่ข่า #เชียงใหม่เมืองแห่งการเรียนรู้ #แม่ข่าเปลี่ยนเชียงใหม่เปลี่ยน

“เชียงใหม่เราแทบไม่มีปัญหาเรื่องของพื้นที่การเรียนรู้ เช่นนั้นแล้ว ความท้าทายคือ เราจะสื่อสารให้สิ่งที่เกิดขึ้นอย่างเป็น...
29/01/2025

“เชียงใหม่เราแทบไม่มีปัญหาเรื่องของพื้นที่การเรียนรู้ เช่นนั้นแล้ว ความท้าทายคือ เราจะสื่อสารให้สิ่งที่เกิดขึ้นอย่างเป็นธรรมชาตินี้ ให้คนอื่นเข้าใจได้อย่างไร”
________
อลิสา ยังเยี่ยม
หัวหน้างานส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์และพัฒนาเมือง เทศบาลนครเชียงใหม่
ตั้งอยู่ใจกลางเมืองเก่าเชียงใหม่ เครือข่ายพิพิธภัณฑ์กลางเวียงเชียงใหม่ประกอบด้วยหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา และหอประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่ ไม่เพียงเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ที่สำคัญ แต่ด้วยที่ตั้งซึ่งล้อมรอบอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ พื้นที่นี้จึงเป็นเสมือนจัตุรัสกลางเมืองที่รองรับกิจกรรมประเพณี เทศกาล และการรวมตัวสร้างสรรค์ต่าง ๆ ตลอดปี ทำให้พื้นที่ดังกล่าวกลายเป็นภาพสะท้อนที่ชัดเจนที่สุดของระบบนิเวศแห่งการเรียนรู้ในเชียงใหม่
นอกจากความยืดหยุ่นของการใช้พื้นที่แล้ว โครงสร้างการบริหารจัดการของเครือข่ายพิพิธภัณฑ์กลางเวียงยังสะท้อนถึงเอกลักษณ์เฉพาะตัวของเชียงใหม่อย่างน่าสนใจ
“ที่นี่ไม่มีผู้อำนวยการหรือผู้บริหารพิพิธภัณฑ์” อลิสา ยังเยี่ยม ผู้ดูแลเครือข่ายพิพิธภัณฑ์กลางเวียงเชียงใหม่ กล่าว “การบริหารจัดการอยู่ภายใต้คณะกรรมการที่มาจากตัวแทนภาคประชาชน”
ศูนย์มรดกเมืองเทศบาลนครเชียงใหม่ (ชื่อปัจจุบัน) มีจุดเริ่มต้นจากความต้องการของชาวเชียงใหม่ในการสร้างพื้นที่เรียนรู้ที่เชื่อมโยงรากเหง้าวัฒนธรรมของตนเองกับการพัฒนาเมือง พวกเขาได้ยื่นความประสงค์ต่อเทศบาล จนนำไปสู่การบูรณะอาคารศาลากลางหลังเก่าให้เป็น ‘หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่’ ในปี 2545 และตามมาด้วยพิพิธภัณฑ์อีกสองแห่งในเวลาต่อมา
“เพราะจุดเริ่มต้นมาจากภาคประชาชน เทศบาลนครเชียงใหม่จึงจัดตั้ง ‘งานส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์และพัฒนาเมือง’ ขึ้นเพื่อดูแลพื้นที่นี้โดยเฉพาะ พร้อมตั้งคณะกรรมการจากตัวแทนภาคประชาชน นี่จึงเป็นตัวอย่างสำคัญของการเปลี่ยนแปลงจากล่างขึ้นบน” อลิสากล่าว
อ่านต่อได้ที่: https://shorturl.asia/0Lf7Q

บทความ: ฐิรัฐ ประเสริฐทรัพย์
อาร์ตเวิร์ค: ไข่มุก แสงมีอานุภาพ
_______________
#เมืองแห่งการเรียนรู้


#เชียงใหม่เมืองแห่งการเรียนรู้

"หัวใจสำคัญของนิเวศการเรียนรู้ คือการสร้างความเท่าเทียม และการประสานความร่วมมือในทุกมิติ"____________Dr.Alexandra Denes ...
26/01/2025

"หัวใจสำคัญของนิเวศการเรียนรู้ คือการสร้างความเท่าเทียม และการประสานความร่วมมือในทุกมิติ"
____________
Dr.Alexandra Denes
ผู้เชี่ยวชาญด้านมรดกทางวัฒนธรรมและที่ปรึกษาโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้เชียงใหม่
Dr.Alexandra Denes หรือ อาจารย์อเล็กซ์ คือนักมานุษยวิทยาด้านสังคมและวัฒนธรรม เธอเคยเป็นนักวิจัยอาวุโสที่ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ที่ปรึกษาด้านการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของ UNESCO และที่ปรึกษาคณะทำงานขับเคลื่อนเมืองเชียงใหม่สู่มรดกโลก ซึ่งล่าสุดเธอยังรับหน้าที่เป็นที่ปรึกษาในการเขียนเอกสารและจัดทำแผนเพื่อยื่นขอรางวัลเมืองแห่งการเรียนรู้ UNESCO ให้กับเมืองเชียงใหม่
สำหรับอาจารย์อเล็กซ์ เมืองเชียงใหม่เปรียบเสมือนศูนย์รวมแห่งความหลากหลายทางชาติพันธุ์และวัฒนธรรม ซึ่งยังคงเชื่อมโยงกับธรรมชาติและวิถีดั้งเดิมอย่างแนบแน่น ความโดดเด่นนี้สร้างนิเวศการเรียนรู้ที่ครอบคลุมในหลายมิติ โดยมีทั้งกลุ่มองค์กรและแหล่งเรียนรู้ที่ช่วยเสริมพลังขับเคลื่อนให้เมืองเติบโตในฐานะเมืองแห่งการเรียนรู้
อย่างไรก็ตาม ในการก้าวสู่การเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ตามกรอบของ UNESCO เชียงใหม่ยังคงเผชิญกับความท้าทายหลายประการ โดยเฉพาะการเปลี่ยนทรัพยากรและต้นทุนทางวัฒนธรรมที่มีอยู่ให้เกิดผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมต่อผู้คนในเมือง
อ่านต่อที่: https://shorturl.asia/7OEx3
บทความ: ฐิรัฐ ประเสริฐทรัพย์
อาร์ตเวิร์ค: ไข่มุก แสงมีอานุภาพ
_______________
#เมืองแห่งการเรียนรู้


#เชียงใหม่เมืองแห่งการเรียนรู้

ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาแผนและศักยภาพเมืองแห่งการเรียนรู้เชียงใหม่ ภายใต้แนวคิด Community-Culture-Based Demonstrat...
22/01/2025

ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาแผนและศักยภาพเมืองแห่งการเรียนรู้เชียงใหม่
ภายใต้แนวคิด Community-Culture-Based Demonstration Events
___
เมื่อ วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2568 คณะทำงานเชียงใหม่เมืองแห่งการเรียนรู้และภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา และภาคประชาสังคมได้เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาแผนและศักยภาพเมืองแห่งการเรียนรู้เชียงใหม่ เพื่อร่วมกันพัฒนา (ร่าง) แนวทางการพัฒนาแผนเพื่อการยกระดับเมืองแห่งการเรียนรู้เมืองเชียงใหม่ ภายใต้ 3 คำถามสำคัญ ได้แก่
คำถามที่ 1: ข้อเสนอ “ในการขยายความร่วมมือ เพื่อยกระดับกลไกการดำเนินงานเมืองแห่งการเรียนรู้”
คำถามที่ 2: อะไร คือ แนวทาง เสริมความเข้มแข็ง คุณลักษณะเมืองแห่งการเรียนรู้เชียงใหม่
คำถามที่ 3: เสนอแนวทาง ยกระดับสภาพแวดล้อมที่กระทบต่อทิศทางและแนวทางการเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้เชียงใหม่
ในกระบวนดังกล่าวถูกออกแบบขึ้นเพื่อกระตุ้นให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากหลากหลายภาคส่วนได้มีความรู้ความเข้าในคุณลักษณะเมืองแห่งการเรียนรู้ (Key Features) และมีส่วนร่วมในการการสนับสนุนและปรับปรุงแนวทางการเรียนรู้ตลอดชีวิต การพัฒนาเครื่องมือเพื่อส่งเสริมและรับรองความก้าวหน้าที่เกิดขึ้นในการสร้างเมืองแห่งการเรียนรู้ และเข้าใจการประเมินผล ตามกรอบการประเมินผลเอกสาร The UNESCO Learning City Award 2024
โดยคณะทำงานต้องขอบพระคุณทุกท่านที่เข้ามาร่วมกิจกรรมและสามารถติดตามความก้าวหน้าในการพัฒนาข้อเสนอและกิจกรรมของทางโครงการฯ ได้ทางเฟสบุ๊ค และ เว็บไซต์ในชื่อ Chiang Mai Learning City ได้เร็วๆ นี้

21/01/2025
13/01/2025

🟠 Mae Kha Walk Along [ ss2/3 ]

จำนวนผู้ลงทะเบียนเต็มแล้วครับ
ขอบคุณทุกคนที่สนใจ !!

___

เดินเมืองเรียนรู้คลองแม่ข่า ✅ [ ศิลป์พม่า จากแม่ข่า ท่าแพ และเมืองเก่าเชียงใหม่ ]
__

ร่วมเรียนรู้ และชื่นชมงานสถาปัตย์กรรมพม่า ผ่านผลงานของหลวงโยนะการพิจิตร (หม่องปันโย)
พ่อค้าไม้ชาวพม่า และเจ้าศรัทธาผู้มีส่วนสำคัญในการสร้างและบูรณะวัด ตั้งแต่ริมแม่น้ำปิง แม่ข่า ท่าแพ และรายรอบเมืองเก่าเชียงใหม่

กับวิทยากร

อินทนนท์ สุกกรี
เจ้าของร้าน SHWE และสถาปนิกผู้หลงใหลลายผ้า และศิลปะพม่า

__

🚩18 มกราคม นี้ 9.00-12.00น.
ผู้ลงทะเบียนได้เรียบร้อย
__

🟠นัดพบกัน 8.30 ลานหน้าวิหารวัดแสนฝาง
เดินชมวัดเส้นทางถนนท่าแพ
- วัดแสนฝาง
- วัดบุพพาราม
- วัดมหาวัน
- วัดเชตวัน
- วัดหมื่นล้าน (เดินกลับเข้าถนนท่าแพ)
- ประตุท่าแพ (เข้ามาในเมืองเก่า)

___

กิจกรรม Mae Kha Walk Along เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Mae Kha City Lab และโครงการเชียงใหม่เมืองแห่งการเรียนรู้ Chiang Mai Learning City

#แม่ข่าเปลี่ยนเชียงใหม่เปลี่ยน #แม่ข่า #เชียงใหม่เมืองแห่งการเรียนรู้

กิจกรรมเวทีสาธารณะ __________Chiangmai City Forum ปี 3 ครั้งที่ 2 “Chiang Mai Learning City Day” ที่จัดขึ้นวันที่ 12 ธัน...
12/12/2024

กิจกรรมเวทีสาธารณะ
__________
Chiangmai City Forum ปี 3 ครั้งที่ 2 “Chiang Mai Learning City Day” ที่จัดขึ้นวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2567 ณ ศูนย์มรดกเมืองเทศบาลนครเชียงใหม่ ภายใต้โครงการ “นิเวศการเรียนรู้เมืองเชียงใหม่เพื่อยกระดับเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO” โดยสถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ร่วมกับภาคีเครือข่าย ซึ่งได้รับเกียรติจาก นายภวฤทธิ์ กาญจนเกตุ รองนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ เป็นประธานเปิด
โดยในเวทีมีการแลกเปลี่ยนและเสวนาภายใต้หัวข้อ Chiang Mai Learning City Talk “มองเชียงใหม่..ผ่านมุมมองนักจัดการการเรียนรู้เมือง” ซึ่งได้รับความร่วมมือจากภาคส่วนที่มีส่วนช่วยและผลักดันเชียงใหม่เมืองแห่งการเรียนรู้ อาทิ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดเชียงใหม่ กลุ่ม Green Ranger โรงเรียนดาราวิทยาลัย โรงเรียนศรีดอนไชย กลุ่ม Chiang Mai urban Cyclist กลุ่มคนรุ่นใหม่นักจัดการเมือง และ วิทยาลัยการศึกษาตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

#เชียงใหม่เมือฝแห่งการเรียนรู้ #แม่ข่า #บพท

08/12/2024

Live 🔴 [Mae Kha’ Talk] 🟣

“ชุมชน 2 ฟากฝั่งน้ำแม่ข่า
กับการพัฒนาในสมัยพระราชชายาเจ้าดารารัศมี”
__

สนับสนุนกิจกรรมเสวนาสร้างการเรียนรู้ และเผยแพร่ข้อมูลงานวิจัยคลองแม่ข่า โดย มูลนิธิทายาทเจ้านายฝ่ายเหนือ, วัดศรีดอนไชย และ Mae Kha City Lab

กิจกรรมครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรม Chaing Mai Learning City’s Week สนับสนุนโดยโครงการวิจัย Chiang Mai Learning City สถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ บพท.

#เชียงใหม่เมือฝแห่งการเรียนรู้ #แม่ข่า #บพท

กิจกรรมการเรียนรู้คุณค่าคลองแม่ข่า[ Mae Kha’ Talk] “ชุมชน 2 ฟากฝั่งน้ำแม่ข่า กับการพัฒนาในสมัยพระราชชายาเจ้าดารารัศมี”8 ...
01/12/2024

กิจกรรมการเรียนรู้คุณค่าคลองแม่ข่า
[ Mae Kha’ Talk]

“ชุมชน 2 ฟากฝั่งน้ำแม่ข่า
กับการพัฒนาในสมัยพระราชชายาเจ้าดารารัศมี”

8 ธ.ค.นี้ 13.00-16.00
Onsite : ห้องประชุมวัดศรีดอนไชย
ลงทะเบียนเข้าร่วมงาน *ไม่เสียค่าใช้จ่าย
https://forms.gle/VAYA49rePWw32e3D8

Online : Facebook Live Imagine MaeKha

รายละเอียดใน poster ครับ

__

สนับสนุนโดย
มูลนิธิทายาทเจ้านายฝ่ายเหนือ, วัดศรีดอนไชย, โรงเรียนเทพศิรินทร์ เชียงใหม่, บพท., สถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มช., Imagine Mae Kha, โครงการ Chiang Mai Learning City และ Mae Kha City Lab

[Mae Kha’ Talk] 🟣
มูลนิธิทายาทเจ้านายฝ่ายเหนือ และ Mae Kha City Lab
ขอเชิญทุกท่านร่วมงานเสวนา

“ชุมชน 2 ฟากฝั่งน้ำแม่ข่า
กับการพัฒนาในสมัยพระราชชายาเจ้าดารารัศมี”
__

🚩[ วันอาทิตย์ที่ 8 ธันวาคม 2567 ]
13.00-16.00น.
ณ ห้องประชุมวัดศรีดอนไชย

ลงทะเบียนเข้าร่วมงาน https://forms.gle/VAYA49rePWw32e3D8
หรือ Scan QR-code ในช่อง comment
**ไม่เสียค่าใช้จ่าย

Facebook Live 🔴 13.00-15.30น.
@ facebook Page : IMAGINE MAE KHA

__

กำหนดการ

12.30น. ลงทะเบียน
13.00น. เปิดงานเสวนาโดย ศ.เกียรติคุณ ดร.ชาติชาย ณ เชียงใหม่ ประธานมูลนิธิทายาทเจ้านายฝ่ายเหนือ
13.20 - 14.00น. ประวัติศาสตร์และเรื่องเล่า “วัดศรีดอนไชย” โดย พระปลัดจรินทร์ ธมฺมวโร เจ้าอาวาสวัดศรีดอนไชย
14.00 - 15.30น. เสวนาและแลกเปลี่ยน “ชุมชน 2 ฟากฝั่งน้ำแม่ข่า
กับการพัฒนาในสมัยพระราชชายาเจ้าดารารัศมี”
- อ.ภูเดช แสนสา นักวิจัยร่วม Mae Kha City Lab และอาจารย์พิเศษคณะวิจิตรศิลป์ มช.
- อ.แสวง มาละแซม นักวิชาการด้านมานุษยวิทยาและล้านนาคดี
15.30 - 16.00น. นำชมงานสถาปัตยกรรม และโบราณวัตถุ วัดศรีดอนไชย
- โดย อ.ภูเดช แสนสา นักวิจัยร่วม Mae Kha City Lab และอาจารย์พิเศษคณะวิจิตรศิลป์ มช.
__

กิจกรรมเสวนาเพื่อรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณของพระราชชายาเจ้าดารารัศมี และรวบรวมข้อมูลประวัติศาสตร์ และคุณค่าพื้นที่ริมคลองแม่ข่าสนับสนุนการขับเคลื่อนเชียงใหม่สู่เมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโก และเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรม Chiang Mai Learning City Week
__

สนับสนุนโดย
มูลนิธิทายาทเจ้านายฝ่ายเหนือ, วัดศรีดอนไชย, โรงเรียนเทพศิรินทร์ เชียงใหม่, บพท., สถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มช., Imagine Mae Kha, โครงการ Chiang Mai Learning City และ Mae Kha City Lab

เทศบาลนครเชียงใหม่ จัดประชุมคณะกรรมการบริหารศูนย์สร้างสรรค์ เพื่อการพัฒนาเมืองเชียงใหม่ (URC) ครั้งที่ 8/2567 วันที่ 27 ...
27/11/2024

เทศบาลนครเชียงใหม่ จัดประชุมคณะกรรมการบริหารศูนย์สร้างสรรค์ เพื่อการพัฒนาเมืองเชียงใหม่ (URC) ครั้งที่ 8/2567

วันที่ 27 พฤศจิกายน 2567 นายอัศนี บูรณุปกรณ์ นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ มอบหมายให้ นายวีรวิชญ์ ธีรสวัสดิ์ รองนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารศูนย์สร้างสรรค์ เพื่อการพัฒนาเมืองเชียงใหม่ (URC) ครั้งที่ 8/2567 โดยมี คณะกรรมการบริหารศูนย์สร้างสรรค์ฯ คณะทำงาน ตลอดจนเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วม ณ ห้องประชุมศูนย์สร้างสรรค์เพื่อการพัฒนาเมืองเชียงใหม่ (URC) อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

การประชุมครั้งนี้ คณะกรรมการได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การพิจารณาตัดสินแบบที่ส่งเข้าประกวด โครงการ "เสาไฟฟ้าแจ่งศรีภูมิ ถนนห้วยแก้วและตกแต่งตู้ไฟฟ้า" (พื้นที่เมืองเชียงใหม่) รวมถึงการปรับปรุงลานหน้าตลาดช้างเผือก และการปรับปรุงถนนนิมมานเหมินทร์ พร้อมหารือโครงการวิจัยนิเวศการเรียนรู้เมืองเชียงใหม่เพื่อยกระดับเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO และ การจัดส่งโครงการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยชุมชนริมคลองแม่ข่า : แม่ข่าโมเดลในงาน "WOW Festival 2025" Wonder of Well Living City

#เทศบาลนครเชียงใหม่

ที่อยู่

Changwat Chiang Mai

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ Chiang Mai Learning Cityผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ ธุรกิจของเรา

ส่งข้อความของคุณถึง Chiang Mai Learning City:

แชร์