
06/06/2025
ในยุคที่ไต้หวันอยู่ภายใต้การปกครองของญี่ปุ่น ห้างฮายาชิ เมืองไถหนาน ได้กำเนินขึ้นในปี 1932 สร้างตามแบบตะวันตกสมัยใหม่ ถือเป็นหนึ่งในห้างสรรพสินค้าที่ทันสมัยที่สุดในช่วงเวลานั้น ต่อมาปี 2014 ห้างได้รับการบูรณะและปรับปรุงภาพลักษณ์ เราจึงเห็น ฮายาฮะคุจัง คาแรกเตอร์เด็กผู้หญิงชุดสีกรมมท่าใส่หมวกแดง ที่ถูกออกแบบขึ้นโดยทีมงานของห้างฮายาชิและนักออกแบบท้องถิ่นไต้หวัน เพื่อนำเสนอความสดใส น่ารักเข้าถึงง่าย เชื่อมโยงระหว่างประวัติศาสตร์และยุคสมัยใหม่ ไม่เพียงแค่นั้น พนักงานในห้างฮายาชิก็ใส่ชุดสีกรมมท่าและมีหมวกแดงเหมือนฮายาฮะคุจังด้วย นี่จึงเป็นอีกเทคนิคของการสื่อสารแบรนด์ที่นำมาเล่าให้ฟัง
1. Brand Consistency (ความสม่ำเสมอของแบรนด์) ทุกประสบการณ์ระหว่างแบรนด์กับลูกค้าควรมีความสอดคล้องกัน เพื่อทำให้ลูกค้าจดจำแบรนด์ได้ชัดขึ้น เสื้อผ้าพนักงานจึงไม่ใช่แค่ยูนิฟอร์มแต่เป็นเครื่องมือในการสื่อสารแบรนด์ที่เข้าใจได้อย่างรวดเร็ว
2. Symbolic Interactionism (การปฏิสัมพันธ์เชิงสัญลักษณ์) คนมักตีความความหมายของแบรนด์ผ่านสัญลักษณ์ที่เห็น ชุดที่พนักงานใส่เชื่อมโยงกับมาสคอตผนวกความมีชีวิตชีวาที่มี ลูกค้าจึงรู้สึกเหมือนกำลังเข้ามาในโลกของฮายาชิที่ไม่ใช่แค่ร้านค้าธรรมดา
3. Emotional Branding (สร้างอารมณ์ร่วมกับแบรนด์)
เน้นสร้างความรู้สึกและความสัมพันธ์ทางอารมณ์มากกว่าการขายของตรงๆ มาสคอตและพนักงานชุดเดียวกัน ช่วยสร้างบรรยากาศอบอุ่นและมีเสน่ห์แบบย้อนยุค ลูกค้าไม่ได้แค่ซื้อของ แต่รู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องราวที่ห้างกำลังเล่า
การกำหนดเครื่องแต่งกายของพนักงานจึงเป็นการสร้างแบรนด์ให้จับต้องได้ เพื่อทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าตัวเองได้เข้าไปอยู่ในโลกของแบรนด์แบบไม่รู้ตัว
-
อ้างอิง:
• Blumer, H. (1969). Symbolic Interactionism: Perspective and Method.
Gobé, M. (2001). Emotional branding: The new paradigm for connecting brands to people. Allworth Press.
• Hayashi. (2014). The Department Store That Inaugurated An Age of Fashion in the 1930s--Hayashi Department Store. http://www.hayashi.com.tw/page.asp?nsub=A8A000&lang=E