ลาไปอ่านหนังสือ

ลาไปอ่านหนังสือ ลาไปอ่านหนังสือ แต่...ไม่ลาก็อ่านได้นะ
(1)

30 ข้อที่ได้จากการที่่เรา “เลิกเป็นคนดี” 1. สมองทำงานได้ดีขึ้น เมื่อเรา “ไม่ฝืนตัวเอง” 2. ความพยายามในการทำตัวเป็นคนดีใน...
11/07/2025

30 ข้อที่ได้จากการที่่เรา “เลิกเป็นคนดี”
1. สมองทำงานได้ดีขึ้น เมื่อเรา “ไม่ฝืนตัวเอง”
2. ความพยายามในการทำตัวเป็นคนดีในสายตาคนอื่น “อาจทำให้เราเผลอให้สมองอย่างหนักในการประมวลผล ซึ่งสมองของเราจะเหนื่อยล้าโดยไม่รู้ตัว”
3. ถ้าต้องอดทนกับอะไรที่ไม่ใช่ตัวเรา สมองจะเข้าสู่โหมดประหยัดพลังงาน ไม่ได้รับการกระตุ้นให้คิดสิ่งอื่นใด
4. เลิกใช้พลังสมองไปกับการเอาใจคนอื่นตลอดเวลา แล้ว... หันมาใส่ใจกับสิ่งที่เราชอบบ้าง
5. สมองของเราต้องการ “ความสนุก” เพื่อกระตึ้นให้เกิดการเรียนรู้และเติบโต
6. เวลาที่เรารู้สึกมีพลังงานสำหรับทำกิจกรรมต่างๆ นั่นหมายถึงสมองของเรากำลังตื่นตัว และพร้อมอย่างเต็มที่
7. ความเครียดจาก “การฝืนใจ” ทำให้การเชื่อมต่อระบบความคิดในสมองแย่ลง
8. ยิ่งเราพยายามแสดงออกในแบบที่คนอื่นคาดหวัง เรายิ่งถอยห่างออกจาก ‘ความคิดสร้างสรรค์’
9. อย่าใช้ชีวิตแบบต้อง “ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน” ของคนอื่นตลอดเวลา
10. สมองของเรามีศักยภาพสูงมาก ถ้าไม่ใส่ใจกับคำพูดหรือสายตาของคนอื่นตลอดเวลา
11. หลายครั้งที่การ “ฝืนยิ้มหรือฝืนใจทำอะไร...” เป็นการใช้พลังสมองอย่างสิ้นเปลือง (ยากนะที่เราจะไม่ฝืนใจทำสิ่งใด แต่เราเองก็ต้องมีเหตุและผลที่ทำด้วย)
12. ความสุขที่แท้จริงมาจาก “การเป็นตัวเองโดยไม่ฝืนใจทำสิ่งที่ไม่ชอบ...”
13. อย่าเก็บทุกความรู้สึกไว้คนเดียว บางิย่างควบคุมไม่ได้ก็ต้องปล่อยไป
14. สมองชื่นชอบ ‘ความตื่นเต้น ชอบสิ่งใหม่’ หากอยากกระตุ้นสมองให้ลองเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ ที่เราสนใจ
15. ใช้สมองไปกับสิ่งที่เราหลงใหล แล้วเราจะไม่เหนื่อยล้า... เท่ากันการฝืนใจทำ
16. การเป็นตัวเองไม่ใช่ความเห็นแก่ตัวนะ (หมายถึงเป็นแบบที่ไม่เบียดเบียนหรือมีผลกระทบต่อคนอื่นในทางที่ไม่ดี)
17. เลิกขอโทษในเรื่องที่เราไม่ได้ทำผิดเสียที
18. ถ้าไม่อยากทำ.. ก็ไม่ต้องทำ สมองจะได้ไม่เกิดการต่อต้าน (ยกเว้นหน้าที่และความรับผิดชอบที่จำเป็นต้องทำ)
19. คนที่สมองทำงานได้ดี ไม่ใช่คนที่พยายามเป็นคนดีที่สุด แต่เป็นคนที่ “ทำที่ต่างๆ อย่างสบายใจในแบบตัวเอง”
20. การใช้ชีวิตอย่างอิสระ ช่วยให้สมองเชื่อมโยงความคิดสร้างสรรค์ได้ดีขึ้น
21. ไม่ต้องตอบสนองทุกข้อความ ทุกคอมเมนต์ ทุกคำพูด สมองของเรามีค่าสำหรับสิ่งอื่นที่ดีกว่า... ความคิดลบที่ไม่เป็นประโยชน์ก็ปล่อยทิ้งไป
22. อย่าให้ “ความกลัวการปฏิเสธ” มาควบคุมการตัดสินใจของเรา
23. เลือกอยู่กับคนที่ทำให้สมองของเรา “เบิกบานและสบายใจ” ไม่ใช่ “เบื่อหน่ายหรือกดดันอยู่ตลอด”
24. สมองไม่ชอบสิ่งที่ซ้ำเดิม ลองหาทางเปลี่ยนบรรยากาศเล็กๆ ในแต่ละวัน
25. การได้หัวเราะเป็นอาหารชั้นดีของสมอง...
26. การยอมรับและปล่อยวาง ‘ความรู้สึกผิด’ และหาทางแก้ไขไม่ให้เกิดอีก เป็นหนทางที่ทำให้สมองได้รับการปลดปล่อยและกระตุ้นความคิดในทางที่ดี
27. ให้พื้นที่สมองได้ “ว่าง” บ้าง เพื่อรองรับความคิดใหม่ๆ...
28. อย่ากลัวการเปลี่ยนแปลง สมองของเราพร้อมจะเรียนรู้ตลอดชีวิตอยู่เสมอ
29. เมื่อเราเริ่มรักตัวเอง สมองจะหยุดการปิดกั้น แล้วเปิดรับ ‘สิ่งใหม่ๆ‘ หรืออาจจะเป็นสิ่งเดิมแต่เป็นมุมมองใหม่ๆ
30. ความสุขง่ายๆ เริ่มต้นที่ตัวเรา ทั้งกาแฟ กลิ่นของฝน หรือเสียงเพลง เป็นต้น... ช่วยเราได้ผ่อนคลายเสมอ

บางทีเราก็นิยาม ’คนดี‘ ในมิติของการทำตามทุกคน... ใส่ใจทุกเรื่อง และให้ความสำคัญกับทุกๆอย่างมากเกินไป เอาเข้าจริง ’คนดี‘ สำหรับผมน่าจะหมายถึง ใจดีกับตีวเองก่อน อนุญาตให้ตัวเองได้รู้สึกมีความสุขบ้าง เพราะทุกวันของเราก็ต้องเหนื่อยล้ากับหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบมากพอแล้ว เพราะงั้นเปิดพื้นที่ ’ให้กับตัวเอง‘ บ้างก็ดีนะ คนดีเท่ากับใจดีกับตัวเอง... และให้ความสำคัญกับตัวเองมากเท่าที่ทำได้ (ไม่เอาแบบยกหางหรือให้ท้ายตัวเองเกินไปนะ)

Change+

ส่วนตัว ‘ชอบ’ แนวคิดลักษณะนี้.. การที่เราจะมีชีวิตที่ดีได้นั้นต้องเกิดจากองค์ประกอบเล็กๆ ในแต่ละช่วงเวลา เริ่มต้นตั้งแต่...
10/07/2025

ส่วนตัว ‘ชอบ’ แนวคิดลักษณะนี้.. การที่เราจะมีชีวิตที่ดีได้นั้นต้องเกิดจากองค์ประกอบเล็กๆ ในแต่ละช่วงเวลา เริ่มต้นตั้งแต่เช้าจนถึงเวลาเข้านอน

คำว่า ‘ชีวิตที่ดี’ ไม่ได้หมายความว่าเราไม่มีปัญหารบกวน หรือทำทุกอย่างได้ดั่งใจคิดตลอดเวลานะ... แค่ว่าทุกครั้งที่เราพบหรือเจอกับปัญหาแล้ว เราสามารรถตั้งสติ คิดวิเคราะห์ และค่อยๆ จัดการกับปัญหาแต่ละเรื่องได้อย่างรอบคอบ ผ่านการคิดพิจารณาอย่างเหมาะสม

ในขณะเดียวกัน เรายังรู้ด้วยว่า “ปัญหาที่เราเจอนั้น‘ มีลักษณะที่้เราควบคุมหรือจัดการได้ด้วยหรือไม่ ส่วนนี้เป็นเรื่องสำคัญที่หลายคนรวมถึงผมเองก็มักจะ ’ไม่ทันคิด‘ และรับเอาทุกปัญหาเข้ามาเป็นของตัวเอง ในท้ายที่สุดทุกปัญหาจึงมากองอยู่ที่เรา และเราเองก็ตัดสินใจจัดลำดับความสำคัญของปัญหาไม่ได้ เพราะปัญหาที่อยู่เหนือการควบคุมของเรา ยิ่งเป็นปัญหาที่เราคิดว่าสำคัญที่สุด เราจึงจัดเอาไว้ลำดับต้นๆ แต่ก็ไม่สามารถแก้ไขได้ ทุกปัญหาจึงค้างเป็นขวดคอที่ได้แต่รอคอย

กลับไปที่ย่อหน้าก่อน... ในเมื่อเราจัดการกับปัญหาได้ดี และรู้ว่าปัญหาไหนเป็นสิ่งที่เรารับเอาไว้ได้ วันนั้นจึงเป็นวันที่ดีสำหรับเรา และเมื่อเราเข้าใจกระบวนการแก้ไขปัญหา ฝึกฝนและทำอยู่อย่างสม่ำเสมอ จากระดับวันที่ดี ก็กลายเป็นสัปดาห์และเดือนที่ดี ก่อนจะสะสมอย่างต่อเนื่องจน... กลายเป็นปีที่ดี และในที่สุดก็เป็นชีวิตที่ดีดั่งที่เราตั้งใจเอาไว้นั่นเอง...

(ส่วนตัวก็คิด... ประมาณนี้ครับ)

The Bitcoin Standard เล่มนี้บอกเล่าเรื่องราวของวิวัฒนาการและข้อดีข้อเสียของระบบการเงินตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ราวๆ เกือบ ...
10/07/2025

The Bitcoin Standard เล่มนี้บอกเล่าเรื่องราวของวิวัฒนาการและข้อดีข้อเสียของระบบการเงินตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ราวๆ เกือบ 300 หน้า ก่อนที่จะอัพเดทเรื่องราวของ Bitcoin ทั้งในเชิงนิยาม ความหมาย ที่มาที่ไป ข้อดี และที่สำคัญกระบวนการได้มาซึ่ง Bitcoin

หนังสือเล่มนี้เหมาะกับใครบ้าง
1 คนที่สนใจวิวัฒนาการทางการเงินตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
2 คนที่อยากรู้เกี่ยวกับระบบการเงินรวมถึงปัญหาของระบบการเงินในยุคปัจจุบัน
3 คนที่อยากเข้าใจเรื่องเงินดิจิทัล และ Bitcoin ไปจนถึงประเด็นข้อสงสัยต่างๆ ที่เกี่ยวกับกับ Bitcoin

สำหรับช่วงต้นของหนังสือเล่มนี้จะเริ่มต้นที่วิวัฒนาการของเงินตรา โดยในอดีตนั้น เราใช้ตัวแทนของเงินตราในรูปแบบต่างๆ ที่คนอื่นในสังคมนั้นเห็นคุณค่าของมันเหมือนกัน และเงินตราในรูปแบบต่างๆ นั้น สามารถพังทลายลงได้ หากคุณค่าของสิ่งนั้นลดลง แล้วก็จะมีเงินตราในรูปแบบใหม่เข้ามาแทนที่

ขอคั่นจังหวะนิดหน่อยครับ ย้อนกลับไปในช่วงเวลาในอดีต 'ในเกาะเล็กๆ มีหินชนิดหนึ่งที่ทุกคนในเกาะรับรู้ว่าใครเป็นเจ้าของหรือเป็นผู้ครอบครอง โดยไม่จำเป็นต้องเคลื่อนย้ายหินนั้นไปอยู่กับตัวเลย' ซึ่งหินชนิดนี้มีความใกล้เคียงกับ Bitcoin เลย... สามารถแลกเปลี่ยนกับสินค้าชนิดอื่นๆ ได้ด้วย

กลับมาที่ระบบการเงิน... ที่มองว่า "สินทรัพย์ปลอดภัย" ได้แก่ ทองคำและเงินดอลลาร์ แน่นอนว่าทองคำนั้นมีค่า และถูกใช้เป็นเงินตรามาตลอด จนกระทั่งเมื่อทองคำไม่สามารถผลิตได้ทันกับความต้องการของผู้คนจำนวนมาก มนุษย์จึงได้หันไปใช้วัสดุประเภทอื่นแทน

แล้ววันหนึ่งเราก็พบว่า 'การผลิตหรือพิมพ์เงินตรา' โดยธนาคารกลางแต่ละประเทศต้องมีทองคำเป็นตัวแทนเหมือนกับการค้ำประกัน ซึ่งไม่ว่าเราจะถือครองเงินจำนวนเท่าไหร่ ก็เทียบเท่ากับการถือครองทองคำในปริมาณที่จำนวนเท่านั้น และสามารถแลกเปลี่ยนได้ตลอด
แต่...
แล้วระบบการเงินของโลกก็เปลี่ยนแปลงไปอีกครั้ง และอีกครั้ง เงินตราที่ธนาคารพิมพ์ยกเลิกการผูกกับทองคำ และมาตรฐานระบบการเงินใหม่ก็เกิดขึ้น เงินตราสกุลดอลลาร์สหรัฐกลายเป็นสกุลเงินที่สำคัญ และเป็นเงินสำรองที่แต่ละประเทศจะต้องมีเหมือนกับที่เคยถือครองทองคำนั้นเอง

ประเด็นสำคัญคือ 'ทองคำ' นั้นมีคุณค่าในตัวเองเสมอ และเมื่อผลผลิตที่ออกมาในแต่ละปีเทียบกับที่มีอยู่บนโลก ยังถือว่าเป็นสัดส่วนที่น้อยมาก เมื่อราคาทองคำปรับเพิ่มขึ้นแล้ว โดยมากราคาก็จะไม่ปรับลดลงมากเท่าไหร่นัก ตรงข้ามกับสินค้าโภณภัณฑ์ประเภทอื่นๆ ที่ผู้ประกอบการสามารถผลิตเพิ่มให้เท่าทันความต้องการ ทำให้ราคาของสินค้าเช่น ทองแดง หรือน้ำมัน เหวี่ยงขึ้นและลงจนกลับมาเท่ากับระดับก่อนการปรับเพิ่มขึ้นได้....

แต่
สำหรับเงินสกุลต่างๆ นั้นไม่เหมือนกัน 'ทองคำ' เรามักจะเจอกับปัญหาความต้องการเทียมจากนโนบายของรัฐบาลกลางของแต่ละประเทศ ส่งผลให้มีความผิดปกติเกิดขึ้นกับเงินสกุลต่างๆ อยู่บ่อยครั้ง ซึ่งเมื่อเกิดปัญหา ธนาคารกลางหรือรัฐบาลก็มักจะเข้าแทรกแซง ส่งผลให้ผู้ถือครองเงินสุกลหลักของโลกต้องเผชิญหน้ากับความไม่แน่นอนนั่นเอง --> ส่วนนี้แหละที่เป็นปัญหาของระบบเงินเฟียต (Fiat Money)

เมื่อเงินตราในโลกปัจจุบันถูกควบคุมโดยตัวกลางอย่างรัฐบาลและธนาคารกลาง ทำให้ 'บางคน' เกิดแนวคิดในการสร้างเงินตรารูปแบบใหม่ที่ 'ไร้ตัวกลาง' ขึ้นมา แต่ยังคงคุณสมบัติที่ระบบการเงินพึงมี และ Bitcoin จึงถือกำเนิดขึ้น...

Bitcoin มีรูปแบบของ Blockchain เป็นมาตรฐาน โดยผู้ใช้งานจะใส่ข้อมูลต่างๆ ในไปใน Block และมีกุญแจล็อคเอาไว้ เมื่อมี Block ต่อๆ ไป จะเชื่อมต่อกันด้วย Chain ซึ่งผู้ที่สามารถเช็คสอบได้ว่า Block นั้นๆ ถูกต้องหรือไม่ จะได้รับรางวัลเป็น Bitcoin โดยกระบวนการนี้ถูกเรียกว่า "การขุด Bitcoin" ซึ่งสังเกตได้ว่ากระบวนการนี้จะไม่มีตัวกลางเข้ามาควบคุมหรือจัดการ เป็นเรื่องของกลุ่มคนที่เช็คสอบข้อมูลร่วมกัน หากใครเช็คสอบได้ถูกต้องและเร็วกว่าก็ได้รับ Bitcoin ไป

แล้ว... ทีนี้ก็มีคนสงสัยว่า "เราจะสามารถทำการแก้ไขข้อมูลต่างๆ ใน Block เหล่านี้ได้หรือไม่ คำตอบก็คือ ยากมากๆ เพราะแต่ละ Block เชื่อมกับด้วย Chain และมีกุญแจล็อคเอาไว้ การจะแก้ไขได้เราต้องเข้าถึงได้ทุกๆ Block ย้อนกลับไปทั้งหมด ซึ่งในทางปฏิบัติแล้วแทบเป็นไปไม่ได้

Bitcoin ถูกคิดค้นโดยคุณซาโตชินั้น 'เป็นระบบเงินสดอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างบุคคลถึงบุคคล' ซึ่งมีอยู่อย่างจำกัด จึงทำให้เรารู้ได้ว่า supply มีอยู่ประมาณไหน และรู้ด้วยว่าตอนนี้เหลือ Bitcoin อยู่เท่าไหร่ หากมีคนต้องการมากขึ้น ราคาของ Bitcoin ก็จะปรับเพิ่มสูงขึ้นนั่นเอง

ความรู้สึกหลังอ่านหนังสือเล่มนี้...
แน่นอนว่ามองระบบการเงินในปัจจุบันด้วยแง่ลบ และให้ความเห็นว่า Bitcoin เป็นสิ่งที่จะมาแก้ไขปัญหาที่ผู้เขียน.. ตั้งใจเปิดเอาไว้ ทั้งการมีอยู่ของตัวกลาง และการที่ระบบการเงินมีโอกาสถูกแทรกแซงจากรัฐบาล และธนาคารกลางได้ แต่.. เอาเข้าจริง ส่วนตัวผมเองก็ยังไม่แน่ใจขนาดนั้น ที่แน่ใจได้ก็คือราคาของ Bitcoin ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง...​ เนื่องจากมีคนจำนวนไม่น้อยเข้ามาเก็งกำไร หรือต้องการเก็บเงินในรูปแบบที่ปลอยภัยกว่าในระยะยาวก็เป็นได้


SE-ED Book Center Piriya Sambandaraksa

ส่วนตัวหลายครั้งพบว่า "เรามักจะเข้าใจไปว่าตัวเองรู้แล้ว" ก็ตอนที่เราอ่านหนังสือจบ... แต่พอผ่านไปสักระยะหนึ่ง เอาเข้าจริง...
10/07/2025

ส่วนตัวหลายครั้งพบว่า "เรามักจะเข้าใจไปว่าตัวเองรู้แล้ว" ก็ตอนที่เราอ่านหนังสือจบ... แต่พอผ่านไปสักระยะหนึ่ง เอาเข้าจริงก็ราวๆ 2 อาทิตย์ เนื้อหาในหนังสือเกือบทั้งเล่มก็จำไม่ค่อยได้แล้ว

ดังนั้นจึงแทบไม่มีประโยชน์เลยที่เราจะอ่านหนังสือเป็นจำเป็นมาก แล้วคาดหวังว่า "เราจะเปลี่ยนแปลงตัวเองได้สำเร็จ" ต่อให้อ่านมากกว่า 10 เล่ม หากไม่มีการจดบันทึก ทบทวน หรือแปลงให้เป็น Output ในรูปแบบต่างๆ แล้ว ก็ยากที่เราจะเปลี่ยนแปลงตัวเองได้จริง

เพราะงั้น...
การโฟกัสกับการอ่านนั้นสำคัญ แต่... การสร้าง Output เพื่อทบทวนและต่อยอดให้กับตัวเองก็เป็นสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน

ทุกวันนี้
ใกล้ตัวจะมีสมุดหรือ iPad ที่สามารถหยิบมาจดโน๊ตสั้นๆ หรือสิ่งที่คิดได้ ณ ขณะที่อ่านหนังสือไว้เสมอ รวมถึงเมื่ออ่านหนังสือจบก็จัดทำสรุปเป็น short note เล็กๆ โดยที่ครอบคลุมสิ่งที่อยู่ในหนังสือ โดยรวมๆ แล้ว เมื่อเรารับ Input ผ่านการอ่านหนังสือ เรียนหนังสือ หรือฟังพอดแคส จุดที่จะช่วยย้ำเตือนและทำให้เรามีพัฒนาการที่ดีตามที่เราตั้งใจก็อยู่ที่เรามี Output มากแค่ไหนด้วย

กลับมาที่คำถามในรูป "คนไหนจะพัฒนาตนเองได้" หากเรากำลังคุยกันถึงการพัฒนาตัวเอง... คนที่อ่านหนังสือควบคู่ไปกับการทำ Output ในเชิงปฏิบัติ ก็มีแนวโน้มจะพัฒนาตนเองได้เร็วกว่าคนที่อ่านหนังสือเพียงอย่างเดียว

- The Power of Output -

พอ... เห็นภาพนี้ก็รู้สึกได้เลยว่า “ใช่และใกล้เคียง” มากๆ การเปลี่ยนแปลงของการตอบสนองต่อความเครียด!!! พวกเราจำนวนไม่น้อยม...
09/07/2025

พอ... เห็นภาพนี้ก็รู้สึกได้เลยว่า “ใช่และใกล้เคียง” มากๆ

การเปลี่ยนแปลงของการตอบสนองต่อความเครียด!!! พวกเราจำนวนไม่น้อยมักจะเข้าสู่ระยะเตือนภัยโดยไม่รู้สึกตัวมากนัก

ระยะนี้เราจะรู้สึกช็อกและมีอาการต่อต้านการช็อกอยู่ไม่น้อย นัยยะที่สื่อออกมาก็คือ “เรามักจะไม่ค่อยยอมรับความเครียดนั้นเท่าไหร่”

และเรายังจะพยายามควบคุมความเครียดนั้นต่อไป โดยที่เราคิดว่าเรายังไหว แต่ที่จริงร่างกายกำลังทำงานอย่างหนัก... และหนักมาก ระยะที่เรารู้สึกแบบนี้ เรียกว่า “ระยะต่อต้าน”

โดยมากแล้วตั้งแต่ระยะแรกจนถึงระยะที่สองนี้ เราจะทนได้ราวๆ 3 เดือน แต่.. พอพ้นจากระยะที่สองไป เราจะเข้าสู่ระยะที่เรียกว่า “หมดสภาพ” หรือช่วงที่เราต้านทานต่อความเครียดไม่ไหว หลายคนประสบปัญหาซึมเศร้าก็มี

เพราะงั้นเอาจริงๆ แล้ว.. หากเรารู้สึกว่าจัดการกับปัญหา หรือความเครียดไม่ไหว เราอาจจำเป็นต้องมีคนช่วยเหลือ หรือหาวิธีอื่นในการจัดการให้เจอ

ที่สำคัญ
การตั้งเดตไลน์... เอาไว้ ไม่เกินช่วงเวลาหนึ่ง อาจจะหนึ่งหรือสองเดือน.. เพื่อจัดการเรื่องใดๆ ก็ตามที่อาจจะก่อให้เกิดความเครียดเอาไว้ก็น่าจะพอช่วยได้

- ไม่อยากชีวิตพัง ต้องฟังจิตแพทย์ -

พลังชีวิต... เราสร้างได้ ขอแค่เรามีวินัยและเลิกละเลยการใส่ใจในสุขภาพของเรา ประเด็นสำคัญอยู่ตรงนี้เลย เพราะหลายครั้ง เราม...
09/07/2025

พลังชีวิต... เราสร้างได้
ขอแค่เรามีวินัยและเลิกละเลยการใส่ใจในสุขภาพของเรา ประเด็นสำคัญอยู่ตรงนี้เลย เพราะหลายครั้ง เรามักจะคิดเข้าข้างตัวเองว่า 'เรายังแข็งแรงดีและร่างกายของเราก็ยังสามารถรองรับการใช้งานของเราได้อย่างปกติ' ทั้งๆ ที่บางทีอาจจะมีสัญญาณเตือนบางอย่างเป็นระยะๆ มาแล้ว
สุดท้าย... เมื่อเราไม่ฟังเสียงเตือนเหล่านั้น เราจึงมีโอกาสที่จะล้มป่วยได้ง่ายขึ้น และเมื่ออายุเยอะขึ้น การฟื้นตัวก็ยิ่งช้าและยากขึ้นตามไปด้วย

Life Force เล่มนี้
หนามาก แต่มีหลายสิ่งที่น่าสนใจ เลยอยากมาอัพเดทให้เพื่อนๆ อ่าน เพราะ Life Force เป็นเหมือนกับ “เข็มทิศของชีวิต” ให้กับเราที่ต้องการสร้างพลังชีวิต และทำให้ตัวเราเองมีคุณค่าและความหมายในทุกลมหายใจ...

ส่วนตัวเชื่อในข้อความนี้ “ไม่ใช่แค่มีชีวิตนาน…แต่ใช้ชีวิตได้ดีไปจนวันสุดท้าย” ปัจจุบันเรามักจะได้ยินคำว่า Longevity (อายุยืนอย่างมีคุณภาพ) ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าไปไกลในแง่ทางการแพทย์.. เองมีเทคนิคการรักษาและยืดอายุของมนุษย์ให้ยาวนานขึ้นพร้อมๆ กับการมีสุขภาพที่ดีขึ้น

ทุกวันนี้
อายุเฉลี่ยของคนในปัจจุบันสูงกว่าค่าเฉลี่ยของคนในอดีตที่ผ่าน และเราก็รับมือกับโรคระบาดได้ดีกว่าสมัยก่อนด้วย แม้ว่า COVID19 จะคร่าชีวิตผู้คนเป็นจำนวนมาก แต่...​หากเทียบกับโรคระบาดที่ผ่านๆ มาแล้ว เรามีวิธีการรับมือและพัฒนายารักษาได้ดีกว่ามากนัก นี่เป็นส่วนสำคัญเลย

แต่... สิ่งที่พวกเราทำได้คงไม่เกี่ยวหรือทับซ้อนกับ 'ทางการแพทย์' เราแค่จำเป็นต้องปรับวิธีคิดเกี่ยวกับการสร้างหรือการทำลายพลังชีวิตเสียก่อน เพราะหลายคนเข้าใจผิด คิดว่าไม่สบายก็แค่ไปหาหมอก็จบ ความคิดแบบนี้เหมือนเราผลักความรับผิดชอบของตัวเองไปให้คนอื่นจัดการให้ ไม่ต่างกับหลายครั้งที่เราตั้งใจจะทำอะไรแล้วก็พุ่งเป้าไปให้ 'ใครสักคน' ช่วยจัดการทุกอย่างในชีวิตของเรา ตั้งแต่การออกกำลังกาย การเรียน รวมไปถึงการทำงาน

เพราะงั้นถ้าเราอยากเริ่มต้นมีสุขภาพที่ดี ต้องเข้าใจก่อนว่า 'สุขภาพที่ดีนั้นมาจากความคิดที่เรามีต่อการใช้ชีวิต'

หนังสือเล่มนี้มีคำศัพท์และวิธีการทางการแพทย์เยอะมาก... อ่านแล้วก็เข้าใจยากอยู่ ผมก็เลยเลือกอ่านเฉพาะส่วนที่สามารถนำมา.. ปรับใช้กับชีวิตประจำวันของเรา ที่ดูแล้วเป็นไปได้มากกว่า...

1. Morning Priming Ritual : “เริ่มวันแบบไม่ถูกโลกพาไป แต่เราตั้งใจพาชีวิตไป”
a. Breathwork – หายใจเข้า-ออกแรงๆ 30 ครั้ง → กระตุ้นระบบประสาทและสมอง
b. Gratitude Practice – ขอบคุณ 3 สิ่งในชีวิต (เปลี่ยนเคมีของสมองจากวิตกเป็นพลังบวก)
c. Intention Visualization – นึกถึงสิ่งที่อยากให้เกิดขึ้นในวันนั้นด้วยความรู้สึกว่า “มันเกิดขึ้นแล้ว”

🔍 งานวิจัยด้านสมองยืนยันว่า: การซ้อมจิตแบบนี้จะเพิ่มสารโดพามีน เซโรโทนิน และทำให้สมองจดจ่อกับเป้าหมายระหว่างวันได้ดีขึ้น

2. Intermittent Fasting : “ไม่ใช่การอดอาหาร…แต่หมายถึงการให้ร่างกายได้ฟื้นฟู”
ประโยชน์:
• กระตุ้น “Autophagy” (ระบบเซลล์กินของเสีย) → ชะลอวัย
• เพิ่มประสิทธิภาพอินซูลิน → ลดความเสี่ยงเบาหวาน / สมองเสื่อม
• ช่วยควบคุมฮอร์โมนพลังงาน เช่น โกรทฮอร์โมน, catecholamines
✅ ข้อแนะนำ:
• อย่ากินหนักเกินในช่วงกิน
• ดื่มน้ำระหว่างอดอาหาร และเติมเกลือแร่ถ้ารู้สึกอ่อนแรง

3. Energy Management : “เวลาเท่ากัน แต่พลังไม่เท่ากัน”
เครื่องมือที่ใช้:
• แบ่งกิจกรรมตามพลังงาน → งานที่ใช้สมองสูงไว้ช่วงเช้า
• หยุดพักแบบมีเป้าหมาย → เดิน, หายใจ, งีบสั้น, ดื่มน้ำ
• จัดสิ่งแวดล้อมให้เติมพลัง → แสงแดด, เพลง, อากาศบริสุทธิ์
• Focus Sprint → ทำงานหนักสุด 90 นาที แล้วพัก 15 นาที

ร่างกายทำงานเป็นรอบพลังงานทุก 90–120 นาที — ถ้าไม่พัก พลังงานจะลดลงเรื่อยๆ

4. Sleep Optimization : “ถ้าไม่นอนดี ไม่มีเทคโนโลยีไหนช่วยเราได้”
องค์ประกอบของการนอนคุณภาพ:
• นอนก่อน 23:00 – ร่างกายจะหลั่งโกรทฮอร์โมนสูงสุดช่วง 23:00–02:00
• อุณหภูมิห้อง 18–21°C – ช่วยให้เข้าสู่ Deep Sleep ง่ายขึ้น
• ห้องมืดสนิท – แสงแม้เพียงน้อยรบกวนการผลิตเมลาโทนิน
• งดหน้าจอ 60 นาที ก่อนนอน → ลดคลื่นกระตุ้นสมอง
• สร้าง “กิจวัตร” ที่สม่ำเสมอ – เช่น ฟังเพลงเบา เขียน gratitude journal

ภาพรวมก็ไม่ต่างกับคำแนะนำ... จากหนังสือหลายเล่มที่อ่าน ส่วนใหญ่แล้ว สุขภาพที่ดีเริ่มต้นที่ตัวเองอย่างแน่นอน กินให้ดี นอนให้ดี และออกกำลังกายให้ดี ที่สำคัญต้องใส่ใจในสุขภาพของตัวเองให้มาก หมั่นตรวจเช็คร่างกายประจำปี และให้ความสำคัญกับสัญญาณที่ร่างกายมีการแจ้งเตือนด้วย เช่น อาการหน้ามือ ปวดหัว มีความเครียดเพิ่มสูงและลดลงได้ยาก....

อากาศ อาหาร ลมหายใจ และความหมายของชีวิต ส่วนตัว... รู้สึกว่า “จะขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่ได้เลย” เพราะว่ากันตามจริง แม้ชีวิต...
09/07/2025

อากาศ อาหาร ลมหายใจ และความหมายของชีวิต ส่วนตัว... รู้สึกว่า “จะขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่ได้เลย” เพราะว่ากันตามจริง
แม้ชีวิตในมุมมอง... ทางร่างกายจะดำเนินต่อไปได้ เมื่อมีอาหารที่เพียงพอ และลมหายใจของเราที่รับเอาอากาศบริสุทธิ์ (ระคนสิ่งแปลกปลอมที่เจือปนอยู่บ้างในบางคราว) เติมเต็มไม่ให้เราขาดออกซิเจน และหล่อเลี้ยงสมอง
แต่... เอาเข้าจริง
หากเราขาดสิ่งที่ถูกเรียกว่า ‘ความหมายของชีวิต’ แล้ว ชีวิต... คงดำเนินไปในโทนสีขาวดำที่ขาดสีสันหลายอย่างไป

ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม
อย่างน้อยๆ เราทุกคนล้วนมี ’เศษเสี้ยวของความหมายบางอย่าง‘ ซ่อนอยู่ภายในความทรงจำทุกช่วงเวลา ขึ้นอยู่กับว่าเราจะย้อนกลับไปคิดถึง ‘หรือไม่’

ความเรียง.. ในหนังสือเล่มนี้จะชวนให้เรากลับมานึกถึงบางเวลาที่หล่นหายระหว่างทางไป ผ่านช่วงฤดูที่แตกต่างกัน

ฤดูหนาวที่บอกเล่าเรื่องราวผ่านความเหงาและความอบอุ่น

ฤดูร้อนทำให้ย้อนกลับไปคิดถึง ‘กิจกรรมที่เราได้ทำ... กัน เพื่อคลายร้อนและใช้เวลากับบรรยากาศกลางแจ้ง ก่อนจะเผชิญหน้ากับฝนในช่วงเวลาถัดไป’

ฤดูฝนที่พาให้เราได้สัมผัสกลิ่นอายของดินและลมที่พัดพาฝนมา

และสุดท้าย... เวลาก็หมุนเวียนกับมาที่ฤดูหนาวอีกครั้ง

ทั้งหมดนี้ร้อยเรียงบทความผ่านการเล่าเรื่องเกี่ยวกับอาหาร การเดินทาง การพบปะผู้คน และการลาจาก... ซึ่งเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้เลยตั้งแต่วันแรกที่เราเกิดมา

ความรู้สึกหลังอ่าน
ส่วนตัวติดตามงานเขียนและงานแปลของคุณโตมรมาหลายเล่ม สิ่งที่ชอบคือภาษาที่ชวนให้เราคิดภาพตามอย่างช้าๆ ก่อนที่จะพาให้เราไปอยู่ในจุดเดียวกัน ‘ตัวหนังสือ’ และทำให้เราคิดถึงความหมายของชีวิตที่เราเคยทำหล่นหายไปเช่นกัน อย่างน้อยๆ เลย เรื่องของการนั่งทานอาหารในครอบครัวใหญ่ เสียงดัง และคึกคัก แต่ในวันนี้... ภาพเหล่านั้นกลายเป็นความทรงจำที่เราเผลอลืมไป จนได้มีโอกาสอ่านหนังสือเล่มนี้ ภาพต่างๆ ในอดีตหลากหลายเรื่องก็หวนกลับมาครับ

Tomorn Sookprecha
Brown Books

09/07/2025

วันนี้หยิบเล่มไหนมาอ่าน... กันครับ

“คุณกำลังเหลาดินสออยู่หรือว่าคุณกำลังสร้างงานศิลปะอยู่”น่าสนใจดี... ระหว่างการเตรียมตัวให้พร้อม หรือการลงมือทำนั้น ส่วนต...
08/07/2025

“คุณกำลังเหลาดินสออยู่
หรือว่าคุณกำลังสร้างงานศิลปะอยู่”

น่าสนใจดี... ระหว่างการเตรียมตัวให้พร้อม หรือการลงมือทำนั้น ส่วนตัวมองว่าสำคัญทั้งคู่ อุปกรณ์ที่ไม่อยู่ในสภาพพร้อมในงาน ในวันที่ความคิดหรือจินตนาการพรั่งพรู แต่เรากลับไม่มีดินสอที่แหลมคม... ก็ทำให้งานศิลปะนั้นคุณค่าบางส่วนอาจจะลดทอนลงไป

ในทางกลับกัน
หากเรามัวแต่พุ่งเป้าที่การเตรียมตัวจนละเลย ‘การเฝ้าสังเกตการเปลี่ยนแปลงและโอกาสที่เข้ามา’ ก็ทำให้เราได้แต่เตรียมตัวรออย่างไม่มีกำหนด

เพราะงั้นถ้าให้ตีความ... ทั้งสองอย่างคงแยกออกจากกันไม่ได้ขนาดนั้น แต่ส่วนใดมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของแต่ละคนที่กำลังเผชิญอยู่

ทุกครั้งที่มีใครบอกให้ 'เรารักตัวเอง' สิ่งที่เรามักจะสงสัยมาตลอดก็คือแล้วเราจะต้องทำอย่างไร...รักตัวเองหมายถึง... - ไม่ต...
08/07/2025

ทุกครั้งที่มีใครบอกให้ 'เรารักตัวเอง' สิ่งที่เรามักจะสงสัยมาตลอดก็คือแล้วเราจะต้องทำอย่างไร...

รักตัวเองหมายถึง...
- ไม่ต้องเสียใจ หากคนอื่นไม่ให้ความสำคัญกับเรา
- มูฟออนให้ไว อย่าจมอยู่กับความเศร้า
- ยิ้มให้กับตัวเอง แม้ในวันที่ไม่มีใครอยู่ข้างๆ

ดูผิวเผินแล้วก็เหมือนจะใช่หรือใกล้เคียง แต่... เอาเข้าจริง ไม่ใช่เลย การทำแบบนี้กำลังสร้างนิสัยให้เราหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับ 'อารมณ์ที่แท้จริงของเรา' ยิ่งเราฝืนยิ้ม หรือฟื้นฟูตัวเองไวแค่ไหน นั่นอาจจะทำให้เราเรียนรู้จากสิ่งที่เกิดขึ้นน้อยลงเท่านั้น แล้ว.. วงจรเหล่านี้ก็จะย้อนกลับมาทำร้ายเราได้อีกซ้ำๆ จน 'คุณค่าในตัวของเรา' อาจลดระดับลงจนแทบไม่เหลือเลยก็เป็นได้

เพราะงั้นการรักตัวเอง... คือ การอนุญาตให้เราสัมผัสกับความรู้สึกเจ็บปวดได้ เศร้าได้ และร้องไห้ได้ด้วยเช่นกัน ยิ่งเราปลดปล่อยอารมณ์ให้ได้ระบายออกมา พอถึงจุดหนึ่งเราจะพบว่า 'เมื่ออารมณ์ความรู้สึกค่อยๆ ไหลออกไปจนหมด เราจะเริ่มตระหนักถึงสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างจริงจัง' แล้ว... ผลลัพธ์ที่ได้ก็คือ 'การทบทวนต่อสิ่งเหล่านั้นอย่างจริงใจ'

เมื่อเรารู้ว่าใครไม่ดีต่อเรา เราก็แค่ขยับตัวออกจากตรงนั้น
เมื่อเรารู้ว่าเราไม่ชอบสิ่งไหน เราก็แค่ตัดสิ่งนั้นออกจากชีวิตประจำวัน

กลับมาที่จุดเริ่มต้นอีกครั้ง... เพราะเส้นคู่ขนานของการรักตัวเองนั้นก็คือ 'การอยู่ร่วมกับคนอื่นๆ' ดังนั้นระหว่างทางที่เราใช้ชีวิตก็มีแนวโน้มที่เราจะถูกรบกวนจาก 'สภาพแวดล้อมและผู้อื่นมากมาย'

การสูญเสียตัวตน
การสูญเสียคุณค่า
การสูญเสีย 'หลักในการใช้ชีวิต' เหล่านี้ล้วนเกิดขึ้นได้เสมอ ถ้าเราหลงลืมและเอา 'ตัวเอง' ไปวางอยู่ที่สุดท้ายของแถวที่เรายืน ทั้งๆ ที่ตัวเราเองควรจะได้อยู่ในตำแหน่งแรกสุดเสมอ แล้วจะทำอย่างไรในการจัดลำดับความสำคัญให้ได้ดี

(1) ให้ความสำคัญกับความรู้สึกของตัวเอง
(2) ถอยห่างจาก "คำพูดหรือการกระทำที่บั่นทอนจิตใจของเรา"
(3) หากเรามี 'ความรัก' จงรักแบบเติบโตไปด้วยกัน ไม่ใช่เปลี่ยนแปลงตัวเองเพื่อใครคนนั้น
(4) ใช้เหตุผล... ควบคู่ไปกับ 'ความรัก'
(5) รับฟังเสียงของตัวเองให้มาก
(6) โลกนี้ไม่มีความพร้อมที่แท้จริง... ถ้ารู้สึกว่าต้องทำ ก็ลงมือทำเลย อย่าลังเลหรือคิดถึงสิ่งอื่นใดให้มากนัก

เพราะ 'เรา' มีค่าเกินกว่าจะเป็น 'คนสุดท้าย'

ความรู้สึกหลังอ่าน
หลายครั้งที่เรารู้สึกว่าจิตใจถูกบั่นทอนจากคำพูดหรือข้อความของคนอื่น คนที่ไม่ได้มีอิทธิพลหรือใกล้ชิดกับเราโดยตรง... ด้วยนะ เป็นใครก็ไม่รู้ที่มักจะวิจารณ์คนอื่นอยู่เสมอ แล้วเราก็จิตตก... แต่ข้อความในหนังสือเล่มนี้ทำให้เราเข้าใจว่า 'คนที่นั่งอยู่แถวหลัง' ไม่มีทางรู้ว่า เวลาลงแข่งขันนั้น... ความเหนื่อยเป็นอย่างไร เพราะงั้นการเลือกที่จะรับฟังก็สำคัญ บางสิ่งต้องปล่อยผ่าน บางอย่างต้องปล่อยวาง และอีกหลายอย่างต้องตัดทิ้งไป เพื่อรักษา 'ตัวเรา' ที่สำคัญที่สุดเอาไว้

วันนี้เจอนั่น
DOT Books

บางทีสิ่งที่คนอื่นมองเห็นอาจจะดูง่ายสำหรับเขา แต่กับเราต้องใช้ความพยายามในการเอาชนะอุปสรรค ความท้อแท้ไม่อยากทำ กลัวล้มเห...
08/07/2025

บางทีสิ่งที่คนอื่นมองเห็นอาจจะดูง่ายสำหรับเขา แต่กับเราต้องใช้ความพยายามในการเอาชนะอุปสรรค ความท้อแท้ไม่อยากทำ กลัวล้มเหลว กลัวความผิดพลาด กลัวว่าคนอื่นจะไม่เข้าใจ และอื่นๆ อีกมากมาย... ที่เราไปถึงเป้าหมายตามที่ตั้งใจไว้ ก็ต้องทุ่มเททั้งเวลาและพลังงานอย่างหนัก...

สำหรับทุกคนพยายามจนสำเร็จ ไม่จำเป็นเลยที่จะต้องใส่ใจกับคำพูดของบางคนที่มองว่าสิ่งที่เราทำมันดูง่ายสำหรับเขา เพราะเอาเข้าจริงแต่ละคนก็มีความคิดที่แตกต่างกัน ในเมื่อเราถึงเป้าหมายของเราที่ตั้งใจเอาไว้ เราเองก็ควรจะชื่นชมความสำเร็จของตัวเราเอง 😊

พักเบรคมาคุยเรื่อง ‘เส้นโค้งแห่งการเรียนรู้’ กัน พอดีกำลังอ่านหนังสือเล่มหนึ่งอยู่ แล้วสะดุดกับคำว่า Learning Curve หรือ...
08/07/2025

พักเบรคมาคุยเรื่อง ‘เส้นโค้งแห่งการเรียนรู้’ กัน พอดีกำลังอ่านหนังสือเล่มหนึ่งอยู่ แล้วสะดุดกับคำว่า Learning Curve หรือเส้นโค้งแห่งการเรียนรู้... ก็เลยคิดว่าน่าจะทบทวนตัวเอง... เสียหน่อย

เราน่าจะเคยสงสัยว่า “ทำไมในช่วงต้นของการเรียนรู้ถึงได้ยากนัก แม้ว่าเราจะเพิ่มความพยายามและเวลาลงไป...” แต่ว่าผลลัพธ์ของการเรียนรู้นั้นแทบจะขยับไปได้ไม่มากเท่าไหร่เลย เอาเข้าจริงด้วยโหมดเริ่มต้นนี้แหละที่ทำให้คนจำนวนไม่น้อย ‘ล้มเลิก’ หรือท้อไปก่อนที่จะเข้าสู่สถานะถัดไป

ซึ่งเป็นสถานะที่เราเริ่มเข้าใจ และเร่งความเร็วให้การเรียนรู้... มีประสิทธิภาพผ่านประสบการณ์การฝึกฝนและฝึกซ้อมมาด้วยระยะเวลาที่นานได้อย่างไม่ยากเท่ากับ ”ช่วงเริ่มต้น‘ ด้วย

เพราะว่า ”ทุกการเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ“ สิ่งสำคัญคือ เราต้องให้เวลาที่มากพอ ไปพร้อมๆ กับความคาดหวังที่ไม่สูงมากนัก เนื่องจากทั้งการปรับตัวและการฝึกฝนที่เรากำลังนับหนึ่ง... เป็นเรื่องที่ไม่ง่ายเลย ลองนึกถึงตอนที่เราต้องทำแบบทดสอบวิชาคณิตศาสตร์และเขียนแสดงวิธีทำ... กว่าที่เราจะทำได้ก็ผ่านโจทย์ซ้ำๆ เดิมๆ มาเป็นจำนวนมาก

โดยรวมการเรียนรู้ในแต่ละทักษะก็ไม่ต่างกัน ช่วงแรกเป็นการปรับพื้นฐาน และลู่ตัวเองเข้าสู่เส้นโค้งที่ขยับได้ช้ามากๆ แต่พอเราปรับตัวได้แล้ว การเปลี่ยนแปลงของเส้นโค้งจะชันขึ้น และเห็นผลลัพธ์ได้ดีทีเดียว แต่... เมื่อการเรียนรู้ขยับไปถึงจุดหนึ่ง เราจะพบว่าเส้นโค้งนั้นจะชันน้อยลงและชะลอตัวคล้ายกับช่วงเริ่มต้น เราเองอาจจะต้อฃมองหาความท้าทายใหม่ รวมถึงหาวิธีก้าวข้ามขีดจำกัดนั้นไปต่อ... ให้ได้ ประเด็นเล็กๆ ที่อยากทิ้งท้าย บางทีก็ไม่จำเป็นเสมอไปที่เราจะต้องพัฒนาขึ้นไปอีก เพราะเราเองก็มีความพึงพอใจในทักษะที่ไม่เท่ากัน การเลือกที่จะหยุด ก็แค่เรา ‘หยุดเพราะเราพอแล้วก็เป็นไป’ นะ

ที่อยู่

Phra Nakhon

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ ลาไปอ่านหนังสือผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

แชร์