15/07/2025
เจาะ "ค่าฉีกสัญญา" (Release Clause): ดาบสองคมแห่งโลกฟุตบอล!
ในตลาดซื้อขายนักเตะที่เงินสะพัดมหาศาล "Release Clause" หรือ "ค่าฉีกสัญญา" คือกุญแจสำคัญที่พลิกเกมได้เสมอ เงื่อนไขพิเศษในสัญญานักเตะนี้ บางครั้งเป็นที่รับรู้ทั่วโลก แต่หลายครั้งก็ถูกเก็บเป็นความลับสุดยอด วันนี้เราจะมาเจาะลึกข้อดี-ข้อเสีย รวมถึงแนวทางในลีกดังต่างๆ!
Release Clause คืออะไร?
ลองจินตนาการว่าในสัญญานักเตะมีระบุว่า: "ถ้ามีทีมใดยื่นเงินจำนวน X สโมสรต้องยอมให้นักเตะไปคุยกับทีมนั้นทันที”
เงินจำนวน X นี่แหละคือ Release Clause มันคือ ราคาตายตัว ที่สโมสรไม่มีสิทธิ์ปฏิเสธ หากมีใครมาจ่าย! ไม่มีการต่อรอง ไม่มีการดึงเกม ยื่นปุ๊บ ปล่อยปั๊บ!
แต่ย้ำว่า: จ่ายแล้วไม่ใช่ย้ายเลยนะ! นักเตะยังมีสิทธิ์ตัดสินใจว่าจะย้ายหรือไม่ หลังได้คุยรายละเอียดสัญญากับทีมใหม่
และจำไว้ว่า: สัญญาจ้างงานคือเอกสารลับ โดยปกติแล้วข้อมูลส่วนตัวอย่างค่าเหนื่อย, โบนัส, หรือแม้แต่ Release Clause จะไม่ถูกเปิดเผยสู่สาธารณะ
ข้อดี-ข้อเสีย ของ Release Clause
ข้อดี (Win-Win?)
สำหรับนักเตะ
ทางออกฉุกเฉิน: เหมือนมีปุ่ม "Escape" ถ้านักเตะฟอร์มดีจนทีมใหญ่สนใจ แต่สโมสรไม่ยอมปล่อย เขาก็มีสิทธิ์ก้าวหน้าในอาชีพ และ มีอำนาจต่อรองมากขึ้น การมีเงื่อนไขนี้ในสัญญา ช่วยให้นักเตะและเอเยนต์มีแต้มต่อในการเจรจาสัญญาใหม่
สำหรับสโมสรต้นสังกัด ได้เงินชัวร์: หากมีทีมมาจ่ายตามเงื่อนไข สโมสรก็ได้เงินก้อนโตตามที่ตั้งไว้ ไม่ต้องปังปอนด์กับการต่อรอง / ดึงดูดนักเตะ: บางครั้งการใส่เงื่อนไขนี้ช่วยดึงดูดดาวรุ่งหรือนักเตะที่ต้องการหลักประกันเรื่องอนาคต
สำหรับสโมสรผู้ซื้อ จบเร็ว รู้ราคาชัดเจน แค่จ่ายตามนั้นก็จบดีล ไม่ต้องเสียเวลาต่อรองที่ยืดเยื้อ
ข้อเสีย
สำหรับสโมสรต้นสังกัด : เสียนักเตะสำคัญ นี่คือฝันร้าย! ถ้าราคาตั้งไว้ต่ำเกินไป หรือนักเตะฟอร์มระเบิด สโมสรอาจต้องเสียนักเตะตัวหลักไปในราคาที่ถูกกว่าที่ควรจะเป็น และทำอะไรไม่ได้เลย
วางแผนยาก: การเสียผู้เล่นหลักกะทันหัน ทำให้ต้องรีบหาตัวแทน ซึ่งอาจทำได้ยากในช่วงตลาดวาย
สำหรับนักเตะ: ความภักดีถูกตั้งคำถาม หากข่าวค่าฉีกสัญญาหลุด หรือมีการฉีกสัญญาเกิดขึ้น นักเตะอาจถูกแฟนบอลมองว่าไม่มีใจให้สโมสร
สำหรับสโมสรผู้ซื้อ : ต้องจ่ายก้อนใหญ่: ค่าฉีกสัญญาส่วนใหญ่มักต้องจ่ายเงินสดทั้งก้อนในครั้งเดียว ซึ่งเป็นภาระหนักกว่าการผ่อนจ่าย
สถิติและการใช้ Release Clause: คดีดังที่ต้องรู้!
“เนย์มาร์" (Neymar) ทุบโลก: ปี 2017 คือตำนาน ปารีส แซงต์-แชร์กแมง (PSG) สร้างประวัติศาสตร์ด้วยการจ่ายเงิน 222 ล้านยูโร เพื่อฉีกสัญญาเนย์มาร์จากบาร์เซโลนา ทำลายสถิติโลกค่าตัวนักเตะอย่างราบคาบ! นี่แสดงให้เห็นว่าถ้าพร้อมจ่ายจริง ไม่มีอะไรหยุดยั้งได้ (ค่าฉีกสัญญาเนย์มาร์กับบาร์ซ่าตอนนั้นเพิ่มขึ้นตามปีที่สองและสาม)
- Erling Haaland (แมนเชสเตอร์ ซิตี้): จากดอร์ทมุนด์มาซิตี้ มีข่าวว่าสัญญามีค่าฉีกสัญญาที่เปิดใช้งานในอนาคตที่ประมาณ 60 ล้านปอนด์ (หรืออาจสูงกว่านั้น) ซึ่งสำหรับกองหน้าเครื่องจักรสังหารคนนี้ มันคือราคาที่ถูกมองว่า "โคตรคุ้ม" และเป็นปัจจัยสำคัญที่ซิตี้คว้าตัวเขามาได้
Release Clause ในลีกดังอื่นๆ ทั่วโลก
ลาลีกา สเปน เป็นภาคบังคับ: นี่คือข้อยกเว้นสำคัญ! กฎหมายสเปนบังคับให้นักฟุตบอลทุกคนต้องมี Release Clause ในสัญญา เพื่อให้นักเตะมีสิทธิ์ "ซื้อตัวเอง" ออกจากสัญญาได้ ตัวเลขมักถูกเปิดเผย และมักตั้งไว้สูงลิบลิ่ว (เช่น เมสซี่เคย 700 ล้านยูโร)
พรีเมียร์ลีก อังกฤษ: มีได้แต่ไม่บังคับ: ไม่มีการบังคับทางกฎหมาย การมี Release Clause เป็นการตกลงส่วนตัว ตัวเลขมักถูกเก็บเป็นความลับ หรือมีเพียงข่าวลือ
บุนเดสลีกา เยอรมนี / เซเรีย อา อิตาลี / ลีกเอิง ฝรั่งเศส: ไม่บังคับ: เช่นเดียวกับพรีเมียร์ลีก คือไม่มีข้อบังคับทางกฎหมาย แต่สามารถมี Release Clause ได้ในสัญญา โดยข้อมูลส่วนใหญ่จะไม่ถูกเปิดเผยสู่สาธารณะ
ทำไม Release Clause ถึงมักเป็น “ความลับ"?
แม้จะมีการรั่วไหลบ้าง แต่โดยรวมแล้ว Release Clause คือความลับสุดยอดระหว่างนักเตะกับสโมสร และนี่คือเหตุผลสำคัญ:
รักษาอำนาจต่อรองของสโมสร: ถ้ารู้ราคา ผู้ซื้อก็แค่จ่ายตามนั้น สโมสรจึงอยากเก็บเป็นความลับ เผื่อว่านักเตะจะฟอร์มพุ่งจนขายได้แพงกว่า
ลดความวุ่นวาย: การที่ตัวเลขเป็นที่รู้กัน อาจนำไปสู่ข่าวลือ การสร้างความปั่นป่วน หรือทีมอื่นพยายาม "ป่วน" ตลอดเวลา
รักษาความสัมพันธ์ในทีม: ป้องกันความรู้สึกเหลื่อมล้ำ หรือความขัดแย้งในห้องแต่งตัว
ป้องกันสายเสียบ: ไม่เปิดช่องให้ทีมอื่นใช้ข้อมูลนี้มา "ก่อกวน" หรือพยายามดึงตัวนักเตะคนสำคัญ
แต่การที่ "ข้อมูลหลุด" ก็มักเกิดขึ้นเสมอ! ไม่ว่าจะจากเอเยนต์ที่อยากให้นักเตะได้ย้ายทีม, จากสื่อที่ไปสืบมาได้, หรือจากวงในที่ต้องการสร้างกระแส นี่คือเกมจิตวิทยาที่ซับซ้อนในตลาดนักเตะ!
สรุปแล้ว Release Clause คือดาบสองคมที่มีทั้งประโยชน์และโทษ มันสามารถสร้างความหวังให้ทุกคนที่เกี่ยวข้อง แต่ก็อาจนำมาซึ่งความเจ็บปวดให้กับสโมสรได้เช่นกัน และ มันยังเป็นคำถามอยู่ในใจเสมอว่า
แล้วที่เล้าไก่ของเรา ...มีใครมีสัญญาที่มี Release Clause มั้ย..
#สเปอร์ส