25/06/2025
ใครว่าการเขียนโปรแกรมเป็นเรื่องของคนหนุ่มสาวเท่านั้น?
"อายุ 30 แล้ว... เริ่มเขียนโปรแกรมตอนนี้ยังทันไหม?"
คำถามเหล่านี้อาจจะเคยผุดขึ้นมาในหัวของใครหลาย ๆ คน แต่เชื่อไหมครับว่าวันนี้มีเรื่องราวสุดอะเมซิ่งอีกแล้วที่จะมาทำลายทุกกำแพงและตอบทุกคำถามเหล่านี้ได้ในคราวเดียว
เป็นเรื่องราวของคุณ John Blackman อดีตวิศวกรไฟฟ้าวัยเกษียณอายุ 91 ปี ที่ไม่มีประสบการณ์ด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์มาก่อนเลย แต่สามารถใช้พลังของ AI อย่าง Claude และ Replit ในการสร้าง แอปพลิเคชันจัดการอีเวนต์ที่ถือว่าซับซ้อนใช้ได้เลย ให้กับกิจกรรมชุมชนของโบสถ์ที่เขานับถือได้สำเร็จ ด้วยงบประมาณไม่ถึง $350 (ประมาณ 12,000 กว่าบาท)
เรื่องนี้มาจาก Podcast ของคุณ Lenny's Newsletter ที่ได้สัมภาษณ์คุณ John ถึงเส้นทางและ Workflow ที่เขาใช้ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพลังของ AI ในการ Democratize การสร้างซอฟต์แวร์อย่างแท้จริง ลองมาเจาะลึกกันครับว่าคุณปู่แกทำได้อย่างไร ทำไมแกถึงมีไฟและเฟี้ยวฟ้าวมะพร้าวแก้วขนาดนี้
คุณ John Blackman เป็นวิศวกรไฟฟ้าที่เกษียณแล้ว เขาต้องการสร้างแอปพลิเคชันเพื่อช่วยจัดการงานบริการชุมชนของโบสถ์ ซึ่งมีกิจกรรมหลากหลายและซับซ้อน แต่ด้วยความที่แกไม่มีประสบการณ์เขียนโค้ดมาก่อน จึงหันไปพึ่งพาเครื่องมือ AI สมัยใหม่ทั้งหมด
Workflow การสร้างแอปฯ ด้วย AI ล้วน ๆ (The AI-only Workflow)..
นี่คือโปรเซสที่น่าทึ่งมากครับ แกไม่ได้ใช้ AI แค่ช่วยเขียนโค้ด แต่ใช้มันเป็นเหมือนเพื่อนร่วมทีมตั้งแต่ต้นจนจบ
เริ่มจากใช้ Claude เป็น Product Manager
คุณปู่ John เริ่มต้นด้วยการคุยกับ Claude เพื่อให้ AI ช่วยสร้าง Development Roadmap และ Product Requirements Document (PRD) ที่ละเอียดออกมา (อันนี้ good practice ที่ควรจะเป็น)
จากนั้นแกก็ให้ Claude ช่วยแตกย่อย Requirements ออกมาเป็น User Stories เพื่อให้เห็นภาพว่าแอปฯ ต้องมีฟีเจอร์อะไรบ้าง และ User แต่ละประเภทจะใช้งานมันอย่างไร
เขาเลือกใช้ Replit เป็นแพลตฟอร์มในการสร้างและโฮสต์แอปพลิเคชัน ใช้ Claude เขียนโค้ดสำหรับฟีเจอร์ต่าง ๆ และที่สำคัญคือให้ Claude ช่วยในการเชื่อมต่อกับ Third-party APIs ที่จำเป็น (เช่น API สำหรับค้นหาข้อมูลรถยนต์จากเลขตัวถัง หรือ VIN lookup) โดยที่ตัวเขาเองมีความรู้ทางเทคนิคในส่วนนี้น้อยมาก
ผลลัพธ์คือ...
แอปพลิเคชันที่คุณปู่ John สร้างขึ้นมานั้นมีความสามารถที่ซับซ้อนและใช้งานได้จริง ประกอบไปด้วย
- ระบบสำหรับผู้จัดงานในการสร้างอีเวนต์
- ระบบรับสมัครอาสาสมัคร
- ระบบจัดการผู้ลงทะเบียน
ฟีเจอร์เด่น ๆ เช่น
- การจัดการคิวสำหรับ บริการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องฟรี ให้กับผู้เข้าร่วมงาน ซึ่งต้องมีการเชื่อมต่อกับ API ภายนอกเพื่อค้นหาข้อมูลรถยนต์
- ระบบ Report อัตโนมัติ สำหรับการจัดการอาสาสมัครและการวางแผนทรัพยากร
- Impact Passports ส่วนบุคคล สำหรับผู้เข้าร่วมงานแต่ละคน
- สถาปัตยกรรมแบบ Multi-tenant รองรับผู้ดูแลระบบทั้งระดับ System และระดับโบสถ์ท้องถิ่น
- ระบบลงทะเบียนด้วย QR Code และ ระบบสร้างป้ายชื่อให้อาสาสมัคร
บทเรียนและ Insight ที่น่าทึ่งจากเรื่องราวนี้..
AI ช่วยให้คนที่ไม่ใช่ Dev ก็สร้างของที่ซับซ้อนได้ เรื่องนี้คือข้อพิสูจน์ที่ชัดเจนที่สุด
การไม่มีอคติหรือความรู้เดิมอาจเป็นข้อได้เปรียบ
เพราะคุณ John ไม่ได้ถูกจำกัดด้วยกรอบความคิดหรือ "Best Practice" แบบดั้งเดิมว่าการ Implement ที่ถูกต้องควรจะเป็นอย่างไร ทำให้เขาสามารถปลดปล่อยให้ AI สร้างโซลูชันที่ใช้งานได้จริงออกมาได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่เสียเวลาไปกับการ Over-engineering
"Vibe Coding" ในชีวิตจริง
นี่คือตัวอย่างที่สมบูรณ์แบบของการ "เขียนโค้ดตาม Vibe" หรือการอธิบายสิ่งที่เราต้องการเป็นภาษาคน แล้วให้ AI ช่วยเปลี่ยนมันให้เป็นความจริง
ปัญหาก็ยังมีอยู่
แกยังคงต้องเจอกับปัญหาที่ Dev ทั่วไปเจอ เช่น การที่ AI พาออกทะเลหรือความท้าทายในการนำแอปฯ จาก Development ขึ้นสู่ Production
เรื่องราวของคุณ John Blackman เป็นข้อพิสูจน์ว่าเรากำลังอยู่ในยุคที่ AI เข้ามา "Democratize" หรือทำให้การสร้างสรรค์ซอฟต์แวร์เป็นเรื่องที่ทุกคนเข้าถึงได้จริง ๆ ครับ
มันแสดงให้เห็นว่าอุปสรรคไม่ใช่อายุหรือการไม่มีประสบการณ์เขียนโค้ด แต่คือความกลัวที่จะเรียนรู้ต่างหาก
การที่คน ๆ หนึ่งสามารถเริ่มเรียนรู้และสร้างสิ่งที่ซับซ้อนขนาดนี้ได้ในวัย 91 ปี เป็นแรงบันดาลใจชั้นเยี่ยมที่บอกเราว่าไม่มีคำว่าสายเกินไปสำหรับการเรียนรู้และลงมือทำครับ
สรุปและเรียบเรียงโดย Devhub Team
📌🙏 ซัพพอร์ตเราด้วยการกดไลก์ คอมเมนต์ ติดตาม และแชร์ เพื่อที่จะได้ไม่พลาดสาระดี ๆ ด้าน Software Development, Programming และ IT
ติดต่อเรา: 📒 https://devhub.in.th/about-us
ที่มา:
Lenny's Newsletter: https://www.lennysnewsletter.com/p/how-a-91-year-old-vibe-coded-a-complex
วิดีโอสัมภาษณ์บน YouTube: https://www.youtube.com/watch?v=LCEmiRjPEtQ