
16/05/2024
⛈️ พายุฝนฟ้าคะนอง
พายุฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ทั่วทุกภาคของประทศไทย แต่มักจะเกิดขึ้นได้บ่อยในพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยพายุฝนฟ้าคะนองที่เกิดขึ้นในช่วงฤดูร้อนของประเทศไทยจะมีความรุนแรงมากกว่าในช่วงอื่น และมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า “พายุฤดูร้อน”
การเกิดและการพัฒนาของพายุฝนฟ้าคะนองแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะเจริญเติบโต ระยะเจริญเติบโตเต็มที่ และระยะสลายตัว
1 ระยะเจริญเติมโต
อากาศที่มีอุณหภูมิและความชื้นสูงลอยตัวสูงขึ้น ทำให้มีการลดลงของอุณหภูมิตามความสูง และไอน้ำในอากาศเกิดการควบแน่นเป็นละอองน้ำอย่างต่อเนื่อง เกิดเป็นเมฆขนาดใหญ่
2 ระยะเจริญเติบโตเต็มที่
ยอดของเมฆปะทะกับรอยต่อของชั้นโทรโพสเฟียร์และชั้นสตราโตสเฟียร์ ทำให้ไม่สามารถลอยตัวสูงขึ้นไปได้อีก ยอดเมฆจึงเกิดการแผ่ออกด้านข้างในแนวราบ ต่อมาเกิดฝนตกหนัก ลมแรง เกิดฟ้าแลบ ฟ้าผ่า และอาจเกิดลูกเห็บตก
3 ระยะสลายตัว
ฝนค่อย ๆ หมดไป ทำให้ลมที่พัดลงสู่พื้นโลกมีอัตราเร็วลดลง เมฆเริ่มสลายตัว
💢 ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากพายุฝนฟ้าคะนอง
1 ฝนตกหนัก
2 ลมกระโชกแรง
3 น้ำท่วมฉับพลัน
4 ดินโคลนถล่ม
5 ถนนตัดขาด
6 ต้นไม้หักโค่น
7 ลูกเห็บตก
8 ฟ้าผ่า
✅ การปฏิบัติตัวให้ปลอดภัยจากพายุฝนฟ้าคะนอง
1 ควรอยู่ห่างจากต้นไม้ ป้ายโฆษณา เสาไฟฟ้า หรือสิ่งก่อสร้างที่ไม่แข็งแรง
2 ควรอยู่ภายในอาคารหรือบ้านเรือนที่แข็งแรงและปลอดภัยจากน้ำท่วม
3 อย่ายืนใต้ต้นไม้สูง และไม่ควรอยู่โดดเดี่ยวในที่สูงกว่าสภาพแวดล้อม เพื่อลดความเสี่ยงและอันตรายจากฟ้าผ่า
4 คอยติดตามประกาศเตือนภัยจากกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิด เพื่อเตรียมรับมือกับภัยพิบัติหรือเหตุการณ์ฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้น เช่น น้ำท่วม ดินโคลนถล่ม ถนนตัดขาด
#พายุ #ฝนฟ้าคะนอง #พายุฤดูร้อน #ผลกระทบ #แนวทางป้องกัน #ฝนตก #น้ำท่วม #ฟ้าฝ่า #ลมกระโชกแรง #เฝ้าระวัง