23/09/2020
“...ฉันเยาว์ ฉันเขลา ฉันทึ่ง ฉันจึงมาหาความหมาย ฉันหวัง เก็บอะไร ไปมากมาย สุดท้าย ให้กระดาษ ฉันแผ่นเดียว...”
ตอนเข้าปี 1 ได้ยินกลอนนี้ครั้งแรกก็ชอบเลย ถึงกับจดเก็บกลับบ้านมาหาดูว่าใครแต่ง กลอน 4 วรรคนี้เป็นแค่วรรคหนึ่ง ของบทกลอนชื่อว่า #เพลงเถื่อนแห่งสถาบัน ของอาจารย์วิทยากร เชียงกูล (กวีศรีบูรพา, เศรษฐศาสตร์, ธรรมศาสตร์) เขียนขึ้นเมื่อ 52 ปีที่แล้ว โดยผู้เขียนมุ่งหวังให้บทกลอนชื่อดังนี้ ได้กระตุ้นให้นักศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัยลุกขึ้นมาตั้งคำถามต่อชีวิต และบทบาทที่ควรจะเป็น และเพื่อกระตุ้นจิตสำนึกส่วนรวม ยุคนั้นบ้านเมืองมืดดำ ด้วยอำนาจเผด็จการ ประชาชนขาดสิทธิเสรีภาพ (โอ๊ะ! สถานการณ์คุ้นๆแฮะ 😢) บทกลอนของอจ.วิทยากร ได้สะท้อนอารมณ์ ความรู้สึก จนเป็นเหตุให้นักศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัย ลุกขึ้นมาตั้งคำถาม กับนโยบายการทำงานของรัฐบาล ถือว่ามีอิทธิพลอย่างมากในการเรียกร้องประชาธิปไตย ในเหตุการณ์ ตุลาคม 2516...
ประโยคที่ว่า #ฉันจึงมาหาความหมาย ในกลอนนี้ สะท้อนได้อย่างดีว่า การศึกษาที่ดีที่สุดคือ การให้อิสระทางความคิดแก่ผู้เรียน เมื่อเกิดความสงสัย ก็ตั้งคำถาม แล้วหาความหมาย #การปิดกั้นการแสดงความคิดเห็นหรือการงดวิพากย์วิจารณ์ไม่เป็นผลดีกับใครเลยในระบบการศึกษา ไม่เกิดการพัฒนาทั้งกับตัวผู้เรียนและผู้สอน หรือผู้ถูกวิจารณ์
จากวันที่กลอนนี้ถูกตีพิมพ์ ก็ #52ปีผ่านไป แล้ว ไวเหมือนโกหก เมื่อปี62 เห็นอาจารย์ให้สัมภาษณ์กับไทยพีบีเอส ยังแข็งแรงดีอยู่ ไม่ได้ตามข่าวอาจารย์นาน ไม่รู้ว่าอาจารย์ยังสบายดีไหม
แต่ลองคิดเล่นๆ ถ้าเราเป็นอาจารย์เราเศร้านะที่ ระบบการเมืองการปกครอง,การศึกษาของไทยยังย้ำอยู่กับที่ไม่ไปไหนเลย เผลอๆถดถอยกว่าสมัยที่แกแต่งกลอนนี้อีกมั้งเนี่ย เห็นบ้านเมืองตอนนี้แล้วนึกถึงนักเคลื่อนไหวอีกหลายคนเลย พวกเขาจะเหนื่อยแค่ไหนนะที่ได้รู้ว่าสิ่งที่เค้าต่อสู้ได้มา วันนี้มันแทบจะสูญเปล่า มวลชนเราควรจะตื่นรู้ให้มากกันอีกสักนิดนะ กำหนดหมุดหมายแห่งประชาธิปไตยกันให้มั่น ต่อสู้กับระบอบที่เน่าเฟะ ส่วนตัวคิดว่าระบบสภาฯที่มีฝ่ายรัฐบาล-ฝ่ายค้าน คอยตรวจสอบซึ่งกันและกัน ยังเป็นระบบที่ดีที่สุดอยู่ ณ ขณะนี้ เพียงแต่ควรกำหนดว่าจะครองตำแหน่งได้แค่ 2 สมัย สมัยละกี่ปีก็ว่าไป
#19กันยาทวงอํานาจคืนราษฎร
#อยากเห็นประเทศไทยดีกว่านี้
#รูปภาพไม่เกี่ยวกับแคปชั่น
**ขออนุญาตแทรกบทสัมภาษณ์นพ.ประเสริฐ ไว้ ณ ที่นี้
นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ เขียนถึงความจำเป็นของการเปิดพื้นที่ให้นักเรียนนักศึกษาคิดและพูด เมื่อการศึก.....