Wowพาเที่ยวtiktok

Wowพาเที่ยวtiktok ติดตามข่าวสาร สาระดีๆ ได้ในเพจนี้ครับผม

10/08/2024

#ยาดมหงส์ไทย #กระแส #มาแรง #เหรียญเงิน #ยกน้ำหนัก #นักกีฬา #ยาดม #สมุนไพร #สดชื่น #หงส์ไทย #หงษ์ไทย #ดม #สูดดม #ผ่อนคลาย #โอลิมปิค #โอลิมปิค2024 #ไทย #รับรางวัล #อัดฉีด #ดังมากในtiktok #ดัง #ดังไม่รู้ตัว

คดีกบฏเจ้าฟ้าเหม็น (เรื่องสืบต่อจากบทความ "เจ้าฟ้าเหม็น กรมขุนกษัตรานุชิต")   “กบฏเจ้าฟ้าเหม็น” นับเป็นคดีใหญ่ในสมัยรัชก...
04/08/2024

คดีกบฏเจ้าฟ้าเหม็น (เรื่องสืบต่อจากบทความ "เจ้าฟ้าเหม็น กรมขุนกษัตรานุชิต")
“กบฏเจ้าฟ้าเหม็น” นับเป็นคดีใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ 2 เมื่อ “เจ้าฟ้าเหม็น” หรือสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ กรมขุนกษัตรานุชิต พระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ต้องพระราชอาญาประหารชีวิตด้วยโทษกบฏต่อแผ่นดิน คิดล้มล้างราชบัลลังก์รัชกาลที่ 2
แต่คดีนี้มีข้อสงสัยและมีความไม่สมเหตุสมผลประการหนึ่ง คือ กลุ่มขุนนางที่สนับสนุนเจ้าฟ้าเหม็นก่อกบฏล้วนแต่เป็นข้าเก่าเต่าเลี้ยง หรือ “ข้าหลวงเดิม” ของรัชกาลที่ 1 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ร่วมก่อการโค่นล้มราชบัลลังก์สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
คดีกบฏ
เจ้าฟ้าเหม็น ทรงเป็นพระราชโอรสใน สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ประสูติแต่ เจ้าจอมมารดาฉิมใหญ่ ซึ่งเป็นพระราชธิดาในรัชกาลที่ 1 ดังนั้น เจ้าฟ้าเหม็นจึงทรงเป็น “หลานตา” ของรัชกาลที่ 1 จึงไม่ถูกสำเร็จโทษประหารชีวิตในคราวผลัดแผ่นดิน ด้วยขณะนั้นมีพระชนมายุเพียง 3 พรรษา ขณะที่พระญาติวงศ์ส่วนใหญ่รวมทั้งสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี พระราชบิดา ถูกสำเร็จโทษไปสิ้น ครั้นเจ้าฟ้าเหม็นเจริญพระชนมายุก็ทรงเป็นพระเจ้าหลานเธอโปรดของรัชกาลที่ 1 มาก ถึงกับได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทรงกรมที่กรมขุนกษัตรานุชิต
ต่อมาเมื่อรัชกาลที่ 1 เสด็จสวรรคตได้เพียง 3 วัน ก็เกิดคดีกบฏเจ้าฟ้าเหม็น เหตุเกิดจากมีอีกาคาบ “บัตรสนเท่ห์” ในนั้นมีเนื้อความกล่าวโทษว่าทรงคบคิดกับขุนนางกลุ่มหนึ่งจะแย่งชิงราชสมบัติ ปรากฏในพงศาวดารฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ดังนี้
“ครั้นเดือน 10 ขึ้น 2 ค่ำ มีกาคาบหนังสือทิ้งที่ต้นแจงหน้าพระมหาปราสาท พระยาอนุชิตราชาเป็นผู้เก็บได้ อ่านดูใจความว่า พระเจ้าหลานเธอเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร ซึ่งเป็นกรมขุนกระษัตรานุชิต เป็นบุตรเจ้ากรุงธนบุรี กับพี่น้องร่วมบิดาเดียวกันอีกสองคนคือ นายหนูดำหนึ่ง จอมมารดาสำลีในพระบัณฑูรน้อยหนึ่ง คบคิดกับขุนนางเป็นหลายนายจะแย่งชิงเอาราชสมบัติ จึงนำความขึ้นกราบทูลแต่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กรมพระราชวังบวรสถานมงคล โปรดให้ไต่สวนได้ความจริงแล้ว รุ่งขึ้นวันจันทร์ เดือน 10 ขึ้น 3 ค่ำ จึงให้นายเวรกรมพระตำรวจวังไปหากรมขุนกระษัตรานุชิตเข้ามาที่ประตูพิมานไชยศรีสองชั้นแล้วจับ”
แม้ในพงศาวดารฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์จะระบุว่า ในบัตรสนเท่ห์กล่าวถึงเจ้าฟ้าเหม็นคิดกระทำการล้มล้างราชบัลลังก์ แต่ในศุภอักษร เรื่องหม่อมเหม็นเป็นกบฏ กลับไม่ได้กล่าวถึงเจ้าฟ้าเหม็นแต่อย่างใด แต่ระบุว่าขุนนางคนหนึ่งไม่พอใจ และไม่ยอมเป็นข้าแผ่นดินของพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ใหม่ ซึ่งจะกล่าวต่อไปข้างหน้า
ในเรื่อง “กาคาบข่าว” นี้ยังปรากฎรายละเอียดเพิ่มเติมในศุภอักษรฯ ว่ามีประจักษ์พยานเห็น “อีกา” กันหลายคน ดังนี้ “ครั้น ณ วัน เดือน 9 แรม 11 ค่ำ ปีมแสงศก มีกาคาบกระดาษหนังสือมาทิ้งลงริมพระที่นั่งดุสิดามหาปราสาท ตำรวจในล้อมวงรักษาพระองค์ได้เห็นเป็นอันมาก จึงนำเอาหนังสือไปแจ้งแก่พระยาอภัยรณฤทธิ พระยาอนุชิตราชา จางวางพระตำรวจปฤกษาด้วยเสนาบดีนำเอาหนังสือขึ้นทูนเกล้าฯ ถวาย” รุ่งขึ้น รัชกาลที่ 2 จึงโปรดให้จับกุมเจ้าฟ้าเหม็นมาสอบสวน ผู้ที่ทำการจับกุม คือ พระยาอนุชิตราชา นั่นเอง
ส่วนเจ้านายอีก 2 พระองค์ ซึ่งเป็นพระราชโอรสและพระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ที่ถูกกล่าวอ้างว่ามีส่วนในการก่อกบฏ คือ “นายหนูดำ” หรือพระองค์เจ้าชายอรนิภา และ “เจ้าจอมมารดาสำลี” หรือพระเจ้าหญิงสำลีวรรณ โดยภายหลังได้เป็นเจ้าจอมในกรมหลวงเสนานุรักษ์ (พระราชโอรสในรัชกาลที่ 1) ซึ่งต่อมาได้เป็นวังหน้าในสมัยรัชกาลที่ 2
เหตุการณ์การจับกุมเจ้าจอมมารดาสำลี หลวงพิสูจน์พาณิชยลักษณ์ (ม.ล. เพิ่มยศ อิศรเสนา) ได้เขียนไว้ว่า “ในวันจันทร์ วันเดียวกันนั้น เจ้าจอมมารดาสำลีตัดผมใหม่ พระองค์ชายพงศ์อิศเรศร์ ชันษา 9 ปี พระองค์หญิงนฤมล ชันษา 6 ปี สามคนแม่ลูกนั่งเล่นกันอยู่ที่พระตำหนัก ในพระนิเวศนเดิม (ราชนาวิกสภา) สมเด็จฯ กรมหลวงเสนานุรักษ์เสด็จกลับจากพระบรมมหาราชวัง รับสั่งถามเจ้าจอมมารดาสำลีว่า กรมขุนกษัตรานุชิตเป็นขบถ เขาว่าเจ้ารู้เห็นเป็นใจด้วยจริงหรือ คุณสำลีตอบเป็นทำนองว่า จะหาว่าเป็นขบถก็ตามใจ พ่อเขาก็ฆ่า พี่น้องเขาจะเอาไปฆ่า ตัวเองจะอยู่ไปทำไม รับสั่งให้เรียกตำรวจเข้ามาคุมตัวไป คุณสำลีก็ผลักหลังลูกสองคนว่า นี่ลูกเสือลูกจระเข้ แล้วก็ลุกขึ้นตามตำรวจออกไป”
ชำระความ
รัชกาลที่ 2 โปรดเกล้าฯ ให้ “พระองค์เจ้าชายทับ” (รัชกาลที่ 3) พระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ใหญ่ ทรงเป็นผู้ชำระความ ทรงสอบสวนทวนความได้ว่า มีขุนนางผู้ใหญ่เข้าร่วมด้วยที่สำคัญ 2 คน คือ เจ้าพระยาพลเทพ (นายบุนนาก บ้านแม่ลา) และ พระอินทรเดช (กระต่าย)
ในคดีนี้ “เจ้าพระยาพลเทพ” ดูจะเป็นขุนนางที่มีตำแหน่งสูงที่สุด เจ้าพระยาผู้นี้เคยมีประวัติโดดเด่นมาตั้งแต่แผ่นดินสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เมื่อครั้งยังเป็น “นายบุนนาก บ้านแม่ลา” ข้าราชการชั้นผู้น้อย เทียบได้กับกำนันบ้านแม่ลา แขวงกรุงเก่า อยุธยา โดยปรากฏความในพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาว่า เมื่อพระพิชิตณรงค์เร่งเงินอากรค่าภาคหลวงจนชาวบ้านเดือดร้อนหนัก นายบุนนากกับขุนสุระคิดอ่านเห็นว่าบ้านเมืองเป็นจลาจล พระเจ้าแผ่นดินข่มเหงเบียดเบียนราษฎร จึงคิด “ชักชวนซ่องสุมประชาชนทั้งปวงยกลงไปตีกรุงธนบุรี จับเจ้าแผ่นดินผู้อาสัตย์สำเร็จโทษเสีย แล้วจะถวายราชสมบัติแก่เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกให้ครองแผ่นดินสืบไป”
ซึ่งนายบุนนากผู้นี้เป็นข้าหลวงเดิมของรัชกาลที่ 1 แม้จะเป็นข้าราชการชั้นผู้น้อย แต่ก็มีไพร่พลในสังกัดพอสมควร เมื่อนั้นจึงบังเกิดความไม่สงบในแขวงกรุงเก่า สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงรับสั่งให้ “พระยาสรรค์” ขึ้นไปปราบความวุ่นวาย แต่นั่นก็นำมาสู่เหตุการณ์ “กบฏพระยาสรรค์” แม้ต่อมานายบุนนากจะเข้าร่วมกับพระยาสรรค์เข้ายึดกรุงธนบุรีจนสำเร็จ แต่ภายหลังนายบุนนากแยกตัวออกมาร่วมมือกับพระยาสุริยอภัยต่อกรกับพระยาสรรค์.
นายบุนนากจึงเป็นผู้ที่มีความดีความชอบในเหตุการณ์ผลัดแผ่นดินสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เป็นฝ่ายสนับสนุนรัชกาลที่ 1 กระทั่งภายหลังได้รับพระราชทานยศเป็นเจ้าพระยาไชยวิชิต รักษากรุงเก่า และต่อมาได้เป็นเจ้าพระยาพลเทพ เป็นถึงเสนาบดีกรมนา ในแผ่นดินรัชกาลที่ 1 โดยก่อนเกิดเหตุกบฏเจ้าฟ้าเหม็นเพียง 1 ปี คือปลาย พ.ศ. 2351 เจ้าพระยาพลเทพก็ได้เป็นแม่ทัพปราบกบฏที่หัวเมืองฝ่ายใต้ พอปีรุ่งขึ้นรัชกาลที่ 1 ก็เสด็จสวรรคต
ดูเหมือนว่าเจ้าพระยาผู้นี้จะเป็นขุนนางที่จงรักภักดีต่อรัชกาลที่ 1 มาตลอด แต่เหตุใดจึงตกไปอยู่ในรายชื่อผู้สมคบคิดโค่นราชบัลลังก์ได้ ยังเป็นข้อที่น่าสงสัย.
จากการสืบสวนของพระองค์เจ้าชายทับ ทรงชี้มูลความผิดไปที่ “พระอินทรเดช” กรมพระตำรวจนอกซ้ายว่า เป็นต้นคิดชักชวนพรรคพวกให้ก่อการชิงราชบัลลังก์ โดยในศุภอักษรฯ กล่าวถึงพระอินทรเดชผู้นี้ว่า “ในหนังสือนั้นเป็นใจความว่า อ้ายกระต่ายอินทรเดชะ พูดกับอ้ายเมืองสารวัดว่า ล้นเกล้า กรมพระราชวังบวรฯ มีบุญแล้วไม่ทรงพระเมตตาเหมือนแต่ก่อน ถึงจะเป็นเจ้าแผ่นดินก็หายอมเป็นข้าไม่”
“อ้ายเมืองสารวัด” ผู้นี้ไม่ใช่พวกเดียวกับกลุ่มกบฏเป็นแน่ เป็นแต่เพียงผู้ทราบเรื่องว่าพระอินทรเดชจะคิดก่อการ อ้ายเมืองสารวัดผู้นี้คงจะนำเรื่องนี้ส่งต่อให้ผู้อื่นอย่างไรไม่ทราบชัด อาจจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ จนเรื่องนี้เข้าถึงหูของผู้เขียนบัตรสนเท่ห์ หรือผู้เขียนบัตรสนเท่ห์อาจจะแอบได้ยินพระอินทรเดชพูดคุยกับอ้ายเมืองสารวัดก็เป็นได้ หรือผู้เขียนบัตรสนเท่ห์อาจแต่งเรื่องขึ้นเองทั้งหมด แล้วสร้างประจักษ์พยานเท็จขึ้นมา
ส่วนประวัติของพระอินทรเดช เดิมมียศเป็นจมื่นราชาบาล เคยอยู่ในกองทัพของเจ้าพระยามหาเสนา (ปลี) คราวศึกตีเมืองทวายในสมัยรัชกาลที่ 1 ในการศึกครั้งนี้กองทัพของเจ้าพระยามหาเสนาเสียทีแก่กองทัพพม่า ต้องถอยร่นมาถึงที่ตั้งค่ายของกองทัพของพระยาอภัยรณฤทธิ์ ซึ่งเป็นทัพหน้าของกองทัพหลวง
แต่เมื่อเกิดเหตุคับขัน พระยาอภัยรณฤทธิ์กลับไม่ยอมเปิดประตูให้กองทัพของเจ้าพระยามหาเสนาเข้าไป แม้จมื่นราชาบาลเรียกให้เปิดประตูอยู่หลายครั้งก็ไม่เป็นผล กองทัพพม่าที่ตามมาได้รุกเข้าตีจนถึงหน้าค่าย ทำให้แม่ทัพ คือ เจ้าพระยามหาเสนาตายในที่รบ เหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้รัชกาลที่ 1 ทรงพระพิโรธมาก รับสั่งประหารชีวิตพระยาอภัยรณฤทธิ์ ส่วนจมื่นราชาบาลมีความดีความชอบ จนภายหลังได้เป็นพระอินทรเดช รับราชการในกรมพระตำรวจสืบมาจนเกิดเรื่องกบฏเจ้าฟ้าเหม็น
นอกเหนือจาก เจ้าพระยาพลเทพ (นายบุนนาก บ้านแม่ลา) และพระอินทรเดช (กระต่าย) แล้ว ในจำนวน “สิบขุนนาง” เหล่านั้นยังประกอบไปด้วย พระยาเพ็ชรปาณี (กล่อม), พระยาราม (ทอง), จมื่นสท้านมณเฑียร (อ่อน), นายขุนเนน (หลานเจ้าพระยาพลเทพ), สมิงรอดสงคราม, สมิงศิริบุญ (โดด) บุตรเจ้าพระยามหาโยธา, สมิงพัตเบิด (ม่วง) และสมิงปอนทละ.
ขุนนางเหล่านี้ล้วนแต่เป็นข้าหลวงเดิม รับราชการมาตั้งแต่แผ่นดินรัชกาลที่ 1 ทั้ง “พระยาเพ็ชรปาณี” ซึ่งเคยเป็นราชทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับเวียดนาม คุมพระราชสาส์นและเครื่องสำหรับกษัตริย์ออกไปถวายเมื่อ พ.ศ. 2346 ทั้ง “สมิงศิริบุญ” ซึ่งเป็นบุตรของเจ้าพระยามหาโยธา หรือพระยาเจ่ง ขุนนางมอญที่สนับสนุนรัชกาลที่ 1 และต่อสู้กับพระยารามัญ ขุนนางมอญอีกฝ่ายที่สนับสนุนพระยาสรรค์
นอกจากขุนนางทั้ง 10 คน รายชื่อผู้ก่อการยังมีข้าในกรมเจ้าฟ้าเหม็นอีก 30 คน ที่ต้องพระราชอาญาประหารชีวิต รวมผู้ต้องหาในคดีนี้ 40 คน กับพระราชวงศ์อีก 3 พระองค์ รวมเวลาปราบกบฏตั้งแต่เหตุการณ​์กาคาบข่าวจนถึงการประหารชีวิตเสร็จสิ้นใน 4 วัน
อย่างไรก็ตาม สำนวนการสอบสวนนั้นไม่สามารถชี้มูลความผิดไปที่เจ้าฟ้าเหม็นได้ทั้งหมด ดังปรากฏความในศุภอักษรฯ ว่า “จึงมีรับสั่งโปรดเกล้าฯ ว่า อ้ายเมืองให้การถึงหม่อมเหม็น ทั้งนี้ยังเลื่อนลอยอยู่เห็นหาจริงไม่ แต่ทะว่าเป็นความแผ่นดิน จึงให้ข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยตริตรองชำระเอาความจริง”
ดังนั้น จึงต้องนำตัวผู้ต้องหามาสืบสวนอีก ปรากฏว่าให้คำตรงกันหลายปาก และเมื่อสอบสวนเจ้าฟ้าเหม็นก็ทรงรับสารภาพ “จึงให้ถามหม่อมเหม็น ๆ ก็รับเป็นสัจสมคำอ้ายมีชื่อสิ้นทั้งนั้น” แต่พึงคำนึงว่ากระบวนการการสอบสวนในสมัยนั้นที่ใช้ “จารีตนครบาล” คือ การทรมานให้รับสารภาพ ทำให้ผู้ต้องหาได้รับความเจ็บปวดแสนสาหัสที่ว่าตายเสียยังดีกว่า ดังนั้น คำรับสารภาพอาจไม่ใช่คำกล่าวที่เป็นความจริงเสมอไป สารภาพทั้งที่ผิดหรือไม่ผิด สามารถเกิดขึ้นได้ในกระบวนการเช่นนี้
เจ้าฟ้าเหม็นทรงถูกถอดยศเป็นหม่อมเหม็น แล้วนำตัวไปสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ที่วัดปทุมคงคา ส่วนพระโอรสอีก 6 พระองค์ คือ หม่อมเจ้าชายใหญ่, หม่อมเจ้าชายสุวรรณ, หม่อมเจ้าชายหนูเผือก, หม่อมเจ้าชายสวัสดิ์, หม่อมเจ้าชายเล็ก และหม่อมเจ้าชายแดง ทรงถูกนำไปถ่วงน้ำที่ปากอ่าว ด้วยเหตุ “ตัดหนามอย่าไว้หน่อ ฆ่าพ่ออย่าไว้ลูก”
เหตุการณ์หลังคดี
เมื่อประหารชีวิตผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในคดีกบฏเจ้าฟ้าเหม็นเสร็จสิ้นแล้ว วังท่าพระ ซึ่งเป็นวังที่ประทับของเจ้าฟ้าเหม็นก็ว่างลง ดังนั้น รัชกาลที่ 2 จึงพระราชทานวังนี้พร้อมด้วยบ่าวไพร่และทรัพย์สินของเจ้าฟ้าเหม็นให้พระองค์เจ้าชายทับ ผู้ทรงชำระคดีความ วังท่าพระจึงใช้เป็นวังที่ประทับและที่ว่าราชการของกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ในเวลาต่อมา
ส่วนพระยาอนุชิตราชา ผู้เก็บบัตรสนเท่ห์ได้ ภายหลังได้เป็นเจ้าพระยาอภัยภูธร (น้อย บุณยรัตพันธุ์) สมุหนายกในรัชกาลที่ 2 ส่วนอีกาก็ได้รับความดีความชอบเช่นเดียวกัน โดยทรงมีพระราชดำรัสว่า กามีความชอบโปรดให้พระราชทานข้าวกาตั้งแต่นั้นมา
อย่างไรก็ดี คดีกบฏเจ้าฟ้าเหม็นนี้มีเบื้องหน้าเบื้องหลังมากกว่าที่ปรากฏตามหลักฐาน มีมูลเหตุหลายประการ ประกอบกับมีความไม่สมเหตุสมผลในหลายเรื่อง โดยเฉพาะกรณีขุนนางผู้ก่อการทั้งหมดล้วนแต่เป็นข้าหลวงเดิมของรัชกาลที่ 1 จึงเกิดความย้อนแย้งว่า เหตุใดกลุ่มกบฏจึงคิดยกเอาเจ้าฟ้าเหม็นเป็นกษัตริย์ ทั้งที่ข้าหลวงเดิมเหล่านี้ คือ ผู้ร่วมก่อการครั้งโค่นล้มราชบัลลังก์สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทั้งสิ้น
เจ้าฟ้าเหม็นอาจไม่ได้ทรงเป็นต้นคิดล้มล้างราชบัลลังก์ แต่ด้วยขุนนางกลุ่มหนึ่งซึ่งเป็นข้าหลวงเดิมในแผ่นดินรัชกาลที่ 1 อาจเกิดความปริวิตกว่า พระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใหม่ “มีบุญแล้วไม่ทรงพระเมตตาเหมือนแต่ก่อน” และอาจจะคาดการณ์ไปว่า การแต่งตั้งขุนนางหรือตำแหน่งการบริหารงานบ้านเมืองต่าง ๆ ในรัชกาลใหม่นั้น ขุนนางกลุ่มนี้อาจจะหลุด “โผ” จึงคิดเปลี่ยนตัวกษัตริย์พระองค์ใหม่เสีย
ปรามินทร์ เครือทอง ตั้งสมมติฐานคดีนี้ไว้ 2 ประเด็นสำคัญ คือ หนึ่ง กลุ่มขุนนางกลุ่มนี้ไม่ยอมรับรัชกาลที่ 2 ให้สืบราชสมบัติต่อจากพระราชบิดา โดยเห็นว่าไม่ทรงพระเมตตาเหมือนแต่ก่อน จึงคิดจะยกเจ้านายพระองค์ใดพระองค์หนึ่งขึ้นเป็นกษัตริย์แทน โดยเลือกเจ้าฟ้าเหม็นขึ้นมา แต่สมมติฐานนี้กลับมีข้อย้อนแย้งดังที่กล่าวไปข้างต้น ประเด็นนี้จึงยังเป็นที่น่าสงสัย
สอง เหตุการณ์นี้เป็นผลพวงจากความขัดแย้งของกลุ่มขุนนาง โดยอาจมีการกุเรื่องขึ้นมาหวังกำจัดศัตรูฝ่ายตรงข้าม โดยเฉพาะในประเด็นบัตรสนเท่ห์นี้ หากการก่อกบฏเป็นจริงตามฟ้อง ก็สามารถนำเรื่องขึ้นกราบบังคมทูลได้โดยตรง โดยไม่ต้องใช้บัตรสนเท่ห์ ซึ่งนี่สะท้อนให้เห็นว่า ฝ่ายหนึ่งไม่มีหลักฐานสำคัญชี้อย่างชัดเจนว่ากำลังจะมีการล้มล้างราชบัลลังก์ ขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งก็ไม่มีเหตุจูงใจและพละกำลังมากพอที่จะคิดการใหญ่ให้สำเร็จได้
ดังนั้น จึงมีความเป็นไปได้สูงว่า “กบฏเจ้าฟ้าเหม็น” เป็นเกมการเมืองในการกำจัดอำนาจของขุนนางเก่าใน “แผ่นดินต้น” เพื่อปูทางสร้างฐานอำนาจของขุนนางใหม่ใน “แผ่นดินกลาง” แห่งรัชสมัยรัชกาลที่ 2

อ้างอิง
1. ปรามินทร์ เครือทอง. (2547). กบฏเจ้าฟ้าเหม็น. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : มติชน.
2. วารสารศิลปวัฒนธรรม ออนไลน์ "กบฏเจ้าฟ้าเหม็น" เผยแพร่วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2565

เรียบเรียงโดย เพจเกร็ดประวัติศาสตร์ v2

ด่านต่อไป  อ้าวเฮ๊ย!!
04/08/2024

ด่านต่อไป อ้าวเฮ๊ย!!

ที่นี่รถไม่ติดสักวันเชื่อผม    ถนน 20 เลนในเมืองเนปีดอ ประเทศพม่า  คนส่วนมากถือเป็นหนึ่งเรื่องในเมกะโปรเจ็กต์ที่ไร้ประโย...
04/08/2024

ที่นี่รถไม่ติดสักวันเชื่อผม
ถนน 20 เลนในเมืองเนปีดอ ประเทศพม่า
คนส่วนมากถือเป็นหนึ่งเรื่องในเมกะโปรเจ็กต์ที่ไร้ประโยชน์มากที่สุดในโลก โดยส่วนใหญ่ของวัน สามารถมองเห็นรถได้เพียงคันถึง2คัน โดยใช้เส้นทางยืดเยื้อในแต่ละครั้ง แต่ยังไงก็ตามทางประเทศเขาก็มองการณ์ไกลภายในอนาคตของประเทศเขาครับ เห็นว่าเป็นที่จอดเครื่องบินฉุกเฉินทางวิ่งสำรองสำหรับเครื่องบินด้วยครับ

ขอบคุณภาพ : ไปเรื่อยเปื่อย

พระยาสยามมานุกูลกิจ สยามมิตรมหายศ (เซอร์จอห์น เบาว์ริง) เจ้าของสนธิสัญญาเบาว์ริง        เซอร์จอห์น เบาริ่ง   เป็นราชทูตท...
04/08/2024

พระยาสยามมานุกูลกิจ สยามมิตรมหายศ (เซอร์จอห์น เบาว์ริง) เจ้าของสนธิสัญญาเบาว์ริง
เซอร์จอห์น เบาริ่ง เป็นราชทูตที่ได้รับการแต่งตั้งจาก สมเด็จพระนางเจ้าวิกตอเรีย แห่งประเทศอังกฤษ เพื่อเข้ามาเจริญสัมพันธ์ทางพระราชไมตรีและเจรจาทำสนธิสัญญากับราชสำนักไทย ในปี พ.ศ. 2397 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ในที่สุดก็มีการลงนามใน สนธิสัญญาเบาริง (Bowring treaty) เมื่อวันที่ 18 เมษายนปีเดียวกัน
สนธิสัญญาฉบับนี้มีผลให้สยามต้องเสียอำนาจอธิปไตยทางการศาลและมีสิทธิสภาพนอกอาณาเขต เกิดขึ้น แต่ก็ทำให้สยามรอดจากการตกเป็นอาณานิคมไปได้ สนธิสัญญาดังกล่าวทำให้เกิด การค้าเสรี ถือเป็นการสิ้นสุดของ การผูกขาดการค้าต่างประเทศ โดยพระคลังสินค้าของเจ้านายสยาม สนธิสัญญานี้มีผลใช้บังคับอยู่นานกว่า 70 ปี จนกระทั่งมีการแก้ไขค่อยๆยกเลิกไปในสมัยรัชกาลที่ 6 ภายหลังเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลงเมื่อปี พ.ศ. 2461 แต่กว่าจะสิ้นสุดสมบูรณ์ ก็ล่วงมาถึงในปี พ.ศ. 2482 ในรัฐบาล จอมพล ป พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี ที่ได้มีการแก้ไขและลงนามในสนธิสัญญาใหม่กับประเทศตะวันตก (และญี่ปุ่น) ใหม่ทั้งหมด
เซอร์จอห์น เบาริ่ง เป็นเจ้าเมืองฮ่องกง (ถึง 9 ปีระหว่าง ค.ศ. 1848-57) เป็นพ่อค้า เป็นนักการทูต เป็นนักเศรษฐศาสตร์การเมือง เป็นนักการศาสนา เป็นนัก แต่งเพลงสวด เป็นกวี เป็นนักประพันธ์ เป็นบรรณาธิการ เป็นนักภาษาศาสตร์ รู้ถึง 10 ภาษาหลักๆ ทั้งหมด ในยุโรป รวมทั้งภาษาจีน และเป็นผู้ที่จัดการราชวงศ์ชิงผู้ที่เคยเล่นงานราชวงศ์ชิงจากการเป็นตัวตั้งตัวตีในสงครามฝิ่นครั้งที่ 2 ที่อังกฤษหวังให้เล่นงานสยามบ้างจากสนธิสัญญาเบอร์นี่ หลังย้ายออกจากฮ่องกง แต่อยู่ๆก็ได้รับการแต่งตั้งเป็น “พระยาสยามานุกูลกิจ” ตำแหน่งอัครทูตสยามประจำลอนดอนคนแรกเอากับสยามสิ แต่งทูตอังกฤษสายเหยี่ยว มาเป็นทูตตัวเองประจำอังกฤษ หนามยอกเอาหนามบ่ง ใครจะคิดบ้างล่ะ
อังกฤษวางแผนใหม่ ใช้แผนที่เคยทำกับราชสำนักชิง โดยการปล่อยกู้ให้สร้างทางรถไฟแก่สยามในสมัย ร.4 ผลก็คือ…อ๋อ ไม่เป็นไร เรากำลังมีโปรเจคของเราในเร็วๆนี้ ขอบคุณมากสำหรับข้อเสนอ
พม่าเคยเป็นตัวตลกในราชสำนักอังกฤษ ด้วยพระราชสาส์นพระเจ้ามินดงถึงพระราชินีวิกตอเรีย เรียกพระนางว่า “พระน้องนางเรา” ทำให้จะเจรจาอะไรก็ติดขัดไปหมด พอมาถึงคราวสยาม นอกจากพระราชสาส์นจะเป็นแบบประเทศทั่วไปในภาคพื้นยุโรปแล้ว ยังมีจดหมายน้อยจากพระเจ้าแผ่นดินสยามมาถึง พระนางเจ้าผู้เป็นใหญ่แห่งทวีปบริเตนและไอร์แลนด์ ผู้เป็นสหายของเรา นี่คือแสดงถึงความเป็นประเทศศิวิไลซ์ของสยามถึงขีดสุดเลยทีเดียว
อังกฤษเจอสยามใช้วิธีขีดมลายูออกเป็น 2 ส่วน แบบที่ทำกับเขมร ผลคือ อังกฤษรับรองสถานะดินแดนสยามเหนือปัตตานีและมลายูตอนเหนือ

อังกฤษเปลี่ยนยุทธวิธีใหม่ โดยใช้ไทใหญ่โมเดลในการพิชิตราชสำนักอังวะ พยายามจะสนับสนุนกลุ่มหัวเมืองล้านนาให้มาเป็นรัฐอารักขาแบบไทใหญ่ แต่เจอยุทธวิธีตั้งข้าหลวงต่างพระองค์ไปประจำการแบบรัฐบาลส่วนภูมิภาค เจ้าล้านนาขยับอะไรไม่ได้มากและต้องหันมาเข้ากับสยามเสียส่วนใหญ่ ส่วนพวกที่เข้ากีบอังวะสุดท้ายก็ต้องล้มหายไปหมดเพราะพม่าแพ้สงครามกับอังกฤษและมีปัญหาของรัฐและชนกลุ่มน้อยต่างๆมาจนถึงปัจจุบัน
ปกติ ประเทศแถบนี้ จะใช้อังกฤษมาคานอำนาจฝรั่งเศส หรือใช้ฝรั่งเศสมาคานอำนาจอังกฤษ ซึ่งทั้งสองรู้กลยุทธ์นี้ดี และไม่ยอมเป็นเบี้ยล่างให้ประเทศเอเชียเด็ดขาด ผลก็คือ ทั้งสองประเทศแอบจับมือกันลับๆ ไม่ยอมตีกัน ซึ่งพม่าพิสูจน์มาแล้ว ที่ดันไปไว้ใจฝรั่งเศสในการคานอำนาจอังกฤษ ตอนอังกฤษจะยึดมัณฑเลย์ พม่าร้องหาฝรั่งเศสจนเฮือกสุดท้าย แต่พี่แกก็นั่งฉีกขนมปังมองดูเฉยๆ สำหรับสยามล้ำกว่านั้นมาก เพราะรู้เช่นเห็นชาติสองมหาอำนาจนี้มานานและสยามก็ยังรู้จักการเมืองในภาคพื้นยุโรปดีกว่าประเทศเอเชียอื่นๆ ด้วย การคานอำนาจนั้นยังเป็นวิธีที่ดีแต่ต้องทำให้เป็น สยามจึงหันมาใช้มหาอำนาจที่สามารถคานกันจริงๆกับฝรั่งเศสและอังกฤษ นั่นคือจักรวรรดิออสเตรีย-เยอรมันและจักรวรรดิรัสเซีย และไม่ได้ทำโดยการทูตธรรมดาๆ แต่พระเจ้าแผ่นดินสยามเข้ามาเล่นเกมส์นี้ด้วยพระองค์เองทำให้ความสนิทสนมระหว่างพระราชวงศ์ต่อพระราชวงศ์เกิดขึ้นอย่างมาก
ตั้งแต่ เซอร์จอห์น เบาริ่ง เข้ามาถึงกรุงเทพฯ รัตนโกสินทร์ หรือที่ฝรั่งทั่วไปเรียกว่า Bangkok นั้น ท่านเซอร์ได้บันทึกรายวันเอาไว้ตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม ถึงวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2393 เป็นเวลา 1 เดือนเต็มๆ บันทึกนี้ มีสาระเกี่ยวกับสภาพความเป็นอยู่ของสังคมตั้งแต่ในพระบรมมหาราชวัง พระบวรราชวังลงมาถึงขุนนาง ผู้คนระดับชาวบ้าน
ท้ายที่สุดสมัยปลายรัชกาลที่ 4 และต้นรัชกาลที่ 5 ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นอัครราชทูตไทยประจำลอนดอน และยุโรป ถือได้ว่าเป็น “ตัวแทนประจำคนแรกของไทย” ก็ว่าได้ มีบรรดาศักดิ์เป็น “พระยาสยามมานุกูลกิจ สยามมิตรมหายศ”

อ้างอิง พระราชพงศาวดารสมัยรัชกาลที่ 3 และรัชกาลที่ 4
เรียบเรียงโดย เพจเกร็ดประวัติศาสตร์ v2

ยุวชนทหาร                  ยุวชนทหาร คือ เยาวชนที่ได้รับการฝึกวิชาทหารขึ้นในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2477 - 2490 เนื่องจากรัฐบาล...
03/08/2024

ยุวชนทหาร
ยุวชนทหาร คือ เยาวชนที่ได้รับการฝึกวิชาทหารขึ้นในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2477 - 2490 เนื่องจากรัฐบาลไทยสมัยจอมพล ป.พิบูลสงครามมีนโยบายพื้นฟูการฝึกวิชาทหารให้แก่ประชาชน ดำเนินการโดยกรมยุวชนทหาร กระทรวงกลาโหม (ณ ปี พ.ศ. 2481 ต่อมาได้ยกฐานะขึ้นเป็นกรมเตรียมการทหารในปี พ.ศ. 2484)
เมื่อกิจการเสือป่าได้ทรุดโทรมลง แต่ไม่ได้หมายความว่าหลักการสำคัญได้สลายลงไปด้วย เหตุการณ์ในยุโรปประมาณปี พ.ศ. 2475 กำลังผันผวนอยู่นั้น รัฐได้คำนึงว่า ทหารกองหนุนมีจำนวนมาก แต่ขาดตัวผู้บัญชาการในตำแหน่งผบ.หมวด (กองหนุน) จึงได้คิดจัดตั้ง กรมยุวชนทหารขึ้น ซึ่งกรมนี้ปรารถนาจะให้กรมนี้เป็นเครื่องจักรผลิตนายทหารชั้น ผบ.หมวด ดังนั้นในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2478 กระทรวงกลาโหมได้เริ่มมีการฝึกวิชาทหารให้แก่นักเรียน โดยกำหนดความมุ่งหมายไว้ในระเบียบทหารบก ที่ 1/7742 ว่าด้วยนักเรียนที่จะเข้ารับการฝึกวิชาทหารดังนี้
"ด้วยทางราชการทหารได้พิจารณาความผันแปรเหตุการณ์ของโลกปัจจุบัน (พ.ศ. 2478) รู้สึกเป็นที่แน่ใจว่าอย่างไรเสียก็ต้องเกิดสงครามขึ้นอีก รูปของสงครามคราวต่อไปจะร้ายแรงกว่าที่แล้วๆมาเป็นอันมาก เพราะด้วยความเจริญแห่งอาวุธและวิทยาศาสตร์ที่ใช้ในการประหัตประหารกัน จะมิใช่ทหารรบกันเท่านั้น จะต้องเป็นชาติต่อชาติรบกัน คือผู้คนในชาติหนึ่ง ทั้งผู้หญิง คนแก่ เด็ก จะต้องอยู่ในสนามรบพร้อมกัน เพราะเมื่อเกิดสงครามขึ้น เครื่องบินรบอีกฝ่ายหนึ่งจะพยายามเอาลูกระเบิดต่างๆมาทิ้งไว้ในที่ทั่วๆไป เพราะฉะนั้น จึงมีความจำเป็นโดยแท้ที่เราทั้งหลายทุกคนต้องเตรียมตัวหัดการรบไว้ให้พร้อม ถ้าชาติใดข่มเหง เราทุกคนในชาติจักได้ช่วยกันสู้รบอย่างเต็มที่ คือพวกเราต้องเป็นทหารของชาติ ทุกคนทั้งแผ่นดินนั่นเอง"
วีรกรรม
สงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้นในยุโรปในช่วงกลางปี พ.ศ. 2482 สงครามได้ลุกลามออกไป มีประเทศต่างๆเข้าร่วมรบมากมาย จนกระทั่งญี่ปุ่นได้ลงนามเป็นพันธมิตรกับเยอรมนี และ อิตาลี ในวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2483 ซึ่งทำให้ญี่ปุ่นเข้าร่วมสงครามโลกอย่างเต็มตัว ด้วยการยึดดินแดนที่เป็นอาณานิคมของชาติฝ่ายสัมพันธมิตร (สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต และจีน) โดยชูนโยบาย เอเชียเพื่อชาวเอเชียเพื่อสร้างเอเชียให้เป็นหนึ่ง ซึ่งเรียกกันว่า สงครามมหาเอเชียบูรพาในตอนเช้าตรู่วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 กองทัพญี่ปุ่นได้โจมตีฐานทัพเพิร์ลฮาเบอร์ของสหรัฐอเมริกา และส่งกองทัพไปโจมตีประเทศอื่นๆ ในแถบแปซิฟิก หมู่เกาะต่างๆของอินโดนีเซีย ทะเลจีนใต้ รวมถึงไทยด้วย ทำให้ญี่ปุ่นสามารถยึดครองเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ทั้งหมด
เวลา ประมาณ 23.00 น.บริเวณอ่าวชุมพร วันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2484 กองเรือรบญี่ปุ่นเผชิญพายุฝนทำให้กำหนดการบุกขึ้นฝั่งคลาดเคลื่อน รุ่งเช้า วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 ทหารญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกที่จังหวัดชุมพร 2 จุด คือที่บ้านแหลมดิน และบ้านคอสน กองทหารญี่ปุ่นที่บ้านแหลมดินเป็นทัพหน้า จัดรูปขบวนมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันตก เข้าสู่ถนนชุมพร ส่วนทหารญี่ปุ่นที่บ้านคอสนเคลื่อนทัพไปทางทิศใต้ ตามแนวชายฝั่ง และค่อยไปสมทบกับทัพหน้าที่สะพานท่านางสังข์ เพื่อเข้าสู่ตัวเมืองชุมพร หลวงจรูญประศาสน์ (จรูญ คชภูมิ)ข้าหลวงประจำจังหวัดชุมพรทราบข่าวการยกพลขึ้นบกของทหารญี่ปุ่นราว 6 นาฬิกา 30 นาที จึงสั่งให้ พ.ต.ต.หลวงจิตการุณราษฎร์ ผู้กำกับการตำรวจภูธร และร้อยเอก ถวิล นิยมเสน ผู้บังคับหน่วยฝึกยุวชนทหารที่ 52 จัดกำลังไปต้านทานกองทัพญี่ปุ่นที่จะเข้ามาทางปากน้ำชุมพร เวลา ประมาณ 7 นาฬิกา 15 นาที ร้อยเอก ถวิล นิยมเสน ได้เคลื่อนย้ายกำลังออกปฏิบัติการ โดยแบ่งกำลังออกเป็น 2 ส่วน
• ส่วนที่ 1 ใช้กำลังยุวชนทหาร 5 นาย ตำรวจภูธร 5 นาย และราษฎรอาสาสมัคร 1 คน พร้อมด้วยปืนกลเบา 1 กระบอก ในความควบคุมของ จ.ส.อ.จง แจ้งชาติ เดินทางมุ่งไปรักษาเส้นทางอ่าวพนังตัก หน่วยนี้ไม่พบข้าศึกเลย
• ส่วนที่ 2 ใช้กำลังยุวชนทหาร 30 นาย ในความควบคุมของ ร้อยเอก ถวิล นิยมเสน และสิบเอกสำราญ ควรพันธ์ ครูฝึก เคลื่อนย้ายโดยรถยนต์บรรทุกตามเส้นทางชุมพร-ปากน้ำไปสะพานท่านางสังข์ ยุวชนทหารทั้งหมดที่เข้าการรบเป็นยุวชนทหารชั้นปีที่ 2 ซึ่งได้รับการฝึกฝนมาแล้วเป็นอย่างดีและกำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ของปีการศึกษานั้น
เมื่อไปถึงสะพานท่านางสังข์ก็ต้องหยุดเข้าสมทบกับกำลังตำรวจ ที่กำลังปะทะอยู่กับทหารญี่ปุ่นอยู่ก่อนแล้ว ร้อยเอกถวิลฯได้ขึ้นไปตรวจการณ์บนสะพาน ถูกข้าศึกยิงแต่ไม่เห็นตัวข้าศึก เพราะบริเวณนั้นเป็นป่าสลับสวนมะพร้าว และทุ่งนาป่าละเมาะ ข้าศึกก็พรางตัวอย่างดีด้วยกิ่งไม้ ใบไม้ ร้อยเอกถวิลฯ จึงรวมกำลังยุวชนทหารทั้งหมดข้ามสะพานไปฝั่งตรงข้าม โดยให้ยุวชนทหาร 3 นาย ที่ไม่มีปืนวิ่งกลับไปรับกระสุนเพิ่มเติมจากในเมือง ในการเคลื่อนที่ข้ามสะพานไปยึดพื้นที่ฝั่งตรงข้ามนั้น ร้อยเอกถวิลฯไ ด้สั่งให้ยุวชนทหารทุกนายติดดาบปลายปืนพร้อมที่จะเข้าตะลุมบอนกับทหารญี่ปุ่นทันที แต่โชคไม่ดีขณะที่ร้อยเอกถวิลฯ วิ่งนำยุวชนทหารอยู่นั้น ร้อยเอกถวิลฯ ได้ถูกข้าศึกยิงเข้าที่ซอกคอ
กระสุนทะลุหลอดลมเสียชีวิตทันที ยุวชนทหารวัฒนา นิตยนารถ ได้รีบรายงานให้สิบเอกสำราญ ควรพันธ์ ทราบ สิบเอกสำราญฯ จึงปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ควบคุมยุวชนทหารแทน และได้สั่งให้ยิงต่อสู้ข้าศึกต่อไปอย่างเหนียวแน่น ทหารญี่ปุ่นได้เสริมกำลังเข้ามาเรื่อยๆ โดยพรางตัวด้วยกิ่งไม้ ใบไม้ ดูไกลๆ เหมือนป่าเคลื่อนที่เข้ามา ฝนก็ตกหนักตลอดเวลา ยุวชนทหารได้รับคำสั่งให้ยิงทันทีเมื่อเห็นกิ่งไม้ใบไม้ไหว ทำให้กองทัพญี่ปุ่นหยุดการบุกชั่วขณะหนึ่ง ได้ยินเสียงทหารญี่ปุ่นร้องเมื่อถูกยิงอย่างชัดเจน สิบเอกสำราญฯ เองก็ถูกยิงที่แขนขวา เนื้อขาดไปทั้งก้อนจนปืนหลุดจากมือ ยุวชนทหารละออ เหมาะพิชัย ได้เข้ามาปฐมพยาบาล พอปฐมพยาบาลเสร็จ สิบเอกสำราญฯเกิดหมดสติเพราะเสียเลือดจึงไม่สามารถบัญชาการการรบต่อไปได้ ยุวชนทหารมารุต ไทยถาวรจึงบัญชาการรบแทน มารุตได้สั่งให้กำลังพล
ยุวชนทหารต้องต่อสู้กับญี่ปุ่นโดยลำพังด้วยความรักชาติ ความกล้าหาญ การเสียสละเพื่อพิทักษ์แผ่นดินไทย การสู้รบได้ยื้อเยื้อจนกระทั่งรัฐบาลได้สั่งให้มีการหยุดยิงผ่านทางรถวิทยุกระจายเสียง

ภาพในอดีต..เมื่อครั้งรัชกาลที่ ๘ และ รัชกาลที่ ๙ เสด็จเยือนเยาวราช พ.ศ. ๒๔๘๙ เพื่อคลายปมขัดแย้งระหว่างชาวไทยกับชาวจีน ก่...
03/08/2024

ภาพในอดีต..
เมื่อครั้งรัชกาลที่ ๘ และ รัชกาลที่ ๙ เสด็จเยือนเยาวราช พ.ศ. ๒๔๘๙ เพื่อคลายปมขัดแย้งระหว่างชาวไทยกับชาวจีน ก่อนที่จะไปศึกษาต่อต่างประเทศ การเสด็จเยือนครั้งนี้ได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากประชาชนทั้งสองกลุ่ม สะท้อนถึงพระปรีชาสามารถในการสร้างความสมานฉันท์ในชาติ

วันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2493 ประเทศไทยได้ส่งทหาร จำนวน 1,200 คน ขึ้นเรือไปรบที่ประเทศเกาหลีใต้ไทยเป็นหนึ่งใน 21 ประเทศที่ต...
02/08/2024

วันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2493 ประเทศไทยได้ส่งทหาร จำนวน 1,200 คน ขึ้นเรือไปรบที่ประเทศเกาหลีใต้

ไทยเป็นหนึ่งใน 21 ประเทศที่ตอบรับคำขอของสหประชาชาติในการส่งกำลังเพื่อช่วยเหลือเกาหลีใต้ในช่วงสงครามเกาหลี (2493–2496) และเรือรบอีกหลายลำ

#สงครามเกาหลี #ภาพในอดีต #ภาพเก่า #สงคราม

 #บางกะเจ้า หรือที่เรียกกันว่า  #กระเพาะหมู เป็นเกาะเทียมที่เกิดจากคุ้งแม่น้ำเจ้าพระยาโดยมีคลองลัดโพธิ์เชื่อมแม่น้ำทางทิ...
02/08/2024

#บางกะเจ้า หรือที่เรียกกันว่า #กระเพาะหมู เป็นเกาะเทียมที่เกิดจากคุ้งแม่น้ำเจ้าพระยาโดยมีคลองลัดโพธิ์เชื่อมแม่น้ำทางทิศตะวันตก

บางกะเจ้าตั้งอยู่ทางตอนใต้ของกรุงเทพมหานคร ใน #อำเภอพระประแดง #จังหวัดสมุทรปราการ เกาะนี้ครอบคลุมพื้นที่ 16 ตารางกิโลเมตร (6.2 ตารางไมล์) ยังคงเป็นพื้นที่เกษตรกรรมที่มีประชากรอาศัยไม่หนาแน่น ในบางครั้งได้รับการขนานนามว่า "ปอดสีเขียว" ของกรุงเทพ

ปี พ.ศ. 2549 นิตยสาร ไทม์เอเชีย ฉบับ Best of Asia ได้ยกย่องให้บางกะเจ้าเป็นปอดกลางเมืองที่ดีที่สุดในเอเชีย (best urban oasis) ผู้คนที่มาบางกะเจ้ามักมาสัมผัสธรรมชาติและปั่นจักรยานชมวิว และมีการเปิดตลาดบางน้ำผึ้งในช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ และยังเป็นที่ตั้งของสวนสาธารณะและสวนพฤกษชาติศรีนครเขื่อนขันธ์ มีพื้นที่ประมาณ 200 กว่าไร่ และพิพิธภัณฑ์ปลากัดไทย

บางกะเจ้าประกอบด้วย 6 ตำบล คือ ตำบลทรงคนอง ตำบลบางกระสอบ ตำบลบางน้ำผึ้ง ตำบลบางยอ ตำบลบางกะเจ้า และตำบลบางกอบัว

(ข้อมูลจากวิกิพีเดีย)
Cr : Piyachat Kik Kaelong
ภาพถ่ายเมื่อ มิ.ย. 2567

ย่าบุญเหลือและวีรกรรมทุ่งสัมฤทธิ์        เรื่องราวของย่าบุญเหลือเกิดขึ้นในเหตุการณ์ที่เรียกว่า “กบฏเจ้าอนุ” ในครั้งนั้น ...
02/08/2024

ย่าบุญเหลือและวีรกรรมทุ่งสัมฤทธิ์
เรื่องราวของย่าบุญเหลือเกิดขึ้นในเหตุการณ์ที่เรียกว่า “กบฏเจ้าอนุ” ในครั้งนั้น เจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ ซึ่งไทยเป็นผู้แต่งตั้งให้ครองกรุงเวียงจันทน์ และเป็นผู้สนิทชิดเชื้อกับพระราชวงศ์ไทยอย่างมาก ได้มาร่วมพระราชพิธีพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และกราบทูลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จะขอพวกละครผู้หญิงกับครอบครัวคนลาวที่เมืองสระบุรี ซึ่งถูกกวาดต้อนมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา กลับไปเวียงจันทน์ แต่รัชกาลที่ ๓ ทรงเห็นว่า คนเหล่านั้นอยู่เมืองไทยมานานจนเป็นคนไทยไปแล้ว จึงไม่โปรดพระราชทาน ทำให้เจ้าอนุวงศ์รู้สึกเสียหน้า เกิดความไม่พอใจ
เมื่อกลับถึงเวียงจันทน์ เจ้าอนุวงศ์หันไปฝักใฝ่ข้างญวน และคิดจะยกทัพมาตีกรุงเทพฯ ด้วยเห็นว่ากำลังผลัดแผ่นดิน อาจจะเกิดความขัดแย้งแตกแยกกันได้ เจ้าอนุวงศ์ให้เจ้าราชวงศ์คุมกองทัพมีกำลัง ๓,๐๐๐ คน ออกจากเวียงจันทน์มาถึงนครราชสีมาเมื่อวันพุธที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๓๖๙ อ้างว่าทางกรุงเทพฯมีหนังสือเรียกให้ไปช่วยรบกับอังกฤษ แล้วส่งกำลังส่วนหนึ่งล่วงหน้ามาสระบุรี อีก ๓ วันต่อมาเจ้าอนุวงศ์ก็ตามมาถึงนครราชสีมา ตั้งค่ายถึง ๗ ค่ายที่ทะเลหญ้าทางตะวันออกของเมือง ปล่อยข่าวว่ามีกำลังถึง ๘๐,๐๐๐ คน
ตอนนั้นเจ้าพระยานครราชสีมา พระยาปลัด และกรมการเมืองส่วนใหญ่ไม่อยู่ ไประงับเหตุวิวาทเจ้าเมืองขุขันธ์กับน้องชาย เจ้าอนุวงศ์จึงเรียกพระยาพรหม ยกกระบัตรเมือง ออกมาพบ สั่งให้กวาดต้อนครอบครัวชาวนครราชสีมาไปเวียงจันทน์ภายใน ๔ วัน พระยายกกระบัตรแอบส่งข่าวไปทางเมืองขุขันธ์แล้วจัดต้อนรับเจ้าอนุวงศ์อย่างดี เจ้าอนุวงศ์ให้ทหารเก็บเครื่องศาสตราวุธของชาวนครราชสีมาทั้งหมด แม้แต่มีดพร้าก็ไม่ให้เหลือ
เมื่อทางเมืองขุขันธ์ทราบข่าว พระยาปลัดก็ขอกลับมาดูแลทางนครราชสีมาเอง และเมื่อมาถึงก็เข้าพบเจ้าอนุวงศ์บอกว่าพระยานครราชสีมาหนีเข้าเขมรไปแล้ว ตนทิ้งครอบครัวไม่ได้จะขอไปเวียงจันทน์ด้วย เจ้าอนุวงศ์หลงเชื่อจึงให้พระยาปลัดกับพระยาพรหมฯ คุมครอบครัวไทยไปเวียงจันทน์ แต่ทั้งสองแกล้งถ่วงเวลาให้เดินช้า
พงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๓ บันทึกไว้ว่า
“พระยาปลัด พระยาพรหม ยกกระบัตร กรมการ จึงคิดอ่านอุบายจัดหญิงสาวๆ ให้นายทัพนายกองที่ควบคุมครั้งนั้นทุกคน จนชั้นไพร่จะชอบใครก็ไม่ว่า เห็นว่าพวกลาวกับครัวไทยสนิทเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเข้าแล้ว พระปลัด พระยาพรหมยกกระบัตรขึ้นมาหาเจ้าอนุวงศ์ที่ค่ายใหญ่ แจ้งว่าอพยพครอบครัวไปได้ความอดอยากนัก ขอมีด ขวาน ปืน สัก ๙ บอก ๑๐ บอก พอได้ยิงเนื้อมากินเป็นเสบียงเลี้ยงครอบครัวไปตามทาง เจ้าอนุวงศ์ก็ยอมให้ ครั้นได้มีดขวานปืนไปแล้ว เดินครัวไปถึงทุ่งสัมฤทธิ์
พระยาปลัด พระยาพรหมยกกระบัตร พูดเป็นอุบายว่าขอพักครัวอยู่ที่นั่นก่อน ด้วยครอบครัวเมื่อยล้าเจ็บไข้ล้มตายได้รับความลำบากนัก ครั้นครัวมาถึงพร้อมหน้ากัน พระยาปลัด พระยาพรหมยกกระบัตร กรมการ คิดอ่านกันเป็นความลับ ครั้นเวลากลางคืนดึกประมาณ ๓ ยามเศษ ก็ฆ่าพวกลาวตายเกือบสิ้น”
การวางแผนกู้ศักดิ์ศรีชาวนครราชสีมาครั้งนี้ ส่วนใหญ่จะใช้ผู้หญิงประกบแม่ทัพนายกองทหารลาวเพื่อให้ตายใจ คุณหญิงโม ภรรยาของพระยาปลัด จึงเป็นแม่งานสำคัญในการวางแผน และสั่งให้ตัดไม้เสี้ยมปลายให้แหลม ใช้เป็นอาวุธต่อสู้กับดาบและปืน
สำหรับ “ย่าบุญเหลือ” นั้น นางเป็นบุตรีของหลวงเจริญ กรมการชั้นผู้น้อย แต่มีความสนิทใกล้ชิดและเคารพนับถือพระยาปลัดกับคุณหญิงโมเป็นอันมาก อีกทั้งพระยาปลัดและคุณหญิงโมไม่มีบุตรธิดา จึงรักใคร่เอ็นดูบุญเหลืออย่างลูกหลาน ในงานสำคัญครั้งนี้ บุญเหลือได้รับความไว้วางใจให้ประกบ เพี้ยรามพิชัย นายทหารลาวผู้เป็นหัวหน้าควบคุมกองคาราวานเชลย โดยรับหน้าที่ต้องสังหารเพี้ยรามพิชัยให้ได้
เมื่อถึงเวลานัดหมาย ชาวนครราชสีมาได้เข้าจู่โจมแย่งอาวุธและฆ่าฟันทหารลาว บุญเหลือได้ยินสัญญาณก็คว้าดาบเพื่อจะสังหารเพี้ยรามพิชัยตามแผน แต่ทว่าเพี้ยรามพิชัยเป็นนักรบเจนสนาม ขณะที่บุญเหลือเป็นเด็กสาวในวัย ๒๔ ปี เพี้ยรามพิชัยจึงเป็นฝ่ายแย่งดาบไปได้
บุญเหลือหันไปคว้าดุ้นฟืนที่สุมไฟวิ่งหนี โดยมีเพี้ยรามพิชัยวิ่งตามไปติดๆ เป้าหมายของนางก็คือหมู่กองเกวียนที่บรรทุกกระสุนดินดำ และเมื่อไปถึงนางก็ไม่รอช้า โยนดุ้นฟืนที่ติดไฟเข้าไปที่เกวียนเล่มหนึ่งทันที เป็นผลให้เกิดระเบิดขึ้นแล้วลุกลามต่อไปจนเกวียนดินดำระเบิดหมดทั้ง ๕๐ เล่ม ร่างของวีรสตรีบุญเหลือและศัตรูแผ่นดินคือเพี้ยรามพิชัยแหลกกระจายด้วยแรงระเบิดไปด้วยกัน แสงเพลิงโชติช่วงแดงฉานทั่วทุ่งสัมฤทธิ์ ขวัญกำลังใจของทหารลาวแตกกระเจิง แต่ชาวนครราชสีมาฮึกเหิม ฆ่าฟันทหารลาวจนเกือบหมด ที่เหลือก็แตกหนีไปอย่างไม่คิดชีวิต
ถือได้ว่า “แม่บุญเหลือ” คือวีรสตรีที่เป็นต้นตำรับ “ระเบิดพลีชีพ” เพื่อปกป้องชาติบ้านเมืองและชาวนครราชสีมา การสละชีวิตของบุญเหลือจึงเป็นผลอย่างมากต่อชัยชนะในครั้งนี้ ชาวนครราชสีมาไม่อาจลืมวีรกรรมอันน่าสรรเสริญของนางได้ เช่นเดียวกับที่ไม่อาจลืมวีรกรรมของ “คุณหญิงโม” ท้าวสุรนารี
ทางราชการจังหวัดนครราชสีมาได้กำหนดให้วันที่ ๔ มีนาคมของทุกปี เป็นวันสดุดีวีรกรรมของนางสาวบุญเหลือ โดยผู้ว่าราชการจังหวัด ข้าราชการ และพ่อค้าประชาชน ร่วมกันทำพิธีสดุดี พร้อมทั้งเปลี่ยนผ้าตะแบงมานตามสีแห่งปี และวางพวงมาลา ณ อนุสรณ์สถานนางสาวบุญเหลือเป็นประจำทุกปี

02/08/2024

ฟังธรรมกับ อาจารย์ จรัญ

ประเด็นร้อนแรงในตอนนี้ปีนี้เป็นโอลิมปิก​ที่ Woke​ แบบสุด เมื่อนักมวยหญิงชาวอิตาลี Angela Carini ต้องขอยอมแพ้ในการแข่งขัน...
01/08/2024

ประเด็นร้อนแรงในตอนนี้

ปีนี้เป็นโอลิมปิก​ที่ Woke​ แบบสุด เมื่อนักมวยหญิงชาวอิตาลี Angela Carini ต้องขอยอมแพ้ในการแข่งขันกับ Imane Khelif นักชกหญิงข้ามเพศชาวแอลจีเรีย เพียง 46 วินาทีที่ขึ้นชกเนื่องจากสู้แรงไม่ไหว

โดย Khelif เป็นหนึ่งในสองนักมวยเพศกำเนิดชายที่ได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมการแข่งขันโอลิมปิก แม้ว่าจะถูกตัดสิทธิ์จากการแข่งขันชิงแชมป์โลกหญิงเมื่อปีที่แล้ว เนื่องจากไม่ผ่านการทดสอบฮอร์โมนเพศชายและคุณสมบัติทางเพศ

ชาวเน็ตกำลังวิจารณ์ความเหมาะสมของนักกีฬาที่มีลักษณะทางพันธุกรรมของผู้ชายไม่ควรได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมการแข่งขันของผู้หญิง

#รีวิวเรื่อยเปื่อย
#โอลิมปิกเกมส์

นี่คือ Olympic Paris 2024นักมวยคนซ้ายมือคนนี้มีชื่อว่า Imane Khelif เป็นนักมวยชาวแอลจีเรียเขาคนนี้ได้ขึ้นชกมวยสากลสมัครเ...
01/08/2024

นี่คือ Olympic Paris 2024

นักมวยคนซ้ายมือคนนี้มีชื่อว่า Imane Khelif เป็นนักมวยชาวแอลจีเรีย
เขาคนนี้ได้ขึ้นชกมวยสากลสมัครเล่นประเภทหญิง (ทั้งที่ไม่ผ่านการตรวจเพศ).. ใช่ครับ! โครโมโซมเขาคือ XY
(edit) ในส่วนที่ขอละไว้ และตอนนี้ชัดเจนแค่ข้อมูลโครโมโซม

ก่อนขึ้นชกหลายคนคาดการณ์กันไว้ว่า ด้วยแรงและร่างกายภายนอกรวมถึงภายในกล้ามเนื้อแล้ว.. ยังไงเขาก็ได้เปรียบกว่าเพศหญิงปกติอยู่ดี ต่อให้มวลน้ำหนักเท่ากัน

และก็เป็นไปตามคาด...
นักมวยหญิงชาวอิตาลีที่เจอกันในรอบนี้ก็ต้องตกรอบไปเพราะถูกชกอย่างหนักจนสู้ไม่ได้ และยอมแพ้ไปทั้งที่ชกไม่ครบยกและยังไม่ครบนาทีด้วยซ้ำโดยนักชกชาวอิตาลีเธอปฏิเสธการจับมือและลงเวทีไป

ก็ต้องไป follow up ต่อจากแพทย์ ก็ไม่รู้ว่าเธอบาดเจ็บหนักแค่ไหนเพราะโดนแรงชกจาก Imane Khelif เข้าไป

อืม...
ประเด็นบุคคลข้ามเพศหรือข้ามโครโมโซมฯในวงการกีฬาที่เกิดขึ้นนั้นจะบอกว่า.. นี่ไม่ใช่ครั้งแรก และก็คงมีมาอีกเรื่อย ๆ

ก็ต้องยอมรับว่ายุคสมัยปัจจุบันมีการเปิดกว้างเรื่องเพศและให้สิทธิ์กับทุกคนได้เสมอภาคกันมากขึ้น

แต่!! กับเรื่องกีฬานั้นมันมีเรื่องของมวลกล้ามเนื้อของเพศชาย หรือสภาวะเพศภายในรวมไปถึงโครโมโซมที่ยังไงก็มีผลต่อความได้เปรียบ/เสียเปรียบอยู่แล้วโดยพื้นฐาน.. มันเป็นเรื่องของชีววิทยาทั้งภายนอกและภายใน

นั่นแหละนะ.. ก็มาดูกันว่างานนี้จะจบลงอย่างไร เพราะกระแสโซเชียลฯในต่างประเทศเดือดกันมาก
รอดูเจ้าภาพผู้จัดว่าจะจัดการกับเรื่อง

ที่อยู่

Amphoe Muang Sisaket

เบอร์โทรศัพท์

0991185111

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ Wowพาเที่ยวtiktokผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

แชร์