
15/12/2024
#ข้าวหมาก เมนูที่หาทานยากในปัจจุบัน และชาวชวาก็มีข้าวหมากที่เรียกว่า #ตาแป๊ะ (ตาแป)
“ข้าวหมาก” เกิดขึ้นจากภูมิปัญญาการถนอมอาหารของคนรุ่นปู่ย่าที่นำข้าวเหลือโดยเฉพาะข้าวเหนียวมาล้างน้ำให้สะอาดแล้วหมักเข้ากับ #ลูกแป้ง (แป้งข้าวเจ้าผสมกับเชื้อราดี และสมุนไพรพื้นบ้านปั้นเป็นก้อนกลมก่อนหมักบ่มในอุณหภูมิและความชื้นที่เหมาะสม จากนั้นตากแดดจัดจนแห้งสนิทเมื่อจะใช้หมักข้าวหมากจึงค่อยนำลูกแป้งมาบดละเอียดเคล้าเข้ากับข้าวเหนียวล้างสะอาด สุดท้ายจึงเก็บใส่ภาชนะปิดสนิทวางไว้ในที่แห้งและเย็นนาน ๒-๓ วัน
ในระหว่างนั้นเมล็ดข้าวจะค่อยๆ ย่อยและเกิดน้ำหมักรสหวานหอม หรือที่ชาวบ้านเรียก #น้ำต้อย ขึ้นทีละนิดทีละนิด แต่ระวังถ้าหากหมักนานเกินไปน้ำต้อยจะกลายเป็นน้ำเมาโดยที่เราไม่รู้ตัว คนโบราณจึงนิยมหมักข้าวหมากแค่ระยะมีกลิ่นแอลกอฮอล์หอมอ่อนๆ พอให้กินแล้วชื่นใจคลายร้อน
วัฒนธรรมการหมักข้าวมิได้มีแค่ไทยเท่านั้น ดังเช่นที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ฯ ที่เสด็จประทับที่ชวาเป็นระยะเวลานานหลายปีทรงนิพนธ์ไว้ว่า...ข้าวหมากของชวานั้นเรียกว่า #ตาแป๊ะ ซึ่งตรงกับวรรณกรรมคลาสสิกเรื่อง #อิเหนา ของชวาที่มีข้าวหมากเป็นอาหารสำคัญในการเดินเรื่องด้วยเป็นสำรับที่ #ลิกู มเหสีของกษัตริย์ชวาใช้วางยาพิษ #ประไหมสุหรี มเหสีคนรองด้วยความริษยาในความงามและอำนาจวาสนาของนางและธิดา
#ข้าวหมาก เชื่อกันว่ามีมานานแต่ประวัติยังไม่แน่ชัดว่า…ใครหรือชุมชนใดเป็นผู้ริเริ่ม แต่มีหลักฐานในประเทศไทยกล่าวกันว่า...คนไทยน่าจะรู้จักแป้งข้าวหมากมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล เพราะมีข้อความในพระไตรปิฎกหมวดพระวินัย จุลวรรคขันธะ (ข้อ ๕๗) ซึ่งเป็น ๑ ในสิ่งของต้องใช้ของพระสงฆ์ คือ แป้งข้าวหมากที่ไว้ใช้โรยในกล่องเข็ม เพื่อป้องกันเข็มขึ้นสนิม
"Khao Mak" (Thai: ข้าวหมาก) is considered a Thai snack that is hard to find to eat nowadays.
"Khao Mak" originated from the wisdom of food preservation of ancient Thais who took leftover rice, especially sticky rice, washed it clean and fermented it with "Luk Paeng" (Thai: ลูกแป้ง).
"Luk Paeng" is rice flour mixed with good mold and local herbs, molded into round balls. Before fermenting, it is fermented at the right temperature and humidity. Then, it is dried in the sun until completely dry. When it is used to ferment "Khao Mak". Then, finely grind Luk Paeng and mix it with cleaned glutinous rice. The final step is to store it in a tightly closed container in a dry and cool place for 2-3 days.
During that time, the rice grains will gradually digest and produce sweet and fragrant fermented liquid, or what Thais call "Nam Toi" (Thai: น้ำต้อย), little by little. But be careful, if it is fermented for too long, the sweet fermented liquid will turn into alcohol without us knowing. Therefore, the ancients liked to ferment khao mak only until it has a slight alcoholic aroma, so that it will be refreshing and cool when eaten.
"Khao Mak" is believed to have been around for a long time, but the history is still unclear as to who or which community initiated it. However, there is evidence in Thailand that says that Thai people have known about Khao Mak since the time of the Buddha, because there is a message in the Tripitaka stating that Khao Mak is one of the items that monks must sprinkle in needle boxes to prevent the needles from rusting.
Note: When making it, Thai people wrap it in banana leaves.
📌 บทความนี้เรียบเรียงและแปลโดยเพจ Thai Cuisine History #หากนำไปเผยแพร่ต่อกรุณาให้เครดิตและแนบลิ้งค์ของเพจด้วยนะคะ🙏❤️
💥 Credit: ขอบคุณภาพ “ข้าวหมาก” จากเว็บ “gourmetandcuisine”
อ้างอิงที่มา (Reference)
ขอบคุณข้อมูลจากเว็บ krua
++++++++++++++++++++
#อาหารไทย #อาหารไทยโบราณ #อาหารว่าง #อาหารว่างโบราณ #แป้งข้าวหมาก #ข้าวหมาก #ขนมไทย
https://www.facebook.com/share/p/AG4D19QU5uijbeDU/