18/06/2025
Bringing Living Heritage to Classrooms in Southern Thailand การนำมรดกภูมิปัญญามาสู่ห้องเรียนในภาคใต้ของประเทศไทย เสริมศักยภาพครูเพื่อพลเมืองโลกศึกษา
City Connext และ UNESCO Bangkok ร่วมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ร่วมออกแบบกระบวนการและจัดการอบรมครูเรื่อง “การนำมรดกภูมิปัญญามาสู่ห้องเรียนในภาคใต้ของประเทศไทย” ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 13-15 มิถุนายน พ.ศ. 2568 ณ โรงแรมลีการ์เดนส์พลาซ่า อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
โครงการนี้มีเป้าหมายหลักคือ การช่วยให้คุณครูระดับประถมศึกษาในพื้นที่ สามารถออกแบบแผนการสอนที่เอา "มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม" หรือที่เราเรียกว่า "มรดกที่มีชีวิต" เข้าไปอยู่ในบทเรียนได้อย่างเป็นรูปธรรม
คุณครูและศึกษานิเทศก์จาก 6 จังหวัดภาคใต้ ทั้งสตูล, พัทลุง, สงขลา, ปัตตานี, ยะลา, นราธิวาส ยังมีศึกษานิเทศก์และนักวิชาการศึกษา รวมถึงนักศึกษาจากคณะศึกษาศาสตร์และคณะวิทยาการอิสลาม ม.อ.ปัตตานี เข้าร่วมกิจกรรมด้วย จำนวน 15 คน โดยมีทีมวิทยากรหลักจากคณะศึกษาศาสตร์ ม.อ.ปัตตานี และผู้เชี่ยวชาญทั้งในและต่างประเทศ อย่าง ดร.เฉลิมชัย พันธ์เลิศ จาก สพฐ., ศ.ดร.ฟาโรห์ บิน ซาคาเรีย และ ดร.วัน โมฮัมหมัด นาซดรอล บิน วัน โมฮัมหมัด นาซีร์ จากมหาวิทยาลัยมาเลเซีย รัฐกลันตัน มาร่วมให้ความรู้
หัวใจสำคัญของการอบรมคือ การทำความเข้าใจมรดกที่มีชีวิตในแบบฉบับภาคใต้ของเรา แล้วนำไปเชื่อมโยงกับการศึกษาเพื่อสร้าง "พลเมืองโลก". เป้าหมายคือการทำให้เด็กๆ เห็นคุณค่าและภูมิใจในวัฒนธรรมของตัวเองที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย และยังเชื่อมโยงบทเรียนกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) นอกจากนี้ ยังมีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานกับชุมชนในมาเลเซีย และลงพื้นที่สำรวจมรดกในหาดใหญ่ผ่านเครื่องมือการสำรวจย่านผ่านการเดิน
องค์ประกอบหลักของการอบรมประกอบด้วย 'พลเมืองโลกศึกษา (GCED)' การสำรวจวิธีการบูรณาการแนวคิดพลเมืองโลก เพื่อส่งเสริมความรู้สึกของการเป็นส่วนหนึ่งของมนุษยชาติร่วมกันและแก้ไขปัญหาระดับโลก มีการยกกรณีศึกษาการบูรณาการลวดลายเมารีเข้ากับวิชาคณิตศาสตร์ในนิวซีแลนด์ และการศึกษาอาหาร/หัตถกรรมท้องถิ่นในโรงเรียนญี่ปุ่น 'แผนที่วัฒนธรรมร่วม' การระบุองค์ประกอบทางวัฒนธรรมร่วมที่พบเห็นได้ทั่วไป (เรื่องเล่ามุขปาถะ, ศิลปะการแสดง, แนวปฏิบัติทางสังคม, งานหัตถกรรม, ความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติ, การละเล่นพื้นบ้าน, อาหาร) ในภาคใต้และรัฐใกล้เคียงของมาเลเซีย 'การมีส่วนร่วมของชุมชนและจริยธรรม' การแบ่งปันประสบการณ์จากมาเลเซียในการอนุรักษ์อัตลักษณ์ เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน การส่งผ่านความรู้ การปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัย และคุณค่าทางเศรษฐกิจของมรดก. ครูยังได้เรียนรู้เครื่องมือในการเก็บข้อมูล (การบันทึกเสียง/ภาพ, การสัมภาษณ์, ระบบดิจิทัล) และจริยธรรมในการทำงานภาคสนาม 'ขั้นตอนการออกแบบแผนการเรียนรู้' กระบวนการที่เป็นระบบในการพัฒนาแผนการเรียนรู้ที่บูรณาการ ICH ครอบคลุมการทำความเข้าใจบริบทท้องถิ่น, การกำหนดคำถามสำคัญ, การออกแบบกิจกรรม, การบันทึกผล และการประเมิน 'การศึกษาอิงพื้นที่และตัวอย่างท้องถิ่น' การส่งเสริมการเรียนรู้ที่ยึดโยงกับมรดกท้องถิ่น โดยนำเสนอกรอบหลักสูตรปัตตานีเฮอริเทจ และโครงการจากโรงเรียนต่างๆ เช่น "ข้าวยำอบกรอบ" ที่โรงเรียนยะหริ่ง และการออกแบบผ้าบาติกลายดอกบัวที่โรงเรียนอนุบาลปัตตานี 'กรณีศึกษาและการประยุกต์ใช้จริง' การทบทวนแผนการเรียนรู้ที่ประสบความสำเร็จจากผู้ชนะการประกวดแผนการเรียนรู้มรดกแห่งชีวิตเอเชียแปซิฟิกของยูเนสโกประจำปี 2023 (ภูฏาน, เวียดนาม, สิงคโปร์). ครูได้ลงมือออกแบบร่างแผนการเรียนรู้จากมรดกภูมิปัญญาในท้องถิ่นของตน เช่น "เกลือหวาน" ในปัตตานี และได้รับข้อเสนอแนะเชิงสร้างสรรค์จากวิทยากร
โครงการนี้ถือเป็นก้าวสำคัญในการอนุรักษ์และส่งเสริมมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม โดยการนำมาบูรณาการในระบบการศึกษา เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในอัตลักษณ์ท้องถิ่นและพลเมืองโลกในหมู่คนรุ่นใหม่
_
UNESCO, in collaboration with City Connext and Prince of Songkla University, Pattani Campus, is proud to announce the successful conclusion of the teacher training program, "Bringing Living Heritage to Classrooms in Southern Thailand," held from June 13-15, 2025, at the Lee Gardens Plaza Hotel in Hat Yai, Songkhla
This initiative aimed to empower primary school teachers to develop lesson plans that integrate Intangible Cultural Heritage (ICH) or Living Heritage into formal education. The program builds upon UNESCO's successful implementation of similar projects in 14 other Asia-Pacific countries.
The training brought together teachers and educational supervisors from Satun, Phatthalung, Songkhla, Pattani, Yala, Narathiwat provinces. There were also educational supervisors and educational scholars, including students from the Faculty of Education and the Faculty of Islamic Studies, PSU Pattani, totaling 15 people, who joined the activity. Led by faculty from the Faculty of Education, Prince of Songkla University, Pattani Campus, along with national and international experts such as Dr. Chalermchai Panlert from OBEC, Prof. Dr. Farok Bin Zakaria, and Dr. Wan Mohd Nazdrol bin Wan Mohd Nasir from University of Malaysia Kelantan, the program covered crucial topics
A central focus was the understanding of Living Heritage within the Southern Thai context, viewed through the lens of Global Citizenship Education (GCED). This approach emphasized recognizing the dynamic nature of cultural heritage, fostering pride, and connecting classroom learning to Sustainable Development Goals (SDGs) through practical lesson plan design. Participants also shared experiences working with local communities in Malaysia and engaged in fieldwork activities exploring Hat Yai's heritage
Key components of the training included: Global Citizenship Education (GCED): Exploring how to integrate GCED concepts, promoting a sense of shared humanity and addressing global issues. Case studies included integrating Maori patterns into math in New Zealand and local food/craft studies in Japanese schools, Shared Heritage Mapping: Identifying common cultural elements (oral traditions, performing arts, social practices, crafts, knowledge of nature, folk games, foods) within the region, Community Engagement and Ethics: Sharing Malaysian experiences in preserving identity, strengthening communities, transmitting knowledge, adapting heritage, and recognizing its economic value. Teachers were also introduced to tools for data collection (audio/visual, interviews, digital systems) and ethical considerations for fieldwork, Six-Step Lesson Plan Design: A structured process for developing ICH-integrated lesson plans, covering local context understanding, key questions, integration methods, activity design, documentation, and evaluation, Place-Based Education and Local Examples: Promoting learning rooted in local heritage, with examples like the Pattani Heritage Curriculum Framework and specific school projects, such as "Crispy Khao Yam" in Yaring School and batik design in Anuban Pattani School, Case Studies and Practical Application: Reviewing successful lesson plans from the 2023 UNESCO Asia-Pacific Living Heritage Lesson Plan Contest (Bhutan, Vietnam, Singapore). Teachers actively designed draft lesson plans based on local ICH, such as "sweet salt" in Pattani, and received constructive feedback from trainers.
This program represents a significant step towards preserving and promoting intangible cultural heritage by integrating it into the formal education system, fostering a deeper understanding of local identity and global citizenship among the next generation
_
PSU Pattani Campus - มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี