CSE Reward เทคโนโลยีควบคู่การเกษตร ธุรกิจเพื่อสังคม
กลุ่มวิสาหกิจชุมชน และ เกษตรกรผู้ปลูกโกโก้ไทย

21/04/2025
28/03/2025

มาเลเซีย เมืองโรงงานช็อกโกแลต อันดับ 1 อาเซียน นำเงินเข้าประเทศปีละ 60,000 ล้าน /โดย ลงทุนแมน
หลายคนคงคิดไม่ถึงว่า “มาเลเซีย” เป็นหนึ่งในผู้ผลิตช็อกโกแลตและโกโก้รายใหญ่ของโลก

ด้วยส่วนแบ่งตลาดราว 3% ของโลก ครองอันดับ 11 ของโลก และอันดับ 1 ของอาเซียน พร้อมกวาดรายได้เข้าประเทศต่อปีไม่ต่ำกว่า 60,000 ล้านบาท

แต่รู้ไหมว่า นี่ไม่ใช่เรื่องบังเอิญที่เกิดขึ้น เพราะมาจากความตั้งใจของรัฐบาลมาเลเซีย ที่ต้องการแก้ปัญหาความยากจนของเกษตรกรในประเทศ

มาเลเซียกลายเป็นโรงงานช็อกโกแลตได้อย่างไร ?
แล้วช็อกโกแลต ไปเกี่ยวอะไรกับความยากจน ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
ย้อนไปในช่วงศตวรรษที่ 18 เมื่อชาวยุโรปสามารถนำโกโก้จากอเมริกาใต้ ไปปลูกที่แอฟริกาได้สำเร็จ จึงเริ่มนำโกโก้ไปปลูกในทวีปเอเชียบ้าง

หนึ่งในนั้นคือ มาเลเซีย ที่ชาวยุโรป เช่น โปรตุเกสหรืออังกฤษ พยายามนำโกโก้มาทดลองปลูก สมัยที่มาเลเซีย ยังอยู่ภายใต้การปกครองในฐานะประเทศอาณานิคม

แต่ความสำเร็จจากอีกที่หนึ่ง ก็ไม่ได้แปลว่าจะสำเร็จอีกที่หนึ่งเสมอไป เพราะสุดท้าย มาเลเซีย ก็ไม่เหมาะกับการปลูกโกโก้อยู่ดี

คือปลูกได้บ้าง แต่ก็ไม่สามารถปลูกเป็นฟาร์มขนาดใหญ่
ที่คุ้มค่ากับการลงทุน

จนเวลาผ่านไป หลังจากมาเลเซียได้รับเอกราชจากอังกฤษในปี 1957 หน่วยงานเกษตรของรัฐซาบาห์ ก็เริ่มวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์โกโก้ที่ปลูกได้ในมาเลเซีย

จนในที่สุด ก็สามารถดัดแปลงสายพันธุ์โกโก้ที่ชื่อ Sabah Hybrid จนปลูกที่มาเลเซียได้สำเร็จ ทำให้รัฐบาลมาเลเซียผลักดันให้มีการปลูกโกโก้สายพันธุ์ใหม่ในทันที

แต่ปัญหาคือ ด้วยความที่โกโก้ไม่ได้เป็นพืชท้องถิ่นดั้งเดิมของมาเลเซีย การส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชชนิดใหม่ ที่ไม่รู้ว่าจะคุ้มค่ากับการลงทุนหรือไม่ จึงเป็นเรื่องที่ยากมาก

รัฐบาลมาเลเซีย จึงพยายามค้นหากลุ่มเกษตรกรที่น่าจะยอมรับพืชชนิดใหม่นี้ได้ง่าย จนมาพบกับกลุ่มเกษตรกรรายย่อยที่ปลูกมะพร้าวเป็นหลัก

กลุ่มเกษตรกรปลูกมะพร้าว เป็นกลุ่มที่ยากจน เพราะผลผลิตต่อไร่ที่น้อย แต่ดินที่ปลูกมะพร้าว มีความเหมาะสมมากกับการปลูกพืชชนิดใหม่อย่างโกโก้

เพื่อช่วยแก้ปัญหาความยากจน ไปพร้อมกับการปลูกโกโก้ในพื้นที่ที่เหมาะสม รัฐบาลมาเลเซียจึงโฟกัสให้เกษตรกรที่ปลูกมะพร้าวหันมาปลูกโกโก้มากขึ้น

และเพื่อให้เกษตรกรเปลี่ยนมาปลูกโกโก้ได้ รัฐบาลจึงมีการให้เงินช่วยเหลือหรืออุปกรณ์การเกษตรเพิ่มเติมอีกด้วย

หลังจากที่มีเกษตรกรหลายราย หันมาปลูกโกโก้มากขึ้นแล้ว มาเลเซียก็เริ่มแผนต่อไป ด้วยการจัดการพื้นที่ปลูก

ไม่ว่าจะเป็นการกระจายการปลูกโกโก้ไปแต่ละรัฐ
รวมไปถึงการส่งเสริมให้เกษตรกรรวมกลุ่มในแต่ละพื้นที่
เพื่อสร้างอำนาจต่อรองสินค้ามากขึ้น

นอกจากนี้ เมื่อผลผลิตออกมามากขึ้น ก็มีการตั้งศูนย์ตรวจคุณภาพของเมล็ดโกโก้ในหลายเมือง เพื่อให้มั่นใจได้ว่า โกโก้มาเลเซีย มีคุณภาพจริง ๆ ก่อนส่งออกไปต่างประเทศ

อย่างไรก็ตาม ถ้าส่งออกแค่โกโก้อย่างเดียว ก็ไม่สามารถขายแพงได้มากกว่านี้แล้ว เพราะเป็นแค่วัตถุดิบตั้งต้น ที่ส่งออกไปให้ประเทศอื่นเท่านั้น

ในปี 1985 รัฐบาลมาเลเซียเลยเปลี่ยนกลยุทธ์ใหม่ ด้วยการหันมาจูงใจให้มีโรงงานผลิตช็อกโกแลตและสินค้าต่อยอดจากโกโก้มากขึ้น

โดยจูงใจให้บริษัทผู้ผลิตช็อกโกแลตต่างชาติมาลงทุนในประเทศ เช่น Cadbury, Van Houten, Nestlé หรือ Barry Callebaut เพื่อแปรรูปโกโก้ในมาเลเซีย

จนปัจจุบัน รู้ไหมว่าโรงงานผลิตไมโลที่ใหญ่สุดในโลกของ Nestlé อยู่ที่มาเลเซียนี่เอง..

และด้วยการส่งเสริมให้มีโรงงานแปรรูปโกโก้ที่มีมูลค่าสูงขึ้น ก็ทำให้บริษัทท้องถิ่นได้ประโยชน์ตามไปด้วย

โดยเฉพาะ Apollo Food Holdings ที่เคยทำแค่ผงโกโก้หรือเนยโกโก้ที่ราคาต่ำ ปัจจุบันก็หันมาขายช็อกโกแลตแท่งสีแดงยี่ห้อ Apollo ที่มีราคาสูงขึ้นได้แล้ว

ซึ่งปัจจุบัน บริษัทนี้มีมูลค่าราว 4,000 ล้านบาท

หลังจากที่มีทั้งโรงงานแปรรูปและผลผลิตโกโก้ในประเทศ
เรื่องราวก็เหมือนไปได้สวย แต่สุดท้ายราคาโกโก้ในตลาดโลก ก็เริ่มผันผวนมากขึ้น

ทำให้กระทบกับเกษตรกรผู้ผลิตโกโก้ในประเทศ ที่มีความเสี่ยงเรื่องรายได้ไม่แน่นอน แถมอาจมีรายได้น้อยลง เพราะราคาในตลาดโลกที่ลดลงแบบควบคุมไม่ได้

รัฐบาลมาเลเซีย จึงตัดสินใจแก้ปัญหาเรื่องนี้ในปี 1988 ด้วยการตั้งตลาดซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตร หรือ Kuala Lumpur Commodity Exchange

กลไกของตลาดซื้อขายล่วงหน้า ทำให้เกษตรกรสามารถทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ในราคาที่กำหนดไว้

พอรู้ราคาล่วงหน้าที่แน่นอนในระดับหนึ่ง และล็อกราคาซื้อขายไว้ได้ ก็ช่วยให้เกษตรกร สามารถควบคุมต้นทุน และวางแผนการผลิตได้ดีขึ้น

ซึ่งไม่ได้เป็นผลดีกับผู้ปลูกโกโก้เท่านั้น แต่ยังรวมถึงผู้ปลูกสินค้าเกษตรอื่น ๆ ภายในประเทศ เช่น น้ำมันปาล์ม, ยางพารา

จากความสำเร็จทั้งหมดนี้ ก็ส่งผลให้มาเลเซียขึ้นแท่นเป็นประเทศส่งออกช็อกโกแลตและโกโก้อันดับ 1 ของอาเซียน

โดยในปี 2023 สามารถกวาดรายได้จากการส่งออกตรงนี้ไปกว่า 61,200 ล้านบาทเลยทีเดียว

ซึ่งในจำนวนนี้ มีการส่งออกช็อกโกแลตแท่งราว 13%
ส่วนที่เหลือเป็นวัตถุดิบในการผลิตช็อกโกแลต เช่น
ผงโกโก้ เนยโกโก้ หรือโกโก้เหลว

ก็ไม่น่าเชื่อว่า จากประเทศที่ไม่ได้เป็นต้นกำเนิดของโกโก้มาก่อน
มาวันนี้ มาเลเซียกลับเป็นประเทศที่ส่งออกช็อกโกแลตและโกโก้อันดับ 11 ของโลกได้

และไม่ใช่แค่สามารถกวาดรายได้เป็นหลายหมื่นล้านบาทได้เท่านั้น
แต่ยังเป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาความยากจนของเกษตรกรในประเทศได้อีกด้วย..
╔═══════════╗
ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
TikTok - tiktok.com/
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงทุนแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
- Working Paper : The Cocoa Industry in Malaysia by Abdul Aziz Abdul Rahman
- https://www.choco-story.be/Expeditions/Malaysia

24/03/2025
16.03.68ห้องประชุม บมจ.คาเคาโอ้-โกโก้ จัดสัมมนา "การปลูกโกโก้ และ มูลค่าในอุตสาหกรรมธุรกิจโกโก้ทั่วโลก" งานนี้ได้รับเกีย...
17/03/2025

16.03.68ห้องประชุม บมจ.คาเคาโอ้-โกโก้
จัดสัมมนา "การปลูกโกโก้ และ มูลค่าในอุตสาหกรรมธุรกิจโกโก้ทั่วโลก" งานนี้ได้รับเกียรติจากคุณ ภิญโญ รู้ธรรม
ผู้ก่อตั้งบริษัท คาเคา ซีเอสอี จำกัด (ธุรกิจเพื่อสังคม)
เล่าถึงโครงการ ที่ผลักดันให้โกโก้เป็นอีกหนึ่งเพื่อเศรษฐกิจ
ของประเทศไทย ด้วยการสนับสนุนความรู้การปลูกโกโก้
และ จัดหาแหล่งทุนสนับสนุน จัดซื้อต้นกล้า 1ล้านต้น
เพื่อแจกให้กับกลุ่มกษตรกรฟรี ผ่านกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทั่วประเทศ ทั้งนี้ วสช.ฯ ที่สนใจ
สามารถติดต่อที่ 020965242 ต่อ 3

10.03.68 CSE Reward (Token)  ได้รับเชิญเข้าร่วมงาน Bitkub Chain New Era ในฐานะPartnerทีมพัฒนาCSEได้รับการต้อนรับ ถ่ายภาพ...
11/03/2025

10.03.68 CSE Reward (Token) ได้รับเชิญ
เข้าร่วมงาน Bitkub Chain New Era ในฐานะPartner
ทีมพัฒนาCSEได้รับการต้อนรับ ถ่ายภาพคู่ผู้บริหาร
คุณภาสกร ปานนอก (ออฟ)
Chief Executive Officer
บริษัท บิทคับ บล็อคเชน เทคโนโลยี จำกัด

07.03.68 ทีม CSE Reward (Token)  มาเยี่ยมเยือน สวนโกโก้ภาคตะวันออกร่วมหารือกับ คุณขวัญเรือน ปธ.วสชฯ ในโครงการแจกต้นกล้าโ...
08/03/2025

07.03.68 ทีม CSE Reward (Token)
มาเยี่ยมเยือน สวนโกโก้ภาคตะวันออก
ร่วมหารือกับ คุณขวัญเรือน ปธ.วสชฯ ในโครงการแจกต้นกล้าโกโก้ และ พัฒนาองค์ความรู้ในการเพิ่มมูลค่าทางการตลาดให้กลุ่มเกษตรกร ณ วิสาหกิจชุมชนโกโก้บ้านสวนขวัญณรงค์ท่าตะเกียบ
วิสาหกิจชุมชนฯ ใดสนใจร่วมโครงการ
ติดต่อโทร 020965242 ต่อ 3
หรือ อีเมล์ [email protected]

04/03/2025
CSE Reward (Token) เริ่มกิจกรรมมอบต้นโกโก้ฟรี🎉ให้เกษตรกรเป้าหมาย1ล้านต้น ผ่านกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ2.3.68 ได้รับเกียรติจาก ...
03/03/2025

CSE Reward (Token) เริ่มกิจกรรมมอบต้นโกโก้ฟรี🎉
ให้เกษตรกรเป้าหมาย1ล้านต้น ผ่านกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ
2.3.68 ได้รับเกียรติจาก สส. ปัญญารัตน์ นันทภูษิตานนท์ และ สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนส่งเสริมการเกษตรการแปรรูป และ การท่องเที่ยวเชิงเกษตรนนทบุรี
ร่วมขับเคลื่อนเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแรกในการเริ่มโครงการครับ

พันธมิตรของเรา ผู้ที่สนับสนุน นำเปลือกเมล็ดโกโก้มาทำเป็นเครื่องดื่มโกโก้ซ่าอันแสนอร่อยของเราครับ
26/02/2025

พันธมิตรของเรา ผู้ที่สนับสนุน นำเปลือกเมล็ดโกโก้มาทำเป็นเครื่องดื่มโกโก้ซ่าอันแสนอร่อยของเราครับ

🌱 ปลูกโกโก้ เมืองนนท์ เริ่มต้นที่ฟังกี้คาเฟ่ (บางรักน้อย) 🌱by สส.ปัญญารัตน์ขอเชิญทุกท่านมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการปลูกต้น...
25/02/2025

🌱 ปลูกโกโก้ เมืองนนท์ เริ่มต้นที่ฟังกี้คาเฟ่ (บางรักน้อย) 🌱
by สส.ปัญญารัตน์

ขอเชิญทุกท่านมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการปลูกต้นโกโก้แห่งแรกในจังหวัดนนทบุรี!

📅 วันอาทิตย์ที่ 2 มีนาคม
⏰ เวลา 08.00 - 11.00 น.
📍 สถานที่: ฟังกี้คาเฟ่ ม.1 ต.บางรักน้อย
📌 แผนที่: https://maps.app.goo.gl/rZ62Tkpi1A4ep2WLA

🌿 ปลูกโกโก้จำนวน 50 ต้น 🌿
✨ มาก่อนได้ปลูกก่อน! มาร่วมสร้างจุดเริ่มต้นของสวนโกโก้เมืองนนท์ไปด้วยกันนะคะ ✨

🔗 ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมที่นี่: https://forms.gle/Q2yhYJhVRBfrDMtU7

แล้วพบกันค่ะ! 💚

24/02/2025

🚫 ถ้ามนุษย์ยังปล่อยคาร์บอนไม่หยุด! ในอีก 25 ปี เราอาจไม่ได้มีช็อกโกแลตให้ฟิน! เพราะการปล่อยคาร์บอนส่งผลให้โลกร้อนและส่งผลกระทบในหลายปัจจัยที่ทำให้ต้นโกโก้ ไม่ผลิต ‘เมล็ดโกโก้’ ซึ่งเป็นหัวใจหลักของการทำ ‘ช็อกโกแลต’ 🍫🔥

🌴 ต้นโกโก้โตยาก: ต้นโกโก้ต้องการอากาศเย็นพอดี (20-30°C) แต่เพราะโลกร้อนทำให้สภาพแวดล้อมไม่เหมาะกับการเติบโต
⛈️ สภาพอากาศแปรปรวน: ปริมาณฝนผิดปกติ ทำให้ต้นโกโก้ขาดน้ำ เติบโตลำบาก
🪲โรคพืชและแมลงระบาด: อากาศร้อนช่วยให้ศัตรูพืชและโรคระบาดโจมตีต้นโกโก้หนักขึ้น

📍 ผลกระทบ
- ต้นโกโก้อาจสูญพันธ์ุหรือมีน้อยลง
- ราคาของช็อกโกแลตจะสูงขึ้นจนหาซื้อไม่ได้

รีบลงมือแก้ปัญหาโลกร้อนตอนนี้ ก่อนสูญเสีย ‘ช็อกโกแลต’ ไปตลอดกาล
📌 ลดการใช้พลาสติก หันมารักษ์โลก
📌 เลือกใช้พลังงานสะอาด เซฟไฟไม่เปลือง
📌 อุดหนุนโกโก้จากแหล่งปลูกยั่งยืน
📌 ปลูกต้นไม้ให้โลกคูล

อย่าปล่อยให้ความหวานของช็อกโกแลตหายไปเพราะการกระทำของเรา! 🌱🍫 ร่วมกันเปลี่ยนแปลงวันนี้ เพื่อโลกที่ดีกว่าและช็อกโกแลตที่ยังอยู่กับเรา! 💡

#ชีวิตง่ายได้ทุกวัน #ช็อกโกแลต #โลกร้อน

ที่อยู่

Bang Bua Thaung

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ CSE Rewardผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

แชร์