ปาจารยสาร

ปาจารยสาร วารสารราย ๔ เดือน พิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๔

วารสารราย ๔ เดือน พิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อปี กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๔ ถือได้ว่าเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่เก่าแก่เแขนงหนึ่งในเมืองไทย ที่ยังคงความเข้มข้น มีเนื้อหาสะท้อนสังคม ประวัติศาสตร์ การเมือง และวัฒนธรรมที่หาอ่านที่ไหนไม่ได้
-----------------
นิตยสารภายใต้สังกัดมูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป เพื่อ "ความดี ความจริง และความงาม" ของโลกและสังคม ด้วยเนื้อหานอกกระแสหลักที่มีแนวคิดหลักที่ต่างกันทุกฉบับยาวนานกว่า

๕๐ ปี

PAJARAYASARA MAGAZINE
This Journal by Sathienkoses-Nakaprateepa Foundation has been for the truth, wellness and beauty of social and the world for more than 50 years

ปาจารยสาร ฉบับ รำลึก "นิลฉวี ศิวรักษ์" คู่ชีวิตของส. ศิวรักษ์พร้อมบทความพิเศษ: บันทึกสายสัมพันธ์ระหว่างสมเด็จพระพุทธโฆษา...
26/06/2025

ปาจารยสาร ฉบับ รำลึก "นิลฉวี ศิวรักษ์" คู่ชีวิตของส. ศิวรักษ์
พร้อมบทความพิเศษ: บันทึกสายสัมพันธ์ระหว่างสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต) และส. ศิวรักษ์
โดย นริศ จรัสจรรยาวงศ์
"ท่านเจ้าประคุณสมเด็จเปรยว่านานหลายปีมากแล้วที่ท่านไม่ได้กลับมา ณ ที่แห่งนี้ ... “ครั้งแรกที่พบอาจารย์สุลักษณ์ ท่านนั่งอยู่ตรงนี้ หน้าประตูทางเข้าชั้นล่างกุฏิแห่งนี้” ซึ่งเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นราวปี พ.ศ. 2505 หลังจากอาจารย์สุลักษณ์เพิ่งกลับจากอังกฤษ และเจ้าประคุณสมเด็จเพิ่งเข้ารับการอุปสมบทกับสมเด็จพระสังฆราช โดยมีเจ้าคุณกีเป็นพระคู่สวดให้ นับจากนั้นไม่นาน ส.ศิวรักษ์ ก็ได้สานความสัมพันธ์กับพระมหาประยุทธ์รูปนี้ โดยเริ่มต้นขอต้นฉบับจากท่านเพื่อตีพิมพ์ลงวารสารสังคมศาสตร์ปริทัศน์ พร้อมทั้งนิมนต์ท่านแสดงปาฐกถาที่สยามสมาคมจนมีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่รู้จักในวงกว้างเมื่อปี พ.ศ. 2511 และที่สำคัญ ยังเป็นอาจารย์สุลักษณ์ ที่ได้อาราธนาเจ้าคุณพระมหาประยุทธ์เมื่อครองสมพระศรีวิสุทธิโมลีแล้ว ประพันธ์หนังสือที่ต่อมาคือหนึ่งในหนังสือธรรมะที่เลิศล้ำที่สุดในวงการพระพุทธศาสนาเถรวาทชื่อว่า ‘พุทธธรรม’ เพื่อจัดพิมพ์เป็นครั้งแรกในงานฉลองวันเกิด 80 ปี เมื่อ พ.ศ. 2514 ของ ‘พระองค์วรรณ’ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์"
ท่านที่สนใจ สามารถสั่งซื้อปาจารยสารได้ทาง inbox หรือคอมเมนท์ไว้ที่ใต้โพสได้เลย
เล่มละ 130 บาท (รวมค่าส่งแล้ว)

📚 เสถียร โพธินันทะ: จาก “คฤหัสถ์ขมังเวทย์” สู่ “ฆราวาสมุนี”จากบทความปกวารสารปาจารยสาร สู่หนังสือเล่มเต็มวารสาร ปาจารยสาร...
06/06/2025

📚 เสถียร โพธินันทะ: จาก “คฤหัสถ์ขมังเวทย์” สู่ “ฆราวาสมุนี”
จากบทความปกวารสารปาจารยสาร สู่หนังสือเล่มเต็ม

วารสาร ปาจารยสาร ปีที่ 45 ฉบับปก “เสถียร โพธินันทะ” เคยได้รับความสนใจอย่างล้นหลาม จนขาดตลาดไปนานหลายปี
ตลอดเวลานั้น กองบรรณาธิการได้รับคำถามซ้ำแล้วซ้ำเล่าว่า “จะหาฉบับนี้ได้จากที่ไหน?”

บัดนี้ —
นริศ จรัสจรรยาวงศ์ ผู้เขียนบทความดังกล่าว ได้ขยายขอบเขตงานเดิมอย่างลุ่มลึก พร้อมทั้ง ปริวรรตคัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับลายมือของอาจารย์เสถียร มาจัดพิมพ์ใหม่ในรูปเล่มสมบูรณ์
ภายใต้ชื่อ
🔸 “เสถียร โพธินันทะ: จาก คฤหัสถ์ขมังเวทย์ สู่ ฆราวาสมุนี”
จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์แสงดาว จำนวนความหนากว่า 400 หน้า

ผลงานชิ้นนี้ได้รับคำนิยมจาก
✒️ พระไพศาล วิสาโล
✒️ ส. ศิวรักษ์
✒️ Prof. Martin Seeger

เนื่องในวาระรำลึก ชาตกาล 96 ปี (8 รอบกษัตร) ของ “ฆราวาสมุนี” ผู้ลุ่มลึกในพุทธธรรมและศาสตร์ไสย
ขอเชิญร่วมงานเปิดตัวหนังสือและเสวนาพิเศษ

📅 วันอาทิตย์ที่ 22 มิถุนายน 2568
🕜 เวลา 13.30 – 16.00 น.
📍 ณ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ (สวนโมกข์กรุงเทพฯ)

🔗 ลงทะเบียนเข้าร่วมงานได้ที่
👉 https://www.facebook.com/share/p/1C1fN9cDwi/

ปู่พาเที่ยว : ช้างกับกษัตริย์ ความสัมพันธ์ระหว่างคนและช้างในสมัยรัชกาลที่ 2 คือพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ท่านเตรียมจะบวชพระจ...
07/04/2025

ปู่พาเที่ยว : ช้างกับกษัตริย์ ความสัมพันธ์ระหว่างคนและช้าง
ในสมัยรัชกาลที่ 2 คือพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ท่านเตรียมจะบวชพระจอมเกล้าฯ ท่านเป็นเจ้าฟ้า ต้องจัดพิธีบวชใหญ่ให้เลย แต่ช้างเผือกล้ม (เสียชีวิต) ท่านก็เลยบอกว่า “พ่อไม่มีจิตใจที่จะทำพิธีบวชให้ ให้บวชตามประเพณีก็แล้วกัน” พอพระจอมเกล้าฯ บวชได้ไม่กี่วัน รัชกาลที่ 2 ท่านก็สวรรคต ตามความเชื่อของเรานั้นช้างกับเจ้าของนั้น รักใคร่กันมาก เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน รัชกาลที่ 2 ท่านก็สวรรคตหลังจากช้างเพียงไม่นาน
ส่วนพระเจ้าสีป่อ กษัตริย์ของพม่านั้น เมื่อเสียเมืองให้อังกฤษ เวลานั้นอังกฤษเลวร้ายมาก ไม่ให้ท่านขึ้นช้าง จับท่านใส่เกวียนทั้งผัวเมีย คือพระนางศุภยาลัต เข็นไปขึ้นเรือ เอาไปไว้ที่อินเดีย พระเจ้าสีป่อลงเรือไปไม่ทันข้ามคืน ช้างเผือกคู่พระบารมีก็ล้ม จะเห็นได้ว่าช้างกับคนมีสัมพันธ์ใกล้ชิดกันมาก
ส. ศิวรักษ์ พาชมอุทยานแห่งชาติกุยบุรี ประจวบคีรีขันธ์ พาดูช้าง กระทิง หมู่ป่า กวาง และสัตว์ป่านานาพันธุ์ พร้อมเกร็ดประวัติศาสตร์ที่สำคัญเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างช้างกับคน โดยเฉพาะในเมืองไทย ที่ช้างกับพระมหากษัตริย์มีความสัมพันธ์กันมาอย่างยาวนาน และลึกซึ้ง
*บันทึกเทปเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2564*

ในสมัยรัชกาลที่ 2 คือพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ท่านเตรียมจะบวชพระจอมเกล้าฯ ท่านเป็นเจ้าฟ้า ต้องจัดพิธีบวชใหญ...

"อาจารย์สุลักษณ์ ได้ส่งหนังสือปาจารยสารปีที่ 52 ฉบับที่ 2 มาให้ ในหนังสือมีบทความเกี่ยวกับอาจารย์ชัยวัฒน์อยู่สามบทความ เ...
26/01/2025

"อาจารย์สุลักษณ์ ได้ส่งหนังสือปาจารยสารปีที่ 52 ฉบับที่ 2 มาให้ ในหนังสือมีบทความเกี่ยวกับอาจารย์ชัยวัฒน์อยู่สามบทความ เป็นของอาจารย์สุลักษณ์ พระไพศาล และคุณอุทัย … ผมได้อ่านบทความแล้วรู้สึกว่าทั้งสามท่านรู้จักอาจารย์ชัยวัฒน์อย่างดีมาก … วันนี้ผมจะขออนุญาต สิ่งที่ผมจะพูดต่อไปนี้ จะผ่านคนสามคนที่รู้จักอาจารย์ชัยวัฒน์ดีมากกว่าผม และดีมากกว่าคนหลายคน ทั้งสามคนเขียนภาษาได้เพราะพริ้งและรู้จักอาจารย์ชัยวัฒน์อย่างแท้จริง"
คุณอานันท์ ปันยารชุน
ปาฐกถาชัยวัฒน์ สถาอานันท์
24 ม.ค. 2568

ทางกองบรรณาธิการปาจารยสารขอขอบพระคุณคุณอานันท์ ปันยารชุนที่ให้เกียรติพูดถึงปาจารยสารปีที่ 52 ฉบับที่ 2 ในงานปาฐกถาชัยวัฒน์ สถาอานันท์เมื่อวันที่ 24 ม.ค. 2568

ท่านที่สนใจ ยังสามารถสั่งซื้อปาจารยสารฉบับดังกล่าวได้อยู่นะครับ ติดต่อมาได้ทาง inbox เพจเลยครับ
เล่มละ 130 บาท (รวมค่าส่งแล้ว) #ท่านพุทธทาสภิกขุ #ชัยวัฒน์สถาอานันท์

ขอบคุณภาพจากทีมงานรางวัลชัยวัฒน์ สถาอานันท์

“ในสังคมมนุษย์ทั่วไป มักจะมีกลุ่มคนบางกลุ่มที่ถือตนว่าอยู่เหนือสามัญชนอื่น อาจเพราะถือตนว่ารู้ธรรมะ อยู่ใกล้ธรรมะมากกว่า...
23/01/2025

“ในสังคมมนุษย์ทั่วไป มักจะมีกลุ่มคนบางกลุ่มที่ถือตนว่าอยู่เหนือสามัญชนอื่น อาจเพราะถือตนว่ารู้ธรรมะ อยู่ใกล้ธรรมะมากกว่าผู้อื่น หรือถือว่าตนรู้วิชาการด้านใดด้านหนึ่งดีกว่าผู้อื่นบ่อยครั้งที่คนเหล่านี้ทำหน้าที่วินิจฉัยความถูกความผิดในสังคม หากคนเหล่านี้เป็น “ผู้เห็นธรรม” ที่แท้ หรือเป็น “ผู้รู้ทางวิชาการ” จริง สังคมก็น่าจะดีขึ้น งามขึ้น เป็นสุขเย็นขึ้น แต่โลกปัจจุบันมิได้จำกัดเฉพาะสังคมไทย กลับตกอยู่ในสภาวการณ์ตรงข้าม …”
“ในหมู่สามัญชนนั้น เมื่อมองสรรพสิ่งก็มักมองผ่านกระบวนความคิดที่ยังอยู่ห่างไกลธรรมะ ปัญหาจึงมิได้อยู่ที่ “ผู้เห็นธรรม” เป็นใครหรือคิดอย่างไร สอนอย่างไร แต่อาจอยู่ที่สามัญชนมองเห็นใครเป็น “ผู้เห็นธรรม” ฟัง “ธรรมะ” แบบใด และเอามาใช้อย่างไรมากกว่า … หมายความต่อไปว่า “ผู้เห็นธรรม” ในสังคมอาจมิใช่ “ผู้เห็นธรรม” ที่แท้ซึ่งเข้าใจ”
"ปรากฏการณ์ที่จะเกิดขึ้นตามมาก็คือ “ผู้เห็นธรรม” ที่ได้รับการแต่งตั้งจากสังคมก็จะทำหน้าที่เป็นผู้ผลิต “ภาษา” อีกชั้นหนึ่ง “ภาษา” ที่ผลิตโดยคนเหล่านี้มักจะถูกยอมรับว่าเป็น “ภาษาธรรม” ในสังคม วิธีการสร้าง “ภาษาธรรม” ในระดับนี้อาจเป็นการนำภาษาต่างประเทศที่เข้าใจได้ยากมาใช้เพื่อเพิ่มความขลังให้กับผู้ใช้ มีระบบการอ้างอิงที่ดูเป็นหลักเป็นฐานชนิดที่มหาชนมักจะยอมจำนน”
นับเป็นเรื่องน่าเศร้าใจยิ่งที่เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2567 แวดวงวิชาการไทยได้สูญเสียนักวิชาการและปัญญาชนสาธารณะคนสำคัญอย่างศาสตราจารย์ ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ไป อาจารย์เป็นผู้วางรากฐานเกี่ยวกับสันติวิธีในประเทศไทย ปาจารยสาร ปีที่ 53 ฉบับที่ 2 ประจำเดือน พฤษภาคม - สิงหาคม 2567 จะทุกท่านรำลึกอาจารย์ผ่านผลงานเกี่ยวกับท่านพุทธทาสภิกขุ ที่อาจารย์ได้เคยเขียนไว้ในในปาจารยสารฉบับ ปี 2529
เนื่องจากปาจารยสารฉบับนี้ต้องการจะรําลึกถึงการจากไปของอาจารย์ชัยวัฒน์ ทางผู้จัดทำจึงเห็นสมควรที่จะขอนำบทความชิ้นนี้กลับมาตีพิมพ์อีก พร้อมกันนี้ก็ได้ขอให้คุณภูริทัต หงส์วิวัฒน์ได้เขียนวิเคราะห์ต่อยอดในแง่มุมของพุทธศาสน์ศึกษาเอาไว้ด้วย
ท่านที่สนใจ สามารถสั่งซื้อปาจารยสารได้ทาง inbox หรือคอมเมนท์ไว้ที่ใต้โพสได้เลย
เล่มละ 130 บาท (รวมค่าส่งแล้ว) #ท่านพุทธทาสภิกขุ #ชัยวัฒน์สถาอานันท์

14 ตุลา 16 และ 6 ตุลา 19 : การปะทะระหว่างอำนาจรัฐและประชาชนเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และ 6 ตุลา...
14/10/2024

14 ตุลา 16 และ 6 ตุลา 19 : การปะทะระหว่างอำนาจรัฐและประชาชนเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตย
เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และ 6 ตุลาคม 2519 นับเป็นสองจุดเปลี่ยนสำคัญในประวัติศาสตร์การเมืองไทย ที่สะท้อนถึงการเผชิญหน้าระหว่างอำนาจรัฐแบบเผด็จการและขบวนการเคลื่อนไหวของนักศึกษาและประชาชนที่เรียกร้องเสรีภาพและประชาธิปไตย ท่ามกลางสถานการณ์ที่ซับซ้อนทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองของไทยในช่วงเวลานั้น
ในเหตุการณ์ 14 ตุลาฯ การเรียกร้องรัฐธรรมนูญใหม่ของขบวนการนักศึกษาประชาชนเกิดขึ้นท่ามกลางสภาพเผด็จการทหารที่ปกครองประเทศมาอย่างยาวนาน โดยมีนักศึกษาเป็นหัวหอกในการจัดตั้งการประท้วงครั้งใหญ่ ความกดดันที่สะสมมาเป็นเวลาหลายปีระเบิดออกมาเป็นการเคลื่อนไหวครั้งยิ่งใหญ่ที่ส่งผลให้รัฐบาลเผด็จการต้องล่มสลาย และนำไปสู่การจัดตั้งรัฐบาลพลเรือน การเปลี่ยนแปลงนี้ถือเป็นการปรับโครงสร้างทางการเมืองครั้งสำคัญที่สุดของไทยในยุคนั้น
อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ 6 ตุลาฯ กลับเป็นโศกนาฏกรรมที่สะท้อนถึงความขัดแย้งเชิงอำนาจที่ซับซ้อนมากขึ้น การล้อมปราบที่รุนแรงในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เกิดจากการต่อสู้ทางอุดมการณ์ระหว่างขบวนการนักศึกษาและอำนาจรัฐที่ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มอนุรักษนิยม เหตุการณ์ครั้งนี้ถูกบันทึกเป็นการใช้ความรุนแรงจากรัฐเพื่อยับยั้งความเคลื่อนไหวทางสังคม ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก
นอกจากบทบาทของนักศึกษาแล้ว ปัญญาชนที่มีส่วนสำคัญในการสนับสนุนและขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาดังกล่าว อาทิ หมอประเวศ วะสี, ธีรยุทธิ์ บุญมี, และ สุลักษณ์ ศิวรักษ์
หมอประเวศ วะสี มีบทบาทในการผลักดันความคิดเกี่ยวกับสุขภาวะทางสังคม และการปฏิรูปเชิงโครงสร้างเพื่อสร้างความเป็นธรรมทางการเมืองและสังคม เขาเป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนการเคลื่อนไหวทางประชาธิปไตยในช่วง 14 ตุลาคม 2516 และให้การสนับสนุนความคิดที่เสริมสร้างให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปฏิรูปสังคม
ธีรยุทธิ์ บุญมี เป็นนักศึกษาที่กล้าหาญและเป็นหนึ่งในผู้นำการเคลื่อนไหวในปี 2516 เขาเป็นผู้สนับสนุนแนวคิดประชาธิปไตยและการปลดปล่อยจากเผด็จการ ด้วยแนวคิดเชิงวิพากษ์และความสามารถในการชี้นำความคิดของนักศึกษา ธีรยุทธิ์ได้กลายเป็นบุคคลสำคัญที่จุดประกายการต่อสู้เพื่อเสรีภาพ
สุลักษณ์ ศิวรักษ์ หรือ "ส. ศิวรักษ์" เป็นนักคิดและนักเขียนที่กล้าออกมาแสดงความเห็นอย่างตรงไปตรงมา เขามีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนแนวคิดประชาธิปไตยและการต่อต้านอำนาจเผด็จการ ด้วยความเชื่อมั่นในเสรีภาพทางความคิดและความยุติธรรมทางสังคม แนวคิดของสุลักษณ์กลายเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในหมู่ปัญญาชนและนักเคลื่อนไหวทางการเมือง
หนังสือเล่มนี้นำเสนอการวิเคราะห์เชิงลึกถึงบทบาทของนักคิดและปัญญาชนที่มีอิทธิพลในช่วงเวลานั้น พร้อมทั้งเปิดเผยถึงความซับซ้อนของมิติทางการเมือง สังคม และอุดมการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยในประเทศไทย นักอ่านจะได้สำรวจบทเรียนจากประวัติศาสตร์ที่ยังคงมีอิทธิพลต่อการเมืองไทยในปัจจุบัน
สนใจหนังสือ "เพียงความเคลื่อนไหว 50 ปี 14 ตุลา" สามารถดูรายละเอียดได้ที่ บูธ B20 สำนักพิมพ์มูลนิธิเด็ก
ณ งานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 29
วันที่ 10-20 ตุลาคม 2567
ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ มูลนิธิเด็ก

“การพูดเรื่องเพศให้เป็นวิชาการ พูดเพศในองค์ความรู้จากคนไทย ไม่ใช่จากฝรั่ง... ‘รัก-ใคร่’ เป็นคำคู่กัน คนไทยเราจะเน้นเรื่อ...
31/05/2024

“การพูดเรื่องเพศให้เป็นวิชาการ พูดเพศในองค์ความรู้จากคนไทย ไม่ใช่จากฝรั่ง... ‘รัก-ใคร่’ เป็นคำคู่กัน คนไทยเราจะเน้นเรื่องรัก เราไม่ค่อยพูดเรื่องใคร่”
“ตำราสังวาสส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบตัวเขียนบนใบลานและสมุดไทย บางเล่มได้คัดลอกลงสมุดฝรั่งด้วยลายมือของผู้คัดลอก ฉบับพิมพ์ค่อนข้างหายาก เพราะพิมพ์ในวงการแคบ ๆ ไม่เผยแพร่มากนัก เช่น พระตำรับมวยบ้าน เหตุผลหนึ่งน่าจะเป็นเพราะเนื้อหาที่เป็นคู่มือการสังวาสใช้คำศัพท์และคำบรรยายตรงไปตรงมา หมิ่นเหม่ต่อคำนิยม ไม่สุภาพ เกินกว่าจะนำมาพิมพ์ขายได้ตามแผงหนังสือปกติต่างจากตำรานรลักษณ์ซึ่งมักรวมอยู่ในตำราโหราศาสตร์ หรือเป็นส่วนหนึ่งของตำราแพทย์แผนไทย” บางส่วนจากบทความ “มวยในบ้าน และตำราเพศ” ในสมุดจดปกรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2477
ปาจารยสาร ปีที่ 53 ฉบับที่ 1 ประจำเดือน มกราคม - พฤษภาคม 2567 จะพาทุกท่านไปหมกมุ่นเรื่องเพศ และเรื่องรัก ๆ ใคร่ ๆ ในแวดวงวิชาการ ว่ามีการบันทึกไว้อย่างไรบ้าง ในอดีตนั้น ตำราเพศศาสตร์เปรียบเสมือนคู่มือการสังวาสของชนชั้นสูง โดยเฉพาะพระมหากษัตริย์ซึ่งมีพระสนมเป็นจำนวนมาก จำเป็นต้องเรียนรู้ทั้งตำรานรลักษณ์และตำราสังวาส ถึงแม้ในศิลปะศาสตร์ 18 ประการ วิชาที่พระมหากษัตริย์ต้องเรียนรู้จะไม่มีกามศาสตร์รวมอยู่ด้วยก็ตาม (สุกัญญา สุจฉายา, 2564) กองสาราณียกร ภูมิใจนำเสนอให้ผู้อ่านได้สัมผัสเรื่องราวอันร้อนฉ่า ผ่านบทความเรื่องเพศในเล่มนี้ นอกจากจะมอบเกร็ดความรู้เรื่องเพศศึกษาแล้ว แง่มุมมิติเรื่องเพศในทางประวัติศาสตร์ อาจชวนให้ผู้อ่านตั้งคำถามอยู่มิใช่น้อย
ท่านที่สนใจ สามารถสั่งซื้อปาจารยสาร ฉบับ #ตำราเพศ ในปก #รัฐธรรมนูญ ได้ทาง inbox หรือคอมเมนท์ไว้ที่ใต้โพสได้เลย
เล่มละ 130 บาท (รวมค่าส่งแล้ว)

ที่อยู่

Bang Rak

เบอร์โทรศัพท์

+6624389331

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ ปาจารยสารผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ ธุรกิจของเรา

ส่งข้อความของคุณถึง ปาจารยสาร:

แชร์

ประเภท

Our Story

นิตยสารภายใต้สังกัดมูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป เพื่อ "ความดี ความจริง และความงาม" ของโลกและสังคม ด้วยเนื้อหานอกกระแสหลักที่มีแนวคิดหลักที่ต่างกันทุกฉบับยาวนานกว่า ๕๐ ปี PAJARAYASARA MAGAZINE This Journal by Sathienkoses-Nakaprateepa Foundation has been for the truth, wellness and beauty of social and the world for more than 36 years