ดราม่าไทยแลนด์

ดราม่าไทยแลนด์ เจาะทุกประเด็น “ดราม่าไทยแลนด์”

ผิดเพี้ยนไปเยอะ ! “บิ๊กเต่า” ยัน พระชื่อดังที่เกี่ยวข้องเรื่องทุจริต และสีกา เป็นพระในต่างจังหวัด ไม่ใช่ในกทม. และไม่เกี...
19/07/2025

ผิดเพี้ยนไปเยอะ ! “บิ๊กเต่า” ยัน พระชื่อดังที่เกี่ยวข้องเรื่องทุจริต และสีกา เป็นพระในต่างจังหวัด ไม่ใช่ในกทม. และไม่เกี่ยวข้องกับ “พระสมเด็จ” ที่กำลังตกเป็นข่าว วอนสื่อบางส่วนอย่าตีความ หวั่นสังคมสับสน

วันนี้ ( 19 ก.ค.68 ) เกี่ยวกับกระแสข่าวในโลกออนไลน์ เกี่ยวกับพระชั้นผู้ใหญ่ ระดับชั้นสมเด็จ เกี่ยวข้องกับเรื่องการทุจริต และสีกา ที่ตำรวจเตรียมที่จะเข้าดำเนินการ ล่าสุดทีมข่าวได้สอบถามไปยัง พล.ต.ต. จรูญเกียรติ ปานแก้ว รอง ผบช.ก. เปิดเผยว่า เกี่ยวกับกระแสข่าวที่ออกมา ผิดเพี้ยนไปเยอะ และเล่นไม่ตรงประเด็นเท่าไหร่ ยืนยันว่าที่ตำรวจพูด เนื่องจากได้รับแจ้งข้อมูลผ่านศูนย์ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ฯ เป็นเรื่องเกี่ยวพระในพื้นที่ต่างจังหวัด ไม่เกี่ยวข้องกับพระในพื้นที่กรุงเทพฯ แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลได้ แต่ข่าวที่ออกมาทางตำรวจรับฟัง และได้ยิน แต่ยังไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวอะไร

ส่วนกระแสข่าวที่ระบุว่า เกี่ยวข้องกับพระชั้นผู้ใหญ่ ระดับสมเด็จ พล.ต.ต.จรูญเกียรติ เผยว่า ไม่ได้ตีความไปขนาดนั้น แต่ตีความว่า ตามที่ได้รับแจ้งข้อมูลมา มีประโยชน์และเกี่ยวกับพระชั้นผู้ใหญ่ ที่สูงกว่าชั้นเทพ ซึ่งอาจจะเป็นชั้นธรรม ชั้นพรหม ชั้นสมเด็จ แต่คนนำไปตีความเลยเถิด แต่จริง ๆ ในต่างจังหวัด หลายคนจะรู้ว่าเป็นพระที่มียศขนาดไหน

สำหรับประเด็นที่บอกว่าถ้าเปิดชื่อพระออกมาแล้ว จะทำให้คนตกใจ ประเด็นนี้ พล.ต.ต. จรูญเกียรติ เผยว่า จริง ๆ พระรูปที่ได้รับการร้องเรียน ก็มีชื่อเสียง เป็นที่รู้จักในจังหวัดอยู่แล้ว เกี่ยวกับการประพฤติตัวไม่เหมาะสม นำเงินบริจาค นำเงินของญาติโยมที่บริจาค สร้างพุทธสถานหลายปี แต่ยังไม่แล้วเสร็จ ซึ่งจำนวนเงินหลายร้อยล้านบาท ซึงเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น และยืนยันอีกครั้งว่าไม่เกี่ยวกับพระ ที่โลกโซเชียลกำลังพูดถึง จึงกลัวว่าสังคมจะเกิดความสับสน

ยืนยันว่าตำรวจ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังทำเรื่องดี ๆ ให้เกิดขึ้นในพระพุทธศาสนาของเรา เรากำลังจัดการพระไม่ดี ให้พระดี ๆ ได้อยู่ทำหน้าที่เป็นเสาหลักให้สถาบันพระพุทธศาสนา ให้คนได้กราบไหว้ด้วยความศรัทธาจริง ๆ และขอให้สื่อมวลชน ทำงานอยู่บนความจริง อย่าตีความไปมากมายจนเลยเถิดไป

ส่วนที่เคยให้สัมภาษณ์ว่าจะเปิดคดีใหม่ ขณะนี้อยู่ระหว่างเร่งตรวจสอบ ว่ามีเรื่องสีกาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยหรือไม่ และรายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบแล้ว และดำเนินการเป็นขั้น เป็นตอน และน่าจะมีความชัดเจนในอีกไม่นานนี้

ยืนยันอีกครั้งว่า ไม่เกี่ยวข้อง และไม่ใช่พระ ที่กำลังเป็นกระแสอยู่ในตอนนี้

ส่วนคดีของสีกากอล์ฟ พล.ต.ต.จรูญเกียรติ ระบุว่า ขณะนี้ขบวนการสืบสวน สอบสวน ของตำรวจยังไม่เสร็จสิ้น ดังนั้น ย่อมมีอะไรเกิดขึ้นได้หมด อาจจะมี หรือไม่มีพระ ที่เข้ามาเกี่ยวข้องอีก ส่วนกระแสข่าวที่ออกมาก่อนหน้านี้ว่า จะมีพระระดับ ดร. เข้ามาแจ้งความเอาผิด สีกากอล์ฟ ขณะนี้ยังไม่ได้รับรายงาน

คณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง การมีส่วนร่วมของประชาชน สิทธิมนุษยชน สิทธิ เสรีภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา เดินทาง...
18/07/2025

คณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง การมีส่วนร่วมของประชาชน สิทธิมนุษยชน สิทธิ เสรีภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา เดินทางไปราชการเพื่อเยี่ยมชมการบริหารจัดการเกี่ยวกับผักและผลไม้ การดำเนินงานหรือโครงการเพื่อส่งเสริมและยกระดับการผลิตสินค้าทางการเกษตร
ให้มีความปลอดภัยและมีคุณภาพ ณ ตลาดไท***

ที่ตลาดไท อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี นำโดย นายสุนทร พฤกษพิพัฒน์ กรรมาธิการ พร้อมด้วยกรรมาธิการ อนุกรรมาธิการการคุ้มครองผู้บริโภค เดินทางไปราชการ ณ ตลาดไท ซึ่งเป็นตลาดกลางสินค้าเกษตรขนาดใหญ่ เพื่อเยี่ยมชมการบริหารจัดการเกี่ยวกับผักและผลไม้ อาทิ ศูนย์ตรวจรับรองมาตรฐานความปลอดภัยสินค้าเกษตร ในผักและผลไม้ จุดลงสินค้าผักและผลไม้ภายในประเทศ
และที่นำเข้าจากต่างประเทศ ลงพื้นที่สุ่มเก็บตัวอย่างของผักและผลไม้เพื่อตรวจสอบสารปนเปื้อน
พร้อมร่วมประชุมหารือ แลกเปลี่ยนข้อมูลภายใต้ประเด็นเกี่ยวกับการดำเนินงานเกี่ยวกับการจัดการ
ผักและผลไม้ซึ่งมาจากภายในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ ปัญหา อุปสรรคและความท้าทาย
ในการดำเนินงานของตลาดไท ตลอดจนข้อเสนอหรือความมุ่งหมายเพื่อพัฒนากลไกการคุ้มครองผู้บริโภคให้มีประสิทธิภาพ โดยมี นายธวัชชัย พิทักษ์ธนางกูร ที่ปรึกษา นายวิศรุต ศรีโรจนกุล ผู้อำนวยการอาวุโส นายมงคลเกียรติ ควรกิจ ผู้จัดการดูแลความสัมพันธ์ลูกค้า และคณะเจ้าหน้าที่ ให้การต้อนรับ เมื่อวันพุธที่ 18 กรกฎาคม 2568

ทั้งนี้ ในการร่วมประชุมดังกล่าวตลาดไทได้มีการนำเสนอข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับการดำเนินงานของหน่วยงานอันได้แก่ โครงการเพื่อสร้างความยั่งยืน อาทิ การจัดให้มีห้องปฏิบัติการตรวจสอบสารปนเปื้อนระดับมาตรฐานสากล ความพร้อมและโครงสร้างพื้นฐานที่มีประสิทธิภาพ สะดวก
และปลอดภัย แนวทางการส่งเสริมให้เกษตรกรและผู้ค้าเข้าสู่ระบบการผลิตที่ปลอดภัย

ทั้งนี้ หน่วยงานได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการตรวจวิเคราะห์และมาตรการจัดการ กรณีเมื่อตรวจพบสินค้าสารเคมีตกค้างเกินค่ามาตรฐาน การจัดโครงการเพื่อยกระดับสินค้าที่จำหน่ายภายในตลาดกลางสินค้าการเกษตรให้มีมาตรฐานการผลิตที่ปลอดภัย การส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกร ผู้ค้า ผลิตสินค้าที่ปลอดภัยภายใต้มาตรฐานการรับรองที่ได้รับการยอมรับและน่าเชื่อถือ สร้างพื้นที่จำหน่ายสินค้าปลอดภัยเพื่อไม่ให้ปะปนกับสินค้าทั่วไป การตรวจสอบย้อนกลับได้โดยนำเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ประกอบการ และผู้บริโภค พร้อมทั้งได้สะท้อนข้อจำกัด บางประการที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการดำเนินการของหน่วยงาน เช่น ระบบการขอการรับรอง จี เอ พี ระบบการเฝ้าระวังสินค้าไม่ปลอดภัยที่ยังขาดการสนับสนุนอย่างเพียงพอ การเข้าถึงแหล่งผู้ผลิตเมื่อพบสินค้าไม่ปลอดภัย อย่างไรก็ตาม ภายใต้ข้อจำกัดและศักยภาพที่มีอยู่ หน่วยงานได้มีความพยายามอย่างเต็มความสามารถในการดำเนินงานเพื่อการส่งเสริม สนับสนุนการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพและปลอดภัย พร้อมทั้งสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ซื้อและผู้ขาย และสร้างรายได้แก่เกษตรกรอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการจะได้นำข้อมูลประกอบการพิจารณาศึกษาเพื่อนำไปสู่การมีข้อเสนอแนะ
และแนวทางไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนกลไกลการคุ้มครองผู้บริโภคเกี่ยวกับความปลอดภัยด้านอาหารอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนต่อไป

ปรับกฎหมายสิ่งแวดล้อมครั้งใหญ่! จ่อฟัน "นายทุน" ทิ้งขยะพิษเข้าข่ายฟอกเงิน ยึดทรัพย์ถึงรากวันที่ 18 ก.ค.68 นายชีวะภาพ ชีว...
18/07/2025

ปรับกฎหมายสิ่งแวดล้อมครั้งใหญ่! จ่อฟัน "นายทุน" ทิ้งขยะพิษเข้าข่ายฟอกเงิน ยึดทรัพย์ถึงราก

วันที่ 18 ก.ค.68 นายชีวะภาพ ชีวะธรรม ประธานคณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมวุฒิสภา เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2568 ที่ผ่านมา ทางคณะกรรมาธิการฯได้จัดเวทีสัมมนาใหญ่ "แนวทางการปรับปรุงกฎหมายและวิธีพิจารณาคดีสิ่งแวดล้อม เพื่อแก้ปัญหาการลักลอบทิ้งของเสียอุตสาหกรรม ขยะพลาสติก และขยะอิเล็กทรอนิกส์" โดยได้รับเกียรติจากนายประพจน์ คล้ายสุบรรณ ตุลาการศาลปกครองสูงสุด, นายชัชชม อรรฆภิญญ์ อัยการอาวุโส, นายภาคภูมิ โลหวริตานนท์ ผู้อำนวยการศูนย์กฎหมายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ อดีตสมาชิกวุฒิสภา ในฐานะประธานสภาลมหายใจกรุงเทพมหานคร ร่วมกันระดมสมองหาทางออก

นายชีวะภาพ กล่าวว่า เป้าหมายของการสัมมนาในครั้งนี้ คือการผลักดันการแก้ไขกฎหมายเพื่อเอาผิดนายทุนโรงงานที่ลักลอบทิ้งขยะพิษให้ถึงที่สุด หวังใช้มาตรการยึดทรัพย์และดำเนินคดีฟอกเงินเป็น "ยาแรง" ปราบปรามปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เรื้อรัง

โดยขณะนี้สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) กำลังรอข้อสรุปจากเวทีสัมมนาครั้งนี้ เพื่อนำไปพิจารณา แก้ไขนิยามศัพท์ทางกฎหมาย จากเดิมที่ครอบคลุมเฉพาะการยึดถือครอบครองทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้ขยายไปถึงมิติของการ "ปล่อยมลพิษ" ที่ก่อให้เกิดกลิ่นเหม็นหรือความรำคาญ ซึ่งจะเปิดช่องให้สามารถดำเนินคดีกับเจ้าของโรงงานในความผิดฐานฟอกเงินและยึดทรัพย์ได้

การแก้ไขนิยามศัพท์นี้ถือเป็นหัวใจสำคัญ เพราะจะช่วยให้เจ้าหน้าที่สามารถสาวไปถึงตัว "นายทุน" เจ้าของโรงงานที่อยู่เบื้องหลังการลักลอบทิ้งขยะพิษ ซึ่งปัจจุบันมักจะหลุดรอดจากความรับผิดชอบทางกฎหมาย

นายชีวะภาพกล่าวย้ำว่า หลังจากนี้ทางคณะกรรมาธิการฯ จะเชิญตุลาการศาลปกครอง อัยการอาวุโส และนักวิชาการนิติศาสตร์สิ่งแวดล้อมมาให้ข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อเร่งสรุปรายละเอียดทั้งหมดส่งไปยัง ปปง. หาก ปปง. ขานรับข้อเสนอของวุฒิสภา นายชีวะภาพยืนยันว่า ผู้ที่มาร่วมเวทีเสวนาในครั้งนี้ทุกคนคือผู้ที่ผลักดันให้เกิดความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาขยะมีพิษอย่างแท้จริง

สำหรับเวทีสัมมนาในครั้งนี้มีพลเอก เกรียงไกร ศรีรักษ์ รองประธานวุฒิสภา คนที่หนึ่ง เป็นประธานเปิดงานสัมมนา “ปัญหาการลักลอบทิ้งกากของเสียอุตสาหกรรม ขยะพลาสติก และการนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์โดยผิดกฎหมายกลายเป็นอาชญากรรมด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งในภาคเช้ามีการอภิปรายในหัวข้อเรื่อง “สถานการณ์และผลกระทบของการลักลอบทิ้งกากของเสียอุตสาหกรรม ขยะพลาสติก และการนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์โดยผิดกฎหมายกลายเป็นอาชญากรรมด้านสิ่งแวดล้อม” โดยวิทยากร ประกอบด้วย 1. นางสาวปรีญาพร สุวรรณเกษ อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ 2. นางนุชนาถ สุพรรณศรี ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเทคโนโลยีการกำจัดและการจัดการกากอุตสาหกรรม กรมโรงงานอุตสาหกรรม 3. นายเศรษฐวุฒิ จันทร์วัฒนะ ผู้อำนวยการส่วนบริหารศุลกากรที่ 3 สำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง 4. นางสาวดาวัลย์ จันทรหัสดี เจ้าหน้าที่อาวุโสและที่ปรึกษาชุมชน มูลนิธิบูรณะนิเวศ และ 5. นายมานพ สนิท รองประธานสมัชชาองค์กรเอกชนด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ดำเนินรายการโดยนายมนตรี อุดมพงษ์ บรรณาธิการข่าวและผู้สื่อข่าว 3 มิติ.

17/07/2025
วิกฤตขยะพิษคุกคาม  5 จว.สารเคมีปนเปื้อนบาดาล "กมธ.สว." จ่อชงรัฐบาลแก้กฎหมาย-ปิดช่องโหว่ ก่อนกลายเป็น"แดนขยะโลก"วันที่ 17...
17/07/2025

วิกฤตขยะพิษคุกคาม 5 จว.สารเคมีปนเปื้อนบาดาล "กมธ.สว." จ่อชงรัฐบาลแก้กฎหมาย-ปิดช่องโหว่ ก่อนกลายเป็น"แดนขยะโลก"

วันที่ 17 ก.ค.68 พลเอก เกรียงไกร ศรีรักษ์ รองประธานวุฒิสภา คนที่หนึ่ง เป็นประธานเปิดงานสัมมนา “ปัญหาการลักลอบทิ้งกากของเสียอุตสาหกรรม ขยะพลาสติก และการนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์โดยผิดกฎหมายกลายเป็นอาชญากรรมด้านสิ่งแวดล้อม” ซึ่งจัดโดยคณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา ที่โรงแรมแกรนด์ริชมอนด์ จ.นนทบุรี โดยมีนายชีวะภาพ ชีวะธรรม ประธานคณะกรรมการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม , นายกิตติศักดิ์ หมื่นศรี รองประธานคณะกรรมาธิการคนที่ 1 , นายจิระศักดิ์ ชูความดี รองประธานคณะกรรมาธิการคนที่ 3 , นายโชคชัย กิตติธเนศวร รองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่ 4 , นายจำลอง อนันตสุข เลขานุการคณะกรรมาธิการสมาชิกวุฒิสภา พร้อมด้วยสมาชิกวุฒิสภาและคณะที่ปรึกษาเข้าร่วมในงานสัมมนาครั้งนี้

พลเอกเกรียงไกร กล่าวว่า ปัจจุบันการลักลอบทิ้งกากของเสียอุตสาหกรรม ขยะพลาสติก และการนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์โดยผิดกฎหมายทวีความรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีกรณีศึกษาที่คณะกรรมาธิการฯ ตรวจพบ เช่น การพบกากของเสียอุตสาหกรรมในพื้นที่อำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รวมถึงการปนเปื้อนสารเคมีและโลหะหนักในแหล่งน้ำบาดาลถึง 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเพชรบูรณ์, จังหวัดนครราชสีมา, จังหวัดพระนครศรีอยุธยา, จังหวัดราชบุรี และจังหวัดระยอง

นอกจากนี้ ยังมีการนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์ผิดกฎหมายจำนวนมาก ซึ่งเป็นการกระทำที่ขัดต่ออนุสัญญาบาเซลว่าด้วยการควบคุมการเคลื่อนย้ายข้ามแดนของของเสียอันตรายและการกำจัด รวมถึงกฎหมายภายในประเทศและประกาศกระทรวงที่เกี่ยวข้อง

พลเอก เกรียงไกร ชี้ว่า ปัญหาเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงช่องว่างของกฎหมาย การบังคับใช้ที่ยังไม่เข้มงวด และการขาดมาตรการ รวมถึงเครื่องมือที่เหมาะสมในการจัดการ การสัมมนาครั้งนี้จึงถือเป็นเวทีสำคัญในการระดมความคิดเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหา วิเคราะห์สาเหตุและผลกระทบอย่างรอบด้าน เพื่อนำไปสู่การเสนอแนวทางแก้ไขทั้งในมิติของกฎหมาย นโยบาย และการยกระดับการจัดการของเสียอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน

ด้านนายชีวะภาพ ชีวะธรรม ประธานคณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา ระบุ คณะกรรมาธิการสันนิษฐานว่า สาเหตุหลักของปัญหานี้มาจากการขาดมาตรการกำกับดูแลที่เหมาะสม, กฎหมายที่ยังไม่เข้มแข็งพอที่จะควบคุมการจัดการกากของเสีย ขยะพลาสติก และการนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงช่องโหว่ในระบบการตรวจสอบ, การดูแลรักษาของกลางในคดีที่ไม่มีประสิทธิภาพ, รายงานการติดตามการเคลื่อนย้ายและกำจัดของเสียที่ขาดประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ยังพบว่าการลักลอบทิ้งของเสียยังได้รับการสนับสนุนจากกิจกรรมผิดกฎหมายในระดับองค์กรหรือเครือข่ายจากต่างประเทศ จึงหวังว่าการเสวนาในครั้งนี้จะได้มาตรการเร่งด่วนและมาตรการระยะยาว เช่น การปรับปรุงกฎหมายสิ่งแวดล้อมและกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้ทันสมัยและครอบคลุม, ส่งเสริมเทคโนโลยีการจัดการขยะอันตราย

"ข้อเสนอแนะทั้งหมดจากการสัมมนาในครั้งนี้ จะถูกรวบรวมและนำเสนอต่อรัฐบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงอุตสาหกรรม และคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เพื่อผลักดันให้เกิดการปฏิบัติอย่างจริงจัง" นายชีวะภาพ กล่าว.

วุฒิสภาเดินหน้าตรวจสอบจริยธรรม สว. ปมล่วงละเมิดทางเพศ ย้ำยึดหลักเป็นธรรม ตรงไปตรงมา โปร่งใส เป็นอิสระ วันที่ 16 กรกฎาคม ...
16/07/2025

วุฒิสภาเดินหน้าตรวจสอบจริยธรรม สว. ปมล่วงละเมิดทางเพศ ย้ำยึดหลักเป็นธรรม ตรงไปตรงมา โปร่งใส เป็นอิสระ

วันที่ 16 กรกฎาคม 2568 เวลา 11.00 นาฬิกา ณ ห้องแถลงข่าวสื่อมวลชน ชั้น 1 อาคารรัฐสภา (ฝั่ง สส.) คณะกรรมการจริยธรรมวุฒิสภา นำโดย นายสุทนต์ กล้าการขาย โฆษกคณะกรรมการ แถลงความคืบหน้าการดำเนินการในการพิจารณาเรื่องร้องเรียนจริยธรรมของสมาชิกวุฒิสภา (สว.) ที่ถูกกล่าวหาล่วงละเมิดทางเพศตามที่ปรากฏเป็นข่าว โดยระบุว่า คณะกรรมการฯ ได้รับเรื่องร้องเรียนแจ้งเบาะแสเกี่ยวกับพฤติกรรมดังกล่าวแล้ว และได้มีการประชุมเพื่อพิจารณาเบื้องต้นตามขั้นตอนที่กำหนดในระเบียบวุฒิสภาว่าด้วยประมวลจริยธรรม พ.ศ. 2563 โดยยึดหลักเป็นธรรม รอบคอบ ไม่ลำเอียง เป็นไปตามหลักความเป็นกลางและปราศจากอคติ และจะเชิญพยานบุคคลที่เกี่ยวข้อง รวมถึง สว. ที่ถูกกล่าวหาเข้าชี้แจงข้อเท็จจริงเพื่อให้การพิจารณาเป็นธรรมและรอบด้าน ทั้งนี้ หากพบว่ามีมูลเพียงพอจะมีการพิจารณาเพื่อดำเนินการตามขั้นตอน รวมถึงการประเมินความร้ายแรงของพฤติกรรม และเสนอความเห็นต่อวุฒิสภาตามที่กฎหมายกำหนด ยืนยันว่าจะดำเนินการอย่างตรงไปตรงมา โปร่งใส และเป็นอิสระ เพื่อธำรงไว้ซึ่งมาตรฐานจริยธรรมของสถาบันทางการเมือง และรักษาความเชื่อมั่นของประชาชนต่อวุฒิสภาอย่างเต็มที่

สานต่อเวที “มุ่งเป้าอนาคตประเทศไทย” ที่เชียงราย-พะเยา เดินหน้าขับเคลื่อนประเทศปลอดภัยจาก PM2.5 และน้ำมั่นคง ไม่ท่วม ไม่แ...
16/07/2025

สานต่อเวที “มุ่งเป้าอนาคตประเทศไทย” ที่เชียงราย-พะเยา เดินหน้าขับเคลื่อนประเทศปลอดภัยจาก PM2.5 และน้ำมั่นคง ไม่ท่วม ไม่แล้ง
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม จัดกิจกรรมต่อเนื่องภายใต้ชื่อ “มุ่งเป้าอนาคตประเทศไทย” ณ ห้องยูโทเปีย ชั้น 3 โรงแรมเลอ เมอริเดียน เชียงราย รีสอร์ท จังหวัดเชียงราย โดยมีเป้าหมายเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สำคัญของชาติด้านสิ่งแวดล้อม ภายใต้แนวคิด “ประเทศไทยปลอดภัยจาก PM2.5 และน้ำมั่นคง ไม่ท่วม ไม่แล้ง” เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2568
ภายในงานได้รับเกียรติจาก ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานกล่าวเปิดงานและนำเสนอแนวทางการสนับสนุนการบูรณาการกลไก ววน. (วิจัย วิทยาศาสตร์และนวัตกรรม) สู่การปฏิบัติในพื้นที่ โดยมีผู้ร่วมงานระดับนโยบายและภาคปฏิบัติจากทั้ง จังหวัดเชียงราย และ จังหวัดพะเยา อาทิ นายรุจติศักดิ์ รังษี รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย, นายภูธนะ ชมภูมิ่ง รองผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา, ดร.วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ ประธานคณะกรรมการส่งเสริมแผนงานเป้าหมายสำคัญตามยุทธศาสตร์ ววน. "ประเทศไทยปลอดภัยจาก PM2.5“และประธานสภาลมหายใจกรุงเทพฯ, ผู้แทนจากหน่วยงานท้องถิ่น, นักวิจัย และภาคีเครือข่ายจากหลากหลายสถาบัน
ไฮไลต์ของงาน คือพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานท้องถิ่น และภาควิชาการในพื้นที่จังหวัดเชียงรายและพะเยา เพื่อร่วมกันผลักดันแผนงานวิจัยในประเด็นสิ่งแวดล้อม พร้อมจัดเวที เสวนาแลกเปลี่ยนความเห็น หัวข้อ “ประเทศไทยปลอดภัยจาก PM2.5 และน้ำมั่นคง ไม่ท่วม ไม่แล้ง” โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิจากหลายภาคส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น เช่น ดร.วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ ประธานคณะกรรมการส่งเสริมแผนงานเป้าหมายสำคัญ
ตามยุทธศาสตร์ ววน. "ประเทศไทยปลอดภัยจาก PM2.5“และประธานสภาลมหายใจกรุงเทพฯ, นายสุธีระพงษ์ วันไชยธนวงศ์ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย, นายสุรสิทธิ ปุสุรินทร์ ประธานสภาลมหายใจจังหวัดเชียงราย, และนายนัฐนที ศรีวิราช รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา
นอกจากนั้น แผนงานวิจัย “การลดไฟในป่า: กรณีศึกษาอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ–ปุย” โดย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้เข้าร่วมจัดแสดงนิทรรศการ เพื่อเผยแพร่แนวทางการวิจัยที่มุ่งลดปัญหาไฟป่าและฝุ่นควัน PM2.5 อย่างเป็นระบบ ผ่านการบูรณาการ ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) การวิเคราะห์เชิงพื้นที่ และการขับเคลื่อน นโยบายและการสื่อสารเชิงรุกในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่
โดยมีผศ.ดร.ว่าน วิริยา หัวหน้าโครงการสร้างความร่วมมือและเครือข่ายการสื่อสารภาคประชาชน เพื่อพัฒนาการจัดการปัญหา PM2.5 ในระดับพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่อย่างยั่งยืน เป็นตัวแทนในการนำเสนอผลงานวิจัยและแนวทางดำเนินงานต่อผู้เข้าร่วมงานในครั้งนี้
กิจกรรมในครั้งนี้ถือเป็นอีกหนึ่งกลไกสำคัญในการสร้างความร่วมมืออย่างบูรณาการระหว่างนักวิจัย ภาคนโยบาย และภาคประชาชน เพื่อสร้างอนาคตที่ยั่งยืนของประเทศไทยในมิติด้านคุณภาพอากาศและทรัพยากรน้ำ โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนที่ได้รับผลกระทบอย่างมากในช่วงฤดูแล้งและฤดูฝน

โดนแล้ว ด่วน! ศาลอาญาทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ออกหมายจับ สีกากอล์ฟ ข้อหาหนัก สนับสนุนเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่มิชอบ ม....
15/07/2025

โดนแล้ว ด่วน! ศาลอาญาทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ออกหมายจับ สีกากอล์ฟ ข้อหาหนัก สนับสนุนเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่มิชอบ ม.147 /ร่วมกันฟอกเงิน สมคบกันฟอกเงิน /รับของโจร หลัง พบเส้นทางการเงินของอดีตพระเทพพัชราภรณ์ อดีตเจ้าอาวาสวัดชูจิตธรรมาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โอนเงินให้ 3.8แสนบาท ซึ่งเป็นเงินจากบัญชีของวัด

# # # สีกากอล์ฟฟาดเรียบ 

นิด้าโพล "แพทองธาร" ควรลาออก หนุน "ลุงตู่"กลับมาเป็นนายกฯวันที่ 13 ก.ค.68 ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพ...
13/07/2025

นิด้าโพล "แพทองธาร" ควรลาออก หนุน "ลุงตู่"กลับมาเป็นนายกฯ

วันที่ 13 ก.ค.68 ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจ เรื่อง “การเมืองไทย ไปต่อแบบไหนดี” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 4-7 กรกฎาคม 2568

📌จากการสำรวจเมื่อถามความคิดเห็นของประชาชนต่อสถานการณ์ทางการเมืองไทยในปัจจุบัน พบว่า ตัวอย่าง

ร้อยละ 42.37 ระบุว่า นายกรัฐมนตรีแพทองธาร ชินวัตร ควรประกาศลาออกจากตำแหน่ง เพื่อหานายกฯ คนใหม่

ร้อยละ 39.92 ระบุว่า นายกรัฐมนตรีแพทองธาร ชินวัตร ควรยุบสภาผู้แทนราษฎร เพื่อจัดการเลือกตั้งทั่วไป

ร้อยละ 15.04 ระบุว่า นายกรัฐมนตรีแพทองธาร ชินวัตร ควรบริหารประเทศต่อไปเหมือนเดิม

ร้อยละ 1.37 ระบุว่า เรียกร้องให้มีการรัฐประหาร ร้อยละ 0.99 ระบุว่า อย่างไรก็ได้

และร้อยละ 0.31 ระบุว่า ไม่ตอบ

📌ด้านบุคคลที่ประชาชนจะสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไปตามรายชื่อผู้มีสิทธิเป็นนายกฯ ตามรัฐธรรมนูญ ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีแพทองธาร ชินวัตร ต้องพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากเผชิญกับปัญหาทางการเมือง พบว่า

ร้อยละ 32.82 ระบุว่าเป็น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (องคมนตรี -แต่เป็นแคนดิเดตจากพรรครวมไทยสร้างชาติ)

ร้อยละ 27.94 ระบุว่า ไม่สนับสนุนใครเลยตามรายชื่อผู้มีสิทธิเป็นนายกฯ ตามรัฐธรรมนูญ

ร้อยละ 11.53 ระบุว่าเป็น นายอนุทิน ชาญวีรกูล (พรรคภูมิใจไทย)

ร้อยละ 10.92 ระบุว่าเป็น นายชัยเกษม นิติสิริ (พรรคเพื่อไทย)

ร้อยละ 9.77 ระบุว่า ใครก็ได้ตามรายชื่อผู้มีสิทธิเป็นนายกฯ ตามรัฐธรรมนูญ

ร้อยละ 3.82 ระบุว่าเป็น นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค (พรรครวมไทยสร้างชาติ)

ร้อยละ 1.83 ระบุว่าเป็น นายจุรินทร์ ลักษณวิศษฏ์ (พรรคประชาธิปัตย์)

ร้อยละ 0.84 ระบุว่าเป็น พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ (พรรคพลังประชารัฐ)

และร้อยละ 0.53 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

📌ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อการที่พรรคประชาชนควรร่วมลงชื่อกับพรรคฝ่ายค้านเพื่อขอเปิดอภิปรายและลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีและ/หรือรัฐมนตรี จากสถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบันพบว่า

ร้อยละ 64.43 ระบุว่า ควรลงชื่อเพื่อขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี และ/หรือ รัฐมนตรี

ร้อยละ 26.26 ระบุว่า ไม่ควรลงชื่อเพื่อขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี และ/หรือ รัฐมนตรี
ร้อยละ 7.48 ระบุว่า อย่างไรก็ได้

และร้อยละ 1.83 ระบุว่า ไม่ตอบ

#นิด้าโพล

อดีตรัฐมนตรีอลงกรณ์เสนอทางออกประเทศไทย ชู”ยุทธศาสตร์ทาง2แพร่ง“ผนึกกลุ่มBRICSประเทศโลกใต้ฝ่าวิกฤติภาษีทรัมป์2.0นายอลงกรณ์...
12/07/2025

อดีตรัฐมนตรีอลงกรณ์เสนอทางออกประเทศไทย
ชู”ยุทธศาสตร์ทาง2แพร่ง“ผนึกกลุ่มBRICSประเทศโลกใต้ฝ่าวิกฤติภาษีทรัมป์2.0

นายอลงกรณ์ พลบุตร ประธานสถาบันเอฟเคไอไอ.ไทยแลนด์ รองประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ พรรคประชาธิปัตย์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์และอดีตรองประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศเขียนบทความพิเศษเรื่อง “ประเทศไทยกับ BRICS : ก้าวใหม่บนทางสองแพร่ง?” ไว้อย่างน่าสนใจใน เฟสบุ้ควันนี้โดยมีใจความดังนี้

“ประเทศไทยกับ BRICS : ก้าวใหม่บนทางสองแพร่ง?”
โดย นายอลงกรณ์ พลบุตร
ประธานสถาบันเอฟเคไอไอ.ไทยแลนด์
รองประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ พรรคประชาธิปัตย์
อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์และอดีตรองประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ

12 กรกฎาคม 2568
การประชุมสุดยอดBRICSครั้งที่17 จบลงแล้วโดยปีนี้จัดขึ้นที่เมืองริโอเดจาเนโร (Rio de Janeiro)มีบราซิลเป็นเจ้าภาพในฐานะประธานกลุ่ม BRICS ระหว่างวันที่ 6-7 กรกฎาคมซึ่งมีความสำคัญต่อโลกและประเทศไทยในท่ามกลางความผันผวนทางเศรษฐกิจและการเมืองระหว่างประเทศจากผลกระทบของสงครามความขัดแย้งในภูมิภาคต่างๆและสงครามภาษีทรัมป์2.0ภายใต้ภัยคุกคามของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแบบสุดขั้ว

การประชุมครั้งนี้ให้ความสำคัญกับ“สองลำดับความสำคัญหลัก”
1. ความร่วมมือของกลุ่มประเทศโลกใต้ (Global South Cooperation)
2. ความร่วมมือพันธมิตร BRICS เพื่อการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม (BRICS Partnerships for Social, Economic, and Environmental Development)

นอกจากนี้ยังมีวาระ 6 แนวทางความร่วมมือหลัก
1.ความร่วมมือด้านสุขภาพระดับโลก (Global health cooperation)
2.การค้า การลงทุน และการเงิน (Trade, investment, and finance)
3.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate change)
4.การกำกับดูแลปัญญาประดิษฐ์ (AI governance)
5.สถาปัตยกรรมการรักษาสันติภาพและความมั่นคงพหุภาคี (Multilateral peace and security architecture)
6การพัฒนาสถาบัน (Institutional development)


ท่าทีของกลุ่ม BRICS ต้องการสร้างสมดุลใหม่กับกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วโดยเฉพาะสหรัฐและโลกตะวันตกซึ่งประเด็นที่ให้ความสำคัญ คือ
1.การปฏิรูปโครงสร้างการจัดการเศรษฐกิจโลก เพื่อให้กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาได้มีบทบาทมากขึ้น
2.การส่งเสริมการใช้สกุลเงินท้องถิ่นในการทำธุรกรรมระหว่างประเทศ เพื่อลดการพึ่งพาสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ
3.การสร้างกลไกระหว่างประเทศทางเลือก ทั้งในด้านการเงิน การให้ความช่วยเหลือ และการระดมทุน เพื่อการพัฒนา

ศักยภาพกลุ่มBRICS-Global South
มีข้อมูลที่สะท้อนศักยภาพของกลุ่มBRICSและกลุ่มGlobal South

1. ศักยภาพการเติบโต
ภายหลังก่อตั้งเมื่อ16ปีก่อนกลุ่ม BRICS ขยายตัวเติบโตอย่างรวดเร็วจากกลุ่มประเทศก่อตั้งบราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และแอฟริกาใต้ โดยมีสมาชิกเพิ่มเติม คือ เอธิโอเปีย อียิปต์ อิหร่าน อินโดนีเซีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และในที่ประชุม BRICS หรือ BRICS Plus Summit ครั้งที่ 4 จัดขึ้นเมื่อวันที่ 24 ต.ค. 67 ณ เมืองคาซาน ประเทศรัสเซีย ได้เพิ่มประเทศพันธมิตรใหม่ 13 ประเทศแต่ยังไม่ใช่สมาชิกอย่างเป็นทางการ ประกอบด้วย ไทย แอลจีเรีย เบลารุส โบลิเวีย คิวบา อินโดนีเซีย คาซัคสถาน มาเลเซีย ไนจีเรีย ตุรกี ยูกันดา อุซเบกิสถาน และเวียดนาม
ทั้งนี้ยังมีอีกหลายสิบประเทศที่สนใจเข้าร่วมกับBRICS
2. ศักยภาพการลงทุน
ช่วง 20 ปีที่ผ่านมา กลุ่มBRICS ดึงดูดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ
เพิ่มขึ้นมากกว่า 4 เท่า จาก 84,000 ล้านดอลลาร์ในปี 2544 เป็น 355,000 ล้านดอลลาร์ในปี 2564 นอกจากนี้ ส่วนแบ่งเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศทั่วโลกของ BRICS ก็เพิ่มขึ้น 2 เท่าจาก 11% เป็น 22%

2. ศักยภาพการค้า
มูลค่าการค้าของประเทศ BRICS เติบโตขึ้นมากกว่า 7 เท่า มีมูลค่ามากกว่า 4 ล้านล้านดอลลาร์ในช่วง10กว่าปีที่ผ่านมา
(ข้อมูลเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2025 ขององค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ)

3.แนวทางการค้าGlobal South
การค้าระหว่างประเทศกลุ่ม Global Southเดินตามแนวทางของกลุ่ม BRICS กล่าวคือตั้งแต่ปี 2550 ถึง 2566 การค้าระหว่างกลุ่ม Global South เพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่าจาก 2.3 ล้านล้านดอลลาร์ เป็น 5.6 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการพึ่งพาคู่ค้าแบบดั้งเดิมที่ลดลง ในขณะเดียวกันก็สร้างโอกาสใหม่ๆ ให้กับประเทศกำลังพัฒนา

4.กลุ่มBRICSกับอาเซียน
ทิศทางที่น่าสนใจอย่างยิ่งคือBRICS ตั้งใจขยายบทบาทในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นศูนย์กลางการค้าโลกที่สำคัญ การเข้าร่วมของอินโดนีเซีย, เวียดนาม,ไทย, มาเลเซีย จะสร้างศักยภาพทางการค้าเพิ่มเติมสำหรับกลุ่ม BRICS และกลุ่ม Global South

ในการประชุมผู้นำกลุ่ม BRICS ได้ประกาศจุดยืนที่ไม่สอดคล้องกับประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ (Donald Trump) ในประเด็นภาษีการค้า ความขัดแย้งในตะวันออกกลาง (Middle East) ความจำเป็นในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ(Climate Change)และการเรียกร้องให้มีการกำกับดูแลปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence)ทั่วโลกเพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น

จากนั้นไม่กี่ชั่วโมง ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ โพสต์ข้อความโดยกล่าวว่า ประเทศอเมริกาจะเรียกเก็บภาษีเพิ่มเติม 10% สำหรับประเทศใดๆ ที่เข้าร่วมกับ "นโยบายต่อต้านอเมริกา" ของกลุ่ม BRICS ซึ่งสะท้อนท่าทีในทางไม่เป็นมิตรของประธานาธิบดีสหรัฐที่มีต่อกลุ่มBRICSอย่างชัดเจน

BRICS :ทางออกเศรษฐกิจไทย
กลุ่ม BRICSได้นำเสนอโอกาสสำหรับประเทศที่ประสบปัญหาภาษีทรัมป์ 2.0 โดยกลุ่มBRICSมี GDP รวมกันตามกำลังซื้อ (PPP) ในปี 2025 สูงถึง 77 ล้านล้านดอลลาร์ซึ่งสูงกว่ากลุ่ม G7 ถึง 1.3 เท่า นอกจากนี้ เมื่อรวมBRICS PlusมีGDP รวมกันกว่า 40% ของโลกและเติบโตเฉลี่ยที่ 4% ในปี 2025 ซึ่งมากกว่าสองเท่าของการเติบโตของ G7 ที่ 1.7%

กลุ่มBRICS ยังมีอำนาจต่อรองร่วมกันด้วยจำนวนสมาชิก 11 ประเทศและพันธมิตรอีก 10ประเทศและประชากร40%ของโลก

กลุ่ม BRICS Plusได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในตลาดโลก ทั้งในด้านพลังงาน ทรัพยากรแร่ธาตุ และอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศในกลุ่ม BRICS Plusผลิตก๊าซธรรมชาติประมาณ 32% และน้ำมันดิบ 43% ของโลก ซึ่งบ่งชี้ถึงความเป็นอิสระด้านพลังงานที่เพิ่มขึ้น กลุ่มนี้ยังผลักดันกฎการค้าที่เป็นธรรมและการปฏิรูปองค์การการค้าโลก (WTO)

กลุ่ม BRICS ตอบรับให้ ประเทศไทย เข้าเป็นสมาชิกประเทศพันธมิตร(BRICS Plus)ตามมติที่ประชุมผู้นำ BRICS ครั้งที่ 16 ที่รัสเซียเมื่อวันที่ 23 ต.ค.2567

การมีสถานะเป็นในBRICS (BRICS Plus) ของประเทศไทยเป็นทั้ง“โอกาสและความเสี่ยง”

หากประเทศไทยสามารถปรับตัวและใช้จุดแข็งด้านตำแหน่งที่ตั้งทางภูมิศาสตร์และจุดยืนด้านภูมิรัฐศาสตร์รวมทั้งภูมิเศรษฐศาสตร์จะได้รับประโยชน์จากการขยายตัวของกลุ่ม BRICSโดยตรงและโดยอ้อมเป็นทางออกทางเศรษฐกิจในยุคการเปลี่ยนขั้วอำนาจที่กำลังเกิดระเบียบโลกใหม่(New World Order)

ก้าวใหม่ของไทยบนทางสองแพร่ง
ประเทศไทยควรเข้าร่วมในระดับที่เหมาะสมในประเด็นที่สอดคล้องกับกุศโลบายของประเทศเพราะกลุ่มBRICSมีศักยภาพสูงและเติบโตเร็วมีประชากรมากกว่าร้อยละ 40 ของโลก มีการผลิตและการส่งออกน้ำมันของโลกร้อยละ 40 ผลิตข้าวสาลีธัญพืชหลักของตลาดโลก 35% มี GDP รวมกว่า30% ของโลก(แซงหน้ากลุ่ม G7 ที่มีสัดส่วนในเศรษฐกิจโลกลดลงเหลือร้อยละ 30) และมีสัดส่วนการค้าร้อยละ 40 ของโลก

สำหรับไทยซึ่งมีมูลค่าการค้ากับ BRICS กว่า20% ของการค้าทั้งหมด

มีข้อสรุปที่หลายฝ่ายวิเคราะห์ตรงกันสำหรับประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับไทย
1. ลดการพึ่งพาตลาดเดิม เช่น สหรัฐและยุโรป และเพิ่มโอกาสในการส่งออกสินค้าไปยังตลาดเกิดใหม่ในกลุ่มBRICS

ทั้งนี้ประเทศไทยส่งออกไปยังกลุ่ม BRICS (ตัวเลขเฉพาะ 9 ประเทศสมาชิกทางการ) โดย 9 เดือนแรกของปี 2567 มีมูลค่า 42,769.8 ล้านดอลลาร์ คิดเป็นสัดส่วนประมาณ20% ของการส่งออกทั้งหมด และยังมีแนวโน้มเติบโตขยายตัวได้อีกในอนาคตโดยเฉพาะประเทศพันธมิตร(BRICS Plus)

2.ช่วยกระจายความเสี่ยงทางเศรษฐกิจ จากความผันผวนของปัญหาภูมิรัฐศาสตร์(Geopolitics)และภูมิเศรษฐศาสตร์
ช่วยยกระดับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของประเทศไทยโดยกลุ่มBRICS มีแผนการลงทุนขนาดใหญ่ในโครงสร้างพื้นฐานผ่านกลไก New Development Bank (NDB) ซึ่งเอกชนไทยสามารถเข้าไปร่วมเป็นพันธมิตรในโครงการเหล่านี้ โดยเฉพาะในด้านก่อสร้าง เทคโนโลยี และภาคบริการ

3.เป็นโอกาสของประเทศไทยในการขยายตลาดสินค้าและบริการที่มีมูลค่าสูง เนื่องจากกลุ่มBRICSมีความต้องการสินค้าเกษตร อาหาร และสินค้าเทคโนโลยี จึงเป็นโอกาสเอกชนไทยสามารถนำเสนอสินค้าและบริการที่เน้นคุณภาพและนวัตกรรม เช่น สินค้าอาหารเพื่อสุขภาพ เทคโนโลยีเกษตร และบริการด้านสุขภาพ

4.การใช้สกุลเงินท้องถิ่นในการค้าระหว่างประเทศ
หากในอนาคต BRICS สามารถพัฒนาไปสู่การใช้สกุลเงินของตัวเองหรือการค้าด้วยสกุลเงินท้องถิ่นมากขึ้น ไทยอาจลดต้นทุนจากความผันผวนของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ และสามารถใช้กลไกทางการเงินที่เอื้อต่อธุรกิจมากขึ้น

5. การใช้จุดแข็งทางภูมิศาสตร์และเศรษฐกิจของไทยในการเชื่อมโยงระหว่าง BRICS กับอาเซียน(ASEAN) ในการพัฒนาความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ การเงิน เทคโนโลยี และวัฒนธรรม

รวมทั้งเป็นตัวเชื่อมระหว่าง BRICS กับกลุ่มอื่น ๆ อาทิ เอเปค (APEC) บิมสเทค (BIMSTEC) และ ความร่วมมือแห่งเอเชีย (ACD:Asia Cooperation Dialogue)

อย่างไรก็ตาม การเป็นพันธมิตรกลุ่มBRICS ของประเทศไทยจะได้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจและการพัฒนาแต่ก็ต้องบริหารความเสี่ยงและความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆโดยยืนยันหลักการ "ไม่เลือกข้าง" เน้นผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและการพัฒนาเป็นหลักทั้งนี้ต้องไม่ทิ้งความสัมพันธ์กับคู่ค้าดั้งเดิมอย่างสหรัฐฯ และ EU
การเข้าร่วมกับกลุ่มBRICSในครั้งนี้จำเป็นที่ประเทศไทยจะเป็นโอกาสในการปรับยุทธศาสตร์การค้าสู่การค้าแบบหลายเส้นทาง (Multi-Track Trade)เช่น
1.การลดการพึ่งพาจีนและกระจายการค้าไปยังสมาชิก BRICS ใหม่
2.การลดผลกระทบการส่งออกไปสหรัฐโดยเพิ่มส่งออกสินค้ารถยนต์ ยางรถยนต์และชิ้นส่วน อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอีเล็คโทรนิคไปยังรัสเซีย UAE ฯลฯ
รวมทั้งขยายตลาดส่งออกข้าวและอาหารแปรรูปไปยังเอธิโอเปียและอียิปต์ซึ่งความต้องการเพิ่มขึ้น 15% ต่อปี พร้อมกับเร่งเจรจาขยายFTA กับอินเดีย(ขยายรายการสินค้า(early harvest)และเร่งสรุปFTAกับแอฟริกาใต้
3.ดึงดูดการลงทุนจากประเทศสมาชิกBRICSเช่น
การลงทุนจากจีนในสาขาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล และ EV Battery ใน EEC
การลงทุนจากอินเดียทางด้านอุตสาหกรรมยาและการลงทุนจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์(UAE)ทางด้านพลังงานสะอาดและกองทุน Sovereign Wealth Fund
4.สร้างโอกาสจากกลุ่มBRICSเป็นสะพานเชื่อมประเทศไทยกับตลาดร่วมอเมริกาใต้ (Southern Common Market - Mercosur) สหภาพแอฟริกา (African Union)และองค์การความร่วมมืออิสลาม (OIC) มีสมาชิก 57 ประเทศครอบคลุม 4 ทวีปซึ่งจะช่วยเพิ่มการส่งออกข้าว ยางพารา ปาล์มน้ำมันและอาหารฮาลาลของไทยไปยังประชากรมุสลิม 2 พันล้านคน

สรุป
การเข้าร่วมกับกลุ่มบริกส์ (BRICS)เป็นยุทธศาสตร์ทาง2แพร่งที่จะช่วยให้ประเทศไทยมีโอกาสขยายความสัมพันธ์และความร่วมมือทางเศรษฐกิจการค้าการลงทุนการท่องเที่ยว การเงิน ความมั่นคงด้านอาหารและพลังงาน การศึกษา วัฒนธรรม เทคโนโลยีและนวัตกรรมกับประเทศกลุ่มBRICSมากขึ้นโดยไม่ทิ้งความสัมพันธ์กับคู่ค้าดั้งเดิมอย่างสหรัฐฯ และ EU
ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศ รวมถึงเพิ่มบทบาทของประเทศไทยในการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและความเข้มแข็งของระบบพหุภาคีที่เสรีและเป็นธรรมเป็นการยกระดับบทบาทของไทยในเวทีระหว่างประเทศในทุกมิติให้โดดเด่นมากยิ่งขึ้นเพื่อสร้างพื้นฐานใหม่ของประเทศไทยทางเศรษฐกิจการค้าการลงทุนระหว่างประเทศในอนาคต.

สึกแล้วผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดโสธร  หลังมีข้อมูลเกี่ยวข้อง สีกา ก. แล้วหายตัวออกจากวัดไปหลายวัน
11/07/2025

สึกแล้วผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดโสธร  หลังมีข้อมูลเกี่ยวข้อง สีกา ก. แล้วหายตัวออกจากวัดไปหลายวัน

ที่อยู่

Bangkok Noi

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ ดราม่าไทยแลนด์ผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

แชร์