10/06/2021
"รวย สำเร็จ คนเดียวมันง่าย
แต่จะรวย สำเร็จ ด้วยกันทั้งแบรนด์
มันถึงมีความหมาย"
สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการออกแบบโลโก้
แม้โลโก้จะเป็นภาพ คำ ลายเซ็นต์ หรือตัวเลข ฯลฯ ได้ราวกับไม่มีข้อจำกัด แต่โลโก้มีบทบาทเฉพาะที่ต่างจากงานออกแบบกราฟิกทั่วไป ตรงที่ต้องนำไปใช้กับแบรนด์ กับสินค้า จึงต้องคำนึงถึงธุรกิจและการปกป้องสิทธิประโยชน์ด้านกฎหมายให้กับเจ้าของสินค้าด้วย อีกทั้งในทางกฎหมายแล้ว
หากจะนำโลโก้ไปรับจดทะเบียนก็มีเงื่อนไขในการออกแบบอยู่เช่นกัน ได้แก่
• มีลักษณะเป็นเครื่องหมาย
• มีลักษณะบ่งเฉพาะ
• ไม่มีลักษณะต้องห้ามทางกฎหมาย
• ไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนไปแล้ว
เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น มาอธิบายความหมายพร้อมยกกรณีศึกษาให้เห็นภาพ
1. มีลักษณะเป็นเครื่องหมาย
เป็นได้ทั้งตัวอักษร คำ ภาพ และแม้แต่กลุ่มสี หากจะเป็นภาพบุคคล หรือลายมือชื่อ ต้องได้รับการขออนุญาตแล้วเท่านั้น
2. มีลักษณะบ่งเฉพาะ
มีความเฉพาะตัว แตกต่างจากโลโก้สินค้าอื่น ทำให้สามารถแยกแยะได้ อาจจะเป็นชื่อที่ไม่เป็นชื่อที่มีความหมายธรรมดา ทั่วไป แต่ต้องแสดงลักษณะพิเศษ เพื่อให้ผู้ซื้อสินค้าทราบและเข้าใจว่าสินค้าที่มีโลโก้นี้ต่างจากสินค้าของผู้อื่น และคำหรือข้อความไม่ได้บ่งลักษณะของสินค้า เช่น คำว่า “Super Clean” ที่จะจดทะเบียนกับน้ำยาทำความสะอาด หรือ คำว่า “สะอาด” กับสินค้าสบู่ ไม่ได้
เช่นเดียวกับผลิตภัณฑ์น้ำปลา จะใช้รูปปลา หรือคำที่เล็งคุณสมบัติสินค้าโดยตรงไม่ได้ หากจะใช้ภาพที่ประดิษฐ์ขึ้น สร้าง ตกแต่ง วาดขึ้นใหม่ตามจินตนาการก็ต้องไม่เป็นการบรรยายสินค้า เช่น มิกกี้เมาส์ หรือตุ๊กตามิชลิน อย่างนี้ใช้ได้
หรือ คำที่บ่งชี้ภูมิศาสตร์ อย่างชื่อจังหวัด อำเภอ จะนำมาใช้ไม่ได้ เช่น Java Cafe กับร้านกาแฟ (ชวาคือพันธ์ุกาแฟชนิดหนึ่งที่ปลูกในเกาะชวา) ซึ่งจะจดทะเบียนไม่ได้ แต่หากอยากจดทะเบียนโดยระบุชื่อทางภูมิศาสตร์ เช่น Tokyo Pharma ซึ่งเป็นคำทั่วไปทั้งคู่ ต้องจดแบบสละคำ คือยินยอมให้มีคนอื่นใช้คำว่า Tokyo หรือ Pharma ก็ได้ แต่กับคำประดิษฐ์ที่ไม่มีความหมาย เช่น Reds หรือ Google สามารถจดทะเบียนได้ โดยไม่ต้องสละคำ คือห้ามให้ผู้อื่นมาใช้คำนี้ได้
3. ไม่มีลักษณะต้องห้ามทางกฎหมาย
โลโก้ต้องห้ามทางกฎหมายที่ไม่รับจดทะเบียน คือ ตราแผ่นดิน เช่น ธงชาติไทย,พระปรมาภิไทย พระนามาภิไทยย่อ, พระบรมฉายาลักษณ์ พระบรมสาทิสลักษณ์, พระราชลัญจกร ลัญจกรในราชการ หรือตราประจำตำแหน่ง, เครื่องราชอิสริยาภรณ์, เครื่องหมายกาชาด, เครื่องหมายที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือรัฐ, โลโกที่เหมือนกับเครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลาย ที่อาจทำให้สาธารณชนสับสน เข้าใจผิดในความเป็นต้นกำเนิดของสินค้า ไม่ว่าจะมีการจดทะเบียนหรือไม่แล้วก็ตาม
4. ไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนไปแล้ว
ต้องไม่เหมือนหรือคล้ายกับโลโก้ที่จดทะเบียนไปแล้ว ไม่ว่าคำหรือรูปที่คล้ายคลึงกัน เว้นแต่ว่าต่อให้คล้าย แต่สาธารณชน ก็ยังสามารถแยกแยะได้ว่าไม่ใช่โลโก้ของสินค้าที่มีอยู่เดิม ก็อาจรับจะทะเบียนได้
ในขั้นตอนนี้ ทั้งผู้ที่จะออกแบบโลโก้ ต้องเข้าไปดูในกรมลิขสิทธิ์ทางปัญญาดูว่ารูปลักษณะแบบนี้มีหรือยัง ในธุรกิจประเภทเดียวกัน และธุรกิจอื่นๆ ว่ามีเหมือนไหม ถ้าเหมือน เจ้าหน้าที่จะทักท้วงก่อน เพื่อไม่ให้เสียเวลา
ซึ่งมีหลักเกณฑ์พิจารณาความเหมือนหรือคล้ายตรงที่
• พิจารณาจากเสียงและสำเนียงเรียกขานเครื่องหมายการค้า
• พิจารณาการวางรูปของคำ ตัวอักษร จำนวน หรือการประดิษฐ์ตัวอักษร
• พิจารณาจากความเหมือนหรือคล้ายในรูปโลโก้
• พิจารณาจากการวางรูปดีไซน์
• พิจารณาจากสินค้าที่ใช้เครื่องหมายนั้นๆ
• พิจารณาจากการใช้เครื่องหมายการค้ากับตัวสินค้า
• พิจารณาจากเจตนาของผู้ยื่นขอจดทะเบียน (ข้อนี้สำคัญไม่น้อย)
สนใจบริการออกแบบโลโก้ตามหลักฮวงจุ้ย “Add line สอบถามฟรี!”
✨ สนใจติดต่อรับคำปรึกษาเรื่องการออกแบบโลโก้ ✨
Line : https://lin.ee/qG3wuxo 👈 แอดเลย!!
📱 คุณนมน 0660959171
📱 คุณมนัญญา 0816252587
_______________________
#โลโก้มงคล #รับออกแบบ #ออกแบบโลโก้ #สร้างแบรนด์ #โลโก้ #รับออกแบบโลโก้ #ผลิตภัณฑ์ #โลโก้ศาสตร์ฮวงจุ้ย #โลโก้พารวย #รับออกแบบโลโก้ #รับออกแบบ #ออกแบบ #โลโก้ #บริษัทรับออกแบบ #บริษัทรับออกแบบโลโก้ #โลโก้สวย #โลโก้ฮวงจุ้ย #รับออกแบบโลโก้ฮวงจุ้ย