Mutual

Mutual Finding a common ground in society

“ถ้าคนรู้สึกรู้สากับสิ่งนั้น เค้าจะลุกขึ้นมาทำอะไรสักอย่าง แล้วถ้าคนจำนวนมากๆ รู้สึกรู้สากับสิ่งนั้นร่วมกัน มันจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเสมอ”

Mutual เกิดขึ้นเพราะความคิดความเชื่อแบบนี้

Mutual คือสื่อที่พยายามมองหา ‘ความเหมือน’ หรือ ‘ความร่วมกัน’ ในสังคมที่แตกต่างหลากหลาย ตั้งแต่ เพศ ร่างกาย วัย เชื้อชาติ ไปจนถึงความคิด ความเชื่อ ศรัทธา ที่ไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน

แต่สิ่งที่ทุกคนมีเหมือนกันคือศัก

ดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์

และเราเชื่อว่าการรู้ร้อนรู้หนาว หรือทุกข์ร่วม สุขร่วมกับคนในสังคมเป็นสิ่งที่ควรมี

Finding common ground in society : เราต่างมีพื้นที่ตรงกลางร่วมกัน จึงเป็นแนวคิดสำคัญของ Mutual

คนไร้บ้านต้องการพื้นที่ปลอดภัย
LGBTQ+ ต้องการแว่นที่มองมาด้วยสายตาปกติ
ผู้พิการ ต้องการการยอมรับในฐานะพลเมืองคนหนึ่ง
เด็กเองก็ต้องการการรับฟังและเคารพในความคิดเห็น

เราทุกคนก็ต้องการเช่นนั้น

สังคมปัจจุบัน เราตั้งต้นและกำลังรดน้ำเมล็ดพันธุ์แห่งการเคารพในความแตกต่างหลากหลายแล้ว

ถัดจากนี้ เราจะหาความร่วมและความเหมือน และรดน้ำมันไปด้วยกัน

เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลง

ไม่ใช่เรื่องใหม่ถ้าวัดจะเป็นศูนย์กลางของชุมชน แต่…อะไรทำนองนี้เกิดขึ้นในอดีตเมื่อสัก  30 ปีที่แล้ว ในปัจจุบันวัดยังคงมีบ...
14/07/2025

ไม่ใช่เรื่องใหม่ถ้าวัดจะเป็นศูนย์กลางของชุมชน แต่…อะไรทำนองนี้เกิดขึ้นในอดีตเมื่อสัก 30 ปีที่แล้ว ในปัจจุบันวัดยังคงมีบทบาทในด้านศาสนาและพิธีกรรม แต่ด้านความสัมพันธ์แบบเป็นจุดศูนย์กลางของชุมชนวัดถูกลดบทบาทลงและมีสิ่งอื่นเข้ามาทดแทน

แต่สำหรับคนชุมชนวัดร้องหลอด ตำบลเมืองพาน จังหวัดเชียงราย วัดร้องหลอดยังคงสถานะศูนย์กลางของชุมชนไว้ได้อย่างเหนียวแน่นผู้คนไม่ได้เข้าวัดกันเฉพาะวันพระ วันงานขาวดำ หรือวันสำคัญของพระพุทธศาสนา แต่เดินเข้าออกวัดกันเป็นเรื่องปกติ บ้างก็มานั่งกินก๋วยเตี๋ยวชามยักษ์ที่ตลาดหน้าวัด บ้างก็มานั่งเล่นน้ำตกที่คาเฟ่วัดร้องหลอด บ้างก็พาลูกหลานมาซ้อมกลองกันตอนเย็น หรือแม้แต่เด็กวัยรุ่นก็ขับมอเตอร์ไซค์เข้ามานั่งเรียนทำเล็บที่ศาลาว่าง

“คาเฟ่ที่นี่เป็นกิจการของวัด ตอนแรกเจ้าอาวาสทำแบบไม่เก็บเงินเพราะพยายามดึงคนเข้าวัด แต่ว่าต้นทุนคาเฟ่สูงเลยปรับมาเป็นเก็บเงิน แค่เงินค่ากาแฟเป็นการเอาไปบริจาคช่วยเหลือผู้ยากไร้อีกที” มุ้ย มณีรัตน์ อุปะละ บาริสต้าประจำคาเฟ่วัดร้องหลอดเล่าให้ฟัง พร้อมเสียงแบ็คกราวน์น้ำตกไหลคลอเป็นระยะๆ

“คนที่นี่พอมีกิจกรรมอะไรก็จะมาทำที่วัด หรือวัดมีกิจกรรมอะไรเขาก็ร่วมมือกันอย่างดี อย่างบ้านโบราณ ชาวบ้านก็บริจาคมา โต๊ะนักเรียนสมัยก่อน ตู้เก่า ภาพนายอำเภอคนแรกชาวบ้านก็เอามาให้วัดตั้งเป็นส่วนพิพิธภัณฑ์ ตุ๊เจ้ามีแนวคิดว่าอยากพัฒนาวัดด้วยการสานต่อวัฒนธรรม ฝึกเด็กตีกลองพื้นบ้านบ้าง คือเน้นทำงานกับเด็กก่อนด้วยการดึงเด็กเข้าวัด เพื่อลดปัญหาคนไม่เข้าวัดแบบที่วัดอื่นเจอ”

กร - ปกร นาวาจะ เล่าต่อจากคำอธิบายของเต้ย ทั้งสองคนนี้คือเจ้าของเพจและผู้ดำเนินงาน ‘จวนละอ่อนจาม’ ‘โครงการพัฒนาพื้นที่เรียนรู้สำหรับเยาวชนนอกระบบการศึกษาบนฐานเครือข่ายชุมชน กรณีศึกษาวัดร้องหลอด’ ภายใต้การสนับสนุนของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)

ทั้งเต้ย และกร มักจะขลุกตัวอยู่ที่วัดร้องหลอด โดยเฉพาะบริเวณคาเฟ่ด้านหน้าวัด เพื่อพูดคุยเล่นกับพี่มุ้ย บาริสต้าสาว และเป็นคนเชื่อมต่อเจตนาของ พระครูพิศาลสังวรคุณ เจ้าอาวาส หรือที่ทั้งสองคนเรียกว่าตุ๊เจ้า (ที่แปลว่าเจ้าอาวาสในภาษาเหนือ) ด้วยการทำงานกับเด็กในการเป็นพี่เลี้ยง ‘เด็กหลุดระบบ’ ในพื้นที่ พาทำกิจกรรมเสริมทักษะอาชีพในบริเวณศาลาวัด เช่นการทำเล็บ เล่นบอร์ดเกม เล่นเกมฝึกทักษะ หรือเป็นพี่คอยให้คำปรึกษาเด็กๆ ร่วมกับพี่มุ้ยหากว่าเด็กๆ ไม่สบายใจ

หากจะเปรียบหลักการพัฒนาสังคมในอดีตด้วย บวร บ้าน-วัด-โรงเรียน สำหรับพื้นที่วัดร้องหลอดก็คงไม่ต่างกันแต่อาจจะแปลกตาไปสักหน่อยตรงที่เป็น ว ช ค วัด ชุมชน คาเฟ่ จนกลายเป็นพื้นที่ต้นแบบที่ทำให้ชุมชนตรงนั้นแข็งแรงไปด้วยกัน

อ่านต่อทีละภาพ

เรื่อง : มยุรา ยะทา
ภาพ : ธาตรี แสงมีอานุภาพ

#กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา #กสศ #หายแต่เจอ #เด็กนอกระบบ #วัดร้องหลอด

ตอนเด็กๆ อยากเก่งเหมือนลูกป้าข้างบ้าน โตมาก็อยากหน้าตาดีเหมือนคนในอินเทอร์เน็ต พอเป็นผู้ใหญ่ก็อยากเป็นคนประสบความสำเร็จเ...
14/07/2025

ตอนเด็กๆ อยากเก่งเหมือนลูกป้าข้างบ้าน โตมาก็อยากหน้าตาดีเหมือนคนในอินเทอร์เน็ต พอเป็นผู้ใหญ่ก็อยากเป็นคนประสบความสำเร็จเหมือนเจ้าสัว

ที่ผ่านมาเราใช้ชีวิตเพื่อเป็น ‘คนอื่น’ มามากพอแล้ว เมื่อถึงช่วงบั้นปลายชีวิต ถึงเวลากลับมาเป็น ‘ตัวเอง’ ได้หรือยัง?

“อยากแก่ไปเป็น ‘ตัวเอง’ ไม่ต้องสนใจใครขนาดนั้น ขอแค่มีคนอยู่ข้างๆ สักคน ไม่ต้องเข้าใจเราขนาดนั้นก็ได้ แต่นึกถึงเราก็พอ” หนึ่งข้อความจากนิทรรศการ ‘ก่อนถึงวัยอันควร – Coming of Aging’ ที่ฝากถึงตัวเองในอนาคต ฝากไปถึงคนที่สูงวัย และกำลังจะสูงวัยอีกด้วย

ไม่ว่าจะเป็นคนแก่ที่เอาแต่เลี้ยงหมา คุณป้าที่ชอบเต้นแอโรบิค หรือคุณลุงที่ชอบแต่งตัวสีจี๊ดจ๊าด ถ้าเป็นสิ่งที่เป็นตัวเองจริงๆ ก็ทำไปเถอะ เวลามันมีน้อยเกินกว่าจะแสร้งเป็นคนอื่น

ถ้าใครยังนึกหน้าตาตัวเองตอนเป็นคนสูงวัยไม่ออก อยากชวนไปสำรวจความแก่แต่ไม่เก่าได้ที่ นิทรรศการ ‘ก่อนถึงวัยอันควร – Coming of Aging’ นิทรรศการที่ชวนทบทวนช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงและการเติบโต หรือที่ใครๆ มองว่าเป็นเรื่องของความแก่ ผ่านแสง สี เสียง ด้วยบรรยากาศ Immersive Experience ภายใน 3 โซนที่พาไปทบทวนและดำดิ่งอยู่ในการเติบโตไปด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น

โซนที่ 1 Beneath the Surface ‘ห้องสะท้อนใจ’ สะท้อนมุมมองผู้สูงอายุผ่านตัวเราเอง
โซนที่ 2 The Tree of Echoes ‘ข้ามผ่านกาลวัย’ เตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงและการเติบโตในอนาคต ผ่านเรื่องเล่าจากคนสูงวัย
โซนที่ 3 Embrace the Next Season ‘ต้อนรับฤดูใหม่’ ยิ้มรับฤดูกาลใหม่ ตอบข้อสงสัยในใจทั้งหมดที่มี

กิจกรรมครั้งนี้จัดขึ้นโดย Eyedropper fill สนับสนุนโดย ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สสส. เปิดให้เข้าชมฟรีตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 16 ก.ค. 2568 ที่ River City Bangkok Galleria 3 ชั้น 2

เรื่อง : ณัฐริฎา ศิริสอน
ภาพ : Eyedropper fill
ภาพประกอบ : ภัทราภรณ์ สงสาร

# #ก่อนถึงวัยอันควร

ในโลกที่หันไปทางไหนก็เจอแต่คนใจร้าย คนใจดีที่มีความเข้าอกเข้าใจผู้อื่น (Empathy) จึงเป็นที่ต้องการ เพราะไม่ว่าใครต่อใครก...
14/07/2025

ในโลกที่หันไปทางไหนก็เจอแต่คนใจร้าย คนใจดีที่มีความเข้าอกเข้าใจผู้อื่น (Empathy) จึงเป็นที่ต้องการ เพราะไม่ว่าใครต่อใครก็คงอยากให้มีใครสักคนที่จะหยุดฟังเมื่อพวกเขาเกิดเรื่องทุกข์ใจ

แต่เราไม่ใช่ที่รองรับทางอารมณ์ การแบกรับเอาปัญหาหรือเรื่องราวของคนอื่นมาไว้กับตัวเองมากไปจะทำให้ใจเราเป็นทุกข์ และลืมสิ่งที่สำคัญที่สุดอย่างการเข้าอกเข้าใจตัวเอง

หากวันใดรู้สึกทนไม่ไหว อย่ากลัวที่จะหยุดพักหรือปฏิเสธอีกฝ่ายเพื่อรักษาใจตัวเองก่อน เพราะถ้าเรายังไปช่วยแบกปัญหาของชาวบ้านทั้งๆ ที่ตัวเองแทบจะยืนไม่ไหว สุดท้ายก็จะไม่เกิดผลดีกับใคร แถมยังจะล้มระเนระนาดทั้งคู่อีกด้วย 🩹

#เรามีพื้นที่ตรงกลางร่วมกัน🫂🤝💓

12/07/2025

วันเวลาที่ผ่านไป ทำให้เราค่อยๆ สัมผัสได้ถึงการเปลี่ยนแปลง ทั้งร่างกาย ความคิด หรือแม้กระทั่งความสัมพันธ์

และทำให้เราตั้งคำถามกับตัวเองว่า “หรือว่าเรากำลังแก่ขึ้นกันนะ?”

เพื่อรับมือกับช่วงวัยที่กำลังมาถึง ’นิทรรศการ Coming of Aging ก่อนถึงวัยอันควร‘ จึงชวนทุกคนมาใช้เวลาปัจจุบันเข้าใจ ’วัยชรา‘ ผ่าน 3 โซนภายในงาน

ก่อนที่เราจะถึง ‘วัยอันควร’

นิทรรศการ “ก่อนถึงวัยอันควร - Coming of Aging”
🗓 16 มิถุนายน – 16 กรกฎาคม 2568
📍 River City Bangkok : 2nd Floor, Galleria 3
🎟 เข้าชมงาน ฟรี

ตัดต่อ : ธันยพร เกษรสิทธิ์
#ก่อนถึงวัยอันควร

เพราะคำถาม ‘อยู่ไหน’ ของพ่อเยอะขึ้นในแต่ละวัน และ ‘การลืม’ ของพ่อถี่ขึ้นในแบบที่ลูกสาวคนนี้สังเกตได้ ทำให้ความกลัวเริ่มเ...
11/07/2025

เพราะคำถาม ‘อยู่ไหน’ ของพ่อเยอะขึ้นในแต่ละวัน และ ‘การลืม’ ของพ่อถี่ขึ้นในแบบที่ลูกสาวคนนี้สังเกตได้ ทำให้ความกลัวเริ่มเกาะกินจิตใจที่คิดแต่เพียงว่า ‘ภาวะความจำเสื่อม’ เป็นเรื่องไกลตัว จวบจนกระทั่งพ่อบังเกิดเกล้าเข้าสู่วัยชรา โรคนี้กลับขยับใกล้เข้ามาเรื่อยๆ

ความกลัวแรกที่นึกถึงคือคนเป็นอัลไซเมอร์มีภาพจำที่ไม่น่าจดจำเสมอ เคยได้ยินไหมว่า “เลอะเลือนจนเล่นขี้เล่นเยี่ยว” “ก้าวร้าว และรุนแรงจนควบคุมไม่อยู่” ความคิดแนวนี้ถูกส่งต่อมาถึงคนที่ไม่ได้ใกล้ชิดกับโรค แต่แค่จำได้ว่าคนเป็นโรคนี้จะเป็นแบบไหน

ความกลัวที่สองคือ “ถ้าพ่อแม่เป็นแล้วเราต้องทำยังไง” เราในฐานะผู้ดูแลต้องออกจากงานไหม ต้องคอยตอบคำถามซ้ำๆ กี่คำตอบต่อวัน หรือต้องคอยล่ามพวกเขาไว้เพื่อกันเขาลืมจนเดินหนีหายไป

เพื่อตัดความฟุ้งซ่านที่เกิดขึ้น เราจึงตั้งใจไป #มนุษย์ต่างวัยFest2025 เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2568 โดยมี Sessions : “ความทรงจำสั้น แต่รักฉันยาว” สมองเสื่อมสนทนาว่าด้วยการป้องกันสมองเสื่อมและการดูแลหัวใจผู้ป่วยด้วยละคร เป็นแรงดึงดูดแบบที่ไม่เคยคิดว่าในชั่วชีวิตนี้จะต้องมานั่งฟังทอร์คกเรื่องผู้ป่วยความจำเสื่อม จวบจนนั่งฟังจบตลอดเกือบ 1 ชั่วโมง สิ่งที่หนักในใจนั้นเบาลง และเราได้ข้อคิด 3 เรื่องที่ทำให้เปลี่ยนความคิดต่อโรคภาวะสมองเสื่อมไปโดยปริยาย

ผศ.พญ.สิรินทร ฉันศิริกาญจน จากภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เริ่มต้นด้วยการบอกกับเราว่า จำนวนผู้ป่วยสมองเสื่อมในสังคมไทยอาจจะไม่ใช่ทั้งหมด เพราะยังมีผู้ป่วยแฝงที่ไม่ได้รับการตรวจและไม่รู้ว่าตัวเองเข้าข่ายผู้ป่วยความจำเสื่อมซ่อนอยู่ ยิ่งไปกว่านั้นอาการสมองเสื่อมไม่ได้เป็นสิ่งที่ติดตัวมากับผู้สุงอายุเท่านั้น แต่คนอายุน้อยๆ ก็สามารถเป็นได้เช่นกัน

ในฐานะที่หมอสิรินทร คลุกคลีกับโรคนี้ผ่านสายงาน จึงสามารถการันตีได้ว่าคนเป็นอัลไซเมอร์จะมีอาการเป็นลำดับขั้น ไม่ได้เป็นแล้วจะลืมชื่อ ลืมกินข้าว ลืมหิว หรือลืมว่าตัวเองเป็นใครในทันที ซึ่งเคล็ดลับคือการกินให้ดี นอนให้พอ ฝึกสมองตลอดเวลา ไม่ปล่อยให้น้ำหนักเกิน รวมถึงการหลีกเลี่ยงสิ่งที่จะทำให้เกิดอุบัติเหตุทางด้านสมอง จะช่วยลดความเสี่ยงของสภาวะสมองเสื่อมได้

“อาการในช่วงเริ่มต้นได้ง่ายๆ คือ ภาวะการลืมในระยะสั้น จำสิ่งที่ตัวเองทำไม่ได้ภายใน 24 ชั่วโมง แต่ถ้าเป็นเรื่องในอดีตสามารถโม้ได้เป็นวัน แล้วระดับต่อไปคือไม่สามารถทำสิ่งที่เคยทำหรือสิ่งที่ทำได้ดีได้เหมือนเดิม ประกอบไม่มีสมาธิในการจดจ่อหรือการทำสิ่งต่างๆ ได้นาน และท้ายที่สุดขั้นรุนแรงคือจะเสียความสามารถในการเข้าสังคม”

โรคนี้จะไล่ไปตามความรุนแรง และไม่มีทางหายขาด แต่อาจจะเบาลงได้ หมอสิรินทรให้กำลังใจผ่านคำพูด ดังนั้นถ้าใครที่คาดหวัง หรือตั้งเป้าถึงการรักษาของพ่อหรือแม่ว่าต้องสมบูณ์แบบ ความคิดนี้อาจจะกินพลังชีวิต และพลังใจในการดูแลไปมากพอสมควร ดังนั้นแล้วสิ่งที่ควรทำคือ (1) ‘ใช้ความเข้าใจสูง’

“บางทีลูกๆ รับไม่ได้ที่พ่อแม่เป็นแบบนี้ เช่นการโวยวาย เสียงดัง ไม่พอใจ หรือกริยาที่คิดว่าเรามันน่าเกลียด แต่จริงๆ แล้วมันเป็นเพราะอาการของโรคที่มีขึ้นลง โรคส่งผลกับการสั่งการทางสมอง ส่งผลกับพฤติกรรม บางทีคนที่เป็นโรคเขาไม่ได้ตั้งใจด้วยซ้ำ หรือไม่รู้ว่าตัวเองทำอะไร เราเลยต้องเข้าใจเขาให้มาก”

หมอสิรินทรบอกอีกว่าสิ่งสำคัญคือผู้ดูแลต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และเปลี่ยนมุมมองต่อผู้ป่วยว่าพฤติกรรมต่างๆ เป็นผลจากอาการ ไม่ใช่การแกล้งทำ (2) ควรดูแลด้วยความยืดหยุ่น ไม่ห้ามหรือสั่ง แต่เล่นบทบาทตามผู้ป่วย

“ลูกบางคน หรือบางครอบครัวพยายามแยกให้เขาเป็นคนป่วยโดดเดี่ยว เวลากินข้าวก็ตักอาหารแยกราดข้าวเตรียมป้อนอย่างเดียว หรือไม่อยากพาออกจากบ้าน ให้นั่งเฉาๆ ในห้อง บรรยากาศที่ผู้ป่วยได้รับมันหดหู่ไม่ต่างกับอยู่โรงพยาบาล จริงๆ แล้วถ้าพ่อแม่ยังช่วยเหลือตัวเองได้ ก็ให้เขามานั่งร่วมวงกินข้าวด้วยกัน ตักเลอะไม่เป็นไร สกปรกก็พยายามเช็ดเอา หรือการพาออกไปเดินดูงานข้างนอก ส่วนนี้ถ้าผู้ดูแลเตรียมพร้อมประเมินสถานการณ์ว่าระดับของโรคไม่ได้ร้ายแรงก็สามารถพาออกไปได้ ทำให้ผู้ป่วยช่วยฟื้นฟูตัวเองได้ดีด้วย”

หมอสิรินทรย้ำว่าภาวะสมองเสื่อมไม่ได้เป็นเพียงแค่เรื่องของผู้ป่วยและผู้ดูแลเท่านั้น แต่เป็นเรื่องของทุกคนที่จะช่วยกันสร้างสังคมที่เป็นมิตรกับผู้ป่วยสมองเสื่อม และสิ่งที่สำคัญคือความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องต่อสภาวะนี้ ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยสมองเสื่อมสามารถอยู่ร่วมกับทุกคนในสังคมได้

เหมือนกับที่ นาโอกิ ซูงาวาระ ผู้ก่อตั้งคณะละครผู้สูงวัย OiBokkeshi (โออิ-โบะ-เกะ-ชิ) บอกเล่าถึงคณะละครผู้สูงวัยที่เขาทำในญี่ปุ่น โดยมีหลักการคือการดึงศักยภาพของผู้ป่วยสมองเสื่อมออกมาสู่สายตาสังคม

สำหรับจุดเริ่มต้นของคณะละคร OiBokkeshi (โออิ-โบะ-เกะ-ชิ) นาโอกิเริ่มต้นจากการเป็นคนทำงานด้านการดูแลผู้ป่วย และได้ค้นพบว่า ‘ละครเวที’ ช่วยเยียวยาผู้สูงวัยที่มีภาวะสมองเสื่อมได้ เขาบอกอีกว่าผู้สูงอายุเหล่านี้มีศักยภาพในการแสดงมากกว่าที่คิด และการแสดงไม่ได้มีเป้าหมายเพื่อแก้ไขอาการของผู้ป่วยโดยตรง แต่เพื่อรับฟังและตอบสนองต่อสภาวะของผู้ป่วยอย่างเข้าอกเข้าใจ

โดยนาโอกิใช้เทคนิคทางการละครเป็นเครื่องมือ เช่น ในกรณีของคุณตาท่านหนึ่งที่ดูแลภรรยาซึ่งมีภาวะสมองเสื่อม เมื่อได้เข้าร่วมเวิร์กช็อปและฝึกฝนการแสดง ก็พบว่าคุณตามีความสดใสและมีความสุขมากขึ้น จนกลายเป็นนักแสดงหลักของคณะในเวลาต่อมา ด้วยแรงบันดาลใจจากภรรยาที่ชอบเดินออกจากบ้านโดยไม่มีจุดหมาย คณะละครได้นำประสบการณ์นั้นมาสร้างเป็นการแสดง โดยให้เนื้อเรื่องเป็นการตามหาผู้ป่วยสมองเสื่อมที่หายตัวไป ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้ชม การแสดงจึงไม่ใช่แค่กิจกรรมบันเทิง แต่กลายเป็น ‘อิคิไก’ หรือความหมายของชีวิตทั้งสำหรับผู้ป่วยและผู้ดูแล

(3) ทุกคนมีศักยภาพ ถ้าเราเปิดรับมากพอ ทั้งหมอสิรินทร และนาโอกิ บอกสิ่งที่สำคัญที่สุดที่สังคมควรตระหนักถึงผู้ป่วยความจำเสื่อม

“สนับสนุนสิ่งที่พวกเขายังทำได้ และควรมีพื้นที่ให้ผู้ป่วยสมองเสื่อมได้ทำกิจกรรมร่วมกับชุมชน เช่น ละครเวที หรือชมรมร้องเพลง เพื่อสร้างความสัมพันธ์ใหม่และลดการแยกตัว” ประโยคส่งท้ายจากนาโอกิ

“นอกจากการช่วยเหลือของทางภาครัฐแล้ว ไทยควรเริ่มมีการคัดกรองผู้สูงวัยตั้งแต่อายุ 60 ปีขึ้นไป เพื่อเตรียมรับมือกับภาวะสมองเสื่อมที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต” ประโยคส่งท้ายจากหมอสิรินทร

เรื่อง : มยุรา ยะทา
ภาพประกอบ : บัว คำดี

#ความจำเสื่อม #มนุษย์ต่างวัยเฟส #อัลไซเมอร์ #ผู้สูงอายุ

“พระก็คนธรรมดา ไม่ได้บวชแล้วยิ่งใหญ่”หน้าที่ของ ‘พระสงฆ์’ ที่หนังสือวิชาสังคมศึกษาสมัยประถมเคยบอกไว้ คือ ศึกษาหลักธรรมคำ...
11/07/2025

“พระก็คนธรรมดา ไม่ได้บวชแล้วยิ่งใหญ่”

หน้าที่ของ ‘พระสงฆ์’ ที่หนังสือวิชาสังคมศึกษาสมัยประถมเคยบอกไว้ คือ ศึกษาหลักธรรมคำสอนและเผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า

แต่พระอั๋นบอกว่า หน้าที่ของพระสงฆ์ คือ การศึกษาคำสอนและทำให้ตัวเองเข้าใจ

“จริงๆ พระพุทธเจ้าไม่ได้ส่งเสริมให้ใครก็ได้ไปพูดธรรมะทันทีนะ หน้าที่หลักของคนที่บวชเข้ามา ไม่ได้เริ่มต้นเพื่อจะเข้ามาสอนคน แต่เข้ามาเพื่อฝึกตัวเองก่อน แน่นอนว่าเมื่อเราฝึกตัวเองได้แล้ว อีกหน้าที่หนึ่ง คือ ช่วยกันเผยแพร่สิ่งที่เราได้รับให้กับคนอื่นๆ พระแต่ละรูปควรจะมีจรรยาบรรณว่า ถ้าเรายังไม่เข้าใจคำสอนดีพอ เราก็ยังไม่ควรไปรีบสอนคนอื่น แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนจะมีความสามารถในการพิจารณาตัวเองเสมอไป”

เมื่อพระอยู่ในตำแหน่งเพศบรรพชิต ซึ่งสูงกว่าคฤหัสถ์หรือพุทธศาสนิกชนทั่วไป ในเรื่องของการครองตนและขัดเกลากิเลสของตัวเอง พระสงฆ์จึงกลายเป็นที่เคารพนับถือ พระบางรูปก็เผลอไผลไปกับการได้กลายเป็นคนสำคัญ ถือตัว และอดทนไม่ได้เมื่อถูกวิพากษ์วิจารณ์

พระอั๋นทีบวชมาเข้าปีที่ 15 บอกว่า แท้จริงแล้ว พระสงฆ์ก็เป็นมนุษย์ธรรมดาๆ คนหนึ่งเช่นเดียวกันกับคนทั่วไป ไม่ได้มีพลังวิเศษ ไม่ได้มีเวทมนตร์คาถา ไม่ได้เหาะเหินเดินอากาศได้

“พระก็เป็นคนธรรมดาเหมือนกัน ไม่ใช่บวชแล้วจะยิ่งใหญ่ จริงๆ การได้สอนคนอื่นก็เหมือนเสริมอัตตาให้ตัวเอง พระบางรูปชอบที่ได้มีคนมาเคารพ พูดอะไรก็ไม่มีคนเถียง กลายเป็นคนสำคัญ ทั้งๆ ที่ก่อนบวชเราอาจจะไม่ได้สำคัญขนาดนี้ ถ้าไม่หมั่นเช็กตัวเอง ก็อาจเสพติดความมีตัวตน แทนที่จะไปเรียนรู้ธรรมะ”

พระอั๋นเสริมว่า การบวชเรียนในอดีตเป็นการละทางโลกเข้าสู่ทางธรรมโดยถาวร แต่สำหรับประเทศไทย เรามีวัฒนธรรมบวชระยะสั้น พระในประเทศไทยจึงมีจำนวนมาก มีทั้งคนที่ใฝ่ธรรมและคนที่เข้ามาอยู่ใต้ผ้าเหลืองไปวันๆ แต่ข้อดีคือ พระหลายรูปเริ่มสนใจจริงจังเมื่อลองบวช ซึ่งพระอั๋นคือ 1 ในนั้น

“ศาสตร์ของศาสนาพุทธมันเป็นการฝึกตัวเอง ฉะนั้น คนที่ทำได้ดีมักจะเป็นคนที่ย้อนกลับมาสนใจตัวเอง ฝึกตัวเอง แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนที่จะเก่งในการอธิบายสิ่งนี้ให้คนอื่นฟัง เราจึงมีพระดีที่เงียบๆ จำนวนไม่น้อย ในขณะเดียวกัน ก็อาจมีพระอีกกลุ่มที่ถนัดด้านการพูดธรรมะ แต่คำสอนเหล่านั้นอาจยังไม่ได้เป็นเนื้อเป็นตัวของเขา ทำให้บางทีการแนะนำก็อาจคลาดเคลื่อนไปจากพฤติกรรมของเขาได้ ซึ่งก็ต้องยอมรับว่าไม่มีใครสมบูรณ์แบบ”

อ่าน ‘บวชระยะสั้น’ และอื่นๆ ที่เป็นสิ่งประดิษฐ์ในโลกของพระพุทธศาสนาที่มาจาก ‘สังคมไทยไทย’ : คุยกับพระอั๋น – พระเอกวีร์ มหาญาโณ https://mutualfinding.co/phra-aun/

เรื่อง : เพ็ญสินี ธิติธรรมรักษา
ภาพ : อนุชิต นิ่มตลุง
ภาพประกอบ : ภัทราภรณ์ สงสาร
#พระ #พุทธศาสนา

นิติรัตน์บอกว่าความเหลื่อมล้ำคือสิ่งที่เราไม่สามารถมองข้ามไปได้ จากการสำรวจพบว่าประเทศไทยมีประชากร 2.39 เป็นคนจน ซึ่งแบ่...
10/07/2025

นิติรัตน์บอกว่าความเหลื่อมล้ำคือสิ่งที่เราไม่สามารถมองข้ามไปได้ จากการสำรวจพบว่าประเทศไทยมีประชากร 2.39 เป็นคนจน ซึ่งแบ่งตามเส้นความยากจนที่ 3,043 บาท นอกจากนี้ยังมีกลุ่มคนจนรุนแรงอยู่ 6.3 แสนราย ที่น่ากังวลคือกลุ่มเด็กอายุ 6-14 ปี มีสัดส่วนคนจนสูงสุดมากถึง 6.56%
คนทั่วไปหนีไม่พ้นความจน ประชากรกลุ่มเฉพาะก็เช่นกัน นิติรัตน์ได้ยกตัวอย่างประชากรกลุ่มเฉพาะบางกลุ่มเพื่อทำให้เห็นภาพรวมสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำและความเปราะบางที่ไม่แพ้คนทั่วไป
เมื่อพิจารณาจากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน เริ่มต้นที่กลุ่มสตรีมีครรภ์ราว 4.58 แสนคน ซึ่งการตั้งครรภ์บุตร 1 คน ทำให้รายได้ลดลงมากถึง 20% แน่นอนว่าโอกาสในการทำงานก็จะลดลงไปด้วยเนื่องจากผู้ว่าจ้างมองว่าคนกลุ่มนี้ไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ ส่งผลให้สตรีมีครรภ์เจอกับสถานการณ์ค่าใช้จ่ายมากขึ้น แต่รายได้ลดลง ที่สำคัญคือปัจจุบันกลุ่มสตรีมีครรภ์ยังขาดสวัสดิการเงินอุดหนุนการตั้งครรภ์จากภาครัฐอีกด้วย เพราะตอนนี้มีเพียงเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด (0-6 ปี) 600 บาท สำหรับครัวเรือนรายได้เฉลี่ยไม่เกิน 100,000 บาทเท่านั้น

“ความยากจนเกิดจากความขี้เกียจ?”

‘ไผ่’ นิติรัตน์ ทรัพย์สมบูรณ์ ผู้ประสานงานเครือข่ายรัฐสวัสดิการเพื่อความเท่าเทียมและเป็นธรรม (We Fair) เล่าว่าตนเองเคยตั้งคำถามกับผู้เข้าร่วมกิจกรรม Workshop การเรียนรู้รัฐสวัสดิการว่า ความยากจนเกิดจากอะไร คำตอบมีทั้งความยากจนเกิดจากกรรมเก่า ความยากจนเกิดจากการไม่ได้เรียนหนังสือ และความยากจนเกิดจากความขี้เกียจ ซึ่งข้อสุดท้ายเป็นคำตอบที่คนเลือกตอบมากที่สุด

ที่ผ่านมาเราเชื่อมาตลอดว่าเพราะไม่ขยันจึงจน และเมื่อจนก็ไม่สามารถโทษใครได้นอกจากตัวเอง แต่ในความเป็นจริง มีอีกหลายคนที่ขยันสุดตัว แต่ก็ยังหนีจากความจนไม่พ้นเสียที เพราะการมองว่าจนจากความขี้เกียจไม่ได้นำไปสู่การแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างจริงๆ

“เรามีความชินชาต่อความไม่เป็นธรรม ถูกกล่อมเกลาให้เชื่อแบบนั้น หรือเฉยๆ ต่อมัน ซึ่งเราคิดว่าถ้าไม่มีการเปลี่ยนจิตสำนึกนี้ จะไม่มีการนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในสังคมได้” นิติรัตน์กล่าว

ประเทศไทยมีคนจน 2.39 ล้านคน ในจำนวนนี้มี ‘ประชากรกลุ่มเฉพาะ’ อยู่ไม่น้อย ดร.นณริฏ พิศลยบุตร จากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย นิยามว่ากลุ่มประชากรเฉพาะ คือ ประชากรบางกลุ่มที่มีความเปราะบาง ต้องการกระบวนการพิเศษในการเข้าถึงการสร้างเสริมสุขภาวะ และไม่ได้รับประโยนช์จากกลไกการสร้างเสริมสุขภาพตามนโยบายในภาพรวม

เพื่อแก้ไขความจนให้ตรงจุด นิติรัตน์จึงเผยสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำในปัจจุบันที่สังคมควรหันมารับรู้ร่วมกัน ภายในงานประชุมวิชาการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เสียงที่คนอื่นไม่ได้ยิน : ประชากรกลุ่มเฉพาะครั้งที่ 3 เมื่อ 18 มิ.ย. 2568 ภายใต้หัวข้อ สถานการณ์ความเหลื่อมล้ำทางสุขภาพในมุมมองของภาควิชาการและภาคประชาสังคม

นิติรัตน์บอกว่าความเหลื่อมล้ำคือสิ่งที่เราไม่สามารถมองข้ามไปได้ จากการสำรวจพบว่าประเทศไทยมีประชากร 2.39 เป็นคนจน ซึ่งแบ่งตามเส้นความยากจนที่ 3,043 บาท นอกจากนี้ยังมีกลุ่มคนจนรุนแรงอยู่ 6.3 แสนราย ที่น่ากังวลคือกลุ่มเด็กอายุ 6-14 ปี มีสัดส่วนคนจนสูงสุดมากถึง 6.56%

คนทั่วไปหนีไม่พ้นความจน ประชากรกลุ่มเฉพาะก็เช่นกัน นิติรัตน์ได้ยกตัวอย่างประชากรกลุ่มเฉพาะบางกลุ่มเพื่อทำให้เห็นภาพรวมสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำและความเปราะบางที่ไม่แพ้คนทั่วไป

เมื่อพิจารณาจากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน เริ่มต้นที่กลุ่มสตรีมีครรภ์ราว 4.58 แสนคน ซึ่งการตั้งครรภ์บุตร 1 คน ทำให้รายได้ลดลงมากถึง 20% แน่นอนว่าโอกาสในการทำงานก็จะลดลงไปด้วยเนื่องจากผู้ว่าจ้างมองว่าคนกลุ่มนี้ไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ ส่งผลให้สตรีมีครรภ์เจอกับสถานการณ์ค่าใช้จ่ายมากขึ้น แต่รายได้ลดลง ที่สำคัญคือปัจจุบันกลุ่มสตรีมีครรภ์ยังขาดสวัสดิการเงินอุดหนุนการตั้งครรภ์จากภาครัฐอีกด้วย เพราะตอนนี้มีเพียงเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด (0-6 ปี) 600 บาท สำหรับครัวเรือนรายได้เฉลี่ยไม่เกิน 100,000 บาทเท่านั้น

ข้อเสนอจากนิติรัตน์ คือ ควรมีเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด (0-6ปี) แบบถ้วนหน้า และเงินอุดหนุนสตรีมีครรภ์ในช่วงเดือนที่ 5-9 ในอัตราไม่ต่ำกว่าเส้นความยากจน

ในส่วนของกลุ่มผู้สูงอายุที่มีราว 13 ล้านคน ทุกวันนี้สังคมไทยเข้าสู่สังคมสูงวัยแล้ว มีผู้สูงอายุ 12.2 ล้านคนเท่านั้นที่ได้รับเบี้ยยังชีพ โดยเบี้ยยังชีพของผู้สูงอายุ 60 - 69 ปี ได้รับเดือนละ 600 บาท - อายุ 70-79 ปี ได้รับ เดือนละ 700 บาท - อายุ 80-89 ปี ได้รับเดือนละ 800 บาท ส่วนอายุ 90 ปีขึ้นไป ได้รับเดือนละ 1,000 บาท ซึ่งในจำนวนที่ได้รับต่ำกว่าเส้นความยากจน 3-5 เท่า

ขณะเดียวกันผู้สูงอายุเองก็มีความเปราะบางด้านรายได้ เนื่องจาก 90% ของผู้สูงอายุที่ทำงานอยู่ เป็นแรงงานนอกระบบ ส่วนใหญ่อยู่ในภาคเกษตร ที่ไม่ได้รับการคุ้มครองจากสิทธิสวัสดิการต่างๆ เช่น ประกันสังคม เป็นต้น นิติรัตน์จึงมองว่าการพัฒนาเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุควรจะเกิดขึ้น โดยมีการสร้างระบบบำนาญพื้นฐานถ้วนหน้าให้กับประชาชนทั่วไปโดยมีเป็นอัตราไม่ต่ำกว่าเส้นความยากจน

ภาพรวมของคนพิการในปัจจุบัน 4.19 ล้านคน แต่มีเพียง 2.2 ล้านคนเท่านั้นที่มีบัตรประจำตัวคนพิการ นั้นหมายความว่ามีคนพิการกว่า 2 ล้านคนไม่สามารถเข้าถึงสิทธิและสวัสดิการของคนพิการได้เนื่องจากไม่มีบัตร เนื่องจากการนิยามความพิการของแต่ละหน่วยงานรัฐต่างกัน นอกจากนี้ยังพบว่ามีคนพิการยากจนอยู่ 2.23 แสนคนและกลุ่มคนพิการยากจนที่สุดเข้าถึงเบี้ยยังชีพเพียง 79.61% ข้อเสนอจากนิติรัตน์คือเพิ่มเบี้ยความพิการให้มีอัตราไม่ต่ำกว่าเส้นความยากจน

ดังนั้นการแก้ไขความยากจนด้วยการทำให้คนขยันจึงไม่ใช่คำตอบ จึงต้องแก้ที่โครงสร้าง เพื่อคนให้มีโอกาสเข้าถึงสิทธิสวัสดิการ โดยเฉพาะในประชากรกลุ่มเฉพาะ ที่เข้าไม่ถึงอำนาจและสิทธิขั้นพื้นฐาน โจทย์ของสังคมในตอนนี้คือจะทำอย่างไรให้ทุกคนหลุดพ้นจากความจนได้

นิติรัตน์ทิ้งท้ายว่า รัฐสวัสดิการจะแก้ปัญหาทั้งความยากจน ความเหลื่อมล้ำ และความเปราะบาง การที่มีนโยบายรัฐสวัสดิการ เช่น หลักประกันสุขภาพ การศึกษาฟรี เงินอุดหนุนเด็กถ้วนหน้า และระบบบำนาญผู้สู้งอายุ ทำให้โอกาสในการเข้าถึงสิทธิสวัสดิการเป็นของทุกคน จะทำให้คุณภาพของคนในสังคมยกระดับอย่างยั่งยืน รวมทั้งประชากรกลุ่มเฉพาะก็จะมีคุณภาพชีวิตอย่างมีเกียรติและศักดิ์ศรี

อ่านบนเว็บไซต์ได้ที่ https://section09.thaihealth.or.th/2025/07/10/poverty/

เรื่อง : ณัฐริฎา ศิริสอน
ภาพประกอบ : บัว คำดี

#ความยากจน #สตรีมีครรภ์ #คนพิการ #ผู้สูงวัย #ประชากรกลุ่มเฉพาะ #สำนัก9 #สสส #นับเราด้วยคน #เสียงที่คนอื่นไม่ได้ยิน #สานพลัง #สร้างนวัตกรรม #สื่อสารสุข ับเราด้วยคน #ก้าวสู่ทศวรรษที่3กับสสส

‘แก่’ จะมีสักกี่คนที่ไม่กลัวคำนี้ ทั้งๆ ที่ไม่มีใครหนีช่วงวัยนี้พ้น แต่แทนที่จะกลัวหรือวิ่งหนี จะดีกว่าไหมถ้าเรายิ้มต้อน...
10/07/2025

‘แก่’ จะมีสักกี่คนที่ไม่กลัวคำนี้ ทั้งๆ ที่ไม่มีใครหนีช่วงวัยนี้พ้น แต่แทนที่จะกลัวหรือวิ่งหนี จะดีกว่าไหมถ้าเรายิ้มต้อนรับความแก่ด้วยความยินดีปรีดา

เมื่อพูดถึงคำว่า ‘วัยอันควร’ สิ่งแรกที่นึกถึงไปพร้อมกับคำนี้คือคำว่า ‘จากลา’ เพราะใครๆ ก็มักพูดว่าวัยอันควรเป็นวัยที่ ‘ควร’ ลาโลกแล้ว แต่ลืมนึกไปว่าวัยนี้ไม่ใช่วัยที่รอวันลาโลกเพียงอย่างเดียว แต่มันคือวัยที่เราผ่านพ้นการเจอประสบการณ์ต่างๆ มากมาย นี่อาจจะเป็นวัยที่เรานั่งทบทวนสิ่งที่ผ่านมา หรือในขณะเดียวกันอาจจะเป็นวัยที่เราอยากเริ่มต้นใหม่กับอะไรบางอย่างอีกด้วย เช่น บางคนเพิ่งเริ่มหันมารักสุขภาพตอนวัยนี้ หรือบางคนหัดเขียนพินัยกรรม

เพราะฉะนั้นวัยอันควร อาจตีความหมายถึง ‘ความแก่’ ที่เป็นเรื่องของวัย ร่างกาย จิตใจที่ร่วงโรยตามกาลเวลา ตาที่พร่ามัวขึ้น ผิวหนังที่เริ่มเหี่ยว หูที่อาจจะไม่ค่อยได้ยินแล้ว ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นความธรรมชาติและความสวยงามของมนุษย์ทั้งนั้น

นิทรรศการ ‘ก่อนถึงวัยอันควร – Coming of Aging’ จึงเป็นนิทรรศการที่ชวนทบทวนช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงและการเติบโต หรือที่ใครๆ มองว่าเป็นเรื่องของความแก่ ผ่านแสง สี เสียง ด้วยบรรยากาศ Immersive Experience ภายใน 3 โซนที่พาไปทบทวนและดำดิ่งอยู่ในการเติบโตไปด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น

โซนที่ 1 Beneath the Surface ‘ห้องสะท้อนใจ’ สะท้อนมุมมองผู้สูงอายุผ่านตัวเราเอง
โซนที่ 2 The Tree of Echoes ‘ข้ามผ่านกาลวัย’ เตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงและการเติบโตในอนาคต ผ่านเรื่องเล่าจากคนสูงวัย
โซนที่ 3 Embrace the Next Season ‘ต้อนรับฤดูใหม่’ ยิ้มรับฤดูกาลใหม่ ตอบข้อสงสัยในใจทั้งหมดที่มี

กิจกรรมครั้งนี้จัดขึ้นโดย Eyedropper Fill สนับสนุนศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สสส. เข้าชมฟรีตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 16 ก.ค. 2568 ที่ River City Bangkok Galleria 3 ชั้น 2

หลังจากสำรวจไปทั่วงาน เราพบว่าใครๆ ต่างก็สนใจช่วงเวลาวัยอันควร โดยที่ไม่ต้องรอให้ตัวเองถึงวัยอันควรด้วยซ้ำ ไม่ว่าจะเป็น เด็กมัธยม นักศึกษา First-jobber ไปจนถึงคนสูงอายุ ต่างคนต่างพร้อมจะเรียนรู้การเติบโตไปพร้อมกับนิทรรศการนี้

เมื่อก้าวเข้ามาถึงโซนแรก Beneath the Surface ‘ห้องสะท้อนใจ’ สิ่งที่เห็นคือบ่อน้ำขนาดใหญ่ที่มองลงไปจะเจอกับเงาสะท้อนของตัวเอง พร้อมกับคำถามเกี่ยวช่วงเวลาสูงวัยที่เราไม่เคยนึกถึง โซนนี้จึงพาเราไปคิดทบทวนว่าที่ผ่านมา เรามอง ‘สูงอายุ’ ไว้ยังไง

ถัดออกมาอีกหน่อยก็จะเจอกับ The Tree of Echoes ‘ข้ามผ่านกาลวัย’ ต้นไม้ตั้งตระหง่านอยู่กลางห้อง ห้อมล้อมด้วยใบไม้ที่ร่วงโรยอยู่เกลื่อนพื้น ระหว่างยืนมองต้นไม้ เราก็จะได้ยินเรื่องเล่าจากผู้สูงวัยไปด้วย มีทั้งเรื่องสุข ทุกข์ สนุก และสดใส แต่ละเรื่องดำเนินไปไม่ได้เพื่อให้ผู้ฟังรู้สึก ‘หดหู่ใจ’ แต่เพื่อให้เรียนรู้ไปพร้อมกันต่างหาก

ภายในงานมีจุดต่างๆ ให้ได้เรียนรู้และซึมซับเรื่องราวของการเติบโต โดยเฉพาะในโซน Embrace the Next Season ‘ต้อนรับฤดูใหม่’ ซึ่งภายในโซนนี้จะมีคำถามมากมายให้ผู้เข้าชมได้ร่วมตอบ หนึ่งในนั้นคือการนึกถึงภาพตัวเองตอนแก่ว่าจะเป็นอย่างไร และเขียนลงไปบนกระดาษ กระดาษใบนั้นต่างถูกผูกผ่านเชือกต่อกันไปเรื่อยๆ เหมือนเถาวัลย์ในป่า ห้องนี้จึงเป็นเหมือนนิทรรศการที่ผู้ร่วมงานต่างสร้างขึ้นมาเอง และให้คนอื่นๆ ได้ดูกันไปด้วย

วันนี้เราเลยนำ 4 ข้อความจากนิทรรศการมาให้ได้ชมกัน เผื่อว่าใครยังนึกไม่ออกว่าวัยชราของตัวเองจะหน้าตาแบบไหน และหวังว่าหลังจากที่ได้อ่านแล้ว ภาพในตอนแก่ของทุกคนจะชัดเจนและสดใสมากขึ้น

เรื่อง : ณัฐริฎา ศิริสอน
ภาพ : Eyedropper fill
ภาพประกอบ : ภัทราภรณ์ สงสาร

#ก่อนถึงวัยอันควร

ถ้าเอ่ยคำว่า ‘วัยรุ่นเทสดี’ คุณจะนึกถึงอะไร? กลุ่มวัยรุ่นที่แต่งตัวแตกต่างจากกลุ่มคนทั่วไป จนเราต้องแอบเหลียวมอง หรือเป็...
09/07/2025

ถ้าเอ่ยคำว่า ‘วัยรุ่นเทสดี’ คุณจะนึกถึงอะไร? กลุ่มวัยรุ่นที่แต่งตัวแตกต่างจากกลุ่มคนทั่วไป จนเราต้องแอบเหลียวมอง หรือเป็นกลุ่มวัยรุ่นที่หลงใหลในแฟชั่นและเครื่องแต่งกาย จนกลายเป็นบุคลิกที่มีเอกลักษณ์ชัดเจน

วัยรุ่นเทสดี อาจดูเป็นตัวแทนสัญลักษณ์ของวัยรุ่นชนชั้นกลางในเขตเมือง แต่เรื่องของรสนิยมก็ไม่ได้ขึ้นอยู่กับฐานะทางเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว เมื่อวันนี้ช่องทางการช็อปปิ้งและซื้อเสื้อผ้าเทสดี มีต้นทุนที่ถูกลงมาก ทำให้กลุ่มประชากรอย่างแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย ยังลุกขึ้นมาแต่งตัว ‘เทสดี’ ในแบบฉบับของพวกเขา

อาจจะต้องลืมภาพจำของแรงงานข้ามชาติในอุดมคติไปก่อน เพราะความหลากหลายของพวกเขาไม่ได้ถูกแช่แข็งอยู่กับมายาคติที่เราเคยมองกัน รวมถึงการก้าวเข้าไปทำงานในอาชีพที่หลากหลายมากขึ้น

ปฏิเสธไม่ได้ว่าเหตุการณ์ความไม่สงบในประเทศเมียนมาทำให้ชาวเมียนมาอพยพเข้ามาเป็นแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยมากขึ้น และสร้างความไม่สบายใจให้กับสังคมไทย แต่อีกแง่มุมหนึ่งฟิลิป มาร์ติน นักเศรษฐศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ได้ทำการศึกษาไว้ตั้งแต่ปี 2548 ที่ระบุจำนวนแรงงานข้ามชาติมีสัดส่วน ร้อยละ 5 ของกำลังแรงงานในประเทศ ซึ่งส่งผลต่อ GDP ของประเทศ ร้อยละ 3.1 – 6.2 ในขณะที่ปี 2566 มีสัดส่วนแรงงานข้ามชาติ ร้อยละ 6.55 ต่อจำนวนผู้มีงานทำทั้งหมด ทำให้พวกเขาเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

ในด้านเชิงประชากรศาสตร์ ศ.กิตติคุณ อภิชาติ จำรัสฤทธิรงค์ จากสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ได้นำเสนองานวิชาการในหัวข้อเรื่อง ‘นโยบายการทดแทนประชากร ตามบทพลิกกลับของทฤษฎีแห่งการตอบโต้หลายทาง ของ คิงสลีย์ เดวิส’ โดยระบุใจความสำคัญว่า ประชากรไทยเมื่อสิ้นศตวรรษที่ 21 (ค.ศ. 2100) จะเหลือเพียง 32 ล้านคน จึงมีความจำเป็นต้อง ‘ทดแทนประชากร’ ด้วยข้อเสนอให้ใช้นโยบายการจัดการการย้ายถิ่นของประชากรควบคู่ไปด้วย โดยต้องมีการวางแผนอย่างรัดกุม เพื่อป้องกันการเกิดความแตกแยกที่เกิดจากสังคมพหุวัฒนธรรมที่ไม่สมดุล โดยประชากรจากประเทศเพื่อนบ้านเช่น ลาวและเมียนมา ถือเป็นกลุ่มคนที่มีความคล้ายคลึงทางวัฒนธรรม และสามารถปรับตัวเข้ากับสังคมไทยได้ง่ายในการนำมาทดแทนประชากรวัยแรงงานของไทยที่กำลังลดน้อยลง

ย้ำอีกครั้งว่า ‘วัยรุ่นเทสดี’ เป็นเรื่องของรสนิยม เราจึงชวนวัยรุ่นเทสดีกลุ่มหนึ่ง ที่มาจากเมืองมัณฑะเลย์ ที่พวกเขาใช้เวลาในช่วงวันหยุดวันอาทิตย์ในการมาเรียนภาษาไทย กับกลุ่ม STAY IN SAMPENG YAOWARAT เพื่อนัดเจอพวกเขาหลังจากจบคลาสเรียน พร้อมบอกให้พวกเขาใส่ชุดเก่งมาด้วย และนี่คือรูปถ่ายแฟชั่นของพวกเขาในย่านเมืองเก่า ตลาดน้อย จ.กรุงเทพฯ

อ่านบทความเต็มได้ที่ : https://mutualfinding.co/fashion-of-migrant-workers-in-sampeng-yaowarat/

เรื่อง : ณฐาภพ สังเกตุ
ภาพ : สุกฤษฎิ์ ปัจจันตดุสิต
ภาพประกอบ : ภัทราภรณ์ สงสาร

#โครงการรับต้นฉบับ #เรามีพื้นที่ตรงกลางร่วมกัน #วัยรุ่นเทสดี #แรงงานข้ามชาติ #ย่านสำเพ็งเยาวราช

ตอนนี้ใครๆ ก็คว้าเงินจากการปั้นคอนเทนต์ได้ โดยไม่แคร์ว่าคอนเทนต์ที่ได้ยอดวิวยอดแชร์นั้นจะเป็นแบบไหน แต่แพร - กิตติ์ธัญญา...
08/07/2025

ตอนนี้ใครๆ ก็คว้าเงินจากการปั้นคอนเทนต์ได้ โดยไม่แคร์ว่าคอนเทนต์ที่ได้ยอดวิวยอดแชร์นั้นจะเป็นแบบไหน แต่แพร - กิตติ์ธัญญา เวชกุลไชยพงศ์ เจ้าของเพจ KP ตะลอนแหลก ที่มีพื้นที่บนหน้าสื่อโซเชียลมานานกว่า 5 ปี และมีผู้ติดตามในเฟสบุ๊คมากกว่า 2.6 ล้านคน มองลึกกว่านั้น ไม่ใช่ในฐานะเจ้าของเพจ หรือนักรีวิวที่ทำอาชีพนี้มานาน แต่แพรบอกว่าตอนนี้สังคมออนไลน์ก็คือสังคมหนึ่งในชีวิตแล้ว “ดังนั้นเราจะทำ หรือผลิตคอนเทนต์อะไรลงไป เราต้องคิดเยอะขึ้น”

“เรารู้สึกว่าคอนเทนต์ของเราควรให้ประโยชน์ได้มากกว่าความบันเทิง”

คำว่าคิดเยอะขึ้นของแพร ไม่ได้เหมารวมแค่การรีวิวอาหาร เคี้ยวๆ กลืน บอกรสชาติ ราคา สถานที่ตั้งแล้วก็จบ แต่คือการเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนร้านค้าเล็กๆ ในพื้นที่ที่รอค้นพบ รวมถึงการเป็นตัวกลางระหว่างผู้ค้ากับผู้ซื้อหากราคาที่ลูกเพจของแพรนั้นได้สินค้าไม่ตรงปก หรือราคาไม่เป็นตามที่แพรเคยรีวิวไว้

“สื่อโซเชียลก็เป็นสังคมแบบหนึ่ง และเมื่อเราเผยแพร่อะไรออกไป มันไม่ใช่แค่เราที่ดู มันคือคนทั้งสังคมที่ได้เห็น” แพรกล่าว

นับรวมๆ 5 ปีที่แพรยึดการรีวิวเป็นอาชีพหลัก ณ ตอนนี้ จุดยืนของแพรขยับขยายนิยามการรีวิวให้ไปไกลมากขึ้น ทั้งการรับผิดชอบตัวเองผ่านการลดน้ำหนัก และรับผิดชอบสังคมในแบบนักรีวิวที่แพรตั้งเป้าไว้

วันนี้เราไม่ได้ชวนแพรมารีวิวเมนูอะไร เหมือนประโยคที่ทุกคนคุ้นหู อย่าง “สวัสดีค่ะ วันนี้แพรจะมารีวิว….” แต่บทสนทนาต่อไปนี้ เราชวนแพรมารีวิวและรีแคปตัวเองในฐานะที่แพรบอกว่า ไม่อยากนิยามตัวเองว่าอินฟลูเอนเซอร์ ไม่อยากเรียกว่าคนดังนักทำคอนเทนต์ แต่เป็น ‘นักรีวิวท่านหนึ่งที่ออกกำลังกายได้นิดหน่อย’

อ่านต่อที่ จากจานอาหารถึงหน้าฟีด
ขยายนิยามการรีวิวให้ไปไกลขึ้น กับ ‘แพร KP ตะลอนแหลก’ นักรีวิวที่ออกกำลังกายได้นิดหน่อย และจุดยืนทุกการรีวิวคือหนึ่งในการรับผิดชอบสังคม เพราะเรื่องกินคือเรื่องใหญ่ https://mutualfinding.co/prae-kp-talonlaek-a-reviewer-who-exercises/

เรื่อง : มยุรา ยะทา
ภาพ : KP ตะลอนแหลก
ภาพประกอบ : บัว คำดี

#นักรีวิวที่ออกกำลังกายได้นิดหน่อย #รีวิวอาหาร #ความรับผิดชอบสังคม

1 ในคำขอที่คาดไม่ถึงที่แบงค์เคยได้รับ คือ ชวนไปต่างประเทศด้วยกัน โดยทางผู้สูงอายุระบุว่าจะเป็นคนออกค่าใช้จ่ายทั้งหมดให้ ...
08/07/2025

1 ในคำขอที่คาดไม่ถึงที่แบงค์เคยได้รับ คือ ชวนไปต่างประเทศด้วยกัน โดยทางผู้สูงอายุระบุว่าจะเป็นคนออกค่าใช้จ่ายทั้งหมดให้ เพราะต้องการใครสักคนไปเป็นทั้งเพื่อนเที่ยวและตากล้องเมื่ออยู่ในต่างแดน

“มันเป็นการมองถึงอนาคตด้วยว่าจริงๆ แล้วคนในยุคปัจจุบันไม่อยากมีลูก ต้องการอยู่ตัวคนเดียว แต่พอแก่ตัวไปก็ต้องมีที่พึ่ง ใครจะพาไปหาหมอ ใครจะพาไปธนาคาร ใครจะพาไปตลาด ซึ่งเขาก็จะได้เช่าลูกเพื่อให้มาอยู่ มาช่วยเป็นครั้งคราว”

ถ้าสังคมคนโสดที่ประเทศญี่ปุ่นและประเทศจีนมีบริการแฟนเช่าสำหรับคนโสดที่อยากมีแฟนในระยะสั้นๆ

จังหวัดเชียงใหม่ในตอนนี้ก็มี ‘การเช่าลูก’ เปิดให้บริการสำหรับผู้สูงอายุที่ไม่มีลูกหลานพาไปทำกิจกรรมต่างๆ

‘ไปแอ่วหา’ ‘ช่วยจัดยา’ ‘พาไปหาหมอ’ ‘นอนขาบเป็นเพื่อน’

4 คำนี้ คือ ส่วนหนึ่งของบริการเช่าลูกที่ระบุไว้ในเพจของ บั๊ดดี้โฮมแคร์ (Buddy HomeCare ใส่ใจดูแลเหมือนคนในครอบครัว)

“ตอนแรกเราก็คิดอยู่เหมือนกันว่าคำว่าเช่าลูกดูแรงไปไหม กลัวมีดราม่า แต่พอโพสต์ลงไปกลับเป็นไวรัลเพราะเป็นคำที่น่าสนใจ แล้วเป็นเรื่องที่ดูเหมือนว่าทุกคนอยากได้” แบงค์-ทศวรรษ บุญมา ผู้จัดการบั๊ดดี้โฮมแคร์ ตอบเมื่อเราถามถึงเหตุผลว่าทำไมต้องเช่าลูก

บริการเช่าลูกเป็นบริการใหม่ของบั๊ดดี้โฮมแคร์ (Buddy HomeCare) วิสาหกิจเพื่อสังคมที่มีบริการดูแลผู้สูงอายุในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ก่อตั้งโดยมูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุ และได้รับการสนับสนุนจากสำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ (สำนัก 9) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยเปิดให้ผู้สูงอายุหรือลูกหลานของผู้สูงอายุติดต่อเข้ามาผ่านช่องทางเฟซบุ๊ค Buddy HomeCare และเบอร์โทรศัพท์

บริการนี้จะเป็นบริการที่จะส่งอาสาสมัครเข้าไปหาผู้สูงอายุ และให้บริการตามที่ผู้สูงอายุได้ระบุไว้ล่วงหน้า โดยทางบั๊ดดี้โฮมแคร์จะคิดค่าเช่าลูกเป็นรายชั่วโมง เริ่มต้นที่ชั่วโมงละ 350 บาท

“หลักๆ คือพาไปหาหมอไปโรงพยาบาล แล้วก็มีบางส่วนที่ขอพาไปเที่ยว”

บริการที่บั๊ดดี้โฮมแคร์ระบุไว้ในเพจมีตั้งแต่การอ่านฉลากยา จนไปถึงบริการที่เราคาดไม่ถึงอย่างการช่วยไถ TikTok ที่ทำให้โพสต์โปรโมทบริการเช่าลูกกลายเป็นกระแสขึ้นมา แบงค์อธิบายเพิ่มเติมว่า ผู้สูงอายุสามารถระบุเพิ่มเติมได้ว่าต้องการบริการอะไรที่นอกเหนือไปจากบริการที่ทางบั๊ดดี้โฮมแคร์ระบุไว้

1 ในคำขอที่คาดไม่ถึงที่แบงค์เคยได้รับ คือ ชวนไปต่างประเทศด้วยกัน โดยทางผู้สูงอายุระบุว่าจะเป็นคนออกค่าใช้จ่ายทั้งหมดให้ เพราะต้องการใครสักคนไปเป็นทั้งเพื่อนเที่ยวและตากล้องเมื่ออยู่ในต่างแดน

“มันเป็นการมองถึงอนาคตด้วยว่าจริงๆ แล้วคนในยุคปัจจุบันไม่อยากมีลูก ต้องการอยู่ตัวคนเดียว แต่พอแก่ตัวไปก็ต้องมีที่พึ่ง ใครจะพาไปหาหมอ ใครจะพาไปธนาคาร ใครจะพาไปตลาด ซึ่งเขาก็จะได้เช่าลูกเพื่อให้มาอยู่ มาช่วยเป็นครั้งคราว”

ซึ่งอาสาสมัครของทางบั๊ดดี้โฮมแคร์ราว 80% นั้นเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ และส่วนใหญ่เป็นปกาเกอะญอ ซึ่งแบงค์บอกว่า ความโดดเด่นของพนักงานที่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ คือ พวกเขาไม่เคยเลือกงาน หากมีเคสอะไรส่งให้ก็จะรับไปทั้งหมด แถมยังขยันขันแข็งมาก

เพราะส่วนใหญ่เรียนจบชั้นม.3 เพียงเท่านั้น ตัวเลือกของการทำงานจึงน้อย เมื่อมีโอกาสในการทำงานใหม่ๆ พวกเขาจึงเข้ามารับการอบรมการดูแลผู้สูงอายุ 420 ชั่วโมงและฝึกงานภายใต้ความร่วมมือของมูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุและคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อให้ได้วุฒิและงานดูแล เป็นต้นทุนชีวิตต่อไป

อ่าน ไม่มีลูกไม่เป็นไร เดี๋ยว ‘เช่า’ เอา : เช่าลูก เช่าลูก บริการดูแลผู้สูงวัยจากลูกหลานชาติพันธุ์ของ Buddy HomeCare https://section09.thaihealth.or.th/2025/07/08/buddy-homecare-2/

เรื่อง : ธันยพร เกษรสิทธิ์
ภาพประกอบ : บัว คำดี

#ผู้สูงวัย #เช่าลูก #ประชากรกลุ่มเฉพาะ #สำนัก9 #สสส #นับเราด้วยคน #เสียงที่คนอื่นไม่ได้ยิน #สานพลัง #สร้างนวัตกรรม #สื่อสารสุข ับเราด้วยคน #ก้าวสู่ทศวรรษที่3กับสส

สี่ตีนยังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้งเคยได้ยินไหมว่าแม้แต่ปลาก็สามารถจมน้ำได้ คำกล่าวนี้ไม่ได้ตี๊งต่างไปเอง แต่เป็นข้อเท...
07/07/2025

สี่ตีนยังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง

เคยได้ยินไหมว่าแม้แต่ปลาก็สามารถจมน้ำได้ คำกล่าวนี้ไม่ได้ตี๊งต่างไปเอง แต่เป็นข้อเท็จจริงที่สัตว์แพทย์ก็ยืนยันว่าเป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้ ดังนั้นแล้วไม่ว่าคุณจะเจ๋ง หรือสมบูรณ์แบบแค่ไหน ก็สามารถเกิดข้อผิดพลาดได้เหมือนกัน และขอยืนยันว่าไม่มีมนุษย์คนไหนไม่เคยไม่ผิดพลาด

สิ่งสำคัญคือการได้เรียนรู้จากความผิดพลาดนั้นพร้อมก้าวต่อ เรื่องบางเรื่องอาจเบาบางจนสามารถก้าวต่อไปได้ง่ายๆ แต่เรื่องบางเรื่องก็ต้องใช้ทั้งแรงกายและแรงใจในการก้าวต่อ ประกอบกับให้เวลาช่วยเยียวยาอีกแรง

แต่ถ้าเรื่องไหนที่คิดว่าหนักหนาจนเกินจะก้าวให้พ้น แล้วรู้สึกว่าสู้คนเดียวไม่ไหว ลองหันมาดูคนรอบข้างสักนิด ไม่แน่ว่าอาจจะคนมีคนเคียงข้างคุณอยู่ไม่มากก็น้อย และยังมีมิตรภาพดีๆ รอบตัวที่เขายังยินดีช่วยเหลือเราอยู่อีกมากมาย

การยอมรับว่าเราต้องการความช่วยเหลือ ไม่ได้แปลว่าอ่อนแอ แต่มันคือความกล้าที่จะรักตัวเอง

#เรามีพื้นที่ตรงกลางร่วมกัน

Address


Alerts

Be the first to know and let us send you an email when Mutual posts news and promotions. Your email address will not be used for any other purpose, and you can unsubscribe at any time.

Contact The Business

Send a message to Mutual:

Shortcuts

  • Address
  • Alerts
  • Contact The Business
  • Claim ownership or report listing
  • Want your business to be the top-listed Media Company?

Share