คลินิกวิทยฐานะ PA กับครูสดใส

  • Home
  • คลินิกวิทยฐานะ PA กับครูสดใส

คลินิกวิทยฐานะ PA กับครูสดใส เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และพัฒนาครู

17/07/2025

สถิติภาพรวมคำร้องขอย้าย ผ่านระบบ TRS ครั้งที่ 2/2568

ข้อมูล ณ วันที่ 17 กรกฎาคม 2568

#ระบบย้ายครูศธ #ย้ายครูออนไลน์ #ย้ายกรณีปกติ #ย้ายสับเปลี่ยน #ย้ายกรณีพิเศษ

17/07/2025

📣 พลิกโฉมห้องเรียน : นวัตกรรมการเรียนรู้สร้างได้จากมือคุณครู

👩‍🏫 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ ไม่ใช่เรื่องไกลตัวหรือซับซ้อน แต่คือ พลังแห่งการสร้างสรรค์ที่อยู่ในมือของคุณครูทุกคน คือ การจุดประกายการเรียนรู้ให้ลุกโชน ด้วยเทคนิคการสอน สื่อ หรือกระบวนการใหม่ๆ ที่ออกแบบมาเพื่อดึงศักยภาพสูงสุดของผู้เรียนแต่ละคน

📕 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ คือ การตั้งคำถามว่า "ทำอย่างไรให้ผู้เรียนเข้าใจและเติบโตได้ดีที่สุด"
✅️ คำตอบที่ได้อาจจะเป็นดังนี้....
🚩 เกมการศึกษา 》》ที่เปลี่ยนเรื่องยากให้เป็นเรื่องสนุก (Gamification)
🚩 การเรียนรู้ผ่านโครงงาน (Project-Based Learning) 》》ที่ให้เด็กๆ ลงมือแก้ปัญหาจริง
🚩 การใช้สื่อดิจิทัล 》》เช่น Podcast และ Online Whiteboard ที่เปิดโลกกว้างแห่งความรู้ให้เข้ามาอยู่ในห้องเรียน เป็นต้น

💓 หัวใจสำคัญของนวัตกรรม คือ "การพัฒนา" ไม่ว่าจะเป็นการคิดค้นขึ้นใหม่ทั้งหมด หรือการต่อยอดจากสิ่งที่มีอยู่เดิมให้เฉียบคมยิ่งขึ้น

🎯 เพื่อเป้าหมายสูงสุด คือ การสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่ทรงคุณค่า กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้น กล้าคิด กล้าแสดงออก และพร้อมที่จะเรียนรู้ตลอดชีวิต

📝 ดังนั้น นวัตกรรมจึงเป็นเครื่องมืออันทรงพลังที่ช่วยให้คุณครูทำงานได้ง่ายขึ้นและเห็นผลลัพธ์ที่ชัดเจนขึ้นในการพัฒนาผู้เรียน เป็นบทพิสูจน์ว่า "ครู" คือ นวัตกรผู้สร้างอนาคตของการศึกษาอย่างแท้จริง

📗️ ดังนั้น "นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ คือ การประยุกต์ใช้ความคิดสร้างสรรค์อย่างเป็นระบบของครู เพื่อพัฒนากระบวนการและสื่อการสอนที่ตอบสนองต่อผู้เรียนอย่างตรงจุด ส่งผลให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพและยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม"

#นวัตกรรม #วิชาการหวานเจี๊ยบ #วิจัยในชั้นเรียน #แลกเปลี่ยนเรียนรู้

17/07/2025
📌การวัดประเมินผลที่มีความเหมาะสมกับผู้เรียน ✳️การวัด/ เกณฑ์/การประเมิน มีความหมายที่แตกต่างกัน เช่น  #การวัด คือ การนำเค...
16/07/2025

📌การวัดประเมินผลที่มีความเหมาะสมกับผู้เรียน

✳️การวัด/ เกณฑ์/การประเมิน มีความหมายที่แตกต่างกัน เช่น #การวัด คือ การนำเครื่องมืออะไรมาวัด เพื่อให้เห็นตำแหน่ง หรือค่าตัวเลขต่างๆ เช่น เราเอาสายวัดมาวัดเอว วัดได้ 38 แต่เกณฑ์ในใจของเราที่อยากได้ 28 ส่วน #การประเมิน คือ พฤติกรรม หรืออาการของเราที่ประเมินตัวเองว่า ฉันกำลังจะอ้วนแล้วนะ จะเห็นได้ว่าทั้ง 3 คำนี้ มีความหมายที่แตกต่างกันแต่ใกล้เคียงกันมาก
✴️สรุป คือ วัดออกมาเป็นค่า เป็นตัวเลข แล้วนำมาเทียบกับเกณฑ์ แล้วจะสรุปข้อมูลแปลงเป็นเชิงคุณภาพ ส่วนการประเมิน (Assessment) คือกระบวนการรวมรวบเก็บหลักฐาน และนำไปสู่การตีความหมาย และนำไปสรุปเป็นเชิงคุณภาพ หรือตัวเลข ดังนั้นในมุมมองในห้องเรียนเราจะใช้การประเมินในเชิง Assessment มากกว่า Evaluation

♦️รูปแบบการประเมิน คือ รูปแบบเป็นทางการ เช่น การออกข้อสอบเขียน ทดสอบ เป็น choice เป็นเติมคำ เป็นจับคู่ เป็นต้น และไม่เป็นทางการ เช่น การสังเกตจากครู การที่นักเรียนเขียนอะไรบางอย่างไว้ในหนังสือ นั่นคือการเก็บหลักฐาน
เรื่องการออกแบบการวัดและประเมินผล คือการดูการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น กระบวนทัศน์การในวัดผลจะต้องเปลี่ยน เพราะครูจะต้องการหลักฐานการทำงานของคุณครู และมาดูคู่มือเรื่องวิทยฐานะของครู เราจะเห็นว่า สิ่งที่อยากให้เกิดกับคุณครูเป็นเรื่องสมรรถนะในการปฏิบัติงาน ซึ่งสมรรถนะของครู ก็ต้องมีแผนการจัดการเรียนรู้ และผลลัพธ์ของผู้เรียน นอกจากนี้เรากำลังพูดถึงการเปลี่ยนแปลง เมื่อก่อนวัดแค่ K (knowledge) มันง่ายมากเลย แต่ความจริงเรากำลังดูการเปลี่ยนแปลงของเด็ก เพื่อที่จะส่งเสริมเขา ดังนั้น การวัดและประเมินจึงมีความสำคัญ
ตัวชี้วัดการประเมินเพื่อมีวิทยฐานะหรือเลื่อนวิทยฐานะ ตำแหน่งครู ได้แก่ 8 ตัวชี้วัด ในด้านที่ 1 การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน และ 4 ตัวชี้วัด ในด้านที่ 2 ผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน

✴️ขยายความเรื่องรูปแบบของการวัดและประเมินผล (Testing-Measurement -Evaluation-Assessment)

Testing การทดสอบ : เครื่องมือ + การตอบสนอง
Measurement การวัด : เครื่องมือ + การให้ค่าที่เป็นตัวเลข
Assessment การประเมินค่า : Assist ช่วยให้ข้อมูลในการตัดสิน “sitting beside” to sit beside the learner) การวัดและการแปลผล (ส่วนการประเมินผลจะมีหรือไม่มี ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์) โมเดลความคิด + ค่าสังเกต + การแปลความหายข้อมูล *ครูต้องมีกระบวนการคิดและการคาดการณ์พฤติกรรมนักเรียน
Evaluation : การประเมินผล Evaluation = Value การตัดสิน/การให้คุณค่า
*นอกจากเครื่องมือแล้ว การมีปฏิสัมพันธ์กับนักเรียนก็เป็นปัจจัยสำคัญในการประเมิน

✴️จุดเริ่มต้นของการออกแบบการเรียนรู้

👉เริ่มตั้งแต่ Learn about (เรียนรู้อะไรบ้าง) ซึ่งเกี่ยวกับหลักการ ทฤษฎี การทดลอง การให้เหตุผล การสร้างเครื่องมือ ไปยัง Learn to do (นำความรู้ไปใช้) ซึ่งเกี่ยวกับทักษะต่างๆ เช่น การลงข้อสรุป การตัดสินใจ การแก้ไขข้อขัดแย้ง การตีความ วิเคราะห์ผลการทดลอง การสร้างแผนผัง แผนที่ และการแก้ปัญหา

✳️การประเมิน 3 มิติ

➡️ครูประเมินผู้เรียน
➡️ผู้เรียนประเมินตัวเอง ไม่ใช่เป็นการประเมินเพื่อให้ได้คะแนนตามเกณฑ์ที่ครูวางไว้ แต่ผู้เรียนประเมินเพื่อเอาข้อมูลมาดูพัฒนาและสร้างจูงใจ
เพื่อนประเมินผู้เรียน (เพื่อนประเมินเพื่อน)
* **ครูจะต้องมีการปะเมินที่แยกออกจากกัน ว่าเราไม่ได้ประเมินเพื่อที่จะเอาผลคะแนนมาตัดสินเด็ก

*️⃣วิธีการออกแบบการเรียนรู้ไปจนถึงการออกแบบการวัดและประเมินผล

➡️หลักการคิดไปข้างหน้า โดยยึดจุดประสงค์การเรียนรู้เป็นหลัก (P/S/A) เช่น เราจะว่าคนทั่วไปเอามารู้ว่าเราจะสามารถนำดอกไม้ริมทางมาตรวจสอบสารเคมีเพื่อให้เราไม่เป็นอันตรายได้ไหม
➡️ครูฉีกบทเรียนจากหนังสือ เราจะต้องสืบเสาะค้นหาต่างๆ ที่เชื่อมโยงกับชีวิตนักเรียน
หลักการคิดย้อนกลับหลัง โดยครูถามตัวเองว่า ฉันอยากสอนอะไร / ฉันชอบอะไร ในวิชาเลือกต่างๆ
➡️ออกแบบจาก A / S / K คือ K ครูอยากให้เขาคิดอะไร / S คือ ครูอยากให้เขาทำอะไรได้ / A คือ ครูอยากให้เขาเกิดเจตนคติอะไร
➡️ครูตั้งใจเลือกสถานการณ์ คาดการณ์คำตอบเพื่อเขียนโครงสร้างการประเมิน เชื้อเชิญให้นักเรียนแสดงออก (พฤติกรรม/ทักษะ/เจตคติ/สมรรถนะ) นักเรียนเข้าใจหรือมีส่วนร่วมในเกณฑ์การประเมินเพื่อรวบรวมข้อมูลที่สำคัญให้นักเรียนได้
➡️ครูตั้งจุดประสงค์การเรียนรู้ให้ชัดเจน เช่น จุดประสงค์เชิงสมรรถนะ 1. บรรยายโครงสร้างและหน้าที่ของหัวใจ หลอดเลือด และเลือด 2. อธิบายการทำงานของระบบหมุนเวียนเลือกโดยใช้แบบจำลอง 3. ออกแบบการทดลองและทดลองในการเปรียบเทียบอัตราการเต้นของหัวใจขณะปกติและหลังการทำกิจกรรม 4. ตระหนักถึงความสำคัญของระบบหมุนเวียนเลือดโดยการบอกแนวทางในการดูแลรักษาอวัยวะในระบบหมุนเวียนเลือด
➡️ตัวชี้วัดที่ 6 ผู้เรียนได้รับการสะท้อนกลับจากครู จากการที่ครูสังเกต ดังนั้นหากเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด (ภาวะช่วงเวลาฉุกเฉิน) ณ เจอเหตุการณ์นั้นครูควรเขียนสะท้อนหลังแผนในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และให้การสะท้อนกลับนักเรียนทันทีแบบที่ไม่รู้ตัว หรือโดยไม่ได้วางแผนมาก่อน

✳️เทคนิคการตั้งคำถาม (ยกตัวอย่างหัวข้อ หอมแดง)
👉ระดับ 1: นักเรียนจำแนก…ได้อย่างไร / นักเรียนจำอะไรได้บ้าง / ใครทำการศึกษาเรื่องอะไร / ที่ไหน / เมื่อไหร่ / ทำอย่างไร / ผลเป็นอย่างไร
👉ระดับ 2 : จงอธิบายความหมายคำว่า…./ จงเปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างระหว่าง…กับ…
👉ระดับ 3 : เราจะพัฒนา…ไปเป็น…ได้อย่างไร / เราจะเปลี่ยน..เป็น…ได้อย่างไร / หอมแดงแห้งนี้ จะนำไปใช้อย่างไร
👉ระดับ 4 : คุณลักษณพิเศษ ที่พูดกันติดปากว่า “...” ข้อความดังกล่าวนักเรียนคิดว่าเป็นการบ่งชี้ลักษณะสำคัญจำเพาะอะไร
👉ระดับ 5 : นักเรียนใช้อะไรเป็นเกณฑ์ตัดสินใจ เลือกทำผลิตภัณฑ์แปรรูป

✳️เครื่องมือในการวัดและประเมินผล
👉การใช้ภาพ การวาดภาพเพื่ออธิบายความหมายและทบทวนความรู้เดิม
👉การใช้สัญญาลักษณ์ และทำให้เป็นรูปธรรมที่จับต้องได้ แผนภาพทางความคิด ข้อความส่งกำลังใจ
👉การประเมินและการเลือกใช้เครื่องมือที่ดี จะเป็นหลักฐานสำคัญที่ทำให้ครูรู้ว่านักเรียนทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ ดังนั้น จะต้องกลับไปที่การตั้งเป้าหมายในการเรียนรู้

✴️การวัดและประเมินผลไม่ใช่สิ่งน่ากลัว เราจะต้องรู้ว่า 1. เราประเมินใคร 2. ใครเป็นคนประเมิน 3.ไม่ต้องฟุ่มเฟือยกับการประเมินผล
การตั้งเกณฑ์ประเมินผลตามเกณฑ์ เช่น อ่อน เก่ง เก่งมาก
#ครูผู้นําการเปลี่ยนแปลง
#คลินิกวิทยฐานะครูสดใส

16/07/2025
16/07/2025

⭐️ผลการวิจัยเชิงพื้นที่ สู่การถอดบทเรียนสู่การพัฒนา 🎁รูปแบบการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่การจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน Karanphon Wiwanthamongkon #การวิจัยและพัฒนา #รูปแบบการพัฒนานวัตกรรมเชิงระบบ #

📌ประชาสัมพันธ์หลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการออนไลน์ 🎉 👨‍🏫พาคิด พาทำ พาส่ง PA🎉 #ครบจบทุกประเด็นในคอร์สเดียว  #เอกสาร/ตัวอย่าง...
15/07/2025

📌ประชาสัมพันธ์หลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการออนไลน์ 🎉

👨‍🏫พาคิด พาทำ พาส่ง PA🎉
#ครบจบทุกประเด็นในคอร์สเดียว
#เอกสาร/ตัวอย่าง/แนวทางฯ ครบจบทุกอย่าง
#ทุกวิทยฐานะ
#ทุกสังกัด

♦️แนวทางการจัดเตรียมเอกสารประเมินฯ
♦️การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ ให้สอดคล้องกับ 8 ตัวชี้วัด
♦️การจัดทำวิดีทัศน์การสอน ให้สอดคล้องกับ 8 ตัวชี้วัด
♦️การจัดทำคลิปสภาพปัญหา ที่มา และแรงบันดาลใจ ให้โดนใจกรรมการ
♦️การจัดทำผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน ให้สอดคล้องกับ 4 ตัวชี้วัด
♦️แนวทางการทำผลงานทางวิชาการ ตามหลักเกณฑ์ PA5

#พิเศษสุดๆ…กับการดูแลช่วยเหลือตลอดชีพ
#ครูสดใสจะคอยเป็นที่ปรึกษาให้คำแนะนำ
#ตรวจแผนฯ/คลิปฯ/ผลลัพธ์ฯ #ฟรีๆๆๆๆๆ…
#เอกสารประกอบฯ/ตัวอย่าง/แนวทางครบจบที่ครูสดใส

📌การอบรมครั้งนี้ยึดแนวทางตามหลักเกณฑ์ ว9/2564 (วPA) และเจตนารมณ์ของ กคศ. ✅

♦️อบรมออนไลน์ ผ่านโปรแกรม google meet 📇

✍️รุ่นที่ 9/2568
วันเสาร์ ที่ 9 สิงหาคม 2568
เวลา 08:30 - 16:30 น.

♦️คุณครูสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมอบรมฯได้ตามลิงก์
👉 https://forms.gle/8sJUz396oDRsYMby9

📌คุณครูอย่าลืมกดเข้าร่วมกลุ่มไลน์รุ่นที่ 9/2568 นะครับ
👉 https://line.me/ti/g/9dWWLuxDEf

🥰🙏🙏🙏กราบขอบพระคุณทุกท่านมา ณ โอกาสนี้ครับผม🥰❤️💕

15/07/2025
📌การออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้เป็นการวางแผนการสอนล่วงหน้า เพื่อให้การจัดการเรียนรู้มีประสิทธิภาพและบรรลุผลตามเป้าหมายที่...
14/07/2025

📌การออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้เป็นการวางแผนการสอนล่วงหน้า เพื่อให้การจัดการเรียนรู้มีประสิทธิภาพและบรรลุผลตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยมีขั้นตอนและองค์ประกอบสำคัญที่ต้องพิจารณา

✳️ขั้นตอนการออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้:
1️⃣วิเคราะห์หลักสูตรและผู้เรียน:
ศึกษาหลักสูตร มาตรฐานการเรียนรู้ และวิเคราะห์ผู้เรียนแต่ละคน เพื่อให้เข้าใจถึงความรู้ ทักษะ และความสามารถที่ผู้เรียนมีอยู่ และความต้องการในการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน
2️⃣กำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้:
ระบุสิ่งที่ผู้เรียนคาดว่าจะสามารถทำได้หลังจากการเรียนรู้ในแต่ละครั้ง โดยให้ครอบคลุมทั้งด้านความรู้ ทักษะ และเจตคติ
3️⃣กำหนดเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนรู้:
เลือกเนื้อหาที่สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ และออกแบบกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน เช่น กิจกรรมกลุ่ม การอภิปราย การลงมือปฏิบัติจริง
4️⃣เลือกสื่อการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้:
เลือกสื่อและแหล่งเรียนรู้ที่เหมาะสมกับเนื้อหาและกิจกรรม เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาและเกิดการเรียนรู้ได้ดีขึ้น
5️⃣ออกแบบวิธีการวัดและประเมินผล:
กำหนดวิธีการและเครื่องมือวัดและประเมินผลที่สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ เพื่อประเมินความก้าวหน้าของผู้เรียน
6️⃣วางแผนการจัดการเรียนรู้:
จัดลำดับกิจกรรมการเรียนรู้ และกำหนดเวลาที่ใช้ในแต่ละกิจกรรม เพื่อให้การจัดการเรียนรู้เป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ
7️⃣บันทึกผลหลังการสอน:
จดบันทึกปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ เพื่อนำไปปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้ในครั้งต่อไป

✴️ตัวอย่างแผนที่ผ่านการประเมิน DPA👇
https://drive.google.com/drive/folders/1-4nOlcxEwl5YitM142-jerP_7nWKvGi9

#ครูผู้นําการเปลี่ยนแปลง
#คลินิกวิทยฐานะครูสดใส

14/07/2025

มีคำถามว่า ถ้าจะยื่น รศ. ควรยื่นผลงานประมาณไหนดี

ถ้าว่ากันตามท้ายประกาศเกณฑ์ ของ กพอ. จะตีพิมพ์ใน Scopus Q4 หรือ TCI2 ก็ได้หมดครับ ถ้าเป็นไปตามที่ตัดมาให้ดู

แต่ถ้าเอาตามค่านิยมของผู้ทรงฯ ส่วนใหญ่​ (และสอดคล้องกับที่ระบุไว้ในวิธีที่​ 3) ก็ควรจะยืนพื้นที่ Q1-Q2 ครับ และควรรอให้ถูก cite ก่อนยื่น จะได้เข้าเกณฑ์ของระดับ A ครับ ทั้งนี้ทั้งนั้น ขึ้นกับว่าเป็นการยื่นวิธีที่ 1 หรือ 2

ถ้าวิธีที่ 2 งานก็ต้องแข็งหน่อย ระดับ Q2 เป็นอย่างน้อย แต่ถ้ายื่นวิธีที่ 1 ซึ่งยื่นหนังสือหรือตำราด้วย ก็อาจจะเบาลงมา Q3 ก็น่าจะพอลุ้นผ่านได้ เพราะ B ของ รศ. น่าจะเป็น B+ ครับ คือต้องแข็งกว่า B ของ ผศ. (ถ้าให้ดียื่นเผื่อหลาย paper หน่อยก็ดีครับ)

ปล. จากที่ฟังมาจากหลายทาง ผู้ทรงฯ บางส่วนก็มีแนวคิดทำนองว่าบทความแบบไม่จ่ายกับแบบจ่ายค่า APC ก็ให้น้ำหนักไม่เท่ากันครับ (แบบไม่จ่ายมีน้ำหนักมากกว่า)

ปล.2 ประเด็น Q1-Q2 นี้ระบุไว้ชัดเจนในการยื่นขอวิธีที่ 3 กรุณาดูเพิ่มเติมใน comment ครับ

ปล.3​ เป็น​ คหสต.​ ที่ประมวลจากหลายเวที​ และครูพักลักจำมาจากหลายคลิปจากท่านผู้รู้บนยูทูป​ และจากการศึกษาเกณฑ์ฉบับปัจจุบัน ไม่ได้เป็นกูรูกููรู้ด้านการขอตำแหน่งครับ

14/07/2025

Address


Alerts

Be the first to know and let us send you an email when คลินิกวิทยฐานะ PA กับครูสดใส posts news and promotions. Your email address will not be used for any other purpose, and you can unsubscribe at any time.

Shortcuts

  • Address
  • Alerts
  • Claim ownership or report listing
  • Want your business to be the top-listed Media Company?

Share