HR Hero Thailand - We are the success factor

HR Hero Thailand - We are the success factor HR Hero Summit งานอีเว้นท์ HR สุดยิ่งใหญ่ที่จัดทุกปี ให้คุณแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์

เปิดจองบูธ HR Hero SUMMIT 2025!Future by AI, Shaped by People🔥 ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในงาน HR สุดยิ่งใหญ่แห่งปี 🔥HR Hero SUMM...
16/05/2025

เปิดจองบูธ HR Hero SUMMIT 2025!
Future by AI, Shaped by People
🔥 ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในงาน HR สุดยิ่งใหญ่แห่งปี 🔥
HR Hero SUMMIT กลับมาอีกครั้งกับปีที่ 4 หลังจากความสำเร็จอย่างล้นหลามในปีที่ผ่านมาที่รวบรวม HR Leader และเจ้าของธุรกิจชั้นนำกว่า 650 คน พร้อม Sponsor และ Partner กว่า 18 แบรนด์ชั้นนำ
ปี 2024 ที่ผ่านมา เราได้รับเสียงตอบรับที่ดีเยี่ยมจากทั้ง Speaker ระดับแถวหน้าของวงการและผู้เข้าร่วมงาน หลายคนบอกว่านี่คืองาน HR ที่ให้แรงบันดาลใจและ Connection ที่มีคุณภาพที่สุดงานหนึ่ง จนกลายเป็น Must-attend Event สำหรับวงการ HR ในประเทศไทย
ปีนี้เราจัดเต็มกับธีม "Future by AI, Shaped by People" ที่จะมาเปลี่ยนโลกการทำงานและการบริหารคน 7 ตุลาคม 2568 l True Digital Park West (Grand Hall)
โอกาสทองสำหรับธุรกิจของคุณ
✅ โชว์โซลูชันสุดล้ำให้กับกลุ่มเป้าหมายที่แม่นยำ
✅ เชื่อมต่อกับ HR และผู้บริหารจากองค์กรชั้นนำ
✅ ร่วมเป็น Sponsor หรือ Partner กับงานระดับประเทศ
เปิดจองบูธวันนี้ ได้ดีลดีกว่า! 🚀

สนใจจองบูธหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม:
📱 090-330-0233 (คุณอีฟ)
📧 [email protected]
💬 หรือทักมาที่ Inbox เพจได้เลย

HR Hero 2025 กลับมาอีกครั้งกับงานอีเวนต์ด้าน HR ที่ทุกคนรอคอยเมื่อโลกเปลี่ยนไปเร็วเกินกว่าจะตั้งตัว... เมื่อ 2 ปีก่อน เร...
15/05/2025

HR Hero 2025 กลับมาอีกครั้งกับงานอีเวนต์ด้าน HR ที่ทุกคนรอคอย
เมื่อโลกเปลี่ยนไปเร็วเกินกว่าจะตั้งตัว... เมื่อ 2 ปีก่อน เรายังคุยกันเรื่องการทำงานแบบไฮบริดแต่ปีนี้ทุกการสนทนาในวงการ HR กลับหมุนรอบคำว่า "AI"
ปีนี้ HR Hero ครบรอบ 4 ปี เราจึงตั้งใจจัดงานในธีม "Future by AI, Shaped by People" เพราะเราเชื่อว่า AI ไม่ใช่แค่เทรนด์ชั่วคราว แต่เป็นส่วนสำคัญของการทำงานในอนาคต แต่คำถามสำคัญคือ...ทำอย่างไรให้องค์กรและคนทำงานไม่หลงทางในยุค AI?
ในงาน HR Hero 2025 เราจะเจาะลึกประเด็นร้อนที่ทุกองค์กรกำลังเผชิญ ร่วมกันค้นหาอนาคตแห่งการทำงานในยุคที่ AI กำลังเปลี่ยนโลก พร้อมเรียนรู้วิธีสร้างองค์กรที่แข็งแกร่งท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง เราได้รวบรวมผู้นำและผู้เชี่ยวชาญระดับแนวหน้ามาแบ่งปันกลยุทธ์สำคัญในการพัฒนาองค์กรและการบริหารจัดการบุคลากรอย่างมีประสิทธิภาพ
📍 True Digital Park
📅 7 ตุลาคม 2568
🎟️ เปิดจองบัตร Early Bird เร็ว ๆ นี้!
ใครบ้างที่ไม่ควรพลาด
✅HR, Team Lead
✅Business Owner
✅ผู้สนใจด้านการบริหารบุคคล
อนาคตอาจถูกขับเคลื่อนด้วย AI แต่จะถูกกำหนดโดยมนุษย์ มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญนี้กับเรา

ลากิจ...สิทธิส่วนตัวหรือต้องแจ้งเหตุผล ต้องบอกด้วยหรือว่าลาไปทำอะไรเชื่อว่าหลายคนคงเคยสงสัย ทำไมเวลาจะลางานเราต้องบอกเหต...
09/05/2025

ลากิจ...สิทธิส่วนตัวหรือต้องแจ้งเหตุผล ต้องบอกด้วยหรือว่าลาไปทำอะไร
เชื่อว่าหลายคนคงเคยสงสัย ทำไมเวลาจะลางานเราต้องบอกเหตุผล ทำไมการบอกว่าไป “ทำธุระ” ถึงเป็นเรื่องที่ฟังไม่ขึ้น และในบางครั้ง เหตุผลในการลากิจก็เป็นเรื่องส่วนตัวมาก พนักงานไม่อยากบอกใครเลย แถมการบอกไปก็ไม่ได้ช่วยอะไร แต่ถ้าไม่บอกก็ไม่ได้ลา สุดท้ายเราก็ต้องกัดฟันบอกอยู่ดี
แล้วถ้าเป็นแบบนี้ การระบุเหตุผลในการลากิจ ลาพักร้อน ลาป่วย หรือลาอะไรก็แล้วแต่ มันจำเป็นแค่ไหน HR จำเป็นต้องรู้ขนาดนั้นจริงหรือ เราจะมาหาคำตอบกัน

------------------------------------------------------
ลากิจกับบริบทแบบไทย ที่ต้องบอกว่าไปทำอะไร
ความจริงแล้ว ในบริบทการทำงานของคนไทย การบอกเหตุผลว่าลากิจไปทำอะไร ยังเป็นเรื่องจำเป็นอยู่ เพราะมันช่วยให้เข้าใจสถานการณ์ของพนักงานได้ดีขึ้น เช่น ถ้าพนักงานบอกว่าลากิจไปพาพ่อแม่ไปหาหมอ ทุกคนก็จะเข้าใจและไม่เกิดข้อสงสัยว่าทำไมคนนี้ลาบ่อย หรือได้รับสิทธิพิเศษอะไรมากกว่าคนอื่นหรือเปล่า
แต่ถึงจะจำเป็นต้องบอกเหตุผล หัวหน้าหรือ HR ก็ไม่ควรละลาบละล้วงลึกเกินไป เช่น ถ้าพนักงานบอกว่าพาพ่อแม่ไปหาหมอ การถามต่อว่าเป็นโรคอะไร รักษายังไง นานแค่ไหน อาจทำให้อึดอัดทั้งสองฝ่าย หรือถ้าจะต้องรู้ให้ได้ว่าลาไปจริงหรือเปล่า ก็อาจขอหลักฐานเป็นภาพถ่ายหรือเอกสารแทนการซักไซ้
----------------------------------------------------------------------
"ลากิจไม่ได้ ไม่มีคนทำงาน" เหตุผลนี้ใช้ได้จริงหรือ?
เหตุผลที่หัวหน้ามักใช้ปฏิเสธการลากิจ โดยเฉพาะลากิจฉุกเฉินคือ "ไม่มีคนทำงาน" ซึ่งการอ้างแบบนี้อาจสร้างปัญหาตามมา เพราะในเมื่อผู้บริหารที่สำคัญสุด ๆ กับองค์กร ยังมีวันที่ลางานได้ แล้วทำไมลูกน้องจะลาไม่ได้? และการบอกว่าไม่มีคนทำงาน จะกลายเป็นการ สะท้อนถึงปัญหาการบริหารจัดการคนในองค์กรที่ไม่ดีพอ มีปัญหาตั้งแต่การจัดการกำลังคนไปจนถึงการจัดการงานเลยทีเดียว----------------------------------------------------------------
สื่อสารให้ชัดเจน เคารพกฎร่วมกัน
สุดท้ายแล้ว ไม่ว่าบริษัทจะกำหนดให้ต้องบอกเหตุผลในการลากิจหรือไม่ สิ่งสำคัญคือต้องมีการสื่อสารกฎระเบียบอย่างชัดเจน ทั้งเรื่องจำนวนวันลา การระบุเหตุผล การลาล่วงหน้าหรือย้อนหลัง และถ้ามีพนักงานสงสัยว่าทำไมบางคนลาบ่อย HR ก็ควรเปิดโอกาสให้พูดคุยทำความเข้าใจกันทุกฝ่าย เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเรื่องการลาในอนาคต

ไม่จ่ายประกันสังคมให้ในช่วงทดลองงาน บริษัททำได้ด้วยหรือ? ปัจจุบัน หลายคนอาจเคยได้ยินประโยคที่ว่า "งานดีๆ สมัยนี้หายาก" โ...
30/04/2025

ไม่จ่ายประกันสังคมให้ในช่วงทดลองงาน บริษัททำได้ด้วยหรือ?
ปัจจุบัน หลายคนอาจเคยได้ยินประโยคที่ว่า "งานดีๆ สมัยนี้หายาก" โดยเฉพาะการได้ร่วมงานกับบริษัทใหญ่ที่มีสวัสดิการครบครัน ซึ่งมักเป็นที่แข่งขันกันสูง คนที่ยังขาดประสบการณ์จึงอาจต้องเบนเข็มไปสมัครงานกับบริษัทขนาดเล็กแทน

แต่สิ่งที่อาจทำให้หลายคนต้องตกใจคือ บริษัทเล็กๆ บางแห่งมักไม่ขึ้นทะเบียนประกันสังคมให้พนักงานในช่วงทดลองงาน โดยมักอ้างว่า "ยังไม่ใช่พนักงานประจำ จึงไม่มีสิทธิ์ได้รับประกันสังคม" ซึ่งอาจทำให้ลูกจ้างสงสัยว่า การปฏิบัติเช่นนี้ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่?
----------------------------------------------------------------------------------------------
พนักงานทดลองงานมีสิทธิ์ได้รับประกันสังคมหรือไม่?

ตามกฎหมาย สถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป นายจ้างมีหน้าที่ต้องขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนมาตรา 33 ให้กับลูกจ้างภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันแรกที่รับลูกจ้างเข้าทำงาน
นั่นหมายความว่า ไม่ว่าลูกจ้างจะเป็นพนักงานรายวัน รายเดือน หรืออยู่ในระหว่างการทดลองงาน นายจ้างมีหน้าที่ต้องส่งชื่อลูกจ้างเข้าประกันสังคมทุกคน ตั้งแต่วันแรกที่เริ่มงาน เพื่อให้ลูกจ้างได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายอย่างครบถ้วน หากนายจ้างละเลยหน้าที่นี้ ถือว่ากระทำผิดกฎหมายและอาจต้องระวางโทษทั้งปรับและจำคุก
-------------------------------------------------------------------------------
แล้วทำไมนายจ้างจึงไม่อยากขึ้นทะเบียนประกันสังคมให้พนักงานทดลองงาน?

มีหลายสาเหตุที่นายจ้างอาจไม่ต้องการส่งประกันสังคมให้ลูกจ้างในช่วงทดลองงาน เช่น:

• ภาระค่าใช้จ่าย - นอกจากการหักเงินเดือนลูกจ้าง 5% แล้ว นายจ้างยังต้องจ่ายเงินสมทบอีก 5% ด้วย ทำให้หลายรายพยายามหลีกเลี่ยงค่าใช้จ่ายส่วนนี้

• ความยุ่งยากในการจัดการเอกสาร - โดยเฉพาะในงานที่มีอัตราการลาออกสูง บางคนทำงานเพียงไม่กี่วันก็ลาออก ทำให้นายจ้างมักรอให้ลูกจ้างผ่านทดลองงานก่อนจึงค่อยดำเนินการ

• กรณีลูกจ้างขอเอง - บางครั้งลูกจ้างอาจเป็นฝ่ายขอไม่ให้ส่งประกันสังคมชั่วคราว เพราะต้องการรับเงินว่างงานควบคู่ไปกับเงินเดือนใหม่ หรืออยากส่งเงินในมาตรา 39 ต่อเนื่อง ซึ่งการกระทำเช่นนี้ถือเป็นการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้อง
-----------------------------------------------------------------------------------

แนวทางปฏิบัติที่ถูกต้องสำหรับนายจ้าง

แม้ลูกจ้างจะมีการเข้า-ออกงานบ่อยครั้ง ก็ไม่ใช่ข้ออ้างที่นายจ้างจะละเลยการส่งประกันสังคม หากลูกจ้างทำงานเพียงไม่กี่วันแล้วลาออกก่อนได้รับเงินเดือน นายจ้างยังคงมีหน้าที่:

1. หักเงิน 5% เพื่อส่งเข้าประกันสังคม
2. ระบุรายละเอียดการหักเงินในสลิปเงินเดือนให้ลูกจ้างทราบ
3. ยื่นแบบขอถอนชื่อลูกจ้างออกจากระบบประกันสังคมภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

หากคุณเป็นลูกจ้างที่กำลังอยู่ในช่วงทดลองงาน และนายจ้างไม่ดำเนินการขึ้นทะเบียนประกันสังคมให้ คุณสามารถแจ้งข้อมูลหรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานประกันสังคมในพื้นที่ของหรือสายด่วน 1506 เพื่อรักษาสิทธิประโยชน์ที่พึงได้รับตามกฎหมาย

#ประกันสังคม

พนักงานออกโดยไม่แจ้งล่วงหน้า ธุรกิจเสียหาย HR จะทำอะไรได้บ้างในการทำงาน นายจ้างก็คงอยากให้พนักงานทำงานไปด้วยกันนาน ๆ  แต...
25/04/2025

พนักงานออกโดยไม่แจ้งล่วงหน้า ธุรกิจเสียหาย HR จะทำอะไรได้บ้าง

ในการทำงาน นายจ้างก็คงอยากให้พนักงานทำงานไปด้วยกันนาน ๆ แต่ในความเป็นจริงนั้น การลาออกจากงานเพื่อไปทำงานที่ใหม่ถือเป็นเรื่องปกติ แต่การลาออกในบางครั้ง พนักงานก็ไม่ยอมมาลาออกตามระเบียบบริษัท ไม่แจ้งลาออกล่วงหน้า 30 วันไม่มาเขียนใบลาออก ไม่ยอมส่งมอบและจัดการงานให้เสร็จสิ้น สร้างความปวดหัวให้องค์กรต้องรีบหาคนมาทดแทน จนรู้สึกว่า ทำแบบนี้เกิดความเสียหาย และถ้าทำมาก ๆ เข้า HR ก็รับไม่ไหว แล้วแบบนี้ จะทำอะไรได้บ้าง
----------------------------------------------------------------------

การที่ลูกจ้างลาออก ถือเป็นการบอกเลิกสัญญาจ้าง นายจ้างไม่สามารถขัดขวางได้ แต่ต้องแยกกรณีกันกับการที่ลูกจ้างลาออกไม่บอกกล่าวล่วงหน้า ซึ่งกรณีนี้ นายจ้างมีสิทธิ์ฟ้องร้องต่อศาลได้
อย่างไรก็ตาม เคยมีกรณีที่นายจ้างฟ้องร้องลูกจ้างที่ลาออกกะทันหัน จนก่อให้เกิดความเสียหาย แต่สิ่งที่นายจ้างต้องคำนึงคือ การที่ลูกจ้างลาออกล่วงหน้านั้น ได้สร้างความเสียหายให้นายจ้างอย่างไร และหากมีความเสียหายจริง นายจ้างจะต้องพิสูจน์ความเสียหายให้ศาลรับทราบ หากนายจ้างมองว่า การที่ลูกจ้างลาออก ทำให้นายจ้างต้องหาคนทำงานใหม่ ก็เคยมีแนวทางคำพิพากษาที่ระบุว่า การประกาศรับสมัครงานคือสิ่งที่นายจ้างต้องทำอยู่แล้ว นั่นหมายความว่า หาก HR ต้องการทำอะไรจริง ๆ อาจเป็นการไปรวบรวมหลักฐานแน่น ๆ เพื่อฟ้องต่อไป
-----------------------------------------------------------------------

ในขณะเดียวกัน แม้ว่านายจ้างจะเสียหายจริง แต่บ่อยครั้งที่นายจ้างไม่ฟ้องร้อง เพราะมองว่าเป็นเรื่องเสียเวลาและอาจได้ไม่คุ้มเสีย แต่สิ่งที่บริษัททำได้ คือการป้องกันเหตุที่จะเกิดขึ้นนั้นได้ก่อน อาทิ

🚩นายจ้างควรมีการประเมินว่า ตำแหน่งนั้นมีคนเข้า-ออก บ่อยแค่ไหน หากมีคนเข้าออกบ่อย ๆ สามารถประกาศรับสมัครงานและเก็บประวัติได้เรื่อย ๆ และหากมีพนักงานลาออกแล้ว จะได้สามารถติดต่อผู้สมัครใหม่ได้ทันที
🚩 HR อาจจะต้องกลับไปทบทวนถึงนโยบายบริษัท วัฒนธรรมองค์กร สภาพแวดล้อมในการทำงานว่าเป็นแบบใด และเพราะเหตุใด พนักงานจึงลาออกโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้า ผิดที่พนักงาน หรือผิดที่องค์กร
🚩 ในทีมควรมีการใช้โปรแกรมหรือเทคโนโลยีที่เข้ามาจัดการ เพราะเมื่อพนักงานลาออกแล้ว องค์ความรู้ ข้อมูลต่าง ๆ จะยังคงอยู่ในระบบ และสามารถให้พนักงานใหม่มาใช้และส่งต่อความรู้และข้อมูลกันได้ทันที
การลงทุนในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดี อาจเป็นวิธีป้องกันที่ดีที่สุด เพื่อให้แม้ในวันที่พนักงานต้องจากไป พวกเขาก็ยังเคารพและใส่ใจที่จะแจ้งล่วงหน้าอย่างเหมาะสม

#ลาออก

ทำไม candidate ถึงเทนัดสัมภาษณ์ เผยเบื้องหลังที่ HR ควรรู้แม้เราจะได้ยินกันอยู่เสมอว่าตอนนี้งานหายาก กอดงานเดิมไว้แน่น ๆ...
24/04/2025

ทำไม candidate ถึงเทนัดสัมภาษณ์ เผยเบื้องหลังที่ HR ควรรู้

แม้เราจะได้ยินกันอยู่เสมอว่าตอนนี้งานหายาก กอดงานเดิมไว้แน่น ๆ สมัครที่ไหนก็ไม่มีคนรับ แต่อีกฝั่ง HR ก็ยังต้องคอยประกาศรับสมัครงานกันไม่ขาด ซึ่งในบางครั้ง ปัญหาที่สร้างความหงุดหงิดให้ HR สุด ๆ คือการที่ตกลงพูดคุยตอบรับสัมภาษณ์กันแล้ว แต่พอถึงเวลานัด แคนดิเดตกลับเทนัดดื้อ ๆ เสียเวลา HR เสียเวลาผู้บริหาร และที่สำคัญคือเสียความรู้สึกแบบสุด ๆ
แล้วทำไมนะ แคนดิเดตที่คัดแล้วคัดอีก คัดเลือกมาดิบดี ถึงชอบเทนัดสัมภาษณ์ ไม่ส่งข้อความ ไม่โทร. หา คิดอยากจะไม่มาก็ไม่มา ซึ่งเรื่องนี้ อาจจะมีบางอย่างที่ HR ไม่รู้ก็ได้
----------------------------------------------------------------------------------
สิ่งที่ HR คิด - สิ่งที่ Candidate คิด อาจจะเป็นคนละอย่างกัน

เมื่อแคนดิเดตที่นัดไว้ เทนัดสัมภาษณ์กลางอากาศ สิ่งที่ HR คิดอาจจะมองว่า แคนดิเดตได้งานที่ใหม่แล้ว, แคนดิเดตไม่ได้อยากไปต่อกับบริษัท แต่ไม่รู้ว่าจะพูดยังไง เลยเทนัดไปดื้อ ๆ, มีคนเสนอให้เงินเดือนและสวัสดิการที่มากกว่า รวมไปถึงปัญหาส่วนตัวอื่น ๆ และบริษัทมักจะติดว่า หากบริษัทเป็นบริษัทใหญ่ เสนอเงินเดือนที่มากกว่า มอบความมั่นคงในงานให้ได้มากกว่า มอบโอกาสที่ดีกว่า ก็จะทำให้แคนดิเดตไม่เทสัมภาษณ์ได้

แต่ในความเป็นจริงแล้ว สาเหตุจริง ๆ ที่แคนดิเดตชอบเทนัดสัมภาษณ์นั้นเกิดจากการที่ งานที่บริษัทเสนอมานั้นไม่ตรงกับคุณสมบัติของแคนดิเดต, วัฒนธรรมองค์กร วันทำงาน วันหยุด ไม่ใช่อย่างที่คิด, เงินเดือนและสวัสดิการไม่ได้เท่าที่เรียก, วิธีการสื่อสารของ HR ไม่ถูกจริต รวมไปถึงกระบวนการสรรหาคนเข้าทำงานที่บางบริษัทต้องผ่านหลายด่าน สัมภาษณ์กับคนหลายคน มีหลายขั้นตอน จนอาจทำให้แคนดิเดตท้อแท้ และเทนัดสัมภาษณ์ไปเลยก็มี
-------------------------------------------------------------------
Candidate แบบไหนที่ควรไปต่อ แบบไหนที่พอเถอะ
เมื่อแคนดิเดตไม่มาสัมภาษณ์ แน่นอนว่า HR ก็ย่อมเสียความรู้สึก แต่ในบางครั้งการที่แคนดิเดตเทสัมภาษณ์อาจจะเกิดจากเหตุสุดวิสัย เช่น สับสนเกี่ยวกับวันนัดสัมภาษณ์, หลงทาง, เกิดอุบัติเหตุ, เกิดเรื่องฉุกเฉิน, ป่วยกะทันหัน หรืออื่น ๆ ซึ่ง HR สามารถที่จะป้องกันเหตุเหล่านี้ได้เบื้องต้น โดยก่อนถึงวันสัมภาษณ์ ให้โทร. ไปย้ำแคนดิเดตถึงวัน เวลา สถานที่ที่จะสัมภาษณ์ เพื่อให้แน่ใจว่าแคนดิเดตไม่ได้หลงลืม และยังมาตามนัดอยู่เหมือนเดิม รวมถึงถ้าแคนดิเดตเกิดอุบัติเหตุ มีเหตุผลสุดวิสัยที่ทำให้ไม่สามารถมาสัมภาษณ์ได้ อาจจะมีการนัดกันใหม่ในโอกาสหน้า นอกจากนี้ การนัดแคนดิเดตให้สัมภาษณ์ทางออนไลน์ และส่งลิงก์ไปให้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็จะช่วยไม่ให้แคนดิเดตเทนัดได้อีกทางหนึ่ง
แต่ในบางกรณี เช่น แคนดิเดตได้งานที่ใหม่ หรือปิดเครื่องไม่ยอมติดต่อด้วย ก็เป็นเรื่องที่ช่วยไม่ได้จริง ๆ ซึ่งแบบนี้ HR สามารถที่จะมูฟออนและนัดสัมภาษณ์กับแคนดิเดตคนใหม่ได้เลย แต่ในขณะเดียวกัน HR ก็อาจจะต้องกลับมาทบ บวนการสัมภาษณ์ Job Description รวมไปถึงเรื่องเงินเดือน - สวัสดิการ ว่ามีความโปร่งใส ตรงกับความต้องการของตลาดหรือไม่ เพื่อที่ครั้งหน้าแคนดิเดตจะได้ไม่เทสัมภาษณ์อีก

ลงลึกถึงสาเหตุของ Vacation Blues ทำไมหยุดยาวแล้วกลับมา ยิ่งเหนื่อยล้ากว่าเดิม ?ช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมา หลายคนคงได้หยุดยาว ...
18/04/2025

ลงลึกถึงสาเหตุของ Vacation Blues ทำไมหยุดยาวแล้วกลับมา ยิ่งเหนื่อยล้ากว่าเดิม ?
ช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมา หลายคนคงได้หยุดยาว พักผ่อนร่างกายและจิตใจ ชาร์จแบตเตอรี่ให้ร่างกายเพื่อให้พร้อมกับการกลับมาทำงาน แต่เมื่อต้องกลับมาทำงานจริง ๆ กลับรู้สึกเหนื่อย ล้า ท้อแท้ กว่าตอนก่อนหยุดซะอีก เราเรียกอาการนี้ว่า “Vacation Blues" หรืออาการซึมเศร้าหลังวันหยุด ที่อาจกินเวลานานเป็นเดือนและส่งผลต่อชีวิตอย่างมาก
---------------------------------------------------------

สาเหตุของอาการซึมเศร้าหลังหยุดยาว หรือเพราะเราพักผ่อนทิพย์ ?
สาเหตุของอาการซึมเศร้าหลังหยุดยาว เกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย อาทิ อยากพักแต่ไม่ได้พัก ต้องเช็กอีเมล์งานทุก 5 นาที กังวลเรื่องงานค้าง หรือ Line กลุ่มงานดังตลอด หรือบางครั้งก็ไม่ใช่เรื่องงาน แต่เป็นเพราะการพักผ่อนทำให้ต้องเหนื่อย เช่น บางคนต้องพาครอบครัวเที่ยว ขับรถไกล ลากกระเป๋า ว่ายน้ำกับลูก ดูแลพ่อแม่ นอนดึกตื่นสาย กินเยอะผิดเวลา ร่างกายปรับตัวไม่ทัน จนกลายเป็นว่า สิ่งที่ทำในวันหยุดยาว ทำให้เราต้องเหนื่อยกว่าการไปทำงานซะอีก
---------------------------------------------------------
Vacation Blues เป็นได้ก็หายได้ ถ้าใส่ใจรักษาตัวเองอย่างถูกวิธี

แม้ Vacation Blues จะเป็นอาการที่ทำให้เราเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า แต่ก็ใช่ว่าจะหายไม่ได้ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญได้ให้คำแนะนำในการฟื้นฟูร่างกายและจิตใจจากอาการ Vacation Blues ดังนี้

🔴 ก่อนกลับมาทำงาน ให้วางแผนล่วงหน้าเอาไว้บ้าง เช่น กลับบ้านล่วงหน้า 1 วัน เพื่อหลักเลี่ยงรถติดช่วงเทศกาล มีเวลาปรับนาฬิกาชีวิต และจะได้นอนให้พอ
🔴 วันแรกที่มาทำงาน อย่ารีบจัดการงานยาก งานค้างที่มาช่วงวันหยุด แต่ให้เริ่มจากการทำงานง่าย ๆ ที่เราจัดการได้ อย่ารีบกระโดดเข้าทำงานยากหรือเร่งจัดการงานค้างทั้งหมด
🔴 ถ้างานที่ค้างคาอยู่จัดการอย่างไรก็จัดการไม่หมด ก็ให้ขอความช่วยเหลือจากหัวหน้าหรือเพื่อนร่วมงาน เพราะไม่มีใครเก่งคนเดียวได้ทุกเรื่อง
🔴 สุดท้าย ก่อนการพักผ่อนครั้งหน้า ให้วางแผนให้ดี แจ้งกับทีมว่าจะไม่มีการเช็กงาน จะขอพักเต็มที่ ปล่อยวางทุกอย่างไว้ที่ออฟฟิศ

สุดท้ายแล้ว วันพักผ่อนคือวันของคุณ และคุณควรได้พักผ่อนในแบบที่คุณชอบเต็มที่ เพื่อที่เมื่อกลับมาทำงานจะได้สดชื่น พร้อมชาร์จ และไม่มีอาการ Vacation Blues อีก

ขอบคุณข้อมูลจาก
https://hbr.org/2024/07/post-vacation-blues-heres-how-to-cope
https://www.medicalnewstoday.com/articles/post-vacation-depression

งานยุ่งทั้งวัน แต่กลับไม่มีอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน มารู้จักวัฒนธรรม “ทำงานที่ไม่ได้ทำ” หรือ Task masking เคยสังเกตไหมว่าในออ...
17/04/2025

งานยุ่งทั้งวัน แต่กลับไม่มีอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน มารู้จักวัฒนธรรม “ทำงานที่ไม่ได้ทำ” หรือ Task masking
เคยสังเกตไหมว่าในออฟฟิศมีเพื่อนร่วมงานที่ดูเหมือนจะยุ่งตลอดเวลา? จดบันทึกอย่างเป็นเอาตาย ตาจ้องหน้าจอคอมตลอดเวลา เดินไปมาพร้อมแล็ปท็อปในมือ หรือพิมพ์อะไรบางอย่างด้วยความเร่งรีบ ทำแบบนี้ใครเห็นก็ไม่กล้ารบกวน แต่เมื่อถึงเวลาประเมินผลงาน กลับพบว่าผลลัพธ์ที่แท้จริงไม่สอดคล้องกับภาพงานยุ่งวุ่นวายที่แสดงออกมา

นี่คือปรากฏการณ์ที่เรียกว่า "Task Masking" หรือ "ทำงานที่ไม่ได้ทำ"
---------------------------------------------------
Task masking ทำงานที่ไม่ได้ทำ งานวุ่นที่ไม่ได้วุ่น แล้วเขาทำอะไรกัน
Task Masking คือพฤติกรรมที่พนักงานทำเหมือนว่างานยุ่งมาก ๆ แต่ในความเป็นจริงแล้ว พวกเขากลับไม่ได้สร้างผลงานอะไรเลย พฤติกรรมของการทำ Task masking อาจจะมีทั้งการพิมพ์งานแรง ๆ เคาะคีย์บอร์ดดัง ๆ เข้าร่วมประชุมมากเกินความจำเป็น สร้างภาพลักษณ์ว่ากำลังทำงานสำคัญที่คนอื่นห้ามรบกวนเด็ดขาด หรือแสดงสีหน้าเคร่งเครียดเพื่อให้ดูเหมือนกำลังแบกรับภาระงานมหาศาล
จุดกำเนิดของ Task Masking มาจากวัฒนธรรมการทำงานที่ยึดติดกับแนวคิด "ยิ่งขยันยิ่งดี" ซึ่งเน้นว่าพนักงานต้องดูเหมือนกำลังทำงานตลอดเวลา ไม่มีช่วงพัก ไม่มีการผ่อนคลาย มีแต่การทำงานด้วยความทุ่มเทอย่างต่อเนื่อง แนวคิดนี้สร้างความกดดันให้พนักงาน จนต้องแสดงท่าทีว่าตนเองมีงานล้นมือตลอดเวลา แม้ความจริงจะทำงานเสร็จแล้วก็ตาม
การ “ทำเป็นยุ่ง”ไม่ได้เกิดจากความเกียจคร้านเสมอไป แต่อาจเป็นผลมาจากวัฒนธรรมองค์กรที่เน้นการแสดงออกมากกว่าผลลัพธ์ บ่อยครั้งที่พนักงานกลัวถูกคนอื่นมองว่าว่าง ไม่มีงานทำ โดยเฉพาะคนที่ทำงานเสร็จเร็วกว่ากำหนด พวกเขาอาจกลัวว่าจะถูกมองว่าทำงานไม่คุ้มเงินเดือน กินแรงคนอื่น จึงต้องทำตัวให้ยุ่งเข้าไว้

---------------------------------------------------
แล้วแบบนี้ในฐานะ HR จะทำอะไรกับพนักงานที่ “ทำงานที่ไม่ได้ทำ” บ้าง

ในมุมมองของ HR หากพบพนักงานกำลังแสดงพฤติกรรม Task Masking นี่อาจสะท้อนปัญหาเชิงระบบสองประการ ประการแรกคือ พนักงานไม่ได้รับมอบหมายงานที่ตรงกับความสามารถและศักยภาพ ประการที่สองคือ พนักงานไม่เห็นคุณค่าในงานที่ตัวเองทำว่าจะส่งผลกระทบเชิงบวกต่อองค์กรอย่างไร สถานการณ์เช่นนี้ก่อให้เกิดผลเสียทั้งต่อพนักงานและองค์กร เพราะองค์กรไม่ควรจ่ายเงินให้พนักงานนั่งแกล้งทำงาน 8 ชั่วโมงในสิ่งที่สามารถทำเสร็จได้ภายใน 3 ชั่วโมง ขณะเดียวกัน พนักงานก็ไม่ควรถูกบังคับให้ต้องแสร้งทำงานเพียงเพื่อให้ดูดีในสายตาผู้บริหาร

การแก้ปัญหา Task Masking ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ในฐานะ HR สิ่งที่ทำได้คือการทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งว่าพนักงานแต่ละคนมีหน้าที่รับผิดชอบอะไร ทำงานอย่างไร และได้ใช้ศักยภาพอย่างเต็มที่หรือไม่ HR ควรตั้งคำถามว่าได้ช่วยพัฒนาทักษะให้พนักงานพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ ทั้ง HR และผู้จัดการควรทบทวนว่างานที่มอบหมายมีความหมายและสำคัญต่อการขับเคลื่อนองค์กรจริงหรือไม่

---------------------------------------------------

"Task Masking ไม่ใช่เรื่องความล้มเหลวของพนักงาน แต่เป็นความล้มเหลวของระบบ และความล้มเหลวของตัว manager เอง หากเรามอบหมายงานที่มีคุณค่า มีความหมาย และมอบเป้าหมายที่สำคัญเพื่อให้พนักงานได้ร่วมกันทำแล้ว พนักงานก็พร้อมที่จะทุ่มเทเต็มที่ เพื่อไปให้ถึงเป้าหมายที่ได้วางเอาไว้ แทนที่จะคิดว่า ฉันต้องแกล้งทำเป็นยุ่งและนั่งอยู่หน้าจอคอมตลอดเวลา เพื่อให้ทุกคนเห็นว่า ฉันนั่งทำงานอยู่จริง ๆ"
องค์กรที่ประสบความสำเร็จในยุคปัจจุบันไม่ได้วัดผลงานจากจำนวนชั่วโมงที่นั่งหน้าจอ แต่วัดจากคุณภาพของผลลัพธ์ที่ส่งมอบ การสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เน้นผลลัพธ์มากกว่าภาพลักษณ์ของความขยันจะช่วยลดปัญหา Task Masking และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานอย่างแท้จริง

ขอบคุณข้อมูลจาก

https://theeverygirl.com/task-masking/
https://www.hr-brew.com/stories/2025/03/10/what-hr-needs-to-know-about-the-task-masking-trend

🌴 5 สิ่งที่ต้องทำในสัปดาห์สุดท้าย ก่อนหยุดยาว จบปัญหาถูกตามงานในช่วงวันหยุด 🌴ใกล้ถึงช่วงวันหยุดสงกรานต์ที่หลายคนรอคอยแล้...
10/04/2025

🌴 5 สิ่งที่ต้องทำในสัปดาห์สุดท้าย ก่อนหยุดยาว จบปัญหาถูกตามงานในช่วงวันหยุด 🌴

ใกล้ถึงช่วงวันหยุดสงกรานต์ที่หลายคนรอคอยแล้ว แต่หลายครั้งที่เราพบว่าวันหยุดยาวกลับไม่ใช่การพักผ่อนอย่างแท้จริง เพราะยังต้องคอยเช็กอีเมล ตอบแชท หรือแก้งานด่วน บางคนอาจต้องมาคอยหวาดระแวงว่า จะมีอีเมลหรือข้อความจากที่ทำงานโผล่มาทำลายความสุข
ปัญหาเหล่านี้จะหมดไป หากคุณรู้จัก 5 ข้อในการเตรียมตัวให้พร้อมก่อนวันหยุดยาว จำได้ไม่ต้องเสียเวลาอันมีค่าไปกับการตอบอีเมลหรือรับสายเรื่องงาน ในขณะที่ควรจะได้พักผ่อนอย่างเต็มที่

-----------------------------------------------------------

1. เคลียร์งานสำคัญให้หมด

แม้คุณจะมีงานล้นมือ และไม่มีวี่แววว่าจะจัดการงานทุกชิ้นได้เสร็จทันทุกงาน แต่ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายก่อนหยุดยาว สิ่งที่ต้องทำและต้องเร่งทำให้เสร็จเลยก็คือ งานที่มีความสำคัญมากที่สุด โดยเฉพาะงานที่จะส่งผลกระทบไปถึงคนอื่น ๆ เช่น งานด้านการประเมิน ทำ Presentation หรือต้องโทร. หาลูกค้าคนสำคัญก่อนที่ลูกค้าจะหยุดยาว ซึ่งมีความจำเป็นที่จะต้องเคลียร์งานเหล่านี้ให้จบ เคลียร์ให้เสร็จตอนนี้ เพื่อให้คุณได้พักผ่อนอย่างสบายใจ ไม่ต้องเปิดโน้ตบุ๊กไป เที่ยวทะเลไปพร้อม ๆ กัน
-------------------------------------------------------------

2. เคลียร์ E-mail ให้หมด

หากคุณเริ่มวางแผนที่จะหยุดยาวแล้ว ให้เริ่มเคลียร์อีเมลงานที่ได้รับทั้งหมด อีเมลไหนที่ตอบได้ตอนนี้ ก็ให้ตอบไปเลย อีเมลไหนที่สามารถเก็บไว้ตอบหลังจากที่กลับมาจากหยุดยาวได้ ก็ให้ทำเครื่องหมายเอาไว้ก่อน รวมไปถึงการล้างอีเมลขยะ และไล่ลบอีเมลเก่า ๆ เพื่อที่เมื่อกลับมาจากหยุดยาวแล้วเปิดอีเมล คุณจะได้ไม่หลงลืม และอีเมลสำคัญที่ถูกส่งมาช่วงวันหยุดยาว จะได้ไม่จมหายไปในกองอีเมล
-------------------------------------------------------------

3. แจ้งทุกคนให้ชัดว่าคุณกำลังหยุดยาว
หากคุณต้องการหยุดยาวแบบไม่มีใครรบกวน ไม่โดนตามงาน คุณก็มีความจำเป็นที่จะต้องสื่อสารตั้งแต่เนิ่น ๆ ว่า คุณจะไม่อยู่ช่วงไหน และฝากงานไว้ที่ใครได้บ้าง โดยแจ้งทั้งหัวหน้า เพื่อนร่วมงาน ให้ครบ พร้อมกับการตั้งสถานะในแชตว่าช่วงคุณไม่อยู่ และทุกคนจะได้รู้ว่า ช่วงนี้คุณอาจไม่สามารถตอบกลับได้ทันที.
-------------------------------------------------------------
4. วางแผนงานหลังกลับมา
หากช่วงสัปดาห์สุดท้ายก่อนวันหยุดยาวแล้วคุณยังมีเวลาเหลือ ให้ลองเขียนรายการถึงสิ่งที่จะต้องทำหลังจากกลับมา วิธีนี้จะช่วยให้คุณกลับมาทำงานได้อย่างมีทิศทาง เริ่มงานได้เลยทันที และจะได้ตอบคำถามได้ หากถูกถามเกี่ยวกับความคืบหน้าของงาน.
-------------------------------------------------------------

5. ตั้ง Auto Reply ตอบกลับอีเมลเมื่อไม่ได้อยู่ในที่ทำงาน
เรื่องง่าย ๆ ที่หลายคนมักลืม แต่สำคัญมาก คือการตั้งข้อความตอบกลับอัตโนมัติ เพื่อแจ้งให้ทราบว่าคุณไม่อยู่ในช่วงนี้ และให้ทำการติดต่อกลับมาในช่วงไหน และให้ติดต่อที่ใครแทน โดยที่คุณสามารถตั้งค่าให้ตอบกลับเฉพาะคนในองค์กรหรือทุกคนที่ติดต่อเข้ามาก็ได้

ทำตาม 5 ข้อนี้ แล้วคุณจะได้เที่ยวในช่วงวันหยุดยาวได้อย่าสบายใจ ไม่ต้องกังวลว่าจะโดนตามงานตอนกำลังเที่ยว หรืองานจะระเบิดรอคุณตอนกลับมา และไม่ต้องเสียอารมณ์โดนตามงาน ทั้งที่กำลังเที่ยวอยู่ !

#สงกรานต์ #สงกรานต์2568 #สงกรานต์68 #สงกรานต์2025

ขอบคุณข้อมูลจาก
https://www.linkedin.com/pulse/how-wrap-up-work-without-stress-before-holidays-kelley-green-johnson-8cfje/
https://theeverygirl.com/holiday-work-tips/

๒เอา AI มาให้ใช้ แต่พนักงานกลับไม่อยากใช้ เพราะกลัว AI มาแทนที่ บริษัทจะจัดการความกลัวนี้ยังไง ตอนนี้เราอยู่ในจุดเปลี่ยน...
08/04/2025

๒เอา AI มาให้ใช้ แต่พนักงานกลับไม่อยากใช้ เพราะกลัว AI มาแทนที่ บริษัทจะจัดการความกลัวนี้ยังไง

ตอนนี้เราอยู่ในจุดเปลี่ยนสำคัญของโลกการทำงาน AI ไม่ใช่แค่เทคโนโลยีใหม่ แต่กำลังเปลี่ยนแปลงวิธีที่เราทำงานของพวกเราทั้งหมด ด้วยความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูล ประมวลผล และสร้างสรรค์ผลงานที่บางครั้งเทียบเท่าหรือดีกว่ามนุษย์ทำด้วยซ้ำ จึงไม่น่าแปลกใจที่พนักงานหลายคนรู้สึกหวาดกลัวว่าทักษะที่พวกเขาร่ำเรียน สั่งสมมาตลอดชีวิต สุดท้ายจะกลายเป็นสิ่งล้าสมัย และ AI จะเข้ามาแย่งงาน
-------------------------------------------

🔴 เข้าใจต้นตอ: ทำไมพนักงานถึงกลัว AI? 🔴

การมาถึงของ AI เปรียบเสมือนสึนามิขนาดใหญ่ที่ซัดเข้าหาชายฝั่งแห่งการทำงาน เหมือนกับทุกการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ที่ย่อมมีผู้ได้และผู้เสียประโยชน์ พนักงานจำนวนมากมองว่าตนเองอยู่ในกลุ่มหลัง ที่กำลังจะเสียประโยชน์เพราะการมาถึง AI ซึ่งหากได้ลองพูดคุยกับพนักงานที่ลังเลในการใช้ AI เราจะพบว่าพนักงานกลัวการใช้ AI แตกต่างกันไป เช่น

🚩 กลัวว่าจะตกงานเพราะ AI เพราะถ้า AI ทำงานที่พนักงานคนนั้นทำได้แล้ว พนักงานคนนั้นจะไปทำอะไร
🚩 ไม่เชื่อมั่นในคุณภาพการทำงานของ AI เพราะถ้า AI ทำผิดพลาดมา แล้วใครจะเป็นคนรับผิดชอบ
🚩 บริษัทไม่เคยมีความชัดเจนในเรื่องนโยบายการใช้ AI เพราะบริษัทไม่เคยบอกว่าจะสามารถใช้ AI ได้แค่ไหน และการใช้ AI จะถือเป็นการ "โกงคำตอบ" หรือเปล่า
🚩 กลัวว่าข้อมูลจะรั่วไหล เพราะถ้าข้อมูลที่ป้อนเข้าไป เป้นข้อมูลส่วนตัว หรือเป็นข้อมูลที่ละเอียดอ่อนของบริษัท ถ้ามันเกิดรั่วไหลขึ้นมา เกรงว่าจะรับผิดชอบกันไม่ไหว

-----------------------------------------------------------

🔴 วิธีช่วยให้พนักงานเปิดใจรับ AI ก่อนสายเกินแก้ 🔴

เราปฏิเสธไม่ได้แล้วว่า AI กำลังมาและจะอยู่กับเราไปอีกนาน คนที่ปรับตัวได้เร็วจะเป็นผู้ได้เปรียบในเกมนี้ บริษัทมีบทบาทสำคัญในการช่วยพนักงานให้ก้าวข้ามความกลัวนี้ได้จาก

🚩 1. ต้องเปลี่ยนมุมมองจาก "คู่แข่ง" เป็น "เครื่องมือ"

เป็นหน้าที่ของบริษัทที่จะต้องช่วยจัดอบรมที่ไม่ใช่แค่สอนวิธีใช้ AI แต่ต้องสร้างความเข้าใจให้กับพนักงานรู้ว่า AI เป็นเครื่องมือที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ไม่ใช่เทคโนโลยีที่เข้ามาแย่งงาน แสดงให้เห็นตัวอย่างจริงว่า AI สามารถแบ่งเบาภาระงาน และพนักงานจะได้มีเวลาไปทำงานที่เพิ่มคุณค่าให้องค์กรมากขึ้น

🚩 2. หาทางออกร่วมกันในเรื่องคุณภาพของงานที่ได้จาก AI

บริษัทอาจจะมีการจัดเวิร์คช็อปให้พนักงานได้ทดลองใช้ AI แก้โจทย์จริงในที่เจอเมื่อต้องทำงาน แล้วมาดูร่วมกันว่า ผลลัพธ์ที่ได้จาก AI และผลลัธ์ที่ได้จากมนุษย์นั้น อันไหนดีกว่ากัน บริษัทต้องสร้างความเข้าใจว่าการใช้ AI แบบไหนที่เหมาะสม แบบไหนที่อาจเกิดปัญหา ให้มองว่าการการตรวจงาน AI ก็เหมือนการตรวจงานของรุ่นน้องในทีม ไม่มีใคร Perfect ตั้งแต่แรก

🚩 3. กำหนดแนวทางการใช้งานที่ชัดเจน

บริษัทต้องมีการกำหนดแนวทางที่ชัดเจนในเรื่องการใช้ AI ต้องระบุให้ชัดว่า งานประเภทไหนที่สามารถใช้ AI ช่วยได้, ข้อมูลประเภทใดที่ห้ามป้อนเข้า AI โดยเด็ดขาด มีระบบตรวจสอบคุณภาพงานที่ผ่าน AI อย่างไร

🚩 4. สื่อสารนโยบายและทิศทางอย่างชัดเจน

สุดท้ายบริษัทต้องสื่อสารอย่างตรงไปตรงมาว่า การนำ AI มาใช้จะส่งผลต่อองค์กรและพนักงานอย่างไร ไม่ใช่แค่การที่บอกว่า บริษัทจะเอา AI มาใช้ แล้วปล่อยให้พนักงานเดาเอาเอง ต้องให้ข้อมูลที่ชัดเจนว่า บริษัทจะเอา AI มาใช้ในส่วนไหนของงาน? จะวัดผลความสำเร็จอย่างไร? การใช้ AI จะส่งผลต่อพนักงานปัจจุบันอย่างไร และพนักงานต้องพัฒนาทักษะอะไรบ้างเพื่อใช้ AI ได้อย่างถูกต้อง และบริษัทจะสนับสนุนในส่วนนี้อย่างไร

----------------------------------------------------------------------------------------------

ในท้ายที่สุด AI จะเปลี่ยนโลกการทำงานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่สิ่งที่พนักงานกลัวจริงๆ ไม่ใช่ตัว AI แต่เป็นความไม่แน่นอนที่มาพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงนี้ต่างหาก ซึ่งองค์กรที่เข้าใจและจัดการความกลัวนี้ได้ดี จะเป็นผู้ชนะในยุคของการเปลี่ยนผ่าน พนักงานที่เห็นว่า AI เป็นเครื่องมือที่เพิ่มพลังให้กับพวกเขา ไม่ใช่ภัยคุกคาม จะเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรสู่อนาคต

ขอบคุณข้อมูลจาก
https://www.facebook.com/share/p/15CGvwSc6X/?mibextid=wwXIfr

🔴 เปิดเหตุผลที่คนสมัยนี้ เลิกจงรักภักดีกับองค์กร ความจริงที่ HR ไม่กล้าบอก  🔴           ในอดีต เราคุ้นเคยกับภาพพนักงานที...
01/04/2025

🔴 เปิดเหตุผลที่คนสมัยนี้ เลิกจงรักภักดีกับองค์กร ความจริงที่ HR ไม่กล้าบอก 🔴

ในอดีต เราคุ้นเคยกับภาพพนักงานที่ยืนหยัดเคียงข้างองค์กรเดียวตลอดหลายทศวรรษ เพราะไม่ใช่แค่เรื่องของค่าตอบแทน จะยังมีเรื่องความผูกพันเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ปัจจุบัน การหาคนที่จงรักภักดีต่อองค์กรกลับกลายเป็นเรื่องยาก ไม่ใช่แค่พนักงานมองหาโอกาสใหม่ ๆ ในสายงาน สายอาชีพ แต่ยังมีปัจจัยอื่นที่นำทำให้การจงรักภักดีต่อองค์กรเป็นเรื่องล้าสมัย ที่นำไปสู่ปรากฏการณ์ Job Hopping

--------------------------------------

🔴 ปัจจัยสำคัญ พนักงานไม่ภักดี เพราะบริษัททำเหมือนพนักงานเป็น "สินทรัพย์" ไม่ใช่ "หุ้นส่วน" 🔴

หนึ่งในสาเหตุสำคัญของการที่พนักงานไม่ได้รักองค์กร (ขนาดนั้น)ไม่ได้เกิดจากพนักงานฝ่ายเดียว แต่เป็นมุมมองของนายจ้างที่มักมองพนักงานเป็นเพียง "สินทรัพย์" ที่ทดแทนได้ มากกว่า "หุ้นส่วน" ที่ร่วมเติบโตไปด้วยกัน ทั้งการใช้งานอย่างหนัก เพื่อบีบเค้นเอาทุกศักยภาพ การมีวัฒนธรรมองค์กรที่ไม่เอื้อให้คนรักองค์กร เมื่อธุรกิจตกต่ำ การบีบให้คนลาออกหรือแจกใบเตือนกลายเป็นทางออกแรก จึงไม่น่าแปลกใจที่พนักงานพร้อมมองหาโอกาสใหม่ทันทีที่มีโอกาส และถึงแม้บริษัทจะมอบค่าตอบแทนและสวัสดิการที่ดี แต่เงินก็ไม่ใช่ทั้งหมด หากบริษัทยังคงมองว่าพนักงานเป็นเพียงฟันเฟืองที่ทดแทนได้ ไม่ได้เป็นผู้ร่วมทุกข์ร่วมสุขในการขับเคลื่อนวิสัยทัศน์ร่วมกัน ความภักดีก็ยากจะเกิดขึ้น

นอกจากนี้ ความภักดีต่อองค์กรไม่ใช่เพียงการอยู่นาน ทำงานนาน แต่หมายถึงการที่พนักงานมีส่วนร่วมกับองค์กรอย่างกระตือรือร้น มิเช่นนั้น องค์กรจะเผชิญกับ "Quiet Quitting" ที่พนักงานเพียงทำงานให้ผ่านไปวัน ๆ โดยไม่สร้างคุณค่าใดให้องค์กร

------------------------------------------

🔴 ผลกระทบของการขาดความภักดีต่อองค์กร 🔴

การที่พนักงานเข้า ๆ ออก ๆ บริษัทมาก ๆ มีต้นทุนมหาศาล บริษัทต้องแบกรับค่าใช้จ่ายในการประกาศรับสมัครงาน การคัดเลือกคนที่เหมาะสมให้เข้ามาทำงาน การฝึกอบรมและช่วยเหลือในเรื่องการปรับตัว อีกทั้งยังมีเรื่องของความรู้ของพนักงานเดิมที่สูญหาย ไม่ต่อเนื่อง และในทางกลับกัน การรักษาพนักงานที่มีประสิทธิภาพเอาไว้นาน ๆ จะเสริมประสิทธิภาพการทำงานและสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วม นำไปสู่ความสำเร็จที่ยั่งยืน

-------------------------------------------------------------
🔴 แนวทางสร้างความภักดีต่อองค์กร 🔴

1. สร้างต้นแบบการเปลี่ยนแปลงที่ดี - เริ่มจากผู้นำสู่พนักงานทุกระดับ ให้เห็นคุณค่าของความภักดีต่อองค์กร
2. พัฒนาระบบบริหารที่เป็นมาตรฐาน - วิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อนขององค์กรอย่างเป็นระบบ
3. เสริมความแข็งแกร่งทางการเงิน - สำรองเงินทุนเพื่อรับมือวิกฤติโดยไม่ต้องลดคนหรือเลิกจ้าง
4. มุ่งเน้นการขยายฐานลูกค้าและรายได้ - ให้บริษัทเติบโตแม้ในช่วงวิกฤติ
5. สร้างวัฒนธรรมการมีส่วนร่วม - ส่งเสริมความร่วมแรงร่วมใจ เพราะความสำเร็จเกิดจากการร่วมมือของทุกคน
6. ติดตามและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง - แก้ไขปัญหาทันทีที่พบความผิดปกติ

แม้การสร้างความภักดีในองค์กรจะท้าทาย แต่ผลตอบแทนคุ้มค่า การเห็นคุณค่าของพนักงานไม่เพียงช่วยให้บริษัทเติบโตอย่างมั่นคง แต่ยังเสริมสร้างความผูกพันที่แท้จริง

ที่อยู่

Bangkok

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ HR Hero Thailand - We are the success factorผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

แชร์