THE INSIDER - ดิ อินไซเดอร์

THE INSIDER - ดิ อินไซเดอร์ BUSINESS MEDIA - สื่อธุรกิจที่ตั้งใจทำ สำหรับคนตัวเล็กที่อยากเติบโต ❤️
ติดต่องาน Media: [email protected]
ติดต่องาน วิทยากร: [email protected]

ความสำเร็จในธุรกิจของคุณวันนี้ เกิดจาก ‘ความบังเอิญ’ หรือ ‘ความเข้าใจมนุษย์’?บนเส้นทางของการทำธุรกิจที่ทุกอย่างเปลี่ยนแป...
15/07/2025

ความสำเร็จในธุรกิจของคุณวันนี้ เกิดจาก ‘ความบังเอิญ’ หรือ ‘ความเข้าใจมนุษย์’?
บนเส้นทางของการทำธุรกิจที่ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว สิ่งที่เราต้องมีอาจไม่ใช่แค่ความเก่งหรือมีเงินทุนจำนวนมาก แต่คือการ "เข้าใจมนุษย์" อย่างลึกซึ้ง และในฐานะคนหนึ่งที่อยู่ทั้งในแวดวงบันเทิงและธุรกิจอาหารอย่าง "After Yum" สิ่งที่น่าสนใจที่คุณกฤษฏิ์กุล ชุมแก้ว หรือ คุณแต๋ง After Yum ในฐานะ Guest Speaker ของ XMBA รุ่น 13 ได้มาแบ่งปันประสบการณ์ที่กลั่นมาจากความล้มเหลว ความเข้าใจ และความเชื่อ ที่ไม่ใช่เพียงแค่ทฤษฎี แต่สามารถนำไปปรับใช้ได้จริง
[Data + Human Insight = Marketing ที่เวิร์ก]
คุณแต๋งบอกว่า After Yum "ไม่ได้ขายดีที่สุดเพราะขายยำที่อร่อยที่สุด แต่เพราะเข้าใจลูกค้ามากที่สุด" เพราะโลกธุรกิจทุกวันนี้ เก่งอย่างเดียวไม่พอ แต่ต้องเข้าใจลูกค้าแบบจริงจัง ก่อนจะขายอะไร ต้องตอบให้ได้ 3 คำถามนี้ให้ชัดเจนว่า
- ลูกค้าคือใคร?
- เขาซื้อไปให้ใคร?
- ตอนนี้เขาตามเทรนด์อะไร?
และสิ่งที่คุณแต๋งใช้เสมอคือ Data ที่แม่นยำ ไม่ใช่เพื่อแค่รู้ว่ายอดขายเท่าไหร่ แต่เพื่อรู้ "พฤติกรรม ความคิด ความรู้สึก" ของลูกค้า
[Case Study จาก After Yum]
- การกำหนดราคายำ: ใช้ Year-round Costing คำนวณต้นทุนเฉลี่ยจากวัตถุดิบถูก-แพง เพื่อให้ราคาคงที่ทั้งปี
- การจัดคิวลูกค้า: สร้างบริการรับจ้างต่อคิวแบบ official เพื่อบริหาร Pain Point โดยไม่ทำให้ลูกค้าทั่วไปรู้สึกเหมือนถูกแย่งคิว
- การทำ R&D: ทำ research ทุกเรื่อง ตั้งแต่รสชาติ ไปจนถึงขนาดของบรรจุภัณฑ์
- แยกบัญชี แยกบริษัท: ต้องรู้ว่าอะไรควรรบ ควรสู้ ควรถอย เช่น น้ำยำบรรจุขวด เมื่อไม่สามารถลดราคาได้ ก็ต้องตัดสินใจเลิกขาย
[Brand ต้อง "เข้าใจคน" ก่อนจะให้คนเข้าใจแบรนด์]
"Data ไม่ได้บอกทุกอย่าง แต่ทำให้เราถามตัวเองได้ถูกจุด"
คุณแต๋งใช้ Design Thinking ผสมกับการเข้าใจเทรนด์ เพราะเทรนด์คือสิ่งที่มนุษย์ "เคยทำ" ในอดีต กำลัง "ทำอยู่" ในปัจจุบัน และจะกลายเป็นอนาคต และนั่นคือเหตุผลที่ว่า "ถ้าเข้าใจมนุษย์ ก็จะเข้าใจเทรนด์"
[Key Takeaway]
1. ข้อมูลคือเข็มทิศของธุรกิจ: ถ้าข้อมูลผิด ทิศทางก็ผิด ชีวิตและธุรกิจก็จะหลงทาง ดังนั้นต้องใช้ข้อมูลให้เป็น แล้วการตัดสินใจทุกอย่างจะชัดเจนขึ้น
2. เข้าใจลูกค้า ดีกว่าพูดเสียงดัง: รู้ให้ชัดว่าใครคือลูกค้า เมื่อรู้ว่าใครคือลูกค้าของเรา กระซิบแค่เบา ๆ เขาก็ได้ยิน เพราะความเข้าใจจะนำทางเราไปสู่ความสัมพันธ์ที่ยั่งยืน
3. การตลาดไม่ใช่แค่โปรโมท แต่คือเข้าใจมนุษย์: เมื่อเราเข้าใจพฤติกรรมและความต้องการของคน เทรนด์จะไม่ใช่เรื่องยาก และกลยุทธ์ของเราจะตรงจุดเสมอ
4. เกมเล็กแพ้ได้ แต่เกมใหญ่ห้ามแพ้: ถ้าล้ม ต้องล้มอย่างมีคุณค่า เรียนรู้จากบาดแผล และลุกขึ้นสู้ใหม่ เพราะประสบการณ์จะสอนให้เราแข็งแกร่งกว่าเดิม
5. ไม่มี Perfect Timing มีแต่ Perfect Action: อย่ารอเวลาที่ใช่ แต่จงเริ่มลงมือทำด้วยเนื้อหาที่ใช่ แล้วพัฒนาไปพร้อมกับความเปลี่ยนแปลงของตลาด
"เหนื่อยได้ ท้อได้ แต่ห้ามหยุด
เกมเล็ก ๆ แพ้ได้ แต่ เกมใหญ่ต้องชนะ"
-คุณแต๋ง After yum-
สิ่งที่คุณแต๋งถ่ายทอดนั้นไม่ใช่แค่กลยุทธ์ทางการตลาด แต่เป็นแนวคิดในการ "เข้าใจมนุษย์" ด้วยหัวใจและข้อมูลที่ถูกต้อง เพราะโลกธุรกิจไม่ใช่แค่การแข่งกับคนอื่น แต่คือการแข่งขันกับความไม่รู้ของตัวเอง เมื่อเราเข้าใจลูกค้า รู้จักวางกลยุทธ์ที่มีทิศทาง และใส่หัวใจในทุกจานอาหาร ไม่ว่าธุรกิจของเราจะขายอะไร ก็สามารถ "เติบโต" และ "เป็นที่รัก" ได้เหมือน After Yum
เรียบเรียงโดย: THE INSIDER

✨ เปิด Agenda งาน   งาน Conference สุดยิ่งใหญ่ สำหรับผู้ประกอบการไทยและนักการตลาด พร้อม Speakers ชั้นนำมากมายของประเทศสิ...
15/07/2025

✨ เปิด Agenda งาน
งาน Conference สุดยิ่งใหญ่ สำหรับผู้ประกอบการไทย
และนักการตลาด พร้อม Speakers ชั้นนำมากมายของประเทศ
สิ่งที่คุณจะได้รับ...
✅ ความรู้ ไอเดีย รวมทั้งแรงบันดาลใจ
แบบจัดหนักจัดเต็มตลอดทั้งวัน
จาก Speakers ระดับประเทศ,
กูรูด้านการตลาดชื่อดัง, นักธุรกิจตัวจริง
ที่จะมาแชร์ประสบการณ์กันแบบไม่มีกั๊ก
✅ Workshop เข้มข้น อัดแน่นทั้ง Tools & Tactics
ที่คุณจะได้เรียนรู้อย่างลงลึกและลงมือทำจริงทุกขั้นตอน
✅ กิจกรรม ของแจก และ Benefits จาก Partners ภายในงานมากมาย
✅ รับชมออนไลน์ย้อนหลังได้ถึง 6 เดือน
📌 พบกันวันศุกร์ ที่ 22 สิงหาคม 2568
⏰ เวลา 9.00 - 19.00 น.
📍 สามย่านมิตรทาวน์ฮอลล์ ชั้น 5
#บัตรราคาพิเศษ
Early Bird 1,900 บาท
เมื่อซื้อภายในวันนี้ - 12 ส.ค. 2568 🔥
(จากปกติ 2,500 บาท)
สิทธิพิเศษสำหรับแฟนเพจ
กรอกโค้ดส่วนลด "THEINSIDER10" รับส่วนลดเพิ่มอีก 10%
ซื้อบัตรได้ที่: https://bit.ly/DSME2025MEDIA



[Media Partner]

ในโลกที่เปลี่ยนแปลงไปด้วยความรวดเร็วความพร้อมจึงไม่ได้วัดกันที่ความเก่งเพียงอย่างเดียวแต่คือการรู้จักบทบาทของตัวเองในแต่...
14/07/2025

ในโลกที่เปลี่ยนแปลงไปด้วยความรวดเร็ว
ความพร้อมจึงไม่ได้วัดกันที่ความเก่งเพียงอย่างเดียว
แต่คือการรู้จักบทบาทของตัวเองในแต่ละสถานการณ์อย่างเหมาะสม
คนที่ "พร้อม" จึงไม่ใช่แค่คนที่สั่งการเป็น แต่ต้องรู้จักเรียนรู้และปรับตัว
บางครั้งเราอาจจะต้องเป็นผู้นำ เดินนำคนอื่น กำหนดทิศทาง
และตัดสินใจอย่างเด็ดขาด แต่ในอีกสถานการณ์
เราอาจจะต้องถอยหนึ่งก้าว เพื่อเรียนรู้จากคนอื่น ฟังคำแนะนำ
และยอมรับว่าคนอื่นอาจมีคำตอบที่ดีกว่าเรา ความยืดหยุ่นนี้
คือหัวใจของความพร้อมที่แท้จริง
การเป็นผู้นำไม่ได้หมายความว่าต้องอยู่ข้างหน้าเสมอ
และการเป็นผู้ตามก็ไม่ได้แปลว่าไม่มีส่วนสำคัญ
เพราะผู้นำที่แท้จริง คือคนที่รู้ว่าเมื่อไหร่ควรพูด
และเมื่อไหร่ควรเงียบเพื่อรับฟัง รู้ว่าเมื่อไหร่ควรตัดสินใจ
และเมื่อไหร่ควรเปิดโอกาสให้คนอื่นแสดงศักยภาพ
คนที่พร้อมทั้งเป็นผู้นำและผู้ตาม คือคนที่เข้าใจธรรมชาติของทีม
เข้าใจว่าความสำเร็จไม่ใช่ผลงานของคนคนเดียว
แต่คือการร่วมมือและสนับสนุนกันอย่างลงตัว
ไม่ว่าบทบาทจะเล็กหรือใหญ่ เขาก็จะทำมันอย่างเต็มที่
และคนแบบนี้ ไม่ว่าจะไปอยู่ที่ไหน หรือทำงานอะไรก็ตาม
เขาจะสามารถปรับตัว และเป็นส่วนสำคัญของความสำเร็จ
เพราะไม่ได้ยึดติดกับตำแหน่ง แต่ยึดมั่นในหน้าที่และความรับผิดชอบ
เรียบเรียงโดย: THE INSIDER
#ผู้นำ

คุณรู้หรือไม่...ว่าแม้ธุรกิจจะกำไรดี แต่ถ้าหมุนเงินไม่ทัน ก็อาจล้มได้ในพริบตา?ในโลกของการทำธุรกิจที่ความเร็วกลายเป็นหัวใ...
14/07/2025

คุณรู้หรือไม่...ว่าแม้ธุรกิจจะกำไรดี แต่ถ้าหมุนเงินไม่ทัน ก็อาจล้มได้ในพริบตา?
ในโลกของการทำธุรกิจที่ความเร็วกลายเป็นหัวใจ และการตัดสินใจที่แม่นยำเป็นอาวุธ หลายคนเลือกที่จะทุ่มพลังให้กับการตลาด การขาย หรือการพัฒนาสินค้า แต่กลับหลงลืมองค์ประกอบสำคัญอย่าง "การเงิน" ที่เปรียบเสมือนเส้นเลือดที่หล่อเลี้ยงองค์กร สิ่งที่ได้เรียนรู้จากคุณฮิม-ศัลย์ วนะศักดิ์ศรีสกุล CEO ของ Warrix ในฐานะ Guest Speaker ของ XMBA รุ่น 13 คือ การเงินไม่ใช่แค่เรื่องของตัวเลข แต่มันคือ "กลยุทธ์การอยู่รอดและการเติบโต" ที่ทุกคนควรรู้ และต้องรู้ให้ลึกพอที่จะตัดสินใจได้เอง
[การเงินไม่ใช่เรื่องไกลตัว]
คุณฮิมเปิดประเด็นด้วยคำถามแบบเรียบง่ายว่า
"จะโต 100 ล้าน ต้องใช้เงินเท่าไหร่?" — คำตอบคือ ไม่ใช่แค่ 100 ล้าน แต่มากกว่า 500 ล้าน แต่ถ้าไม่มี อีกหนทางหนึ่งคือ "หมุนเงินให้เร็วขึ้น" เพราะในการทำธรกิจ เงินไม่ได้หมุนกลับมาทันที แต่ต้องรอผลิต วางบิล ตัดรอบ จ่ายทีหลัง ผลคือ เงินหมุนได้กี่รอบ ถ้าหมุนได้น้อยรอบ กำไรก็น้อย โตก็ช้า
💡จุดเปลี่ยนของธุรกิจจึงไม่ได้อยู่แค่ "ขายได้" หรือ "กำไรดี" แต่เป็น "ความเร็วของการหมุนเงิน" (Cash Cycle)
[เรื่องที่เจ้าของกิจการควรรู้]
- เงินที่กู้มาเพื่อใช้ระยะยาว ห้ามเอาไปจนในของระยะสั้น
- ถ้าเช่าแล้วถูกกว่าดอกเบี้ยธนาคาร เลือกเช่าดีกว่า
- ตั๋ว PN (Promissory Note) สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการขอกู้เงินได้
- ถ้าจะให้บริษัทโต ต้องมีการ "เพิ่มทุน" ซึ่งมาจากได้ 2 กรณีคือ กู้เงินมากขึ้น และ ระดมทุน เช่น การเข้าตลาดหลักทรัพย์
- ตลาดเงิน Vs ตลาดทุน
> ตลาดเงิน มาในรูปแบบของเงินกู้ เป็นหนี้สิน เสียดอกเบี้ย และสุดท้ายก็ต้องใช้เงินคืน มีข้อดีคือไม่สูญเสียความเป็นเจ้าของ
> ตลาดทุน ที่คนส่วนใหญ่รู้ก็คือการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ กลายเป็นบริษัทมหาชน ส่งผลให้มีผู้ถือหุ้นมากขึ้น ดังนั้นสัดส่วนความเป็นเจ้าของของเราก็ลดน้อยลง
- เจ้าของบริษัทในตลาด แม้จะบอกว่ามีเงินเป็นร้อยล้าน พันล้าน ก็เป็นเพียงตัวเลข ตราบใดที่ไม่ขาย
[ข้อดีของการเข้าตลาดหลักทรัพย์]
1. เป็นแหล่งระดมเงินทุนระยะยาว
2. มีภาพลักษณ์องค์กรที่ดี
3. การเชื่อมโยงทางธุรกิจ
4. ความภาคภูมิใจของบุคลากรในบริษัท
5. การบริหารงานแบบมืออาชีพ
6. สิทธิประโยชน์ทางภาษีและเงินปันผล
7. เป็นทางออกของธุรกิจครอบครัว
8. Capital Gain (กำไรที่ได้จากการขายสินทรัพย์): ในกรณีที่ไม่เข้าตลาดหลักทรัพย์ การขายทรัพย์สินถือเป็นเงินได้บุคคลธรรมดา ต้องเสียภาษีเงินได้ แต่หากอยู่ในตลาด การขายหุ้น ถือเป็นกำไรจากการขาย ไม่ต้องเสียภาษี
[Key Success ที่จะนำพาธุรกิจเข้าตลาดและผ่านเกณฑ์]
1. Set Goal ให้ชัดเจน
2. Big Data วิเคราะห์ข้อมูลในกิจการว่าจะใช้แผนใดในการเข้าตลาด
3. Tool Management/Digital Transformation
4. Account System จัดการระบบบัญชีให้แข็งแรง
5. SOP/มาตรฐาน/ขั้นตอนการทำงาน ต้องชัดเจน
6. การควบคุมภายในต้องละเอียด แม่นยำ และตรวจสอบได้
7. มีความรู้ในการเลือก partner หรือหน่วยงานกำกับดูแล
[เหตุผลที่ธุรกิจหลายธุรกิจใช้เวลานานหรือเข้าตลาดไม่ได้]
1. มีโครงสร้างทางธุรกิจที่ไม่ชัดเจน ไม่เป็นธรรม ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์
2. บริษัทยังมีระบบการควบคุมที่ไม่เพียงพอ ไม่มีประสิทธิภาพ
3. บริษัทยังมีระบบบัญชีที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานบัญชี
4. ผลประกอบการมีกำไรต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
[Key Takeaway]
1. เข้าใจบัญชี การเงิน แลภาษี เป็นแต้มต่อของจ้าของธุรกิจ — ความไม่รู้ทางการเงินและภาษีอาจกลายเป็นค่าปรับราคาแพง เรียนรู้เพื่อป้องกันความเสี่ยงและตัดสินใจอย่างแม่นยำ
2. เลือกเติบโตอย่างมีสติ กู้เงินหรือระดมทุน ต้องไม่ทิ้งภาระไว้ข้างหลัง — การขยายธุรกิจต้องคิดระยะยาว ไม่ใช่แค่ผลกำไรวันนี้ แต่รวมถึงภาระทางการเงินของคนรุ่นถัดไปด้วย
3. การเข้าตลาดหลักทรัพย์ไม่ได้มีแค่เรื่องเงน แต่เป็นการสร้างมาตรฐานขององค์กร — จากการระดมทุนถึงการบริหารแบบมืออาชีพ การ IPO ช่วยยกระดับภาพลักษณ์ ความน่าเชื่อถือ และเปิดทางสู่โอกาสใหม่
4. ทุกไอเดียต้องมีคนกล้าค้าน: "Idea Killer" สำคัญต่อการเติบโตที่ยั่งยืน — บอร์ดบริหารที่แข็งแรงควรมีคนกล้าท้าทายความคิดของ CEO เพื่อลดความเสี่ยงจากการตัดสินใจแบบเอนเอียง
5. ในทุกโอกาสมีความเสี่ยง และในทุกความเสี่ยงมีโอกาส ถ้าเราลงมือทำ — ไอเดียดีไม่พอ ต้องวิเคราะห์ในรอบด้านก่อนเสมอ และกล้าลงมือพิสูจน์ เพราะ "ความคุ้มค่า" มีค่ามากกว่าคำว่า ถูกหรือแพง
"คนที่หิวเงิน จะไม่มีวันอิ่มเงิน"
-คุณฮิม-วิศัลย์ วนะศักดิ์ศรีสกุล-
บทเรียนจากคุณฮิม นอกจากเป็นเรื่องของการเงิน ก็ยังสามารถเปลี่ยนมุมมองต่อ "ธุรกิจ" แบบทั้งระบบ ตั้งแต่การวางโครงสร้างองค์กร การเข้าใจรอบหมุนของเงิน ไปจนถึงวิธีการสร้างความยั่งยืนโดยไม่สร้างภาระให้กับคนรุ่นหลั ไม่ว่าเราจะเพิ่งเริ่มต้นหรือกำลังอยู่ในช่วงขยายกิจการ หากเราเข้าใจ "การเงิน" อย่างแท้จริง นี่อาจเป็นสิ่งเดียวที่จะช่วยให้เราเติบโตแบบมีทิศทาง และรอดในวันที่ทุกอย่างเปลี่ยนเร็วเกินจะควบคุม
เรียบเรียงโดย: THE INSIDER

เคยสงสัยหรือไม่ ทำไมบางบริษัทถึงเติบโตอย่างต่อเนื่องเป็นหลักสิบปี หรือบางบริษัทอยู่ยาวนานถึงร้อยปี แต่บริษัทอีกหลายแห่งก...
14/07/2025

เคยสงสัยหรือไม่ ทำไมบางบริษัทถึงเติบโตอย่างต่อเนื่องเป็นหลักสิบปี หรือบางบริษัทอยู่ยาวนานถึงร้อยปี แต่บริษัทอีกหลายแห่งกลับต้องปิดตัวภายในไม่กี่ปี จึงเกิดคำถามที่ว่า ธุรกิจที่ยั่งยืนเกิดจากอะไร?
"Built to Last" (Successful Habits of Visionary Companies) เขียนโดย Jim Collins และ Jerry I Porras เป็นหนังสือคลาสสิคด้านการบริหารที่ได้รับการยกย่องไปทั่วโลก ผู้เขียนได้ทำการวิจัยอย่างเข้มข้นยาวนานกว่า 6 ปีเปรียบเทียบบริษัท "ระดับตำนาน" อย่าง IBM, Walt Disney กับบริษัทที่มีจุดเริ่มต้นใกล้เคียงกัน แต่ไม่สามารถเติบโตได้ในระยะยาว เพื่อค้นหา "พฤติกรรมที่ทำให้บริษัทเหล่านั้นยั่งยืน" ไม่ใช่แค่ประสบความสำเร็จชั่วคราว
เพราะทุกคนที่ทำธุรกิจหรือก่อตั้งบริษัท คงไม่ได้มีเป้าหมายว่า "ขายดี" แต่ปีเดียว แล้วก็เลิกทำ แต่ทุกคนก็อยากให้สิ่งที่ทำ มันอยู่ต่อไปได้ยาวนาน แม้ในวันที่เราไม่อยู่แล้ว ซึ่งหนังสือเล่มนี้จะช่วยให้เราเข้าใจว่า การมีแค่ผลิตภัณฑ์ที่ดีหรือกำไรสูง ไม่เพียงแต่กับคำว่า "ยั่งยืน" โดยผู้เขียนเสนอกรอบความคิดแบบ "Visionary Company" ที่เน้นไปที่การวางรากฐานขององค์กรให้ยั่งยืน สร้างวัฒนธรรม และพัฒนาระบบความเชื่อ ที่จะทำให้ธุรกิจผ่านทุกยุคทุกสมัย
หลายบริษัทมักประสบความสำเร็จในช่วงแรก แต่เมื่อผู้นำเริ่มจะวางมือ ธุรกิจก็เริ่มล้มเหลว ผู้เขียนจึงชี้ให้เห็นว่า ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ผลิตภัณฑ์ แต่อยู่ที่ "หลักการ" โดยองค์กรที่ยั่งยืนจะมี "Core Ideology" หรืออุดมการณ์หลักที่ชัดเจน และ "Preserve the Core, Stimulate Progress" คือหัวใจสำคัญ ผ่านการรักษาแกนหลักขององค์กร แต่เปิดกว้างต่อการเปลี่ยนแปลง เพื่อไม่ให้ยึดติดกับรูปแบบ แต่ไม่ลืม "จุดยืน"
แนวคิดที่น่าสนใจในหนังสือเล่มนี้คือ "Clock Building, Not Time Telling" (สร้าง "นาฬิกา" ที่เดินเองได้ ไม่ใช่แค่บอกเวลาในวันนี้) หมายถึง เราต้องสร้างองค์กรให้เดินได้เอง โดยไม่ต้องพึ่งผู้นำคนเดียว Visionary Company คือบริษัทที่ระบบแข็งแกร่งกว่าตัวบุคคล มีวัฒนธรรมองค์กรชัดเจน มีความสามารถในการสร้างผู้นำรุ่นใหม่จากภายใน และไม่กลัวที่จะทดลองหรือปรับตัว ในขณะที่ยังรักษาอัตลักษณ์ของบริษัทเอาไว้
สำหรับผู้ประกอบการหรือเจ้าของธุรกิจ การเริ่มต้นจาก "Core Purpose" ด้วยการถามตัวเองว่า "เราทำธุรกิจนี้ไปเพื่ออะไรที่มากกว่ากำไร" เมื่อมีจุดยืนที่ชัดเจน จึงเริ่มสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่สอดคล้องกับเป้าหมายหรือจุดยืนนั้น ๆ ฝึกทีมให้สามารถตัดสินใจได้โดยไม่ต้องรอตัวเรา และสร้างระบบที่ทำให้เราไม่ต้องอยู่ทุกจุด แต่ทุกอย่างสามารถเดินต่อไปได้ อย่าให้บริษัทหรือองค์กร พึ่งพาเพียงฮีโร่ แค่คนเดียว แต่ให้ความสำคัญกับการ "สร้างระบบฮีโร่" ให้เกิดขึ้นซ้ำในองค์กร
สุดท้ายแล้ว ผู้เขียนต้องการบอกกับเราว่า เราต้องคิดไปเกินกว่าการที่จะเป็นเจ้าของที่ประสบความสำเร็จในระยะสั้น แต่ต้องเป็นคนที่สร้าง "องค์กร" ที่อยู่นานกว่าตัวเรา หนังสือเล่มนี้จึงเหมาะกับคนที่ต้องการสร้างสิ่งที่มีความหมาย มีรากฐาน และพร้อมที่จะส่งต่อไปในรุ่นถัดไป
เรียบเรียงโดย: THE INSIDER
#องค์กรร้อยปี #ธุรกิจยั่งยืน

ใจเราคือเปลวไฟเล็ก ๆที่ถูกจุดขึ้นท่ามกลางความมืดแม้มันจะเล็กและบางเบาแต่แสงนั้นยังส่งให้เราเห็นทางถ้าเราไม่รักษาเปลวไฟนี...
13/07/2025

ใจเราคือเปลวไฟเล็ก ๆ
ที่ถูกจุดขึ้นท่ามกลางความมืด
แม้มันจะเล็กและบางเบา
แต่แสงนั้นยังส่งให้เราเห็นทาง
ถ้าเราไม่รักษาเปลวไฟนี้ให้ลุกโชนไว้
ปล่อยให้ลมพายุความเหนื่อยล้าและความเจ็บปวดพัดมา
เปลวไฟนั้นก็อาจดับลง
และความมืดก็จะเข้ามากลืนกินใจเรา
ใจที่อบอุ่นไม่ใช่ใจที่ไม่เคยโกรธ
ไม่ใช่ใจที่ไม่เคยเจ็บหรือพัง
เปลวไฟไม่ได้มีไว้แค่ให้ความร้อนอย่างเดียว
แต่มันยังเผาผลาญความกลัวและความเศร้าในใจเรา
บางครั้งความเจ็บปวดที่เปลวไฟสร้างขึ้น
อาจทำให้เราเจ็บช้ำในตอนแรก
แต่ถ้าเราผ่านมันมาได้
เปลวไฟนั้นจะกลายเป็นความเข้มแข็งที่แท้จริง
ทำให้เราก้าวเดินต่อไปได้
แม้วันพรุ่งนี้จะไม่ง่าย
อย่าให้ความมืดในใจแผ่กว้าง
จนแย่งพื้นที่ที่ควรเป็นความสุขและความสงบ
เปลวไฟเล็ก ๆ อาจดูน้อยนิด
แต่มีพลังมากพอจะสู้กับความมืดทุกอย่าง
จงดูแลใจคุณเหมือนดูแลเปลวไฟในคืนหนาว
อย่าปล่อยให้มันมอดดับเพราะความเหนื่อยหรือท้อแท้
ให้มันอบอุ่นพอที่จะปลอบประโลมตัวเอง
แต่ยังแผดเผาความมืดในใจอย่างหนักแน่น
เพราะใจที่ยังลุกโชน
คือใจที่พร้อมเผชิญทุกปัญหา
และเป็นแสงสว่างไม่เคยดับ
ให้กับตัวเองและคนที่คุณรักเสมอ
เรียบเรียงโดย: THE INSIDER
#ชีวิต

องค์กรของคุณแค่ทำงานร่วมกัน หรือมี "ทีมที่แท้จริง" ?ในองค์กรหนึ่ง อาจมีคนเก่งมากมายอยู่ร่วมกัน แต่กลับไม่มี "ทีมเวิร์ก" ...
13/07/2025

องค์กรของคุณแค่ทำงานร่วมกัน หรือมี "ทีมที่แท้จริง" ?
ในองค์กรหนึ่ง อาจมีคนเก่งมากมายอยู่ร่วมกัน แต่กลับไม่มี "ทีมเวิร์ก" ที่แท้จริง ในขณะที่บางองค์กรมีคนธรรมดา แต่สามารถสร้างผลงานระดับโลกได้อย่างไม่น่าเชื่อ อะไรคือความแตกต่าง? Katzenbach และ Smith ค้นพบว่า "วินัยของทีม" (Discipline of Team) เป็นการตกผลึกร่วมกันของจุดประสงค์ วัตถุประสงค์ และความรับผิดชอบที่ทุกคนในทีมเลือกเดินร่วมกัน
คำว่า "ทีม" มักถูกใช้พร่ำเพรื่อในองค์กรยุคใหม่ เรียกทุกกลุ่มคนว่าเป็นทีม ตั้งแต่ฝ่ายบัญชี ฝ่ายการตลาด ไปจนถึงคณะทำงานเฉพาะกิจ แต่ความจริงคือ กลุ่มคนที่ทำงานร่วมกัน ไม่จำเป็นต้องเป็น "ทีม" เสมอไป Katzenbach และ Smith แยกชัดว่า "ทีมที่แท้จริง" ต้องมีความมุ่งมั่นร่วมกันในเป้าหมาย มีการวางวัตถุประสงค์ที่วัดผลได้ และต้องมีการรับผิดชอบร่วมกันอย่างเท่าเทียม
สิ่งที่ทำให้ "ทีม" แตกต่างจาก "กลุ่มงาน" คือ commitment และ accountability ในทีมอย่างแท้จริง สมาชิกจะไม่เพียงแค่ทำงานในส่วนของตัวเอง แต่จะเข้าใจว่า "ผลลัพธ์ของทีม" คือหน้าที่ของทุกคน พวกเขาจะกล้าตั้งคำถามซึ่งกันและกัน ช่วยกันผลักดัน และยอมรับการปรับปรุงโดยไม่รู้สึกว่าเป็นการตำหนิ แต่มองว่าเป็นกระบวนการสร้างผลงานร่วมกัน
หนึ่งในเคล็ดลับของทีมที่มีวินัย คือ "เป้าหมายที่เฉพาะเจาะจงและท้าทาย" (specific performance goals) เช่น ไม่ใช่แค่ "พัฒนาแอปใหม่" แต่เป็นการ "สร้างแอปให้ได้ผู้ใช้ 10,000 คนภายใน 3 เดือน" เพราะเป้าหมายแบบนี้กระตุ้นให้ทีมใช้ศักยภาพสูงสุด และสามารถวัดความก้าวหน้าได้จริง ไม่ใช่การทำงานที่ล่องลอยและยืดเยื้อ
อีกประเด็นที่สำคัญไม่แพ้กันคือ "บทบาทของผู้นำทีม" ผู้นำที่ดีจะไม่ใช่คนที่สั่ง แต่เป็นคนที่ถาม คอยสร้างพื้นที่ให้สมาชิกแสดงออก สนับสนุนการเรียนรู้ร่วมกัน และกล้าถามคำถามยาก ๆ เช่น "เราทำแบบนี้เพราะเคยชิน หรือเพราะมันได้ผลจริง?" และ "เราทุกคนเข้าใจเป้าหมายเหมือนกันหรือยัง?" คำถามเหล่านี้เป็นจุดเริ่มต้นของวินัยในทีม
ความหลากหลายในทีมก็เป็นปัจจัยสำคัญ ทีมที่เวิร์กไม่ได้ประกอบด้วยคนที่คิดเหมือนกันหมด แต่ต้องมี "ทักษะที่เสริมกัน" (complementary skills) เช่น บางคนเก่งวิเคราะห์ บางคนเก่งสื่อสาร บางคนเก่งจัดการ บางคนสร้างแรงบันดาลใจ ความหลากหลายนี้จะเกิดพลังได้ก็ต่อเมื่อทุกคนเคารพกัน รับฟังกันและมองเห็นคุณค่าของความต่าง
ความไว้วางใจ (trust) ไม่ใช่สิ่งที่มาจากนโยบายองค์กร แต่มาจาก "การลงมือทำร่วมกัน" สมาชิกในทีมต้องมีโอกาสแก้ปัญหาร่วมกัน แพ้ร่วมกัน เพราะสิ่งเหล่านี้จะสร้างสายสัมพันธ์ลึกในทางจิตใจ จนเกิดความรู้สึกว่า "ไม่อยากทำให้ทีมนี้ล้ม" และเมื่อทุกคนมีความรู้สึกแบบนี้ ทีมจะกลายเป็นแรงขับเคลื่อนที่ไม่มีใครหยุดได้
ทีมที่มีวินัยมักไม่พึ่งการประชุมยืดยาว แต่จะใช้ "การสื่อสารอย่างต่อเนื่อง" เป็นเครื่องมือสำคัญ เช่น check-in รายวัน 5 นาที, weekly stand-up หรือ retrospective เพื่อสะท้อนสิ่งที่ทำดีและสิ่งที่ต้องปรับ การสร้างจังหวะการสื่อสารที่เหมาะสม ช่วยให้ทีมไม่หลงทาง และไม่ปล่อยให้ปัญหาหมักหมมจนสายเกินแก้
สุดท้าย ทีมที่มีวินัยจะไม่รอความสำเร็จถึงจะเฉลิมฉลอง แต่จะรู้จัก "ฉลองความก้าวหน้า" ระหว่างทาง เช่น เมื่อทำยอดได้ตาม milestone แรก หรือเมื่อแก้ปัญหาที่ยากมากได้สำเร็จ สิ่งเหล่านี้จะเติมแรงใจ สร้างความภาคภูมิใจ และรักษาพลังงานของทีมไว้ได้อย่างยั่งยืน
ในโลกที่การเปลี่ยนแปลงรวดเร็วและแข่งขันอย่างดุเดือด ไม่มีองค์กรไหนเดินไปข้างหน้าได้ด้วยคนเก่งเพียงลำพัง ทีมที่เวิร์กไม่ใช่ทีมที่ไม่มีปัญหา แต่เป็นทีมที่มีวินัยพอจะพูดคุย แก้ไข และเติบโตไปด้วยกัน หากคุณอยากเปลี่ยนกลุ่มคนทำงานให้กลายเป็นทีมจริง เริ่มต้นได้จาก "เป้าหมายที่ชัด" และ "ความรับผิดชอบร่วม"
เรียบเรียงโดย: THE INSIDER

ชีวิตเราดูเหมือนจิ๊กซอว์แม้จะดูครบถ้วนจากภายนอกแต่อาจยังมี “เศษเสี้ยวเล็ก ๆ”ที่หายไปแบบเงียบ ๆ โดยไม่มีใครสังเกตเศษเสี้ย...
12/07/2025

ชีวิตเราดูเหมือนจิ๊กซอว์
แม้จะดูครบถ้วนจากภายนอก
แต่อาจยังมี “เศษเสี้ยวเล็ก ๆ”
ที่หายไปแบบเงียบ ๆ โดยไม่มีใครสังเกต
เศษเสี้ยวที่ไม่ได้มีไว้เติมเต็ม
แต่มีไว้เพื่อ “เยียวยา”
คนเรามีอยู่สองร่างเสมอ
ร่างที่เข้มแข็ง รับมือได้กับทุกอย่าง
กับร่างที่แอบเหนื่อย อยากงอแงใต้ผ้าห่ม
และระหว่างสองร่างนี้
มักมี “บางสิ่งเล็ก ๆ” คั่นอยู่ตรงกลาง
บางที เสียงนั้นคือบทเพลงที่เปิดวนทุกคืน
บางที เป็นรูปศิลปินที่เรามองแล้วยิ้มได้เสมอ
หรือกิจกรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ทำให้เราได้เป็นตัวเองอีกครั้ง
สิ่งเหล่านี้อาจดูธรรมดา
แต่เพียงพอจะยึดเรายามวันที่ใจหนักอึ้ง
และเตือนใจว่า — เรายังเป็นเราอยู่
แม้โลกจะหนักแค่ไหนก็ตาม
อย่ามัวพยายามเป็นคนเก่งจนลืมหาที่พิง
อย่ารับผิดชอบทุกอย่างจนลืมว่าหัวใจเราก็ต้องการพัก
เพราะสุดท้าย คนเราทุกคนต่างมีสองร่าง
ร่างแรกคือคนที่ใส่หน้ากาก
แบกหัวโขนไว้บนไหล่
เป็นคนเก่ง เป็นที่พึ่ง เป็นผู้ใหญ่ที่ต้องเป๊ะเสมอ
แต่ร่างที่สอง — คือคนที่อยากหัวเราะเสียงดัง
อยากบ่น อยากงอแง อยากนอนดูซีรีส์ยาว ๆ
อยากกรี๊ดให้สุดเสียงในคอนเสิร์ตศิลปินที่รัก
อยากเป็นตัวเองในแบบที่ไม่ต้องเข้มแข็ง
และสิ่งที่คอยบาลานซ์ระหว่างสองร่างนี้
ก็คือ “เศษเสี้ยวเล็ก ๆ ของใจ”
ที่เราเก็บไว้ใช้เยียวยาตัวเองในวันที่โลกไม่ใจดี
เศษเสี้ยวที่ให้เราบ๊องให้เต็มที่
บ้าบอได้อย่างสบายใจ เต้นอย่างสุดเหวี่ยง
หรือแม้แต่ปล่อยให้ตัวเองนอนพักผ่อนอย่างเต็มที่
เพื่อชาร์จพลังในแบบที่ไม่มีใครเห็น
ที่ไม่ต้องให้ใครเข้าใจ — นอกจากตัวเราเอง
และในเศษเสี้ยวเล็ก ๆ นั้น
คุณจะเจอ “ตัวเอง” ที่แท้จริง
คนที่พร้อมจะกลับไปเผชิญโลกได้อย่างเข้มแข็งอีกครั้ง
เรียบเรียงโดย: THE INSIDER
#ชีวิต #เยียวยาหัวใจ

ในองค์กรของคุณ ใครคือคนที่มี "สิทธิ์ตัดสินใจ" เรื่องสำคัญ?หลายองค์กรลงทุนกับกลยุทธ์ดี ๆ เทคโนโลยีล้ำ ๆ หรือพนักงานเก่ง ๆ...
12/07/2025

ในองค์กรของคุณ ใครคือคนที่มี "สิทธิ์ตัดสินใจ" เรื่องสำคัญ?
หลายองค์กรลงทุนกับกลยุทธ์ดี ๆ เทคโนโลยีล้ำ ๆ หรือพนักงานเก่ง ๆ แต่ล้มเหลวเพราะคำถามง่าย ๆ ที่ไม่มีใครตอบได้ว่า "ใครคือคนตัดสินใจ?" การไม่มีความชัดเจนเรื่องบทบาทและอำนาจในการตัดสินใจ ทำให้ทุกอย่างช้าลง สับสน หรือไม่เกิดขึ้นเลย ซึ่งองค์กรชั้นนำของโลก ใช้โมเดล RAPID ในการจัดการปัญหา เพื่อช่วยให้การตัดสินใจในองค์กร "คม เร็ว และลงมือได้จริง"
การตัดสินใจคือ "เหรียญที่หมุนอยู่กลางสนามธุรกิจ" เพราะทุกความสำเร็จ ความล้มเหลว หรือโอกาสที่หลุดมือ มักมีจุดเริ่มต้นจากการ "ตัดสินใจช้า" หรือ "ตัดสินใจผิด" จากงานวิจัยจาก 350 องค์กรทั่วโลกพบว่า มีเพียง 15% เท่านั้นที่สามารถตัดสินใจได้รวดเร็ว มีคุณภาพ และลงมือได้จริง องค์กรเหล่านี้คือกลุ่มที่สร้างผลลัพธ์ทางธุรกิจเหนือคู่แข่งอย่างชัดเจน
ปัญหาหลักที่ทำให้องค์กรตัดสินใจช้าคือ "ความไม่ชัดเจนในบทบาท" ใครคือคนที่ให้แค่ข้อมูล? ใครมีสิทธิ์คัดค้านการตัดสินใจ? ใครคือตัวจริงที่ต้อง "ฟันธง?" ซึ่ง RAPID Model (Recommend, Agree, Perform, Input และ Decide) จะบอกให้เรารู้ว่าใครต้องทำหน้าที่อะไรในกระบวนการตัดสินใจ โดยเฉพาะ "ผู้มีอำนาจตัดสินใจขั้นสุดท้าย"
องค์กรที่ไม่มี RAPID มักติดขัดที่ 4 คอขวดได้แก่
- Global vs Local: ส่วนกลางหรือส่วนภูมิภาคควรตัดสินใจ?
- Center vs Business Unit: ฝ่ายกลางหรือลูกทีมแนวหน้า?
- Function vs Function: ทีมไหนมีสิทธิ์เหนือกว่าอีกทีม?
- Inside vs Outside: บริษัทหรือลูกค้าควรเป็นคนตัดสินใจ?
หากไม่มีการจัดการบทบาทให้ชัดเจน ทุกอย่างก็จะจบที่ความเงียบ ความลังเล และความล้มเหลว
ตัวอย่างที่ชัดเจนคือ British American To***co (BAT) ซึ่งเคยทำงานแบบต่างคนต่างทำ จนต้นทุนสูง แบรนด์กระจัดกระจาย และเสียโอกาสจากการรวมศักยภาพระดับโลก เมื่อ CEO คนใหม่เข้ามา เลือกใช้ RAPID ให้แต่ละบทบาทมีความชัดเจน โดยเฉพาะการ ให้ "D: Decide" กลับมายังศูนย์กลางในเรื่องของการจัดซื้อ แต่ให้สิทธิ์กับระดับภูมิภาคในการออกแบบการดำเนินการเอง ส่งผลทำให้กำไรเพิ่มมากขึ้น ส่วนแบ่งตลาดขยาย และบริษัทกลับมาเป็นเบอร์หนึ่งในอุตสาหกรรม
ในกรณีของ Wyeth บริษัทเภสัชกรรมยักษ์ใหญ่ใช้ RAPID เพื่อความชัดเจน จากเดิมที่การตัดสินใจจะรวมอยู่ที่สำนักงานใหญ่ แม้กระทั่งเรื่องของเทคนิคในโรงงาน นำไปสู่ความล่าช้า จนเกือบพลาดโอกาสใหญ่กับยา Enbrel ที่ต้องรีบผลิต Wyeth จึงกระจายการตัดสินใจ (Decide) ไปยังผู้จัดการหน่วยธุรกิจเฉพาะทาง เช่น Biotech โดยยังให้สำนักงานใหญ่มีอำนาจยับยั้งในบางเรื่อง ผลลัพธ์ที่ได้คือความเร็วในการผลิตและนำออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้นอย่างมาก
หรือแม้แต่บริษัทค้าปลีกอย่าง John Lewis ก็เจอกับปัญหา "ซื้อขายไม่เข้าใจกัน" แม้จะเป็นเรื่องง่าย ๆ แค่ขวดพริกไทยและเกลือ ทีมซื้อสินค้าลดจำนวน SKU เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ แต่ทีมขายกลับลดพื้นที่โชว์สินค้าไปครึ่งหนึ่ง เพราะไม่เข้าใจกลยุทธ์ ส่งผลให้ยอดขายดิ่งลงทันที เมื่อแก้ไขโดยระบุชัดเจนว่าใครเป็นคนตัดสินใจในเรื่องใด และให้คนขาย "ยกเมื่อค้านได้" ทุกอย่างก็กลับมาเข้าที่ และยอดขาดเพิ่มมากขึ้น
ในยุคของ Outsourcing และพันธมิตรต่างประเทศ การแบ่งบทบาทคนตัดสินใจยิ่งสำคัญ เช่น บริษัทอเมริกันที่จ้างประเทศอื่นผลิตสินค้า ต้องแยกให้ชัดว่าเรื่องใดบริษัทผลิตตัดสินใจเองได้ และเรื่องใดที่สำนักงานใหญ่ต้องตัดสินใจ เมื่อทำได้ถูกต้อง ผลลัพธ์ก็จะส่งผลให้สินค้าถูกลง คุณภาพดีขึ้น และส่งมอบได้ตามเวลาที่กำหนด
ดังนั้น องค์กรที่ตัดสินใจได้ดี คือองค์กรที่ "รู้ว่าใครควรตัดสินใจเรื่องไหน" อย่างชัดเจนและสม่ำเสมอ โมเดล RAPID อาจฟังดูเรียบง่าย แต่เมื่อปรับใช้จริงแล้ว จะทำให้จังหวะการทำงานขององค์กรรวดเร็วขึ้น แข็งแรงขึ้น และกล้าลุยมากขึ้น อย่ารอให้เกิดปัญหาก่อน แล้วค่อยย้อนถามว่าใครเป็นคนตัดสินใจ แต่ต้องวางบทบาทให้ชัดเจน ตั้งแต่วันนี้ เพราะทุกวินาทีของความไม่ชัดเจน คือต้นทุนที่เรามองไม่เห็น
เรียบเรียงโดย: THE INSIDER
#การตัดสินใจ

หลายครั้งที่ชีวิตของเราเต็มไปด้วยปัญหา ความเจ็บปวด และความไม่เข้าใจจากคนรอบข้าง แต่หากลองหยุดมองให้ลึกลงไป เราจะพบว่าสิ่...
11/07/2025

หลายครั้งที่ชีวิตของเราเต็มไปด้วยปัญหา
ความเจ็บปวด และความไม่เข้าใจจากคนรอบข้าง
แต่หากลองหยุดมองให้ลึกลงไป เราจะพบว่า
สิ่งที่ทำร้ายตัวเรามากที่สุด ไม่ใช่ใคร แต่เป็นตัวเรา
โดยเฉพาะ "ความคิด" ที่วนอยู่ในหัว
แม้ความคิดจะเป็นพลังมหาศาล ที่สามารถทำให้เรา
ไปสู่จุดสูงสุดของชีวิต แต่ในขณะเดียวกัน มันก็ฉุดเรา
ให้ตกลงสู่ความมืดมิดได้ด้วยเช่นกัน ความคิดในแง่ลบ
เช่น การโทษตัวเอง หรือการย้ำคิดย้ำทำเรื่องแย่ ๆ
ล้วนทำให้หัวใจเราอ่อนแรงลงทีละนิด
บางความคิด เราไม่ได้ตั้งใจให้มันเกิด แต่เรากลับเชื่อมัน
จนกลายเป็นความเข้าใจที่แท้จริง เช่น เราไม่เก่งพอ
หรือ คงไม่มีใครรักเราจริง ๆ คำพูดเหล่านี้เมื่อพูดหรือนึกบ่อย ๆ
ก็กลายเป็นแผลลึกในจิตใจโดยไม่รู้ตัว
สิ่งสำคัญจึงไม่ได้อยู่ที่การหยุดคิด แต่เป็นการเลือกคิดให้เป็น
รู้เท่าทันความคิด แล้วเปลี่ยนจากการทำร้ายตัวเอง
เป็นการให้กำลังใจตัวเอง มองตัวเองด้วยความเข้าใจ
มากกว่าการตัดสิน ทุกคนผิดพลาดได้ และทุกคนก็
เติบโตได้จากความผิดพลากเหล่านั้น
สุดท้ายนี้ เราอาจหลีกเลี่ยงปัญหาภายนอกไม่ได้
แต่เราสามารถเลือก "วิธีคิด" ที่จะพาเราผ่านปัญหาไปได้
อย่าปล่อยให้ความคิดเป็นศัตรูของตัวเอง
เพราะเมื่อเรามีความคิดที่ดี เราก็จะมีกำลังใจที่ดีเช่นกัน
เรียบเรียงโดย: THE INSIDER
#ความคิด

11/07/2025

Marketing vs Branding ควรทำอะไรก่อน ? | CEO INSIDER |

ศรีจันทร์ แบรนด์ในตำนานที่หลาย ๆ คนเห็นมาตั้งแต่เด็ก กับการ Re-Branding โดยทายาทรุ่นที่ 3 อย่างคุณรวิศ หาญอุตสาหะ เป็นแบรนด์ SRICHAND ที่ในปัจจุบันมียอดขายหลายร้อยล้าน และคนอาจรู้จักเขาในอีกบทบาท คือ รวิศ Mission to the Moon วันนี้ผมมาสัมภาษณ์เขาคนนี้ครับ จะเป็นอย่างไรไปชมกัน วันนี้ผมจะมาเล่าให้ฟังว่า การตลาด กับ การสร้างแบรนด์ อะไรสำคัญกว่ากัน

#ศรีจันทร์ #รวิศหาญอุตสาหะ #แท็บรวิศ #รอบรู้เรื่องธุรกิจ

คุณเคยคิดไหมว่า อะไรที่เป็นระบบหลังบ้าน ที่ทำให้ TikTok กลายเป็นแอปที่เติบโตเร็วที่สุดในโลกภายในเวลาไม่ถึง 5 ปี?TikTok ม...
11/07/2025

คุณเคยคิดไหมว่า อะไรที่เป็นระบบหลังบ้าน ที่ทำให้ TikTok กลายเป็นแอปที่เติบโตเร็วที่สุดในโลกภายในเวลาไม่ถึง 5 ปี?
TikTok มีจุดเริ่มต้นที่ประเทศจีนเมื่อปี 2016 และเปิดตัวในตลาดโลกในปี 2017 โดยจุดเปลี่ยนสำคัญเกิดขึ้นเมื่อควบรวมกับ Musical.ly ในปี 2018 ทำให้ผู้ใช้เดิมของ Musical.ly ถูกโอนเข้าสู่ TikTok ซึ่งเสริมด้วยระบบแนะนำเนื้อหาที่แม่นยำ และคลิปวิดีโอสั้นที่ตอบโจทย์พฤติกรรมผู้ใช้ ส่งผลให้ TikTok กลายเป็นแอปที่เติบโตอย่างรวดเร็วทั่วโลก
จำนวนผู้ใช้เติบโตจาก 55 ล้านคนในปี 2018 สู่หลักพันล้านคนในปี 2021 และ 1.5 พันล้านคนในปี 2025 โดยอัตราการเติบโตของผู้ใช้เคยสูงถึง 88% ต่อปี ก่อนจะเริ่มชะลอลงเหลือ 6-7% ในช่วงหลัง สะท้อนถึงความมั่นคงและความยั่งยืนของฐานผู้ใช้ นอกจากนี้ TikTok ยังสร้าง Engagement สูง ด้วยเวลาใช้งานเฉลี่ย 95 นาทีต่อวัน และอัตราการมีส่วนร่วมสูงถึง 18% สำหรับ micro-influencers
ด้านรายได้ TikTok เติบโตจากโฆษณาเป็นหลัก และขยายเข้าสู่ E-Commerce ผ่าน TikTok Shop และ Branded Content สร้างรายได้จาก 2 พันล้านดอลลาร์ในปี 2020 เป็น 2.4 หมื่นล้านในปี 2024 และคาดว่าจะไปถึง 3.3 หมื่นล้านในปี 2025 นอกจากนี้ TikTok ยังส่งผลทางด้านเศรษฐกิจโดยตรง ซึ่งความสำเร็จและการเติบโตอย่างรวดเร็วของ TikTok มีสิ่งหนึ่งที่อยู่เบื้องหลัง นั่นก็คือ "โปรแกรม Lark"
Lark เป็นแพลตฟอร์ม collaboration ที่พัฒนาโดย ByteDance ตั้งแต่ปี 2018 เพื่อใช้ภายในองค์กร ก่อนจะเปิดให้ใช้ในตลาดโลกช่วงปี 2019 โดยรวมฟีเจอร์ครบครัน เช่น แชท การประชุม เอกสาร และ workflow ในแอปเดียว และมีจุดเด่นคือการสื่อสารในทีมที่สามารถเชิญบุคคลภายนอกเข้ามามีส่วนร่วมได้ เหมาะกับองค์กรที่ต้องการระบบสื่อสารที่เป็นมืออาชีพแต่ยังมีความยืดหยุ่น
หลังจากเปิดตัวได้ไม่นาน Lark ก็สร้างฐานผู้ใช้ไปถึงหลักพันล้านคนต่อวัน ด้วยแนวคิด "All-in-One" ที่รวมฟีเจอร์การทำงานไว้อย่างครบถ้วน แข่งขันกับแพลตฟอร์มชื่อดัง เช่น Slack, Zoom และ Google Workspace ได้อย่างโดดเด่น ด้วยความสามารถของ Lark ที่สามารถสร้างระบบ workflow ที่เชื่อมโยงให้ทุกทีมสามารถทำงานไปในทิศทางเดียวกันได้ ลดความซ้ำซ้อนและเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานภายในองค์กร
ในด้านเทคโนโลยี Lark สามารถรองรับการทำงานได้หลายระบบปฏิบัติการ และมีเวอร์ชันมากถึง 15 ภาษา นอกจากนี้ยังสามารถเชื่อมต่อกับ TikTok Ads, Shopify และ Square ได้ จึงเป็นเครื่องมือสำคัญของธุรกิจ e-commerce และ digital marketing ที่ต้องการวัดผลและจัดการงานแบบเรียลไทม์ โดยเฉพาะองค์กรที่เน้น KPI แบบ ByteDance ก็สามารถใช้ Lark Base วัดผล workflow ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
หากคุณกำลังมองหา เครื่องมือ collaboration ที่ครบ เปิดกว้างเชิง Growth และพร้อมสเกลระดับองค์กร Lark คือหนึ่งในตัวเลือกที่ควรพิจารณา เนื่องจากมีฐานแนวคิดจากการใช้งานจริงในองค์กรระดับพันล้านอย่าง ByteDance
เรียบเรียงโดย: THE INSIDER

ที่อยู่

Amphoe Bangkok Noi

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ THE INSIDER - ดิ อินไซเดอร์ผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ ธุรกิจของเรา

ส่งข้อความของคุณถึง THE INSIDER - ดิ อินไซเดอร์:

แชร์