THE STANDARD WEALTH สำนักข่าวเศรษฐกิจ ธุรกิจ การเงิน และการลงทุน โดยทีมข่าว THE STANDARD

16/07/2025

BREAKING: ประธานาธิบดีทรัมป์เล่นบทโหด หยั่งเสียง ส.ส. จ่อปลดประธาน Fed ถึงขั้นมีรายงานร่างจดหมายแล้ว ก่อนกลับลำปฏิเสธ แต่ทิ้งปม ‘ไล่ออกได้ถ้ามีเหตุอันควร’

ธปท. ห่วง ‘รายเล็ก’ เจอสินค้าทะลัก ท่ามกลางการเจรจาเปิดตลาดเสรีกับสหรัฐฯ | Morning Wealth 17 ก.ค. 68ฝากคำถามได้ที่นี่ผู้...
16/07/2025

ธปท. ห่วง ‘รายเล็ก’ เจอสินค้าทะลัก ท่ามกลางการเจรจาเปิดตลาดเสรีกับสหรัฐฯ | Morning Wealth 17 ก.ค. 68
ฝากคำถามได้ที่นี่
ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติ ประเมินผลกระทบจากนโยบายภาษีของสหรัฐฯ และการเจรจาเปิดตลาด ชี้ ธปท. ห่วงกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากสินค้าทะลัก เนื่องจากมีสัดส่วน SME สูง รายละเอียดเป็นอย่างไร
ทรัมป์ขู่ขึ้นภาษี ตลาดหุ้นไปไกลได้แค่ไหน? พูดคุยกับ เกษรี อายุตตะกะ, CFP SVP, Head of Investment Research, SCB CIO ธนาคารไทยพาณิชย์
#ภาษีทรัมป์ #สินค้าทะลัก #ตลาดหุ้น

หลังจากที่ โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ประกาศว่าได้บรรลุข้อตกลงการค้าเบื้องต้นกับอินโดนีเซีย โดยระบุว่าจะมีการเรีย...
16/07/2025

หลังจากที่ โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ประกาศว่าได้บรรลุข้อตกลงการค้าเบื้องต้นกับอินโดนีเซีย โดยระบุว่าจะมีการเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากอินโดนีเซียในอัตรา 19% ในขณะที่สินค้าส่งออกของสหรัฐฯ จะไม่ถูกเก็บภาษี
บริษัทพลังงานอย่าง ‘ราช กรุ๊ป’ มองว่าถือเป็นโอกาสที่ดีในการขยายการลงทุนด้านพลังงานในอินโดนีเซีย
ขณะที่ปลัดพลังงานเผยดีลใหม่ด้านพลังงาน เล็งเพิ่มนำเข้าก๊าซ LNG
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/ratch-group-indonesia-investment/

UPDATE: เวียดนาม-อินโดนีเซีย ยอมลดภาษีให้สหรัฐฯ เหลือ 0% ไทยถูกบีบหนักแค่ไหน? เอกชนชี้ ยอมได้แค่สินค้า ‘ยา’สารพัดปัจจัยฉ...
16/07/2025

UPDATE: เวียดนาม-อินโดนีเซีย ยอมลดภาษีให้สหรัฐฯ เหลือ 0% ไทยถูกบีบหนักแค่ไหน? เอกชนชี้ ยอมได้แค่สินค้า ‘ยา’
สารพัดปัจจัยฉุดดัชนีอุตสาหกรรมดิ่งสุดในรอบ 8 เดือน! เอกชนห่วงเวียดนามและอินโดนีเซีย ยอมลดภาษีให้สหรัฐฯ เหลือ 0% กดดันไทยหนัก ลุ้นทีมไทยแลนด์เจรจาสำเร็จ เสนอรัฐเร่งจ่ายงบ 1.5 แสนล้านบาท อัดซอฟต์โลน 2 แสนล้าน สู้ศึกภาษีทรัมป์
วันที่ 16 ก.ค. นาวา จันทนสุรคน รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนมิถุนายน 2568 อยู่ที่ระดับ 87.7 ปรับตัวลดลง จาก 88.1 ในเดือนพฤษภาคม 2568 ซึ่งถือเป็นการปรับตัวลดลงต่ำสุดในรอบ 8 เดือน เป็นผลจากการปิดด่านชายแดนไทย-กัมพูชา และการระงับการนำเข้าน้ำมันและก๊าซ LNG จากไทย ส่งผลกระทบต่อการค้าชายแดนและผ่านแดน
บวกกับสหรัฐฯ ปรับขึ้นภาษี Sectoral Tariff ในกลุ่มสินค้าเหล็กและอะลูมิเนียมจาก 25% เป็น 50% กระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขัน ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและอิหร่านส่งผลกระทบทำให้ราคาพลังงานผันผวน การส่งออกและจำนวนนักท่องเที่ยวชะลอตัว
อย่างไรก็ตาม ขอให้ภาครัฐเร่งเจรจาปรับลดอัตราภาษีนำเข้าสหรัฐฯ (Reciprocal Tariff) ให้ลดลงสู่ระดับที่สามารถแข่งขันได้ ก่อนจะมีผลบังคับใช้วันที่ 1 สิงหาคม 2568
“หากเป็นไปได้อยากให้อัตราภาษีนำเข้าที่สหรัฐฯ เก็บจากไทยอยู่ในระดับใกล้เคียงกับคู่แข่ง หรือประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน ยกเว้น สปป.ลาว และเมียนมา”
ล่าสุดการที่สหรัฐฯ ประกาศเก็บภาษีนำเข้ากับอินโดนีเซียที่ 19% จะส่งผลกระทบกับไทยอย่างไรนั้น มองว่าอาจทำให้ไทย “เหนื่อย” หน่อย แต่เชื่อว่าทีมเจรจาไทยแลนด์ต้องทำได้
หวั่นไทยถูก ‘บีบ’ ยอมลดภาษี 0% ตามอินโดนีเซีย ยันยอมรับได้ 0% เฉพาะบางสินค้าเท่านั้น
ส่วนการที่ประเทศเวียดนามและอินโดนีเซียยอมลดภาษีสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ เหลือ 0% นั้น ส.อ.ท. ได้หารือร่วมกับ 47 กลุ่มอุตสาหกรรมแล้ว ส่วนใหญ่ยินดีลดภาษีสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ เหลือ 0% ในบางกลุ่มสินค้ากับสหรัฐฯ เท่านั้น
โดยสินค้าที่ให้ลดภาษีได้ เช่น ยา เพราะเป็นสินค้าที่มีคุณภาพส่วนสินค้าที่ไม่อยากให้ลดภาษี เช่น กลุ่มเคมี เนื่องจากกลุ่มอุตสาหกรรมบางส่วนเพิ่งเริ่มประกอบกิจการและยังไม่พร้อมให้ลดภาษีเหลือ 0%
“เอกชนมีความกังวลเช่นกันว่า ในอนาคตไทยอาจถูกบีบให้ลดภาษีลงเหลือ 0% เช่นเดียวกับประเทศเพื่อนบ้านหรือไม่ แต่เชื่อว่า พิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ก็คงกังวลเช่นกัน”
แม้ว่าอินโดนีเซียจะได้ดุลการค้ากับสหรัฐฯ น้อยกว่าไทย ซึ่งไทยได้ดุลการค้าราว 45,000 หมื่นล้านดอลลาร์ในปีที่ผ่านมา ถือว่ามากกว่าอินโดนีเซีย 2.5 เท่า จึงยังสงสัยว่าทำไมอินโดนีเซียถึงยอมลดภาษีให้สหรัฐฯ ลงทั้งหมด
ทั้งนี้ สถานการณ์นี้เป็นไปตามที่สหรัฐฯ กล่าวเพียงฝ่ายเดียว ซึ่งเอกชนก็กำลังรอฟังข่าวว่าทางอินโดนีเซียจะออกมาชี้แจงในเรื่องนี้เหมือนเวียดนามหรือไม่ จึงต้องจับตาดู
ดังนั้น ยอมรับว่าหากไทยต้องโดนสูตรคิดภาษีแบบอินโดนีเซียก็ถือเป็นประเด็นที่กังวลเพิ่มมากขึ้น แต่ก็เข้าใจว่าตอนนี้อยู่ในทีมเจรจา
“หากเป็นไปอย่างนั้นอาจเป็นโจทย์ที่ยากกว่าในเรื่องของ Local Content แต่เมื่อรู้โจทย์ก็คงแก้ได้ แม้ว่าจะไม่อยากให้เป็นอย่างนั้น ทุกคนก็เป็นกำลังใจ เพราะเราได้ดุลการค้าน้อยกว่าอินโดนีเซีย แต่เขายอมขนาดนั้นก็เป็นที่น่าสงสัย”
นาวากล่าวถึงประเด็นสินค้าสวมสิทธิ์ (Transshipment) ที่เป็นประเด็นหลักในการที่สหรัฐฯ เรียกเก็บภาษีนำเข้าสูง
“เอกชนเองอยากได้อัตราภาษีที่ต่ำที่สุด แต่ไม่ขอตั้งเป็นตัวเลขเพื่อไม่ให้ไปกดดันทีมเจรจา แต่มี Benchmark อย่างมาเลเซียและอินโดนีเซียที่ไทยอยากให้ได้เท่าๆ ประเทศคู่แข่ง”
ทั้งนี้ เสนอรัฐบาลเร่งจ่ายงบ 1.5 แสนล้านบาท พร้อมอัดซอฟต์โลน 2 แสนล้านบาท สู้ศึกการค้าโลกในครั้งนี้

UPDATE: ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติห่วง ‘รายเล็ก’ เจอปัญหาสินค้าทะลัก ท่ามกลางการเจรจาเปิดตลาดเสรีกับสหรัฐฯผู้ว่าฯ แบงก์ชาติประเมิ...
16/07/2025

UPDATE: ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติห่วง ‘รายเล็ก’ เจอปัญหาสินค้าทะลัก ท่ามกลางการเจรจาเปิดตลาดเสรีกับสหรัฐฯ
ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติประเมินผลกระทบจากนโยบายภาษีของสหรัฐฯ และการเจรจาเปิดตลาด ชี้ ธปท. ห่วงกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากสินค้าทะลัก เนื่องจากมีสัดส่วน SME สูง มองวิกฤติรอบนี้เป็นโอกาสในการปรับตัวเพื่อยกศักยภาพในการแข่งขันของไทย
วันนี้ (16 กรกฎาคม) ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงกรณีที่ไทยพยายามเจรจาเปิดตลาดกับสหรัฐฯ โดยระบุว่า เนื่องจากตนไม่ได้อยู่ในคณะเจรจาฯ จึงไม่ทราบรายละเอียดว่า การเปิดเสรีครอบคลุมรายการสินค้าอะไรบ้าง
กระนั้น ธปท. ได้ประเมินว่า นโยบายภาษีของสหรัฐฯ และการเจรจาเปิดตลาดจะส่งผลกระทบในหลายช่องทาง ได้แก่ (1) กลุ่มผู้ส่งออกไปสหรัฐฯ (2) กลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากการเจรจาเปิดตลาด และ (3) กลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากสินค้าทะลัก ซึ่งเป็นกลุ่มที่น่าห่วงมากที่สุด เช่น เสื้อผ้า เฟอร์นิเจอร์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า และเป็นกลุ่มที่มีสัดส่วน SME สูงที่สุด
“ธปท. เคยได้แสดงความกังวลไปหลายครั้ง เกี่ยวกับกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากสินค้าทะลัก เนื่องจากกลุ่มนี้ มี SME ค่อนข้างเยอะ และมีความเปราะบางสูง เทียบกับกลุ่มที่ส่งออกสินค้าไปสหรัฐฯ ซึ่งจะมีสัดส่วนของบริษัทข้ามชาติและบริษัทใหญ่สูงกว่า” ดร.เศรษฐพุฒิ กล่าวในงาน Money & Banking Awards 2025 ซึ่งจัดโดยวารสารการเงินธนาคาร
สำหรับประเด็นที่ว่า ไทยจำเป็นต้องเปิดตลาดการค้าเสรีกับสหรัฐฯ หรือไม่ ดร.เศรษฐพุฒิ ย้ำว่าแต่ละประเทศต้องพิจารณาสถานะของตนอย่างรอบคอบ
นอกจากนี้ ดร.เศรษฐพุฒิ ยังกล่าวเน้นย้ำถึงความสำคัญของการที่ประเทศไทยจะต้องเร่งสรุปความชัดเจนในการเจรจา และการเตรียมมาตรการรองรับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
"ตอนนี้เราเริ่มเห็นข่าวการเจรจาของประเทศอื่น ๆ ที่ค่อย ๆ ทยอยออกมา แม้จะยังไม่มีประกาศรายละเอียด แต่สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญที่เราจะต้องเจรจาให้ครบ จบ และชัดเจน นอกจากนี้ หลังจากเห็นรายละเอียดต่างๆ ที่ออกมาแล้ว ไทยก็ต้องมีมาตรการรองรับ ไม่ว่าจะเป็น การบรรเทาผลกระทบ และการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ” ดร.เศรษฐพุฒิ กล่าว
ดร.เศรษฐพุฒิ ยังเน้นย้ำถึงความสำคัญเกี่ยวกับรายละเอียดที่ชัดเจนเกี่ยวกับสินค้าส่งผ่าน (Transshipment) ซึ่งยังไม่ปรากฏ ทำให้ ธปท. ยังไม่สามารถประเมินผลกระทบได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากมองว่า ประเด็นดังกล่าวมีผลกระทบอย่างมากต่อการลงทุนของไทย
🔳 ชี้หัวใจแก้ปัญหาคือ ‘การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน'
นอกจากนี้ ดร.เศรษฐพุฒิ ย้ำว่า สิ่งที่ไม่ควรมองข้ามคือ การปรับตัวเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เนื่องจากก่อนหน้านี้ “เรามักเน้นเรื่องระยะสั้น ลืมเรื่องระยะยาว ครั้งนี้จึงเป็นโอกาสสำคัญที่เราจะต้องปรับตัว ไม่ใช่แค่เน้นเรื่องตัวเลขส่งออกหรือลงทุน แต่ต้องคำนึงถึงมูลค่าเพิ่ม (Value Added) ด้วย”
"ปัญหาพวกนี้ไม่ใช่เฉพาะเรื่องของฝั่งการเงินเท่านั้น เนื่องจากไทยยังมีปัญหาขีดความสามารถในการแข่งขันด้วย ดังนั้น การปรับตัวเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันนั้นเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง”

16/07/2025

กสทช. กำหนดแนวทางให้ค่ายมือถือออก ‘แพ็กเกจธงฟ้า’ ให้ราคาถูกลงจากเดิมที่กำหนดไว้ไม่เกิน 240 บาท/เดือน คุ้มครองผู้ใช้งานได้ใช้บริการพื้นฐานที่มีคุณภาพ

16/07/2025

ในอีก 5 ปีข้างหน้า AI จะเปลี่ยนชีวิตเราไปอย่างไร

UPDATE: เอพี ไทยแลนด์ ปรับทัพผู้บริหาร ตั้ง ‘รัชต์ชยุตม์’ นั่ง ‘ประธานฝ่ายบริหาร’ ลุยเป้า 6.5 หมื่นล้านในปีนี้เอพี ไทยแล...
16/07/2025

UPDATE: เอพี ไทยแลนด์ ปรับทัพผู้บริหาร ตั้ง ‘รัชต์ชยุตม์’ นั่ง ‘ประธานฝ่ายบริหาร’ ลุยเป้า 6.5 หมื่นล้านในปีนี้
เอพี ไทยแลนด์ ประกาศปรับโครงสร้างผู้บริหารระดับสูง โดยแต่งตั้ง รัชต์ชยุตม์ นันทโชติโสภณ ขึ้นดำรงตำแหน่ง ประธานฝ่ายบริหาร (President) เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนแผนธุรกิจสู่เป้าหมายที่วางไว้ในปีนี้
การแต่งตั้งรัชต์ชยุตม์ในครั้งนี้ มาจากการเป็นผู้บริหารที่เติบโตมากับองค์กรยาวนานกว่า 25 ปี และมีประวัติการทำงานที่ครอบคลุมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในเครือเอพีอย่างรอบด้าน ตั้งแต่การพัฒนาโครงการบ้านเดี่ยวไปจนถึงงานบริการหลังการขาย
บทบาทใหม่ของรัชต์ชยุตม์คือการเข้ามาขับเคลื่อนแผนธุรกิจให้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยเฉพาะแผนการเปิดตัวโครงการใหม่จำนวน 42 โครงการ มูลค่ารวมกว่า 65,000 ล้านบาท ซึ่งจะส่งผลให้บริษัทมีโครงการพร้อมขายในมือมากกว่า 200 โครงการทั่วกรุงเทพฯ และปริมณฑล
สำหรับเป้าหมายทางการเงินในปีนี้ บริษัทตั้งเป้ายอดขายไว้ที่ 55,000 ล้านบาท และเป้ารายได้รวม (100% JV) ที่ 52,900 ล้านบาท
นอกจากการแต่งตั้งประธานฝ่ายบริหารแล้ว ยังมีการปรับตำแหน่ง พิเชษฐ วิภวศุภกร จากเดิมกรรมการผู้จัดการ ขึ้นเป็น ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (Chief Executive Officer) เพื่อบริหารงานร่วมกับ อนุพงษ์ อัศวโภคิน ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (Chief Executive Officer)

UPDATE: 'Labubu' พารวย! ส่ง Pop Mart คาดการณ์กำไรพุ่ง 350% จากตุ๊กตาฟันหยักที่สร้างปรากฏการณ์คลั่งไคล้ทั่วโลกPop Mart In...
16/07/2025

UPDATE: 'Labubu' พารวย! ส่ง Pop Mart คาดการณ์กำไรพุ่ง 350% จากตุ๊กตาฟันหยักที่สร้างปรากฏการณ์คลั่งไคล้ทั่วโลก
Pop Mart International Group Ltd. บริษัทของเล่นยักษ์ใหญ่จากจีน ได้ออกมาคาดการณ์ผลประกอบการที่คาดว่ารายได้ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้จะเพิ่มอย่างน้อย 200% และกำไรจะพุ่งขึ้นไปอีกถึง 350% เป็นอย่างต่ำ ปัจจัยสำคัญที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จนี้คือ Labubu ตุ๊กตาขนนุ่มหูแหลมและมีฟันหยักเป็นเอกลักษณ์ ที่กำลังสร้างกระแสคลั่งไคล้ไปทั่วโลก
เมื่อวันอังคารที่ 15 กรกฎาคมที่ผ่านมา บริษัทได้เปิดเผยตัวเลขคาดการณ์ดังกล่าว โดยให้เหตุผลว่านอกจากการที่แบรนด์เป็นที่รู้จักและยอมรับในระดับโลกมากขึ้นแล้ว การปรับต้นทุนให้เหมาะสมและการควบคุมค่าใช้จ่ายก็เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยหนุนผลกำไรให้เติบโตอย่างก้าวกระโดด
ความสำเร็จนี้ได้เปลี่ยน Pop Mart ให้กลายเป็นบริษัทที่มีมูลค่าตลาดมากกว่า 4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 1.3 ล้านล้านบาท) และทำให้ราคาหุ้นที่จดทะเบียนในฮ่องกงพุ่งขึ้นถึง 588% ในช่วงปีที่ผ่านมา
สิ่งที่เริ่มต้นจากความคลั่งไคล้ในหมู่คนหนุ่มสาวชาวจีน ได้ระเบิดกลายเป็นกระแสไปทั่วโลก โดยมีคนดังอย่าง Rihanna และ Lisa จากวง BLACKPINK ช่วยจุดกระแสให้ร้อนแรงยิ่งขึ้น แฟนๆ ยอมต่อคิวนานหลายชั่วโมงเพื่อให้ได้ของสะสมชิ้นนี้มาครอบครอง จนร้านค้าหลายแห่งทั่วโลกต้องหยุดขายชั่วคราวเพราะสินค้าหมดสต๊อก
สิ่งนี้สร้างกระแส ‘ของมันต้องมี’ ที่ส่งผลให้เกิดตลาดขายต่อที่เฟื่องฟู ซึ่งตุ๊กตาที่ปกติขายในราคาประมาณ 10 ดอลลาร์ (ราว 325 บาท) สามารถนำไปขายต่อได้ในราคาสูงถึงหลายร้อยดอลลาร์ และเมื่อเดือนที่แล้ว ตุ๊กตา Labubu ขนาดเท่าคนจริงก็ถูกประมูลไปในราคาสูงถึง 150,000 ดอลลาร์ (ราว 4.875 ล้านบาท) ในกรุงปักกิ่ง
ความสำเร็จของ Pop Mart ส่วนหนึ่งมาจากกลยุทธ์การขายของเล่นในรูปแบบ ‘กล่องสุ่ม’ (blind boxes) ซึ่งเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ซ่อนของเล่นไว้ข้างในจนกว่าจะถูกเปิดออก แม้ว่ากลยุทธ์นี้จะถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าส่งเสริมพฤติกรรมที่คล้ายการพนันและการซื้อแบบห้ามใจไม่ได้
แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่านี่ได้ช่วยให้ Pop Mart กลายเป็นผู้ค้าปลีกรายใหญ่ที่มีตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติและร้านค้ามากกว่า 2,000 แห่งทั่วโลก นอกจากนี้ การร่วมมือกับแบรนด์ดังอย่าง Coca-Cola และแฟรนไชส์มังงะ One Piece ก็ช่วยเสริมโปรไฟล์ของ Labubu ให้เป็นที่รู้จักในระดับสากล
Vinci Zhang นักวิเคราะห์อาวุโสจากบริษัทวิจัย M Science กล่าวว่า "ผมไม่เคยเห็นอะไรแบบนี้จากบริษัทของเล่นอื่นๆ เลย" โดย M Science ประเมินว่ายอดขาย Labubu ในสหรัฐอเมริกาเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นถึง 5,000% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และมองว่า Pop Mart ยังมีศักยภาพอีกมหาศาลในตลาดสหรัฐฯ ซึ่งปัจจุบันมีร้านค้าอยู่เพียง 40 แห่ง เทียบกับในจีนที่มีอยู่ราว 400 แห่ง
อย่างไรก็ตาม ความนิยมที่พุ่งสูงขึ้นก็ได้สร้างปัญหาใหญ่ตามมา นั่นคือการระบาดของสินค้าลอกเลียนแบบ หรือที่มักเรียกกันว่าตุ๊กตา Lafufu ซึ่งทางการจีนกำลังเร่งปราบปรามตลาดมืดอย่างหนัก โดยในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา สามารถยึดของปลอมได้มากกว่า 46,000 ชิ้น
หมายเหตุ: ใช้อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 32.50 บาท ณ วันที่ 15 กรกฎาคม 2568
อ้างอิง:
https://www.bbc.com/news/articles/cvg85e0v5vyo
https://www.bloomberg.com/news/articles/2025-07-15/labubu-craze-to-spur-350-surge-in-profit-china-s-pop-mart-says

UPDATE: ไม่ใช่ Chanel แต่ The Row คือ ‘ม้ามืด’ ตัวจริงที่กำลังท้าชิงบัลลังก์ Hermès Birkin ด้วยกลยุทธ์ ‘ผลิตน้อยชิ้น’ ที...
16/07/2025

UPDATE: ไม่ใช่ Chanel แต่ The Row คือ ‘ม้ามืด’ ตัวจริงที่กำลังท้าชิงบัลลังก์ Hermès Birkin ด้วยกลยุทธ์ ‘ผลิตน้อยชิ้น’ ที่ทำให้กระเป๋าฮิตจนราคาพุ่งกว่าป้าย
ในโลกของสินค้าฟุ่มเฟือย การท้าชิงบัลลังก์กระเป๋าในฝันอย่าง Birkin ของ Hermès ถือเป็นเป้าหมายสูงสุด แต่ดูเหมือนว่ายักษ์ใหญ่อย่าง Chanel ที่พยายามอย่างหนักกลับต้องพบกับความยากลำบาก สวนทางกับแบรนด์สัญชาติอเมริกันที่เล็กกว่ามากอย่าง The Row ซึ่งกำลังกลายเป็นผู้ท้าชิงที่น่าจับตามองยิ่งกว่า
สถานการณ์ของสองแบรนด์ดังจากฝรั่งเศสเริ่มเห็นความแตกต่างชัดเจนในปีที่ผ่านมา โดยผลประกอบการล่าสุดของ Chanel แสดงให้เห็นว่ายอดขายในปี 2024 ลดลง 4% และกำไรจากการดำเนินงานลดลงเกือบหนึ่งในสาม ในทางกลับกัน Hermès กลับเติบโตอย่างแข็งแกร่งด้วยยอดขายที่เพิ่มขึ้น 15% และกำไรที่สูงขึ้น 9% ตอกย้ำถึงความแข็งแกร่งที่ยากจะทัดเทียม
‘กลยุทธ์’ หลักที่ Chanel ใช้คือการขึ้นราคาอย่างก้าวกระโดด โดยกระเป๋ารุ่นไอคอนิกอย่าง Classic Flap มีราคาพุ่งจาก 5,800 ดอลลาร์ในปี 2019 มาอยู่ที่ 10,800 ดอลลาร์ในปัจจุบัน (จากประมาณ 1.88 แสนบาท สู่ 3.5 แสนบาท) ซึ่งหากเทียบกับอัตราเงินเฟ้อแล้ว ราคาควรจะอยู่ที่ราว 7,400 ดอลลาร์ (ประมาณ 2.4 แสนบาท) เท่านั้น
การขึ้นราคาครั้งนี้ทำให้ส่วนต่างราคาที่ต้องจ่ายเพิ่มเพื่อซื้อ Birkin แทน Chanel หรือ ‘Birkin Premium’ ลดจาก 4,000 ดอลลาร์ในปี 2019 เหลือเพียง 200 ดอลลาร์ในปี 2023
แต่ผลลัพธ์กลับไม่เป็นไปตามคาด เพราะสิ่งที่พิสูจน์สถานะความเป็น ‘ของมันต้องมี’ คือราคาในตลาดมือสอง ขณะที่ Birkin 25 ซึ่งมีราคาป้ายราว 11,400 ดอลลาร์ (ประมาณ 3.7 แสนบาท) สามารถขายต่อได้ในราคาสูงกว่าเท่าตัว แต่ Classic Flap ของ Chanel กลับมีราคาขายต่อเหลือเพียง 77% ของราคาป้าย ซึ่งเป็นตัวเลขที่ลดลงจาก 83% ในปี 2019 เสียอีก
สมการความสำเร็จของ Hermès ไม่ได้อยู่ที่การตั้งราคาสูงลิ่ว แต่อยู่ที่ ‘เกม’ ของความพิเศษและการเข้าถึงที่จำกัด พวกเขาสร้างวัฒนธรรมที่ลูกค้าต้องสร้างความสัมพันธ์และใช้จ่ายกับสินค้าอื่น ๆ ก่อน หรือที่เรียกกันว่า ‘pre-spend’ โดยเพื่อให้ได้ Birkin 25 หนัง Togo สักใบ ลูกค้าอาจต้องยอมจ่ายเงินกว่า 10,000 ดอลลาร์ (ประมาณ 3.24 แสนบาท) ไปกับสินค้าชิ้นอื่นเพื่อสร้างโปรไฟล์
และในขณะที่ Chanel กำลังเพลี่ยงพล้ำ แบรนด์ The Row กลับใช้กลยุทธ์ที่คล้ายคลึงกับ Hermès ได้อย่างเหนือชั้น กระเป๋ารุ่น Margaux ซึ่งมีราคาป้ายอยู่ที่ 4,700 ดอลลาร์ (ประมาณ 1.52 แสนบาท) ได้กลายเป็นไอเทมสุดฮิตที่มีราคาขายต่อในตลาดมือสองสูงกว่าราคาป้ายไปแล้วกว่า 41% ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นกับสินค้าเพียงไม่กี่อย่างในโลก เช่น Birkin หรือนาฬิกา Rolex และ Patek Philippe
เรื่องที่น่าสนใจอย่างยิ่งก็คือ เมื่อปีที่แล้วบริษัทลงทุนของตระกูลมหาเศรษฐีที่อยู่เบื้องหลัง Chanel ก็ได้เข้าซื้อหุ้นของ The Row เช่นกัน ซึ่งอาจสะท้อนถึงการยอมรับในกลยุทธ์ที่เหนือกว่าของแบรนด์นี้
ความน่าสนใจของกลยุทธ์นี้คือ กระเป๋า Margaux ไม่ได้ผลิตด้วยการเย็บมือเหมือน Birkin ซึ่งหมายความว่า The Row สามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้หากต้องการ แต่พวกเขาเลือกที่จะจำกัดการผลิตโดยเจตนา เพื่อสร้างความรู้สึก ‘หายาก’ และยอมสละผลกำไรในระยะสั้น แลกกับความต้องการที่ยั่งยืนในระยะยาว
เรื่องราวของสามแบรนด์นี้ได้มอบ ‘บทเรียน’ สำคัญให้กับอุตสาหกรรมสินค้าหรู การจะสร้างผลิตภัณฑ์ให้กลายเป็นตำนานและเป็นที่ต้องการอย่างแท้จริงนั้น การตั้งราคาให้แพงระยับอาจไม่ใช่คำตอบเสมอไป แต่หัวใจสำคัญคือการสร้างความรู้สึกพิเศษที่มาพร้อมกับความปรารถนาที่จะได้ครอบครอง ซึ่งสิ่งนั้นมักจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อสินค้านั้นไม่ได้มีไว้สำหรับทุกคน
หมายเหตุ : ใช้อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 32.43 บาท ณ วันที่ 15 กรกฎาคม 2568
อ้างอิง:
https://www.wsj.com/business/retail/trying-to-dethrone-the-birkin-make-fewer-bags-2ddf733d

วิเคราะห์เกมสหรัฐฯ เคาะภาษีเวียดนาม ผ่านเลนส์ ‘จรีพร’ WHA ชี้ ไทยไม่เป็นรอง ได้เปรียบคู่แข่ง  Supply Chain‘จรีพร’ CEO ‘W...
16/07/2025

วิเคราะห์เกมสหรัฐฯ เคาะภาษีเวียดนาม ผ่านเลนส์ ‘จรีพร’ WHA ชี้ ไทยไม่เป็นรอง ได้เปรียบคู่แข่ง Supply Chain
‘จรีพร’ CEO ‘WHA’ วิเคราะห์เกมสหรัฐเคาะภาษีเวียดนาม โดยชี้ว่า ประเด็นสินค้าเพื่อนำผ่าน (Transshipment) ยังเป็นปัญหา จึงยังไม่มีความชัดเจนว่าสหรัฐจะเก็บเวียดนามที่ 20% หรือ 40%
จับตาสงครามภาษียังไร้บทสรุป และต้องรอดูท่าทีจีน พร้อมมองว่า ไทยยังได้เปรียบ Supply Chain ภูมิภาค
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/wha-us-tariff-vietnam-thailand/

UPDATE: ก.ล.ต. เตือนผู้ถือหุ้นกู้ JCK ใช้สิทธิเข้าประชุมผู้ถือหุ้นกู้ ในวันที่ 18 ก.ค. นี้ ย้ำให้ศึกษาข้อมูลอย่างรอบคอบ ...
16/07/2025

UPDATE: ก.ล.ต. เตือนผู้ถือหุ้นกู้ JCK ใช้สิทธิเข้าประชุมผู้ถือหุ้นกู้ ในวันที่ 18 ก.ค. นี้ ย้ำให้ศึกษาข้อมูลอย่างรอบคอบ กรณีบริษัทขอปรับเงื่อนไขหุ้นกู้ 6 รุ่น
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ขอให้ผู้ถือหุ้นกู้ JCK จำนวน 6 รุ่น ใช้สิทธิในการประชุมผู้ถือหุ้นกู้ ศึกษาข้อมูล ซักถามผู้ออกหุ้นกู้หรือผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ เพื่อให้ได้ข้อมูลครบถ้วนและเพียงพอต่อการตัดสินใจลงมติ ในวันที่ 18 กรกฎาคม 2568
.
ตามที่บริษัท เจซีเค อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) (JCK) จะจัดให้มีการประชุมผู้ถือหุ้นกู้ ครั้งที่ 1/2568 สำหรับหุ้นกู้ JCK228A และ JCK209A และ ครั้งที่ 2/2568 สำหรับหุ้นกู้ JCK212A JCK213A JCK221A และ JCK217A ในวันที่ 18 กรกฎาคม 2568 เวลา 14.00 น. ด้วยวิธีการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-meeting) โดยมีเรื่องเพื่อพิจารณา ดังนี้
1. ผ่อนผันให้การที่ผู้ออกหุ้นกู้เสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นกู้ ขอปรับเงื่อนไขการชำระหนี้หุ้นกู้ ไม่ให้ถือเป็นเหตุผิดนัดตามข้อกำหนดสิทธิ (สำหรับหุ้นกู้ JCK228A JCK209A JCK212A และ JCK221A)
2. ขยายระยะเวลาครบกำหนดไถ่ถอนหุ้นกู้ 4 รุ่น ดังนี้
- หุ้นกู้ JCK228A ขยายระยะเวลาออกไปอีก 9 เดือน เป็นครบกำหนดวันที่ 13 พฤษภาคม 2570
- หุ้นกู้ JCK209A ขยายระยะเวลาออกไปอีก 6 เดือน เป็นครบกำหนดวันที่ 27 มิถุนายน 2570
- หุ้นกู้ JCK212A ขยายระยะเวลาออกไปอีก 3 เดือน เป็นครบกำหนดวันที่ 15 พฤษภาคม 2570
- หุ้นกู้ JCK213A ขยายระยะเวลาออกไปอีก 3 เดือน เป็นครบกำหนดวันที่ 22 มิถุนายน 2570
3. เปลี่ยนแปลงการแบ่งชำระคืนเงินต้นหุ้นกู้ ทั้ง 6 รุ่น ดังนี้
- หุ้นกู้ JCK228A JCK209A JCK212A JCK221A และ JCK217A แบ่งชำระคืนเงินต้นหุ้นกู้เป็นจำนวน 3 งวด โดย 2 งวดแรกจำนวนรวมไม่น้อยกว่า ร้อยละ 10 ของมูลค่าเงินต้น ณ วันออกหุ้นกู้ โดยงวดที่ 3 จะชำระคืนส่วนที่เหลือทั้งหมด
- หุ้นกู้ JCK213A แบ่งชำระคืนเงินต้นหุ้นกู้เป็นจำนวน 3 งวด โดย 2 งวดแรกจำนวนรวมไม่น้อยกว่า ร้อยละ 10 ของมูลค่าเงินต้น ณ วันที่ 24 มกราคม 2566 โดยงวดที่ 3 จะชำระคืนส่วนที่เหลือทั้งหมด
4.อนุมัติให้บริษัทสามารถนำที่ดินซึ่งเป็นหลักประกันการชำระหนี้หุ้นกู้ ยื่นขออนุญาตจัดสรรที่ดินตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายที่เกี่ยวข้องได้ (สำหรับหุ้นกู้ JCK228A JCK212A และ JCK221A)
5. แก้ไขเพิ่มเติมข้อกำหนด โดยแก้ไขเพิ่มให้ผู้ออกหุ้นกู้ใช้สิทธิไถ่ถอนหรือขอคืนทรัพย์สินที่เป็นประกันตามสัญญาหลักประกัน และ/หรือทรัพย์สินทดแทน ได้ทั้งจำนวนหรือบางส่วนตามมูลค่าไถ่ถอนที่กำหนด (สำหรับหุ้นกู้ JCK228A JCK212A และ JCK221A)
6. แก้ไขเพิ่มเติมข้อกำหนดสิทธิ เกี่ยวกับเงื่อนไขการใช้สิทธิไถ่ถอนหรือขอคืนทรัพย์สินที่เป็นประกันตามสัญญาหลักประกัน และ/หรือทรัพย์สินทดแทน (ถ้ามี) จากเดิม ผู้ออกหุ้นกู้จะต้องใช้สิทธิไถ่ถอนหรือขอคืนทรัพย์สินที่เป็นประกันตามสัญญาหลักประกันและ/หรือทรัพย์สินทดแทน (ถ้ามี) ภายในวันที่ 22 มีนาคม 2569 และภายในวันที่ 22 ธันวาคม 2569 แก้ไขเป็น ภายในวันที่ 22 กันยายน 2569 และภายในวันที่ 22 มีนาคม 2570 (สำหรับหุ้นกู้ JCK213A)
.
ทั้งนี้ ก.ล.ต. ได้กำหนดให้ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้วิเคราะห์ข้อดี ข้อเสีย ประโยชน์ และผลกระทบที่ผู้ถือหุ้นกู้จะได้รับจากการมีมติอนุมัติ หรือไม่อนุมัติ ให้ชัดเจนในแต่ละทางเลือก พร้อมเหตุผลประกอบโดยมีความเห็นของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ประกอบด้วย ก.ล.ต. จึงขอให้ผู้ถือหุ้นกู้ศึกษาข้อมูลอย่างรอบคอบ และใช้สิทธิของผู้ถือหุ้นกู้ในการรักษาประโยชน์ของตนเอง พร้อมทั้งสอบถามข้อมูลต่าง ๆ จากผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ เพื่อให้มีข้อมูลครบถ้วนประกอบการตัดสินใจออกเสียงในการประชุมผู้ถือหุ้นกู้ด้วย
หมายเหตุ : (1) บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด เป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ 5 รุ่น ได้แก่
- JCK228A ครบกำหนดชำระวันที่ 13 สิงหาคม 2569
- JCK209A ครบกำหนดชำระวันที่ 27 ธันวาคม 2569
- JCK212A ครบกำหนดชำระวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2570
- JCK221A ครบกำหนดชำระวันที่ 24 กรกฎาคม 2570
- JCK217A ครบกำหนดชำระวันที่ 26 กรกฎาคม 2570
(2) บริษัทหลักทรัพย์ ดาโอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
- JCK213A ครบกำหนดชำระวันที่ 22 มีนาคม 2570

ที่อยู่

Amphoe Bangkok Noi

เวลาทำการ

จันทร์ 07:00 - 17:00
อังคาร 07:00 - 17:00
พุธ 07:00 - 17:00
พฤหัสบดี 07:00 - 17:00
ศุกร์ 07:00 - 17:00

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ THE STANDARD WEALTHผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ ธุรกิจของเรา

ส่งข้อความของคุณถึง THE STANDARD WEALTH:

แชร์