Film Maniac ข้อมูลการติดต่อ, แผนที่และเส้นทาง,แบบฟอร์มการติดต่อ,เวลาเปิดและปิด, การบริการ,การให้คะแนนความพอใจในการบริการ,รูปภาพทั้งหมด,วิดีโอทั้งหมดและข่าวสารจาก Film Maniac, สตูดิโอภาพยนตร์/โทรทัศน์, Bangkok.

Talk to Me(2022) 7/10เรื่องราวเกี่ยวกับกลุ่มวัยรุ่นที่สามารถสื่อสารกับผี และให้ผีเข้าสิงร่างได้ในระยะเวลาหนึ่ง ผ่านการจั...
16/09/2023

Talk to Me
(2022) 7/10

เรื่องราวเกี่ยวกับกลุ่มวัยรุ่นที่สามารถสื่อสารกับผี และให้ผีเข้าสิงร่างได้ในระยะเวลาหนึ่ง ผ่านการจับ ‘มือ’ ปริศนา ที่เชื่อว่าเป็นมือศพของคนทรง พวกเขามั่วสุมเสพติดการถูกผีสิงราวกับเป็นยาเสพติดชนิดหนึ่ง เมื่อยิ่งถลำลึก เหตุสยองที่คาดไม่ถึงก็เกิดขึ้น...

หนังสร้างจากหนังสั้นในชื่อเดียวกันของยูทูปเบอร์สองพี่น้อง Danny และ Michael Philippou ที่ได้โอกาสจากค่าย A24 ให้มากำกับหนังใหญ่เรื่องแรกของพวกเค้า บอกตามตรงไม่เคยดูหนังสั้นมาก่อน ดูแค่ตัวอย่างหนังครั้งเดียว ซึ่งก็ยังไม่ค่อยเก็ตว่า เค้าเล่นอะไรกัน มืออะไรมาจากไหน จับมือแล้วจะเกิดอะไรยังไงต่อ ผีเข้าสิงแล้วยังไง ก็ไม่ได้ไปหาข้อมูลอะไรต่อ เพราะอยากไปดูแบบหัวโล่งๆ...

หนังเริ่มเรื่องค่อนข้างกระชับฉับไว ปูเรื่องไม่ต้องเยอะ เข้าสู่จุดพีคด้วยความไวแสงทันใจวัยรุ่น เพราะหนังเป็นแนววัยรุ่นคึกคะนองท้าทายสิ่งลี้ลับ แล้วพอได้เห็นภาพว่าการเล่นจับมือผีมันเป็นยังงี้ๆ จะเห็นอะไรแบบนี้ๆ มีข้อจำกัดแบบนี้ๆ บอกตามตรงคือชอบไอเดียมาก เข้าใจง่ายแต่ดาเมจแรงสูง แล้วบรรยากาศกับการแสดงสีหน้า ก็บิ้วได้ดีมากจริงๆ ความกล้าๆ กลัวๆ แต่ก็อยากท้าทาย นำมาซึ่งความชิบหายวายป่วง...

หนังเริ่มเรื่องค่อนข้างกระชับฉับไว ปูเรื่องไม่ต้องเยอะ เข้าสู่จุดพีคด้วยความไวแสงทันใจวัยรุ่น เพราะหนังเป็นแนววัยรุ่นคึกคะนองท้าทายสิ่งลี้ลับ แล้วพอได้เห็นภาพว่าการเล่นจับมือผีมันเป็นยังงี้ๆ จะเห็นอะไรแบบนี้ๆ มีข้อจำกัดแบบนี้ๆ บอกตามตรงคือชอบไอเดียมาก เข้าใจง่ายแต่ดาเมจแรงสูง แล้วบรรยากาศกับการแสดงสีหน้า ก็บิ้วได้ดีมากจริงๆ ความกล้าๆ กลัวๆ แต่ก็อยากท้าทาย นำมาซึ่งความชิบหายวายป่วง...

หากจะเลือกสัมผัสแค่ประเด็นความหลอนในหนังเพียงแค่นั้นก็ทำได้ แต่กระนั้น Talk to Me ก็ยังใส่ประเด็นการเติบโตในชีวิตและสังคมวัยรุ่นเข้ามาอย่างแยบยลด้วย ภายใต้บรรยากาศความน่ากลัวของตัว ยังมีกลิ่นอายความดราม่าและการค้นหาตัวเองแบบลึก ๆ ผ่านการเล่าเรื่องโดยตัวละครนำเรื่องนี้ ที่เป็นจุดที่สร้างมิติที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นให้กับหนังเรื่องนี้ ไม่ได้จะมาขายแค่เพียงประเด็นผีอย่างเดียว...

ฝั่งการแสดงใน Talk to Me ถือว่าน่าพอใจไม่น้อย แม้ว่าโดยส่วนใหญ่จะเป็นนักแสดงฝั่งออสเตรเลียที่เราอาจจะไม่ได้คุ้นเคยกับพวกเขามากนัก แต่ถือว่าเป็นทีมแคสติ้งที่ค่อนข้างเหมาะเจาะลงตัวในแต่ละบทบาทได้เป็นอย่างดี “โซฟี ไวล์ด” แบกหนังทั้งเรื่องเอาไว้ได้เป็นอย่างดี มากับการแสดงน้อยแต่มากของเธอ ไม่ว่าจะต้องเผชิญหน้ากับสถานการณ์แบบไหนก็ถ่ายทอดออกมาได้ค่อนข้างถึงใจ...

Talk to Me อาจจะเป็นหนังที่มีงานโปรดักชันพื้นฐานแบบง่าย ๆ ไม่ได้มีอะไรหวือหวาเท่าไหร่นัก แต่บนงานสร้างแบบธรรมดาเนี่ยแหละที่น่าจะเป็นการแสดงความจริงใจออกมาอย่างตรงไปตรงมา ไม่จำเป็นต้องใช้เอคเฟคหวือหวาอะไรมากมายก็หลอนได้ เพราะยังสามารถทำการหลอนได้จากตัวบทหนังและการแสดงเป็นหลักได้อยู่ หลอนแบบไม่ต้องหลอกซับซ้อนให้เหนื่อยอะไรมากมาย แต่เพียงแค่นี้หนังก็ทำให้คนดูหายใจไม่ทั่วท้องได้ในระดับหนึ่งแล้ว...

หนังสยองขวัญจากฝั่งตะวันตกอย่าง Talk to me สามารถเรียกได้เต็มปากว่า ‘หนังผี’ ผีแบบผีจริงๆ ไม่ใช่เดวิลไม่ใช่ซาตานแบบหนังผีฝรั่งส่วนมากในตลาด ที่ผีจะมีพลังเว่อวังพังบ้าน พอไม่ใช่แบบนั้น มันเลยโดนใจมากๆ...

สรุป

Talk to Me (2023) จับ มือ ผี ก็ถือเป็นอีกหนึ่งหนังผีที่ค่อนข้างประสบความสำเร็จในแง่คอนเซ็ปต์ที่ตรงไปตรงมา โดยรวมถือว่ารู้ดีว่าคนดูต้องการอยากจะเห็นอะไรและดูอะไร ไอเดียอาจจะใหม่ในแง่เวทีสากลและเข้าถึงกลุ่มคนดูได้ไม่ยาก แต่จังหวะและลีลาของหนังยังมีบางจุดบกพร่องอยู่บ้าง แต่ในภาพรวมแล้วนั้นก็ถือว่ายังเป็นหนังที่เต็มไปด้วยอรรถรสในตัวเองได้เป็นอย่างดี...

Mission: Impossible - Dead Reckoning Part One(2023) 8/10เรื่องราวในภาคนี้เริ่มต้นขึ้นเมื่อ อีธาน ฮันต์ สายลับ IMF ที่ได้...
16/09/2023

Mission: Impossible - Dead Reckoning Part One
(2023) 8/10

เรื่องราวในภาคนี้เริ่มต้นขึ้นเมื่อ อีธาน ฮันต์ สายลับ IMF ที่ได้รับภารกิจใหม่ในการออกตามล่ากุญแจรูปกางเขนที่สามารถแยกออกได้เป็น 2 ชิ้นส่วน เมื่อประกอบกันเข้า กุญแจนี้จะสามารถเข้าถึงและควบคุมสิ่งที่เรียกว่า เอนทิตี (Entity) ที่มีความสามารถในการก่อวินาศกรรมระบบดิจิทัล ด้วยการแทรกซึมเข้าไปในระบบเครือข่ายได้อย่างแนบเนียน และยังไม่มีใครที่ล่วงรู้แน่ชัดว่ามันคืออะไร หน้าตาเป็นแบบไหน ใครเป็นคนสร้าง สร้างขึ้นมาทำไม และตั้งอยู่ที่ไหนในโลก...

ย้อนกลับไปเมื่อ 27 ปีที่แล้ว ทอม ครูซ (Tom Cruise) ได้เริ่มต้นโปรเจกต์แรกของตัวเขาเองในฐานะนักแสดงและโปรดิวเซอร์หนัง ซึ่งนั่นก็คือ ‘Mission: Impossible’ หลังจากที่ออกฉายในปี 1996 โลกเลยได้รู้จักกับสายลับ อีธาน ฮันต์ สายลับประจำหน่วย IMF (Impossible Mission Force) ที่ต้องทำภารกิจในปฏิบัติการที่แทบจะเป็นไปไม่ได้ จากหนังสายลับขายความไฮเทค พัฒนากลายเป็นแฟรนไชส์หนังแอ็กชันสายลับ ที่มาพร้อมกับฉากเสี่ยงตายสไตล์ ทอม ครูซ ที่ตอนนี้เดินทางมาถึงภาคที่ 7 ในชื่อ ‘Mission: Impossible – Dead Reckoning Part One’ และถือเป็นภาคแรกของแฟรนไชส์ที่แบ่งเรื่องราวออกเป็น 2 ตอน...

นภาคนี้ก็ยังคงได้ คริสโตเฟอร์ แม็กควอรี (Christopher McQuarrie) ผู้กำกับและเขียนบทเจ้าประจำที่ทำงานกับแฟรนไชส์นี้มาตั้งแต่ตอนเขียนบทภาค ‘Mission: Impossible – Ghost Protocol’ (2011) และรับหน้าที่กำกับ 2 ภาคหลังอย่าง ‘Mission: Impossible – Rogue Nation’ (2015) และ ‘Mission: Impossible – Fallout’ (2018) ที่มีความเชื่อมโยงกันด้วยตัวละครชุดเดิม ทำให้มีภาพของความเป็น ‘จักรวาล’ ขึ้นมาอย่างชัดเจน รวมไปถึงภาคนี้ และตอนที่ 2 ที่จะฉายในปี 2024 ด้วย...

แม้โดยรวมจะไม่ได้มีเนื้อหาต่อมาจากภาคก่อน ๆ สำหรับคนที่ไม่เคยดููภาคไหนมาก่อนเลย ก็ยังถือว่าดูได้แบบสนุกและรู้เรื่องนะครับ บทถือว่าฉลาดทีเดียว ในการออกแบบให้ภาคนี้เป็นการเล่าเรื่องการตามหากุญแจ ส่วนปริศนาของเอนทิตีจริง ๆ ก็ค่อยต๊ะเอาไว้ไปว่ากันตอน 2 ก็เลยทำให้ภาคนี้มีความสนุกแบบจบในตัวได้ แต่ถึงอย่างนั้น ด้วยความที่ภาคนี้มีตัวละครจากภาคเก่า ๆ ทั้งภาค ‘Rogue Nation’ (2015) และ ‘Fallout’ (2018) ผมเองก็คิดว่ายังมีความจำเป็นที่จะต้องดูภาคเหล่านี้มาก่อนเพื่อปูให้เข้าใจที่มาที่ไปของตัวละครเก่า ๆ ทั้งหมด (รวมถึงตัวละครจากภาคเก่าที่ถูกอ้างชื่อ) เพราะในหนังจะเล่าประเด็นความสัมพันธ์ของคนที่อยู่รายรอบตัวฮันต์อยู่มากพอสมควร...

สิ่งที่แฟนหนังชุดนี้น่าจะพอจับสังเกตได้ก็คือ ในระหว่างภารกิจการหากุญแจ สิ่งที่คู่ขนานไปกับหนังก็คือ ความพยายามกลับไปสำรวจเรื่องราวในอดีตของตัวฮันต์เอง ในรูปของการย้อนกลับไปยังรากเหง้าของตัวเขาเองใน ‘Mission: Impossible’ (1996) ครับ คือนอกจากความพยายามใช้มุมกล้องแบบเอียง (Dutch Angle) ที่ผู้กำกับ ไบรอัน เดอ พัลมา (Brian De Palma) ใช้จนกลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของภาคแรก...

อีกความเจ๋งที่ดูเหมือนจะเป็นปัญหาของหนังนิด ๆ เหมือนกัน นั่นก็คือความซับซ้อนมากสิ่งของหนัง ถ้าหั่นครึ่งหนังแบบง่าย ๆ ก็จะเห็นชัดเจนว่า ครึ่งแรกของหนังคือการเล่าอธิบายเชิงโครงสร้างทุกอย่างที่จะเกิดขึ้นใน ‘Dead Reckoning’ ทั้งสองภาค ทั้งการอธิบายเอนทิตี ในฐานะวายร้ายรูปแบบใหม่ที่มีความน่ากลัวก็คือ สามารถแทรกซึมเข้าสู่ระบบดิจิทัล เข้าถึงฐานข้อมูลได้ทุกอย่างในโลก สร้าง Fake News เพื่อล้างสมองผู้คน สามารถปลอมแปลงอัตลักษณ์ตัวตน เรียนรู้และวิวัฒน์ตัวเองได้แบบไม่รู้จบ ซึ่งจะว่าไปมันก็เป็นคู่ปรับที่ตรงกันข้ามกับฮันต์อย่างชัดเจนมาก...

เพราะในขณะที่ฮันต์เองแม้ว่าจะทันสมัยแค่ไหน แต่ตัวเขาเองก็ยังมีสถานะเป็นคนจากโลกเก่าอยู่ดี เพราะในขณะที่ฮันต์ก็ยังคงรับข้อมูลผ่านแฟ้ม ภาพถ่ายอัดใส่กระดาษ และเทปบันทึกเสียงแอนะล็อกที่ทำลายตัวเองได้ เอนทิตีกลับสามารถจัดการฐานข้อมูลและทำลายตัวเอง ลบร่องรอยได้ด้วยตัวมันเองโดยไม่ต้องให้ใครมาส่งพัสดุ ในขณะที่ฮันต์ยังต้องสร้างหน้ากากยางในการปลอมแปลงตัวเอง เอนทิตีกลับสามารถปลอมตัวเป็นใครก็ได้ แฮกเพื่อสร้างข้อมูลเท็จ เปลี่ยนแปลง ปกปิด ทำลายข้อมูลอัตลักษณ์ตัวตนได้เลยภายในเสี้ยววินาที คือแทบจะเป็นวายร้ายระดับพระเจ้าที่สามารถ Disrupt โลกเก่าอย่างฮันต์ และส่งผลต่อโลกดิจิทัล และโลกจริงได้...

สิ่งที่เกริ่นไว้ว่าเป็นปัญหานิด ๆ ของครึ่งแรกก็คือ การที่หนังต้องค่อย ๆ อธิบายองค์ความรู้ซับซ้อนเนิร์ด ๆ ของตัวเอนทิตีเอง รวมไปถึงยังต้องพยายามปูเรื่องเพื่ออธิบายเกี่ยวกับบรรดาตัวละครต่าง ๆ ทั้งสถานการณ์ปัจจุบันของบรรดาตัวละครเก่า และการแนะนำตัวละครใหม่ รวมทั้งการพยายามวิพากษ์วิจารณ์การเมืองระหว่างประเทศ การพยายามอธิบายเรื่องราวความน่ากลัวของเอนทิตีที่มีความน่ากลัว ร่วมสมัย และดูใกล้ตัวเรามาก รวมทั้งเกมช่วงชิงอำนาจระหว่างประเทศ และระหว่างตัวละคร แม้ตัวหนังจะใช้วิธีการแทรกทุกอย่างไว้ในฉากแอ็กชันและบทสนทนาตึง ๆ จิกกัด เชือดเฉือน และยาวเหยียด ปฏิเสธไม่ได้จริง ๆ ว่าสิ่งเหล่านี้มันก็ทำให้ Pace หนังในครึ่งแรกมันเนือยมากพอสมควร และเต็มไปด้วยข้อมูลที่ต้องรับ วิเคราะห์ ปะติดปะต่อข้อมูลเยอะ ๆ จนแอบเหนื่อยเหมือนกัน ทั้งที่จริง ๆ คอนเซ็ปต์คร่าว ๆ มันก็ไม่ได้ซับซ้อนอะไร...

สิ่งที่เป็นจุดเด่นจุดขายของแฟรนไชส์นี้ก็คงหนีไม่พ้นบรรดาฉากแอ็กชันที่ครูซยังคงเล่นเอง เสี่ยงเองในทุก ๆ ภาค เอาจริง ๆ แม้ตัวหนังจะปล่อยฟุตเทจเบื้องหลังออกมาให้ได้ดูทั้งในออนไลน์ และในโรงหนังมานานมากแล้ว แต่พอได้ดูซีนเหล่านั้นแบบเต็ม ๆ ก็ยังรู้สึกว่า ทอม ครูซ วัย 61 ปี นอกจากจะเล่นจริง เสี่ยงจริง เหมือนเช่นทุกภาค รวมทั้งยังนำเสนอฉากแอ็กชันแปลก ๆ ใหม่ ๆ ที่ต้องชมว่าช่างหาทำหาเสี่ยงกันเหลือเกิน ในอีกมุมหนึ่งมันก็ยืนยันได้อย่างชัดเจนเลยว่า ป๋าครูซแกยังคงรักษาวินัย ยังคงมีสมรรถนะทางร่างกายที่แน่นกว่าอายุจริง และใจรักในการเล่นฉากแอ็กชันเสี่ยงตายได้แบบไร้ขีดจำกัด ชนิดที่ว่าลืมอายุลืมตายได้อย่างไม่มีปัญหาเลย...

ซึ่งในภาคนี้ก็ต้องบอกว่ามีฉากแอ็กชันที่ให้ลุ้นกันแบบจิกเท้าหลายฉากอยู่นะครับ ทั้งฉากขี่มอเตอร์ไซค์ Honda CRF 250 พุ่งทะยานจากหน้าผาหินในนอร์เวย์ ที่ตั้งอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 1,200 เมตร ดิ่งพสุธาลงสู่หุบเขา ก่อนจะกางร่มชูชีพก่อนถึงพื้นเพียงแค่ 500 ฟุต หรือ 152.4 เมตร ซึ่งพอมาเห็นแบบเต็ม ๆ ก็ยังเล่นเอาเกร็งได้อยู่ รวมทั้งฉากแอ็กชันบนขบวนรถไฟ ที่ชวนให้นึกถึงฉากต่อสู้บนรถไฟจากภาคแรกเหมือนกัน แต่ที่เจ๋งกว่าคือ ความสมจริงด้วยการถ่ายทำบนรถไฟจริง และถ่ายทำบนรางรถไฟจริง ๆ ซึ่งในหนังก็จัดฉากแอ็กชันบนรถไฟให้ดูกันแบบยาวเหยียด และใช้ทุกองค์ประกอบบนรถไฟแบบเกินคุ้ม รวมทั้งฉากซิ่งรถในโรม ที่ลุงฮันต์ต้องขับ Fiat 500 รถ EV สีเหลืองปุ๊กปิ๊ก ที่แม้จะดูคุ้น ๆ กับหนังที่มักจะใช้โลเคชันนี้ในหลาย ๆ เรื่อง แต่ก็ถือว่าทำออกมาได้ทั้งลุ้น ได้ทั้งตลกนรกบ้าบอคอแตกดีจริง ๆ...

ส่วนในพาร์ตตัวละคร ด้วยความที่ภาคนี้อุดมไปด้วยตัวละครทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่ ซึ่งบรรดาตัวละครจากภาคก่อน ๆ รวมทั้งครูซ ที่ไม่ต้องพูดถึงแล้วว่านึ่คือ อีธาน ฮันต์ คนเดียวในโลกจริง ๆ ส่วน วิง เรมส์ ในบทลูเธอร์ และเบนจี ที่รับบทโดย ไซมอน เพ็กก์ ก็เป็นตัวสร้างสีสันในภาคนี้ที่เข้าเส้นมาก ๆ ส่วนนักแสดงคนอื่น ๆ ก็ยังคงแสดงกันได้ดี ส่วน อีไซ โมราเลส ที่รับบทเป็น แกเบรียล วายร้ายประจำภาคนี้ ที่แอบโชว์ของน้อยไปนิด แต่ก็ถือเป็นวายร้ายที่มีมิติน่าสนใจ และน่าจะมีบทบาทมากขึ้นในตอนต่อไป...

อีกตัวละครที่แอบหงุดหงิดก็คือ เกรซ ที่รับบทโดย เฮย์ลีย์ แอตเวลล์ ครับ คือเธอรับบทเป็นนักล้วงกระเป๋าได้อย่างมีเสน่ห์อันนี้ไม่ขัด แต่ปัญหาที่รู้สึกก็คือ แอตเวลล์ เคยรับบท เพ็กกี คาร์เตอร์ และกัปตันคาร์เตอร์กับ Marvel แล้ว รวมทั้งอายุที่ดูโตกว่าจะเล่นบทแนว ๆ นี้ ก็เลยทำให้แอบไม่รู้สึกเชื่อ และไม่ซื้อกับเหตุผลและการกระทำบางอย่างที่ไร้เดียงสาของเกรซอยู่บ้างเหมือนกัน แอบเสียดายว่า ถ้าให้เธอมารับบทเป็นสายลับเก่ง ๆ หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางคู่กับฮันต์ น่าจะดูเหมาะกับเธอมากกว่า...

สรุป

คงไม่ต้องนั่งสงสัยแล้วล่ะครับว่าทำไม ‘Mission: Impossible – Dead Reckoning Part One’ ถึงได้คะแนนจากเว็บไซต์ Rotten Tomatoes ได้สูงปรี๊ดขนาดนี้ เพราะถ้าไม่นับความซับซ้อนของภัยร้ายที่ยิ่งใหญ่และเป็นอันตรายต่อมนุษยชาติ การวิเคราะห์บทสนทนาเกมแย่งชิงอำนาจและการเมือง รากเหง้า ปมเก่า ภัยจากโลกยุคแอนะล็อก มิตรภาพ การสูญเสีย ความไว้วางใจที่ไม่น่าไว้วางใจ ปริศนาที่ยังคงไร้ทางแก้ ทั้งหมดนี้ขมวดรวมกลายเป็นภารกิจที่น่าจะเป็นไปไม่ได้มากที่สุดของ อีธาน ฮันต์ ในบรรดาทุกภาคแล้วล่ะ...

แต่ในขณะเดียวกัน ตัวหนังก็ยังคงให้ความบันเทิงแบบเกินคุ้ม ทั้งฉากแอ็กชันที่ให้แบบจุก ๆ มุกจังหวะนรกที่ต้องอุทานว่ามันนรกจริง ๆ เป็นหนังที่มีความจบในตัวที่ดูโรงระบบปกติก็ได้ ดูระบบ IMAX ก็ยิ่งดี นับจากนี้ก็นึกไม่ออกเลยว่า ตอนที่ 2 ป๋าครูซแกจะดันเพดานจากภาคนี้ไปได้อีกแค่ไหน...

Barbie (2023) 7/10ณ ดินแดนบาร์บี้แลนด์ บาร์บี้และพ้องเพื่อนใช้ชีวิตกันอย่างเพอร์เฟคในทุกๆ วัน แต่แล้ววันหนึ่งบาร์บี้รุ่น...
16/09/2023

Barbie (2023) 7/10

ณ ดินแดนบาร์บี้แลนด์ บาร์บี้และพ้องเพื่อนใช้ชีวิตกันอย่างเพอร์เฟคในทุกๆ วัน แต่แล้ววันหนึ่งบาร์บี้รุ่นพิมพ์นิยม (Margot Robbie) กลับไม่เพอร์เฟคอีกต่อไป เธอเริ่มคิดถึงความตาย ความเศร้า ผมยุ่ง มีกลิ่นปากและเซลลูไลต์! ซึ่งสาเหตุมาจากเด็กสาวที่เล่นกับเธอในโลกแห่งความจริง บาร์บี้และเคนของเธอ (Ryan Gosling) จึงออกเดินทางตามหาเด็กสาวคนนั้นเพื่อทำให้ทุกอย่างกลับมาเพอร์เฟคอีกครั้ง...

หนังใหม่ 2023 ประจำเดือนกรกฎาคม "Barbie Movie" (บาร์บี้) ภาพยนตร์ฉบับ Live-Action ที่ใช้คนแสดงจริง ได้แรงบันดาลใจมาจากตุ๊กตาบาร์บี้ที่อยู่ในความทรงจำของเด็กผู้หญิงมายาวนานกว่า 60 ปี ผลงานของผู้กำกับหญิง เกรต้า เกอร์วิก ที่เคยฝากผลงานสุดประทับใจไว้ใน Lady Bird (2017) และ Little Women (2019) กลับมาครั้งนี้ได้เนรมิตโลกแห่งบาร์บี้แลนด์ที่ปกครองโดยผู้หญิง พร้อมมุกเสียดสีสังคมแบบตลกร้าย...

"ตุ๊กตาบาร์บี้" (Barbie) ตุ๊กตาพลาสติกสูง 11 นิ้ว เป็นของเล่นที่มาปฏิวัติวงการตุ๊กตาให้เด็กผู้หญิงทั่วโลก จากเดิมที่เด็กๆ จะเล่นแค่ตุ๊กตาเด็กทารก พร้อมกับบทบาทสมมติพ่อ แม่ ลูก แต่บาร์บี้เป็นตุ๊กตาผู้ใหญ่ที่สร้างความท้าทายและเปลี่ยนแปลงมุมมองของเด็กผู้หญิงทั่วโลกไปตลอดกาล เพราะ "บาร์บี้" เป็นตัวแทนของผู้หญิงที่สามารถเป็นอะไรก็ได้ที่พวกเธออยากเป็น ไม่ว่าจะเป็นทนาย หมอ นางแบบ ตลอดจนประธานาธิบดีหญิง บาร์บี้อยากแต่งตัวแบบไหนหรือใช้ชีวิตอย่างไรก็ได้ โดยมี "เคน" เพื่อนชายคนสนิทของบาร์บี้คอยให้กำลังใจและสนับสนุนอยู่เคียงข้าง...

แต่ขณะเดียวกันโลกของบาร์บี้ก็เป็นโลกที่ปกครองโดยผู้หญิง ทุกสิ่งรอบตัวดูสวยงามและเป็นดั่งฝัน เด็กผู้หญิงหลายคนจึงพบว่าเมื่อพวกเธอโตเป็นวัยรุ่น กลับไม่ได้รู้สึกชื่นชอบบาร์บี้เหมือนเก่า อาจเพราะรูปร่างหน้าตาของบาร์บี้ที่ถอดแบบมาจากมาตรฐานความงามแบบ "พิมพ์นิยม" ในโลกแห่งความจริง และเราทุกคนอาจไม่สามารถเติบโตขึ้นเป็นผู้หญิงแบบนั้นได้ ทำให้ต่อมาผู้ผลิตมีการผลิตบาร์บี้หลายรุ่นที่มีสีผิวแตกต่างกันมากขึ้น...

ผลงานกำกับของเกรต้า เกอร์วิก ได้รับอิทธิพลและแรงบันดาลใจมาจากละครเวทีมิวสิคัลช่วงปี 1950 ในขณะที่ตุ๊กตาบาร์บี้ผลิตขึ้นครั้งแรกในปี 1959 ภาพยนตร์จึงมีกลิ่นอายของความเป็นมิวสิคัลผสมผสานกับเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายและฉากที่มีสีสันสดใส เพิ่มความมีชีวิตชีวาให้บาร์บี้แลนด์ และให้ผู้ชมรับรู้ถึงความเป็นโลกสมมติเมื่อเห็นตัวละครใช้ชีวิตอยู่ในบาร์บี้แลนด์ดินแดนพลาสติก...

จุดเด่นของหนังบาร์บี้ต้องยกให้การนำเสนอประเด็นทางสังคมหนักๆ ให้กลายเป็นเรื่องราวที่เข้าใจได้ง่าย ชวนคนดูตั้งคำถามกับบทบาทต่างๆ ของตัวละครอย่างน่าสนใจ จิกกัดสังคมทุนนิยมและเหน็บแนมปิตาธิปไตยได้อย่างตลกร้าย ผ่านการสร้างตัวละครผู้ชายคาแรกเตอร์งี่เง่าน่ารำคาญและไม่ฉลาดนัก ราวกับต้องการตอกกลับโลกฮอลลีวูดที่มักสร้างบทแม่มด ผีสาง ปีศาจ ให้กับตัวละครผู้หญิง

ในแง่ของนักแสดง แน่นอนเลยว่า มาร์โกต์ ร็อบบี นี่คือหนึ่งเดียวที่เหมาะสมกับบทบาร์บี้จริง ๆ จนนึกไม่ออกว่าจะเอาใครมาเล่นแทนได้ ร็อบบีในบทบาร์บี้ ถือว่าเป็นตัวหลักที่แบกหนังไว้พอสมควร แต่นักแสดงรอบข้างก็ถือว่าทำได้ดี...

ในขณะที่การแสดงของไรอัน กอสลิ่ง ในบทบาท "เคน" ก็ขโมยซีนฮาๆ ไปได้อย่างน่าจดจำ ทั้งนี้ Barbie Movie ไม่ได้แค่จิกกัดปิตาธิปไตย แต่ยังสอดแทรกมุกที่เสียดสีโลกของบาร์บี้เองด้วย การอยู่ในโลกที่สมบูรณ์แบบแต่ทุกอย่างกลับปลอมเป็นพลาสติก จนเริ่มคนพบว่าชีวิตนั้นไร้ความหมายและไม่มีตัวตน นำไปสู่การตื่นรู้ถึงพลังอำนาจในตัวเอง แม้เนื้อหาโดยรวมจะสนุกและชวนติดตาม แต่ก็ต้องยอมรับว่ายังมีความไม่สมเหตุสมผลและพยายามในการสร้างซีนให้ตัวละครด้วยสปีชต่างๆ...

นอกจากโปรดักชันที่น่าจับตามองแล้ว ในส่วนของเพลงประกอบภาพยนตร์ Barbie ก็ได้รับความสนใจไม่แพ้กัน เพราะมาร์ค รอนสัน (Mark Ronson) เจ้าของรางวัล Oscar และแอนดรูว์ ไวแอตต์ มารับหน้าที่ในการโปรดิวซ์เพลง รวมศิลปินชื่อดังมากมายที่มาร่วมสร้างสรรค์เพลงประกอบภาพยนตร์...

สรุป
แม้จะดูเป็นหนังเด็ก แต่เราคิดว่าการจะดูเรื่องนี้ให้สนุก ต้องเป็นผู้ใหญ่มากกว่าและไม่ว่าคุณจะชอบหรือไม่ชอบบาร์บี้ เราคิดว่าหนังเรื่องนี้ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายไหนก็ดูได้หมด ถึงแม้ว่าผมจะรู้สึกออกแนวเฉยๆ กับการนำเสนอในรูปแบบ แฟนตาซี แต่ก็อดไม่ได้ที่จะเอนจอยกับความ มิวสิคคัล ของมันด้วยเพลงที่เพราะและการออกแบบดีไซน์ท่าเต้นต่างๆที่โคตรคูล โดยเฉพาะของ เคน โดย ไรอัล กอสสลิง 555+ ชอบมาตั้งแต่ ลาลาแลน ส่วนเนื้อหาของหนังผมชอบนะสะท้อนสังคมได้ถูกที่ถูกเวลามากๆ...

แม้เนื้อหาเรต PG-13 ในหนังจะไม่ได้รุนแรง แต่ก็รู้สึกว่าแอบยากที่จะแนะนำให้พ่อแม่พาน้อง ๆ ไปดูนะครับ ด้วยความที่มันเซอร์เรียลจัด กับสารที่เป็นปรัชญาในหนังมันซีเรียสและมีความเป็นผู้ใหญ่มาก ๆ มันก็เลยเป็นหนังที่พูดและทำงานกับผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก ๆ หรือเอาเข้าจริง ต่อให้ไม่อินกับโลกของบาร์บี้ แต่ไม่แน่ คุณก็อาจจะอินกับความเป็นมนุษย์ที่ซ่อนอยู่ในเรื่องราวของตุ๊กตาในโลกสีชมพูได้ จนถึงขนาดที่ว่าดูจบกลับบ้านแล้วก็อาจจะยังชวนให้ครุ่นคิดต่อแบบไม่จบง่าย ๆ แน่นอน...

ที่อยู่

Bangkok

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ Film Maniacผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

แชร์