
30/06/2025
*** 💞 สุขสันต์ เทศกาล "เข้าพรรษา" ประเพณีถวายเทียนพรรษา ผ้าอาบน้ำฝน ทอดผ้าป่า ถวายสังฆทาน กับ #สาระน่ารู้ เรือง #โรตีสายไหม ขนมหวานอร่อย สินค้า ของฝาก จากจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และประวัติเมือง "กรุงเก่า" ของสยามประเทศ
❤ แนะนำเรื่อง #โรตีสายไหม ของฝากจากเมืองกรุงเก่า โดย คุณ บุญพา เขตร์กุฎี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
❤ ขอบคุณภาพนายแบบ คุณ อินแก้ว ระลึก (ทหารบก ขาดรัก) จ.พิษณุโลก
❤ ร้าน โรตีสายไหม บังหมัด ตลาดกลาง อยุธยา "นกกับโป้ง" สั่งซื้อกันได้ จำหน่ายทั้งขายปลีก และขายส่ง 087-0003-554 ยุ (บังหมัด โรตีสายไหม)
💞 โรตีสายไหม เป็นประเภทขนมหวาน อาหารว่างอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งมีส่วนประกอบหลักด้วยกัน ๒ ส่วน คือ แผ่นแป้งทอด และ ส่วนไส้ในที่ใช้น้ำตาล นำมาเคี่ยว แล้วนำมายืดทำให้เป็นเส้นฝอย ๆ ที่เรียกกันว่า "สายไหม" เวลารับประทาน จะนำแผ่นแป้งมาห่อหุ่ม ม้วนส่วนของไส้ใน คือ น้ำตาลที่ทำเป็นฝอย ที่มักใส่สีผสมอาหาร ที่เรียกกันว่า "สายไหม" ขนมหวานของโปรด ที่ทุกชนชั้น ทุกเพศทุกวัย ชื่นชอบนิยมรับประทานกัน
แรกเริ่มเดิมที นั้น โรตี-สายไหม ได้เข้ามาเผยแผ่ในประเทศไทย โดยชาวมุสลิม หรือที่คนไทยเรียกกันว่า "แขก" ในสมัยท่านเจ้าพระยาบวรราชนายก (เฉกอะหะหมัด) ประเทศอิหร่าน ปัจจุบัน มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการ ว่า "สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน" เป็นประเทศในเอเชียตะวันตก ท่านเฉกอะหะหมัด เป็น ชาวเปอร์เซีย ในรุ่นบุกเบิก ที่ควรกล่าวถึง ก็คือ ท่านเป็นพ่อค้าวาณิช ที่มีชื่อว่า อาหมัด หรือที่เรียกกันว่าท่าน “เฉกอะหมัด” หรือ เจ้าพระยาบวรราชนายก (เฉกอะหะหมัด) ซึ่ง "เฉก" มาจากคำว่า "ชีค" ภาษาอาหรับ ซึ่งแปลว่า หัวหน้า หรือเป็นคำนำหน้าชื่อ เพื่อให้เกียรติบุคคล ที่แสดงถึงความเคารพนับถือ) เชื่อว่า ท่านเฉกอะหมัด มาจากเมืองกุม เมืองที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่ง ของมุสลิมนิกายชีอะห์ ซึ่งเป็นเมืองศาสนาที่สำคัญของชาวอิหร่าน
ท่านเฉกอะหมัด ได้เดินทางเข้ามาค้าขาย ในกรุงศรีอยุธยา หรือสยามประเทศ ด้วยเรือสำเภา และได้นำเอาวัฒนธรรม ในการบริโภคโรตี มาเผยแผ่ในประเทศไทย สมัยอยุธยา ราวต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๒ ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม โดยท่านเฉกอะหมัด ได้เข้ามาสวามิภักดิ์ต่อพระมหากษัตริย์ไทย จนได้รับความไว้วางใจได้เข้ารับราชการ จนท่านได้เป็นขุนนาง ที่มีอำนาจในราชสำนักของสยามประเทศ และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ เป็น "พระยาเฉกอะหมัดรัตนราชเศรษฐี" และ "เจ้าพระยาบวรราชนายก" ราวปี ค.ศ 1602 (พ.ศ. ๒๑๔๕) ท่านเสียชีวิต เมื่อปี พ.ศ. ๒๑๗๔ ด้วยวัยชรา ปัจจุบัน สรีระสังขารท่านเฉกอะหมัด เจ้าพระยาบวรราชนายก ปฐมจุฬาราชมนตรี ต้นตระกูลบุนนาค ฝังอยู่ ณ กุโบ ใน ม.ราชภัฏพระนครศรีอยุธยา เลขที่ ๙๖ ถ.ปรีดีพนมยงค์ ต.ประตูชัย อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งได้รับการบริจาคที่ดิน โดยวิทยาลัยครูพระนครศรีอยุธยา และสถาบันราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ได้ยกฐานะขึ้นเป็น "มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา" เมือปี พ.ศ. ๒๕๔๗
แต่เดิมก่อนมานั้น โรตีสายไหม จะห่อน้ำตาลสายไหม ด้วยแป้งโรตีที่เป็นแป้งอบความร้อนแผ่นหนา ต่อมามีชาวไทยเชื้อสายจีน ได้นำมาประยุกต์ทำ นำแป้งห่อ เปาะเปี๊ยะสด ของชาวจีน นำมาทำการห่อเส้นน้ำตาลสายไหมแทน จนเกิดเป็นโรตีสายไหมแป้งบาง อย่างที่ท่านเห็น และได้รับประทานโรตีสายไหม กันอยู่ในปัจจุบัน ทุกวันนี้
จนต่อมา โรตีสายไหม มีผู้นิยมบริโภค รับประทานกันมากเพิ่มขึ้น จึงมีผู้ผลิตมากเพิ่มขึ้น จนเป็นผลิตภัณฑ์ สินค้า OTOP ที่ขึ้นชื่อ ของ ต.คานหาม อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา ที่มีให้เลือกซื้อหามารับประทาน กันอย่างมากมาย ทั้งในตลาดสด ในเมือง และริมถนนสายเอเชีย หรือทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒ ขาเข้า กทม. ร้านโรตีสายไหมบังหมัด เลขที่ ๓๒ ต.ท่าตอ อ.มหาราช จ.พระนครศรีอยุธยา 13150 ยกเว้น บนทางด่วน ยังไม่มี โรตีสายไหมขาย หากเจอร้านให้รีบซื้อ ก่อนไปขึ้นทางด่วน ถ้าซื้อไปฝากเจ้าหน้าที่เก็บเงินค่าทางด่วน ลดครึ่งราคา
ผู้รู้ทราบประวัติศาสตร์ ทางวัฒนธรรมในการรับประทานโรตี ของชาวมุสลิม ให้ข้อมูลว่า โรตีสายไหม นั้น เป็นขนมบริโภครับประทานเล่น เป็นอาหารว่างในกลุ่มของขาวเปอร์เซียร์ อินเดีย รวมทั้งกลุ่มมุสลิมเชื้อสายจีน ขนมแป้งโรตี ห่อน้ำตาล จะมีให้เลือกรับประทาน ด้วยกัน ๒ แบบ คือ เเบบเส้นน้ำตาล ที่ดึงเป็นเส้นสายไหม และอีกชนิด จะเป็นน้ำตาลก้อนหรือแท่งยาว ที่ชาวจีนเรียกกันว่า แตงเมย์ จะห่อด้วยแป้งโรตีหรือไม่ห่อก็ได้ ในเมืองไทยจะพบเห็นผู้ที่ขายมากที่สุดโดยในช่วงแรก ๆ คือ ชาวจีน และชาวอินเดีย ฯ
ส่วนโรตีสายไหม ใน จ.อยุธยา มีชื่อเสียงที่โด่งดัง จนกลายมาเป็นขนมประจำจังหวัดอยุธยา ก็ด้วยสื่อมวลชน ช่วยกันเชียร์ โรตีสายไหม ใน จ.อยุธยา มานานหลายสิบปี และมีด้วยกันหลายจ้าว ส่วนมากแล้วจะเป็นพี่น้องชาวมุสลิม ใน จ.พระนครศรีอยุธยา ที่ผลิตจำหน่าขายกัน อร่อยทุกเจ้า ท่านใดใครคิดค้นผลิตทำขึ้นมา ในสมัยนั้น ไม่มีการบันทึกไว้ แต่ด้วยความรักใน จ.อยุธยา ซึ่งอดีด เคยเป็น เมืองหลวงเก่า ของคนไทยเรา มาแต่ครั้งในอดีตสมัยปู่-ย่า-ตา-ทวด โดยมีเรื่องเล่ากันว่า จุดเริ่มต้นของโรตีสายไหมใน จ.อยุธยา นั้น ได้เล่ากันว่า เกิดจาก นายซาเล็ม แสงอรุณ หรือบังเปีย ชาวมุสลิม ใน จ.พระนครศรีอยุธยา มีเคหะสถานบ้านอยู่แถวคลอง ๑ ใน อ.วังน้อย จ.อยุธยา ด้วยความที่มีฐานะยากจน จึงได้ออกจากบ้าน ไปตระเวนรับจ้างทำงาน ไปไกลจนถึง อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี บังเปีย ชาวอยุธยา (บัง แปลว่า พี่) ได้ทำขนมหวานขาย เช่น โรตีกรอบ โรตีใส่ไข่ ใส่นม แล้วนำไปขาย ยังบริเวณ วัดสัตหีบ หรือ วัดหลวงพ่ออี๋ เลขที่ ๓๓๓ หมู่ที่ ๑ ถ.ชายทะเล ต.สัตหีบ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี
โดยในแต่ละวัน นั้น เมื่อบังเปีย ขายขนมหมดแล้ว จะต้องกลับไปเคี่ยวน้ำตาล ที่บ้านพัก เพื่อนำไปหยอดทำแป้งโรตีกรอบ จนมีบางครั้งนั่งเคี่ยวน้ำตาล เผลอหลับนานไปหน่อย น้ำตาลก็เลยแข็งตัว บังเปียจึงทดลองดึงน้ำตาลให้ยืด เพื่อให้น้ำตาลอ่อนตัว แล้วนำหยอดที่โรตีกรอบ จึงทดลองยืดน้ำตาล จนเป็นสายไหม จึง เป็นจุดเริ่มต้นของการทำโรตีสายไหม และฝึกหัดดึงน้ำตาลเคี่ยวให้เป็นเส้นไหมอยู่นานหลายปี จนเกิดมีความชำนาญ ในการดึงน้ำตาลที่เคี่ยว จนเป็นเส้นไหม ที่น่ารับประทาน
เล่ากันว่า ต่อม่า เมือปี พ.ศ. ๒๕๐๖ บังเปีย อายุได้ ๒๗ ปี คิดถึงบ้านเกิด จึงได้กลับมาที่ จ.อยุธยา โดยไปเช่าบ้านอยู่ที่ข้างสุเหร่าวัฒนา ใน อ.พระนครศรีอยุธยา ด้วยการทำโรตีสายไหม ใส่กล่องไม้สะพาย ถีบขึ้นจักรยานออกเร่ขาย ตามหมู่บ้านไปทั่ว โดยในสมัยนั้น คนซื้อจะนำเหรียญสลึง มาหย่อนลงในช่องที่เจาะไว้ เข็มที่หน้าปัดซึ่งมีตัวเลขเขียนไว้จะหมุนไป เมื่อเข็มหยุดที่เลขใดก็จะได้จำนวนชิ้นของโรตีสายไหม เท่าที่เข็มของมอเตอร์ หยุดหมุน ชี้ที่หมายเลขนั้น เป็นแผนการตลาด เชิญชวนใหเด็ก ๆ ที่ชอบรับประทานโรตี และวัดดวงเสียงโชค หนึ่งสลึง อาจได้โรตีสายไหม ๒-๓ ชิ้น แต่ส่วนมากแล้ว จะหยุดที่หมายเลข ๑ ไม่รู้ว่า บังเปีย เล่นกลหลอกเด็กหรือเปล่า แต่ก็นานหลายสิบปีมาแล้ว ก็ยังคงสงสัยอยู่ 555 บังเปียอดทนขายโรตี เก็บเงินอยู่นานหลายปี ต่อมา เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๒๐ บังเปีย ได้สมรสแต่งงานกับนางมั่น เป็นชาวโคราช มีบุตรด้วยกัน ๕ คน เพราะบังเปียเป็นคนขยันทำงาน มีบุตรชาย ๓ คน และบุตรตรี ๒ คน ปังเปีย จึงคิดที่จะสร้างครอบครัวให้เป็นปึกแผ่น กว่าที่เป็นอยู่ในสมัยนั้น ต่อมาครอบครัวบังเปีย จึงได้ย้ายไปเช่าบ้าน ทำมาหากินอยู่ในตัวเมืองอยุธยา ริมถนนอู่ทอง เส้นทางไปโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา กับภรรยาช่วยกันทำโรตีสายไหมขาย จนยึดเป็นอาชีพหลัก ของครอบครัวบังเปีย ชีวิตความเป็นอยู่ของบังเปียและภรรยาพร้อมด้วยลูก ๆ ทั้ง ๕ คน จึงมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เรื่อยมาจวบจนกระทั่งถึงในปัจจุบัน เพราะความมุมานะ ขยันอดทนของบังเปียและภรรยา
บังเปีย ได้พยายามปรับปรุงรสชาติแป้งโรตี ให้ถูกใจลูกค้าผู้บริโภค จากสูตรดั้งเดิม ตัวแป้งมีส่วนประกอบ ที่เป็นแป้งสาลี ผสมน้ำ และใส่เกลือ ก็เพิ่มรสชาติด้วยการใส่นม , กะทิ , งา และธัญพืชชนิดต่าง ๆ ให้มีรสชาติที่หลากหลาย เป็นทางเลือกให้ลูกค้าได้เลือกรับประทาน ตามที่ชอบใจ จนต่อมากิจขายโรตีสายไหม ของครอบครัวบังเปียได้ขยายตัวขึ้น จนเป็นที่รู้จักของชาวพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดที่ใกล้เคียง ตลอดจนนักท่องเที่ยว ในหลายจังหวัดได้รู้จัก ซื้อหานำไปรับประทานและบอกต่อกัน จนขายได้ ๒๐๐-๓๐๐ กิโลกรัม ต่อวัน พอบังเปียขายดีจนอยู่ตัวรวยแล้ว จึงได้ชักชวนพี่น้อง จำนวน ๖ คน ให้มายึดอาชีพทำโรตีสายไหมขายกัน ทำให้ตระกูลแสงอรุณ ขยายกิจการสาขา การขายโรตีสายไหม กระจายไปทั่วถนนอู่ทอง และขยายวงกว้างขึ้น ไปตามเส้นทางถนนสายเอเชีย และถนนมิตรภาพ หากท่านใดขับรถยนต์ผ่านไป-มา แถว จ.อยุธยา ท่านก็จะสังเกตุเห็นร่มกางสีสรรค์สวยสะดุดตา อยู่ข้างทางถนนสายเอเชีย และถนนมิตรภาพพร้อม พร้อมมีป้ายปักเขียนไว้่ว่า "โรตีสายไหมอยุธยา" ก็ขับรถชิดซ้าย แล้วอย่าลืมเหยียบเบรค จอดหน้าร้าน ห้ามนำรถพุ่งเข้าไปเหมาในร้าน แบ่ง ๆ กันช่วยซื้อหานำไปเป็นของขวัญของฝาก รับประทานกัน เป็นการสนับสนุนคนไทย พี่น้องชาวมุสลิม ที่ทำอาหารอร่อย สะอาด ตามหลักศาสนาอิสลาม ของพี่น้องชาวมุสลิม ที่ทำอาชีพสุจริต และเป็นผู้ที่มีน้ำใจ เพื่อสร้างรายได้หาเลี้ยงครอบครัวกัน และบังเปีย บังหมัด พี่น้องชาวมุสลิม มักจะไม่หวงวิชา พร้อมถ่ายทอดความรู้ให้ ด้วยความเต็มใจ ขอให้เป็นคนที่ขยันทำมาหากินอย่างสุจริตใจ บังเปีย และบังหมัด พี่น้องมุสลิมอยุธยา จึงมีลูกศิษย์ที่ไปขอบังทำโรตีสายไหมขายเลี้ยงชีพ และครอบครัว แยกตัวไปประกอบอาชีพขายโรตีสายไหม กันอยู่ในหลายจังหวัด มากมาย จนต่อมา การทำโรตีสายไหม ที่ จ.อยุธยา จึงได้เติบโต ขยายตัวออกไปในหลายพื้นที่ มีผู้ผลิตโรตีสายไหมเพิ่มมากขึ้น เพราะพี่น้องชาวมุสลิม มักเป็นผู้ที่มีน้ำใจ และรักในประเทศไทย และสร้างชื่อเสียง ในการขายโรตีสายไหม จนโด่งดังไปจนถึงเมืองนอก จนนักท่องเที่ยวต่างชาติ ชื่นชอบรับประทานโรตีสายไหมกันมาก ต่างก็ยกนิ้วให้ และชอบไปท่องเที่ยวกัน ที่ จ.พระนครศรีอยุธยา กันอยู่เสมอ โรตีสายไหม จึงเป็นขนมที่ขึ้นชื่อ ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ขอรับ ครับผม
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลาง และเป็นจังหวัดเขตเศรษฐกิจอุตสาหกรรมที่สำคัญของไทย โดยมีผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัด ซึ่งมีมูลค่าสูงเป็นอันดับ ๓ ของประเทศไทย และมีประวัติศาสตร์ความเป็นมา เรื่องราวที่น่าสนใจมากมาย ที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาของชาติไทยที่ยาวนาน และอยุธยา ยังเคยมีชื่อเสียงที่เป็นแหล่งปลูกข้าวที่สำคัญ ซึ่งจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นั้น เป็นจังหวัดเดียวในประเทศไทย ที่ไม่มีอำเภอเมือง แต่มี อำเภอพระนครศรีอยุธยา เป็นศูนย์กลางการบริหารการจัดการพัฒนาในด้านต่าง ๆ โดยชาวบ้านโดยทั่วไป มักนิยมเรียก จ.พระนครศรีอยุธยา อีกชื่อหนึ่งว่า "กรุงเก่า" หรือ "เมืองกรุงเก่า" ซึ่งมีระยะทาง ห่างจากกรุงเทพมหานคร ประมาณ ๗๕ กิโลเมตร
เมืองกรุงเก่า พระนครศรีอยุธยา เคยเป็นราชธานี ของสยามประเทศ หรือ เมืองหลวงของประเทศไทย และหรือที่เรียกกันว่า อาณาจักรอยุธยา โดยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ หรือพระเจ้าอู่ทอง ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีเมื่อ ปีพุทธศักราช ๑๙๘๓ กรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางการค้าขาย ในแถบภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้นี้ ในระดับนานาชาติ เช่น ค้าขายกับประเทศ จีน , เวียดนาม , ญี่ปุ่น , อินเดีย , เปอร์เซีย และชาติตะวันตก เช่น โปรตุเกส , สเปน เนเธอร์แลนด์ (ฮอลันดา) อังกฤษ และฝรั่งเศส ซึ่งในช่วงหนึ่งของกรุงศรีอยุธยา อณาจักรสยาม ได้เคยขยายอาณาเขตของประเทศ ไปจนถึงรัฐฉานของพม่า , ทั้งอาณาจักรล้านนา ไปถึงมณฑลยูนนาน อีกทั้งอาณาจักรล้านช้าง ,อาณาจักรขอม และคาบสมุทรสุดแหลมมลายู เป็นอาณาจักรของสยามประเทศ สืบต่อยาวนานถึง ๔๑๗ ปี มีพระมหากษัตริย์ปกครอง ๓๓ พระองค์ จาก ๕ ราชวงศ์ คือ ราชวงศ์อู่ทอง , ราชวงศ์สุพรรณภูมิ , ราชวงศ์สุโขทัย , ราชวงศ์ปราสาททอง และราชวงศ์บ้านพลูหลวง สูญเสียเอกราชแก่พม่า ๒ ครั้ง โดยเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่หนึ่ง เมื่อปี พ.ศ. ๒๑๑๒ ตรงกับในรัชสมัยของ สมเด็จพระมหินทราธิราช (อยุธยา) กับ พระเจ้าบุเรงนอง (พม่า) การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง ในปี พ.ศ. ๒๓๑๐ ตรงกับในรัชสมัยของ สมเด็จพระเจ้าเอกทัศ (อยุธยา) กับ พระเจ้ามังระ (พม่า)
ครั้นเมื่อ พระเจ้าตากสินมหาราช ทรงกอบกู้เอกราชไทย โดยขับไล่ทหารพม่าออกไปจากราชอาณาจักรสยามได้สำเร็จ นับตั้งแต่ที่เสียกรุงศรีอยุธยา ภายในระยะเวลาเพียง ๗ เดือน เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๑๐ โดยทรงเห็นว่า กรุงศรีอยุธยา ยากแก่การบูรณะขึ้นใหม่ และข้าศึกพม่าก็รู้เส้นทางเข้าตี จึงทรงทรงสถาปนาราชธานีแห่งใหม่ขึ้น ณ กรุงธนบุรี เพราะทรงเล็งเห็นว่า กรุงธนบุรีเป็นเมืองที่มีขนาดเล็ก สะดวกแก่การดูแล เพราะพลเมืองชาวบ้านเหลือน้อย และพื้นที่เหมาะสม กับกำลังป้องกันทั้งทางบก และทางน้ำ โดยตั้งอยู่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา และสะดวกในการติดต่อค้าขาย กับชาวต่างชาติในหลายประเทศ และยังสะดวกต่อการควบคุม การลำเลียงขนถ่าย อาวุธยุทโธปกรณ์และเสบียง ไปตามหัวเมืองต่าง ๆ ได้โดยสะดวก และรวดเร็วกว่าทางบก หากเมื่อเกิดศึกสงครามสู้รบกับสัตรู แต่กรุงศรีอยุธยา ก็มิได้กลายเป็นเมืองร้าง ก็ยังมีคนไทย และชาติพันธุ์ต่าง ๆ ที่เข้ามาพึ่งร่มโพธิสมภาร จากบุญบารมีของพระมหากษัตริย์ไทย ในสยามประเทศ ที่ยังคงรักถิ่นฐานบ้านเดิม ก็ยังได้อาศัยกันอยู่ในกรุงศรีอยุธยา และก็ยังมีชาวบ้านราษฎร ที่หลบหนีกันเข้าไปอยู่ตามป่า และที่ถูกพม่าข้าศึกจับตัวไปเป็นเชลย ได้หลบหนีกลับเข้ามาอาศัยอยู่ในรอบ ๆ เมืองกรุงศรีอยุธยา เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จนรวมเข้ากันเข้าเป็นเมืองขึ้นมาใหม่ จนมาถึงในสมัยกรุงธนบุรี ทางราชการ จึงได้ยกให้กรุงศรีอยุธยา เป็นเมืองจัตวา ซึ่งเรียกกันว่า "เมืองกรุงเก่า"
โดยเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๒๕ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ ทรงยกเมืองกรุงเก่า ขึ้นเป็น หัวเมืองจัตวา เช่นเดียวกับในสมัยกรุงธนบุรี หลังจากนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้โปรดให้จัดการปฏิรูปการปกครองทั้งส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค โดยการปกครองส่วนภูมิภาค นั้น โปรดให้จัดการปกครองแบบเทศาภิบาลขึ้น โดยให้รวมเมืองที่อยู่ใกล้เคียงกัน ๓-๔ เมือง ขึ้นเป็นมณฑล มีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครอง โดยในปี พ.ศ. ๒๔๓๘ โปรดให้จัดตั้งมณฑลกรุงเก่าขึ้น ประกอบด้วยหัวเมืองต่าง ๆ คือ เมืองกรุงเก่า หรืออยุธยา , อ่างทอง , สระบุรี , พระพุทธบาท , ลพบุรี , พรหมบุรี , อินทร์บุรี และสิงห์บุรี รวมเข้าด้วยกัน
และต่อมา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมเมืองอินทร์บุรีและเมืองพรหมบุรีเข้ากับเมืองสิงห์บุรี และรวมเมืองพระพุทธบาทเข้ากับเมืองสระบุรี โดยตั้งที่ว่าการมณฑลที่เมืองกรุงเก่าอยุธยา และต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๖๙ จึงได้เปลี่ยนชื่อจาก "มณฑลกรุงเก่า" เป็น "มณฑลอยุธยา" ซึ่งจากการจัดตั้งมณฑลอยุธยานั้น มีผลให้อยุธยามีความสำคัญทางการบริหารและการปกครองมากยิ่งขึ้น โดยการสร้างสิ่งสาธารณูปโภคในหลายสิ่งหลายอย่าง มีผลต่อการพัฒนาเมืองอยุธยาในเวลาต่อมา จนเมื่อได้มีการยกเลิกการปกครอง ในระบบมณฑลเทศาภิบาล ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง มาใช้ในระบอบการปกครองแบบ ประชาธิปไตย เมือ ปี พ.ศ. ๒๔๗๕ "อยุธยา" จึงได้เปลี่ยนฐานะมาเป็นจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจน จวบจนกระทั่งถึงในปัจจุบัน
ครั้นพอมาถึงในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม (แปลก ขิตตะสังคะ) เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีนโยบายบูรณะโบราณสถานภายในเมืองกรุงเก่าอยุธยา เพื่อเป็นการเฉลิมฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ ประจวบกับในปี พ.ศ. ๒๔๙๘ นายกรัฐมนตรีประเทศพม่า ได้เดินทางมาเยือนประเทศไทย และได้มอบเงินจำนวน ๒๐๐,๐๐๐ บาทไทย เพื่อปฏิสังขรณ์วัด และองค์พระมงคลบพิตร เป็นการเริ่มต้นบูรณะโบราณสถาน ในกรุงเก่าพระนครอยุธยา กัยอย่างจริงจังเรื่อยมา จนต่อมากรมศิลปากร ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่สำคัญ ในการดำเนินการบูรณะปฏิสังขรณ์วัด สานโบราณต่าง ๆ ใน จ.พระนครอยุธยา จนองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก มีมติให้ประกาศขึ้นทะเบียนเมืองกรุงเก่าอยุธยา ขึ้นเป็นอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เป็น "มรดกโลก" เป็นแหล่งศึกษาทางประวัติศาสต์ชาติไทย และสถานที่ท่องเที่ยว เมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม ปี พ.ศ. ๒๕๓๔ มีพื้นที่ครอบคลุมในบริเวณโบราณสถาน ของเมืองอยุธยา ทั้งหมด
ฅนไทย ทุกท่าน @ผู้ติดตาม ก็อย่าลืมเชิญชวนกันไป ท่องเที่ยวเยือนเมืองกรุงเก่า "พระนครศรีอยุธยา" เพื่อรำลึกถึงบรรพบุรุษในอดีต ที่ท่านได้ปกป้องบ้านเมือง จากภัยสงคราม จากอริราชศัตรู กว่าจะได้มาเป็นประเทศไทย ให้เราท่านทั้งหลาย ได้มีผืนแผ่นดินอยู่ร่วมกัน อย่างสุขสบาย บรรพบุรุษท่านทั้งหลาย ต้องเสียเลือดเสียเนื้อ เสียชีวิต เพื่อปกป้องผืนแผ่นดินไทย นี้ไว้ให้ลูกหลานไทย นั้น ล้มตายกันไปเท่าไร ควรรู้รักสามัคคี รักและหวงแหนแผ่นดินนี้ไว้ เยี่ยงชีวิต อย่าได้เป็นคนคิดขายชาติ เพราะบรรพบุรุษ ปู่ ยา ตา ยาย ท่านเฝ้าดูพฤติกรรม ของพวกเรากันอยู่ ณ เมืองกรุงเก่า "พระนครศรีอยุธยา" สาธุ ครับ. Dr. Siam Bunnag
❤ ขอขอบคุณ ข้อมูล : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
❤ ร้านโรตีสายไหม บังหมัด ตลาดกลาง อยุธยา
❤ ติดต่อสั่งซื้อโรตีสายไหม บังหมัด คลิก กดที่ลิงก์ ด้านล่าง นี้ ❤👉
>>> https://www.facebook.com/profile.php?id=100057460899683
❤ : เรียบเรียง โดยอาจารย์ประพนธ์ บุนนาค ฐานันดร ๔ นกน้อยในไร่ส้ม
หากมีข้อความใดที่ผิดพลาด ขอกราบอภัย คณาจารย์ ท่านผู้รู้ด้วย สาธุ ครับ.
❤ : ถ่ายภาพ กาฟฟิกภาพ โดยอาจารย์ #สยาม #บุนนาค #ครูแอ๊ด #ข้าบดินทร์ #ศิษย์พระตถาคต วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร เชิงสะพานพุทธ ประชาสัมพันธ์โดย ผลิตสื่อสาระข่าวสารเพื่อการศึกษาและการกุศล เผยแผ่พระพุทธศาสนา พัฒนาวัด วัฒนธรรม ประเพณีอันดีงามของไทย สนับสนุนสินค้าพื้นบ้านคุณภาพดี ท่องเที่ยวทั่วไทย บนโลกโซเชี่ยนสื่อสารออนไลน์
❤ รับโฆษณาประชาสัมพันธ์สินค้า ห้างร้าน บริษัทต่างๆ เพื่อหารายได้จัดซื้อจัดหาและซ่อมแซมบำรุงอุปกรณ์ในการผลิตสื่อสาระข่าวสาร เพื่อการศึกษาและการกุศล เป็นสะพานบุญ ประชาสัมพันธ์พัฒนาวัด แนะนำท่องเที่ยวชุมชนต่าง ๆ ทั่วไทย
💞 หรือ ร่วมบริจาคได้ที่ ธนาคารออมสิน บัญชีเลขที่ 0 2 0 4 1 6 5 0 8 2 7 1 และหรือที่ ธนาคารกรุงเทพ บัญชีเลขที่ 0 2 6 0 4 1 0 0 0 6 ชื่อบัญชี Parpon Boonnak ❤ติดต่อสอบถามได้ที่ ครูแอ๊ด Siam Bunnag (สยาม บุนนาค) หมายเลขโทรศัพท์ 089 9922 304 สาธุ ท่าน @ผู้ติดตาม ทุกท่าน ครับผม. 🙏😘😍🥰💞❤👉 >>>https://www.youtube.com//videos🙏😘😍🥰💞❤🙏😘😍🥰💞❤🙏