16/07/2025
“สิ่งที่เรากังวลเกิดขึ้นแล้ว” … คงเป็นคำพูดของ “อเล็กซานเดอร์ เฟลมิง” ผู้คิดค้นยาปฏิชีวนะตัวแรกของโลก อย่างที่ทุกคนทราบกันดีอยู่แล้วว่า “ยาฆ่าเชื้อ” หรือ ยาปฏิชีวนะ (AMR) หากกินไม่ครบโดส หรือ หยุดยาเอง จะเพิ่มปัญหาในการดื้อยา เช่น เชื้อแบคทีเรียอาจถูกกำจัดไม่หมด ไปจนถึงการติดเชื้ออาจกลับมาเป็นซ้ำ แล้วผู้คิดค้นล่ะ ! รู้หรือไม่ ? หรือไม่เคยคิดถึงเรื่องนี้มาก่อนเลย
คำตอบคือ แน่นอนอยู่แล้วว่าความเป็นนักวิทยาศาสตร์ จะมีความช่างสังเกต และตั้งข้อสันนิษฐานก่อนเสมอ ดังนั้น อเล็กซานเดอร์ เฟลมิง จึงกังวลใจอยู่เสมอเกี่ยวกับการดื้อยา และ Dr Bill Frankland ก็เคยเผยแพร่คำเตือนจาก อเล็กซานเดอร์ เฟลมิง ว่า “Fleming said there would be a revolution, but doctors will overuse it, and because bacteria have to survive...they will become resistant to it” ซึ่งสรุปง่าย ๆ ว่า จะเกิดการปฏิวัติครั้งใหญ่ในวงการแพทย์ เพราะแบคทีเรียจะพัฒนาความสามารถในการดื้อยานั่นเอง
ทราบหรือไม่ว่า องค์การอนามัยโลก (WHO) ยกให้การดื้อยานี้เป็นหนึ่งใน “วิกฤตสุขภาพระดับโลก” โดยเรียกปัญหานี้ว่า “เชื้อดื้อยา” ที่สามารถยับยั้งการทำงานของยาปฏิชีวนะ ทำให้การรักษาผู้ป่วยไม่ได้ผลดีดังเดิมและมีโอกาสเสียชีวิตจากการติดเชื้อมากขึ้น ซึ่งสาหตุเกิดจากการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่ถูกต้อง หรือได้รับยาปฏิชีวนะเกินขนาดและเกินความจำเป็น โดยในปี 2022 มีเด็กมากกว่า 3 ล้านคนทั่วโลก เสียชีวิตจากการติดเชื้อที่เกิดจากการดื้อยาปฏิชีวนะ และผลการศึกษาที่ตีพิมพ์ผ่านวารสาร Lancet ระบุว่าโลกจะมีจำนวนผู้เสียชีวิตสะสมจากการติดเชื้อดื้อยาสูงถึง 39 ล้านคน ตั้งแต่ปี 2025-2050
ลองจินตนาการถึงความน่ากลัว หากหลังจากนี้ เรากำลังจะเข้าสู่ยุคที่ยาฆ่าเชื้อจะ “ไม่ได้ผลอีกต่อไป” การผ่าตัด เคมีบำบัด หรือแม้กระทั่งการคลอดเด็กคนนึงให้ออกมาลืมตาดูโลก จะไม่สามารถใช้ยาฆ่าเชื้อได้อีก แล้วต่อไปเราจะยังมีมนุษย์อยู่บนโลกนี้อีกหรือไม่
ปัญหาที่เกิดจากการซื้อยาฆ่าเชื้อมาทานเอง หรือการทานยาไม่ครบโดส อาจจะไม่แสดงอาการวันนี้ แต่ในวันข้างหน้า นี่คือปัญหาใหญ่เกินที่เราจะแก้ไขได้ด้วยตนเอง นอกจากนี้ การดื้อยาปฏิชีวนะสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้เช่นเดียวกับโรคทางพันธุกรรมอื่น ๆ
ก่อนจะไปถึงจุดนั้น เราที่ไม่ใช่หมอ ไม่ใช่นักจุลชีววิทยา ไม่ใช่คนในวงการการแพทย์ จะต้องทำอย่างไรเพื่อลดโอกาสการดื้อยาให้แก่ตัวเรา และครอบครัว
เริ่มต้นง่าย ๆ เพียงแค่
- ใช้ยาปฏิชีวนะ หรือ ยาฆ่าเชื้อ เมื่อจำเป็นเท่านั้น
- ใช้ยาปฏิชีวนะตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัดและครบตามจำนวน
- ไม่ซื้อยาปฏิชีวนะมารับประทานด้วยตนเอง
- และหากมีอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา ให้รีบปรึกษาแพทย์ทันที
เพียงเท่านี้ก็จะช่วยลดโอกาสในการดื้อยาปฏิชีวนะ หรือ ยาฆ่าเชื้อ ด้วยตนเองได้
#การดื้อยาปฏิชีวนะ #ยาฆ่าเชื้อ
บทความ : ภัทรานิษฐ์ ไชยยุทธนันท์
กราฟิก : พีรดา วงศ์เจริญ และ วิชญาดา แก้วตรีวงษ์
แหล่งอ้างอิง
https://shorturl.asia/ot6MD
https://shorturl.asia/cze1p
https://shorturl.asia/dNrvO
https://www.bbc.com/thai/articles/cp8vmj95y36o
ติดตาม Content ดี ๆ ด้านความยั่งยืนเพิ่มเติมได้ทาง
YouTube : http://www.youtube.com/
Instagram : https://www.instagram.com/mcotesginsight
TikTok : https://www.tiktok.com/.esg.insight