นิตยสารสัตว์น้ำ

นิตยสารสัตว์น้ำ คลังสมองของผู้ประกอบการสัตว์น้ำ

17/05/2025
กรเกียรติฟาร์ม เปิดรับสมัครพนักงานหลากหลายตำแหน่ง ใครสนใจ งานดี อนาคตไกล ยื่นใบสมัครด่วนค่า
24/04/2025

กรเกียรติฟาร์ม เปิดรับสมัครพนักงานหลากหลายตำแหน่ง ใครสนใจ งานดี อนาคตไกล ยื่นใบสมัครด่วนค่า

เกษตรกรเลี้ยงปลาทั่วประเทศ กระทุ้งนายกฯ ค้านFTA ไทย – EFTA ยกสินค้าปลา-ผลิตภัณฑ์ออกทุกการเจรจาเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงปลาทั่...
16/04/2025

เกษตรกรเลี้ยงปลาทั่วประเทศ กระทุ้งนายกฯ ค้านFTA ไทย – EFTA ยกสินค้าปลา-ผลิตภัณฑ์ออกทุกการเจรจา

เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงปลาทั่วประเทศ ยื่นจม.เปิดผนึกถึงนายกฯ ค้านข้อตกลงการค้าเสรี ไทย-EFTA สินค้าปลาและผลิตภัณฑ์ หวั่นอาชีพล่มสลาย ให้จัดเป็นสินค้าอ่อนไหว ยกออกนอกกรอบทุกเจรจา คงภาษีที่ 5% ปกป้องอาชีพ และความมั่นคงทางอาหารของประเทศ

นายบรรจง นิสภวาณิชย์ ประธานสมาพันธ์การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย เปิดเผยว่า กลุ่มผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ “ไม่เห็นด้วย” กับการเปิดเสรีการค้าในสินค้าปลาและผลิตภัณฑ์ ภายใต้กรอบความตกลงการค้าเสรี (FTA) ระหว่างไทย กับสมาคมการค้าเสรียุโรป (EFTA) และในทุกกรอบเจรจา ซึ่งตัวแทนเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงปลา โดยตนพร้อมด้วย นายสมาน พิชิตบัญชรชัย นายกสมาคมผู้เพาะเลี้ยงปลาไทย นายสุทธิ มะหะเลา นายกสมาคมผู้เพาะเลี้ยงปลาทะเลไทย นายพรชัย บัวประดิษฐ์ ประธานแปลงใหญ่ปลานิลชลบุรี นายอมร เหลืองนฤมิตรชัย นายกสมาคมปลานิลไทย และนายพงศ์วิวัฒน์ วงศ์โกศลจิต ประธานชมรมผู้ผลิตลูกพันธุ์สัตว์น้ำไทย จึงยื่นจดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรี ผ่านนายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี ในงานสัมมนาที่กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศจัด รับฟังความเห็นการจัดทำความตกลงการค้าเสรีไทย – EFTA ที่โรงแรมโนโวเทล มารินา ศรีราชา เมื่อวานนี้ (10 เมษายน 2568) ขณะเดียวกันตัวแทนเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทั่วประเทศ ได้ยื่นจดหมายเปิดผนึกถึงนายกฯ ผ่านผู้ว่าราชการจังหวัดต่างๆ และถึงประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ผ่านประธานสภาเกษตรกรต่างๆ เพื่อแสดงจุดยืนคัดค้าน

ตัวแทนเกษตรกรแสดงความกังวลว่า หากข้อตกลงนี้มีผลบังคับใช้ จะส่งผลกระทบรุนแรงต่อเกษตรกรรายย่อยทั่วประเทศ รวมถึงธุรกิจในห่วงโซ่อุปทาน เช่น ผู้ผลิตลูกพันธุ์ ผู้ผลิตอาหารสัตว์ ผู้ค้าปัจจัยต่างๆ ผู้ประกอบการ ตลาดสด ผู้ขนส่ง ทีมจับปลา รวมถึงอุตสาหกรรมต่อเนื่องต่างๆมากมาย จำนวนกว่า 1 ล้านคน เพราะในประเทศนอร์เวย์ ไอซ์แลนด์ มีระบบการผลิตสัตว์น้ำ อาหารทะเลที่ทันสมัย ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล และสามารถจำหน่ายสินค้าได้ในราคาต่ำกว่าประเทศไทย

”เราขอเรียกร้องให้รัฐบาลฟังเสียงประชาชน เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงปลาของประเทศ ที่ส่วนใหญ่เป็นรายย่อย และภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ขอให้ยกรายการสินค้าปลาและผลิตภัณฑ์ทั้งหมดกว่า 100 รายการ ซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นปลาที่นอร์เวย์ ไอซ์แลนด์ ประเทศผู้นำโลกด้านการเพาะเลี้ยง-การผลิตอาหารทะเลออกจากการเจรจาฯข้อตกลงการเปิดเสรีการค้านี้ เพราะผลกระทบจากการเปิดเสรี เปิดให้ปลากว่า 100 รายการ เข้ามาในประเทศแบบไม่ต้องเสียภาษีนี้ จะร้ายแรงมาก ต่อความอยู่รอดอย่างยั่งยืนของผู้เพาะเลี้ยงปลาและอุตสาหกรรมของประเทศ ขอให้จัดสินค้าปลาและผลิตภัณฑ์เป็นสินค้าอ่อนไหว เป็นรายการยกเว้นการเจรจา (Exclision List) เช่นเดียวกับ กรณีข้าวของญี่ปุ่น และนมของแคนาดา และคงภาษีที่ร้อยละ 5 และคัดค้านการเปิดเสรี (ภาษีเป็นศูนย์-0%) ในสินค้าเหล่านี้ เพื่อปกป้องอาชีพและความมั่นคงทางอาหารของประเทศ” ประธานสมาพันธ์การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย กล่าว

ในจดหมายเปิดผนึกที่ยื่นต่อรัฐบาล เกษตรกรยังอ้างอิงเหตุการณ์ในอดีตเมื่อปี 2542 และล่าสุดปี 2567 ที่มีการทะลักเขามาของปลาจากต่างประเทศจำนวนมาก อาทิ ปลาดุก ปลากะพง ส่งผลให้ราคาในประเทศตกต่ำ เกษตรกรต้องประสบภาวะขาดทุนจนต้องเลิกประกอบอาชีพ

นายบรรจง นิสภวาณิชย์
ประธานสมาพันธ์การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย (มือถือ 081-6366362)

09/04/2025

ช่วงนี้อากาศค่อนข้างร้อน น้ำในบ่อแบ่งชั้น ดูแลระดับน้ำและคุณภาพในบ่อกันด้วยนะคะ หากเกษตรกรท่านใดมีเครื่องตีน้ำอาจจะติดในช่วงเวลากลางวันเพื่อผสมมวลน้ำไม่ให้แบ่งชั้น ช่วยลดอุณหภูมิน้ำไม่ให้ปลาเกิดความเครียด เพราะปลาเป็นสัตว์เลือดเย็น
#ไม่ได้เป็นหมอแต่เป็นห่วง
#กรเกียรติฟาร์มกำแพงเพชร
#เราคุยกับปลารู้เรื่อง
#ความรู้ปลานิล #ปลานิล #ปลาทับทิม

ประมงเพชรบุรี ผนึกซีพีเอฟ เปิดตัว "กองทุนปลากะพง" จัดการปลาหมอคางดำสำนักงานประมงจังหวัดเพชรบุรี ร่วมมือกับกลุ่มเกษตรกรตำ...
07/02/2025

ประมงเพชรบุรี ผนึกซีพีเอฟ เปิดตัว "กองทุนปลากะพง" จัดการปลาหมอคางดำ

สำนักงานประมงจังหวัดเพชรบุรี ร่วมมือกับกลุ่มเกษตรกรตำบลน้ำเค็ม อำเภอเขาย้อย จัดตั้ง "กองทุนปลากะพง" ขึ้นเพื่อให้เกษตรกรสามารถมีปลานักล่าเพื่อจัดการปลาหมอคางดำในบ่อเลี้ยงกึ่งธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ สร้างความมั่นคงให้ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ มีผลผลิตเพิ่มขึ้น คิกออฟสนับสนุนลูกพันธุ์ปลากะพงขาวจำนวน 5,000 ตัวแก่เกษตรกร 24 ราย

นายประจวบ เจี้ยงยี่ ประมงจังหวัดเพชรบุรี เปิดเผยว่า โครงการนี้เกิดขึ้นจากความต้องการของพี่น้องเกษตรกรในการจัดการปลาหมอคางดำในบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ประมงเพชรบุรีร่วมมือกับกลุ่มเกษตรกรตำบลเขาย้อย จัดตั้ง "กองทุนปลากะพง" ช่วยให้เกษตรกรเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในเขาย้อยมีเงินทุนหมุนเวียนในการจัดหาปลานักล่า เริ่มต้นจากเกษตรกร 24 ราย และจะขยายผลไปให้เกษตรกรรายอื่นต่อไป โดยมีบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) ร่วมสนับสนุนลูกพันธุ์ปลากะพงเป็นทุนตั้งต้นสำหรับการเปิดตัวโครงการครั้งนี้

“กองทุนปลากะพง เกษตรกรรุ่นแรกนำปลานักล่าที่เลี้ยงเพื่อเป็นปลานักล่าในบ่อมาจำหน่ายเพื่อนำเงินมาต่อยอดเป็นกองทุนหมุนเวียน ใช้ซื้อปลานักล่าขนาดเล็กสำหรับนำไปปล่อยในบ่อของเกษตรกรรายอื่นๆ ในกลุ่มต่อไป เพื่อให้เกษตรกรได้มีผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำดีขึ้น นับเป็นอีกก้าวสำคัญในการช่วยเหลือเกษตรกรให้สามารถฟื้นฟูอาชีพและรักษาสมดุลระบบนิเวศในพื้นที่อย่างยั่งยืน" นายประจวบกล่าว

ประมงเพชรบุรี ดำเนินโครงการ “กองทุนปลากะพง” เพื่อแก้ปัญหาปลาหมอคางดำแบบครบวงจร โดยดำเนินการควบคู่กับการควบคุมปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำธรรมชาติ อาทิ กิจกรรม “ลงแขกลงคลอง” การปล่อยปลานักล่า การส่งเสริมการใช้ประโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การทำปลาร้าหมอคางดำ การทำน้ำปลาหับเผย ที่ประมงเพชรบุรีตั้งเป้าผลักดันให้เป็นสินค้าประจำจังหวัดต่อไป ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกร เศรษฐกิจของชุมชน รวมถึงการฟื้นฟูระบบนิเวศ

ด้าน นางกาญจนา โชติช่วง ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านตำบลบางเค็ม กล่าวว่า พันธุ์ปลากะพงขาวที่ได้รับการสนับสนุนจำนวน 5,000 ตัวจะแจกจ่ายให้เกษตรกรรายละประมาณ 200-220 ตัว สำหรับนำไปปล่อยในบ่อดินที่ใช้เลี้ยงกุ้งและปู เพื่อช่วยลดจำนวนปลาหมอคางดำ ช่วยฟื้นฟูระบบนิเวศของบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ ช่วยให้เกษตรกรมีผลผลิตที่ดี

ขณะที่ นายพล ป้านสุวรรณ เกษตรกรเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในพื้นที่ กล่าวว่า "ปลากะพงขาวจะถูกนำไปปล่อยในบ่อเลี้ยงกุ้ง ปลากะพงสามารถหากินเองได้ โดยจัดการลูกปลาหมอคางดำ ช่วยลดต้นทุนอาหารสัตว์ของเกษตรกร และมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการนำปลากะพงมาจำหน่ายอีกด้วย"

นอกจากนี้ กรมประมงยังเดินหน้าส่งเสริมองค์ความรู้ให้กับกลุ่มเกษตรกรเกี่ยวกับแนวทางการจัดการปลาหมอคางดำ ควบคู่กับการพัฒนาเพาะพันธุ์ปลาหมอคางดำ 4n เพื่อกระจายไปยังพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ รวมถึงผลักดันให้เกิดการใช้วิธีธรรมชาติในการควบคุมประชากรปลาหมอคางดำ ผ่านความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ

29/01/2025
*ปลาหมอสีคางดำ-ปลาหมอคางดำ ความเหมือนในความต่าง*ชาญศึก ผดุงความดี นักวิชาการอิสระย้อนรอยที่มาปลาหมอสีคางดำ-ปลาหมอคางดำ ท...
29/01/2025

*ปลาหมอสีคางดำ-ปลาหมอคางดำ ความเหมือนในความต่าง*

ชาญศึก ผดุงความดี นักวิชาการอิสระ

ย้อนรอยที่มาปลาหมอสีคางดำ-ปลาหมอคางดำ ที่ยังมีความพยายามเรียกร้องให้รัฐบาลยกระดับการแก้ปัญหาให้มีความชัดเจนและต่อเนื่องมากกว่าปีที่ผ่านมา ทั้งเรื่องการจัดสรรงบประมาณเพื่ออุดหนุนการซื้อปลาไปใช้ประโยชน์สูงสุด และจูงใจให้มีการจับปลาออกแหล่งน้ำธรรมชาติมากที่สุด เพื่อดำเนินตามขั้นตอนปล่อยปลาผู้ล่า สู่การใช้นวัตกรรม 4N เพื่อทำให้ปลาเป็นหมัน ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมประมง วางเป้าหมายกำจัดและควบคุมปลาให้ได้ภายในปี 2570

ย้อนรอยที่มาของชื่อปลาหมอสีคางดำเดิมใช้ชื่อ "ปลานิล" (Sarotherodon melanotheron) ช่วงปี 2549 ถึง 2550 เนื่องจากขณะนั้นยังไม่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการ ต่อมาในปี 2553 บริษัทเอกชนได้นำเข้าปลานิลชนิดนี้มาในประเทศเพื่องานวิจัยและพัฒนา และต่อมากรมประมงได้เปลี่ยนชื่อปลาชนิดนี้จากปลานิลเป็น “ปลาหมอเทศข้างลาย” ทำให้บริษัทเอกชนต้องใช้ชื่อตามที่กรมประมงระบุให้ใช้ในขณะนั้น แต่ยังใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Sarotherodon melanotheron ต่อมามีการเปลี่ยนชื่อเรียก "ปลาหมอเทศข้างลาย" เป็น "ปลาหมอสีคางดำ" ในปี 2561 ตามประกาศของกรมประมง ซึ่งมีการห้ามนำเข้าและเพาะพันธุ์ปลาชนิดนี้พร้อมกับปลาหมอสีต้องห้ามอื่นๆ (ปลาหมอมายัน Cichlasoma urophthalmus (GÜnther,1862) ปลาหมอบัตเตอร์ Heterotilapia buttikoferi (Hubrecht,1881) อย่างไรก็ตาม ในปี 2567 มีการเรียกชื่อปลาหมอสีคางดำให้สั้นลงเหลือเพียง “ปลาหมอคางดำ” โดยชื่อที่กรมประมงใช้อย่างเป็นทางการจนถึงปัจจุบันคือ “ปลาหมอสีคางดำ”

ในเรื่องของวงศ์วานของปลานิล ปลาหมอเทศข้างลายและปลาหมอสีคางดำ นี้ ผศ.ดร.สพ.ญ.วรรณา ศิริมานะพงษ์ อาจารย์ประจำหน่วยสัตว์น้ำ ภาควิชาเวชศาสตร์คลินิกและการสาธารณสุข คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เคยให้รายละเอียดไว้ ว่า “สำหรับปลาหมอเทศข้างลาย เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Oreochromis aureus มีชื่อสามัญหลายชื่อ คือ Blue tilapia, Israeli tilapia, Blue kurper และเป็นปลาในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) รูปร่างทั่วไปคล้ายคลึงกับปลานิล (Oreochromis niloticus) และปลาหมอเทศ (Oreochromis mossambicus) ซึ่งเป็นปลาในวงศ์เดียวกันและสกุลเดียวกัน ส่วนปลาหมอสีคางดำหรือปลาหมอคางดำ (Sarotherodon Melanotheron) ที่หน่วยงานภาครัฐอนุญาตให้เอกชนนำเข้าตามชื่อวิทยาศาสตร์และชื่อสามัญดังกล่าวข้างต้นนับว่าเป็นปลาวงศ์เดียวกันแต่คนละสกุล พูดง่ายๆ คือ ปลาทั้ง 2 ชนิด เป็นญาติกันนั่นเอง” (https://mgronline.com/news1/detail/9670000064464)

การอยู่ในวงศ์ปลาหมอสีนั้น อาจเป็นการเรียกเพราะปลาหมอสีคางดำเมื่ออยู่ในช่วงผสมพันธุ์จะมีสีสันสวยงาม และจากหลักฐานที่พบการแพร่ระบาดในหลายประเทศทั้งสหรัฐอเมริกา บางประเทศในยุโรป และในเอเซียที่ฟิลิปปินส์ ล้วนพบต้นทางในตลาดปลาสวยงามทั้งสิ้น (Aquarium Market) แสดงว่ามีการเลี้ยงเป็นปลาสวยงามในหลายประเทศ ตลอดจนมีหลักฐานการส่งออกปลาหมอสีคางดำจากไทยโดย 11 บริษัท ไป 17 ประเทศ ซึ่งกรมประมงยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าปลาที่ส่งออกไปเป็นปลาอะไรกันแน่ มีเพียงให้ข้อมูลว่าเป็นการกรอกเอกสารส่งออกผิดพลาดโดยบริษัทชิ้ปปิ้งเหมือนกันทั้งหมดตลอด 4 ปี ตั้งแต่ปี 2556 ถึงปี 2559

ข้อสังเกตสำคัญตามหลักสากลที่บ่งบอกตัวตนคุณลักษณะของปลา คือ ชื่อวิทยาศาสตร์ Sarotherodon melanotheron ขณะที่ชื่อสามัญ Blackchin tilapia และชื่อไทยไม่ว่าจะปลาหมอสีคางดำหรือปลาหมอคางดำ มีความสำคัญรองลงมาโดยเฉพาะชื่อภาษาไทยจะมีการตั้งเพื่อให้ง่ายต่อการเรียกชื่อและจดจำ ซึ่งอาจตั้งตามลักษณะของปลาได้ ดังนั้น หากต้องเรียกชื่อไทยควรเรียกชื่อทางการตามที่กรมประมงกำหนด คือ ปลาหมอสีคางดำ เพื่อให้เกิดความเข้าใจถูกต้องตรงกันในการสื่อสารและหยุดความสับสนของสังคม และควรร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐในการแจ้ง เมื่อพบแหล่งที่มีปลาหมอสีคางดำชุกชุมเพื่อเร่งดำเนินการจับ และเดินหน้าตามแผนปฏิบัติการของกรมประมง 7 มาตรการ เพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายในการแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอสีคางดำให้ลุล่วงตามเป้าหมายปี 2570./

คลี่คลาย! ประมงราชบุรีมั่นใจ คุมสถานการณ์ปลาหมอคางดำได้ – เดินหน้าจัดการอย่างเป็นระบบประมงจังหวัดราชบุรี เผยสถานการณ์ปลา...
20/01/2025

คลี่คลาย! ประมงราชบุรีมั่นใจ คุมสถานการณ์ปลาหมอคางดำได้ – เดินหน้าจัดการอย่างเป็นระบบ

ประมงจังหวัดราชบุรี เผยสถานการณ์ปลาหมอคางดำในจังหวัดราชบุรีอยู่ในระดับที่สามารถควบคุมได้ และในลำคลองยังพบปลาพื้นถิ่นอาศัยอยู่หลายชนิด ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีต่อระบบนิเวศ ปีนี้ราชบุรียังคงดำเนินการต่อเนื่องเพื่อฟื้นฟูความสมดุลของระบบนิเวศและดูแลเกษตรกรเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอย่างเป็นระบบ

วันที่ 17 มกราคม 2568 นายจิระพงศ์ ศิริวัฒน์ นักวิชาการประมงชำนาญการพิเศษ รักษาราชการแทนประมงจังหวัดราชบุรี มอบหมายให้นางสาวจินตนา นิธรรม หัวหน้ากลุ่มบริหารจัดการด้านการประมง นางสายหยุดฤทธิ์ ช่วยประมง อำเภอโพธาราม พร้อมเจ้าหน้าที่และหน่วยงานพันธมิตร ได้ลงพื้นที่ทำกิจกรรม “ลงแขกลงคลอง” จับปลาหมอคางดำในคลองหนองบางงู ตำบลเจ็ดเสมียน อำเภอโพธาราม ตามแผนปฏิบัติการในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ ตั้งเป้าจัดกิจกรรมจับปลาหมอคางดำออกจากแหล่งน้ำธรรมชาติให้ครบทั้ง 6 อำเภอ ควบคู่กับการวางแผนการปล่อยปลาผู้ล่าลงในแหล่งน้ำเพื่อช่วยกำจัดปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำ และในระยะต่อไปมีการวางแผนการปล่อยปลาพื้นถิ่นกลับคืนลงสู่แหล่งน้ำเพื่อทดแทนปลาที่ถูกกำจัดออก และเพิ่มความหลากหลายในระบบนิเวศ

จังหวัดราชบุรี ยังพบปลาหมอคางดำในพื้นที่ 6 อำเภอ แต่มีปริมาณน้อยและไม่รุนแรง อยู่ในระดับสีเขียว หรือพบน้อยกว่า 10 ตัวต่อพื้นที่ 100 ตารางเมตร ที่สำคัญในคลองต่างๆ ยังพบปลาพื้นถิ่นชนิดอื่นๆ เช่น ปลาสร้อย ปลาตะเพียน เป็นต้น และเกษตรกรในพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเพาะปลูกพืชในร่องสวน จึงไม่ได้รับผลกระทบจากปลาหมอคางดำ ส่วนในพื้นที่อำเภอบางแพซึ่งมีพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำมากของจังหวัด พบจำนวนปลาหมอคางดำน้อยมาก และเกษตรกรยังมีเตรียมความพร้อมจัดการบ่อเลี้ยงป้องกันปลาหมอคางดำรุกล้ำเข้าไปได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น

ปีนี้ราชบุรียังคงดำเนินการต่อเนื่องเพื่อฟื้นฟูความสมดุลของระบบนิเวศและดูแลเกษตรกรเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอย่างใกล้ชิด จะมีการจัดกิจกรรมลงแขกลงคลองจับปลาออกจากลำคลองในพื้นที่ 6 อำเภอ และดำเนินการปล่อยปลาผู้ล่าเพื่อช่วยตัดวงจรปลาหมอคางดำ และเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ ขณะเดียวกัน ประมงจังหวัดยังดำเนินการประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ทุกช่องทางอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมให้ประชาชนช่วยกันเฝ้าระวังและแจ้งเจ้าหน้าที่หากพบปลาชนิดนี้ในลำคลอง ตามมาตรการ “เจอ แจ้ง จับ จบ” พร้อมกับสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนว่า ปลาหมอคางดำมีประโยชน์สามารถนำมาบริโภค หรือแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร ตลอดจนนำมาหมักเป็นน้ำหมักชีวภาพสำหรับเกษตรกรปลูกพืชได้อีกด้วย./

ที่อยู่

บางพลี

เวลาทำการ

จันทร์ 09:00 - 18:00
อังคาร 09:00 - 18:00
พุธ 09:00 - 18:00
พฤหัสบดี 09:00 - 18:00
ศุกร์ 09:00 - 18:00
เสาร์ 09:00 - 18:00

เบอร์โทรศัพท์

+626185885

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ นิตยสารสัตว์น้ำผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ ธุรกิจของเรา

ส่งข้อความของคุณถึง นิตยสารสัตว์น้ำ:

แชร์