Mati Insight "Mati Insight" เพจรวมคอนเทนต์อินโฟกราฟฟิกที่น่ารู้น่าสนใจจากสื่อในเครือมติชน จำกัด (มหาชน)

Thai Chinese Golden Fes อีเวนต์ ”ความรู้“ จาก ”มติชน“ ล่าสุดครับ ส่วนตัวหลักคือ ”Khowledge Fes“ ที่ มิวเซียม สยาม จัดประ...
14/07/2025

Thai Chinese Golden Fes อีเวนต์ ”ความรู้“ จาก ”มติชน“ ล่าสุดครับ ส่วนตัวหลักคือ ”Khowledge Fes“ ที่ มิวเซียม สยาม จัดประจำทุกต้นปี

เส้นทางสายสัมพันธ์ภูมิปัญญาไทยจีน         “แล้วเรามีวรรณกรรมภาษาไทยที่แปลเป็นจีนบ้างไหม ... สิ่งที่ผมนึกถึงคือ “ข้างหลัง...
12/07/2025

เส้นทางสายสัมพันธ์ภูมิปัญญาไทยจีน
“แล้วเรามีวรรณกรรมภาษาไทยที่แปลเป็นจีนบ้างไหม ... สิ่งที่ผมนึกถึงคือ “ข้างหลังภาพ” สำหรับผม กุหลาบ สายประดิษฐ์ เป็นนักเขียนลำดับหนึ่งในดวงใจของผม เป็นคนที่มีอุดมการณ์ที่ไม่แปรเปลี่ยน”

“ นริศ จรัสจรรยาวงศ์” กล่าวในช่วงนำชมส่วนนิทรรศการ “จีนไทย ก้าวไปด้วยกัน” ในงาน Matichon Thai-Chinese Golden Fest เทศกาลร้อยเรื่องราวไทย-จีน สะท้อนให้เห็นถึง “ความสัมพันธ์ทางภูมิปัญญาไทยจีน “ผ่านการแลกรับทางภูมิปัญญาและสายธารวรรณกรรมระหว่างไทย-จีน นับตั้งแต่ยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เริ่มจากวรรณกรรมสามก๊ก ในแพล็ตฟอร์ม “สมุดไทย” ก่อนเข้าสู่การพิมพ์เป็นสมุดฝรั่งครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1866 หรือ พ.ศ.2409 สมัยปลายรัชกาลที่ 4

“หากจะนับความนิยมในวรรณกรรมจีนที่อยู่ในสังคมไทยก็ควรจะนับเริ่มที่สามก๊ก เพราะสามก๊กมีหลายฉบับมาก หากเทียบกับพระไตรปิฎกก็เหมือนดังอรรถกถาที่มีแยกออและตีความตัวบทมากมาย”

หนึ่งในอรรถกถา สามก๊กที่ลือลั่นที่สุดคือ “สามก๊ก ฉบับวณิพก” โดย “ยาขอบ” ที่ครั้งหนึ่งได้รับสมญานาม “ผู้ฆ่าพงศาวดารจีน” จากการแต่ง “ผู้ชนะสิบทิศ” เพื่อสู้พงศาวดารจีนแต่ท้ายที่สุด ยาขอบกลับหลงใหลไปในโลกของพงศาวดารจีนเสียเอง ถึงขนาดแต่งสามก๊กฉบับวณิพก อย่างต่อเนื่องร่วม 10 ปี ไม่กลับไปประพันธ์ผู้ชนะสิบทิศจนจบตราบจนสิ้นชีวิต

เส้นทาง ความนิยมในวรรณกรรมจีน ยังเป็นผลมาจาก ความหลากหลายของแพลตฟอร์ม เช่น เปาบุ้นจิ้น ซึ่ง ความนิยมมาพร้อมกับความนิยมการแสดงงิ้วในสังคมไทย ความมีลักษณะคล้ายกับนิยายสืบสวนสอบสวนอย่างเชอร์ล็อก โฮมส์ในโลกตะวันตก ความนิยมส่งผลและเติบโตสืบเนื่องไปถึงความนิยมในจอแก้ว ภายหลัง การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับจีนเมื่อ พ.ศ.2518 และนำไปสู่ที่มาของงิ้วภาษาไทยเรื่องแรกที่ได้รับการกำกับโดย เม้ง ป.ปลา เมื่อฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบรอบ 200 ปี พอดี โดยการสนับสนุนของ ส.สหพัฒนพิบูลย์ ผู้ผลิตผงซักฟอก “เปาบุ้นจิ้น”

เรื่องการเดินทางของเปาบุ้นจิ้นนับตั้งแต่ถูกแปลออกเป็นภาษาไทยครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 5 จวบจนมาถึงชื่อยี่ห้อผงซักฟอก จึงสะท้อนถึงความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างไทยจีนที่ข้ามและผ่านจากโลกวรรณกรรมจีนสู่ชื่อและภาพจำในสังคมและธุรกิจในประเทศไทยได้เป็นอย่างดี

สำหรับงาน Matichon Thai-Chinese Golden Fest เทศกาลร้อยเรื่องราวไทย-จีนในส่วนนิทรรศการจะจัดต่อเนื่องไปจนถึงวันพรุ่งนี้ (13 กรกฎาคม 2568) นำชมนิทรรศการ โดย อ.อัครพงษ์ ค่ำคูณ ผู้เชี่ยวชาญด้านรัฐศาสตร์และการเมืองระหว่างประเทศ วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์

มรดกวรรณกรรมจีน สู่ การทูตฝ่าวิกฤติ           ประเดิมวันแรกของงาน Matichon Thai-Chinese Golden Fest สมชาย จิว  ผสานความร...
11/07/2025

มรดกวรรณกรรมจีน สู่ การทูตฝ่าวิกฤติ

ประเดิมวันแรกของงาน Matichon Thai-Chinese Golden Fest สมชาย จิว ผสานความรู้เกล็ดประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมจีน สร้างความมีชีวิตชีวาให้นิทรรศการจีนไทยก้าวไปด้วยกัน เมื่อเขาเล่าเส้นทางการสถาปนาความสัมพันธ์ไทยจีนในปี พ.ศ.2518

ในครั้งนั้นการเมืองภายในของทั้งสองประเทศ ยังคงสั่นไหวไม่หยุด จีนยังอยู่ในช่วงสุดท้ายในช่วงบั้นปลายชีวิตของประธานเหมาเจ๋อตุง ดังเช่น ที่ในวันที่ คณะผู้แทนไทย ที่นำโดย นายกรัฐมนตรี ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เดินทางถึงปักกิ่งในวันที่ 30 มิถุนายน ผู้มาต้อนรับคือ เติ้งเสี่ยวผิง รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งพึ่งกลับคืนสู่อำนาจหลังตกกระป๋องไปด้วยฤทธิ์ของแก๊งสี่คน นำโดยนางเจียงชิง ภริยาประธานเหมาเจ๋อตุง

แต่หลังจากคณะผู้แทนไทยเดินทางกลับไปไม่นาน เติ้งเสี่ยวผิง ก็โดนเล่นงานปลดอีกรอบ ก่อนจะหวนกลับมาเผด็จศึกแก๊งสี่คนในช่วงการถึงแก่อสัญกรรมของประธานเหมา ในเดือนตุลาคม 2519

เช่นเดียวกับ สถานการณ์ของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ที่ตัดสินใจเด็ดขาดที่จะสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับจีน โดยไม่รีรอความเห็นพ้องของฝ่ายความมั่นคงต่อไป ในช่วงการเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นช่วงใกล้ถึงวันชาติสหรัฐฯ (4 ก.ค.) ซึ่งเข้าใกล้จุดสูงสุดของการชุมนุมประท้วงของนิสิตนักศึกษาเพื่อขับไล่ฐานทัพสหรัฐฯ ในประเทศไทย

สมชาย จิว ยังอธิบายจุดเปลี่ยนสำคัญของความสัมพันธ์ไทย จีนและสหรัฐฯ คือ กรณีเรือมายาเกวซของสหรัฐฯถูก หทารเขมรแดงยึด และจับลูกเรือเป็นตัวประกัน สหรัฐฯตัดสินใจได้ใช้พื้นที่ฐานทัพอู่ตะเภาของไทย ปฎิบัติการทางการทหารเพื่อชิงตัวประกันและยึดเรือคืนโดยไม่แจ้งรัฐบาลพลเรือนของไทยให้ทราบ ซึ่งเป็นการละเมิดอธิปไตย ทำให้ความจำเป็นในการเร่งฟื้นฟูความสัมพันธ์ไทยจีนมีเพิ่มมากขึ้น

ความคิดของชนชั้นนำอย่าง ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ หรือแม้กระทั่งคนไทยส่วนใหญ่ทั่วไป อาจจะเกี่ยวข้องกับความผูกพันที่ถูกส่งผ่านมาจาก วรรณกรรมที่เป็นที่แพร่หลายในสังคมไทย โดยที่ยอดสี่ วรรณกรรมของจีน อาทิ สามก๊ก ซ้องกั๋ง ความฝันในหอแดง ไซอิ๋ว ล้วนถูกแปลออกเป็นภาษาไทยทั้งสิ้น โดยเฉพาะเช่น สามก๊ก ชนชั้นนำไทย ยึดถือเป็นตำราพิชัยสงคราม

“ทุกอย่างโยงใยกันหมด เรื่องมังกรหยกก็ยังสะท้อนความสัมพันธ์ไทย-จีนได้สมัยใหม่ได้” เพราะต้องไม่ลืมว่ากิมย้งก็เขียนมังกรหยกขึ้นให้ชาวจีนโพ้นทะเลอ่าน ในฐานะของคนจีนนอกแผ่นดินใหญ่ที่อยู่อาศัยบนเกาะฮ่องกงเองด้วยเช่นกัน

ความสัมพันธ์ไทยจีนในวาระครบรอบ 50 ปีที่ผ่านมาทั้งจากมรดกภูมิปัญญาสิ่งพิมพ์และเส้นทางการเมืองระหว่างประเทศทั้ง 2 ฝ่าย จึงเป็นภาพสะท้อนถึงอนาคตของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและผู้คนที่จะมั่นคงและแข็งแรงขึ้นในอนาคต หากเรารู้จักกันและกันดีขึ้นด้วยนั้นเอง

📌 ไฮไลต์กิจกรรม 12 กรกฎาคมนี้ 👀
-นิทรรศการ จีนไทย ก้าวไปด้วยกัน พบกับ “นริศ จรัสจรรยาวงศ์” เปิดกรุหนังสือเก่าจีน ภูมิปัญญาสองแผ่นดิน เริ่ม 11.00 น.

🤳🏻 TALK: TikTok Revolution : พลังครีเอเตอร์ที่เปลี่ยนโลกและวัฒนธรรมป๊อป
โดย พ่อมด TikTok ครีเอเตอร์ชื่อดังผู้มียอดผู้ติดตามกว่า 2.2 ล้านคน เจาะลึกสูตรไวรัล เทคนิคเล่าเรื่อง และการสร้างตัวตนแบบ real-time บนแพลตฟอร์มทรงอิทธิพลที่สุดในยุคนี้
⚔️ TALK: จากกระบี่เย้ยยุทธจักรถึงสตรีมมิง
โดย นนทรีย์ นิมิบุตร, ปริภัณฑ์ วัชรานนท์ (โต๊ะ พันธมิตร), ณัฐพร รุ่งขจรกลิ่น, ปรภาว์ สมบัติเปี่ยม
วิเคราะห์พลัง C-Pop หนังจีน ดาราจีน และวรรณกรรมกำลังภายใน ที่กลายเป็น “Soft Power” พลิกโฉมวัฒนธรรมโลก
🛑 WORKSHOP: รู้จัก RED NOTE – เครื่องมือสื่อสารเข้าหาคนจีนยุคใหม่
โดย เปี๊ยก บุญชัย ลิ่มอติบูลย์
เผยเทคนิคการใช้แพลตฟอร์ม RED (Xiaohongshu) ให้เข้าถึงนักท่องเที่ยวจีนโดยไม่ต้องพึ่งโฆษณา
🦢 WORKSHOP: เคล็ดลับจากยาดมหงส์ไทย ‘คนตัวเล็ก’ ที่ชนะใจลูกค้าจีน
โดย ธีระพงศ์ ระบือธรรม
เปิดเบื้องหลังความสำเร็จของแบรนด์เล็กที่กลายเป็นขวัญใจนักท่องเที่ยวทั่วเอเชีย

🥡 Thai–Chinese Golden Fest 2025 🥢
📍 True Digital Park ชั้น 2 อาคาร West
⏰ เวลา 10.00–18.00 น. เข้าชมนิทรรศการและฟังเสวนาฟรี!
#เทศกาลร้อยเรื่องราวไทยจีน #สำนักพิมพ์มติชน

ไม่ว่าเราจะมี “เชื้อจีน”ในตัวมากน้อย แค่ไหน หรือไม่มีเลยก็ตาม แต่เชื่ิอว่า “เชื้อความคิดแบบจีน”ในหัว มีกันทุกคน ผ่าน “กา...
07/07/2025

ไม่ว่าเราจะมี “เชื้อจีน”ในตัวมากน้อย แค่ไหน หรือไม่มีเลยก็ตาม แต่เชื่ิอว่า “เชื้อความคิดแบบจีน”ในหัว มีกันทุกคน ผ่าน “การอ่าน”มากว่าร้อยปี จาก “สามก๊ก” ถึง “มังกรหยก” ยืนยันสายสัมพันธ์ไทยจีน

วาระครบรอบ 50 ปี ความสัมพันธ์ไทย-จีน เป็นโอกาสสำรวจสายสัมพันธ์ในทุกมิติของประชาชนทั้งสองประเทศ หนึ่งในจำนวนนั้นคือ “มรดกภูมิปัญญา” ผ่านปกหนังสือเก่าในรอบ 160 ปี ที่ผ่านมา

ปกหนังสือเก่าหายากกว่า 200 เล่ม จะมาอวดโฉมในนิทรรศการจีนไทย ก้าวไปด้วยกัน ในงาน Thai-Chinese Golden Fest : มหกรรมร้อยเรื่องราวไทย-จีน ซึ่งเป็นคอลเล็กชั่นของ “นริศ จรัสจรรยาวงศ์” นักวิชาการอิสระ และนักสะสมหนังสือเก่าระดับเบอร์ต้น ๆ ของไทย ไม่ว่าจะเป็น หนังสือเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475, ตำราอาหาร, ศาสนาและไสยศาสตร์ เป็นต้น

จัดแสดงในรูปแบบดิจิทัล บนจอทัชสกรีน โดยการโชว์ปกหนังสือหายาก แบ่งออกเป็น 14 หมวดหมู่ อาทิ พงศาวดาร นิยายกำลังภายใน ประวัติศาสตร์ ซุนยัตเซน สรรนิพนธ์ประธานเหมา พุทธศาสนาจีน วรรณกรรมสังคม

หนังสือเก่าที่โดดเด่นเล่มแรกจากคอลเล็กชั่นของนริศ คือ สามก๊ก พิมพ์ที่โรงพิมพ์หมอบรัดเล พ.ศ. 2409-2410 ซึ่งนับเป็นสามก๊ก ฉบับแรกที่มีการพิมพ์เป็นภาษาไทย

อ่านบทความต้นฉบับได้ที่ : https://www.prachachat.net/the-golden-road/news-1840144

งานนี้ “มติชน” จัดไม่เหมือนงานอื่นๆ คือเป็นงาน “ภาคประชาชนไทยจีน”ครับเพราะความสัมพันธ์ไทยจีน ภาคประชาชนไทยจีน หลายร้อยปี...
06/07/2025

งานนี้ “มติชน” จัดไม่เหมือนงานอื่นๆ คือเป็นงาน “ภาคประชาชนไทยจีน”ครับ
เพราะความสัมพันธ์ไทยจีน ภาคประชาชนไทยจีน หลายร้อยปี พันปี ไม่เคยขาดตอน เรื่องเล่า เรื่องราวจึงมากมายหลายมิติ เช่น กรุปกหนังสือเก่ากว่า 200+ เล่ม คือ เส้นทาง ภูมิปัญญา ที่เป็น มรดกความคิด แฝงอยู่ในตัวเรา ไม่ว่าคุณจะมี “เชื้อจีน” มากน้อย เพียงใด

ในวาระพิเศษของการครบรอบ 50 ปีแห่งความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-จีน ที่มีสายใยลึกซึ้งยาวนานกว่า 600 ปี ฝังรากในทุกแง่มุมของวิถีชีวิตและวัฒนธรรมไทยมาตั้งแต่ยุคเรือสำเภาในสมัยอยุธยาจนถึงทุกวันนี้

วันที่กลุ่มชาวจีนและลูกหลาน Generation ใหม่ ๆ ที่เกิดบนแผ่นดินไทย กลายเป็นหนึ่งในพลังสำคัญของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมไทยในปัจจุบัน

ในโอกาสนี้ “เครือมติชน” ได้จัดกิจกรรมเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ 50 ปีไทย-จีนอย่างยิ่งใหญ่ โดยสำนักพิมพ์มติชน ศิลปวัฒนธรรม และเส้นทางเศรษฐี ขอชวนทุกท่านร่วมฉลองมิตรภาพที่ไม่เคยจางหาย ในงาน “Thai-Chinese Golden Fest 2025 เทศกาลร้อยเรื่องราวไทย-จีน” ที่พร้อมจะพาทุกคนร่วมเดินทางผ่านร้อยเรื่องราวไทย-จีนตั้งแต่อดีตสู่ปัจจุบัน พร้อมมองไปยังอนาคตผ่านสายตาของมิตรประเทศที่เติบโตเคียงข้างกันมาโดยตลอด

เทศกาลนี้ได้รวมทุกมิติของความสัมพันธ์ไทย-จีนอย่างครบถ้วน ทั้งวรรณกรรม ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมร่วมสมัย ธุรกิจ สังคม เทคโนโลยี และนวัตกรรม ภายใต้การจัดแสดงนิทรรศการ เวทีเสวนา และเวิร์กช็อป ที่จะทำให้ผู้ร่วมงานได้ “รู้จักจีน” ผ่านสายตาไทย และ “เข้าใจไทย” ผ่านมิตรภาพจากจีน แบบที่ไม่เคยมีมาก่อน

ไฮไลต์สำคัญคือ นิทรรศการ “จีนไทย ก้าวไปด้วยกัน” นิทรรศการที่จะพาผู้เข้าชมเดินทางย้อนเวลาสำรวจเส้นทางสายสัมพันธ์อันยาวนานระหว่าง 2 ประเทศ ผ่านการถ่ายทอดเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม เศรษฐกิจ ไปจนถึงโอกาสความร่วมมือในอนาคต

นิทรรศการจะนำเสนอเรื่องราวเบื้องหลังการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยและจีนเมื่อ 50 ปีก่อน ผ่านรายงานสดย้อนหลังจากเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2518 บันทึกโดยนักข่าวผู้ร่วมเหตุการณ์อย่าง “สุจิตต์ วงษ์เทศ” และ “สุทธิชัย หยุ่น” ที่ได้ถ่ายทอดภาพความตื่นเต้น ความหวัง และความท้าทายที่เกิดขึ้น ณ กรุงปักกิ่ง ในวันสำคัญของ 2 ประเทศ

อีกหนึ่งไฮไลต์ของนิทรรศการนี้คือ การเปิดกรุ e-Collection หนังสือเก่าหายาก มากกว่า 50 เล่ม ที่บันทึกเรื่องราวความสัมพันธ์ไทย-จีนในมิติต่าง ๆ อาทิ วรรณกรรมจีน วิสัยทัศน์ผู้นำ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม การท่องเที่ยว และการเมือง ทั้งในยุคสาธารณรัฐและยุคจีนใหม่

05/07/2025

งานที่ Create ขึ้นให้ ครบเครื่องเรื่องความสัมพันธ์ไทยจีน ภาคประชาชน ที่สนุก สร้างแรงบันดาลใจ ต่อยอดความคิด สร้างธุรกิจ สร้างอนาคต

04/07/2025

ฟังก่อนอ่าน ใน"ศิลปวัฒนธรรม" เล่มล่าสุด ปฎิบัติการทูตใต้ดินของ จอมพลป. พิบูลสงคราม เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ไทยจีน โดย ณัฐพล ใจจริง

หลังเลือกตั้ง 2566 พรรคการเมืองใหญ่ที่ควรเป็น “หนึ่งในผู้นำฝ่ายประชาธิปไตย” และควรค้ำยันเจตจำนงของมหาชนที่แสดงออกผ่านคูห...
04/07/2025

หลังเลือกตั้ง 2566 พรรคการเมืองใหญ่ที่ควรเป็น “หนึ่งในผู้นำฝ่ายประชาธิปไตย” และควรค้ำยันเจตจำนงของมหาชนที่แสดงออกผ่านคูหาเลือกตั้งให้ถึงที่สุด ก็ไปสมยอมกับกระบวนการ “บิดเบือนเสียงข้างมาก” กลับหันเหตัวเองไปเข้าร่วมกับขบวนการ “ขัดฝืนเจตจำนงประชาชน” และในที่สุดได้ถูกบดขยี้ทำลายล้าง “กลไกรัฐพันลึก” ที่พวกเขาสยบยอม

“พวกเรา” ควรเดินหน้าต่อไปอย่างไร?

“พวกเรา” ต้องเดินหน้าโดยตระหนักอยู่เสมอว่า ไม่ควรไป “ทำสัญญาปีศาจ” หรือ “ดีล” อะไรกับ “พวกเขา” ที่มีความคิด ทัศนคติ การดำเนินชีวิต ผลประโยชน์ และเงื่อนไขเดิมพันความอยู่รอดทางการเมือง แตกต่างจากเรา อยู่คนละโลก คนละจักรวาลกับเรา

แต่ “พวกเรา” ต้องพยายามหาทางสู้ในเกมหรือสนาม ที่ยังเปิดโอกาสให้เราสามารถต่อสู้ได้ รูปธรรมชัดเจนก็คือการต่อสู้ผ่านการเลือกตั้ง การต่อสู้ในระบบรัฐสภา การต่อสู้โดยมีประชาชนเป็น “ผนังทองแดงกำแพงเหล็ก”

อ่านบทความ ไปต่อยังไง? | ปราปต์ บุนปาน
https://www.matichon.co.th/weekly/deep/article_849630

ทีมสู้ชีวิตมาก งานมีศุกร์หน้าแล้ว ครบทุกมิติไทยจีนมากสุดในรอบ 50 ปี ทั้งเรื่องราวแรงบันดาลใจ จากสายสัมพันธ์ ไปถึง ลู่ทาง...
03/07/2025

ทีมสู้ชีวิตมาก งานมีศุกร์หน้าแล้ว ครบทุกมิติไทยจีนมากสุดในรอบ 50 ปี ทั้งเรื่องราวแรงบันดาลใจ จากสายสัมพันธ์ ไปถึง ลู่ทางทำมาหากินในตลาดจีน พร้อมเครื่องไม้ เครื่องมือ และสกิลที่เวิร์คจากคนหน้างาน

ผู้นำรัฐบาลเมื่อ 50 ปีก่อน เฉียบคม คลาสสิค เอาอยู่  ….การสนทนาที่สนิทสนม และครึกครื้น สไตล์คึกฤทธิ์ ทำให้กำหนดพบยืดจาก 1...
01/07/2025

ผู้นำรัฐบาลเมื่อ 50 ปีก่อน เฉียบคม คลาสสิค เอาอยู่ ….การสนทนาที่สนิทสนม และครึกครื้น สไตล์คึกฤทธิ์ ทำให้กำหนดพบยืดจาก 15 นาที เป็น 58 นาที จนแพทย์ต้องมาขอให้หยุด

“คึกฤทธิ์พบเหมาเจ๋อตง” ชั่วโมงประวัติศาสตร์ สานสัมพันธ์ ไทย-จีน ศักราชใหม่
วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) เป็นวันลงนามในแถลงการณ์ร่วมสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีน
ข้างต้นเป็นกำหนดการที่ชัดเจน แต่อีกกำหนดการหนึ่งซึ่งมีความหมายมากสำหรับคณะผู้แทนไทยคือ การเข้าพบ “เหมาเจ๋อตง” ประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีน ที่ยังไม่ได้รับการยืนยันแต่อย่างใด เนื่องจากเป็นธรรมเนียมปฎิบัติของจีนว่า จะบอกล่วงหน้าก่อนครึ่งชั่วโมงเท่านั้นว่าจะได้พบหรือไม่ เพื่อให้คณะแพทย์ประเมินความพร้อมด้านสุขภาพของผู้นำวัย 81 ปี
เช้าวันนั้น ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ และคณะผู้แทนไทย ได้ไปเยี่ยมศูนย์ชนกลุ่มน้อยในกรุงปักกิ่ง ซึ่งขณะชมการแสดงอยู่นั้น เวลา 09:00 น. เศษ เจ้าหน้าที่จีนได้มาแจ้งข้อความที่ทำให้ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ลุกผลุนผลันออกจากห้องประชุมไป สร้างความประหลาดใจให้ทุกคนอย่างมาก
แต่แล้วก็เปลี่ยนเป็นความดีใจ เพราะข้อความนั้น คือ ประธานเหมาเจ๋อตง ซึ่งอยู่ระหว่างการพักร้อนที่บ้านพักนอกกรุงปักกิ่ง ได้เดินทางเข้ากรุงปักกิ่ง เพื่อให้นายกฯ ไทยเข้าพบเป็นการเฉพาะ ในเวลา 10.20 น. ของวันนั้น
คณะผู้แทนไทย 4 คน ประกอบด้วย ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ พล. ต. ชาติชาย ชุณหะวัณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายอานันท์ ปันยารชุน เอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกา และนายประกายเพชร อินทุโสภณ เลขาธิการประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้เข้าพบประธานเหมา เมื่อเวลา 10.30 น. ที่ทำเนียบจงหนานให่ ซึ่งผู้แทนไทยทั้งสี่ได้สัมผัสมือและทักทายกับเหมาเจ๋อตง
จากนั้น นายอานันท์และนายประกายเพชรได้ออกมาคอยข้างนอก ส่วน ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ และ พล.ต. ชาติชาย ยังคงสนทนากับประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีน ซึ่งมีผู้ร่วมด้วย คือ เติ้งเสี่ยวผิง โดยมี ถังเหวินเซิง (แนนซี่ ถัง) เป็นล่ามแปล ทั้งสองฝ่ายสนทนากันเป็นเวลา 1 ชั่วโมง จนแล้วเสร็จในเวลา 11.30 น.
การที่ประธานเหมาเจ๋อตงให้นายกฯ และ รมว. ต่างประเทศของไทย เข้าพบนานถึง 1 ชั่วโมง จนแพทย์ประจำตัวของเหมาเจ๋อตงต้องขอให้ยุติการสนทนาเพื่อจะได้พักผ่อน นับเป็นกรณีพิเศษที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน เพราะปกติแล้วประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีนจะใช้เวลารับแขกไม่เกิน 15 นาทีเท่านั้น
📍 อ่านบทความ “คึกฤทธิ์พบเหมาเจ๋อตง” ชั่วโมงประวัติศาสตร์ สานสัมพันธ์ ไทย-จีน ศักราชใหม่ แบบเต็มๆ ได้ในคอมเมนต์
#ไทยจีน #50ปีความสัมพันธ์ไทยจีน #ศูนย์ข้อมูลมติชน #ศิลปวัฒนธรรม

01/07/2025

ศิลปะการทูตไทยเมื่อ 50 ปีก่อน ลึกซึ้ง และมีรสนิยม

ปฏิบัติการทางการทูต ที่ทำให้ประเทศไทยก้าวผ่านวิกฤติความมั่นคง ด้วยความเป็นมืออาชีพทางการทูต การตัดสินใจที่เด็ดเดี่ยวของผ...
01/07/2025

ปฏิบัติการทางการทูต ที่ทำให้ประเทศไทยก้าวผ่านวิกฤติความมั่นคง ด้วยความเป็นมืออาชีพทางการทูต การตัดสินใจที่เด็ดเดี่ยวของผู้นำประเทศ

ไทย-จีน สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการ นับเป็นประเทศที่ 101 ของโลกที่รับรองรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน
1 กรกฎาคม 2518 เวลา 18.40 น. ตามเวลากรุงปักกิ่ง 17.40 น. ตามเวลาในกรุงเทพมหานคร ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช นายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทย และนายโจวเอินไหล นายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้ลงนามในแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยการสถาปนาการสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีน ที่โรงพยาบาลในกรุงปักกิ่ง
“แถลงการณ์ร่วมว่าด้วยการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีน
1. รัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนมีความปรารถนาที่จะฟื้นฟูและกระชับความสัมพันธ์ที่ได้มีมาช้านานอย่างใกล้ชิดและฉันมิตรระหว่างประชาชนของประเทศทั้งสองให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น และเพื่อให้สอดคล้องกับผลประโยชน์และความปรารถนาร่วมกันของประชาชนทั้งสองประเทศ จึงได้ตกลงใจที่จะรับรองซึ่งกันและกัน และสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตนับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2518 เป็นต้นไป
2. รัฐบาลทั้งสองแถลงยืนยันว่า ประชาชนของแต่ละประเทศเท่านั้นที่มีสิทธิเลือกระบอบการเมืองเศรษฐกิจและสังคมของตน โดยปราศจากการแทรกแซงจากภายนอก และทั้งสองฝ่ายเชื่อมั่นเช่นเดียวกันว่า ถึงแม้ราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีนจะมีระบอบการเมืองเศรษฐกิจและสังคมที่แตกต่างกัน
แต่ก็ไม่น่าที่จะมีอุปสรรคต่อการพัฒนาความสัมพันธ์อันสันติและฉันมิตรระหว่างประเทศและประชาชนทั้งสอง ตามหลักการแห่งความเคารพอธิปไตย และบูรณภาพแห่งดินแดนซึ่งกันและกัน การไม่รุกรานต่อกัน การไม่แทรกแซงกิจการภายในซึ่งกันและกัน ความเสมอภาคและผลประโยชน์ร่วมกันและการอยู่ร่วมกันโดยสันติ
3. รัฐบาลทั้งสองตกลงที่จะระงับกรณีพิพาททั้งมวลโดยสันติวิธี ตามหลักการต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น โดยจะไม่หันไปใช้ หรือคุกคามว่าจะใช้กำลัง
4. รัฐบาลทั้งสองตกลงว่าการรุกรานและการบ่อนทำลายทั้งปวงจากต่างประเทศ และความพยายามทุกประการของประเทศใดที่จะควบคุมประเทศอื่นหรือที่จะเข้าแทรกแซงกิจการภายในของประเทศอื่นนั้น เป็นสิ่งที่ต้องห้ามและต้องถูกประณาม
5. รัฐบาลทั้งสองยังเป็นปฏิปักษ์ต่อความพยายามของประเทศ หรือกลุ่มประเทศใดที่จะสถาปนาความเป็นใหญ่ หรือสร้างเขตอิทธิพลเหนือส่วนหนึ่งส่วนใดของโลกอีกด้วย
6. รัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยรับรองรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ว่าเป็นรัฐบาลอันชอบด้วยกฎหมายของประเทศจีนเพียงรัฐบาลเดียว รับทราบท่าทีของรัฐบาลจีน ว่ามีจีนเพียงประเทศเดียว และว่าไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนจีนที่จะแบ่งแยกมิได้และตกลงใจที่จะถอนผู้แทนทางการของตนทั้งหมดออกจากไต้หวันภายในระยะเวลา ๑ เดือน นับจากวันที่ลงนามแถลงการณ์ฉบับนี้
7. รัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน รับรองรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและตกลงที่จะเคารพเอกราช อธิปไตย และบูรณภาพแห่งดินแดนของประเทศไทย
8. รัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนรับรู้ความเป็นจริงที่ว่า นับเป็นเวลาหลายศตวรรษมาแล้ว ชาวจีนในประเทศไทยได้ดำรงชีวิตอยู่ด้วยความปรองดองและไมตรีจิตกับชาวไทยตามกฎหมายไทย และตามขนบธรรมเนียมจารีตประเพณีของชาวไทย รัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนประกาศไม่ยอมรับการถือสองสัญชาติ รัฐบาลทั้งสองถือว่าบุคคลสัญชาติหรือเชื้อชาติจีน ผู้ได้มาซึ่งสัญชาติไทยย่อมสูญเสียสัญชาติจีนโดยอัตโนมัติ
ส่วนในกรณีชาวจีนผู้ซึ่งพำนักอยู่ในประเทศไทยที่จะเลือกรักษาไว้ซึ่งสัญชาติจีนด้วยความสมัครใจของตนเองนั้น รัฐบาลจีนโดยปฏิบัติตามนโยบายที่มีมาอย่างสม่ำเสมอ จะเรียกร้องให้บุคคลเหล่านั้นปฏิบัติตามกฎหมายแห่งราชอาณาจักรไทย เคารพขนบธรรมเนียมจารีตประเพณีของชาวไทย และอยู่ร่วมกับชาวไทยอย่างฉันมิตร สิทธิและผลประโยชน์อันชอบธรรมของบุคคลดังกล่าวจะได้รับความคุ้มครองโดยรัฐบาลแห่งประเทศจีนและความรับนับถือจากรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย
9. รัฐบาลทั้งสองตกลงที่จะดำเนินนโยบายเพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ทางการค้า เศรษฐกิจและวัฒนธรรมระหว่างประเทศทั้งสอง
10. รัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ตกลงที่จะให้มีการแลกเปลี่ยนเอกอัครราชทูต ซึ่งต่างฝ่ายให้ความเห็นชอบต่อกันโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะกระทำได้และอำนวยความช่วยเหลือเท่าที่จำเป็นต่อกันและกันทุกประการ ในการจัดตั้งและปฏิบัติหน้าที่ของคณะผู้แทนทางการทูตในนครหลวงประเทศทั้งสองโดยเป็นไปตามการปฏิบัติระหว่างประเทศ และบนมูลฐานแห่งการถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต่อกัน
ลงนาม ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช นายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทย
ลงนาม โจวเอินไหล นายกรัฐมนตรีของคณะรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๑๘ ณ ปักกิ่ง.”
ราชอาณาจักรไทยนับเป็นประเทศที่ 101 ของโลกที่รับรองรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน

=====================
🏮 นิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับกรกฎาคม 2568 พบเบื้องหลังประวัติศาสตร์ใหม่ ไทย-จีน ฉลอง 50 ปี ความสัมพันธ์

>>> PRE-ORDER ได้ที่ลิงก์ในคอมเมนต์ >> ติดตามรายละเอียดกิจกรรมทั้งหมดได้ในคอมเมนต์

ที่อยู่

Bangkok

เบอร์โทรศัพท์

+6625890020

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ Mati Insightผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ ธุรกิจของเรา

ส่งข้อความของคุณถึง Mati Insight:

แชร์

ประเภท