สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย Thai Journalists Association

สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย  Thai Journalists Association สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ตั้งอยู่ 538/1 ถ.สามเสน ดุสิต กทม. 10300 www.tja.or.th

สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เป็นองค์กรวิชาชีพสื่อ ตั้งอยู่เลขที่ 538/1 ถ.สามเสน ดุสิต กทม. 10300
[email protected]

29/06/2025

รายการ "ช่วยกันคิดทิศทางข่าว"
วันอาทิตย์ที่ 29 มิถุนายน 2568 เวลา 11.00-12.00 น.
โดย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับ
คลื่นข่าว MCOT News FM 100.5

ดำเนินรายการโดย
ดารากาญจน์ ทองลิ่ม และ พฤฒินันท์ สุดประเสริฐ
จากสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

ช่วงที่ 1 : อวสานกัญชาเสรี เตรียมกลับเข้าบัญชียาเสพติด

โฟนอิน วชิรวิทย์ เลิศบำรุงชัย
ผู้สื่อข่าวสาธารณสุข ThaiPBS

ช่วงที่ 2 : 'Pink Economy' โอกาสใหม่ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย

การลงทะเบียนรับปลอกแขนสื่อมวลชนชุดใหม่ (รอบหก)ศปสช. 6 องค์กรวิชาชีพสื่อเปิดลงทะเบียนปลอกแขนสัญลักษณ์สำหรับสื่อมวลชนที่ปฏ...
27/06/2025

การลงทะเบียนรับปลอกแขนสื่อมวลชนชุดใหม่ (รอบหก)

ศปสช. 6 องค์กรวิชาชีพสื่อเปิดลงทะเบียนปลอกแขนสัญลักษณ์สำหรับสื่อมวลชนที่ปฏิบัติหน้าที่ในสถานการณ์การชุมนุม (รอบหก) ตั้งแต่วันที่ 1-15 กรกฎาคม 2568

เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน นางอุษา มีชารี อุปนายกฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานสื่อมวลชนในสถานการณ์การชุมนุม (ศปสช.) กล่าวว่า สืบเนื่องจาก ศปสช.จัดตั้งขึ้นจากองค์กรวิชาชีพสื่อ 6 องค์กรวิชาชีพสื่อ ได้แก่ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ และสหภาพแรงงานกลางสื่อมวลชนไทย ได้จัดทำปลอกแขนตราสัญลักษณ์ “Press” สำหรับสื่อมวลชนโดยผ่านกระบวนการการคัดกรอง และจัดลำดับหมายเลข เพื่อให้สามารถตรวจสอบย้อนกลับไปยังต้นสังกัดของผู้ใช้ปลอกแขน

มีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนว่าต้องเป็นสื่อมวลชนที่มีสังกัด มีกองบรรณาธิการที่สามารถรับผิดชอบทางกฎหมาย ผลิตข่าวสารอย่างสม่ำเสมอ และในกรณีที่เป็นสื่อที่นำเสนอข่าวสารทางโซเชียลมีเดียต้องมีเว็บไซต์ หรือโดเมนของตนเองอย่างชัดเจน เพื่อการติดตามและรับผิดชอบกรณีที่มีการละเมิดหรือฝ่าฝืนกฎหมาย ซึ่งในปัจจุบันมีองค์กรสื่อมวลชนได้ติดต่อลงทะเบียน และขอรับปลอกแขนไปแล้วจำนวนมากพอสมควร แต่ก็ยังมีสื่อมวลชนอีกจำนวนไม่น้อยที่ปฎิบัติหน้าที่รายงานข่าวในพื้นที่การชุมชุมโดยไม่มีปลอกแขน

เพื่อเป็นการลดปัญหาการทำงานในพื้นที่ระหว่างสื่อมวลชนกับเจ้าหน้าที่และผู้ชุมนุม ให้สื่อมวลชนได้มีเสรีภาพในการทำข่าวในพื้นที่ปราศจากการคุกคามจากฝ่ายใดฝ่านหนึ่ง สามารถรายงานข่าวอย่างรอบด้านสู่ประชาชน ศปสช. จึงได้ตระหนักถึงความปลอดภัยเป็นหัวใจสำคัญของการปฏิบัติหน้าที่ของสื่อมวลชนที่อาจได้รับอันตรายอันจะส่งผลกระทบต่อการรับข้อมูลข่าวสารของประชาชน จึงได้มีการพิจารณาเปิดให้สื่อมวลชนลงทะเบียนปลอกแขนสัญลักษณ์สำหรับสื่อมวลชนที่ปฏิบัติหน้าที่ในสถานการณ์การชุมนุม(รอบที่หก) ตั้งแต่1 - 15 กรกฎาคม 2568

ศปสช. 6 องค์กรวิชาชีพสื่อเปิดลงทะเบียนปลอกแขนสัญลักษณ์ส […]

สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย กำหนดแนวปฏิบัติงานสื่อมวลชนในสถานการณ์การชุมนุม ร่วมกับกองบัญชาการตำรวจนครบาลนา...
27/06/2025

สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย กำหนดแนวปฏิบัติงานสื่อมวลชนในสถานการณ์การชุมนุม ร่วมกับกองบัญชาการตำรวจนครบาล

นางอุษา มีชารี อุปนายกฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ได้นำคณะตัวแทนสมาคมนักข่าว ประกอบด้วย นายชำนาญ ไชยศร อุปนายกฝ่ายกิจกรรมพิเศษ กรรมการสมาคมนักข่าว ฯ นายวิษณุ นุ่นทอง กรรมการสมาคมนักข่าวฯและอนุฯฝ่ายสิทธิ์ นายสุเมธ สมคะเน เลขาธิการสหภาพแรงงานกลางสื่อมวลชนไทย และคณะอนุกรรมการฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ และดร. โศภชา เอี่ยมโอภาส อนุฯฝ่ายสิทธิ์ เดินทางเข้าพบพล.ต.ท.สยาม บุญสม ผบช.น. พล.ต.ต.ธีรเดช ธรรมสุธีร์ รองผบช.น. และ พล.ต.ต.อัฏธพร วงศ์ศิริปรีดา ผบก.น.1 ที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล เมื่อวันที่ 26 มิ.ย.2568ที่ผ่านมา เพื่อทำความเข้าใจแนวทางการปฎิบัติร่วมกันต่อการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน กรณีกลุ่มมวลชนในนาม "คณะรวมพลังปกป้องอธิปไตย" นัดชุมนุมใหญ่เรียกร้องให้ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีลาออกจากตำแหน่ง ในวันที่ 28 มิถุนายน 2568 ที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

โดยนางอุษา กล่าวภายหลังการหารือว่า ได้รับมอบหมายให้นำแนวปฏิบัติของ 6 องค์กรสื่อประกอบด้วย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ และสหภาพแรงงานกลางสื่อมวลชนไทย ที่ได้เคยออกแนวปฏิบัติไว้โดยเน้นในเรื่องสัญลักษณ์ปลอกแขน ที่ออกให้โดยศูนย์ประสานงานสื่อมวลชนในสถานการณ์การชุมนุม (ศปสช.) จัดตั้งขึ้นโดยองค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนองค์กรวิชาชีพสื่อ 6 องค์กร ในการปฏิบัติหน้าที่พื้นที่ที่มีการชุมนุม ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจได้รับทราบ ว่า มีลักษณะ "สีฟ้า" ทาบด้วยตัวอักษรภาษาอังกฤษสีขาวว่า "PRESS" มีแถบสะท้อนแสงสีเทา ปลอกแขนจะมีตัวเลข (Serial Number) ที่บ่งบอกว่า เป็นนักข่าวสังกัดสำนักข่าวใด สามารถตรวจสอบความได้

ทั้งนี้ ปลอกแขนสำหรับสื่อมวลชนดังกล่าว ใช้ในการลงพื้นที่ทำข่าวการชุมนุมเป็นไปตามหลักสากลที่สื่อมวลชนหลายประเทศพึงใช้ที่ต้องการเสรีภาพในการทำข่าวการชุมนุม ผู้ปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับปลอกแขนไม่ได้มีสิทธิพิเศษมากกว่าบุคคลทั่วไป กรณีมีการใช้ปลอกแขนผิดจุดประสงค์ หรือกระทำผิดซึ่งหน้า ถือเป็นความผิดตามกฎหมายที่ต้องรับผิดชอบด้วยตัวเอง

จากการหารือกับกองบัญชาการตำรวจนครบาล (บชน.)ครั้งนี้ ได้แนวทางปฏิบัติร่วมกันดังนี้ โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจจะช่วยอำนวยความสะดวกให้สื่อมวลชนปฏิบัติหน้าที่รายงานข่าวของสื่อมวลชนได้อย่างอิสระ แต่หากมีเหตุการณ์เพิ่มระดับไม่ปลอดภัย จะมีการประกาศให้ทราบทุกครั้งก่อนปฏิบัติการในแต่ละขั้นตอนตามข้อบังคับของกฎหมาย ทางบชน.ได้ขอให้ผู้ปฏิบัติหน้าที่รายงานข่าวการชุมนุม ต้องสวมปลอกแขนสื่อมวลชนที่ 6 องค์กรสื่อได้ออกให้ขณะปฏิบัติหน้าที่ เพื่อความชัดเจน

นางอุษา กล่าวอีกว่า สำหรับสื่อมวลชนผู้ปฏิบัติหน้าที่ที่ยังไม่ได้ปลอกแขน ให้ทางสำนักงานต้นสังกัดตรวจสอบและขอตามหลักเกณฑ์ที่ 6 องค์กรสื่อได้กำหนดไว้แล้ว เพื่อการตรวจสอบตัวตนและป้องกันการแอบอ้าง ปัจจุบันนี้มีองค์กรสื่อมวลชนที่ได้ติดต่อ ลงทะเบียนและขอรับปลอกแขนไปแล้วจำนวน 995 ชิ้น 88 องค์กร ทั้งนี้อยากให้สำนักข่าวที่รับไปแล้ว สำรวจเพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าปฏิบัติหน้าที่และความปลอดภัยของบุคลากรในองค์กรสื่อเอง
“กรณีที่มีการสูญหาย หรือชำรุดเสียหาย ต้นสังกัดนั้นๆ ต้องดำเนินการแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐาน และนำแจ้ง ศปสช. หรือสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ให้ทราบโดยทันที เพื่อป้องกันบุคคลผู้ไม่หวังดีนำปลอกแขนสัญลักษณ์สื่อไปใช้นอกเหนือจากการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนในทำนองการกระทำผิดกฎมาย”นางอุษา กล่าว

สำหรับสื่อมวลชนองค์กรใดที่ประสงค์ขอรับปลอกแขนให้สำนักข่าว/ต้นสังกัด ออกหนังสือรับรองการเป็นพนักงานของสื่อมวลชน ที่มีความจำเป็นลงพื้นที่รายงานข่าวการชุมนุม โดยมีรายละเอียดที่ต้องระบุ คือ ชื่อ นามสกุล ตำแหน่ง เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้ อีเมล และไอดี Line ระบุในเอกสารรับรอง จัดส่งเอกสารทางอีเมล์สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย [email protected] เพื่อผู้ปฏิบัติหน้าที่สื่อมวลชนจะได้รับความไว้วางใจจากเจ้าหน้าที่และผู้ร่วมชุมนุม ว่าเป็นผู้ที่เข้าไปทำหน้าที่ในฐานะสื่อมวลชนตามจริยธรรมวิชาชีพ ไม่ได้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งส่วนใดของคู่ขัดแย้งไม่ว่าฝ่ายใดก็ตาม

สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
27 มิถุนายน 2568

ประกาศรายชื่อผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเข้าอบรมเซฟตี้ 14“การรายงานข่าวในภาวะวิกฤตและสาธารณภัย”สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห...
26/06/2025

ประกาศรายชื่อผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเข้าอบรมเซฟตี้ 14“การรายงานข่าวในภาวะวิกฤตและสาธารณภัย”

สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้พิจารณาคัดเลือกผู้เข้าร่วมการอบรมหลักสูตร เซฟตี้ 14 การอบรมเชิงปฏิบัติการการรายงานข่าวในภาวะวิกฤตและสาธารณภัย”

ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันพฤหัสบดีที่ 10 – วันอาทิตย์ที่ 13 กรกฎาคม 2568 ณ Montoro Resort อำเภอหนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 32 คน ประกอบด้วยสื่อมวลชนจากแขนงต่าง ๆ

https://tja.or.th/view/thaimediafund/1454971

สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯร่วมแสดงความยินดีครบรอบก้าวสู่ปีที่ 75 หนังสือพิมพ์สยามรัฐวันที่ 25  มิ.ย. 2568 นางสาวน.รินี...
25/06/2025

สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯร่วมแสดงความยินดีครบรอบก้าวสู่ปีที่ 75 หนังสือพิมพ์สยามรัฐ

วันที่ 25 มิ.ย. 2568 นางสาวน.รินี เรืองหนู นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยพร้อมด้วยที่ปรึกษา และ กรรมการบริหารสมาคมฯ ร่วมแสดงความยินดีในโอกาสก้าวสู่ปีที่ 75 หนังสือพิมพ์สยามรัฐ โดยมีนายกตพล คงอุดม รองประธานกรรมการ กรรมการผู้จัดการ บริษัท สยามรัฐ จำกัด ให้การต้อนรับ ณ อาคารสำนักงาน บริษัท สยามรัฐ จำกัด

“ห้องเรียนสาธารณะภาคใต้” ภายใต้โครงการเสริมสร้างทักษะการรู้เท่าทันและเฝ้าระวังสื่อฯ โดยสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯ ร่วม...
24/06/2025

“ห้องเรียนสาธารณะภาคใต้” ภายใต้โครงการเสริมสร้างทักษะการรู้เท่าทันและเฝ้าระวังสื่อฯ โดยสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯ ร่วมกับกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยฯ และคณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี โดยมี นายอัฟนัน อับดุลเลาะ หัวหน้ากิจกรรมห้องเรียนสาธารณะภาคใต้ สมาคมนักข่าวฯ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภีรกาญจน์ ไค่นุ่นนา คณบดีคณะวิทยาการสื่อสาร ร่วมเปิดงาน

(เมื่อ 21 มิ.ย. ที่ผ่านมา) ต้อนรับนักศึกษา 33 คน จาก 4 มหาวิทยาลัยภาคใต้ (มทร.ศรีวิชัย , ม.อ.ปัตตานี , ม.ทักษิณ , ม.ฟาฎอนี) เข้าอบรมเชิงปฏิบัติการเข้มข้น 3 วัน 2 คืน เน้นลงพื้นที่จริง แลกเปลี่ยนความรู้ และสร้างเครือข่าย เตรียมพร้อมสู่การเป็นนักสื่อสารมวลชนคุณภาพ ด้วยธีมหลัก: รู้เท่าทันสื่อ, คุณค่าทางวารสารศาสตร์-จริยธรรม, และทักษะเฉพาะด้าน

มะกันภายใต้ทรัมป์: วิกฤตสื่อเสรีในดินแดนแห่งเสรีภาพ   นับตั้งแต่ที่โดนัลด์ ทรัมป์กลับมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของสหรัฐอเ...
24/06/2025

มะกันภายใต้ทรัมป์: วิกฤตสื่อเสรีในดินแดนแห่งเสรีภาพ

นับตั้งแต่ที่โดนัลด์ ทรัมป์กลับมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาเป็นสมัยที่ 2 เมื่อช่วงปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา เกิดการเปลี่ยนแปลงที่อาจกล่าวได้ว่าเป็นความวุ่นวายขึ้นมากมาย นอกเหนือไปจากกำแพงภาษีที่สั่นสะเทือนเศรษฐกิจระหว่างประเทศทั่วโลก หนึ่งในเรื่องภายในประเทศที่น่าเป็นห่วงคือเสรีภาพสื่อที่ได้รับผลกระทบอย่างหนัก ทั้งการตัดสิทธิของสื่อบางรายไม่ให้เข้าทำข่าวในทำเนียบขาว หรือแม้กระทั่งกรณีตำรวจยิงนักข่าวด้วยกระสุนยาง สื่อหลายเจ้าในสหรัฐได้ออกมาวิจารณ์การบริหารของทรัมป์ว่าลิดรอนเสรีภาพสื่อ รวมถึงองค์กรไม่แสวงผลกำไรด้านสื่ออย่าง “the Committee to Protect Journalists” (CPJ) หรือคณะกรรมาธิการปกป้องนักข่าว ที่ระบุว่า “Press freedom is no longer a given in the United States…” หรือ เสรีภาพสื่อในสหรัฐไม่ใช่สิ่งที่รับประกันได้อีกต่อไป ถือว่าเป็นการส่งสัญญาณเตือนที่หนักแน่นถึงวิกฤตที่กำลังก่อตัวขึ้นในประเทศที่เคยได้ชื่อว่าเป็นดินแดนแห่งเสรีภาพแห่งนี้

รัฐบาลทรัมป์ 100 วันแรก: จุดเริ่มต้นของวิกฤตสื่อ

รายงานพิเศษของ CPJ เรื่อง “Alarm Bells: Trump’s first 100 days ramp up fear for the press, democracy” ที่เผยแพร่เมื่อเดือนเมษายนภายหลังการดำรงตำแหน่งของทรัมป์ได้ 100 วัน ได้วิเคราะห์ความเคลื่อนไหวของรัฐบาลชุดใหม่ในช่วงต้นวาระ โดยพบว่ารัฐบาลชุดนี้มีพฤติกรรมและนโยบายที่เป็นภัยโดยตรงต่อเสรีภาพสื่อในสหรัฐ ไม่ว่าจะเป็นการจำกัดการเข้าถึงข้อมูล การใช้หน่วยงานกำกับดูแลเป็นเครื่องมือทางการเมือง ไปจนถึงการเปิดฉากโจมตีสื่ออย่างเป็นระบบ

แคทเธอรีน จาคอบเซน (Katherine Jacobsen) ผู้ประสานงานโครงการของ CPJ สำหรับภูมิภาคสหรัฐ แคนาดา และแคริบเบียน กล่าวว่า ปฏิบัติการเชิงรุกของทรัมป์ในช่วง 100 วันแรก สร้างผลกระทบอย่างลึกซึ้งต่อสภาพแวดล้อมการทำข่าวอย่างอิสระของสื่อทั่วประเทศ ทั้งนี้ CPJ ต้องให้คำปรึกษาด้านความปลอดภัยแก่ผู้สื่อข่าวมากกว่า 530 รายภายในเวลาเพียงไม่กี่เดือน ซึ่งสูงกว่าทั้งปี 2022 ที่มีเพียง 20 รายเท่านั้น

การกดดันสื่อในยุคนี้ของรัฐบาลทรัมป์ไม่ได้หยุดอยู่แค่การโจมตีด้วยคำพูดเหมือนในอดีต แต่ยกระดับไปสู่การกระทำที่มีผลเป็นรูปธรรมชัดเจน ตัวอย่างที่เด่นชัดคือ การตัดสิทธิของสำนักข่าวชื่อดังอย่าง Associated Press (AP) ออกจากวงผู้สื่อข่าวที่ทำเนียบขาว เนื่องจากสำนักข่าวดังกล่าวไม่ยอมใช้คำว่า “Gulf of America” แทน “Gulf of Mexico” การกระทำดังกล่าวสร้างผลกระทบอย่างมาก เพราะในความเป็นจริง AP ไม่ได้เป็นเพียงสำนักข่าวที่รายงานข่าวภายใต้องค์กรของตนแต่เพียงเท่านั้น แต่ยังเป็นแหล่งข่าวที่เชื่อถือได้ให้แก่สำนักข่าวท้องถิ่นหลายแห่ง รวมถึงสำนักข่าวอื่น ๆ ในต่างประเทศ ดังนั้นการแบน APจากการทำข่าวในทําเนียบขาวเป็นการจำกัดการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของสื่อขนาดเล็กโดยปริยาย

นับตั้งแต่ที่โดนัลด์ ทรัมป์กลับมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบด […]

24/06/2025

[Live] 13.00 น. เสวนา : AI กับจริยธรรมสื่อมวลชน (24 มิ.ย. 68)
ถอดรหัสความสัมพันธ์อันซับซ้อนระหว่างปัญญาประดิษฐ์ (AI) และจริยธรรมในยุคดิจิทัล กับเสวนา Side-Event “UNESCO Global Forum on the Ethics of AI 2025” จัดโดย สภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ และภาคีเครือข่าย

📌 ปาฐกถา หัวข้อ “AI กับจริยธรรมสื่อมวลชน : เมื่ออัลกอริทึมมีอิทธิพลต่อความจริง” โดย
🟠 ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย | ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค)

📌 เสวนา "ข้อเสนอเชิงนโยบายสาธารณะในประเด็นเรื่องสื่อและจริยธรรม AI" โดย
🟠 รศ. ดร.อลงกรณ์ ปริวุฒิพงศ์ | รองคณบดี คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
🟠 นายจีรพงษ์ ประเสริฐพลกรัง | เลขาธิการสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
🟠 นายนันทสิทธิ์ นิตย์เมธา | นายกสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์
🟠 นายระวี ตะวันธรงค์ | กรรมการจริยธรรม สภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ
🟠 นางสาวชุตินธรา วัฒนกุล | บรรณาธิการบริหารข่าวออนไลน์ ไทยพีบีเอส

🗓️ วันอังคารที่ 24 มิถุนายน 2568
⏰ เวลา 12.30 - 16.00 น.
📍 ห้องประชุม ดร.เทียม โชควัฒนา ชั้น 4 อาคารมงกุฎสมมุติวงศ์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

📌 ไทยพีบีเอส ถ่ายทอดสด เฉพาะทางออนไลน์ รับชมได้ทาง
• Website : www.thaipbs.or.th/online

“สื่อนอกกระแส” นำ “สื่อหลัก”  ในสงครามข่าวไทย-กัมพูชา   ช่วงสถานการณ์ตึงเครียดระหว่างไทย - กัมพูชา หลังจากเกิดการปะทะกัน...
17/06/2025

“สื่อนอกกระแส” นำ “สื่อหลัก” ในสงครามข่าวไทย-กัมพูชา

ช่วงสถานการณ์ตึงเครียดระหว่างไทย - กัมพูชา หลังจากเกิดการปะทะกันที่บริเวณช่องบก จ.อุบลราชธานี เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม สถานการณ์ลากยาวจนกระทั่งวันนี้ แม้จะมีฝ่ายกัมพูชาปรับกำลัง กลับไปเหมือนสถานการณ์ปี 2567 พร้อมกับใช้กลไกหารือทวิภาคีเพื่อแก้ปัญหา

ทว่า สถานการณ์ที่มีความ “ล่อแหลม” และ “เปราะบาง” ด้านความมั่นคง เกิดขึ้นในยุคที่ “ใครๆ ก็เป็นสื่อได้” เพราะโซเชียลมีเดีย มีการตั้งคำถามกับบทบาทสื่อหลัก สื่อรอง สื่อส่วนบุคคล ที่ใช้ช่องทางโซเชียลมีเดีย สร้างคอนเทนต์เผยแพร่ต่อสาธารณชน แท้จริงแล้วควรเสนอข่าวอย่างไรในช่วงที่เกิดสถานการณ์วิกฤต

กองบรรณาธิการ “จุลสารราชดำเนิน” สนทนากับ “ศ.กิตติคุณ ดร.สุรชาติ บำรุงสุข” นักวิชาการด้านความมั่นคง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถึงบทบาทการทำหน้าที่สื่อ เขาบอกว่า ถึงเวลาแล้วที่ควรยกเครื่องหลักสูตรนิเทศศาสตร์ใหม่

อาจารย์สุรชาติ กล่าวว่า วันนี้ในสถานการณ์ความมั่นคงที่มีความล่อแหลมใกล้เป็นสงคราม หรือมีสถานะที่เป็นวิกฤต บทบาทของสื่อเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดเรื่องหนึ่ง ถามว่าเราเห็นบทบาทสื่อไหม คิดว่าเราเห็น แต่ในสถานการณ์ความตึงเครียดไทย-กัมพูชารอบนี้ บทบาทสื่อเป็นปัจจัยสำคัญอาจจะเป็นผลจากการที่เราเห็นการเปลี่ยนแปลงหรือการเข้ามาของโลกโซเชียลมีเดีย

ภาษาเดิมที่เราชอบใช้คือสื่อกระแสหลัก สื่อกระแสรอง วันนี้มีนิยามอีกคำหนึ่งคือ สื่อนอกกระแส แล้วสื่อนอกกระแสซึ่งเป็นบรรดาผู้คนทั้งหลาย ที่โพสต์กันหรือที่เราชอบพูดกันว่าในโลกออนไลน์สมัยใหม่ ทุกคนเป็นสื่อหมด

“เมื่อทุกคนเป็นสื่อหมด เราจะเห็นชัดคือ บทบาทของสื่อหลักวันนี้อาจจะน้อยมาก เพราะฉะนั้น จะเห็นสื่อนอกกระแสสร้างอารมณ์ความรู้สึกของประชาชน ผมเปรียบเทียบเสมอว่าในความรู้สึกของคน กรณีไทย-กัมพูชา คนอารมณ์พุ่ง และพุ่งเร็ว เหมือนอารมณ์คนแทบจะถึงยอดเขา ถ้าถึงยอดเขาก็คือการเข้าสงคราม แต่รัฐบาลต้วมเตี้ยมอยู่ที่ตีนเขา และไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร จะเห็นว่าสื่อของรัฐบาล คือ สำนักโฆษกรัฐบาล เหมือนกับไม่ทันการรับมือของสื่อในโลกปัจจุบัน”

“เมื่อเป็นอย่างนี้ เวลาถกบทบาทชองสื่อ ผมคิดว่าเป็นความยากลำบาก วันนี้สื่อกระแสรองแทบจะเป็นสื่อกระแสหลักอีกแบบหนึ่ง จนเส้นแบ่งสื่อหลัก สื่อรองแทบมองไม่เห็นแล้ว แต่เส้นแบ่งที่ใหญ่คือสื่อในระบบ กับ สื่อนอกระบบ หรือที่เรียกว่าสื่อนอกกระแส ถามว่าทำอย่างไร คำตอบคือไม่มีใครไปทำอะไรเขาได้”

………. ช่วงสถานการณ์ตึงเครียดระหว่างไทย – กัมพูชา ห […]

สมาคมนักข่าวฯ ผนึก มข.หนองคาย ปั้นนักสื่อสารรุ่นใหม่ภาคอีสาน ติดอาวุธ “รู้เท่าทันสื่อ-จริยธรรม” สร้างภูมิคุ้มกันดิจิทัลส...
16/06/2025

สมาคมนักข่าวฯ ผนึก มข.หนองคาย ปั้นนักสื่อสารรุ่นใหม่ภาคอีสาน ติดอาวุธ “รู้เท่าทันสื่อ-จริยธรรม” สร้างภูมิคุ้มกันดิจิทัล

สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยร่วมกับกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์และม.ขอนแก่นวิทยาเขตหนองคายจัด "ห้องเรียนสาธารณะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ" อบรมเข้มข้น ๓๘ นักศึกษาจาก ๕ มหาวิทยาลัยมุ่งสร้างนักสื่อสารมวลชนคุณภาพรู้เท่าทันข้อมูลเฟ้นหาความจริงพร้อมปลูกฝังจริยธรรมรับผิดชอบต่อสังคม

หนองคาย – สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เดินหน้าเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้วงการสื่อสารมวลชนไทย โดยร่วมกับ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ และคณะสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย จัดกิจกรรม "ห้องเรียนสาธารณะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ" ขึ้นอย่างประสบความสำเร็จ ระหว่างวันที่ ๑๓-๑๕ มิถุนายน ๒๕๖๘ ณ โรงแรมพันล้านรีสอร์ท จังหวัดหนองคาย โดยมีนักศึกษาสาขาวารสารศาสตร์และนิเทศศาสตร์ จาก ๕ สถาบันอุดมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน ๓๘ คน เข้าร่วม ได้แก่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย, มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี และมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

เพิ่มเติม https://tja.or.th/view/thaimediafund/1454920

16/06/2025

รายการ "ช่วยกันคิดทิศทางข่าว"
วันอาทิตย์ที่ 15 มิถุนายน 2568 เวลา 11.00-12.00 น.
โดย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับ
คลื่นข่าว MCOT News FM 100.5​

ดำเนินรายการโดย
พรทิวา กันธิยาใจ (วิป) และทศ ลิ้มสดใส (ทศ)
สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

ช่วงที่ 1 : ลุ้นผู้ว่าแบงก์ชาติคนใหม่
สัมภาษณ์ : นครินทร์ ศรีเลิศ หัวหน้าข่าวเศรษฐกิจ - นโยบาย กรุงเทพธุรกิจ

ช่วงที่ 2 : เจาะพื้นฐานเศรษฐกิจกัมพูชาเติบโตจากธุรกิจอะไร?

แถลงการณ์สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยเรื่อง การกระทำที่เข้าข่ายคุกคามสื่อมวลชน ประจำทำเนียบรัฐบาลสมาคมนักข่า...
11/06/2025

แถลงการณ์สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
เรื่อง การกระทำที่เข้าข่ายคุกคามสื่อมวลชน ประจำทำเนียบรัฐบาล


สมาคมนักข่าวฯ แถลงการณ์ เตือนทีมงานนายกฯ กรณีถ่ายภาพและเผยแพร่ใบหน้าสื่อมวลชนที่ตั้งคำถามปมพิพาท ‘ไทย-กัมพูชา’ อาจเข้าข่ายคุกคาม สร้างบรรยากาศแห่งความกลัว หวังให้รัฐบาล เคารพเสรีภาพสื่อ และสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการทำหน้าที่อย่างปลอดภัย


สืบเนื่องจากกรณีที่มีข่าวว่า ทีมงานด้านภาพลักษณ์และสื่อสังคมออนไลน์ของนายกรัฐมนตรีได้บันทึกภาพสื่อมวลชนขณะปฏิบัติหน้าที่ตั้งคำถามต่อน.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีเกี่ยวกับแนวทางการแก้ไขปัญหาพิพาทชายแดนไทย–กัมพูชา เมื่อวันศุกร์ที่ 6 มิถุนายน 2568 ภายหลังการประชุมสภาความมั่นคงแห่งชาติ โดยต่อมา ภาพใบหน้าของผู้สื่อข่าวดังกล่าวได้ถูกเผยแพร่ผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ และปรากฏว่าถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงจากกลุ่มผู้สนับสนุนนายกรัฐมนตรี เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเพียงไม่กี่วันหลังจากที่นายกรัฐมนตรีแสดงปฏิกิริยาไม่พึงพอใจต่อคำถามของสื่อมวลชนเกี่ยวกับประเด็นเดียวกัน ณ ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งทั้งหมดนี้ก่อให้เกิดความกังวลใจต่อบรรยากาศในการทำหน้าที่ของผู้สื่อข่าวประจำทำเนียบรัฐบาล


สมาคมนักข่าวฯ ขอแสดงความไม่สบายใจต่อเหตุการณ์ดังกล่าว และขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องตระหนักถึงผลกระทบของการกระทำที่อาจเป็นการคุกคามต่อเสรีภาพของสื่อมวลชน โดยมีข้อสังเกต ดังนี้
1. การบันทึกภาพสื่อมวลชนเฉพาะเจาะจงระหว่างการตั้งคำถามต่อผู้บริหารประเทศ และการเผยแพร่ภาพดังกล่าวต่อสาธารณะ อาจถูกมองว่าเป็นการกดดันหรือข่มขู่ ซึ่งกระทบต่อบรรยากาศการทำงานของสื่อมวลชน และบั่นทอนหลักเสรีภาพในการนำเสนอข่าวสารและการตั้งคำถามอันเป็นหัวใจของวิชาชีพในระบอบประชาธิปไตย
2. พฤติกรรมดังกล่าวก่อให้เกิดบรรยากาศความหวาดกลัวในการปฏิบัติหน้าที่ของสื่อ โดยเฉพาะในการสอบถามประเด็นอ่อนไหวที่ประชาชนให้ความสนใจและต้องการคำชี้แจงจากรัฐบาล
3. สมาคมฯ ขอเรียกร้องให้ทีมงานนายกรัฐมนตรีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หยุดพฤติกรรมที่อาจถูกตีความว่าเป็นการคุกคามสื่อมวลชน และขอให้รัฐบาลส่งเสริมเสรีภาพสื่อโดยสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและเป็นอิสระในการปฏิบัติงานของสื่อมวลชน


สมาคมนักข่าวฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่ารัฐบาลจะให้ความสำคัญกับบทบาทของสื่อในฐานะกลไกตรวจสอบและกระบอกเสียงของประชาชน พร้อมทั้งขอให้ทุกฝ่ายเคารพเสรีภาพในการนำเสนอข้อมูลข่าวสาร และร่วมกันสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการทำงานของสื่อมวลชนอย่างมีคุณภาพและเป็นอิสระ

สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
11 มิถุนายน 2568

https://tja.or.th/view/activities/bulletin/1454907

ที่อยู่

Dusit

เวลาทำการ

จันทร์ 10:00 - 18:00
อังคาร 10:00 - 18:00
พุธ 10:00 - 18:00
พฤหัสบดี 10:00 - 18:00
ศุกร์ 10:00 - 18:00

เบอร์โทรศัพท์

+6626689422

เว็บไซต์

https://photogallery.tja.or.th/

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย Thai Journalists Associationผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ ธุรกิจของเรา

ส่งข้อความของคุณถึง สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย Thai Journalists Association:

แชร์