Salika พื้นที่ของความรู้และความคิดสร้างสรรค์เพื่อการ
เปลี่ยนแปลง จากการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมมาพัฒนาศักยภาพของผู้คน สังคม และธุรกิจ

เพราะโลกวันนี้ ผู้ที่ได้เปรียบในการแข่งขันบนเวทีการค้าโลกไม่ใช่แค่ “ใครผลิตได้ถูกกว่า” แต่คือ “ใครเชื่อมโยงซัพพลายเชนได้...
15/07/2025

เพราะโลกวันนี้ ผู้ที่ได้เปรียบในการแข่งขันบนเวทีการค้าโลกไม่ใช่แค่ “ใครผลิตได้ถูกกว่า” แต่คือ “ใครเชื่อมโยงซัพพลายเชนได้แข็งแรง ยืดหยุ่น และทันโลกกว่ามากกว่า ถึงจะมีโอกาสกำชัยชนะมนการแข่งขันนี้ ยิ่งในอุตสาหกรรม EV และเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งมีการแข่งขันกันอย่างดุเดือด ใครที่เร็วกว่า เข้าถึงเทคโนโลยีล้ำสมัยได้เร็วกว่า บริหารต้นทุนได้คุ้มค่ากว่าด้วย การใช้ Local Content หรือชิ้นส่วนในประเทศ บริษัทนั้นย่อมมีแต้มต่อเหนือคู่แข่ง เนื่องจากผู้ผลิตทั่วโลกหันมาให้ความสำคัญกับ “ประสิทธิภาพการผลิต” ควบคู่กับ “ความมั่นคงของห่วงโซ่อุปทาน” นั่นเอง
ด้วยเหตุนี้ เราจึงเดินทางมาถึงจุดที่การพัฒนา “Local Content ไทย” ไม่ใช่แค่ทางเลือกด้านต้นทุนอีกต่อไปแล้ว
แต่กลายเป็น “แต้มต่อเชิงกลยุทธ์” ที่ช่วยเชื่อมโยงผู้ผลิตไทยเข้าสู่ซัพพลายเชนโลก เสริมความยืดหยุ่น ลดความเสี่ยง และสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันระยะยาว
และล่าสุด ยังมีข่าวดีจาก สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ที่ได้มีมติเห็นชอบ “มาตรการส่งเสริมการใช้ชิ้นส่วนในประเทศ (Local Content)” เพื่อกระตุ้นให้นักลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าและเครื่องใช้ไฟฟ้าซื้อวัตถุดิบในประเทศมากขึ้นเป็นการเพิ่มโอกาสทางธุรกิจและผลักดันผู้ประกอบการไทยเข้าสู่ Supply Chain ระดับโลก
โดยมาตรการนี้ ถือเป็นหนึ่งในชุดมาตรการส่งเสริมศักยภาพของผู้ประกอบการไทยเพื่อรองรับโลกยุคใหม่ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการไทยให้เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ควบคู่กับการปกป้องอุตสาหกรรมที่มีความเปราะบาง รักษาระดับการแข่งขันให้เหมาะสม พร้อมลดความเสี่ยงจากมาตรการการค้าของสหรัฐฯ...............................................................................................
โดยในการประชุมบอร์ดบีโอไอครั้งก่อน ได้ออกมาตรการต่างๆ แล้ว ดังนี้
1. ส่งเสริมให้ SMEs ไทย ปรับปรุงประสิทธิภาพ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
2. งดส่งเสริมกิจการที่มีภาวะสินค้าล้นตลาด (Oversupply) เช่น เหล็กทรงยาว เหล็กแผ่นรีดร้อน ท่อเหล็ก และกิจการที่มีความเสี่ยงต่อมาตรการการค้าของสหรัฐฯ เช่น การผลิตแผงโซลาร์
3. เพิ่มความเข้มข้นในการพิจารณากระบวนการผลิตที่เป็นสาระสำคัญของโครงการที่จะขอรับการส่งเสริม เพื่อป้องกันการสวมสิทธิและให้มีมูลค่าเพิ่มจากการผลิตในประเทศไทยมากขึ้น
4. กำหนดสัดส่วนการจ้างงานบุคลากรไทยมากกว่าร้อยละ 70 ในกิจการผลิต และกำหนดเงื่อนไขเงินเดือนขั้นต่ำ 50,000-150,000 บาท สำหรับบุคลากรต่างชาติ เพื่อคัดกรองเฉพาะต่างชาติที่มีความเชี่ยวชาญสูง................................................................................................
และล่าสุดบีโอไอได้ออก “มาตรการส่งเสริมการใช้ชิ้นส่วนในประเทศ (Local Content)” เพื่อปลดล็อกโอกาสใหม่ให้ผู้ผลิตไทยก้าวสู่แถวหน้าในห่วงโซ่โลกโดยเฉพาะในอุตสาหกรรมเป้าหมายอย่าง EV และเครื่องใช้ไฟฟ้าเพิ่มเติม คือ
1. ลดการพึ่งพาการนำเข้า ได้แต้มภาษีเพิ่มอีก 2 ปี
จูงใจผู้ประกอบการใช้ชิ้นส่วนในประเทศ โดยส่งเสริมให้เลือกใช้ชิ้นส่วนจากผู้ผลิตในไทยแทน หากใช้ชิ้นส่วนในประเทศตามสัดส่วนที่กำหนด และได้การรับรอง MiT (Made in Thailand) จะได้สิทธิ ลดหย่อนภาษีนิติบุคคล 50% เพิ่มเติมอีก 2 ปี
2. เปิดทางผู้ประกอบการไทยเข้าสู่ Global Supply Chain อย่างแท้จริง
ผลักดัน การใช้ Local Content มาต่อเนื่องผ่านกิจกรรมอย่าง เช่น Subcon Thailand และ Sourcing Day ทำให้วันนี้ผู้ผลิตต่างชาติจำนวนมากเริ่มหันมาใช้ชิ้นส่วนจากไทย สร้างโอกาสใหม่ให้ผู้ผลิตไทย โดยเฉพาะ SMEs ที่มีศักยภาพในการผลิตวัตถุดิบและชิ้นส่วนคุณภาพสูง
3. ยกระดับความร่วมมือในประเทศ สู่การพัฒนาเทคโนโลยีร่วมกัน
เมื่อมีการใช้ชิ้นส่วนในประเทศมากขึ้น โอกาสในการร่วมพัฒนา (Co-develop) ระหว่างผู้ผลิตไทยกับบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ก็จะมากขึ้น ทำให้เกิดการถ่ายทอดความรู้ ยกระดับมาตรฐาน และพัฒนาแรงงานไทยไปพร้อมกัน
4. กระจายเม็ดเงินสู่ระบบเศรษฐกิจ เสริมเศรษฐกิจไทยให้แข็งแกร่ง
นโยบาย Local Content คือ การสร้าง “การเติบโตแบบหมุนเวียนในประเทศ” เป็นการยกระดับมาตรฐานการผลิตและความยั่งยืนในระยะยาว...............................................................................................
โดยในประเด็นการสนับสนุนการใช้วัตถุดิบในประเทศ MiT ใน “มาตรการส่งเสริมการใช้ชิ้นส่วนในประเทศไทย” (Local Content) ที่บอร์ดบีโอไอ ได้เห็นชอบเพิ่มเติมในครั้งนี้ จะใช้สำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า BEV, PHEV, ชิ้นส่วนยานยนต์ไฟฟ้า และเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งจะกำหนดสัดส่วน ดังนี้ หากโครงการยานยนต์ไฟฟ้า BEV และเครื่องใช้ไฟฟ้า มีการใช้ชิ้นส่วนในประเทศมากกว่าร้อยละ 40, PHEV ที่มีการใช้ชิ้นส่วนในประเทศมากกว่าร้อยละ 45 และชิ้นส่วนยานยนต์ไฟฟ้าที่มีการใช้วัตถุดิบในประเทศมากกว่าร้อยละ 15 ของมูลค่าวัตถุดิบทั้งหมด และได้รับการรับรองสินค้าที่ผลิตในประเทศไทย (Made in Thailand: MiT) จากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จะได้รับลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 50 เพิ่มเติมอีก 2 ปี
ทั้งนี้ ที่ผ่านมา บีโอไอได้สนับสนุนให้บริษัทที่เข้ามาลงทุนใช้ชิ้นส่วนจากผู้ประกอบการในประเทศผ่านการจัดกิจกรรม Subcon Thailand และ Sourcing Day อย่างต่อเนื่อง ทำให้ในปัจจุบันผู้ผลิตจากต่างประเทศเริ่มมีการใช้วัตถุดิบในประเทศมากขึ้น แต่เพื่อเร่งรัดให้เกิดการใช้ Local Content สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมเป้าหมาย อย่างยานยนต์ไฟฟ้าและเครื่องใช้ไฟฟ้า
โดยบีโอไอจึงได้หารือร่วมกับสภาอุตสาหกรรมฯ สถาบันยานยนต์ และสถาบันไฟฟ้าฯ เพื่อเสนอมาตรการส่งเสริมการใช้ Local Content ที่จะช่วยกระตุ้นให้เพิ่มสัดส่วนการใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตในประเทศตามที่บอร์ดบีโอไอกำหนด จึงจะสามารถขอรับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมได้ ซึ่งมาตรการนี้จะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มในประเทศ กระตุ้นให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยี และเสริมสร้าง Supply Chain ในประเทศให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ดี อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าและเครื่องใช้ไฟฟ้า ถือเป็นอุตสาหกรรมสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ทั้งด้านเม็ดเงินลงทุน การจ้างงาน การส่งออก การพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี และการเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมชิ้นส่วนในประเทศ โดยที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี 2565 ถึงเดือนพฤษภาคม 2568 มีโครงการขอรับการส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วน รวมทั้งสิ้น 65 โครงการ เงินลงทุนรวมกว่า 96,000 ล้านบาท และอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า มีจำนวน 68 โครงการ เงินลงทุนรวมกว่า 96,800 ล้านบาท...............................................................................................
https://www.salika.co/2025/07/14/local_content_industry_thailand_investment_policy/
Knowledge Sharing Space | www.salika.co
#ผู้ประกอบการไทย #มาตรการส่งเสริมการใช้ชิ้นส่วนในประเทศ #อุตสาหกรรม #เครื่องใช้ไฟฟ้า

กรมสรรพสามิตเตรียมเสนอคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ (บอร์ดอีวี) สร้างกระบวนการและเงื่อนไขที่เหมาะสม เพื่อลงโทษ หร...
15/07/2025

กรมสรรพสามิตเตรียมเสนอคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ (บอร์ดอีวี) สร้างกระบวนการและเงื่อนไขที่เหมาะสม เพื่อลงโทษ หรือระงับการจ่ายเงินชดเชยให้ผู้ประกอบการผลิตรถยนต์อีวีที่ผิดเงื่อนไขการผลิตรถชดเชยคืนไม่ทันตามสัญญา จากมาตรการส่งเสริมอีวี หากได้รับการอนุมัติแล้ว โดยบริษัทรถยนต์ที่เข้าร่วมโครงการ และได้รับสิทธิประโยชน์ในการนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้ามาจำหน่ายก่อน แต่ไม่สามารถผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศเพื่อชดเชยได้ทันตามกำหนดภายในวันที่ 31 ธ.ค. 2568 จะต้องถูกเรียกเก็บค่าปรับและสิทธิประโยชน์ต่างๆ คืนแก่รัฐ
สำหรับการเสนอบอร์ดอีวีนั้น จะกำหนดให้คนที่มารับเงื่อนไข EV 3.00 และ EV 3.5 ต้องทำแผนการผลิตในทุกๆ เดือน หากเดือนใดไม่สามารถทำได้ถึง 30% ของแผนการผลิต เช่น ระบุว่าเดือน ม.ค. จะผลิตได้ 10 คัน แต่ผลิตได้ไม่ถึง 3 คัน ก็จะโดนใบเหลือง และหากเป็นเช่นนี้ต่อกันอีก 2 เดือน ก็จะโดนใบแดง คือ สรรพสามิตมีอำนาจในการระงับการจ่ายเงินชดเชยทันที เรียกคืนเงินอุดหนุนพร้อมดอกเบี้ย โดยเริ่มคำนวณตั้งแต่วันที่บริษัทได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐจนถึงวันที่ชำระคืนครบถ้วน
https://www.salika.co/2025/07/14/salika-news-vol-195-6/
Knowledge Sharing Space | www.salika.co

มีนาคม 2025 โลกต้องเผชิญกับฉากเปลี่ยนสำคัญในสมรภูมิข้อมูลข่าวสาร เมื่อประเทศที่เคยใช้สื่อเป็นอาวุธหลักเพื่อเผยแพร่ค่านิย...
15/07/2025

มีนาคม 2025 โลกต้องเผชิญกับฉากเปลี่ยนสำคัญในสมรภูมิข้อมูลข่าวสาร เมื่อประเทศที่เคยใช้สื่อเป็นอาวุธหลักเพื่อเผยแพร่ค่านิยมประชาธิปไตยอย่างสหรัฐอเมริกา กลับ “ล้มหมาก” ของตัวเอง ด้วยการยุบองค์กรสื่อระดับโลกอย่าง Voice of America (VOA) ท่ามกลางเสียงตกตะลึงจากทั่วโลก พร้อมเปิดพื้นที่ให้พญามังกรอย่าง “จีน” ก้าวขึ้นเวทีอย่างสง่างาม
และเหนือสิ่งอื่นใด ไม่มีใครต้านได้ นี่ไม่ใช่แค่การปิดสถานีข่าว แต่คือการปิด “ประตูอิทธิพล” ที่สหรัฐฯ เคยใช้ขับเคลื่อนแนวคิดประชาธิปไตยไปทั่วโลกมาตลอด 80 ปี ขณะเดียวกัน จีนไม่รอช้า…ค่อยๆ วางหมากอย่างสุขุม สอดแทรกกลยุทธ์ผ่านข่าวสาร รายการวัฒนธรรม ภาพยนตร์ ซีรีส์ โซเชียลมีเดีย และคอนเทนต์ดิจิทัลหลากรูปแบบ เข้าสู่พื้นที่ที่อเมริกาละทิ้งไปอย่างแนบเนียน
หลังจากในเดือนมีนาคม 2025 ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ลงนามคำสั่งฝ่ายบริหารเพื่อยุบ U.S. Agency for Global Media ซึ่งเป็นองค์กรหลักในการดำเนินกิจการสื่อระหว่างประเทศของสหรัฐฯ ภายใต้การสนับสนุนจากรัฐบาล รวมถึง Voice of America (VOA) ด้วย ผลลัพธ์คือการปิดตัวของสถานีที่เคยเป็นกระบอกเสียงประชาธิปไตย (ในแบบฉบับที่สหรัฐฯอวดอ้างว่าดีเด่นกว่าใคร) ไปยังนานาประเทศมายาวนานกว่า 80 ปี พนักงานกว่า 1,000 คนถูกเลิกจ้าง การออกอากาศภาษาต่างประเทศหลายสิบภาษาต้องยุติลงฉับพลัน
รัฐบาลทรัมป์ให้เหตุผลว่า VOA เป็นสื่อที่ล้าสมัยและมีอคติ แต่มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์โต้กลับว่านี่คือการทำลายเครื่องมือสำคัญในการต่อต้านโฆษณาชวนเชื่อของระบอบเผด็จการ และเป็นการเปิดทางให้มหาอำนาจคู่แข่งโดยเฉพาะ “จีน” ก้าวเข้ามาเติมช่องว่างที่สหรัฐฯ ละทิ้งไป
เมื่อ “เสียงของอเมริกา” เงียบลง พื้นที่ในสื่อโลกจำนวนมาก โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา กลับถูกเติมเต็มอย่างรวดเร็วด้วย “เสียงของจีน” ผ่านเครือข่ายสื่อชั้นนำของรัฐ ไม่ว่าจะเป็น Xinhua, China Global Television Network (CGTN) หรือแพลตฟอร์มต่างๆ ที่จีนให้การสนับสนุนในระดับภูมิภาค
เห็นได้ชัดเจนว่าจีนเร่งขยายอิทธิพลสื่อทั่วโลก หลังสหรัฐฯ ปิด VOA แต่จีนไม่ได้เริ่มต้นจากการแข่งแบบปะทะตรงกับ Voice of America หรือสื่อโลกตะวันตกอื่นๆ แต่เลือก รอจังหวะ อย่างชาญฉลาด และทันทีที่ VOA ล่มสลาย จีนก็ไม่เพียงเข้ามาแทนที่ แต่กลับขยายอิทธิพลแบบมีทิศทาง นี่ไม่ใช่แค่การรีบคว้าไมโครโฟนที่ตกลงพื้น…แต่คือการออกแบบเวทีใหม่ แล้วพูดในสิ่งที่โลกต้องรู้!
จีนไม่เพียงขยายพื้นที่การออกอากาศ แต่ยังออกแบบกลยุทธ์เพื่อครอบครองใจผู้ชมในระดับรากหญ้า ทั้งผ่านการร่วมมือกับสื่อท้องถิ่น การผลิตคอนเทนต์ภาษาพื้นถิ่น การถ่ายทอดแนวคิดของ “จีนยุคใหม่” และการบูรณาการกับยุทธศาสตร์ทางการทูตวัฒนธรรมอย่างแนบเนียน
อินโดนีเซียถือเป็นตัวอย่างเด่นของความสำเร็จในยุทธศาสตร์สื่อจีน Xinhua และ CGTN เข้าร่วมมือกับสื่อท้องถิ่น ผลิตรายการสองภาษา พร้อมสอดแทรกเนื้อหาเกี่ยวกับวัฒนธรรมจีน โครงการ Belt and Road Initiative (BRI) และมุมมองการเมืองแบบปักกิ่งที่ “นุ่มนวลแต่ทรงพลัง”
ก่อนหน้านี้ ชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลในอินโดนีเซียจะได้รับข้อมูลทั้งจาก VOA และ CGTN แต่ปัจจุบัน เหลือเพียงสื่อจีนที่ยังดำรงอยู่ในช่วงเวลาเดิม และขยายอิทธิพลแบบไร้คู่แข่ง
นอกจากนี้ แพลตฟอร์มสื่อโทรทัศน์อย่าง StarTimes ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลจีน ยังกระจายการออกอากาศในกว่า 25 ประเทศในแอฟริกา โดยให้บริการฟรีหรือมีค่าบริการต่ำเป็นพิเศษ ทั้งยังมีหนังสือพิมพ์และเว็บไซต์ข่าวที่ผลิตเนื้อหาในภาษาท้องถิ่น เพื่อนำเสนอภาพลักษณ์เชิงบวกของจีน และลดทอนมุมมองวิพากษ์แบบตะวันตก
กลยุทธ์ที่จีนใช้ได้ผลคือการจับมือกับสื่อท้องถิ่นการลงนามข้อตกลงร่วมผลิตหรือเผยแพร่เนื้อหาร่วมกันกับสถานีโทรทัศน์ท้องถิ่น ช่วยให้ข่าวของจีนถูกนำเสนอผ่านช่องทางที่ได้รับความเชื่อถือในประเทศนั้นๆ โดยไม่จำเป็นต้องสร้างแบรนด์ใหม่
นี่คือยุทธศาสตร์ที่เหนือชั้นที่สุด เพราะการใช้สื่อดิจิทัลและโซเชียลมีเดียภาษาท้องถิ่น จ้างนักข่าวท้องถิ่น บอกเล่าเรื่องจีนผ่านมุมมอง “ของเรา เพื่อเรา” แทนที่จะใช้เสียงจากปักกิ่งพูดแบบทางการ
นั่นทำให้ “เสียงของจีน” กลายเป็น “เสียงของมิตรที่น่าเชื่อถือ” มากกว่าเสียงของมหาอำนาจจอมบงการ นี่คือศิลปะของการทำให้สื่อกลายเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน ไม่ใช่สื่อที่ชี้นำแบบจะแจ้ง
ขณะเดียวกัน จีนยังมีการใช้ Soft Power ที่มีประสิทธิภาพ เช่น การเปิดสถาบันขงจื่อ ซึ่งเป็นองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศที่รัฐบาลจีนก่อตั้งขึ้น เพื่อส่งเสริมภาษาและวัฒนธรรมจีนในต่างประเทศ โดยใช้ชื่ออ้างอิงจาก “ขงจื่อ” (Confucius) นักปรัชญาจีนโบราณที่เป็นสัญลักษณ์ของภูมิปัญญาและจริยธรรมแบบจีน, การจัดงานวัฒนธรรม หรือโครงการนักเรียนแลกเปลี่ยน ล้วนเป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสริมภาพลักษณ์จีนแบบบูรณาการไปพร้อมกับการขยายอิทธิพลสื่อ.................................................................................................
จากข้อมูลล่าสุด ณ ปลายปี 2566 ถึงต้นปี 2567 ทั่วโลกมีสถาบันขงจื่อราว 496 แห่ง และห้องเรียนขงจื่อ อีก 757 แห่ง กระจายอยู่ในกว่า 160 ประเทศและภูมิภาค
สำหรับประเทศไทย ถือเป็นประเทศที่มีสถาบันขงจื่อและห้องเรียนขงจื่อจำนวนมากและมีความร่วมมือที่แข็งขัน โดยมีสถาบันขงจื่อตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยชั้นนำหลายแห่งทั่วประเทศ และมีห้องเรียนขงจื่อในโรงเรียนระดับต่างๆ อีกจำนวนหนึ่ง โดยประเทศไทยมีสถาบันขงจื่อประมาณ 16 แห่ง ในสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ (ตัวเลขอาจมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย) ตัวอย่างสถาบันขงจื่อในประเทศไทย ได้แก่
สถาบันขงจื่อแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สถาบันขงจื่อมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สถาบันขงจื่อมหาวิทยาลัยขอนแก่น
สถาบันขงจื่อมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สถาบันขงจื่อมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
สถาบันขงจื่อมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
สถาบันขงจื่อมหาวิทยาลัยบูรพา
สถาบันขงจื่อมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
สถาบันขงจื่อเส้นทางสายไหมทางทะเล มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
การดำเนินงานของสถาบันขงจื่อในประเทศไทยเป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยของไทยและมหาวิทยาลัยพันธมิตรในประเทศจีน โดยได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิการศึกษาและวัฒนธรรมนานาชาติจีน (Chinese International Education Foundation) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่เข้ามาดูแลแทนสำนักงานส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีนนานาชาติ (Hanban) ในอดีต..................................................................................................
นอกจากนี้ สื่อจีนไม่เพียงใช้แพลตฟอร์มดิจิทัล แต่ยังลงทุนสร้างทีมท้องถิ่นเพื่อผลิตเนื้อหาให้ตรงกับรสนิยมผู้ชมในแต่ละประเทศ เปิดบัญชีโซเชียลมีเดียภาษาท้องถิ่น และปรับวิธีเล่าเรื่องให้เข้าถึงผู้ชมในแต่ละพื้นที่ได้ง่ายขึ้น
ผลกระทบเชิงโครงสร้างและความกังวลที่ตามมาของฝั่งโปรตะวันตกคือ Soft Power ของสหรัฐฯ ที่ลดถอยลงไป การปิดตัวของ VOA คือการสละพื้นที่ยุทธศาสตร์ในสนามแข่งขันทางข้อมูลข่าวสาร โดยเฉพาะในภูมิภาคที่ประชาธิปไตยยังไม่หยั่งรากลึก โดนเชื่อกลยุทธ์อันแยบยลของจีนคือความเสี่ยงต่อเสรีภาพสื่อ เพราะแม้ความร่วมมือกับจีนจะช่วยเหลือด้านการเงินแก่สื่อท้องถิ่นที่ทรัพยากรจำกัด แต่ก็แลกมาด้วยความเสี่ยงด้านเสรีภาพการรายงาน และการแทรกแซงเชิงบรรณาธิการ
ที่สำคัญสื่อจีนไม่จำเป็นต้องพึ่งพารายได้จากโฆษณา จึงไม่มีตัวชี้วัดยอดผู้ชมเหมือนสื่อเอกชนทั่วไป แต่การปรากฏตัวในเนื้อหาข่าว การแทรกแนวคิด การสร้าง “สำนึกแบบจีน” ในระยะยาวคือสิ่งที่วัดค่าไม่ได้…แต่มีผลมหาศาล
ในขณะที่สื่อตะวันตกยังวัดความสำเร็จด้วยยอดดู แชร์ ไลค์ และรายได้โฆษณา แต่สื่อจีนเน้น “ผลกระทบเชิงความเข้าใจ” และ “การสร้างทัศนคติเชิงบวกระยะยาว” โดยไม่ต้องพึ่งพากลไกตลาด�เพราะเป้าหมายคือการจัดวางภาพลักษณ์จีนในจิตสำนึกของผู้คนโลก ไม่ใช่การเอาชนะในเกมเรตติ้ง
ผ่านไป 4 เดือน ยิ่งเห็นชัดว่าการปิดตัวของ VOA ไม่ใช่เป็นแค่เรื่องภายในของสหรัฐฯ หากแต่ส่งแรงกระเพื่อมต่อโครงสร้างอำนาจด้านข้อมูลข่าวสาร ช่องว่างที่เกิดขึ้นในประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศ กลับถูกเติมเต็มด้วยจีนอย่างเป็นระบบ
ฤานี่คือการเปลี่ยนผ่านจาก “กระบอกเสียงประชาธิปไตย” (จริงแท้หรือจำแลงก็สุดแต่จะคิด) สู่ “เครือข่ายโฆษณาชวนเชื่อยุคใหม่” (หรืออาจหมายถึงการเปิดเผยข้อเท็จจริงอีกด้านที่ถูกเก็บงำไว้)
อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่แค่การขยายสื่อของรัฐที่ถูกมองว่าเป็นปฏิปักษ์ต่อสหรัฐฯ แต่มากกว่านั้นคือ การวางรากฐานเพื่อเป็นมหาอำนาจทางความคิด�เมื่อสหรัฐฯตัดสินใจ “ถอย” โดยไม่ทันคิดว่ากำลังสละเครื่องมือทรงพลังในสงครามข้อมูลข่าวสาร จีนกลับเดินหมากเข้ายึดพื้นที่สื่อโลกอย่างเป็นระบบ โดยไม่ต้องยิงกระสุนแม้แต่นัดเดียว
สื่อคืออาวุธ และจีนกำลังใช้มันอย่างปราดเปรื่อง.................................................................................................
ที่มา :
https://www.wsj.com/world/china/voice-of-america-china-russia-65f54e6a
https://image.mfa.go.th/mfa/0/4OJCTby7gE/Journal_2024/5-2567_Feb2024_สถาบันขงจื่อ_ธีรติร์_พร้อมพรรณ.pdf
https://chinaglobalsouth.com/analysis/chinas-expanding-media-diplomacy-in-indonesia-a-new-frontier-or-an-outdated-strategy/
https://theconversation.com/china-flexes-its-media-muscle-in-africa-encouraging-positive-headlines-as-part-of-a-soft-power-agenda-245804
https://www.salika.co/2025/07/14/china-media-rise/
Knowledge Sharing Space | www.salika.co
#สงครามข่าวสาร #สื่อจีน

ในยุคที่เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงทุกวินาที คนทำงาน จำเป็นต้องปรับตัวตลอดเวลา ด้วยเหตุนี้ คนทำงาน ปี 2025 จึงต้องมี “ทักษะแห่ง...
14/07/2025

ในยุคที่เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงทุกวินาที คนทำงาน จำเป็นต้องปรับตัวตลอดเวลา ด้วยเหตุนี้ คนทำงาน ปี 2025 จึงต้องมี “ทักษะแห่งอนาคต” และต้องอัปเดต “เทรนด์อาชีพในประเทศไทยปี 2025” เพื่อรู้ทันว่าจะพัฒนาตัวเองต่อไปในด้านใดบ้าง วันนี้ เรามีตัวช่วยจากเป็นผลสำรวจจาก “รายงานเจาะลึกทักษะและเทรนด์อาชีพไทยปี 2025” หรือ Career Trends and Required Skills in Thailand 2025 ที่จัดทำโดย CareerVisa และ JobThai............................................................................................
อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ https://www.salika.co/2025/07/13/career-trends-and-required-skills-in-thailand-2025/
Knowledge Sharing Space | www.salika.co
#ทักษะสำคัญ

คนทำงาน ปี 2025 จึงต้องมี “ทักษะแห่งอนาคต” และต้องอัปเดต “เทรนด์อาชีพในประเทศไทยปี 2025” เพื่อรู้ทันว่าจะพัฒนา.....

สำนักข่าวซินหัว รายงาน ทีมวิจัยจีนค้นพบวิธีใหม่ในการย่อยสลายพลาสติกพียู (PU) หรือ โพลียูรีเทน (Polyurethane) ด้วยวิธีชีว...
14/07/2025

สำนักข่าวซินหัว รายงาน ทีมวิจัยจีนค้นพบวิธีใหม่ในการย่อยสลายพลาสติกพียู (PU) หรือ โพลียูรีเทน (Polyurethane) ด้วยวิธีชีวภาพ ซึ่งสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการย่อยสลายได้มากกว่า 10 เท่า
ทีมวิจัยจากห้องปฏิบัติการแพลตฟอร์มชีววิทยาเชิงโครงสร้าง ของสถาบันเทคโนโลยีชีวภาพอุตสาหกรรมเทียนจิน (Tianjin Institute of Industrial Biotechnology) สังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีนได้ “ไขความลับ” ของเอนไซม์ย่อยสลายพลาสติกพียู โดยพวกเขาได้พบโครงสร้างผลึกของเอนไซม์ต้นแบบ (wild type) ตัวนี้ซึ่งมีอยู่ในธรรมชาติ และได้เปิดเผยกลไกระดับโมเลกุลที่ทำให้เอนไซม์ตัวนี้สามารถย่อยสลายพลาสติกพียูได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จากนั้นทีมวิจัยได้ประยุกต์ใช้เทคนิคการค้นหาเอนไซม์โดยอิงหลักการด้านวิวัฒนาการ ทำให้ค้นพบเอนไซม์ต้นแบบตัวใหม่ที่สามารถย่อยสลายพียูได้อีกตัว และทีมวิจัยยังได้ทำการปรับโครงสร้างและดัดแปลงโมเลกุล จนสามารถพัฒนา “เอนไซม์ประดิษฐ์” ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยเอนไซม์ประดิษฐ์ที่มีการกลายพันธุ์บางส่วนนี้ มีประสิทธิภาพการย่อยสลายโพลียูรีเทนชนิดโพลีเอสเตอร์เพิ่มขึ้นเกือบ 11 เท่า เมื่อเทียบกับเอนไซม์ต้นแบบ ช่วยเพิ่มอัตราการนำพลาสติกพียูกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างมาก
https://www.xinhuathai.com/tech/523913_20250712
https://www.salika.co/2025/07/13/salika-news-vol-194-6/
Knowledge Sharing Space | www.salika.co

การประชุมสุดยอด BRICS ครั้งที่ 17 จบลงแล้ว โดยปีนี้จัดขึ้นที่เมืองริโอเดจาเนโร (Rio de Janeiro) มีบราซิลเป็นเจ้าภาพ ในฐา...
14/07/2025

การประชุมสุดยอด BRICS ครั้งที่ 17 จบลงแล้ว โดยปีนี้จัดขึ้นที่เมืองริโอเดจาเนโร (Rio de Janeiro) มีบราซิลเป็นเจ้าภาพ ในฐานะประธานกลุ่ม BRICS ระหว่างวันที่ 6-7 กรกฎาคม ซึ่งมีความสำคัญต่อโลกและประเทศไทยในท่ามกลางความผันผวนทางเศรษฐกิจและการเมืองระหว่างประเทศ จากผลกระทบของสงครามความขัดแย้งในภูมิภาคต่างๆ และสงครามภาษีทรัมป์ 2.0 ภายใต้ภัยคุกคามของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแบบสุดขั้ว..............................................................................................
การประชุมครั้งนี้ให้ความสำคัญกับ “สองลำดับความสำคัญหลัก”
1. ความร่วมมือของกลุ่มประเทศโลกใต้ (Global South Cooperation)
2. ความร่วมมือพันธมิตร BRICS เพื่อการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม (BRICS Partnerships for Social, Economic, and Environmental Development)
นอกจากนี้ยังมีวาระ 6 แนวทางความร่วมมือหลัก
1. ความร่วมมือด้านสุขภาพระดับโลก (Global health cooperation)
2. การค้า การลงทุน และการเงิน (Trade, investment, and finance)
3. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate change)
4. การกำกับดูแลปัญญาประดิษฐ์ (AI governance)
5. สถาปัตยกรรมการรักษาสันติภาพและความมั่นคงพหุภาคี (Multilateral peace and security architecture)
6. การพัฒนาสถาบัน (Institutional development)
ท่าทีของกลุ่ม BRICS ต้องการสร้างสมดุลใหม่กับกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว โดยเฉพาะสหรัฐและโลกตะวันตก ซึ่งประเด็นที่ให้ความสำคัญ คือ
1. การปฏิรูปโครงสร้างการจัดการเศรษฐกิจโลก เพื่อให้กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาได้มีบทบาทมากขึ้น
2. การส่งเสริมการใช้สกุลเงินท้องถิ่นในการทำธุรกรรมระหว่างประเทศ เพื่อลดการพึ่งพาสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ
3. การสร้างกลไกระหว่างประเทศทางเลือก ทั้งในด้านการเงิน การให้ความช่วยเหลือ และการระดมทุน เพื่อการพัฒนา
BRICS..............................................................................................
:: ศักยภาพกลุ่ม BRICS-Global South มีข้อมูลที่สะท้อนศักยภาพของกลุ่ม BRICS และกลุ่ม Global South ::
1. ศักยภาพการเติบโต : ภายหลังก่อตั้งเมื่อ 16 ปีก่อน กลุ่ม BRICS ขยายตัวเติบโตอย่างรวดเร็ว จากกลุ่มประเทศก่อตั้งบราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และแอฟริกาใต้ โดยมีสมาชิกเพิ่มเติม คือ เอธิโอเปีย อียิปต์ อิหร่าน อินโดนีเซีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และในที่ประชุม BRICS หรือ BRICS Plus Summit ครั้งที่ 4 จัดขึ้นเมื่อวันที่ 24 ต.ค. 67 ณ เมืองคาซาน ประเทศรัสเซีย ได้เพิ่มประเทศพันธมิตรใหม่ 13 ประเทศแต่ยังไม่ใช่สมาชิกอย่างเป็นทางการ ประกอบด้วย ไทย แอลจีเรีย เบลารุส โบลิเวีย คิวบา อินโดนีเซีย คาซัคสถาน มาเลเซีย ไนจีเรีย ตุรกี ยูกันดา อุซเบกิสถาน และเวียดนาม ทั้งนี้ยังมีอีกหลายสิบประเทศที่สนใจเข้าร่วมกับ BRICS
2. ศักยภาพการลงทุน : ช่วง 20 ปีที่ผ่านมา กลุ่ม BRICS ดึงดูดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ
เพิ่มขึ้นมากกว่า 4 เท่า จาก 84,000 ล้านดอลลาร์ในปี 2544 เป็น 355,000 ล้านดอลลาร์ในปี 2564 นอกจากนี้ ส่วนแบ่งเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศทั่วโลกของ BRICS ก็เพิ่มขึ้น 2 เท่าจาก 11% เป็น 22%
3. ศักยภาพการค้า : มูลค่าการค้าของประเทศ BRICS เติบโตขึ้นมากกว่า 7 เท่า มีมูลค่ามากกว่า 4 ล้านล้านดอลลาร์ในช่วง10 กว่าปีที่ผ่านมา (ข้อมูลเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2025 ขององค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ)
4. แนวทางการค้า Global South : การค้าระหว่างประเทศกลุ่ม Global South เดินตามแนวทางของกลุ่ม BRICS กล่าวคือตั้งแต่ปี 2550 ถึง 2566 การค้าระหว่างกลุ่ม Global South เพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่าจาก 2.3 ล้านล้านดอลลาร์ เป็น 5.6 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการพึ่งพาคู่ค้าแบบดั้งเดิมที่ลดลง ในขณะเดียวกันก็สร้างโอกาสใหม่ๆ ให้กับประเทศกำลังพัฒนา
5. กลุ่ม BRICS กับอาเซียน : ทิศทางที่น่าสนใจอย่างยิ่งคือ BRICS ตั้งใจขยายบทบาทในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นศูนย์กลางการค้าโลกที่สำคัญ การเข้าร่วมของอินโดนีเซีย, เวียดนาม,ไทย, มาเลเซีย จะสร้างศักยภาพทางการค้าเพิ่มเติมสำหรับกลุ่ม BRICS และกลุ่ม Global South
ในการประชุมผู้นำกลุ่ม BRICS ได้ประกาศจุดยืนที่ไม่สอดคล้องกับประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ (Donald Trump) ในประเด็นภาษีการค้า ความขัดแย้งในตะวันออกกลาง (Middle East) ความจำเป็นในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) และการเรียกร้องให้มีการกำกับดูแลปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) ทั่วโลก เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น
จากนั้นไม่กี่ชั่วโมง ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ โพสต์ข้อความโดยกล่าวว่า ประเทศอเมริกาจะเรียกเก็บภาษีเพิ่มเติม 10% สำหรับประเทศใดๆ ที่เข้าร่วมกับ “นโยบายต่อต้านอเมริกา” ของกลุ่ม BRICS ซึ่งสะท้อนท่าทีในทางไม่เป็นมิตรของประธานาธิบดีสหรัฐที่มีต่อกลุ่ม BRICS อย่างชัดเจน..............................................................................................
:: RICS : ทางออกเศรษฐกิจไทย ::
กลุ่ม BRICS ได้นำเสนอโอกาสสำหรับประเทศที่ประสบปัญหาภาษีทรัมป์ 2.0 โดยกลุ่ม BRICS มี GDP รวมกันตามกำลังซื้อ (PPP) ในปี 2025 สูงถึง 77 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งสูงกว่ากลุ่ม G7 ถึง 1.3 เท่า นอกจากนี้ เมื่อรวม BRICS Plus มี GDP รวมกันกว่า 40% ของโลก และเติบโตเฉลี่ยที่ 4% ในปี 2025 ซึ่งมากกว่าสองเท่าของการเติบโตของ G7 ที่ 1.7%
กลุ่ม BRICS ยังมีอำนาจต่อรองร่วมกันด้วยจำนวนสมาชิก 11 ประเทศ และพันธมิตรอีก 10 ประเทศ รวมประชากร 40%ของโลก
กลุ่ม BRICS Plus ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในตลาดโลก ทั้งในด้านพลังงาน ทรัพยากรแร่ธาตุ และอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศในกลุ่ม BRICS Plus ผลิตก๊าซธรรมชาติประมาณ 32% และน้ำมันดิบ 43% ของโลก บ่งชี้ถึงความเป็นอิสระด้านพลังงานที่เพิ่มขึ้น กลุ่มนี้ยังผลักดันกฎการค้าที่เป็นธรรมและการปฏิรูปองค์การการค้าโลก (WTO)
กลุ่ม BRICS ตอบรับให้ ประเทศไทย เข้าเป็นสมาชิกประเทศพันธมิตร (BRICS Plus) ตามมติที่ประชุมผู้นำ BRICS ครั้งที่ 16 ที่รัสเซียเมื่อวันที่ 23 ต.ค.2567
การมีสถานะเป็น BRICS Plus ของประเทศไทย เป็นทั้ง “โอกาสและความเสี่ยง” หากประเทศไทยสามารถปรับตัวและใช้จุดแข็งด้านตำแหน่งที่ตั้งทางภูมิศาสตร์และจุดยืนด้านภูมิรัฐศาสตร์ รวมทั้งภูมิเศรษฐศาสตร์จะได้รับประโยชน์จากการขยายตัวของกลุ่ม BRICS โดยตรงและโดยอ้อม เป็นทางออกทางเศรษฐกิจในยุคการเปลี่ยนขั้วอำนาจที่กำลังเกิดระเบียบโลกใหม่ (New World Order)..............................................................................................
:: ก้าวใหม่ของไทยบนทางสองแพร่ง ::
ประเทศไทยควรเข้าร่วมในระดับที่เหมาะสม ในประเด็นที่สอดคล้องกับกุศโลบายของประเทศ เพราะกลุ่ม BRICS มีศักยภาพสูงและเติบโตเร็ว มีประชากรมากกว่าร้อยละ 40 ของโลก มีการผลิตและการส่งออกน้ำมันของโลกร้อยละ 40 ผลิตข้าวสาลีธัญพืชหลักของตลาดโลก 35% มี GDP รวมกว่า 30% ของโลก (แซงหน้ากลุ่ม G7 ที่มีสัดส่วนในเศรษฐกิจโลกลดลงเหลือร้อยละ 30) และมีสัดส่วนการค้าร้อยละ 40 ของโลก
สำหรับไทยซึ่งมีมูลค่าการค้ากับ BRICS กว่า 20% ของการค้าทั้งหมด มีข้อสรุปที่หลายฝ่ายวิเคราะห์ตรงกันสำหรับประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับไทย
1. ลดการพึ่งพาตลาดเดิม เช่น สหรัฐและยุโรป และเพิ่มโอกาสในการส่งออกสินค้าไปยังตลาดเกิดใหม่ในกลุ่ม BRICS ทั้งนี้ประเทศไทยส่งออกไปยังกลุ่ม BRICS (ตัวเลขเฉพาะ 9 ประเทศสมาชิกทางการ) โดย 9 เดือนแรกของปี 2567 มีมูลค่า 42,769.8 ล้านดอลลาร์ คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 20% ของการส่งออกทั้งหมด และยังมีแนวโน้มเติบโตขยายตัวได้อีกในอนาคต โดยเฉพาะประเทศพันธมิตร (BRICS Plus)
2. ช่วยกระจายความเสี่ยงทางเศรษฐกิจ จากความผันผวนของปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) และภูมิเศรษฐศาสตร์
3. ช่วยยกระดับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของประเทศไทย โดยกลุ่ม BRICS มีแผนการลงทุนขนาดใหญ่ในโครงสร้างพื้นฐานผ่านกลไก New Development Bank (NDB) ซึ่งเอกชนไทยสามารถเข้าไปร่วมเป็นพันธมิตรในโครงการเหล่านี้ โดยเฉพาะในด้านก่อสร้าง เทคโนโลยี และภาคบริการ
4. เป็นโอกาสของประเทศไทยในการขยายตลาดสินค้าและบริการที่มีมูลค่าสูง เนื่องจากกลุ่ม BRICS มีความต้องการสินค้าเกษตร อาหาร และสินค้าเทคโนโลยี จึงเป็นโอกาสเอกชนไทยสามารถนำเสนอสินค้าและบริการที่เน้นคุณภาพและนวัตกรรม เช่น สินค้าอาหารเพื่อสุขภาพ เทคโนโลยีเกษตร และบริการด้านสุขภาพ
5. การใช้สกุลเงินท้องถิ่นในการค้าระหว่างประเทศ หากในอนาคต BRICS สามารถพัฒนาไปสู่การใช้สกุลเงินของตัวเองหรือการค้าด้วยสกุลเงินท้องถิ่นมากขึ้น ไทยอาจลดต้นทุนจากความผันผวนของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ และสามารถใช้กลไกทางการเงินที่เอื้อต่อธุรกิจมากขึ้น
6. การใช้จุดแข็งทางภูมิศาสตร์และเศรษฐกิจของไทยในการเชื่อมโยงระหว่าง BRICS กับอาเซียน (ASEAN) ในการพัฒนาความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ การเงิน เทคโนโลยี และวัฒนธรรม รวมทั้งเป็นตัวเชื่อมระหว่าง BRICS กับกลุ่มอื่นๆ อาทิ เอเปค (APEC) บิมสเทค (BIMSTEC) และ ความร่วมมือแห่งเอเชีย (ACD : Asia Cooperation Dialogue)..............................................................................................
อย่างไรก็ตาม แม้การเป็นพันธมิตรกลุ่ม BRICS ของประเทศไทยจะได้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจและการพัฒนา แต่ก็ต้องบริหารความเสี่ยงและความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ โดยยืนยันหลักการ “ไม่เลือกข้าง” เน้นผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและการพัฒนาเป็นหลัก ทั้งนี้ต้องไม่ทิ้งความสัมพันธ์กับคู่ค้าดั้งเดิมอย่างสหรัฐ และ EU
การเข้าร่วมกับกลุ่ม BRICS ในครั้งนี้ จำเป็นที่ประเทศไทยจะใช้เป็นโอกาสในการปรับยุทธศาสตร์การค้าสู่การค้าแบบหลายเส้นทาง (Multi-Track Trade) เช่น
1. ลดการพึ่งพาจีน และกระจายการค้าไปยังสมาชิก BRICS ใหม่
2. ลดผลกระทบการส่งออกไปสหรัฐ โดยเพิ่มส่งออกสินค้ารถยนต์ ยางรถยนต์และชิ้นส่วน อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอีเล็คโทรนิค ไปยังรัสเซีย UAE ฯลฯ รวมทั้งขยายตลาดส่งออกข้าวและอาหารแปรรูปไปยังเอธิโอเปียและอียิปต์ซึ่งความต้องการเพิ่มขึ้น 15% ต่อปี พร้อมกับเร่งเจรจาขยาย FTA กับอินเดีย ขยายรายการสินค้า (early harvest) และเร่งสรุป FTA กับ แอฟริกาใต้
3. ดึงดูดการลงทุนจากประเทศสมาชิก BRICS เช่น การลงทุนจากจีนในสาขาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล และ EV Battery ใน EEC การลงทุนจากอินเดียทางด้านอุตสาหกรรมยา และการลงทุนจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) ทางด้านพลังงานสะอาดและกองทุน Sovereign Wealth Fund
4. สร้างโอกาสจากกลุ่ม BRICS เป็นสะพานเชื่อมประเทศไทยกับตลาดร่วมอเมริกาใต้ (Southern Common Market – Mercosur) สหภาพแอฟริกา (African Union) และองค์การความร่วมมืออิสลาม (OIC) มีสมาชิก 57 ประเทศ ครอบคลุม 4 ทวีป ซึ่งจะช่วยเพิ่มการส่งออกข้าว ยางพารา ปาล์มน้ำมันและอาหารฮาลาลของไทยไปยังประชากรมุสลิม 2 พันล้านคน..............................................................................................
:: สรุป ::
การเข้าร่วมกับกลุ่มบริกส์ (BRICS) เป็นยุทธศาสตร์ทาง 2 แพร่งที่จะช่วยให้ประเทศไทยมีโอกาสขยายความสัมพันธ์และความร่วมมือทางเศรษฐกิจการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว การเงิน ความมั่นคงด้านอาหารและพลังงาน การศึกษา วัฒนธรรม เทคโนโลยีและนวัตกรรมกับประเทศกลุ่ม BRICS มากขึ้น โดยไม่ทิ้งความสัมพันธ์กับคู่ค้าดั้งเดิมอย่างสหรัฐ และ EU ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศ รวมถึงเพิ่มบทบาทของประเทศไทย ในการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศ และความเข้มแข็งของระบบพหุภาคีที่เสรีและเป็นธรรม เป็นการยกระดับบทบาทของไทยในเวทีระหว่างประเทศในทุกมิติให้โดดเด่นมากยิ่งขึ้น เพื่อสร้างพื้นฐานใหม่ของประเทศไทยทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุนระหว่างประเทศในอนาคต..............................................................................................
เรื่องโดย : อลงกรณ์ พลบุตร ประธานที่ปรึกษา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และประธานสถาบันเอฟเคไอไอ.
https://www.salika.co/2025/07/13/brics-a-way-out-of-trump-tax-crisis/
Knowledge Sharing Space | www.salika.co
#การค้าระหว่างประเทศ #ระเบียบโลกใหม่ #วิกฤตภาษีทรัมป์ #เศรษฐกิจโลก #เศรษฐกิจไทย

เส้นทางรถไฟสายสิงคโปร์-คุนหมิง เชื่อมต่อการเดินทางจากประเทศสิงคโปร์ผ่านประเทศต่างๆ ในอาเซียนไปนครคุนหมิง มณฑลยูนาน สาธาร...
14/07/2025

เส้นทางรถไฟสายสิงคโปร์-คุนหมิง เชื่อมต่อการเดินทางจากประเทศสิงคโปร์ผ่านประเทศต่างๆ ในอาเซียนไปนครคุนหมิง มณฑลยูนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน ล่าสุด กระทรวงคมนาคม เปิดแผนผัง เส้นทางรถไฟสายสิงคโปร์-คุนหมิง หรือ Singapore – Kunming Rail Link (SKRL) ระยะทาง 5,500 กม. แบ่งเป็น 3 สายทางหลัก คือ
เส้นทางตะวันตก คุนหมิง – มัณฑะเลย์ – กทม. – กัวลาลัมเปอร์ – สิงคโปร์ ระยะทางรวม 4,760 กม.
เส้นทางสายกลาง คุนหมิง – เวียงจันทน์ – หนองคาย – กทม. – กัวลาลัมเปอร์ – สิงคโปร์ ระยะทางรวม 4,500 กม.
เส้นทางตะวันออก คุนหมิง – ฮานอย – นครโฮจิมินห์ – พนมเปญ – กทม. – กัวลาลัมเปอร์ – สิงคโปร์ ระยะทางรวม 5,500 กม.
เมื่อเส้นทางรถไฟนี้ก่อสร้างแล้วเสร็จจะกลายเป็นเส้นทางรถไฟที่สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การขนส่ง การเคลื่อนย้ายทรัพยากร รวมถึงการต่อรองการค้าให้แก่ประเทศในภาคพื้นทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้อย่างมาก ซึ่งทั้งสามเส้นทางจะเชื่อมโยงกันที่กรุงเทพฯ หนึ่งในนั้นคือ โครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-หนองคาย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางรถไฟสายสิงคโปร์-คุนหมิง ทำให้ประเทศไทยกลายเป็นศูนย์กลางการเดินทางและการขนส่งในภูมิภาคอาเซียน
https://www.salika.co/2025/07/13/salika-news-vol-194-6/
Knowledge Sharing Space | www.salika.co

กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดตัวระบบ “มอก.วอทช์” อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคมที่ผ่านมา ซึ่งเป็นระบบอัจฉริยะที่นำเทคโนโ...
13/07/2025

กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดตัวระบบ “มอก.วอทช์” อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคมที่ผ่านมา ซึ่งเป็นระบบอัจฉริยะที่นำเทคโนโลยี AI เข้ามาตรวจสอบสินค้าออนไลน์ที่ไม่ได้มาตรฐาน ถือเป็นอีกหนึ่งมาตรการสำคัญในการยกระดับความปลอดภัยให้กับผู้บริโภค และสร้างความเป็นธรรมให้กับผู้ประกอบการไทยในตลาดอีคอมเมิร์ซ
ระบบ “มอก.วอทช์” ทำงานตลอด 24 ชั่วโมง สามารถตรวจจับและวิเคราะห์ลิงก์สินค้าที่อาจละเมิดมาตรฐาน มอก. ได้อย่างแม่นยำ โดยจากการทดลองใช้งานในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมา ตรวจพบลิงก์ต้องสงสัยแล้วกว่า 125,000 รายการ ปิดลิงก์ไปแล้วมากกว่า 2,800 รายการ และอยู่ระหว่างดำเนินคดีตามกฎหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม จำนวน 777 คดี
โดยเฉพาะกับแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซรายใหญ่ทั้งแอปพลิเคชันสีม่วงและสีส้ม สินค้าที่ถูกตรวจพบว่าไม่ได้มาตรฐานจำนวนมาก ได้แก่ พลาสติกที่ใช้บรรจุอาหาร ของเล่นเด็ก ท่อไอเสียรถจักรยานยนต์ ปลั๊กพ่วง พาวเวอร์แบงก์ และหมวกกันน็อกที่ไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งล้วนแต่เป็นสินค้าที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนทั้งสิ้น สนับสนุนผู้ประกอบการไทยให้สามารถแข่งขันในตลาดดิจิทัลได้อย่างเป็นธรรม
https://www.salika.co/2025/07/12/salika-news-vol-193-6/
Knowledge Sharing Space | www.salika.co

“นวัตกรชุมชน คือ แกนนำชาวบ้านกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับถ่ายทอดความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมจนสามารถรับและปรับใช้นวัตกรรมที่เ...
13/07/2025

“นวัตกรชุมชน คือ แกนนำชาวบ้านกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับถ่ายทอดความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมจนสามารถรับและปรับใช้นวัตกรรมที่เหมาะสมกับบริบท ถ่ายทอดความรู้ไปสู่ผู้อื่นได้ รวมทั้งมีทักษะและความสามารถในการจัดการความรู้เพื่อแก้ไขปัญหาสำคัญในชุมชนได้อย่างยั่งยืน”
จากนิยามของ นวัตกรชุมชน มาในวันนี้ ทุกภาคส่วนได้เห็นภาพความสำคัญของบุคคลที่มาทำหน้าที่นี้ด้วยความสมัครใจแล้ว ผ่านโครงการสนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรมจาก กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กองทุนส่งเสริม ววน.) ที่มี หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) เป็นผู้ดูแลโครงการนี้ ผ่านแผนงาน “ชุมชนนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน” (พ.ศ.2563-2567) และแผนงาน “ชุมชนนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้” (พ.ศ.2563-2567) และแผนงาน “การวิจัยต่อยอดเทคโนโลยีที่เหมาะสม (Appropriate Technology)” (พ.ศ.2566-ปัจจุบัน)
โดยโครงการนี้ มีวัตถุประสงค์ชัดเจน ในการบ่มเพาะชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ ให้มีความสามารถในการรับ-ปรับ-ใช้ นวัตกรรมหรือเทคโนโลยีพร้อมใช้ ผ่านการสร้าง นวัตกรชุมชน ให้มีทักษะการจัดการความรู้ เรียนรู้และรับปรับใช้นวัตกรรม สามารถนำความรู้และเทคโนโลยีที่เหมาะสม ไปใช้ในการจัดการปัญหาสำคัญในชุมชนและพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเองได้อย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน รวมถึงรับมือกับความเสี่ยงและการเปลี่ยนแปลงทั้งในสภาวะปกติและสภาวะวิกฤตให้ฟื้นตัวได้เร็วเมื่อเกิดปัญหา (Resilience)
เพื่อสื่อสารถึงความสำคัญของการมี นวัตกรชุมชน ซึ่งจะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการปรับเอา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ที่เหมาะสมกับท้องถิ่น ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชนไทย เมื่อต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา บพท. ได้ร่วมกับโครงการสังเคราะห์และขับเคลื่อนแพลตฟอร์มสร้างรายได้ครัวเรือนด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับชุมชนสู่การใช้ประโยชน์และยกระดับเศรษฐกิจฐานราก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ภายใต้การสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริม ววน. ร่วมกันจัดการประชุมและนิทรรศการเพื่อการขับเคลื่อนชุมชนพื้นที่ “นวัตกรชุมชน : เทคโนโลยีที่เหมาะสมขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชนไทย” ภายใต้แนวคิด “พลังสร้างสรรค์ จากนวัตกรชุมชน สู่อนาคตที่ยั่งยืน ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เหมาะสม”
โดยภายในงานเป็นการรวมตัวของ นวัตกรชุมชน ทั่วไทย คณาจารย์จากเครือข่ายมหาวิทยาลัยทั่วประเทศที่ทำหน้าที่เป็นเหมือน อาจารย์พี่เลี้ยงให้กับชุมชนและนวัตกรชุมชน ซึ่งมีทั้ง เครือข่ายมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ และเครือข่ายมหาวิทยาลัยต่างๆ ตลอดจนมีการจัดแสดง “นวัตกรรมและเทคโนโลยีพร้อมใช้” ต้นแบบ ที่ได้นำไปปรับใช้เพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากทั่วไทยมาจัดแสดงด้วย..............................................................................................
อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ https://www.salika.co/2025/07/12/lesson-learn-from-community-innovator/
Knowledge Sharing Space | www.salika.co
#ชุมชน #ท้องถิ่น #นวัตกรรมและเทคโนโลยี #บพท #บ้านปลามีชีวิต #ผ้าย้อมสีธรรมชาติ #เทคโนโลยีพลาสมา #นวัตกรชุมชน

ที่อยู่

Dusit

เบอร์โทรศัพท์

+66610123210

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ Salikaผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ ธุรกิจของเรา

ส่งข้อความของคุณถึง Salika:

แชร์