Hatyai Connext Creative Publisher
มองหาดใหญ่ในมุมมองใหม่
รู้จักเมืองนี้ให้มากขึ้น
เชื่อเถอะว่า... หาดใหญ่กำลังมา !

Hatyai Connext... (หาดใหญ่คอนเน็กซ์)
คำที่ปรับนิดแต่งหน่อยจาก Connect + Next
สลับอักษรตัวเดียวก็ได้ความหมายที่มากขึ้น
เราคือ Creative Publisher ที่มองหาดใหญ่ในมุมมองใหม่ๆ
ชวนทุกคนมา ‘เชื่อมโยง’ ผ่านคอนเทนต์ รู้จักเมืองนี้ให้มากขึ้น ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ถึงเรื่องราวที่ซ่อนอยู่ในเมือง ไม่ว่าจะเป็น ผู้คน วัฒนธรรม อาหาร วิถีชีวิต อีเวนท์น่าสนใจ เชื่อเถอะว่า... หาดใหญ่กำลังมา !

เคยเจอ 'สงขลาบนหน้ากระดาษ' กันบ้างไหมหาดใหญ่บุ๊คคลับประจำเดือนกรกฎาคม 68หากเราอ่านหนังสือสักเล่มแล้วพบชื่อ 'สงขลา' โดยบั...
16/07/2025

เคยเจอ 'สงขลาบนหน้ากระดาษ' กันบ้างไหม
หาดใหญ่บุ๊คคลับประจำเดือนกรกฎาคม 68
หากเราอ่านหนังสือสักเล่มแล้วพบชื่อ 'สงขลา' โดยบังเอิญ คงเกิดความรู้สึกที่น่าค้นหาและน่าตื่นเต้น ที่จะค้นพบว่าจังหวัดของเราไปเกี่ยวเนื่องกับเนื้อเรื่องได้อย่างไร หรือเรื่องราวของสงขลาที่ถูกคัดสรรมาเล่าผ่านตัวอักษร ในรูปแบบบันทึกประสบการณ์ บทกวีหรือเรื่องสั้น คงช่วยสร้างความรู้สึกเชื่อมโยงให้กับหนังสือเล่มนั้นไม่น้อย ชวนมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์สงขลาบนหน้ากระดาษกันกับ Hatyai Book Club
ศุกร์ที่ 25 ก.ค. 68 เวลา 19:00 น.
สถานที่ Lorem Ipsum ไม่มีค่าใช้จ่ายและไม่ต้องลงทะเบียนล่วงหน้า


คัมม่อน คัมม่อน !!  OPEN CALL 📣 เปิดรับสมัครผลงานสร้างสรรค์เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับเทศกาลสร้างสรรค์ในหาดใหญ่ไม่ว่าจะเป็...
11/07/2025

คัมม่อน คัมม่อน !! OPEN CALL 📣 เปิดรับสมัครผลงานสร้างสรรค์เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่ง
กับเทศกาลสร้างสรรค์ในหาดใหญ่
ไม่ว่าจะเป็นนักออกแบบ ครีเอเตอร์ นักศึกษา ผู้ที่หลงใหลในงานอดิเรก ไม่ว่าจะวัยไหนก็ขอชวนมาปล่อยของเป็นส่วนหนึ่งกับเทศกาล C'MON SANEHA - มาหาเสน่ห์ ภายใต้แนวคิด 'Saneha Renaissance' การเกิดใหม่ของย่านเสน่หานุสรณ์ ซึ่งไม่ใช่การลอกเลียนแบบอดีต แต่คือการ ‘ปลุกเสน่ห์เก่าให้มีชีวิต ใหม่’ ในบริบทของยุคปัจจุบัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Pakk Taii Design Week ระหว่างวันที่ 28 สิงหาคม - 7 กันยายน 2568 ณ ย่านเสน่หานุสรณ์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
เปิดรับผลงานตั้งแต่วันนี้ - 25 กรกฎาคม 2568 (จำนวนจำกัด)
การจัดแสดง (Exhibition)
ศิลปะจัดวาง (Installation & Object)
การบรรยาย (Talk)
เวิร์กช็อป (Workshop)
กิจกรรมสร้างประสบการณ์และอีเวนต์ (Activity & Event)
การแสดง (Performance & Show)
📌 ผู้สนใจเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในเทศกาลฯ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมและสมัครเข้าร่วมจัดเทศกาลฯ ได้ที่ https://shorturl.at/iS7OC
#มาหาเสน่ห์

คนหาดใหญ่นั่งรถเบนซ์มากู้เงินคนสงขลา คนสงขลานั่งรถไฟไปเก็บดอกเบี้ยคนหาดใหญ่ความสัมพันธ์ของคหบดีชาวสงขลาและเศรษฐีชาวหาดให...
08/07/2025

คนหาดใหญ่นั่งรถเบนซ์มากู้เงินคนสงขลา คนสงขลานั่งรถไฟไปเก็บดอกเบี้ยคนหาดใหญ่
ความสัมพันธ์ของคหบดีชาวสงขลาและเศรษฐีชาวหาดใหญ่ ที่เชื่อมโยงกันจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจ แม้อาจเป็นคำพูดที่ทุกวันนี้ไม่ได้มีโอกาสได้ยินบ่อยครั้งเท่าเมื่อก่อน แต่กลับซ่อนความจริงบางอย่างไว้ในช่วงเปลี่ยนผ่านของเศรษฐกิจจากยุคท่าเรือ มาถึงยุคของรถไฟและถนน
จากเล่าเรื่องราวโดย อรทัย สัตยสัณห์สกุล ในหนังสือ ฅนเฒ่าเล่าเรื่องเมืองสงขลา สีสันวันวานย่านเมืองเก่า ได้บันทึกเรื่องเหล่านี้ไว้ ซึ่งทำให้เราเห็นความสัมพันธ์ของการเติบโตเศรษฐกิจระหว่างสงขลา-หาดใหญ่ โดยมีเหตุผลหลายประการที่ผู้เขียนได้ให้ไว้ เช่น คหบดีชาวสงขลานำเงินไปลงทุนซื้อที่ดินในเมืองและนอกเมืองสงขลา เพื่อต่อยอดธุรกิจและการลงทุน รวมทั้งเปิดกิจการรับแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ และปล่อยเงินกู้ในการติดต่อค้าขาย จนกระทั่งการมาถึงของความเสื่อมถอยด้านการค้าของสงขลาบ่อยาง ประกอบกับการเจริญเติบโตด้านการค้าของหาดใหญ่ จึงไม่แปลกที่เศรษฐีชาวหาดใหญ่ต้องเร่งรัดทำมาค้าขายและหาสินเชื่อจากนักธุรกิจบ้านใกล้เรือนเคียง ในทางกลับกันเศรษฐีชาวสงขลาก็ยังดำเนินชีวิตที่ประหยัดและเรียบง่าย ไปพร้อมๆ กับหาหนทางในการขยายธุรกิจในวิถีที่ต่างไปจากเดิม

ละครเวทีจากบทประพันธ์ชั้นยอดสองรสชาติ “ความรักควรไปตาย” Private Lives และ“ราโฌมอณ คอนโดมิเนียม” กำกับและเรียบเรียงโดย ดำ...
25/06/2025

ละครเวทีจากบทประพันธ์ชั้นยอดสองรสชาติ “ความรักควรไปตาย” Private Lives และ“ราโฌมอณ คอนโดมิเนียม” กำกับและเรียบเรียงโดย ดำเกิง ฐิตะปิยะศักดิ์ ศิลปินศิลปาธร สาขาการแสดง
หากเคยชม End Station และบุพกาลีแล้ว แนะนำว่าไม่ควรพลาดละครทั้งสองเรื่อง ที่ยังคงความจิกกัดเสียดสีชนชั้นสังคมศีลธรรมเป็นทวีคูณ แถมครั้งนี้ยังขนทีมนักแสดงมืออาชีพมาอย่างคับคั่งให้สมกับครั้งที่2 ของเทศกาลละครร่วมสมัยหาดใหญ่ โดยจัดภายใต้ “เทศกาลละครร่วมสมัยหาดใหญ่ ครั้งที่ 2” โดยความร่วมมือของทีมงานคนละครและนักแสดงมืออาชีพ สนับสนุนโดยสำนักงานศิลปะวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.) และโรงละครเสน่หาเธียร์เตอร์ ลี การ์เดนส์ พลาซ่า หาดใหญ่
ราโฌมอณคอนโดมิเนียม หนึ่งฆาตกรรม สามพยาน สามผู้ต้องสงสัย ความจริงของใคร คือความจริงที่สุด ดัดแปลงจากเรื่องสั้น In a Grove (1922) ของ Ryūnosuke Akutagawa และภาพยนตร์คลาสสิก RASHOMON (1950) ของ Akira Kurosawa บทละครเวทีโดย ดำเกิง ฐิตะปิยะศักดิ์ ศิลปินศิลปาธร โดยแนวคิด ‘ปรากฏการณ์ราโฌมอณ’ ไม่เพียงเกิดขึ้นในโลกภาพยนตร์และหนังสือ แต่เกิดขึ้นได้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน ดังดราม่าตามข่าวใน สังคมโชเชียลที่ผลัดเปลี่ยนไม่ซ้ำแต่ละสัปดาห์
ความรักควรไปตาย ร้อยเรียงเรื่องใหม่จาก “Private Lives” บทละครคลาสสิกจากปี พ.ศ. 2472 ของ โนแอล โคเวิร์ด ซึ่งเปิดการแสดงครั้งแรกเมื่อ 95 ปีที่แล้วที่ประเทศอังกฤษ โดยในตอนนั้นเป็นการทัวร์ไปแสดงตามเมืองต่าง ๆ ก่อนจะมาเปิดการแสดงที่โรงละครฟีนิกซ์แห่งใหม่ในกรุงลอนดอนในปี ค.ศ. 1930 โดยในเวอร์ชั่นปี พ.ศ. 2568 นี้ บทละครเรื่อง "Private Lives" ก็ได้รับการแปลและดัดแปลงใหม่โดย ชลเทพ ณ บางช้าง รวมทั้งเรียงร้อยเรื่องใหม่และกำกับโดย ดำเกิง ฐิตะปิยะศักดิ์ ศิลปินศิลปาธร สาขาการแสดง
สถานที่จัด เสน่หาเธียเตอร์ ชั้น 2 ลีการ์เดนส์พลาซ่า วันที่ 27-29 มิถุนายน 2568 ลิงก์สำหรับการจองบัตรอยู่ใต้คอมเมนต์
รอบการแสดง
ละครเรื่อง “ความรักควรไปตาย” (Private Lives)
รอบที่ 1 ศุกร์ที่ 27 มิถุนายน 2568 เวลา 19:00 น.
รอบที่ 2 เสาร์ที่ 28 มิถุนายน 2568 เวลา 14:00 น.
ละครเรื่อง “ราโฌมอณ คอนโดมิเนียม” (RASHOMON Condominium)
รอบที่ 1 เสาร์ที่ 28 มิถุนายน 2568 เวลา19:00 น.
รอบที่ 2 อาทิตย์ 29 มิถุนายน 2568 เวลา14:00 น.

FINE MY GREEN SPACE พื้นที่สีเขียวในหาดใหญ่ใกล้ฉัน ข้อมูลพื้นที่สีเขียวจากกระบวนการเก็บข้อมูลอย่างมีส่วนร่วมกับชุมชนในหา...
18/06/2025

FINE MY GREEN SPACE พื้นที่สีเขียวในหาดใหญ่ใกล้ฉัน
ข้อมูลพื้นที่สีเขียวจากกระบวนการเก็บข้อมูลอย่างมีส่วนร่วมกับชุมชนในหาดใหญ่ กลายมาเป็นนิทรรศการ FINE MY GREEN SPACE ที่นำเสนอภาพถ่ายพื้นที่สีเขียวพร้อมทั้งบอกเล่าข้อมูลพื้นที่สีเขียว ผ่านการวิเคราะห์บน mapmap: แพลตฟอร์มฐานข้อมูลเปิด ซึ่งจะช่วยให้เมืองสามารถปรับตัวและตอบสนองต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมและการใช้ทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงการนําเทคโนโลยีมาช่วยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่เพื่อการพัฒนาที่ตรงจุดและเป็นประโยชน์ต่อชุมชน
โดยทีม Hatyai Connext ได้สำรวจพื้นที่สาธารณะสีเขียวและรวบรวมผลสำรวจและผลการประเมินจากผู้ใช้พื้นที่จริง ร่วมกับคนในชุมชน ผู้นำท้องถิ่นและภาคีเครือข่าย โดยข้อมูลที่ได้จากวิเคราะห์แบ่งเป็นพื้นที่และชุมชนที่ควรได้รับการพัฒนาเร่งด่วน และพื้นที่โอกาสของกิจกรรมเพื่อสุขภาวะ ความคิดสร้างสรรค์ การเรียนรู้และเยาวชน หลังจากจบโครงการทางผู้พัฒนาแพลตฟอร์มตั้งใจให้ข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลสาธารณะที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย สามารถนำข้อมูลไปใช้เพื่อพัฒนานโยบาย แก้ไขปัญหาพื้นที่สีเขียวเพื่อหาแนวทางพัฒนาพื้นที่สีเขียวที่ทุกคนเป็นเจ้าของร่วมกัน
ข้อมูลที่เราได้นำเสนอจะเกิดขึ้นไม่ได้ หากไม่มีผู้นำชุมชนและคนในท้องถิ่นช่วยกันกลั่นกรองให้กับทีมเก็บข้อมูลสำหรับใครที่พลาดเนื้อหาเนิร์ดๆ เรามัดรวมมาให้อ่านกันอีกรอบ! คลิกดูภาพได้เลย
ขอขอบคุณภาพปกจาก คุณ Tanakorn Tia

#พื้นที่สีเขียวในหาดใหญ่ใกล้ฉัน
#สสส
#เทศบาลนครหาดใหญ่ #หาดใหญ่ #สงขลา

Bringing Living Heritage to Classrooms in Southern Thailand การนำมรดกภูมิปัญญามาสู่ห้องเรียนในภาคใต้ของประเทศไทย เสริมศั...
18/06/2025

Bringing Living Heritage to Classrooms in Southern Thailand การนำมรดกภูมิปัญญามาสู่ห้องเรียนในภาคใต้ของประเทศไทย เสริมศักยภาพครูเพื่อพลเมืองโลกศึกษา

City Connext และ UNESCO Bangkok ร่วมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ร่วมออกแบบกระบวนการและจัดการอบรมครูเรื่อง “การนำมรดกภูมิปัญญามาสู่ห้องเรียนในภาคใต้ของประเทศไทย” ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 13-15 มิถุนายน พ.ศ. 2568 ณ โรงแรมลีการ์เดนส์พลาซ่า อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

โครงการนี้มีเป้าหมายหลักคือ การช่วยให้คุณครูระดับประถมศึกษาในพื้นที่ สามารถออกแบบแผนการสอนที่เอา "มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม" หรือที่เราเรียกว่า "มรดกที่มีชีวิต" เข้าไปอยู่ในบทเรียนได้อย่างเป็นรูปธรรม

คุณครูและศึกษานิเทศก์จาก 6 จังหวัดภาคใต้ ทั้งสตูล, พัทลุง, สงขลา, ปัตตานี, ยะลา, นราธิวาส ยังมีศึกษานิเทศก์และนักวิชาการศึกษา รวมถึงนักศึกษาจากคณะศึกษาศาสตร์และคณะวิทยาการอิสลาม ม.อ.ปัตตานี เข้าร่วมกิจกรรมด้วย จำนวน 15 คน โดยมีทีมวิทยากรหลักจากคณะศึกษาศาสตร์ ม.อ.ปัตตานี และผู้เชี่ยวชาญทั้งในและต่างประเทศ อย่าง ดร.เฉลิมชัย พันธ์เลิศ จาก สพฐ., ศ.ดร.ฟาโรห์ บิน ซาคาเรีย และ ดร.วัน โมฮัมหมัด นาซดรอล บิน วัน โมฮัมหมัด นาซีร์ จากมหาวิทยาลัยมาเลเซีย รัฐกลันตัน มาร่วมให้ความรู้

หัวใจสำคัญของการอบรมคือ การทำความเข้าใจมรดกที่มีชีวิตในแบบฉบับภาคใต้ของเรา แล้วนำไปเชื่อมโยงกับการศึกษาเพื่อสร้าง "พลเมืองโลก". เป้าหมายคือการทำให้เด็กๆ เห็นคุณค่าและภูมิใจในวัฒนธรรมของตัวเองที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย และยังเชื่อมโยงบทเรียนกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) นอกจากนี้ ยังมีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานกับชุมชนในมาเลเซีย และลงพื้นที่สำรวจมรดกในหาดใหญ่ผ่านเครื่องมือการสำรวจย่านผ่านการเดิน

องค์ประกอบหลักของการอบรมประกอบด้วย 'พลเมืองโลกศึกษา (GCED)' การสำรวจวิธีการบูรณาการแนวคิดพลเมืองโลก เพื่อส่งเสริมความรู้สึกของการเป็นส่วนหนึ่งของมนุษยชาติร่วมกันและแก้ไขปัญหาระดับโลก มีการยกกรณีศึกษาการบูรณาการลวดลายเมารีเข้ากับวิชาคณิตศาสตร์ในนิวซีแลนด์ และการศึกษาอาหาร/หัตถกรรมท้องถิ่นในโรงเรียนญี่ปุ่น 'แผนที่วัฒนธรรมร่วม' การระบุองค์ประกอบทางวัฒนธรรมร่วมที่พบเห็นได้ทั่วไป (เรื่องเล่ามุขปาถะ, ศิลปะการแสดง, แนวปฏิบัติทางสังคม, งานหัตถกรรม, ความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติ, การละเล่นพื้นบ้าน, อาหาร) ในภาคใต้และรัฐใกล้เคียงของมาเลเซีย 'การมีส่วนร่วมของชุมชนและจริยธรรม' การแบ่งปันประสบการณ์จากมาเลเซียในการอนุรักษ์อัตลักษณ์ เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน การส่งผ่านความรู้ การปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัย และคุณค่าทางเศรษฐกิจของมรดก. ครูยังได้เรียนรู้เครื่องมือในการเก็บข้อมูล (การบันทึกเสียง/ภาพ, การสัมภาษณ์, ระบบดิจิทัล) และจริยธรรมในการทำงานภาคสนาม 'ขั้นตอนการออกแบบแผนการเรียนรู้' กระบวนการที่เป็นระบบในการพัฒนาแผนการเรียนรู้ที่บูรณาการ ICH ครอบคลุมการทำความเข้าใจบริบทท้องถิ่น, การกำหนดคำถามสำคัญ, การออกแบบกิจกรรม, การบันทึกผล และการประเมิน 'การศึกษาอิงพื้นที่และตัวอย่างท้องถิ่น' การส่งเสริมการเรียนรู้ที่ยึดโยงกับมรดกท้องถิ่น โดยนำเสนอกรอบหลักสูตรปัตตานีเฮอริเทจ และโครงการจากโรงเรียนต่างๆ เช่น "ข้าวยำอบกรอบ" ที่โรงเรียนยะหริ่ง และการออกแบบผ้าบาติกลายดอกบัวที่โรงเรียนอนุบาลปัตตานี 'กรณีศึกษาและการประยุกต์ใช้จริง' การทบทวนแผนการเรียนรู้ที่ประสบความสำเร็จจากผู้ชนะการประกวดแผนการเรียนรู้มรดกแห่งชีวิตเอเชียแปซิฟิกของยูเนสโกประจำปี 2023 (ภูฏาน, เวียดนาม, สิงคโปร์). ครูได้ลงมือออกแบบร่างแผนการเรียนรู้จากมรดกภูมิปัญญาในท้องถิ่นของตน เช่น "เกลือหวาน" ในปัตตานี และได้รับข้อเสนอแนะเชิงสร้างสรรค์จากวิทยากร

โครงการนี้ถือเป็นก้าวสำคัญในการอนุรักษ์และส่งเสริมมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม โดยการนำมาบูรณาการในระบบการศึกษา เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในอัตลักษณ์ท้องถิ่นและพลเมืองโลกในหมู่คนรุ่นใหม่
_
UNESCO, in collaboration with City Connext and Prince of Songkla University, Pattani Campus, is proud to announce the successful conclusion of the teacher training program, "Bringing Living Heritage to Classrooms in Southern Thailand," held from June 13-15, 2025, at the Lee Gardens Plaza Hotel in Hat Yai, Songkhla

This initiative aimed to empower primary school teachers to develop lesson plans that integrate Intangible Cultural Heritage (ICH) or Living Heritage into formal education. The program builds upon UNESCO's successful implementation of similar projects in 14 other Asia-Pacific countries.

The training brought together teachers and educational supervisors from Satun, Phatthalung, Songkhla, Pattani, Yala, Narathiwat provinces. There were also educational supervisors and educational scholars, including students from the Faculty of Education and the Faculty of Islamic Studies, PSU Pattani, totaling 15 people, who joined the activity. Led by faculty from the Faculty of Education, Prince of Songkla University, Pattani Campus, along with national and international experts such as Dr. Chalermchai Panlert from OBEC, Prof. Dr. Farok Bin Zakaria, and Dr. Wan Mohd Nazdrol bin Wan Mohd Nasir from University of Malaysia Kelantan, the program covered crucial topics

A central focus was the understanding of Living Heritage within the Southern Thai context, viewed through the lens of Global Citizenship Education (GCED). This approach emphasized recognizing the dynamic nature of cultural heritage, fostering pride, and connecting classroom learning to Sustainable Development Goals (SDGs) through practical lesson plan design. Participants also shared experiences working with local communities in Malaysia and engaged in fieldwork activities exploring Hat Yai's heritage

Key components of the training included: Global Citizenship Education (GCED): Exploring how to integrate GCED concepts, promoting a sense of shared humanity and addressing global issues. Case studies included integrating Maori patterns into math in New Zealand and local food/craft studies in Japanese schools, Shared Heritage Mapping: Identifying common cultural elements (oral traditions, performing arts, social practices, crafts, knowledge of nature, folk games, foods) within the region, Community Engagement and Ethics: Sharing Malaysian experiences in preserving identity, strengthening communities, transmitting knowledge, adapting heritage, and recognizing its economic value. Teachers were also introduced to tools for data collection (audio/visual, interviews, digital systems) and ethical considerations for fieldwork, Six-Step Lesson Plan Design: A structured process for developing ICH-integrated lesson plans, covering local context understanding, key questions, integration methods, activity design, documentation, and evaluation, Place-Based Education and Local Examples: Promoting learning rooted in local heritage, with examples like the Pattani Heritage Curriculum Framework and specific school projects, such as "Crispy Khao Yam" in Yaring School and batik design in Anuban Pattani School, Case Studies and Practical Application: Reviewing successful lesson plans from the 2023 UNESCO Asia-Pacific Living Heritage Lesson Plan Contest (Bhutan, Vietnam, Singapore). Teachers actively designed draft lesson plans based on local ICH, such as "sweet salt" in Pattani, and received constructive feedback from trainers.

This program represents a significant step towards preserving and promoting intangible cultural heritage by integrating it into the formal education system, fostering a deeper understanding of local identity and global citizenship among the next generation
_


PSU Pattani Campus - มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

16/06/2025

เมื่อปัญหาสุขภาพจิตกำลังทำร้ายสุขภาพใจ
คน 'สงขลา-หาดใหญ่' เครียดเกินไปหรือเปล่า ?
วิดีโอนี้เกิดขึ้นจากโปรเจกต์ Hatyai Revive Mindfulness ที่มุ่งสร้างสรรค์วัฒนธรรมแห่งสติในชุมชนเมืองหาดใหญ่ ด้วยเป้าหมายในการลดช่องว่างด้านสุขภาพจิต และส่งเสริมให้เกิดพื้นที่ปลอดภัยทางใจ โครงการนี้ขับเคลื่อนโดยความร่วมมือของเครือข่ายนักจิตวิทยา นักออกแบบสังคม นักการศึกษา และผู้ประกอบการท้องถิ่น เพื่อพัฒนาระบบสนับสนุนสุขภาวะทางใจที่เป็นรูปธรรมและยั่งยืนสำหรับชาวหาดใหญ่ทุกคน


#สสส
#มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช

ชาวหาดใหญ่ไม่ควรพลาดกับอีเวนต์บรรยายสุดพิเศษที่ชวนมาเข้าใจการใช้ ‘เทศกาลสร้างสรรค์’ ขับเคลื่อนเมืองชวนคนรุ่นใหม่ คนมีไฟ ...
03/06/2025

ชาวหาดใหญ่ไม่ควรพลาดกับอีเวนต์บรรยายสุดพิเศษ
ที่ชวนมาเข้าใจการใช้ ‘เทศกาลสร้างสรรค์’ ขับเคลื่อนเมือง
ชวนคนรุ่นใหม่ คนมีไฟ คนที่สนใจ ที่เชื่อในพลังของ "เทศกาล" ว่าเป็นมากกว่าแค่ความบันเทิง แต่คือเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนพื้นที่สร้างสรรค์และเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของเมือง
สำหรับ นักสร้างสรรค์ นักออกแบบ และทุกคนที่มี Passion ในการพลิกฟื้นเมืองด้วยไอเดียใหม่ๆ เตรียมตัวให้พร้อมสำหรับ Festival Camp ครั้งที่ 2 ในโครงการ Festival Creator 2025 ที่จะพาคุณไปเจาะลึกกับหัวข้อ "เทศกาลสร้างสรรค์: พื้นที่ อัตลักษณ์ และการมีส่วนร่วม" เราจะมาทำความเข้าใจว่า 'Festivalisation' คืออะไร และจะนำแนวคิดนี้มาใช้ขับเคลื่อนเมืองให้เกิดประโยชน์ที่ยั่งยืนได้อย่างไร
สำรองที่นั่งเข้าร่วมกิจกรรม: https://forms.gle/59uBKcj7PDzXxovr9 (ไม่มีค่าใช้จ่าย)
🗓️ วันพุธที่ 4 มิถุนายน 2568
⏰ เวลา 10.30 - 15.00 น. (เริ่มลงทะเบียน 10.00 น.)
📍 ณ ห้องราชาวดี โรงแรมบุรีศรีภู อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
เจาะลึก 4 หัวข้อสำคัญจากวิทยากรตัวจริง ที่จะช่วยจุดประกายไอเดียให้คุณ
-Festival Management: กระบวนการบริหารโครงการเทศกาลสร้างสรรค์โดย ทีมพัฒนากลยุทธ์พื้นที่สร้างสรรค์ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (CEA) Creative Economy Agency
-Co-Creation: กระบวนการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียในพื้นที่ โดย คุณกิรินทร์ ตั้งเลิศปัญญา กรรมการบริหารบริษัท Shma Soen Shma SoEn
- Placemaking Ex*****on: กระบวนการสร้างถิ่นที่สร้างสรรค์ โดย คุณนัฐพงษ์ พัฒนโกศัย และ คุณดลพร ชนะชัย สถาปนิกและนักออกแบบเมืองและพื้นที่สาธารณะ และผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท คลาวด์ฟลอร์ จำกัด Cloud-floor
- Concept Formation & Storytelling: การสร้างแนวคิดและการเล่าเรื่อง โดย คุณทรงกลด บางยี่ขัน บรรณาธิการบริหารและผู้ก่อตั้งนิตยสารออนไลน์ The Cloud
ถ้ามาไม่ได้ ไม่ต้องห่วง เรามีถ่ายทอดสดให้คุณร่วมแจมได้แบบเรียลไทม์:
รับชม Online ได้ที่: Thailand Creative & Design Center(TCDC) เริ่ม Live เวลา 10.20 น
Festival Creator คือโครงการที่ CEA ร่วมกับ สำนักงานส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ (THACCA) และคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้านเฟสติวัล เพื่อพัฒนาผู้ขับเคลื่อนเทศกาลสร้างสรรค์ตัวจริงเสียงจริง


ROAM & LEARN แพลตฟอร์มที่ชวนทุกคนมาแบ่งปันเรื่องราวน่าเรียนรู้แบบสนุกๆ ที่ซุกซ่อนอยู่ในชุมชนและย่านต่างๆ ผ่านคอนเทนต์ที่...
02/06/2025

ROAM & LEARN แพลตฟอร์มที่ชวนทุกคนมาแบ่งปันเรื่องราวน่าเรียนรู้แบบสนุกๆ ที่ซุกซ่อนอยู่ในชุมชนและย่านต่างๆ ผ่านคอนเทนต์ที่น่าสนใจ
ศักยภาพแห่งการเรียนรู้แฝงอยู่ในทุกพื้นที่รอบตัวเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในย่านและมุมต่างๆ ของ หาดใหญ่-สงขลา บ้านเรา ที่ซึ่งพวกเราหลายคนอาจอาศัยและคุ้นเคยเป็นอย่างดี บ่อยครั้งที่เรื่องราว เกร็ดความรู้ และเสน่ห์อันเป็นเอกลักษณ์ของสถานที่เหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นตึกเก่าในเมืองสงขลา วิถีชีวิตในตลาดกิมหยง หรือตำนานที่ซ่อนอยู่ในเขาตังกวน อาจถูกมองข้ามไปอย่างน่าเสียดาย วันนี้ เราขอเชิญชวนชาวสงขลาทุกท่าน มาร่วมเปิดประสบการณ์การเรียนรู้ในมิติใหม่ ที่ซึ่งการเดินทางและการแสวงหาความรู้สามารถเกิดขึ้นพร้อมกันได้อย่างลงตัว
Roam and Learn คือแพลตฟอร์มรูปแบบ Knowledge-based tourism ที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อเป็นสื่อกลางในการเชื่อมโยงผู้คนเข้ากับองค์ความรู้ที่ซ่อนเร้นอยู่ในชุมชนและย่านต่างๆ ทั่วประเทศ รวมถึง ในจังหวัดสงขลาของเรา เรามุ่งมั่นที่จะเป็นเครื่องมือให้ทุกท่านได้ออกสำรวจ สืบเสาะ และค้นพบเรื่องราวใหม่ๆ ที่น่าสนใจใน หาดใหญ่-สงขลา ผ่านเนื้อหา (Content) ที่สร้างสรรค์และคัดสรรมาเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของย่านเมืองเก่าสงขลา สถาปัตยกรรม วัฒนธรรมอาหารการกินอันหลากหลาย หรือภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ทรงคุณค่าของชาวใต้
ยิ่งไปกว่านั้น Roam and Learn ยังเป็นพื้นที่สำหรับสร้าง 'คอมมูนิตี้แห่งการเรียนรู้' ที่ผู้ใช้งานสามารถเข้ามาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น แบ่งปันประสบการณ์ หรือตั้งคำถามเกี่ยวกับย่านนั้นๆ ในหาดใหญ่-สงขลา โดยเฉพาะ ทำให้เกิดการต่อยอดความรู้และความเข้าใจในวงกว้างถึงเรื่องราวในบ้านเรา นอกจากนี้ ท่านยังจะไม่พลาดกิจกรรม (Event) ที่น่าสนใจซึ่งจัดขึ้นในพื้นที่ รวมถึงบทความสุด Exclusive ที่เจาะลึกเรื่องราวต่างๆ ซึ่งสงวนไว้สำหรับผู้ใช้งาน Roam and Learn เท่านั้น
เราเชื่อมั่นว่าทุกการเดินทางสามารถเป็นการเรียนรู้ และทุกพื้นที่ใน หาดใหญ่-สงขลา ของเรา คือแหล่งความรู้อันไม่สิ้นสุด มาร่วมกันสร้างวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ให้หยั่งรากลึก และแบ่งปันความงดงามของท้องถิ่นที่คุณรักผ่าน Roam and Learn แพลตฟอร์มที่พร้อมจะนำพาทุกท่านไป 'เที่ยวให้เพลิน เลิร์นให้รู้' จากแหล่งเรียนรู้ที่เข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา
พร้อมติดตามกิจกรรมมากมาย สามารถดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้
iOS : https://shorturl.at/yBrK6
Android : https://shorturl.at/GyinR

# OKMD

Living Legacies Walking through Hatyai’s Heritageสัมผัส 'มรดกที่มีชีวิต' ในหาดใหญ่เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคมที่ผ่านมาได้ต้อน...
01/06/2025

Living Legacies Walking through Hatyai’s Heritage
สัมผัส 'มรดกที่มีชีวิต' ในหาดใหญ่
เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคมที่ผ่านมาได้ต้อนรับกลุ่มนักศึกษาจาก NUS College, National University of Singapore ในโอกาสที่มาเยือนหาดใหญ่ เพื่อสำรวจว่ามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Cultural Heritage - ICH) ถูกนำไปปฏิบัติ, ถ่ายทอด, และบันทึกไว้อย่างไร เพื่อทำความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่าง วัฒนธรรม อัตลักษณ์ และชุมชน ในบริบทของเมืองหาดใหญ่
กิจกรรมเต็มไปด้วยประสบการณ์ เริ่มต้นด้วยการทำความรู้จักเมืองหาดใหญ่ผ่านการสำรวจย่านโดยรอบชุมทางรถไฟหาดใหญ่ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางสำคัญของเมือง จากนั้นนักศึกษาได้ เดินเท้าเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ไปพร้อมๆ กับการดื่มด่ำกับภาพ เสียง และกลิ่นอายของวิถีชีวิตดั้งเดิมในหาดใหญ่ ปิดท้ายด้วยการเข้าร่วม เวิร์กช็อปกับชุมชนที่คลองแหซึ่งเป็นแหล่งรวมของมรดกทางวัฒนธรรมที่มีชีวิตในพื้นที่
ตลอดกิจกรรม นักศึกษาได้วิเคราะห์และประเมินผลกระทบของ อาหาร ศิลปะการแสดง และสถาปัตยกรรม ที่มีต่อชุมชนท้องถิ่นผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น การนำชม การศึกษาชาติพันธุ์วรรณนาด้านอาหาร (food ethnography) เวิร์กช็อป การจัดเก็บข้อมูลดิจิทัล ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนเป็นส่วนสำคัญของการทำความเข้าใจมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ที่ยังคงมีชีวิตและเคลื่อนไหวอยู่ในปัจจุบันของหาดใหญ่
_
On May 30th, City Connext welcomed a group of students from NUS College, National University of Singapore, to Hat Yai. The visit aimed to explore how Intangible Cultural Heritage (ICH) is practiced, transmitted, and documented, fostering an understanding of the relationship between culture, identity, and community within Hat Yai.
The immersive experience began with an exploration of the areas surrounding Hat Yai's central railway junction. Students then embarked on a historical walking tour, soaking in the sights, sounds, and scents of Hat Yai's traditional way of life. The day concluded with a community workshop in Khlong Hae, a vibrant hub of living cultural heritage.
Throughout the activities, students analyzed the impact of food, performing arts, and architecture on local communities. This included guided tours, food ethnography, and digital archiving workshops, all crucial for understanding Hat Yai's dynamic and living intangible cultural heritage.





30/05/2025

THE LIGHT SHOP | "คนซ่อมตะเกียง"
จากพนักงานแบงก์ สู่ชีวิตที่ตามหา
จากชีวิตที่เร่งรีบในเมืองกรุง คุณบารมี จุนเด็น ได้ค้นพบทางเดินใหม่ที่เต็มไปด้วยความสงบและความหมาย เขาเลือกที่จะทิ้งชีวิตพนักงานแบงก์ไว้เบื้องหลัง แล้วออกเดินทางโดยไม่มีจุดหมาย จนมาหยุดที่หาดใหญ่ และเริ่มต้นชีวิตใหม่ด้วยสิ่งที่รัก นั่นคือการชุบชีวิตตะเกียงเก่าให้กลับมาส่องแสงอีกครั้ง
ร้านเล็กๆ แห่งนี้ ไม่ได้เป็นเพียงที่ซ่อมตะเกียง แต่เป็นที่รวมตัวของเพื่อนฝูง เป็นร้านกาแฟเล็กๆ ที่เติมเต็มหัวใจให้คนแปลกหน้าได้มาพบกัน เรื่องราวของคุณบารมีจะทำให้คุณสัมผัสได้ถึงความสุขที่แท้จริงจากการใช้ชีวิตในแบบที่เราเป็น และการทำสิ่งที่เรารัก

#คนซ่อมตะเกียง #ร้านซ่อมตะเกียงหาดใหญ่ #ตะเกียงโบราณหาดใหญ่

ค้างคาวห้าตัว: สัญลักษณ์มงคลจากศาสนสถานจีน สู่หัวใจวัฒนธรรมจีนในเมืองหาดใหญ่ #วัฒนธรรมจีนร่วมก่อร่างสร้างเมืองหาดใหญ่เมื...
27/05/2025

ค้างคาวห้าตัว: สัญลักษณ์มงคลจากศาสนสถานจีน สู่หัวใจวัฒนธรรมจีนในเมืองหาดใหญ่
#วัฒนธรรมจีนร่วมก่อร่างสร้างเมืองหาดใหญ่
เมืองหาดใหญ่ ไม่เพียงเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจที่สำคัญของภาคใต้เท่านั้น แต่ยังเป็นแหล่งรวมวัฒนธรรมที่หลากหลาย โดยเฉพาะวัฒนธรรมจีนซึ่งหยั่งรากลึกอยู่ในวิถีชีวิตของผู้คนในเมืองนี้มานานนับศตวรรษ สังเกตได้จากย่านการค้าเก่า ตลาดสด ศาลเจ้า ไปจนถึงเทศกาลต่างๆ ล้วนสะท้อนถึงอิทธิพลของชาวจีนที่มาตั้งรกรากและร่วมสร้างเมืองนี้ให้เติบโตขึ้นมาในอดีต
#ความหมายลึกซึ้งมากกว่าลวดลายธรรมดา
สัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมจีนที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในมุมต่างๆของศาสนสถานและอาคารบ้านเรือนนั้นมีให้เห็นอยู่มากมาย ซึ่งแต่ละลวดลายล้วนแฝงไปด้วยความหมายที่สื่อถึงคติความเชื่อตามแบบจีนโบราณอยู่ แต่มีสัญลักษณ์หนึ่งที่อยู่ใกล้ชิดและพบเห็นได้บ่อยในศาสนสถานจีนคือ “ค้างคาวห้าตัว” หรือ “อู่ฝู (五福)” ซึ่งไม่ใช่เพียงองค์ประกอบศิลปะ แต่ยังเป็นสัญลักษณ์มงคลที่สื่อถึง “ความสุขห้าประการ” ได้แก่ อายุยืนยาว ความมั่งคั่งร่ำรวย สุขภาพแข็งแรงไร้โรคภัย คุณธรรมอันประเสริฐ และ วาระสุดท้ายที่สงบสุข นอกจากนี้ด้วยความที่คำว่า “ค้างคาว”( 蝠 ฝู )ในภาษาจีนออกเสียงคล้ายคำว่า “โชคดี”( 福 ฝู) ทำให้ภาพของค้างคาวห้าตัวกลายเป็นภาพที่พบเห็นได้บ่อยในศิลปกรรมจีน ด้วยเหตุนี้เราจึงสามารถเห็นลวดลายค้างคาวห้าตัว โบยบินอยู่เหนือประตูโบสถ์ กระเบื้องหลังคา หรือ ตามกรอบมุมของศาลเจ้าและวัดจีน ซึ่งเหตุผลของการมีอยู่นั้นไม่ใช่แค่เพื่อตกแต่งแต่มันคือ “พรจากบรรพบุรุษ” ที่ถูกวางไว้ให้คนรุ่นหลังอย่างเราได้รับรู้
#สัญลักษณ์เตือนใจจากบรรพบุรุษ
ความเชื่อเรื่อง "ค้างคาวห้าตัว" ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แทน "อู่ฝู" (五福) หรือ "ความสุขห้าประการ" นั้น เป็นแนวคิดดั้งเดิมของขงจื๊อที่ถูกนำติดตัวมาโดยชาวจีนรุ่นแรกที่เข้ามาตั้งรกรากในหาดใหญ่ เราจึงได้เห็นการถ่ายทอดเรื่องราวความเชื่อนี้อย่างชัดเจนผ่านศาสนสถานและสถานที่สำคัญต่าง ๆ ของชาวไทยเชื้อสายจีนที่อาศัยอยู่ในเมืองหาดใหญ่ โดยพรทั้งห้าประการที่กล่าวถึงมีความหมายที่ลึกซึ้งและครอบคลุมทุกมิติของการมีชีวิตที่ดี ฉางโซ่ว (长寿) หมายถึง การมีอายุยืนยาว ไม่เพียงแค่การมีชีวิตที่ยืนยาวเพียงอย่างเดียว แต่ยังรวมถึงการมีคุณภาพชีวิตที่ดี ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ เพื่อจะได้ใช้ชีวิตอย่างเต็มที่และเห็นความสุขความสำเร็จของลูกหลานในอนาคต ฟู่กุ้ย (富贵) หมายถึง ความมั่งคั่งร่ำรวย ซึ่งไม่ได้จำกัดเพียงแค่เงินทอง แต่ยังรวมถึงความอุดมสมบูรณ์ในชีวิต มีฐานะความเป็นอยู่ที่ดี มีทรัพย์สินที่มั่นคง และความเจริญรุ่งเรืองในหน้าที่การงานหรือธุรกิจ ที่ช่วยให้สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างสะดวกสบายมากพอจนสามารถเป็นอีกแรงในการช่วยเหลือผู้อื่นได้ คังหนิง (康宁) หมายถึง การมีสุขภาพแข็งแรงไร้โรคภัย ซึ่งถือเป็นแก่นแท้ของการมีชีวิตที่ดี เพราะไม่ว่าจะมีอายุยืนยาวหรือมั่งคั่งเพียงใด หากปราศจากสุขภาพกายและใจที่สมบูรณ์ก็ยากที่จะมีความสุขในชีวิตได้อย่างแท้จริง เฮ่าเต๋อ (好得) หมายถึง คุณธรรมอันประเสริฐ คือการมีจิตใจที่ดีงาม มีเมตตา ซื่อสัตย์สุจริต และช่วยเหลือผู้อื่น การมีคุณธรรมสร้างความสุขทางใจที่ยั่งยืน และทำให้เป็นที่รักใคร่และได้รับการยอมรับจากผู้อื่น และสุดท้าย ซ่านจง (善终) หมายถึง การมีวาระสุดท้ายที่สงบสุข ซึ่งเป็นความปรารถนาสำคัญของคนทุกคนที่จะได้จากโลกนี้ไปอย่างสงบ ไม่ต้องทนทุกข์ทรมาน เป็นการปิดฉากชีวิตที่สมบูรณ์แบบ ทั้งร่างกายและจิตใจ โดยไม่เป็นภาระแก่ลูกหลาน แนวคิด "อู่ฝู" จึงเป็นแก่นแท้ของความปรารถนาในชีวิตที่มีความสุขและสมบูรณ์แบบของชาวจีนในหาดใหญ่ ที่ส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น และเป็นสิ่งสะท้อนถึงค่านิยมที่พวกเขาให้ความสำคัญในทุกช่วงของชีวิต
#วิถีจีนที่ไม่เคยเลือนหายจากเมืองหาดใหญ่
จะเห็นได้ว่า แนวคิดเหล่านี้สอดคล้องกับ “วิถีจีนในหาดใหญ่” ที่เน้นครอบครัวใหญ่ อาชีพค้าขาย ความเคารพผู้ใหญ่ และการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้บรรพชนอยู่อย่างสม่ำเสมอ ค้างคาวห้าตัวอาจเป็นแค่ภาพเล็กๆ ที่แอบซ่อนตามศาลเจ้า แต่มันก็สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิต ความศรัทธา และความผูกพันของชาวไทยเชื้อสายจีนในหาดใหญ่ได้อย่างลึกซึ้ง มันคือสิ่งที่คอยย้ำเตือนเราอย่างชัดเจนว่า “วัฒนธรรมจีนไม่เคยหายไปจากหาดใหญ่”

ที่อยู่

Ban Hat Yai

เบอร์โทรศัพท์

+66840671902

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ Hatyai Connextผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ ธุรกิจของเรา

ส่งข้อความของคุณถึง Hatyai Connext:

แชร์