บริษัท เอ็นจ์ 45 จำกัด

  • Home
  • บริษัท เอ็นจ์ 45 จำกัด

บริษัท เอ็นจ์ 45 จำกัด ENGINEERING ALL SOLUTION

จรรยาบรรณ​ ซื่อสัตย์​ รับผิดชอบ
𝚎𝚗𝚐𝚒𝚗𝚎𝚎𝚛𝚒𝚗𝚐​ 𝚊𝚕𝚕​ 𝚜𝚘𝚕𝚞𝚝𝚒𝚘𝚗𝚜
www.eng45group.com
-𝙸𝚗𝚜𝚙𝚎𝚌𝚝𝚘𝚛 -𝙸𝚗𝚜𝚝𝚊𝚕𝚕𝚊𝚝𝚒𝚘𝚗 -𝙿𝚛𝚎𝚟𝚎𝚗𝚝𝚒𝚟𝚎 -𝙼𝚊𝚒𝚗𝚝𝚎𝚗𝚊𝚗𝚌𝚎 -𝚂𝚎𝚛𝚟𝚒𝚌𝚎 -𝙴𝚕𝚎𝚌𝚝𝚛𝚒𝚌𝚊𝚕 -𝚃𝚑𝚎𝚛𝚖𝚘𝚜𝚌𝚊𝚗

  _𝟭𝟭𝟱𝙠𝙑 #ความรู้พื้นฐานเรื่องลักษณะการจัดบัสแบบต่างๆ𝟭. ประเภทของสถานีไฟฟ้าประเภทของสถานีไฟฟ้า จำแนกตามสถานที่ในการติดตั...
12/07/2025

_𝟭𝟭𝟱𝙠𝙑

#ความรู้พื้นฐานเรื่องลักษณะการจัดบัสแบบต่างๆ

𝟭. ประเภทของสถานีไฟฟ้าประเภทของสถานีไฟฟ้า จำแนกตามสถานที่ในการติดตั้งสถานีไฟฟ้า สภาพแวดล้อมบริเวณที่ตั้งสถานีไฟฟ้า และความต้องการในเรื่องของความมั่นคงปลอดภัยในการจ่ายไฟ ตลอดจนความต้องการในเรื่องค่าใช้จ่าย ซึ่งมีอยู่ 𝟯 ประเภท ดังนี้

𝟭.𝟭 สถานีไฟฟ้าแบบนอกอาคาร (𝗢𝘂𝘁𝗱𝗼𝗼𝗿 𝗦𝘂𝗯𝘀𝘁𝗮𝘁𝗶𝗼𝗻) หมายถึงสถานีไฟฟ้าที่มีสวิตซ์ตัดตอน 𝗕𝗿𝗲𝗮𝗸𝗲𝗿 หม้อแปลง รวมถึงอุปกรณ์อื่นๆ อยู่บนลานไกภายนอกอาคาร เหมาะสำหรับกรณีที่สถานีไฟฟ้าอยู่ห่างจากชุมชน และไม่มีโอกาสที่ชุมชนจะขยายตัวไปถึง โดยสถานีไฟฟ้าประเภทนี้ มีข้อดีคือ มีราคาถูก บำรุงรักษาได้ง่าย แต่มีข้อเสียเมื่อเทียบกับแบบในอาคาร คือเรื่องความมั่นคงในการจ่ายไฟต่ำกว่า เนื่องจากมีปัจจัยจากสภาพแวดล้อมภายนอกที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น สภาพอากาศ รวมถึงความปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงานบำรุงรักษา ต่ำกว่าแบบในอาคาร อีกทั้งการใช้อากาศเป็นฉนวนระหว่างตัวนำ ทำให้ต้องการพื้นที่ในการก่อสร้างมาก

𝟭.𝟮 สถานีไฟฟ้าแบบในอาคาร (𝗜𝗻𝗱𝗼𝗼𝗿 𝗦𝘂𝗯𝘀𝘁𝗮𝘁𝗶𝗼𝗻) หมายถึง
สถานีไฟฟ้าที่มีสวิตช์ตัดตอน 𝗕𝗿𝗲𝗮𝗸𝗲𝗿 หม้อแปลง รวมถึงอุปกรณ์อื่นๆ อยู่ภายในอาคาร โดยอยู่ในระบบปิด ซึ่งใช้ก๊าซ หรือสุญญากาศ เป็นฉนวนระหว่างตัวนำ ทำให้ใช้พื้นที่น้อยกว่าแบบนอกอาคาร ซึ่งใช้อากาศเป็นฉนวน เหมาะสำหรับกรณีที่สถานีไฟฟ้าตั้งอยู่ในบริเวณชุมชน ซึ่งมีพื้นที่จำกัด และมีการรบกวนจากปัจจัยภายนอกค่อนข้างมาก โดยข้อดีของสถานีไฟฟ้าแบบภายในอาคารคือมีความมั่นคงสูง และความปลอดภัยต่อปฏิบัติงานบำรุงรักษามากกว่าแบบนอกอาคาร แต่มีข้อเสียคือมีราคาแพง

𝟭.𝟯 สถานีไฟฟ้าแบบชั่วคราว (𝗧𝗲𝗺𝗽𝗼𝗿𝗮𝗿𝘆 𝗦𝘂𝗯𝘀𝘁𝗮𝘁𝗶𝗼𝗻) หมายถึง สถานีไฟฟ้าที่มีจุดประสงค์ในการใช้งานเพียงชั่วคราวในกรณีที่ต้องการเพิ่มจุดจ่ายกระแสไฟฟ้าโดยเร่งด่วน และไม่สามารถจัดหาหรือก่อสร้าง สถานีไฟฟ้าใหม่แบบถาวรได้ทัน ข้อดีคือสามารถติดตั้งได้เร็วตามความต้องการเร่งด่วน และใช้พื้นที่น้อย แต่มีข้อเสียคือ ความสามารถในการจ่ายโหลดมีจำกัด เนื่องจากมีขนาดเล็ก ตัวอย่างของสถานีฯ ชั่วคราว เช่น 𝗖𝗼𝗺𝗽𝗮𝗰𝘁 𝗦𝘂𝗯𝘀𝘁𝗮𝘁𝗶𝗼𝗻, 𝗠𝗼𝗯𝗶𝗹𝗲 𝗦𝘂𝗯𝘀𝘁𝗮𝘁𝗶𝗼𝗻, 𝗠𝗼𝗱𝘂𝗹𝗮𝗿 𝗦𝘂𝗯𝘀𝘁𝗮𝘁𝗶𝗼𝗻 เป็นต้น

www.eng45group.com

☎️ : 𝟶𝟸 𝟶𝟽𝟽 𝟽𝟼𝟸𝟸
📞 : 𝟶𝟾𝟹 𝟽𝟶𝟹 𝟷𝟶𝟸𝟶

11/07/2025

PF​ ติดลบ​????
11/07/2025

PF​ ติดลบ​????

  _𝟭𝟭𝟱𝙠𝙑 #รีเลย์ป้องกันที่ใช้งานในระบบกำลังไฟฟ้าของ_𝗣𝗘𝗔รีเลย์ป้องกันที่ใช้งานในระบบกำลังไฟฟ้าของ 𝗣𝗘𝗔 โดยส่วนใหญ่จะถูกติด...
11/07/2025

_𝟭𝟭𝟱𝙠𝙑

#รีเลย์ป้องกันที่ใช้งานในระบบกำลังไฟฟ้าของ_𝗣𝗘𝗔

รีเลย์ป้องกันที่ใช้งานในระบบกำลังไฟฟ้าของ 𝗣𝗘𝗔 โดยส่วนใหญ่จะถูกติดตั้งในสถานีไฟฟ้าของ 𝗣𝗘𝗔 โดยรายละเอียดของรีเลย์ป้องกันที่ติดตั้งในสถานีไฟฟ้า มีดังนี้

𝟭 สถานีไฟฟ้าระบบ 𝟭𝟭𝟱 𝗸𝗩 จัดบัสแบบ 𝗠𝗮𝗶𝗻 𝗮𝗻𝗱 𝘁𝗿𝗮𝗻𝘀𝗳𝗲𝗿
𝟮 สถานีไฟฟ้าระบบ 𝟭𝟭𝟱 𝗸𝗩 จัดบัสแบบ 𝗕𝗿𝗲𝗮𝗸𝗲𝗿 𝗮𝗻𝗱 𝗮 𝗵𝗮𝗹𝗳
𝟯 สถานีไฟฟ้าระบบ 𝟭𝟭𝟱 𝗸𝗩 จัดบัสแบบ 𝗗𝗼𝘂𝗯𝗹𝗲 𝗯𝘂𝘀 𝗗𝗼𝘂𝗯𝗹𝗲 𝗕𝗿𝗲𝗮𝗸𝗲𝗿 (𝗗𝗕𝗗𝗕)
𝟰 สถานีไฟฟ้าระบบ 𝟭𝟭𝟱 𝗸𝗩 จัดบัสแบบ 𝗗𝗼𝘂𝗯𝗹𝗲 𝗯𝘂𝘀 𝘀𝗶𝗻𝗴𝗹𝗲 𝗕𝗿𝗲𝗮𝗸𝗲𝗿 (𝗗𝗕𝗗𝗦)
𝟱 สถานีไฟฟ้าระบบ 𝟭𝟭𝟱 𝗸𝗩 จัดบัสแบบ 𝗛 𝗦𝗰𝗵𝗲𝗺𝗲
𝟲 สถานีไฟฟ้าระบบ 𝟮𝟮/𝟯𝟯 𝗸𝗩 จัดบัสแบบ 𝗦𝗶𝗻𝗴𝗹𝗲 𝗯𝘂𝘀 𝘀𝗶𝗻𝗴𝗹𝗲 𝗯𝗿𝗲𝗮𝗸𝗲𝗿 (𝗚𝗜𝗦)
𝟳 สถานีไฟฟ้าระบบ 𝟮𝟮/𝟯𝟯 𝗸𝗩 จัดบัสแบบ 𝗦𝗶𝗻𝗴𝗹𝗲 𝗯𝘂𝘀 𝘀𝗶𝗻𝗴𝗹𝗲 𝗯𝗿𝗲𝗮𝗸𝗲𝗿 (𝗩𝗜𝗦)

#ความรู้พื้นฐานเรื่องลักษณะการจัดบัสแบบต่างๆ

𝟭 ประเภทของสถานีไฟฟ้าประเภทของสถานีไฟฟ้า จำแนกตามสถานที่ในการติดตั้งสถานีไฟฟ้า สภาพแวดล้อมบริเวณที่ตั้งสถานีไฟฟ้า และความต้องการในเรื่องของความมั่นคงปลอดภัยในการจ่ายไฟ ตลอดจนความต้องการในเรื่องค่าใช้จ่าย ซึ่งมีอยู่ 𝟯 ประเภท ดังนี้

𝟭.𝟭 สถานีไฟฟ้าแบบนอกอาคาร (𝗢𝘂𝘁𝗱𝗼𝗼𝗿 𝗦𝘂𝗯𝘀𝘁𝗮𝘁𝗶𝗼𝗻) หมายถึงสถานีไฟฟ้าที่มีสวิตซ์ตัดตอน 𝗕𝗿𝗲𝗮𝗸𝗲𝗿 หม้อแปลง รวมถึงอุปกรณ์อื่นๆ อยู่บนลานไกภายนอกอาคาร เหมาะสำหรับกรณีที่สถานีไฟฟ้าอยู่ห่างจากชุมชน และไม่มีโอกาสที่ชุมชนจะขยายตัวไปถึง โดยสถานีไฟฟ้าประเภทนี้ มีข้อดีคือ มีราคาถูก บำรุงรักษาได้ง่าย แต่มีข้อเสียเมื่อเทียบกับแบบในอาคาร คือเรื่องความมั่นคงในการจ่ายไฟต่ำกว่า เนื่องจากมีปัจจัยจากสภาพแวดล้อมภายนอกที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น สภาพอากาศ รวมถึงความปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงานบำรุงรักษา ต่ำกว่าแบบในอาคาร อีกทั้งการใช้อากาศเป็นฉนวนระหว่างตัวนำ ทำให้ต้องการพื้นที่ในการก่อสร้างมาก

𝟭.𝟮 สถานีไฟฟ้าแบบในอาคาร (𝗜𝗻𝗱𝗼𝗼𝗿 𝗦𝘂𝗯𝘀𝘁𝗮𝘁𝗶𝗼𝗻) หมายถึงสถานีไฟฟ้าที่มีสวิตช์ตัดตอน 𝗕𝗿𝗲𝗮𝗸𝗲𝗿 หม้อแปลง รวมถึงอุปกรณ์อื่นๆ อยู่ภายในอาคาร โดยอยู่ในระบบปิด ซึ่งใช้ก๊าซ หรือสุญญากาศ เป็นฉนวนระหว่างตัวนำ ทำให้ใช้พื้นที่น้อยกว่าแบบนอกอาคาร ซึ่งใช้อากาศเป็นฉนวน เหมาะสำหรับกรณีที่สถานีไฟฟ้าตั้งอยู่ในบริเวณชุมชน ซึ่งมีพื้นที่จำกัด และมีการรบกวนจากปัจจัยภายนอกค่อนข้างมาก โดยข้อดีของสถานีไฟฟ้าแบบภายในอาคารคือมีความมั่นคงสูง และความปลอดภัยต่อปฏิบัติงานบำรุงรักษามากกว่าแบบนอกอาคาร แต่มีข้อเสียคือมีราคาแพง

𝟭.𝟯 สถานีไฟฟ้าแบบชั่วคราว (𝗧𝗲𝗺𝗽𝗼𝗿𝗮𝗿𝘆 𝗦𝘂𝗯𝘀𝘁𝗮𝘁𝗶𝗼𝗻) หมายถึง สถานีไฟฟ้าที่มีจุดประสงค์ในการใช้งานเพียงชั่วคราวในกรณีที่ต้องการเพิ่มจุดจ่ายกระแสไฟฟ้าโดยเร่งด่วน และไม่สามารถจัดหาหรือก่อสร้าง สถานีไฟฟ้าใหม่แบบถาวรได้ทัน ข้อดีคือสามารถติดตั้งได้เร็วตามความต้องการเร่งด่วน และใช้พื้นที่น้อย แต่มีข้อเสียคือ ความสามารถในการจ่ายโหลดมีจำกัด เนื่องจากมีขนาดเล็ก ตัวอย่างของสถานีฯ ชั่วคราว เช่น 𝗖𝗼𝗺𝗽𝗮𝗰𝘁 𝗦𝘂𝗯𝘀𝘁𝗮𝘁𝗶𝗼𝗻, 𝗠𝗼𝗯𝗶𝗹𝗲 𝗦𝘂𝗯𝘀𝘁𝗮𝘁𝗶𝗼𝗻, 𝗠𝗼𝗱𝘂𝗹𝗮𝗿 𝗦𝘂𝗯𝘀𝘁𝗮𝘁𝗶𝗼𝗻 เป็นต้น

www.eng45group.com

☎️ : 𝟶𝟸 𝟶𝟽𝟽 𝟽𝟼𝟸𝟸
📞 : 𝟶𝟾𝟹 𝟽𝟶𝟹 𝟷𝟶𝟸𝟶

  _𝟭𝟭𝟱𝙠𝙑 #ชนิดของรีเลย์ป้องกันตัวอย่างของรีเลย์ป้องกัน ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ในระบบกำลังไฟฟ้า มีดังนี้𝟭) รีเลย์กระแสเกิ...
10/07/2025

_𝟭𝟭𝟱𝙠𝙑

#ชนิดของรีเลย์ป้องกันตัวอย่างของรีเลย์ป้องกัน ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ในระบบกำลังไฟฟ้า มีดังนี้

𝟭) รีเลย์กระแสเกิน (𝗢𝘃𝗲𝗿𝗰𝘂𝗿𝗿𝗲𝗻𝘁 𝗥𝗲𝗹𝗮𝘆) [𝟱𝟬,𝟱𝟭,𝟱𝟬/𝟱𝟭]
มีหน้าที่ตัดวงจร เมื่อค่ากระแสของระบบเกินค่าที่ตั้งไว้ โดยในเวลาการทำงานอาจจะทำงานทันทีในเวลา 𝟭𝟬 – 𝟰𝟬 𝗺𝘀 เรียกว่า แบบ 𝗜𝗻𝘀𝘁𝗮𝗻𝘁𝗮𝗻𝗲𝗼𝘂𝘀 𝗢𝘃𝗲𝗿𝗰𝘂𝗿𝗿𝗲𝗻𝘁 𝗥𝗲𝗹𝗮𝘆 (𝟱𝟬) หรือทำงานโดยมีการหน่วงเวลา เรียกว่า 𝗧𝗶𝗺𝗲 𝗗𝗲𝗹𝗮𝘆 𝗢𝘃𝗲𝗿𝗰𝘂𝗿𝗿𝗲𝗻𝘁 𝗥𝗲𝗹𝗮𝘆 (𝟱𝟭) มีอินพุต เป็นค่ากระแส

𝟮) รีเลย์กระแสเกินแบบรู้ทิศทาง [𝟲𝟳]
หลักการทำงานเหมือนกับรีเลย์กระแสเกิน [𝟱𝟬,𝟱𝟭] แต่สามารถกำหนดทิศทางของกระแส 𝗙𝗮𝘂𝗹𝘁 ที่จะให้รีเลย์ตัดกระแสได้ ว่าเป็นกระแส 𝗙𝗮𝘂𝗹𝘁 ทิศทางที่ไหลมาจากด้านแหล่งจ่าย หรือไหลมาจากด้านโหลด โดยรีเลย์กระแสเกินแบบรู้ทิศทาง [𝟲𝟳] จะมีอินพุตเป็นค่ากระแส และแรงดันไฟฟ้า โดยแรงดันไฟฟ้า จะถูกนำมาคำนวณเพื่อวิเคราะห์ทิศทางการไหลของกระแส 𝗙𝗮𝘂𝗹𝘁

𝟯) รีเลย์ผลต่าง (𝗗𝗶𝗳𝗳𝗲𝗿𝗲𝗻𝘁𝗶𝗮𝗹 𝗥𝗲𝗹𝗮𝘆) [𝟴𝟳]
รีเลย์วัดค่าผลต่าง จะทำงานโดยอาศัยหลักการวัดผลรวมของเวคเตอร์ปริมาณไฟฟ้าที่ไหลเข้าขอบเขตการป้องกัน และไหลออกจากขอบเขตป้องกัน รีเลย์ประเภทนี้ใช้ในการป้องกันการผิดพร่องภายในอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ เช่น มอเตอร์ เครื่องกำเนิดไฟฟ้าหม้อแปลงไฟฟ้า หรือเมนบัส เป็นต้น การทำงานของรีเลย์ประเภทนี้จะใช้ 𝗖𝗧 ต่อที่วงจรด้านหน้าและด้านหลังของอุปกรณ์ไฟฟ้า การต่อขั้วของ 𝗖𝗧 จะต้องถูกต้องเพื่อให้กระแสผลต่างที่ป้อนให้รีเลย์เป็นศูนย์ ในสภาวะปกติหรือเกิดการผิดพร่องนอกเขต ป้องกัน และกระแสผลต่างที่ป้อนให้รีเลย์จะไม่เป็นศูนย์กรณีที่เกิดการผิดพร่องในเขตป้องกัน ซึ่งจะทำให้รีเลย์สามารถตรวจสอบจับความผิดปกติดังกล่าวได้

𝟰) รีเลย์ระยะทาง (𝗗𝗶𝘀𝘁𝗮𝗻𝗰𝗲 𝗥𝗲𝗹𝗮𝘆) [𝟮𝟭]
อาศัยหลักการวัดค่าความต้านทาน (𝗜𝗺𝗽𝗲𝗱𝗮𝗻𝗰𝗲) ของจุดที่เกิดการผิดพร่องจนถึงจุดที่ติดตั้ง 𝗖𝗧 และ 𝗩𝗧 โดยใช้การวัดค่ากระแสและแรงดันแล้วนำมาคำนวณค่าอิมพีแดนซ์ และนำค่าอิมพีแดนซ์ที่คำนวณได้ ไป 𝗣𝗹𝗼𝘁 บน 𝗥-𝗫 𝗗𝗶𝗮𝗴𝗿𝗮𝗺 ของรีเลย์ เพื่อดูว่าอยู่ในขอบเขตการป้องกันหรือไม่ หากจุดที่ 𝗣𝗹𝗼𝘁 อยู่ในขอบเขตการป้องกันแสดงว่า 𝗙𝗮𝘂𝗹𝘁 เกิดในโซนการป้องกัน รีเลย์ระยะทางจะสั่ง 𝗕𝗿𝗲𝗮𝗸𝗲𝗿 𝗧𝗿𝗶𝗽 เปิดวงจรเพื่อตัดกระแส 𝗙𝗮𝘂𝗹𝘁 ทั้งนี้รีเลย์ระยะทางจะแบ่งเป็นหลายประเภท ตามลักษณะการกำหนดขอบเขตการป้องกันใน 𝗥-𝗫 𝗗𝗶𝗮𝗴𝗿𝗮𝗺 เช่น 𝗥𝗲𝗮𝗰𝘁𝗮𝗻𝗰𝗲 𝗿𝗲𝗹𝗮𝘆, 𝗜𝗺𝗽𝗲𝗱𝗮𝗻𝗰𝗲 𝗿𝗲𝗹𝗮𝘆, 𝗠𝗵𝗼 𝗿𝗲𝗹𝗮𝘆, 𝗢𝗳𝗳 𝘀𝗲𝘁 𝗺𝗵𝗼 𝗿𝗲𝗹𝗮𝘆, 𝗤𝘂𝗮𝗱𝗿𝗶𝗹𝗮𝘁𝗲𝗿𝗮𝗹 𝗥𝗲𝗹𝗮𝘆 เป็นต้น

𝟱) รีเลย์แรงดัน (𝗩𝗼𝗹𝘁𝗮𝗴𝗲 𝗥𝗲𝗹𝗮𝘆) , 𝗢𝘃𝗲𝗿𝘃𝗼𝗹𝘁𝗮𝗴𝗲 𝗥𝗲𝗹𝗮𝘆 [𝟱𝟵] , 𝗨𝗻𝗱𝗲𝗿𝘃𝗼𝗹𝘁𝗮𝗴𝗲 𝗥𝗲𝗹𝗮𝘆 [𝟮𝟳]
เป็นรีเลย์ที่มีหน้าที่ตรวจจับความผิดปกติของแรงดันมากเกินไปหรือน้อยเกินไป อาจจะทำงานแบบทันทีทันใดหรือมีการหน่วงเวลาก็ได้

𝟲) รีเลย์ปิดซ้ำอัตโนมัติ (𝗔𝘂𝘁𝗼-𝗥𝗲𝗰𝗹𝗼𝘀𝗶𝗻𝗴 𝗥𝗲𝗹𝗮𝘆) [𝟳𝟵]
ทำหน้าที่ตรวจสอบความพร้อมของระบบไฟฟ้าก่อนให้สัญญาณปิดวงจร (𝗖𝗹𝗼𝘀𝗲 𝗦𝗶𝗴𝗻𝗮𝗹) ไปยัง 𝗖𝗶𝗿𝗰𝘂𝗶𝘁 𝗕𝗿𝗲𝗮𝗸𝗲𝗿 โดยได้รับสัญญาณกระตุ้น (𝗜𝗻𝗶𝘁𝗶𝗮𝘁𝗲) จากรีเลย์ป้องกันวงจรสายส่งไฟฟ้า (𝗟𝗶𝗻𝗲 𝗣𝗿𝗼𝘁𝗲𝗰𝘁𝗶𝗼𝗻 𝗥𝗲𝗹𝗮𝘆) ซึ่งสามารถตรวจพบ 𝗙𝗮𝘂𝗹𝘁และสั่งให้ 𝗧𝗿𝗶𝗽 𝗖𝗶𝗿𝗰𝘂𝗶𝘁 𝗕𝗿𝗲𝗮𝗸𝗲𝗿

𝟳) รีเลย์ซิงโครไนซ์ (𝗦𝘆𝗻𝗰𝗵𝗿𝗼𝗻𝗶𝘇𝗶𝗻𝗴 𝗥𝗲𝗹𝗮𝘆) [𝟮𝟱]
ใช้เพื่อตรวจสอบวงจรสองวงจรมีความถี่และมุมเฟสของแรงดันตามที่กำหนดให้หรือไม่ เพื่อที่จะนำสองวงจรมาต่อขนานกัน

𝟴) 𝗟𝗼𝗰𝗸𝗼𝘂𝘁 𝗥𝗲𝗹𝗮𝘆 [𝟴𝟲]
ใช้ร่วมกับ 𝗗𝗶𝗳𝗳𝗲𝗿𝗲𝗻𝘁𝗶𝗮𝗹 𝗥𝗲𝗹𝗮𝘆, 𝗖𝗕 𝗙𝗮𝗶𝗹 𝗥𝗲𝗹𝗮𝘆 หรือรีเลย์ป้องกันใดๆก็ตาม ที่เมื่อทำงานสั่ง 𝗕𝗿𝗲𝗮𝗸𝗲𝗿 𝗧𝗿𝗶𝗽 แล้ว ต้องการให้มีการตรวจสอบอุปกรณ์ก่อนการนำอุปกรณ์กลับเข้าใช้งาน เนื่องจากอุปกรณ์อาจมีราคาแพง หรือเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญ เช่น หม้อแปลง เครื่องกำเนิดไฟฟ้า หรือแม้กระทั่ง 𝗕𝗿𝗲𝗮𝗸𝗲𝗿 เป็นต้น โดย 𝗟𝗼𝗰𝗸𝗼𝘂𝘁 𝗥𝗲𝗹𝗮𝘆 จะมีระบบ 𝗜𝗻𝘁𝗲𝗿𝗹𝗼𝗰𝗸 𝘁𝗼 𝗖𝗹𝗼𝘀𝗲 𝗖𝗶𝗿𝗰𝘂𝗶𝘁 𝗕𝗿𝗲𝗮𝗸𝗲𝗿 คือ เมื่อรีเลย์หลักทำงานสั่งทริป 𝗕𝗿𝗲𝗮𝗸𝗲𝗿 ผ่าน 𝗟𝗼𝗰𝗸𝗼𝘂𝘁 𝗥𝗲𝗹𝗮𝘆 หลังจาก 𝗕𝗿𝗲𝗮𝗸𝗲𝗿 เปิดวงจรไปแล้ว จะไม่สามารถสั่งปิดกลับ 𝗕𝗿𝗲𝗮𝗸𝗲𝗿 ได้ โดยต้องให้ผู้ปฏิบัติงานมาทำการ 𝗥𝗲𝘀𝗲𝘁 𝗟𝗼𝗰𝗸𝗼𝘂𝘁 𝗥𝗲𝗹𝗮𝘆 ให้กลับมาอยู่ที่สถานะปกติที่ตู้ควบคุมใกล้กับตัวอุปกรณ์เสียก่อน จึงจะสามารถปิดกลับ 𝗕𝗿𝗲𝗮𝗸𝗲𝗿 ได้ เพื่อเป็นการบังคับให้มีการตรวจสอบที่ตัวอุปกรณ์ก่อนทุกครั้ง ก่อนปิดกลับ 𝗕𝗿𝗲𝗮𝗸𝗲𝗿 เพื่อความปลอดภัยต่ออุปกรณ์ และผู้ปฏิบัติงาน

𝟵) รีเลย์ความถี่ (𝗙𝗿𝗲𝗾𝘂𝗲𝗻𝗰𝘆 𝗥𝗲𝗹𝗮𝘆) [𝟴𝟭]
รีเลย์ความถี่จะใช้ตรวจจับการเกิดความถี่สูงหรือต่ำเกินไป รีเลย์ความถี่ส่วนมากจะมีการปรับความถี่และแรงดันของการทำงานของรีเลย์ได้ ความเร็วของการทำงานของรีเลย์จะขึ้นอยู่กับความแตกต่างของความถี่จริงกับความถี่ที่ตั้งไว้ รีเลย์ความถี่บางชนิดจะทำงานเมื่อความถี่แตกต่างจากค่าที่ตั้งไว้ บางชนิดจะทำงานโดยอาศัยอัตราความเปลี่ยนแปลงของความถี่ การใช้งานปกติของรีเลย์ประเภทนี้คือ จะใช้ในการปลดโหลด เมื่อความถี่ตกลง (𝗟𝗼𝗮𝗱 𝗦𝗵𝗲𝗱𝗱𝗶𝗻𝗴) เพื่อทำให้ระบบกลับสู่เสถียรภาพอีกครั้ง

www.eng45group.com

☎️ : 𝟶𝟸 𝟶𝟽𝟽 𝟽𝟼𝟸𝟸
📞 : 𝟶𝟾𝟹 𝟽𝟶𝟹 𝟷𝟶𝟸𝟶

  _𝟭𝟭𝟱𝙠𝙑 #ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบป้องกัน𝟭.𝟭 ที่มาของการมีระบบป้องกันในระบบกำลังไฟฟ้าความผิดพร่องในระบบกำลังไฟฟ้า (...
09/07/2025

_𝟭𝟭𝟱𝙠𝙑

#ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบป้องกัน

𝟭.𝟭 ที่มาของการมีระบบป้องกันในระบบกำลังไฟฟ้าความผิดพร่องในระบบกำลังไฟฟ้า (𝗙𝗮𝘂𝗹𝘁) คือ ปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดต่อระบบกำลังไฟฟ้าทั้งโดยทางตรง หรือทางอ้อม ซึ่งทำให้ค่าพารามิเตอร์ทางไฟฟ้า เช่น กระแสไฟฟ้าหรือแรงดันไฟฟ้า ในวงจรไฟฟ้ามีการเปลี่ยนแปลงไปจากค่าปกติ โดยความเปลี่ยนแปลงอาจส่งผลให้อุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ ในระบบ ได้รับความเสียหาย เช่น การเกิดการลัดวงจร การเกิดปรากฏการณ์ฟ้าผ่า การปลด-สับอุปกรณ์บางชนิด ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของแรงดันหรือกระแสไฟฟ้าอย่างกระทันหัน เป็นต้นจากความผิดพร่องในระบบกำลังไฟฟ้า (𝗙𝗮𝘂𝗹𝘁) ที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาในระบบกำลังไฟฟ้า ดังนั้นจึงมีการออกแบบระบบป้องกันขึ้น เพื่อใช้ในการป้องกันความเสียหายต่ออุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ในกรณีที่เกิด 𝗙𝗮𝘂𝗹𝘁 รวมถึงการป้องกันระบบกำลังไฟฟ้าหลักให้คงอยู่ โดยทำการตัดระบบไฟฟ้าส่วนน้อยที่เกิด 𝗙𝗮𝘂𝗹𝘁 ออกไปก่อน

𝟭.𝟮 องค์ประกอบของระบบป้องกันระบบป้องกัน ประกอบด้วยรีเลย์ป้องกัน อุปกรณ์ตัดตอน และระบบสื่อสาร โดยรีเลย์ป้องกันทำหน้าที่ตรวจจับ 𝗙𝗮𝘂𝗹𝘁 แบบต่างๆ ตามหน้าที่ของตัวเองที่ได้รับการออกแบบมา โดยเมื่อตรวจจับ 𝗙𝗮𝘂𝗹𝘁ได้ จะส่งคำสั่งไปยังอุปกรณ์ตัดตอน (โดยทั่วไปใช้ 𝗕𝗿𝗲𝗮𝗸𝗲𝗿) เพื่อตัดวงจรส่วนที่เกิด 𝗙𝗮𝘂𝗹𝘁 ออกจากระบบ รวมทั้งการส่งการแจ้งเตือนในรูปของสัญญาณไฟ หรือเสียง ให้ผู้ดูแลระบบกำลังไฟฟ้าได้รับทราบ ซึ่งการตรวจจับ 𝗙𝗮𝘂𝗹𝘁 บางชนิด อาจต้องใช้รีเลย์มากกว่าหนึ่งตัว การสื่อสารระหว่างรีเลย์กับรีเลย์ หรือรีเลย์กับอุปกรณ์ตัดตอน จะต้องมีระบบสื่อสารเป็นตัวกลางในการรับส่งข้อมูลดังกล่าว

𝟭.𝟯 หลักการเบื้องต้นของรีเลย์ป้องกันรีเลย์ป้องกัน แบ่งตามลำดับการทำงานได้ 𝟮 ประเภท คือ

𝟭.𝟑.𝟏 รีเลย์หลัก (𝗣𝗿𝗶𝗺𝗮𝗿𝘆 𝗥𝗲𝗹𝗮𝘆) เป็นรีเลย์ที่ใช้ป้องกัน โดยปกติการป้องกันจะแบ่งเขตป้องกันไว้เฉพาะ โดยเมื่อเกิด 𝗙𝗮𝘂𝗹𝘁 ขึ้นภายในเขตป้องกัน รีเลย์หลักจะสั่งให้ 𝗕𝗿𝗲𝗮𝗸𝗲𝗿ทุกตัวในเขตป้องกันนั้นเปิดวงจร (𝗧𝗿𝗶𝗽) โดยเขตป้องกันของรีเลย์หลักจะจัดแบ่งให้คาบเกี่ยวกัน (𝗢𝘃𝗲𝗿𝗹𝗮𝗽) เพื่อป้องกันมิให้มีจุดบอดขึ้นในระบบป้องกัน รีเลย์หลักที่ทำงานถูกต้องจะสั่งให้𝗕𝗿𝗲𝗮𝗸𝗲𝗿 ทำงานน้อยที่สุด โดยจะเปิดวงจรเฉพาะส่วนที่เกิด 𝗙𝗮𝘂𝗹𝘁 ขึ้นเท่านั้น

𝟏.𝟑.𝟐 รีเลย์ทำงานสำรอง (𝗕𝗮𝗰𝗸-𝘂𝗽 𝗥𝗲𝗹𝗮𝘆) จะใช้ป้องกันแทนรีเลย์หลัก กรณีที่รีเลย์หลักไม่ทำงาน ซึ่งอาจเกิดขึ้นเนื่องจากวงจรทริป (𝗧𝗿𝗶𝗽 𝗖𝗶𝗿𝗰𝘂𝗶𝘁) ของรีเลย์หลักเกิดขัดข้อง โดยเวลาการทำงานของรีเลย์ทำงานสำรองจะช้ากว่ารีเลย์หลัก โซนการป้องกันของรีเลย์สำรองอาจเป็น โซนเดียวกันกับรีเลย์หลัก หรืออาจมีโซนการป้องกันที่มากกว่า จึงอาจทำให้พื้นที่ส่วนที่ไม่ได้มี 𝗙𝗮𝘂𝗹𝘁 เกิดขึ้น เกิดไฟดับไปด้วย เมื่อรีเลย์สำรองทำงานแทนรีเลย์หลัก

𝟭.𝟰 โซนการป้องกันของรีเลย์ป้องกันระบบการป้องกันการผลิตไฟฟ้า ระบบส่งและการจ่ายไฟฟ้านั้นจะมีเขตรับผิดชอบในการป้องกันเมื่อมี 𝗙𝗮𝘂𝗹𝘁 เกิดขึ้นในส่วนต่างๆ โดยแต่ละส่วนนั้นจะทำหน้าที่ป้องกันอย่างเหมาะสม ในการป้องกันระบบไฟฟ้าจะแบ่งเขตป้องกันตามชนิดของอุปกรณ์ ได้แก่

- เขตการป้องกันเครื่องกำเนิด
- เขตการป้องกันหม้อแปลง
- เขตการป้องกันบัส
- เขตการป้องกันสายส่งหรือสายจำหน่าย
- เขตการป้องกันมอเตอร์

𝟭.𝟱 ลักษณะเฉพาะที่สำคัญของรีเลย์ป้องกัน
- ความไว (𝗦𝗲𝗻𝘀𝗶𝘁𝗶𝘃𝗶𝘁𝘆) รีเลย์จะต้องมีความไวพอที่จะรู้ถึงความผิดปกติซึ่งอาจจะเกิดขึ้นในระบบไม่ว่าจะอยู่ในสภาพใดก็ตาม เพื่อให้สามารถทำงานได้แน่นอนเมื่อถึงเวลาจะเป็นที่ต้องทำงาน
- ความเชื่อถือ (𝗥𝗲𝗹𝗶𝗮𝗯𝗶𝗹𝗶𝘁𝘆) รีเลย์ต้องทำงานได้ถูกต้องตามคุณสมบัติและขอบเขตที่กำหนดให้ทำงานและหลีกเลี่ยงการทำงานที่ไม่จำเป็น
- ความง่าย (𝗦𝗶𝗺𝗽𝗹𝗶𝗰𝗶𝘁𝘆) รีเลย์ต้องมีโครงสร้างง่ายในการติดตั้ง ในการถอดเข้าออกเพื่อการบำรุงรักษาและง่ายต่อการตรวจสอบความถูกต้อง
- ความสามารถแยกแยะ (𝗦𝗲𝗹𝗲𝗰𝘁𝗶𝘃𝗶𝘁𝘆) รีเลย์จะต้องแยกแยะได้ว่า ในสภาวะใดที่ต้องทำงานทันทีหรือในสภาวะใดที่ไม่ต้องทำงาน หรือต้องทำงานตามเวลาที่หน่วงไว้
- ความเร็ว (𝗦𝗽𝗲𝗲𝗱) รีเลย์ต้องทำงานโดยเร็ว เพื่อให้มีการตัดตอนส่วนที่เกิด𝗙𝗮𝘂𝗹𝘁ออกจากระบบให้เร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ทั้งนี้เพื่อช่วยลดความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น
- ความประหยัด (𝗘𝗰𝗼𝗻𝗼𝗺𝘆) ควรเลือกรีเลย์ป้องกันให้ถูกสุด แต่สามารถให้การป้องกันที่สมบูรณ์

www.eng45group.com

☎️ : 𝟶𝟸 𝟶𝟽𝟽 𝟽𝟼𝟸𝟸
📞 : 𝟶𝟾𝟹 𝟽𝟶𝟹 𝟷𝟶𝟸𝟶

 ตรวจงานครึ่งวันเช้า
07/07/2025



ตรวจงานครึ่งวันเช้า

Address


Opening Hours

Monday 08:30 - 17:30
Tuesday 08:30 - 17:30
Wednesday 08:30 - 17:30
Thursday 08:30 - 17:30
Friday 08:30 - 17:30
Saturday 08:30 - 17:30

Telephone

+6620777622

Alerts

Be the first to know and let us send you an email when บริษัท เอ็นจ์ 45 จำกัด posts news and promotions. Your email address will not be used for any other purpose, and you can unsubscribe at any time.

Contact The Business

Send a message to บริษัท เอ็นจ์ 45 จำกัด:

Shortcuts

  • Address
  • Telephone
  • Opening Hours
  • Alerts
  • Contact The Business
  • Claim ownership or report listing
  • Want your business to be the top-listed Media Company?

Share

บริการงานด้านวิศวกรรม

#ออกแบบระบบไฟฟ้าแรงสูงแรงต่ำ #electricaldesign #หลอดฟลูออเรสเซนต์ #electricalinstallation #power #system #โคมไฟฟ้า #หลอดแอลอีดี #LED #อุปกรณ์ไฟฟ้าโรงงาน #VRF #Chiller #air #ระบบบำบัดอากาศ #งานโครงสร้างเหล็ก #งานสถาปัตยกรรม #ระบบดับเพลิง#firealarm #สายไฟฟ้า #motorsevice #ซ่อมบำรุงเครื่องจักร #ย้ายเครื่องจักร #tool #ตู้โหลดเซ็นเตอร์ #MDB #เซอร์กิตเบรคเกอร์ #อุปกรณ์เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน #แมคเนติกคอนแทคเตอร์ #ติดตั้งระบบไฟฟ้าแรงสูงแรงต่ำ #งานวิศวกรรมทุกระบบ