Geog Knowledge Club จีอ็อก โนเลจ คลับ คลับความรู้ของชาว?

23/09/2021

23 กันยายน วันวิษุวัต "วันที่กลางวันเท่ากับกลางคืน" 🌗

หากทุกคนจำกันได้พิพิธภัณฑ์พระรามเก้าเคยนำเสนอบทความเกี่ยวกับวันครีษมายันหรือวันที่กลางวันยาวกว่ากลางคืนที่สุดไปแล้วในวันที่ 20 มิถุนายน และทิ้งท้ายในบทความดังกล่าวว่า หลังจากวันครีษมายันแล้ว กลางวันจะค่อยๆกินเวลาน้อยลงเรื่อย ๆ จนถึงวันที่กลางวันยาวเท่ากับกลางคืน หรือวันวิษุวัตในเดือนกันยายน ที่มีชื่อว่า “ศารทวิษุวัต” นั่นก็คือวันนี้ 23 กันยายน
🌙🌞
วันวิษุวัต (Equinox) คืออะไร หลายคนอาจสงสัย?
ต้องบอกก่อนว่าโลกของเราโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงรีและแกนของโลกยังเอียงทำมุม 23.5 องศากับแนวดิ่ง ซึ่งการเอียงของโลก การหมุนรอบตัวเองและการโคจรรอบดวงอาทิตย์ของโลกนี่แหละ ทำให้อัตราการได้รับแสงอาทิตย์ของในแต่ละพื้นที่บนโลกไม่เท่ากันและเป็นสาเหตุให้เกิดปรากฏการณ์ต่างๆเกิดขึ้นในโลกมากมาย เช่น กลางวัน-กลางคืน การเกิดฤดูกาล เป็นต้น

ซึ่งหากแกนโลกที่เอียง ดันทำมุมตั้งฉากกับดวงอาทิตย์พอดี ก็จะเกิดปรากฏการณ์ที่กลางวันกับกลางคืนยาวเท่ากัน หรือวันวิษุวัต โดยยึดตามเวลาของประเทศนั้นๆ ซึ่งเวลาประเทศไทยคือวันที่ 23 กันยายน นั่นเอง

สำหรับประเทศที่อยู่ในเขตอบอุ่น ที่มี 4 ฤดู เช่นอเมริกา ญี่ปุ่น จะรู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงชัดเจน เนื่องจากวันศารทวิษุวัตในครั้งนี้ เป็นวันที่บ่งบอกถึงการสิ้นสุดฤดูร้อนและเข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วงอย่างเป็นทางการ ดังนั้นจึงมีเทศกาลต่างๆรวมทั้งเป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาชมความสวยงามของฤดูใบไม้ร่วง
🌙🌞
นอกจากนี้ในต่างประเทศมีการติดตามวันวิษุวัตในรูปแบบที่ต่างกันเป็นระยะเวลากว่าพันปี ในประเทศจีนมีประเพณีการตั้งไข่ที่เชื่อว่าวันวิษุวัตจะเป็นวันที่ตั้งไข่ได้ง่ายที่สุด โดยสืบสานประเพณีนี้มานานกว่า 4,000 ปี โดยเรียกว่า “วันชุนเฟิน” อารยธรรมโบราณที่บอกถึงการพาดผ่านของดวงอาทิตย์โดยการใช้เงา เช่น พีระมิด หินสลัก นาฬิกาแดด
🌗
หลังจากวันนี้แล้ว โลกของเราก็จะค่อยๆถูกความมืดเข้าครอบงำในซีกโลกเหนือ เนื่องจากโลกจะค่อยๆหันซีกโลกใต้เข้าหาดวงอาทิตย์ ซึ่งจะทำให้กลางคืนจะเริ่มนานขึ้น มืดเร็วขึ้น จนถึงวันที่กลางคืนยาวที่สุดคือวันเหมายัน ในอีก 3 เดือนข้างหน้า

เรื่อง muse เล็กอรทัย
กราฟิก เป็ก อนุภาส

แหล่งข้อมูลอ้างอิง
National Geographic. 2019. จุดราตรีเสมอภาคคืออะไร แล้วเหตุใดจึงเกิดขึ้น?. กรุงเทพ
(สืบค้นจาก https://ngthai.com/science/19798/what-is-an-equinox/ (ออนไลน์)

#วันวิษุวัต #วันชุนเฟิน #พีระมิด #หินสลัก #นาฬิกาแดด #ฤดูกาล

21/08/2021
01/07/2021

วิชาภูมิศาสตร์ศึกษาเกี่ยวกับอะไร

ขึ้นชื่อหัวเรื่องดูเชยๆ ยังงัยชอบกล แต่ว่าเป็นความเชยที่ต้องย้อนกลับมาเคลียร์ให้ถ่องแท้ ให้เห็นภาพชัดเจนว่า วิชาภูมิศาสตร์ศึกษาเกี่ยวกับอะไร เพราะว่าวิชาภูมิศาสตร์มีความสำคัญทั้งในเชิงวิทยาศาสตร์ที่เป็นรากฐานของการสร้างความรู้ในสาขาวิชาต่างๆ และการสร้างองค์ความรู้ทางภูมิศาสตร์ของตัวเองขึ้นมา และในเชิงการนำเอาไปใช้ประโยชน์เพื่อเป็นเงื่อนไขการตัดสินใจบนเหตุผลที่ดีทางพื้นที่ในกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์

วิชาภูมิศาสตร์ที่เป็นวิชาอย่างเป็นทางการด้วยเหตุผลหลัก 3 ประการ คือ มีระเบียบวิธีที่เป็นวิทยาศาสตร์ มีเนื้อหาสาระชัดเจน และมีองค์กรใช้ประโยชน์และการจัดการศึกษาชัดเจน ทั้งนี้ ในส่วนของเนื้อหาสาระที่วิชาภูมิศาสตร์ให้ความสนใจทำการศึกษานั้น มีการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์และความจำเป็นต่อการให้คุณค่าวิชาการและการใช้ประโยชน์ต่อเนื่องเรื่อยมา

เริ่มต้นที่ วิลเลี่ยม แพตติสัน (1964) ชี้ว่า การศึกษาวิชาภูมิศาสตร์จะต้องทำให้ได้เห็น 4 แบบอย่าง คือ วิทยาศาสตร์เชิงพื้นที่ (spatial science) พื้นที่ศึกษา (area studies) ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับที่ดิน (man-land relationships) และวิทยาศาสตร์กายภาพของโลก (earth science)

เมื่อเวลาผ่านไป ความสนใจในการศึกษาบางอย่างคงสิ่งเดิมเอาไว้ พร้อมๆ กับมีสิ่งใหม่งอกขึ้นมา ข้อเสนอที่อยู่ใน Guidelines for Geographic Education ที่นอโตลิ เบลห์ม คราชท์ ลาเนกรัน มองก์ และมอร์ริลล (1984) เสนอ geography five themes ให้กับสมาคมนักภูมิศาสตร์อเมริกัน อันประกอบด้วย การอพยพและเคลื่อนย้าย (movement) การแบ่งและจัดภูมิภาค (region) ปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม (human-environment interaction) ทำเลที่ตั้ง (location) และสถานที่ (place) ดูจะได้รับความสนใจไม่น้อย กระทั่งทุกวันนี้ สถานศึกษาหลายแห่งยังยึดเอา geography five themes เป็นแก่นในการจัดการศึกษาและวิจัย

ผ่านเข้าสู่ยุคมิลเลนเนียน สารสนเทศพอกพูนมหาศาล ระบบคอมพิวเตอร์สามารถสำรองข้อมูลเหล่านั้นได้ในปริมาณมากๆ พร้อมกับพัฒนาการของโปรแกรมวิเคราะห์/สังเคราะห์เชิงพื้นที่ ที่สามารถจัดการสารสนเทศเชิงพื้นที่ได้หลากหลายรูปแบบ ความสนใจของวิชาภูมิศาสตร์ที่จะทำการศึกษาและวิจัยจึงมีความหลากหลาย ละเอียด และลุ่มลึกขึ้น ตามความสามารถของเครื่องไม้เครื่องมือและปริมาณข้อมูล

ดาเนียล เอเดลสัน (2012) เห็นว่า การศึกษาและวิจัยในวิชาภูมิศาสตร์ควรเป็นความพยายามที่จะอธิบายถึงระบบของโลก (how our world works – human and natural systems) ทั้งระบบมนุษย์และระบบธรรมชาติว่ามันทำงานอย่างไร ความเชื่อมโยงของโลก (how our world is connected – geographic reasoning) ประเด็นนี้ในวิชาภูมิศาสตร์ถือว่าสำคัญมากๆ ด้วยมีความเชื่อมโยงเกิดขึ้นหลายระบบ ทั้งระบบธรรมชาติและระบบมนุษย์ ความเชื่อมโยงของระบบแต่ละรูปแบบสร้างประโยชน์มากมาย เช่น ห่วงโซ่คุณค่า/ห่วงโซ่อุปทานสินค้า เครือข่ายความร่วมมือระหว่างภูมิภาค ฯลฯ แต่ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะเกิดปัญหาจากความเชื่อมโยงของระบบบางระบบ เช่น การก่อการร้าย การระบาดของโรคร้าย ฯลฯ และการมีเหตุผลที่ดีในการตัดสินใจ (how to make well-reasoned decisions – systematic decision making) ซึ่งอันหลังนี้มีความสำคัญมาก เพราะเป็นการแสดงให้เห็นถึงคุณค่าทางวิชาการและคุณประโยชน์ที่จะได้รับจากการศึกษาและวิจัยในวิชาภูมิศาสตร์

อย่างไรก็ดี การที่วิชาภูมิศาสตร์จัดตัวเองให้อยู่ในกลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์มาต่อเนื่องนับจากที่พวกเราได้ยกย่องและเชิดชูให้ “อเลกซานเดอร์ ฟอน ฮุมโบลดท์” ผู้ที่ใช้กระบวนการหาความรู้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ศึกษาและอธิบายระบบมนุษย์และระบบธรรมชาติได้อย่างน่าเชื่อถือ เป็นบิดาทางวิชาภูมิศาสตร์สมัยใหม่ตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 19 ต่อจากการยกย่องให้ “อิราทอเทเนส” ผู้เก่งกล้าใช้วิชาเรขาคณิตอธิบายเกี่ยวกับโลกได้อย่างน่าทึ่ง เป็นบิดาแห่งวิชาภูมิศาสตร์มาตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ 3-4 พันปีที่ผ่านมา

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นการค้นหาความจริงจากปรากฏการณ์ ซึ่งหลักการพื้นฐานของการค้นหาความจริงก็คือ การหาคำตอบให้กับคำถามหลักๆ 5 คำถามนี้ "อะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร และเพราะเหตุใด" มองดูอาจไม่มีอะไร แต่เมื่อพินิจให้ดีจะเห็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ต่างๆ ซ่อนอยู่ข้างใน นักเรียนภูมิศาสตร์และนักภูมิศาสตร์จะต้องละเมียดละมัยใส่ใจแต่ละคำถามให้ลึกซึ้ง เลือกใช้กระบวนทรรศน์และทฤษฎีที่เหมาะสมสำหรับการค้นหาความจริงจากปรากฏการณ์ บรรจงจัดเก็บและจัดการข้อมูลสารสนเทศให้เชื่อได้ว่าถูกต้องน่าเชื่อถือ ใช้ระเบียบวิธีที่แม่นยำของเครื่องมือในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ จัดทำบทสรุปที่สามารถบอกกล่าวให่สาธารณชนรับรู้ เข้าใจ และเชื่อว่านั่นคือสิ่งที่ถูกต้อง และพร้อมที่จะให้ใครต่อใครพิสูจน์ในสิ่งที่ค้นพบสิ่งที่อธิบาย

ไม่ว่ามองวิชาภูมิศาสตร์ด้วยแบบแผนของใคร จะเป็นแบบแผนของแพตติสัน แบบแผนของนอโตลิและคณะ หรือแบบแผนของเอเดลสัน หากยังคงเชื่อมั่นในกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การค้นหาความจริงจากปรากฏการณ์ก็ยังคงจำเป็นต้องตอบคำถามทั้ง 5 คำถามที่ว่านี้ให้ได้อย่างชัดเจนทุกๆ ครั้งไป

ที่มา

Edelson, Daniel. (1012) “What is Geo-Literacy?” Kid World Citizen. May 13, 2012. Retrieved June 26, 2012.

Joint Committee on Geographic Education of the National Council for Geographic Education and the AAGs: Association of American Geographers, Guidelines for Geographic Education (Washington D.C.: Association of American Geographers, 1984), 3–8.

Pattison, W. D. (1964). The four traditions of geography. Journal of Geography, 63, no. 5, 211–216.

Pidwirny, M. (2006). "Scientific Method". Fundamentals of Physical Geography, 2nd Edition. Date Viewed. http://www.physicalgeography.net/fundamentals/3a.html

01/02/2021
11/12/2020

[แนะนำ] DooHin NE และ DooHin SC แอพลิเคชันแผนที่ธรณีวิทยาประเทศไทยฉบับพกพา ช่วยบอกข้อมูลหินในตำแหน่งของเรา เหมาะสำหรับครู นักเรียน และนักสำรวจไทย [ฟรี]

แอพพลิเคชันพัฒนาภายใต้โครงการ Geol CMU tech โดยภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และได้รับการสนับสนุนข้อมูลแผนที่โดย กรมทรัพยากรธรณี

DooHin NE (ภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ) ดาวน์โหลดได้ที่ https://apps.apple.com/app/id1543829652 #?platform=iphone

DooHin SC (ภาคกลาง ภาคตะวันตก และภาคใต้) ดาวน์โหลดได้ที่
https://apps.apple.com/app/id1544346644 #?platform=iphone

18/07/2020

#ภูมิศาสตร์ | เรียกฉันว่า #ซุนดาแลนด์ (Sundaland)
จริงๆ แล้ว ภูมิภาคอาเซียนบ้านเราเกือบทั้งหมดเกิดขึ้นมาเมื่อประมาณ 2.6 ล้านปีที่แล้ว และจากการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับยุคน้ำแข็งครั้งล่าสุด (18,000–25,000 ปีก่อน) ยืนยันว่าถ้าน้ำทะเลลดลง (น้ำไปกองกันเป็นน้ำแข็งอยู่ที่ขั้วโลก) เกาะแก่งต่างๆ ที่เราเห็นอยู่ในปัจจุบันเคยเชื่อมต่อเป็นผืนดินเดียวกันทั้งหมด เรียกว่า #ซุนดาแลนด์ (Sundaland)
พื้นที่อ่าวไทยในตอนนั้นเป็นพื้นที่ราบเหมือนกับภาคกลางของไทยในตอนนี้ กลางอ่าวไทยก็เคยมีทะเลสาบเหมือนกับ #ทะเลสาบเขมร (Tonle Sap) แม่น้ำเจ้าพระยาไหลลงสู่ทะเลสาบแห่งนี้ และมีแม่น้ำไหลออกจากทะเลสาบไหลไปทางทิศตะวันออกลงสู่ทะเลจีนใต้ บางคนเรียกว่า #แม่น้ำสยาม (Siamese River) ทั้งหมดหายไป ก็แค่เพราะปัจจุบันน้ำแข็งที่เคยกองอยู่ที่ขั้วโลกบางส่วนละลายลงมหาสมุทร แล้วทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น
#ภาพ : แบบจำลองภูมิประเทศของซุนดาแลนด์ เมื่อประมาณ 18,000–25,000 ปีก่อน (ที่มา : Alex, 2017)

เครดิต : มิตรเอิร์ธ - mitrearth

18/07/2020

เกาะตะรุเตา ถือเป็นแหล่งซากดึกดำบรรพ์ที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย ที่พบซากไทรโลไบต์จำนวนมาก โดยเฉพาะบริเวณอ่าวเมาะและ ซึ่งถูกค้นพบครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2500 โดยคณะสำรวจภายใต้ความร่วมมือระหว่างไทย - ญี่ปุ่น ในสมัยนั้น ได้พบชั้นหินทรายสีแดงที่มีซากดึกดำบรรพ์จำนวนมาก ต่อมาภายหลังในปี พ.ศ. 2512 ได้ตั้งชื่อชั้นหินนี้ว่า “กลุ่มหินตะรุเตา” จากการศึกษาโดยทั่วเกาะตะรุเตาพบว่ามีซากดึกดำบรรพ์ไทรโลไบต์ มากกว่า 20 ชนิด เป็นชนิดใหม่ของโลกหลายชนิด เช่น พาโกเดีย ไทยเอนซิส (Pagodia thaiensis) ไทยแลนเดียม โซลัม (Thailandium solum) อีโอซอเกีย บุราวาสิ (Eosaukia buravasi) ซอกีลลา ตะรุเตาเอนซิส (Saukiella tarutaoensis) โคเรียโนเซฟาลัส พลานูลาทัส (Coreanocephalus planulatus) ซากดึกดำบรรพ์เหล่านี้มีความเกี่ยวข้องกับซากดึกดำบรรพ์ที่พบในชั้นหินจากหลายแห่ง เช่น เวียดนาม จีน และออสเตรเลีย ทำให้ทราบว่าชั้นหินบนเกาะตะรุเตานั้นมีอายุอยู่ในช่วงยุคแคมเบรียนตอนปลาย ซึ่งถือว่าเป็นชั้นหินที่มีหลักฐานของสิ่งมีชีวิตที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย

การสำรวจศึกษาวิจัยล่าสุด โดย Wernette et al, 2020 ได้ค้นพบซากดึกดำบรรพ์ของไทรโลไบต์ชนิดใหม่ของโลก ซึ่งพบบริเวณอ่าวเมาะและ และอ่าวตะโละโต๊ะโป๊ะ บนเกาะตะรุเตา จังหวัดสตูล มีชื่อว่า “สตูลอาร์คัส เมาะและเอนซิส” (Satunarcus molaensis) เป็นไทรโลไบต์ขนาดเล็ก พบชิ้นส่วนเฉพาะส่วนหัว (Cephalon) และส่วนหาง (Pygidium) เป็นจำนวนมาก มีหนาม (Spine) ขนาดเล็กอยู่บริเวณส่วนหาง นอกจากนี้การศึกษาครั้งเดียวกันนี้ ยังมีการแบ่งไทรโลไบต์วงศ์ย่อยออกมาใหม่ ชื่อว่า วงศ์ย่อย Ceronocarinae ซึ่งสตูลอาร์คัสก็จัดอยู่ในวงศ์ย่อยนี้ด้วย

อนุกรมวิธาน
Class Trilobita
Order Corynexochida
Suborder Leiostegiina
Superfamily Leiostegioidea
Family Kaolishaniidae
Subfamily Ceronocarinae n. subfam.
Satunarcus molaensis n. gen., n. sp.

Satunarcus molaensis : ชื่อสกุล ; Satun (สถานที่พบ : อุทยานธรณีสตูล จังหวัดสตูล) + arcus (ภาษาละติน แปลว่า โค้งหมายถึง ลักษณะส่วนท้ายของหัวที่โค้ง ทำให้จำแนกเป็นชนิดใหม่ได้), ชื่อสปีชีส์ ; molae (แหล่งที่ค้นพบ : หมวดหินอ่าวเมาะและ มักพบมากบริเวณอ่าวเมาะและ เกาะตะรุเตา จังหวัดสตูล ซึ่งเป็นแหล่งเดียวที่พบไทรโลไบต์ชนิดนี้)

รูปภาพและข้อมูล : Wernette, S. J., Hughes, N. C., Myrow, P. M., & Sardsud, A. (2020). Satunarcus, a new late Cambrian trilobite genus from southernmost Thailand and a reevaluation of the subfamily Mansuyiinae Hupé, 1955. Journal of Paleontology, 1–14.

Happy summer solstice! วันครีษมายัน
21/06/2020

Happy summer solstice! วันครีษมายัน

ที่อยู่

Mueang Pattani District

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ Geog Knowledge Clubผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

แชร์