TOTTY's STEAK Everything in MUKDAHAN

12/01/2025

ไข่ตุ๋น10นาที

05/12/2024

ข้าวเนื้อทอด

05/12/2024
05/12/2024

Steak by air fried

05/12/2024

สเต็ก

05/12/2024

ไข่ตุ๋นต้มยำ

กาแฟสด กับกาแฟโบราณ ต่างกันอย่างไร?    กาแฟโบราณ 🥃คือ การผลิตโดยเอาน้ำตาลมาเคี่ยวจนมีสีดำ แล้วใส่เมล็ดกาแฟลงไปแล้วนำมาตา...
24/11/2024

กาแฟสด กับกาแฟโบราณ ต่างกันอย่างไร?

กาแฟโบราณ 🥃คือ การผลิตโดยเอาน้ำตาลมาเคี่ยวจนมีสีดำ แล้วใส่เมล็ดกาแฟลงไปแล้วนำมาตากแห้ง แล้วเอามาบดเป็นผง แล้วผสมแป้ง หรือส่วนผสมอื่นของแต่ละร้าน (เมล็ดธัญพืชต่างๆ) ปริมาณเปอร์เซ็นต์ของกาแฟ จะแตกต่างกันในแต่ละสูตร กาแฟโบราณชงโดยใช้ถุงชงที่ทำจากผ้า (ตอนเด็กเรามักเรียกถุงเท้า)

กาแฟสด🫖 เป็นกาแฟที่ได้มาจากการบดเมล็ดกาแฟแท้ๆ 100% แล้วแต่ว่าจะเลือกเมล็ดกาแฟพันธุ์ไหนมาใช้ เอามาบดก่อนแล้วชงผ่านน้ำร้อนจากเครื่องชงกาแฟอัดแรงดัน (Espresso Machine ) ซึ่งจะมีรสชาติและความมัน(crema)ที่เป็นเอกลักษณ์

ชื่อเรียกกาแฟโบราณ

แล้วเคยสงสัยกับไหมว่าทำไมกาแฟโบราณ ที่เราไปซื้อตามร้านถึงเรียกชื่อไม่เหมือกันทั้งๆที่มันก็ชงคล้ายกันวันนี้เราจะมาลองไขปริศนานี้ดูกัน

เมื่อพูดถึงกาแฟโบราณ หลายคนน่าจะนึกถึงบรรยากาศร้านเก่าๆ ในตลาดมีหน้าร้านในตู้โชว์ภายในมีเหล่าบรรดากระปุกหลายชนิดวางเรียงรายอยู่เต็มไปหมด และพอมีลูกค้าตะโกนสั่งอาแป๊ะ เจ้าของร้านก็กุลีกุจอลงมือรังสรรค์เครื่องดื่ม ตามใจลูกค้า โดยจะมีเอกลักษณ์เฉพาะ ต้องตัดน้ำร้อนขึ้นจากหม้อต้มด้วยกระบวย เอามาใส่ถุงกรองกากถุงยาวๆ ย้วยๆ แล้วชักให้น้ำไหลผ่าน ลงไปยังกระป๋องที่รองรับ เทไปเทมาอยู่ 2 ที่แล้วจึงเทลงแก้ว ยกเครื่องดื่มมาเสิร์ฟแล้วกินคู่กับปาท่องโก๋ตัวใหญ่ๆ อร่อยใช่ย่อย

ซึ่งเครื่องที่ที่นำมาก็จะมีทั้ง โอเลี้ยง โอยั๊วะ ยกล้อ จั้มบ๊ะ หรือ โกปี๊ ก็แล้วแต่ลูกค้าคนที่สั่ง เรียกร้องมาก แต่เคยสงสัยกันไหมว่าทำไม กาแฟที่อาแป๊ะชง ถึงมีการเรียกที่ต่างกัน ทั้งๆที่ มันก็มาจากกากกาแฟตัวเดียวกัน และกระป๋องใบเดียวกันแท้ๆ วันนี้เราจะมาเฉลยรายละเอียดนั้นกัน

เริ่มต้นด้วย โอยั๊วะ 🧉คำนี้เป็นภาษาจีนแต้จิ๋ว โดยคำว่า “โอ” แปลว่า ดำ “ยั๊วะ” แปลว่า ร้อน เมื่อนำทั้ง 2 คำมาก็กลายเป็น โอยั๊ว หรือจะเรียกอีกอย่างว่า กาแฟดำร้อน แต่ถ้าเปรียบกับกาแฟปัจจุบัน ก็ต้องเป็น อเมริกาโนแบบไทยโบราณ ที่ไม่ใส่ครีมหรือน้ำตาลนั่นเอง ฉะนั้นคนที่ชอบดื่ม โอยั๊ว ต้องชื่นชอบกาแฟเป็นอย่างมากจริง เพราะไม่อย่างนั้นร่างกายจะรับคาเฟอีนเข้มข้นนี้ไม่ได้แน่นอน

แต่ถ้าอยากลดดีกรีความเข้มลงมาด้วยการใสน้ำตาล ลงไปในกาแฟ แล้วเติมน้ำแข็งด้วย ก็จะทำให้กลายเป็น “โอเลี้ยง” 🥤ซึ่งคำนี้ก็มีที่มาจากจีนแต้จิ๋วเช่นกัน “โอ” แปลว่า ดำ “เลี้ยง” แปลว่าเย็น เมื่อนำ 2 คำมาร่วมกันก็กลายเป็นโอเลี้ยง หรือเราจะเรียกว่า กาแฟดำใส่น้ำแข็ง ซึ่งใครที่ชอบดื่ม โอเลี้ยง นี่เรียกว่าเป็นคนที่เบื้องหน้าที่ดุว่าโหดนั้นก็มีความหวานซ่อนอยู่

ส่วน จั้มบ๊ะ🍷 อย่าคิดไปว่าเป็นการเต้นจั้มบะนะจ๊ะ แต่มันก็คือชื่อเรียก โอเลี้ยงนั้นเอง แต่โอเลี้ยงแก้วนี้จะมีความพิเศษตรงที่ ไม่ใช้น้ำตาลในการเพิ่มความหวาน แต่จะใส่น้ำหวานสีแดง หรือสีเขียว ตามแต่ที่ร้านจะมีลงไป จนทำให้โอเลี้ยงจั๊มบะ แก้วนี้มีความหอมหวานไปอีกรูปแบบหนึ่ง และที่มาของชื่อนั้นเชื่อว่ามาจากน้ำแข็งไสจ้ำบ๊ะที่ใช้น้ำหวานสีแดงหรือสีเขียวราด

ยกล้อ ☕อะๆๆ อย่างเพิ่งคิดไปว่าคนชงเอากาแฟไปชงแล้วยกล้อมาเสิร์ฟหรืออย่างไรเพราะเจ้านี้ก็คือ โอเลี้ยงใส่นม โดยมีการสันนิษฐานกันว่า น่าจะมาจากการที่ ยี่ห้อนมข้นจืดยี่ห้อหนึ่งเป็นรูปจักรยาน เมื่อคนชงเทนมลงไปทำให้ตราจักรยานลักษณะคล้ายการยกล้อ นั่นเอง หรือถ้าจะเรียกให้เข้าใจแบบปัจจุบันก็ต้องเป็น กาแฟลาเต้

และชื่อเรียกอย่างสุดท้าย โกปี๊ 🍶คำนี้เป็นคำทับศัพท์มาจาก Coffee แต่ออกเสียงแบบสำเนียงภาคใต้ ว่า โกปิ๊ โกปี้ หรือโกปี แล้วแต่ท้องถิ่น ซึ่งมันก็คือ กาแฟดำใส่นมข้นหวาน แต่ถ้าเรียกว่า “โกปี๊ออ” คือกาแฟดำร้อน ไม่ใส่นม

นี่แหละคือที่มาของแต่ละชื่อเรียกกาแฟโบราณ หวังว่าคราวหน้า ถ้านึกอยากจะกินกาแฟโบราณขึ้นมาจะได้ไม่สั่งผิดนะ


ที่มาจาก https://www.wongnai.com/food-tips/6-thai-coffee

ที่อยู่

Mukdaharn
49100

เบอร์โทรศัพท์

+66889802840

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ TOTTY's STEAKผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

แชร์