Thanee Modsanga เครื่องเสียง - โฮมเธียเตอร์ และเพลง

ฟังเพลงนี้ครั้งแรกๆ รู้สึกว่ามันแข็ง.. แต่พอลองแม็ทชิ่ง+เซ็ตอัพ+ปรับจูนซิสเต็มจนลงตัวแล้ว พบว่ามันไม่ได้แข็งอย่างที่รู้ส...
06/07/2025

ฟังเพลงนี้ครั้งแรกๆ รู้สึกว่ามันแข็ง.. แต่พอลองแม็ทชิ่ง+เซ็ตอัพ+ปรับจูนซิสเต็มจนลงตัวแล้ว พบว่ามันไม่ได้แข็งอย่างที่รู้สึก แค่ว่าซาวนด์เอ็นจิเนียร์เขาบันทึกมาสดมาก.!! ซึ่งมันก็สอดคล้องกับการที่เป็นบันทึกการแสดงสด ฟิลลิ่งมันก็ต้องประมาณนี้แหละ คือชัดๆ ลอยๆ ใสๆ ปิ๊งๆ ไดนามิกกว้างๆ ช่วงที่ได้ยินครั้งแรกแล้วขนลุกคือตอนถึงท่อนที่เป็นเสียงร้องประสานของคนดู หูยย.. มิติเสียงมันเยี่ยมยอดมาก.! เสียงประสานถอยลึกลงไปหลังระนาบลำโพงเป็นเมตร แผ่เต็มจากซ้ายไปขวา บรรยากาศสุดยอดมาก ให้ความรู้สึกเหมือนอยู่ในคอนเสิร์ต ไม่สมจริงอยู่อย่างเดียวคือเสียงของคนดูมันไปอยู่ฝั่งเดียวกับเสียงนักร้อง ถ้าเป็นระบบเซอร์ราวนด์คิดว่าเสียงร้องประสานของคนดูน่าจะมาลอยอยู่ใกล้ๆ ตัวเราในขณะที่เสียงร้องของปู-พงษ์สิทธิ์กับเสียงดนตรีจะลอยเด่นอยู่ข้างหน้า..
-----
เพลง : แค่นั้น (Live) (https://tidal.com/browse/track/255470111?u)
อัลบั้ม : ปู.. อยากร้อง เพื่อนพ้องอยากฟัง 2 (TIDAL MAX/FLAC-24/96)
ศิลปิน : พงษ์สิทธิ์ คำภีร์
-----
น้องเอ็กซ์ เป็นคนเอาเพลงนี้เข้ามาลองฟังที่บ้านผม ขอบคุณมากที่เอาเพลงดีๆ มาฝาก หลังจากนั้นเพลงนี้ก็เป็นเพลงที่ผมฟังบ่อยมาสักพักแล้ว แนะนำให้ลองฟังครับ..!!!

#เพลงดีเสียงดีฟังแล้วมีอารมณ์

วิชาเศรษฐศาสตร์ + สมองซีกซ้าย กับการเล่นเครื่องเสียง..!!----------ต้องยอมรับว่า หลายๆ ครั้งที่เรายกเอา "ความคุ้มค่า" เข้...
06/07/2025

วิชาเศรษฐศาสตร์ + สมองซีกซ้าย กับการเล่นเครื่องเสียง..!!
----------
ต้องยอมรับว่า หลายๆ ครั้งที่เรายกเอา "ความคุ้มค่า" เข้ามาวัด "คุณค่าของเสียง" ที่ได้รับมาจากพฤติกรรมใดๆ ที่นักเล่นฯ กระทำลงไปกับชุดเครื่องเสียงของตัวเอง
และน่าแปลกตรงที่ว่า เหตุการณ์ลักษณะที่ว่ามาข้างต้นนั้นมักจะเกิดขึ้นตอนที่เราทดลองใช้ "อุปกรณ์เสริม" ซะด้วยซิ อือมม.. เพราะอะไรหรือ.? คำตอบที่เมคเซ้นต์น่าจะเป็นเพราะคำว่า "อุปกรณ์เสริม" เลยทำให้เราไม่ได้ตั้งความหวังไว้ว่าอุปกรณ์ชิ้นนั้นจะไปทำให้เสียงของซิสเต็มหลักเปลี่ยนแปลงไปได้เยอะ เพราะมันคือ "ของเสริม" ผลลัพธ์ก็น่าจะแค่ผิวๆ คงจะทำให้เสียงต่างไปจากเดิมแค่นิดหน่อยเท่านั้น ด้วยความคิดแบบนี้ เมื่อได้มาเจอกับอุปกรณ์เสริมที่ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงกับเสียงของซิสเต็มในระดับที่เรียกว่า "พลิกฟ้า-คว่ำแผ่นดิน" จึงทำให้หลักการและเหตุผลในตัวเรามีอาการสั่นคลอน.!
หลายๆ ครั้งที่ "ลำโพง" ให้เสียงออกมาดีอย่างน่าตกใจ เมื่อลองเปลี่ยนสายลำโพงที่มีราคาแพงกว่าลำโพงเข้าไปแทนเส้นเดิมที่มีราคาถูกกว่ามาก แต่ในบางครั้งกลับมีเรื่องที่ทำให้รู้สึกตกใจมากกว่านั้นขึ้นไปอีก อย่างเช่นตอนนี้ หลังจากเอา "อุปกรณ์เสริม" ที่ใช้รองใต้เดือยแหลมของลำโพงที่แบรนด์ Life Audio ทำออกมาเข้าไปทดลองใช้กับลำโพง Wharfedale รุ่น EVO 5.4 ที่ผมกำลังเบิร์นฯ อยู่ ปรากฏว่า เจ้า "ตัวรอง" ของ Life Audio ชุดนี้มันทำให้เสียงของ EVO 5.4 ดีขึ้นไปกว่าเดิมเยอะมาก.! เยอะจนน่าตกใจ ถึงขั้นที่เรียกว่าช็อคก็ว่าได้..!!!
และมันดีขึ้นในหลายๆ คุณสมบัติซะด้วย.! หลังจากใช้สมองซีกขวาลองพิจารณาเสียงใหม่หลังจากสวมรองเท้าทั้ง 8 ข้างให้กับ EVO 5.4 ผ่านไปหลายเพลงจนมั่นใจแล้วว่าเสียงมันดีขึ้นจริงๆ ไม่ได้อุปทานไปเอง จากนั้นสมองซีกซ้ายของผมก็เริ่มทำงานอย่างหนักทันที เมื่อทราบว่า อุปกรณ์เสริมที่เอาเข้าไปใส่ให้กับ EVO 5.4 นั้นมันมีราคา "สูงกว่า" ราคาของลำโพงเกือบสี่เท่า.!!!
คุณเบิร์ด เจ้าสำนัก ไฮไฟ ทาวเวอร์ แจ้งไว้ว่า ลำโพง Wharfedale รุ่น EVO 5.4 ทำราคาพิเศษอยู่ที่คู่ละ 55,000 บาท จากราคาเต็มหกหมื่นกว่าบาท ส่วนตัวรองเดือยแหลมนั้น คุณหน่อย เจ้าสำนัก Life Audio ให้ข้อมูลไว้ว่า ราคาชุด (4 ตัว) ละ 90,000 บาท ใช้รองลำโพงต้องใช้สองชุดคือแปดตัว รวมสะระตะแล้วก็เป็นเงิน 180,000 บาท โอ้วว.. แม่เจ้า.! ราคาอุปกรณ์เสริมสูงกว่าราคาลำโพงเกือบ 4 เท่า สมองซีกซ้ายของผมหมุนติ้วๆ ขึ้นมาทันที หลักการและเหตุผลทางด้านความคุ้มค่าถูกขุดขึ้นมาคิดอย่างหนักพร้อมๆ กับเหงื่อกาฬเริ่มผุดออกมาบนหน้าผาก.!
ถ้าไม่สนใจอะไรทั้งสิ้น แล้วตั้งคำถามว่า เสียงที่ได้ยินนั้นถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ "ดีเพียงพอมั้ย" สำหรับลำโพงที่มีราคาคู่ละ 235,000 บาท คำตอบนั้น ถ้าเอาสมองซีกขวาพิจารณาเฉพาะ "คุณภาพเสียง" อย่างเดียว ผมก็ขอบอกว่าดีมาก เพราะในชีวิตที่ผ่านมาเคยเจอลำโพงที่มีราคาสูงกว่านี้แต่ให้เสียงแย่กว่านี้มาแล้วเยอะแยะ แต่ถ้าเปลี่ยนคำถามเป็น การใช้อุปกรณ์เสริมที่มีราคาสูงกว่าลำโพงมากขนาดนี้ถือว่าเป็นการแม็ทชิ่งที่เหมาะสมมั้ย.? อันนี้คำตอบอาจจะไม่ได้ขึ้นอยู่กับ "คุณภาพเสียง" อย่างเดียวซะแล้ว มันเริ่มทำให้ความคิดเชิงเศรษฐศาสตร์ถูกดึงเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ซึ่งโดยมากแล้ว นักเล่นส่วนใหญ่จะมี "เกณฑ์" สำหรับการมองในแง่ของความ "คุ้มค่า" ต่อการลงทุนไปในทิศทางที่ว่า อุปกรณ์หลักควรจะมี "ราคาสูงกว่า" อุปกรณ์เสริม นั่นทำให้มีนักเล่นบางส่วนยอมรับไม่ได้กับการใช้อุปกรณ์เสริมประเภทที่ใช้ร่วมกับลำโพงที่มี "ราคาสูงกว่า" ราคาของลำโพงเอง โดยให้เหตุผลกับตัวเองว่า ถ้าเอางบ 235,000 บาท ไปจัดสรรใหม่โดยเปลี่ยนไปใช้ลำโพงที่มีราคาสูงกว่า 55,000 บาท แล้วลดต้นทุนสำหรับอุปกรณ์เสริมลงไปตามสัดส่วน ก็อาจจะทำให้ได้คุณภาพเสียงโดยรวมที่ดีกว่าก็เป็นได้
ด้วยเหตุนี้ ผลสรุปในแต่ละขั้นตอนที่นักเล่นฯ ทำการอัพเกรดเสียงของซิสเต็มไปจากเดิมจะขึ้นอยู่กับว่า นักเล่นฯ คนนั้นใช้สมองซีกซ้ายหรือซีกขวาในการตัดสินใจมากกว่ากัน..!!!

#คุยกันวันอาทิตย์

งานเครื่องเสียงไฮเอ็นด์ที่เคยจัดที่มิวนิคมาทุกปี ปีหน้าเค้าย้ายไปจัดที่เวียนนาแล้วนะ..รู้ยัง??
05/07/2025

งานเครื่องเสียงไฮเอ็นด์ที่เคยจัดที่มิวนิคมาทุกปี ปีหน้าเค้าย้ายไปจัดที่เวียนนาแล้วนะ..รู้ยัง??

"ชั้นวางเครื่องเสียง" หรือ Audio Rack เป็นอุปกรณ์เสริมที่มีประโยชน์ถึง 2 อย่างด้วยกัน อย่างแรกคือช่วยส่งเสริมให้ชุดเครื่...
04/07/2025

"ชั้นวางเครื่องเสียง" หรือ Audio Rack เป็นอุปกรณ์เสริมที่มีประโยชน์ถึง 2 อย่างด้วยกัน อย่างแรกคือช่วยส่งเสริมให้ชุดเครื่องเสียงดูดี มีสง่าราศรี ส่วนประโยชน์อย่างที่สองของชั้นวางเครื่องเสียงก็คือ ทำให้อุปกรณ์เครื่องเสียงสามารถเปล่งประสิทธิภาพออกมาได้เต็มที่มากขึ้น
เมื่อบ่ายวันนี้ สองหนุ่มจากสำนัก Hi-End Audio ยกชั้นวางเครื่องเสียงแบรนด์ ‘Solid Tech’ รุ่น Rack of Silent (ROS Regular) เข้ามาให้ทดสอบ 2 ตัว เป็นแบบชั้นเดี่ยว (วางเครื่องได้ชิ้นเดียว) กับแบบสามชั้น (วางเครื่องเสียงได้สามชิ้น) อย่างละตัว แบรนด์นี้เป็นผลิตภัณฑ์สัญชาติสวีเดน เจ้าของแบรนด์เป็นคนที่รักในงานออกแบบและยึดมั่นกับคุณภาพของผลิตภัณฑ์อย่างมาก ทุกชิ้นส่วนของชั้นวางเครื่องเสียงของ Solid Tech จะถูกผลิตในประเทศสวีเดนทั้งหมด “.. We have a passion for quality and design and evrything we do is handmade in Sweden”
ชั้นวางเครื่องเสียงยี่ห้อนี้ให้โทนเสียงออกไปทางไหน.?
-----
ถ้าพยายามแบ่งแยกลักษณะ "โทนเสียง" ของอุปกรณ์เครื่องเสียงทุกชนิดออกมา คุณจะพบว่า โทนเสียงของอุปกรณ์เครื่องเสียงและอุปกรณ์เสริมแต่ละชิ้น จะวางตัวอยู่ระหว่างบุคลิกที่ตรงข้ามกันสองขั้วคือ “ขั้ว A : กระชับหนักแน่น" กับ “ขั้ว B : โอนอ่อนผ่อนคลาย" ซึ่งใครที่เคยใช้ชั้นวางเครื่อง หรืออุปกรณ์ประเภทอื่นของแบรนด์ Solid Tech มาบ้างก็คงพอจะจับทางได้ว่า ผู้ผลิตแบรนด์นี้เขาชอบจูนเสียงของผลิตภัณฑ์ของพวกเขาให้มีโทนเสียงที่เอนเอียงไปทาง B มากกว่า A ในอัตราส่วนประมาณ (A) 70:30 (B)
โทนเสียงแบบนี้ ดีหรือไม่ดี.?
-----
เสียงที่เราได้ยินจากซิสเต็มใดๆ เป็นผลรวมที่ผสมผสานขึ้นมาจากโทนเสียงของอุปกรณ์เครื่องเสียงแต่ละชิ้นในซิสเต็มหลอมรวมกันออกมา บางชิ้นให้โทนเสียงโอนเอนไปทางขั้ว A ในขณะที่บางชิ้นให้โทนเสียงที่โอนเอนไปทางขั้ว B ซึ่งคุณสมบัติทางด้านโทนเสียงของอุปกรณ์แต่ละชิ้นนั้นเป็นอัตลักษณ์เฉพาะตัวของเครื่องเสียงชิ้นนั้นๆ ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ สิ่งที่เราทำได้ก็คือ เลือกอุปกรณ์ที่มีโทนเสียงต่างๆ มาผสมผสานขึ้นมาเป็นซิสเต็มที่ให้ผลลัพธ์ของโทนเสียงรวมที่เราชอบ ดังนั้น การที่ชั้นวางเครื่องเสียงของ Solid Tech ให้โทนเสียงที่เอนเอียงไปทางขั้ว B จึงไม่ใช่เรื่องดีหรือไม่ดี แต่เป็นคุณสมบัติเฉพาะตัวของชั้นวางแบรนด์นี้ ซึ่งจะให้ผลลัพธ์ออกมาดีหรือไม่ดี ก็ขึ้นอยู่กับว่า โทนเสียงของซิสเต็มเดิมของคุณมันเอนเอียงไปทางขั้ว A หรือขั้ว B มากกว่ากัน และเมื่อเทียบกับโทนเสียงที่คุณชอบ (ซึ่งบางคนก็ชอบโทนเสียงของซิสเต็มที่เอนเอียงไปทางขั้ว A ในขณะที่บางคนชอบโทนเสียงที่เอนเอียงไปทางขั้ว B) แล้ว คุณอยากจะจูนเสียงของซิสเต็มให้เอนเอียงไปทางไหนเท่านั้น
สรุปแล้ว.. ชั้นวางเครื่องของ Solid Tech รุ่น Rack of Silent (Regular) ตัวนี้ มีโทนเสียงเอนเอียงไปทางไหน.? รออ่านในรีวิวได้เลย..!!!




ลำโพง Wharfedale รุ่น EVO 4.4 ได้รับรางวัลจากสื่อเครื่องเสียงต่างประเทศเยอะมาก เข้าใจความรู้สึกของทีมออกแบบลำโพงแบรนด์นี...
04/07/2025

ลำโพง Wharfedale รุ่น EVO 4.4 ได้รับรางวัลจากสื่อเครื่องเสียงต่างประเทศเยอะมาก เข้าใจความรู้สึกของทีมออกแบบลำโพงแบรนด์นี้เลยว่า โจทย์ที่ต้องทำให้ EVO 5.4 ให้ประสิทธิภาพเสียงออกมา "ดีกว่า" รุ่น EVO 4.4 ขึ้นไปอีกระดับนั้นจะสร้างแรงกดดันให้กับทีมออกแบบมากขนาดไหน
แต่พอสำเร็จเสร็จออกมาเป็น EVO 5.4 จริงๆ ก็ต้องขอปรบมือให้กับทีมออกแบบของ Wharfedale ที่พวกเขาสามารถก้าวผ่านโจทย์ยากๆ มาได้อย่างน่าชื่นชม เพราะหลังจากได้ทดลองฟังเสียงของ EVO 5.4 มาสองวัน แม้ว่าจะอยู่ในสภาวะที่ยังเบิร์นฯ ได้แค่สิบกว่าชั่วโมง ทว่า น้ำเสียงที่ได้ยินนั้น สามารถฟันธงล่วงหน้าได้เลยว่า EVO 5.4 ให้คุณภาพเสียงโดยรวมที่ "เหนือกว่า" รุ่น EVO 4.4 ขึ้นไปอย่างน้อย 30%
ทุกเสียงตั้งแต่ทุ้มขึ้นไปถึงแหลม ดีขึ้นทั้งหมด ความเป็นตัวตนดีขึ้นมาก เนื้อมวลเข้มข้น แยกแยะได้เด็ดขาด รายละเอียดดีเยี่ยมตั้งแต่ระดับเบาๆ ขึ้นไปจนถึงระดับพีค มิติเสียงหลุดตู้ตั้งแต่ยังไม่ครบ 100 ชั่วโมง เหล่านี้น่าจะเป็นผลสะท้อนมาจากการปรับปรุงประสิทธิภาพหลายๆ จุด โดยเฉพาะเสียงแหลมที่รับรู้ได้ถึงประกายเสียงที่มีความเนียนสะอาดมากขึ้นกว่ารุ่น EVO 4.4 อย่างชัดเจน ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลของผู้ผลิตที่แจงไว้ว่า พวกเขาได้ทำการปรับปรุงที่ตัวไดเวอร์ AMT อยู่ 2 – 3 อย่างด้วยกัน อย่างแรกคือ เอาวัสดุซับเสียงแบบพิเศษที่ชื่อว่า ‘Silentweave’ เข้าไปใส่ไว้ในช่องว่างที่อยู่ด้านหลังของแผ่นไดอะแฟรมของตัวไดเวอร์ AMT ซึ่งเจ้า Silentweave นี้เป็นวัสดุประเภทใยผ้าคัตต้อนผสมกับเส้นใยไฟเบอร์ ซึ่งคิดค้นขึ้นมาเป็นพิเศษสำหรับใช้ในลำโพง EVO 5 series โดยเฉพาะ
นอกจากจะทำการดูดซับคลื่นเสียงส่วนเกินที่เกิดขึ้นด้านหลังของไดเวอร์ AMT แล้ว พวกเขายังได้ทำการขจัดเรโซแนนซ์ที่จะเข้าไปรบกวนการทำงานของตัวไดเวอร์ AMT อีกด้วย โดยการออกแบบวัสดุที่มีลักษณะเป็นขอบวงแหวนที่เรียกว่า ‘ResoFrame’ ขึ้นมาล้อมรอบตัวไดเวอร์ AMT เอาไว้ เพื่อช่วยดูดซับพลังงานสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นขณะที่ไดเวอร์ทำงาน เหตุผลที่ขอบวงแหวน ResoFrame สามารถดูดซับพลังงานสั่นสะเทือนไว้ได้ก็เพราะว่ามันทำมาจากวัสดุประเภท elastomer ที่มีคุณสมบัติที่ให้ความยืดหยุ่นสูง ทำให้แรงสั่นจากตัวตู้ที่จะแผ่เข้ามาถึงตัว AMT ถูกกักและสลายไปในตัววัสดุนี้ ส่งผลให้ไดเวอร์ AMT ทำงานได้อย่างอิสระ แสดงผลออกมาให้รับรู้ได้ด้วยลักษณะของความเนียนสะอาดและต่อเนื่องของเสียงแหลมที่ลื่นไหล เนียนหู ไม่มีอาการหยาบกร้านเกิดขึ้นแม้ว่าจะเปิดดังมากๆ ก็ตาม …



Magnepan ลำโพงไร้ตู้ มาถึงแล้ว..!!!----------ระหว่าง "นักออกแบบลำโพง" (speaker designer) กับ "นักประดิษฐ์ลำโพง" (speaker...
03/07/2025

Magnepan ลำโพงไร้ตู้ มาถึงแล้ว..!!!
----------
ระหว่าง "นักออกแบบลำโพง" (speaker designer) กับ "นักประดิษฐ์ลำโพง" (speaker inventor) สองคำนี้มีความหมายต่างกันมากนะ ขณะที่นักออกแบบลำโพงคนอื่นๆ อาศัยไดเวอร์ (transducer) ทรงกรวยไดนามิกที่เห็นและใช้กันดาษดื่นเป็นสารตั้งต้นในการทำลำโพงนั้น Jim Winey* กลับคิดประดิษฐ์ไดเวอร์ หรือ transducer สำหรับใช้ทำลำโพงที่มีหน้าตาและรูปแบบการทำงานแตกต่างจากไดเวอร์ทรงกรวยแบบทั่วไปขึ้นมา และเขาได้นำไดเวอร์แบบ "กึ่งริบบ้อน" (Quasi-Ribbon) ที่เขาคิดค้นขึ้นมาไปทำเป็นลำโพงของตัวเอง แล้วตั้งชื่อแบรนด์ว่า “ Magnepan ” (*Jim Winey เสียชีวิตเมื่อวันที่ 10 มกราคม ปี 2024 ที่ผ่านมา)
ด้วยโครงสร้างของไดอะแฟรมที่เป็นเส้นยาว บวกกับลักษณะการผลักอากาศในแนวตั้งของไดเวอร์กึ่งริบบ้อนแบบ Line Source ของ Magnepan ยังผลให้ "รูปแบบของเสียง" ที่ลำโพงยี่ห้อนี้ให้ออกมามีความแตกต่างจาก "รูปแบบของเสียง" ที่ได้จากไดเวอร์แบบ point source ที่รูปทรงไดอะแฟรมมีลักษณะเป็นวงกลมอย่างมาก ผนวกกับการที่ไม่ต้องมีตู้เข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้เสียงของลำโพง Magnepan มีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทั้งในแง่ของความโปร่งใส รายละเอียดดี เพราะไม่มีความเพี้ยนที่เกิดจากข้อจำกัดของตู้เข้ามาปะปนนั่นเอง
ลำโพง Magnepan เป็นผลิตภัณฑ์ของประเทศสหรัฐอเมริกา จัดจำหน่ายในประเทศไทยโดย Save Audio&Video ปัจจุบันมีอยู่ทั้งหมด 7 รุ่น รุ่นที่ผมได้รับมาทดสอบครั้งนี้เป็นรุ่นเล็กสุด ชื่อว่ารุ่น LRS+ ซึ่งถูกออกแบบมาให้ทำงานในระบบ 2-way, ตอบสนองความถี่อยู่ในช่วง 50 – 20kHz, ความไว 86dB, อิมพีแดนซ์ปกติอยู่ที่ 4 โอห์ม ราคาคู่ละ 62,500 บาท



ไม่อยากนั่งฟังตรงกลาง มีวิธีเซ็ตอัพลำโพงที่สามารถฟังให้ได้เสียงที่ดีจากจุดอื่นๆ ในห้องมั้ยครับ.?----------ไม่มีการเซ็ตอั...
03/07/2025

ไม่อยากนั่งฟังตรงกลาง มีวิธีเซ็ตอัพลำโพงที่สามารถฟังให้ได้เสียงที่ดีจากจุดอื่นๆ ในห้องมั้ยครับ.?
----------
ไม่มีการเซ็ตอัพที่จำเพาะเจาะจงแบบนั้น และในความเป็นจริงก็ไม่มีความจำเป็นต้องทำแบบนั้นด้วย เพราะถ้าคุณทำการเซ็ตอัพให้ลำโพงอยู่ในตำแหน่งที่ทำงานร่วมกับห้องฟังได้อย่างลงตัวแล้ว ไม่ว่าคุณจะนั่งฟังหรือยืนฟังที่จุดใดในห้องก็จะได้เสียงโดยรวมออกมาในเกณฑ์ที่ดีทุกตำแหน่งโดยอัตโนมัติ เมื่อเทียบกับการนั่งฟังที่ตำแหน่ง sweet spot ความแตกต่างจะไปอยู่ที่คุณสมบัติทางด้าน "โทนัลบาลานซ์" กับ "เวทีเสียง" ซึ่งก็นิดหน่อย คือ บางจุดที่ฟังอาจจะได้ยินเบสเยอะกว่าบางจุดบ้าง แต่ละจุดได้ยินลักษณะของเวทีเสียงที่ต่างกัน แต่ความแตกต่างก็ไม่ได้มากถึงขนาดที่ทำให้สูญเสียอรรถรสของเพลง คือไม่ว่าจะฟังที่จุดไหนก็ยังรับรู้ถึงอารมณ์ของเพลงได้
เป็นไปตามคำกล่าวที่ว่า เมื่อเซ็ตอัพลำโพงให้ลงตัวกับห้องแล้ว จะฟังจากจุดไหนก็ไพเราะไปหมด สามารถอิ่มเอมไปกับอรรถรสของเพลงได้เหมือนกัน ลองนึกภาพการเข้าไปฟังการแสดงดนตรีสดดูซิ แต่ละตำแหน่งในฮอลล์แสดงดนตรีก็จะได้ยินเสียงออกมาต่างกัน แต่ทุกๆ ที่นั่งต่างก็เอนจอยไปกับการแสดงดนตรีได้เหมือนกัน..
ทำไมบางคนถึงชอบนั่งฟังตรงกลางตรงตำแหน่ง sweet spot .? ถ้าคุณยังไม่เคยเซ็ตอัพลำโพงจนลงตัวจริงๆ มาก่อน คุณก็จะไม่เข้าใจว่าการนั่งฟังตรงจุด sweet spot มันให้ประสบการณ์อะไรกับผู้ฟังบ้าง.? ซึ่งคนที่รักชอบการฟังเพลงจริงๆ จังๆ เขาไม่ได้ต้องการแค่ "ได้ยินเพลง" แว่วมาเข้าหู แต่เขาต้องการสัมผัสกับ "เอนเนอร์จี้" คือ touching หรือน้ำหนักมือที่ศิลปินถ่ายทอดลงไปบนเครื่องดนตรีของพวกเขา รวมถึงต้องการสัมผัสกับ "ความมีชีวิตชีวา" ของบรรยากาศในขณะที่เพลงนั้นกำลังถูกบรรเลงออกมาด้วย
ในการแสดงดนตรีสดๆ ไม่ว่าจะเป็นในคอนเสิร์ตฮอลล์ หรือสถานที่ใดๆ ล้วนก็มีจุดที่เป็น sweet spot หรือตำแหน่งที่ให้ประสบการณ์ในการ touch กับเพลงที่กำลังบรรเลงอยู่บนเวทีที่ดีที่สุดเหมือนกันทุกที่ ซึ่งในชีวิตจริง เราอาจจะไม่สามารถตีตั๋วเข้าไปนั่งตรงจุด sweet spot ของคอนเสิร์ตฮอลล์ใดๆ ได้ แต่ที่บ้านของเราเองกับชุดเครื่องเสียงของเราเอง เราสามารถทำแบบนั้นได้กับทุกงานแสดงดนตรี กับทุกเพลงที่เราฟังผ่านชุดเครื่องเสียงของเราได้.. ทุกครั้งที่ต้องการ.!!!

เพลงนี้เป็นเพลงแนวเครื่องเคาะ (เพอร์คัสชั่น) ที่ดีที่สุดในขณะนี้ ให้เสียงออกมาดี "ครบ" ทุกคุณสมบัติ ไม่ว่าจะเป็น โฟกัส, ...
02/07/2025

เพลงนี้เป็นเพลงแนวเครื่องเคาะ (เพอร์คัสชั่น) ที่ดีที่สุดในขณะนี้ ให้เสียงออกมาดี "ครบ" ทุกคุณสมบัติ ไม่ว่าจะเป็น โฟกัส, ไทมิ่ง, ไดนามิก, เนื้อเสียง และเวทีเสียง..!!!
----------
เพลง : Pillar I (https://tidal.com/browse/track/196421286?u)
อัลบั้ม : Seven Pillars
ศิลปิน : Andy Akiho, Sanbox Percussion

#เพลงอ้างอิง

บางแง่มุมของการแม็ทชิ่ง "แอมป์" เข้ากับ "ลำโพง"----------ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะลักษณะการทำงานของลำโพงเป็นแบบ dynamic คือ...
02/07/2025

บางแง่มุมของการแม็ทชิ่ง "แอมป์" เข้ากับ "ลำโพง"
----------
ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะลักษณะการทำงานของลำโพงเป็นแบบ dynamic คือมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการบริโภคกำลังขับจากแอมป์ที่สวิงขึ้นๆ ลงๆ ตลอดเวลา แปรเปลี่ยนไปตามสัญญาณเพลงที่ป้อนเข้ามาทางอินพุต ด้วยเหตุนี้ ทำให้การเลือกเพาเวอร์แอมป์ให้ "เข้าขา" กับพฤติกรรมการบริโภคกำลังขับของแอมป์จึงมีความยาก และเนื่องจากสเปคฯ ที่แสดง "ความต้องการกำลังขับ" ของลำโพง (Recommended amplifier power) และสเปคฯ ความสามารถในการ "จ่ายกำลังขับ" ของแอมป์ ที่แสดงอยู่ในสเปคซิฟิเคชั่นนั้นล้วนแล้วแต่เป็นตัวเลขที่อิงอยู่กับ "ค่าเฉลี่ย" ซึ่งเป็น static ทั้งนั้น
ยกตัวอย่าง ลำโพง Wharfedale รุ่น EVO 5.4 ระบุตัวเลขกำลังขับในหัวข้อ “Recommended amplifier power” อยู่ในสเปคฯ ไว้เท่ากับ 20 – 200W โดยอ้างอิงกับอิมพีแดนซ์ที่สวิงอยู่ในช่วง 8 – 4.3 โอห์ม (ลำโพงจะดึงกำลังขับจากแอมป์ "สูงขึ้น" เมื่ออิมพีแดนซ์ "ลดลง”) ซึ่งในแง่ของผู้ใช้ ถ้าไม่สนใจสเปคฯ ใดๆ ก็สามารถเลือกแอมป์ที่มีกำลังขับเท่าไหร่ก็ได้สำหรับลำโพงคู่นี้ โอกาสที่กำลังขับของแอมป์จะไปสร้างความเสียหายให้กับลำโพงนั้นมีน้อยมาก แม้ว่าผู้ใช้จะเลือกใช้แอมป์ที่มีกำลังขับ "สูงกว่า" ระดับ maximum ของสเปคฯ Recommended Amplifier Power ของลำโพงก็ตาม เพราะผู้ใช้สามารถควบคุม "ปริมาณของกำลังขับจากแอมป์" ที่จะส่งไปให้ลำโพงได้ผ่านทาง "วอลลุ่ม" ของแอมป์ มีอยู่เงื่อนไขเดียวที่เป็นความเสี่ยงที่แอมป์จะทำให้ลำโพงเสียหายก็คือ กรณีที่ใช้แอมป์ที่มีกำลังขับต่ำๆ ในสถานะการณ์ที่ต้องเปิดดังๆ อย่างเช่น ห้องใหญ่มาก หรือลำโพงมีความไว (sensitivity) ต่ำ กรณีนี้อาจจะเกิดความเสียหายกับทวีตเตอร์ของลำโพงได้ถ้าเปิดดังมากๆ ติดต่อกันนานๆ
ด้วยเหตุผลข้างต้น การเลือกแอมป์ที่มีกำลังขับ "สูงหน่อย" จึงเป็นทางเลือกที่ได้ประโยชน์ทั้งสองอย่างไปพร้อมกัน คือมีโอกาสที่จะได้เสียงที่ดี และไม่เป็นอันตรายกับลำโพง แต่ถ้าตั้งคำถามว่า ควรจะเลือกแอมป์อย่างไรให้ได้ประโยชน์สูงสุด คือคาดหวัง "คุณภาพเสียง" จากลำโพงได้มากที่สุด
จากประสบการณ์ส่วนตัวของผม ผมชอบที่จะเลือกใช้แอมป์ที่มีกำลังขับอยู่ที่ “ 75% x กำลังขับสูงสุดที่ลำโพงแนะนำไว้ " โดยอ้างอิงกับ "อิมพีแดนซ์ปกติ" หรือ "อิมพีแดนซ์เฉลี่ย" ของลำโพงซึ่งโดยมากจะอยู่ที่ 8 โอห์ม ยกตัวอย่างลำโพง Wharfedale รุ่น EVO 5.4 ที่แนะนำกำลังขับ "สูงสุด" ของแอมป์ไว้ที่ 200W ถ้าจับมาเข้าสูตรที่ผมชอบก็จะได้กำลังขับอยู่ที่ 150W ที่โหลดปกติ 8 โอห์ม และเมื่อเอาลักษณะการสวิงของอิมพีแดนซ์ของลำโพง EVO 5.4 เข้ามาพิจารณาด้วย จะเห็นว่า ช่วงสวิงลงของอิมพีแดนซ์ของลำโพงคู่นี้จะลงไป "ต่ำสุด" อยู่ที่ 4.3 โอห์ม คือสวิงลงไปต่ำสุดไม่ถึงครึ่งหนึ่งของอิมพีแดนซ์ปกติ ถ้าแปลความหมายออกมาเป็นพฤติกรรมในการบริโภคกำลังขับของลำโพง ก็พอจะประเมินได้ว่า EVO 5.4 ต้องการกำลังขับสูงสุดอยู่ที่ 200W ซึ่งก็คือช่วงที่อิมพีแดนซ์ของลำโพงสวิงลงไปอยู่ที่ 4.3 โอห์ม ดังนั้น แอมปลิฟายที่จะนำมาใช้กับลำโพงคู่นี้ โดยหวังผลได้ว่าน่าจะให้ผลทางเสียงที่ดี ตามสูตรของผมก็ควรจะเป็นแอมป์ที่ให้กำลังขับอยู่ที่ 150W ที่โหลด 8 โอห์ม และสามารถสวิงกำลังขับขึ้นไปได้ถึง 2 เท่า คือ 300W ที่โหลดอิมพีแดนซ์ 4 โอห์ม ซึ่งครอบคลุมความต้องการกำลังขับของลำโพงในช่วงสวิงต่ำสุดได้อย่างเพียงพอ
เพาเวอร์แอมป์ในภาพข้างบนที่กำลังขับ EVO 5.4 ก็คือ Jeff Rowland รุ่น Model 555 ซึ่งให้กำลังขับ 150W ที่โหมด 8 โอห์ม และสามารถสวิงกำลังขับขึ้นไปได้ถึง 300W ที่โหลด 4 โอห์ม..

#ซิสเต็มแม็ทชิ่ง

01/07/2025

คุณเบิร์ด จากสำนักไฮไฟ ทาวเวอร์เข้ามาชวนคุยทำ LIVE กัน..

สองหนุ่ม “บอล&เบิร์ด” จากสำนัก HiFi Tower เอาลำโพง Whafedale รุ่นใหม่ล่าสุด EVO 5.4 เข้ามาให้ทดสอบ…
01/07/2025

สองหนุ่ม “บอล&เบิร์ด” จากสำนัก HiFi Tower เอาลำโพง Whafedale รุ่นใหม่ล่าสุด EVO 5.4 เข้ามาให้ทดสอบ…

(A) แอมป์ถูก + ลำโพงแพง(B) แอมป์แพง + ลำโพงถูก หรือ (C) แอมป์กับลำโพงราคาเท่าๆ กัน----------ถ้าเป็นแนวทางของคุณ คุณจะเลื...
01/07/2025

(A) แอมป์ถูก + ลำโพงแพง
(B) แอมป์แพง + ลำโพงถูก
หรือ (C) แอมป์กับลำโพงราคาเท่าๆ กัน
----------
ถ้าเป็นแนวทางของคุณ คุณจะเลือกแม็ทชิ่งแบบไหน.? A หรือ B หรือ C

ที่อยู่

199/235 หมู่บ้านศุภาลัย การ์เด้นวิลล์ กรุงเทพ-ปทุมธานี
Pathum Thani
12000

เบอร์โทรศัพท์

+66992347887

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ Thanee Modsangaผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ ธุรกิจของเรา

ส่งข้อความของคุณถึง Thanee Modsanga:

แชร์

ประเภท

“เครื่องเสียง” กับ “เพลง”

ถ้าคุณมีโอกาสได้ฟังเพลงที่ชอบกับเครื่องเสียงที่มีคุณภาพสูง คุณจะค้นพบว่า เพลงที่คุณชอบและเคยฟังมันมาหลายร้อย หรืออาจจะหลายพันครั้ง ได้กลายเป็นเพลงใหม่ที่คุณไม่เคยได้ยินมาก่อน.! เครื่องเสียงที่มีคุณภาพดีจะทำให้ “เพลง” แสดงคุณค่าของมันออกมาให้ได้ยินอย่างที่มันถูกสร้างขึ้นมาในสตูดิโอจริงๆ