นิตยสารสาระวิทย์

นิตยสารสาระวิทย์ นิตยสารสาระวิทย์ โดย สวทช. "ย่อยโลกข้อมูลข่าวสารวิทยาศาสตร์เพื่อคุณ"

สาระวิทย์ เป็นนิตยสารอิเล็กทรอนิกส์รายเดือน (Free e-Magazine) เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้แก่กลุ่มผู้อ่านที่เป็นเยาวชน และประชาชนทั่วไป

อ่านฟรีได้ที่ https://www.nstda.or.th/sci2pub/sarawit/

จัดทำโดย ฝ่ายสร้างสรรค์สื่อและผลิตภัณฑ์
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
ติดต่อกองบรรณาธิการ / ติดต่อลงโฆษณา
[email protected]

✍️ เขียนวิทย์ให้ว้าว กับเหล่านักสื่อสารวิทย์ !วันที่ 26 มีนาคม 2568เวลา 13.00-15.30 น.ห้องประชุม CC-405อาคารศูนย์ประชุมอ...
06/03/2025

✍️ เขียนวิทย์ให้ว้าว กับเหล่านักสื่อสารวิทย์ !
วันที่ 26 มีนาคม 2568
เวลา 13.00-15.30 น.
ห้องประชุม CC-405
อาคารศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย
อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี

นิตยสารสาระวิทย์ สวทช. ขอเชิญชวนผู้สนใจมาร่วมเรียนรู้เคล็ดลับการสื่อสารวิทยาศาสตร์ให้เข้าใจง่าย สนุก และน่าสนใจ กับเหล่านักสื่อสารวิทย์ระดับแนวหน้าของประเทศไทย ในงานสัมมนาหัวข้อ "เขียนวิทย์ให้ว้าว กับเหล่านักสื่อสารวิทย์ !" ภายใต้งานประชุมวิชาการประจำปี สวทช. ครั้งที่ 20

วิทยากรพิเศษ
1. ดร.นำชัย ชีววิวรรธน์
ผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์สื่อและผลิตภัณฑ์ สวทช.
2. นพ.ชัชพล เกียรติขจรธาดา
นักเขียน Best Seller
3. ผศ. ดร.ป๋วย อุ่นใจ
มหาวิทยาลัยมหิดล
4. รศ. ดร.ครศร ศรีกุลนาถ
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ลงทะเบียนฟรี ! (รับจำนวนจำกัด)
https://www.nstda.or.th/nac/2025/seminar/26-03-2025/nac-32/

ℹ️ สอบถามเพิ่มเติม
e-mail: [email protected]
โทร. 0 2564 7000 ต่อ 1177

🎙 Podcast รายการ Sci เข้าหู EP85 - ปุ๋ยคีเลตสูตรใหม่ ใช้งานได้ทั้งโดรนและระบบท่อน้ำพบกับ ดร.คมสันต์ สุทธิสินทอง หัวหน้าท...
06/03/2025

🎙 Podcast รายการ Sci เข้าหู EP85 - ปุ๋ยคีเลตสูตรใหม่ ใช้งานได้ทั้งโดรนและระบบท่อน้ำ

พบกับ ดร.คมสันต์ สุทธิสินทอง หัวหน้าทีมวิจัยเกษตรนาโนขั้นสูง นาโนเทค สวทช. ผู้พัฒนา #ปุ๋ยคีเลตสูตรใหม่ ใช้งานได้ทั้งโดรนและระบบท่อน้ำ ช่วยลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต มีธาตุอาหารสำหรับบำรุงและเร่งการเจริญเติบโตของพืชที่ผ่านการพัฒนาด้วยเทคโนโลยีคีเลชัน ( ) หรือการห่อหุ้มธาตุอาหารให้อยู่ในรูปที่ไม่มีประจุ เพื่อให้พืชดูดซึมธาตุอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งทางปากใบและราก ลดการสูญเสียธาตุอาหารจากการตกตะกอนในดิน

ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู โดย นิตยสารสาระวิทย์
🎧 𝐘𝐨𝐮𝐓𝐮𝐛𝐞: https://youtu.be/kxMMAxL-KqI
🎧 𝗣𝗼𝗱𝗯𝗲𝗮𝗻: https://bit.ly/3F32CKJ
🎧 𝗔𝗽𝗽𝗹𝗲 𝗣𝗼𝗱𝗰𝗮𝘀𝘁: https://apple.co/41s7WP9
🎧 𝗦𝗽𝗼𝘁𝗶𝗳𝘆: https://spoti.fi/4h7ztvg

ห้องภาพสัต์ป่าไทยโดย รศ. ดร.ประทีป ด้วงแค🐍  #งูลายสาบเขียวขวั้นดำ Rhabdophis nigrocinctusเป็นงูพิษอ่อน อยู่ตามริมห้วยหรื...
05/03/2025

ห้องภาพสัต์ป่าไทย
โดย รศ. ดร.ประทีป ด้วงแค

🐍 #งูลายสาบเขียวขวั้นดำ Rhabdophis nigrocinctus
เป็นงูพิษอ่อน อยู่ตามริมห้วยหรือพื้นที่ชื้นแฉะ พบได้ไม่บ่อย อาหารส่วนใหญ่เป็นปลาและกบขนาดเล็ก

เส้นทางของ  #วิชาเคมี ตอนที่ 1 จากยุคหินสู่อุตสาหกรรมเรื่องโดย รวิศ ทัศครถ้าจะกล่าวถึงความเป็นมาของวิชาเคมีแล้ว เราคงต้อ...
05/03/2025

เส้นทางของ #วิชาเคมี ตอนที่ 1 จากยุคหินสู่อุตสาหกรรม
เรื่องโดย รวิศ ทัศคร

ถ้าจะกล่าวถึงความเป็นมาของวิชาเคมีแล้ว เราคงต้องมองย้อนกลับไปยังยุคโบราณผ่านความสนใจของมนุษย์ที่มีต่อธรรมชาติ ตั้งแต่หลายแสนปีก่อนที่มนุษย์โบราณค้นพบว่าเขาสามารถจุดไฟได้ มาจนช่วงหนึ่งแสนปีจนมาถึง 300 ปี ก่อนคริสต์ศักราช คนโบราณยุคก่อนประวัติศาสตร์รู้จักสังเกตแร่ธาตุต่าง ๆ ในธรรมชาติ ใช้สีทาตัว ทาผนังถ้ำ เขียนสีแต่งเครื่องปั้นดินเผา พวกเขายังมีความรู้เรื่องสมุนไพรและการรักษา สิ่งเหล่านี้ได้จากการสังเกตอย่างเป็นระบบทั้งสิ้น

วิชาเคมีจึงเริ่มต้นมาจากสิ่งง่าย ๆ อย่างการปรุงยาและศิลปะของนักเล่นแร่แปรธาตุ (alchemy) ในยุคโบราณที่เน้นการแปลงสารธรรมชาติและการค้นหาวิธีรักษาโรค นักเล่นแร่แปรธาตุมีจุดเริ่มต้นในอียิปต์โบราณซึ่งเครื่องมือและเทคนิคต่าง ๆ พัฒนามาเป็นหลักการเคมีที่ใช้ในปัจจุบัน เช่น การใช้เตาเพื่อหลอมโลหะ การกลั่น แยกสาร การสกัดธาตุ ต่อมาในยุคกลางนักเล่นแร่แปรธาตุในจีนและอาหรับมีส่วนร่วมพัฒนาเทคนิคทางเคมี ในช่วงเรืองวิทยาการของโลกอิสลามได้เกิดกรอบความคิดที่ว่าสามารถศึกษาวิชาเคมีผ่านการทดลองและการเฝ้าดูปรากฏการณ์ทางธรรมชาติได้

สันนิษฐานว่าการเล่นแร่แปรธาตุเริ่มต้นขึ้นในยุโรปและตะวันออกกลางตั้งแต่ศตวรรษที่ 12 แรงจูงใจของการพัฒนาศาสตร์ด้านนี้คือการหาทางเปลี่ยนสิ่งต่าง ๆ ให้เป็นทองคำ รวมทั้งการค้นหายาอมฤตสำหรับชีวิตอมตะ ปราชญ์คนสำคัญในยุคนี้ เช่น พาราเซลซุส (Paracelsus) ที่กล่าวถึงในบทความเรื่องงูในตอนที่แล้ว มีผลอย่างยิ่งในการเปลี่ยนแนวคิดการรักษาโรคจากที่มีลักษณะทางเวทมนต์ไปสู่การใช้สารเคมี เขาเชื่อว่าสารเคมีส่งผลต่อตัวยา และยังเสนอให้ใช้แร่ธาตุบางชนิดเป็นยา

หนึ่งในผู้สืบทอดแนวคิดของพาราเซลซุสที่มีความสำคัญที่สุดคือ ยาน แบ็พทิสท์ ฟาน เฮลมอนท์ (Jan Baptist van Helmont) เขาศึกษาหาความรู้เชิงเคมีผ่านการใช้เครื่องชั่งอย่างละเอียด ทดลองการละลายโลหะในกรด เช่น เงินกับกรดไนตริก และคืนรูปโลหะนั้นกลับจากสารละลายได้โดยไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงชนิดของสาร ด้วยเหตุนี้เขาจึงระบุว่าน้ำเป็นธาตุพื้นฐานในการสร้างสรรพสิ่ง แม้จะไม่ถูกต้องเนื่องจากความเข้าใจที่จำกัดในเวลานั้น แต่เขาเป็นผู้ตั้งคำว่า “gas” ซึ่งแสดงถึงการรับรู้ประเภทใหม่ของสาร

ℹ️ อ่านต่อ https://www.nstda.or.th/sci2pub/the-path-of-chemistry-part-1/

📣 ประกาศผลรางวัล  #ครีมกันแดด REISHURAL Perfect Whitening Sunscreen จำนวน 1 รางวัล จากกิจกรรม "สาระวิทย์ส่งความสุข Valen...
03/03/2025

📣 ประกาศผลรางวัล #ครีมกันแดด REISHURAL Perfect Whitening Sunscreen จำนวน 1 รางวัล จากกิจกรรม "สาระวิทย์ส่งความสุข Valentine's Day"
https://www.facebook.com/photo/?fbid=1261076615752548&set=a.588707582989458

🎉 ผู้โชคดี ได้แก่
คุณดาว พงษ์###

ติดต่อ inbox เพจสาระวิทย์ เพื่อแจ้งชื่อ-ที่อยู่ สำหรับจัดส่งของรางวัลได้เลยครับ

การสุ่มเลือกผู้โชคดีดำเนินการผ่านระบบ แอปพลิเคชันบนเว็บที่พัฒนาโดย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สังกัดสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) มีจุดประสงค์เพื่อสุ่มเลือกรายการจากชุดข้อมูล โดยแสดงถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการสร้างเลขสุ่มเชิงควอนตัม (star) ใช้งานได้ฟรีที่เว็บไซต์ https://www.luckyplay.org/

ขอบคุณทุกท่านที่ร่วมสนุกกับเรา สาระวิทย์ยังมีกิจกรรมให้ร่วมสนุกกันอีกเรื่อย ๆ แล้วพบกันครั้งหน้าครบ ฝากติดตามด้วยนะครับ 🙏

NSTDA Shop  สวทช. เปิดรับสมัครค่าย AI design by KidBright สำหรับเด็กอายุ 12 ขึ้นไป ครู อาจารย์ นักเรียน นักศึกษา รวมถึงบ...
03/03/2025

NSTDA Shop สวทช. เปิดรับสมัครค่าย AI design by KidBright สำหรับเด็กอายุ 12 ขึ้นไป ครู อาจารย์ นักเรียน นักศึกษา รวมถึงบุคคลทั่วไป เรียนรู้การใช้งานบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ และฝึกความสามารถด้านปัญญาประดิษฐ์ผ่านแพลตฟอร์ม AI Thai Gen

📅 วันที่ 24-25 เม.ย. 68
ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จังหวัดปทุมธานี

💳 ค่าสมัคร คนละ 3,500 บาท
พิเศษ! หากสมัครภายในวันที่ 15 มี.ค. 68 เพียง 2,800 บาท เท่านั้น
อ่านรายละเอียดและสมัครได้ที่
https://www.nstda.or.th/r/KgOqG

-------------
⚙️ KidBright32 คือบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์เพื่อการศึกษาของไทย ซึ่งพัฒนาเริ่มต้นโดยเนคเทค/สวทช.
⚙️ AI Thai Gen (https://aithaigen.in.th) คือ แพลตฟอร์การเรียนรู้และใช้งานปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งพัฒนาโดยนักวิจัยไทยจากมหาวิทยาลัยไทย ที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง

ตัวตนและผลงานที่เรายังไม่รู้จักของ ดมีตรี เมนเดเลเยฟเรื่องโดย  รศ. ดร.ทวีธรรม ลิมปานุภาพดมีตรี เมนเดเลเยฟ (Dmitri Mendel...
03/03/2025

ตัวตนและผลงานที่เรายังไม่รู้จักของ ดมีตรี เมนเดเลเยฟ
เรื่องโดย รศ. ดร.ทวีธรรม ลิมปานุภาพ
ดมีตรี เมนเดเลเยฟ (Dmitri Mendeleev) บิดาแห่ง #ตารางธาตุ ทางเคมี นักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซียผู้ถือกำเนิดและเสียชีวิตในเดือนกุมภาพันธ์ตามปฏิทินปัจจุบัน
แม้เนื้อหาความรู้เชิงวิทยาศาสตร์เป็นข้อความจริงที่พิสูจน์ได้ ไม่ขึ้นอยู่กับผู้คนและกาลเวลา แต่ข้อความจริงเหล่านี้ค้นพบหรือนำเสนอโดยนักวิทยาศาสตร์ซึ่งส่วนใหญ่ก็มีชีวิตอยู่ในห้วงเวลาหนึ่งในประวัติศาสตร์ บทความนี้จะชวนคุณผู้อ่านลองมองประวัตินักวิทยาศาสตร์อย่างบุคคลสาธารณะทั่วไป จากผลงานเด่นอันเป็นที่รู้จักไปสู่ผลงานที่ต้องทำเป็นอาชีพหรือเพื่อสำเร็จการศึกษา รวมทั้งจากแนวคิดหรือการทำนายที่เสนอเอาไว้ที่ต่อมาได้รับการพิสูจน์ด้วยกาลเวลา
แทนที่จะทำซ้ำนำเรื่องเก่ามาเล่าใหม่ว่าตารางธาตุของเมนเดเลเยฟเป็นอย่างไร มีธาตุใดบ้างที่เมนเดเลเยฟทำนายการมีอยู่ไว้ถูกต้อง ผมขอเลือกห้าเรื่องราวที่คนส่วนใหญ่ยังไม่เคยรู้ซึ่งจะช่วยให้เราเข้าใจความเป็นเมนเดเลเยฟได้ดีขึ้น ทำให้เห็นว่านักวิทยาศาสตร์ก็มีเลือดเนื้อมีชีวิตเช่นเดียวกับเราทุกคน และคนที่สนใจในเส้นทางสายนี้ก็สามารถเลือกที่จะเป็นนักวิทยาศาสตร์ได้เช่นเดียวกับเมนเดเลเยฟ
ℹ️ อ่านต่อ https://www.nstda.or.th/sci2pub/dmitri-mendeleev/

เปิดตัว " " หุ่นยนต์เต่าผู้พิทักษ์ทะเลบริษัท Beatbot ผู้ผลิตหุ่นยนต์ทำความสะอาดสระว่ายน้ำเผยโฉมหุ่นยนต์รุ่นใหม่ที่ชื่อว่...
28/02/2025

เปิดตัว " " หุ่นยนต์เต่าผู้พิทักษ์ทะเล
บริษัท Beatbot ผู้ผลิตหุ่นยนต์ทำความสะอาดสระว่ายน้ำเผยโฉมหุ่นยนต์รุ่นใหม่ที่ชื่อว่า "Amphibious RoboTurtle" หุ่นยนต์อัจฉริยะที่มีรูปร่างหน้าตาคล้ายเต่าและประกอบไปด้วยเทคโนโลยีสุดล้ำ ออกแบบขึ้นสำหรับปฏิบัติการสำรวจทางทะเล การวิจัยด้านนิเวศวิทยา และการแจ้งเตือนภัยพิบัติ โดยเปิดตัวครั้งแรกภายในงาน CES 2025 ซึ่งจัดขึ้นที่ลาสเวกัสเมื่อต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมา
Amphibious RoboTurtle มี #เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ ที่ช่วยให้รับรู้สภาพแวดล้อมโดยรอบได้แบบเรียลไทม์ ตอบสนองได้อย่างแม่นยำ มีระบบลอยตัวขั้นสูงที่ช่วยให้หุ่นยนต์เคลื่อนที่ได้อย่างราบรื่นระหว่างผืนน้ำและพื้นดิน สามารถเดินทางใต้น้ำลึกและรับมือกับภูมิประเทศที่ขรุขระหรือระบบนิเวศที่อ่อนไหวได้ และมีระบบติดตามอัตโนมัติอัจฉริยะที่ทำงานด้วยกล้องขับเคลื่อนด้วย AI คอยตรวจจับสภาพแวดล้อมโดยรอบ ช่วยให้นักวิจัยและนักจัดการน้ำสามารถดูสภาพทางชีวมาตรได้อย่างละเอียด
นอกจากนี้ข้อต่อขาของหุ่นยนต์ยังถูกออกแบบให้เคลื่อนไหวคล้ายกับการเคลื่อนไหวของเต่าในธรรมชาติ เพื่อการสำรวจที่แม่นยำและไม่รุกรานระบบนิเวศหรือรบกวนระบบนิเวศให้น้อยที่สุด โดยหุ่นยนต์สามารถทำงานอัตโนมัติได้อย่างต่อเนื่องด้วยพลังงานจากแผงโซลาร์เซลล์ประสิทธิภาพสูง
ทั้งนี้ บริษัทผู้ออกแบบคาดหวังว่า Amphibious RoboTurtle จะช่วยทำภารกิจสำคัญได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การตรวจติดตามสภาพแวดล้อมในทะเล การติดตามข้อมูลทางชีวภาพ การค้นหาสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ การแจ้งเตือนเหตุน้ำมันรั่วไหลและภัยพิบัติต่าง ๆ โดยจะช่วยปรับปรุงกระบวนการทำงานสำหรับหน่วยงานภาครัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน และนักวิจัย ช่วยให้รวบรวมข้อมูลได้เร็วขึ้นและลดการพึ่งพาทรัพยากรจำนวนมาก

ℹ️ ที่มาและรายละเอียดเพิ่มเติม :
- news.trueid.net/detail/GMXAP6jdJqGE
- interestingengineering.com/ces-2025/beatbot-designs-aquatic-research-robot
- www.prnewswire.com/news-releases/beatbot-to-introduce-the-amphibious-roboturtle-and-shore-self-docking--charging-station-at-ces-2025-302342801.html

กิจกรรมน่าสนใจสำหรับน้องๆ ชั้น ม.3-ม.6
27/02/2025

กิจกรรมน่าสนใจสำหรับน้องๆ ชั้น ม.3-ม.6

🎉กิจกรรม 👓 ผู้พิทักษ์โลกสีเขียว: AI เพื่อสิ่งแวดล้อม
ฟรี ❗ ไม่เสียค่าใช้จ่าย

เรียนรู้เกี่ยวกับการฟื้นคืนป่า การสำรวจระดับความเสื่อมโทรมของป่า การประเมินพื้นที่อย่างรวดเร็ว และการฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ ผ่านสื่อแผนที่ AR (Augmented reality) และเกม VR (Virtual Reality) เพื่อสร้างความตระหนักด้านการอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

🌳 เปิดรับสมัคร วันที่ 1 มีนาคม 2568 เวลา 10.00 น.
(ระบบรับสมัครจะเปิดในวันและเวลาดังกล่าว และจะปิดเมื่อมีผู้สมัคร
ครบตามจำนวนที่กำหนดไว้)
🌳 คุณสมบัติผู้สมัคร มัธยมศึกษาตอนปีที่ 3 - 6 จำนวน 24 คน
(ระดับชั้นยึดจากวันที่สมัคร)
🌳 ประกาศรายชื่อ วันที่ 11 มีนาคม 2568 เวลา 10.00 น. (ทางหน้าเพจ)
🌳 วันที่เข้าร่วมกิจกรรม วันที่ 26 มีนาคม 2568 เวลา 09.00 – 12.00 น. ณ ห้องประชุม CC307 (อาคาร 14) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

มก. จับมือเบทาโกรวิจัยพัฒนายกระดับอุตสาหกรรมปลาดุกไทยปลาดุกเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่สำคัญของไทย แต่ปัจจุบันผลผลิตลดลงอย่างต่อ...
25/02/2025

มก. จับมือเบทาโกรวิจัยพัฒนายกระดับอุตสาหกรรมปลาดุกไทย

ปลาดุกเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่สำคัญของไทย แต่ปัจจุบันผลผลิตลดลงอย่างต่อเนื่อง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) จึงร่วมกับบริษัทเบทาโกร จำกัด (มหาชน) วิจัยพัฒนาปรับปรุงพันธุ์ปลาดุก เพื่อแก้ปัญหาการเลี้ยง #ปลาดุก ในประเทศและยกระดับสู่สากล โดยได้จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมปลาดุกไทย เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 ทั้งนี้ ความร่วมมือดังกล่าวมี รศ. ดร.ครศร ศรีกุลนาถ คณะวิทยาศาสตร์ มก. เป็นหัวหน้าโครงการวิจัยด้านการปรับปรุงพันธุ์กลุ่มปลาดุก (ปลาดุกอุย ปลาดุกยักษ์ และลูกผสมบิ๊กอุย) ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ภายใต้โครงการ “ #ทุนส่งเสริมกลุ่มวิจัยศักยภาพสูง”

ℹ️ ข้อมูลโดย: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

🎙 Podcast รายการ Sci เข้าหู EP84 - ดาวเคราะห์น้อย 2024 YR4 ภัยคุกคามจากอวกาศเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับดาวเคราะห์น้อย 2...
24/02/2025

🎙 Podcast รายการ Sci เข้าหู EP84 - ดาวเคราะห์น้อย 2024 YR4 ภัยคุกคามจากอวกาศ

เรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับดาวเคราะห์น้อย 2024 YR4 ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อโลกในอนาคต กำลังได้รับความสนใจจากทั่วโลก สถานการณ์ปัจจุบันเป็นอย่างไร แล้วเรามีวิธีรับมืออย่างไร มาร่วมพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีอวกาศ ดร.สิทธิพร ชาญนำสิน หรือ ดร.คิม ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเทคโนโลยีอวกาศ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA

ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู
🎧 𝐘𝐨𝐮𝐓𝐮𝐛𝐞: https://youtu.be/zXRL4L8bf-k
🎧 𝗣𝗼𝗱𝗯𝗲𝗮𝗻: https://bit.ly/4h0hXJg
🎧 𝗔𝗽𝗽𝗹𝗲 𝗣𝗼𝗱𝗰𝗮𝘀𝘁: https://apple.co/3CSOjb5
🎧 𝗦𝗽𝗼𝘁𝗶𝗳𝘆: https://spoti.fi/4h2F8Tu

รวมมิตรวิทยาศาสตร์ “เพราะทุกอย่างคือเรื่องเดียวกัน”เรื่องโดย ป๋วย อุ่นใจตอนที่ผมได้ยินว่าสาระวิทย์ฉบับนี้จะฟีเจอร์เรื่อง...
24/02/2025

รวมมิตรวิทยาศาสตร์ “เพราะทุกอย่างคือเรื่องเดียวกัน”
เรื่องโดย ป๋วย อุ่นใจ

ตอนที่ผมได้ยินว่าสาระวิทย์ฉบับนี้จะฟีเจอร์เรื่องราวของ ดมีตรี อีวาโนวิช เมนเดเลเยฟ (Dmitri Ivanovich Mendeleev) นักเคมีชาวรัสเซียในตำนานผู้คิดค้นตารางธาตุ ผมย้อนนึกกลับไปตอนเรียนมัธยม ในตอนที่ผมเจอกับตารางธาตุครั้งแรก ตอนนั้นผมรู้สึกทึ่งแกมหมั่นไส้เมนเดเลเยฟนิด ๆ ถามว่าทำไม ? ผมทึ่งในอัจฉริยภาพของเขาที่สามารถจัดหมู่ธาตุทำเป็นตารางออกมาได้อย่างลงตัว ทั้งในเรื่องคุณสมบัติและโครงสร้างและการจัดเรียงตัวของวงอิเล็กตรอน แต่ก็อดหมั่นไส้ไม่ได้เพราะในตอนนั้นอาจารย์ที่สอน (กวด) วิชาเคมีให้ผมบอกเลยว่า “ลูก ๆ คะ นี่คือสิ่งที่พวกหนูต้องจำนะคะ ถ้าจะเรียนเคมีให้ดี พวกหนูต้องท่องตารางธาตุให้ได้” ประโยคอาจจะไม่เป๊ะ เพราะเหตุการณ์มันเกิดขึ้นนานมากแล้ว

แต่ชัดเจนว่านี่คือหนึ่งในความท้าทายที่นักเรียน ม.ปลายคนหนึ่งที่อยากเรียนเคมีให้ดีได้ต้องทำ “ลิเทียม โซเดียม โพแทสเซียม…รูบิเดียม ซีเซียม ฟรานเซียม…” ผมท่องชื่อธาตุในแต่ละหมู่เป็นทำนองราวอาขยาน แต่มันได้ผล หลังจากที่จำได้และค่อย ๆ เข้าใจตารางธาตุมากขึ้น จากวิชาที่เคยเรียนทีไรก็พะอืดพะอม เคมีดูจะเป็นมิตรกับผมมากขึ้น ผมเริ่มชอบวิชาเคมีและสนุกกับการเรียนเคมีมากขึ้น เมื่อได้เรียนสูงขึ้นก็จำเป็นต้องเจอกับซีรีส์วิชาเคมีสุดโหดหินอย่างเคมีอินทรีย์ เคมีวิเคราะห์ เคมีเชิงฟิสิกส์ ชีวเคมี วิศวกรรมเคมีชีวภาพ ชีวิตก็ยังไม่แย่ ถ้าให้มองย้อนกลับไปต้องบอกว่าการลงทุนท่องตารางธาตุในตอน ม.4 นั้นถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า !! เพราะเคมีสอดแทรกอยู่ในทุกที่

และพอได้ทำงานในสายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีมากขึ้น ผมเริ่มทํางานตระหนักว่า “วิทยาศาสตร์ไม่มีแบ่งสาย ทุกอย่างคือสิ่งที่คนอุปโลกกันขึ้นมาเอง” เคมี ฟิสิกส์ ชีวะ ทุกอย่างถูกสร้างขึ้นมาเพื่ออธิบายธรรมชาติ และถ้าอยากเข้าใจธรรมชาติ เราต้องมองให้เห็นในภาพใหญ่ทั้งหมด จะทิ้งอะไรไปไม่ได้ ผมยังจำได้วันแรกที่ผมเริ่มเข้าทำแล็บวิจัยแบบซีเรียส วันนั้นทั้งวันคือหมดไปกับการคำนวณเพื่อการเตรียมสาร หน่วยเคมีโมลาร์ เปอร์เซ็นต์ นอร์มัลกระจัดกระจายเต็มสมุดทดเล่มเล็ก ๆ ของผม

และในวันนั้นเองที่ผมได้ตระหนักและซาบซึ้งถึงความสัมพันธ์อันเหนียวแน่นระหว่างชีววิทยากับเคมี !เพราะในท้ายที่สุดแล้วเคมีก็อยู่ในทุกสิ่งรอบตัวของเรา ทั้งกายภาพและชีวภาพ น้ำที่เราดื่ม อาหารที่เรากิน พีเอ็ม เอ้ยยยย ! ออกซิเจนที่เราหายใจ รวมถึงทุกสิ่งทุกอย่างภายในร่างกายและภายในเซลล์ของเราด้วย นั่นหมายความว่าทุกกลไกเบื้องหลังชีววิทยามีเคมีซ่อนอยู่ และหากเราอยากเข้าใจกลไกทางชีววิทยา เราจะทิ้งเคมีไปไม่ได้

ℹ️ อ่านต่อ: https://www.nstda.or.th/sci2pub/because-everything-is-the-same-thing/

ต้นกำเนิด  #ตารางธาตุThe Birth of the Periodic Table, 1869บันทึกต้นฉบับของดมีตรี เมนเดเลเยฟ แสดงการจัดเรียงธาตุตามมวลอะต...
23/02/2025

ต้นกำเนิด #ตารางธาตุ
The Birth of the Periodic Table, 1869

บันทึกต้นฉบับของดมีตรี เมนเดเลเยฟ แสดงการจัดเรียงธาตุตามมวลอะตอมและสมบัติทางเคมี นับเป็นรากฐานสำคัญของ #ตารางธาตุสมัยใหม่ ที่ใช้กันมาจนถึงทุกวันนี้

 #สวทช. จุดประกายเยาวชนรักษ์โลกผ่านเกม VR สุดล้ำสวทช. จัดกิจกรรม “รู้จัก รัก หวงแหน พิทักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ผ่านเลน...
22/02/2025

#สวทช. จุดประกายเยาวชนรักษ์โลกผ่านเกม VR สุดล้ำ

สวทช. จัดกิจกรรม “รู้จัก รัก หวงแหน พิทักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ผ่านเลนส์โลกเสมือน เพื่อสร้างความตระหนักด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน” ณ #บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร และศูนย์ธรรมชาติวิทยาดอยสุเทพเฉลิมพระเกียรติฯ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมีตัวแทนครูและนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดปทุมธานีและเชียงใหม่เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 12 โรงเรียน

กิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งในโครงการวิจัย “การพัฒนาระบบโลกเสมือนจริงสำหรับการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อสร้างความตระหนักด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม” โดย สวทช. โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก EU-ASEAN Green Partnerships ในการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนในรูปแบบเกม (augmented reality) และ VR (virtual reality) เพื่อถ่ายทอดความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม และสร้างความตระหนักด้านการสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติให้แก่เยาวชน

ครูและนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวได้รับทั้งความรู้และสนุกสนานกับเทคโนโลยี AR และ VR ช่วยกระตุ้นความสนใจของนักเรียน ทั้งยังช่วยสร้างการตระหนักรู้ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ℹ️ ติดตามโครงการ SIMPLE ได้ที่เฟซบุ๊ก Simple Project
https://www.facebook.com/profile.php?id=100091863857681

21/02/2025

พบกับเรื่องราวสุดล้ำกับ AI สัญชาติไทย ที่จะมาสร้างปรากฏการณ์ในวงการเทคโนโลยี พบกับแขกรับเชิญพิเศษ ดร.ศราวุธ คงยัง นักวิจัยจากเนคเทค สวทช. ผู้พัฒนา ปทุมมา แอลแอลเอ็ม (Pathumma LLM) โมเดลภาษาขนาดใหญ่ ที่จะมาปฏิวัติวงการ AI ของประเทศไทย

เปิดให้ทดลองใช้งานเวอร์ชัน 1.0.0 แล้วที่ https://aiforthai.in.th/pathumma-llm/ ทั้งในรูปแบบ APP สำหรับให้บุคคลทั่วไปเข้าใช้งานผ่านเว็บแอปพลิเคชัน, API สำหรับนักพัฒนาที่ต้องการดึงข้อมูลแอปพลิเคชันไปแสดงผลที่หน้าเว็บไซต์ของตัวเอง และ Model สำหรับนักพัฒนาที่ต้องการดาวน์โหลดโมเดลไปพัฒนาต่อ ทั้งนี้ Pathumma LLM ยังอยู่ในขั้นตอนการวิจัยและพัฒนา

แขกรับเชิญ
ดร.ศราวุธ คงยัง
นักวิจัย
กลุ่มวิจัยปัญญาประดิษฐ์ เนคเทค สวทช.

ผู้ดำเนินรายการ
ดร.นรมน อินทรานนท์
ที่ปรึกษาอาวุโส
ฝ่ายบริการนวัตกรรมและคีย์แอคเคานต์ สวทช.

TK Park ชวนเปิดโลก “Elephants Odyssey Thailand” เสวนา หนัง และ ศิลปะ เพื่อช้าง 🐘อุทยานการเรียนรู้ TK Park ร่วมกับ Ambass...
20/02/2025

TK Park ชวนเปิดโลก “Elephants Odyssey Thailand” เสวนา หนัง และ ศิลปะ เพื่อช้าง 🐘

อุทยานการเรียนรู้ TK Park ร่วมกับ Ambassador World Magazine ปางช้างแม่แตง สมาคมสหพันธ์ช้างไทย Mission Innovation Co., Ltd. หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) และสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเคนยาประจำประเทศไทย จัดงาน Elephants Odyssey Thailand พบกับกิจกรรมเสวนาเรื่อง ช้าง จากอดีต ปัจจุบัน และอนาคต (Elephant Odyssey Thailand Panel Talk) โดยคุณวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ อดีตรัฐมนตรีท่องเที่ยวและกีฬา ประธานที่ปรึกษามูลนิธิช้างไทย พร้อมจัดฉายภาพยนตร์สารคดี 2 เรื่อง The Elephant Queen (Kenya) และ CHANG (Thailand) เพื่อสร้างการตระหนักรู้เรื่องการอนุรักษ์ช้าง รวมถึงกิจกรรมวาดภาพช้างในโครงการช้างล้านตัว การนำเสนอผลงาน AI Art on Elephants ในวันอาทิตย์ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 13:00–19:00 น. ณ ศูนย์การเรียนรู้อเนกประสงค์ อุทยานการเรียนรู้ TK Park ชั้น 8 เซ็นทรัลเวิลด์ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

สามารถลงทะเบียนผ่านแอปพลิเคชั่น
หรือ TK Park : Thailand Knowledge Park
https://mytk.tkpark.or.th/Activity/ActivityInformation?id=393&type=register
(รับจำนวนจำกัด)

🎙 Podcast รายการ Sci เข้าหู EP83 - Pathumma LLM โมเดล AI สัญชาติไทยในโลกที่เทคโนโลยี AI กำลังเปลี่ยนแปลงทุกสิ่ง พบกับปรา...
20/02/2025

🎙 Podcast รายการ Sci เข้าหู EP83 - Pathumma LLM โมเดล AI สัญชาติไทย

ในโลกที่เทคโนโลยี AI กำลังเปลี่ยนแปลงทุกสิ่ง พบกับปรากฏการณ์ใหม่ล่าสุดของวงการ AI ไทย กับการเปิดตัว "ปทุมมา แอลแอลเอ็ม" (Pathumma LLM) โมเดลภาษาขนาดใหญ่ที่พัฒนาโดยคนไทย เพื่อคนไทย โดย ดร.ศราวุธ คงยัง นักวิจัย กลุ่มวิจัยปัญญาประดิษฐ์ เนคเทค สวทช. จะมาเปิดเผยเบื้องหลังการสร้างสรรค์ AI อัจฉริยะตัวนี้ ที่จะมาปฏิวัติวงการเทคโนโลยีของประเทศไทย ใน Podcast รายการ Sci เข้าหู โดยนิตยสารสาระวิทย์ สวทช.

ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู
🎧 𝐘𝐨𝐮𝐓𝐮𝐛𝐞: https://youtu.be/TemFDFqyAws
🎧 𝗣𝗼𝗱𝗯𝗲𝗮𝗻: https://bit.ly/4b9Hy1i
🎧 𝗔𝗽𝗽𝗹𝗲 𝗣𝗼𝗱𝗰𝗮𝘀𝘁: https://apple.co/3EJzjga
🎧 𝗦𝗽𝗼𝘁𝗶𝗳𝘆: https://spoti.fi/4hOMR8H

✨ คำคมนักวิทย์ ✨โดย ดร.นำชัย ชีววิวรรธน์"ยิ่งไปกว่านั้น กฎข้อใดก็ตามไม่ได้ตั้งขึ้นทันทีที่เริ่มคิดเกี่ยวกับมัน หรือแม้แต...
20/02/2025

✨ คำคมนักวิทย์ ✨
โดย ดร.นำชัย ชีววิวรรธน์

"ยิ่งไปกว่านั้น กฎข้อใดก็ตามไม่ได้ตั้งขึ้นทันทีที่เริ่มคิดเกี่ยวกับมัน หรือแม้แต่เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของมัน แต่จะตั้งขึ้นได้ต่อเมื่อมีการยืนยันด้วยผลการทดลองเท่านั้น"
👨‍🔬 ดมีตรี เมนเดเลเยฟ

"The establishment of a law, moreover, does not take place when the first thought of it takes form, or even when its significance is recognised, but only when it has been confirmed by the results of the experiment."
👨‍🔬 Dmitri Mendeleev

---------------------

ดมีตรี อีวาโนวิช เมนเดเลเยฟ
(8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1834 – 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1907)

นักเคมีชาวรัสเซียผู้คิดค้นวิธีจำแนกสมบัติของธาตุตามน้ำหนักอะตอมสัมพัทธ์และวาเลนซี จนกลายมาเป็นต้นแบบของตารางธาตุแบบที่ใช้กันในปัจจุบัน เขานำเสนอการค้นพบต่อสมาคมเคมีรัสเซียในวันที่ 6 มีนาคม ค.ศ. 1869 ตารางธาตุของเขาทำนายการมีอยู่ของธาตุ 3 ชนิดที่ยังไม่ค้นพบในขณะนั้น แต่ต่อมาค้นพบในที่สุดคือ เจอร์เมเนียม (germanium), แกลเลียม (gallium) และสแกนเดียม (scandium)

#คำคมนักวิทย์ #คำคม #แรงบันดาลใจ #วิทยาศาสตร์ #สาระวิทย์

ที่อยู่

111 Thailand Science Park
Pathum Thani
12120

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ นิตยสารสาระวิทย์ผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ ธุรกิจของเรา

ส่งข้อความของคุณถึง นิตยสารสาระวิทย์:

วิดีโอทั้งหมด

แชร์