THE PEN ❝The PEN❞ สื่อที่ทำกิจการเพื่อสังคม โดย?

20/05/2025

20 ปี ทำไมต้องพูดคุยสันติภาพ?
เสวนา
20 ปี ทำไมต้องพูดคุยสันติภาพ? 🕊️
กระบวนการสันติภาพชายแดนใต้ ร่วมแลกเปลี่ยนมุมมอง
สะท้อนบทเรียน และเสนออนาคตของสันติภาพในพื้นที่
📅 วันอังคารที่ 20 พฤษภาคม 2568
🕐 เวลา 13.00 – 16.45 น.
📍 ณ ห้องศรีวังสา คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
📝 กำหนดการไฮไลต์
13.10 น. | กระบวนการสันติภาพชายแดนใต้: Timeline
13.25 น. | ถ้าไม่พูดคุย...จะเป็นอย่างไร?
15.00 น. | เสียงจากคนกลางดงไฟ
15.30 น. | ประสบการณ์การทำงานพื้นที่
16.30 น. | ข้อเสนอจากภาคประชาสังคมชายแดนใต้
🔗 เปิดเวทีโดยนักวิชาการ นักกิจกรรม เยาวชน และภาคประชาสังคม
เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนความเข้าใจและการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ
#พูดคุยสันติภาพ
#สถาบันสันติศึกษา

เปิดคำแถลง  Melayu Raya 2025เพื่ออัตลักษณ์ สิทธิ และ ศักดิ์ศรีประชาชนปาตานี
05/04/2025

เปิดคำแถลง Melayu Raya 2025
เพื่ออัตลักษณ์ สิทธิ และ ศักดิ์ศรีประชาชนปาตานี

ภาคประชาสังคม 42 องค์กร ยื่นหนังสือให้นายกฯ เร่งรัดกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้วันนี้ 18 กุมภาพันธ์ 2568 ภาคประชาสังคม 42 ...
18/02/2025

ภาคประชาสังคม 42 องค์กร ยื่นหนังสือให้นายกฯ เร่งรัดกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้

วันนี้ 18 กุมภาพันธ์ 2568 ภาคประชาสังคม 42 องค์กร ยื่นจดหมายเปิดผนึก เสนอข้อเรียกร้องเพื่อสร้างสันติภาพ ถึงนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในโอกาสที่ท่านเดินทางมาประชุม ครม.สัญจร ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติ 60 ปี มอ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

นายสมคิด เชื้อคง รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง เป็นตัวแทนนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มารับหนังสือข้อเสนอเพื่อสันติภาพจาก นายแวรอมลี แวบูละ ตัวแทนจาก 42 องค์กรร่วมจัดงานมหกรรมสันติภาพชายแดนใต้ ที่จะจัดขึ้น ณ มอ.ปัตตานีในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2568 ที่จะถึงนี้

——————-
โดยมีเนื้อหาในจดหมายเปิดผนึก ดังนี้:-

เรียน นางสาวแพรทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี

เหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ดำเนินมาแล้วเป็นเวลากว่า 20 ปี โดยในปี 2556 รัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นคณะรัฐบาลชุดแรกที่ให้ความสำคัญและริเริ่มการเจรจาสันติภาพ เพื่อสร้างพื้นที่พูดคุยกับกลุ่มขบวนการผู้เห็นต่างอย่างเป็นทางการผ่านการแต่งตั้งคณะเจรจาพูดคุยสันติภาพ (สันติสุข) นับแต่นั้นมาและส่งผลให้สถิติของความรุนแรงลดลงอย่างมีนัยสำคัญ

ดังนั้นองค์กรร่วมที่มีรายนามท้ายจดหมายเปิดผนึกนี้ จึงมีความเห็นพ้องร่วมกันและตระหนักว่ากระบวนการเจรจาสันติภาพคือทางออกของการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและเป็นกุญแจสำคัญในการยุติความรุนแรง การยับยั้งความสูญเสียชีวิตของผู้คน การฟื้นฟูความเชื่อมั่นระหว่างกลุ่มคนหรือภาคส่วนต่าง ๆ ถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญอย่างยิ่งของกระบวนการสันติภาพ ที่ต้องเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายได้มีส่วนร่วมและช่วยสร้างความเข้าใจต่อกระบวนการพูดคุยสันติภาพ รวมทั้งเคารพในความแตกต่าง และส่งเสริมแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนในทุกด้าน อาทิเช่น พัฒนาเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การศึกษา นอกจากนี้กระบวนการสันติภาพ ยังเกี่ยวโยงกับการเคารพสิทธิและเสรีภาพของทุกคนในสังคม การปกป้องหลักสิทธิมนุษยชนให้ประชาชนมีความเท่าเทียม จึงเป็นหัวใจสำคัญของการสร้างกระบวนการสันติภาพที่ยั่งยืน

องค์กรร่วมดังรายนามเชื่อมั่นว่าการเจรจาสันติภาพและการสร้างสภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างความสงบสุขจะนำมาซึ่งสันติภาพที่ยั่งยืนในสังคมที่มีความหลากหลายนี้ อย่างไรก็ตาม องค์กรร่วมที่มีรายนาม ท้ายจดหมายเปิดผนึกนี้ มีข้อห่วงกังวลอย่างยิ่งต่อสถานการณ์ในห้วงเวลานี้ หลังจากที่นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ประกาศแนวนโยบายทบทวนการบริหารจัดการกับ ปัญหาความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะประเด็นการพิจารณาตั้งคณะเจรจาเพื่อสันติภาพ และ ยังไม่มีความชัดเจนในแนวนโยบายการเจรจาสันติภาพ จึงขอนำเรียนต่อท่านนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาดังนี้

1. ขอให้นายกรัฐมนตรีแสดงเจตจำนงทางการเมืองที่หนักแน่นชัดเจนว่าจะสานต่อกระบวนการพูดคุยสันติภาพโดยรัฐบาลเป็นเจ้าภาพหลัก โดยจัดทำเป็นวาระแห่งชาติ และแต่งตั้งคณะพูดคุยสันติภาพเพื่อเป็นการเปิดพื้นที่ให้กับทุกฝ่ายได้มีส่วนร่วมในการเสนอแนะ แนวทางแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้

2. ขอให้รัฐบาลดำเนินการให้ภาคประชาสังคมได้จัดเวทีปรึกษาหารือสาธารณะ (Public consultation) เพื่อแสวงหาทางออกทางการเมืองอย่างครอบคลุมที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตกับประชาชนในด้านต่างๆ เช่น รูปแบบการเมืองการปกครองเศรษฐกิจ การศึกษา ภาษา อัตลักษณ์และวัฒนธรรม รวมถึงกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน เป็นต้น

3. ขอให้รัฐบาลสนับสนุนแผนงานพัฒนาของภาคประชาสังคมในด้านต่างๆโดยประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง เช่น การสร้างชุมชนเข้มแข็ง การพัฒนาวิสาหกิจ ชุมชน สุขภาพอนามัยชุมชน การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่มีประชาชนเป็นแกนหลัก

4. ขอให้รัฐบาลและฝ่ายขบวนการผู้เห็นต่าง ตระหนักถึงความรุนแรงที่ส่งผลกระทบต่อพลเรือนและผู้บริสุทธิ์ โดยยึดหลักกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (International Humanitarian Law - IHL) โดยให้มีการยกเลิกกฎอัยการศึกและ ยุติการใช้ความรุนแรง

5. ขอให้รัฐบาลดำเนินนโยบายสันติภาพตามวิถีทางประชาธิปไตย ที่ระบุไว้ใน รัฐธรรมนูญไทย หมวด 3 ว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย

6. ขอให้รัฐบาลพิจารณาจัดโครงสร้างความสัมพันธ์ใหม่ระหว่างรัฐกับประชาชนในพื้นที่ชายแดนใต้ ให้มีความรู้สึกเป็นเจ้าของอย่างแท้จริง เช่น ความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างรัฐกับประชาชน ความสัมพันธ์เชิงการพัฒนาโดยมีประชาชนเป็นแกนหลักเป็นต้น

ดังนั้นขอให้รัฐบาลและกลุ่มขบวนการผู้เห็นต่างร่วมกันสร้างบรรยากาศที่ปลอดภัยทางเสรีภาพทั้งในเชิงกายภาพและในเชิงความรู้สึกในพื้นที่ให้ประชาชนทุกกลุ่มวัฒนธรรมให้สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปลอดภัย เพื่อเป็นรากฐานที่มั่นคงต่อสังคม องค์กรร่วมที่มีรายนามท้ายจดหมายเปิดผนึกนี้ เชื่อมั่นอย่างยิ่งว่ากระบวนการพูดคุยสันติภาพคือกุญแจสำคัญอันจะนำสันติภาพมาสู่พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ อย่างยั่งยืน

ด้วยความเคารพอย่างสูง

ภาพประกอบโดย Tuwaedanial Tuwaemaengae

03/12/2024

บ้านยือโมะใน

03/12/2024

วันแรกที่ภายนอกเข้ามาถึง หลังน้ำท่วมมา 6 วัน
สถานการณ์น้ำท่วม บ้านยือโมะ ม.2 ต.ปะกาฮารัง อ.เมือง จุ.ปัตตานี

แถลงการณ์ "ตากใบ ต้องไม่เงียบ"
15/10/2024

แถลงการณ์ "ตากใบ ต้องไม่เงียบ"

إنا لله وإنا اليه راجعوناللهم ! اغفرله وارحمه ، واعف عنه وعافه،وأكرم نزله، ووسع مدخله، واغسله بماء وثلج وبرد،ونقه من الخ...
15/09/2024

إنا لله وإنا اليه راجعون
اللهم ! اغفرله وارحمه ، واعف عنه وعافه،وأكرم نزله، ووسع مدخله، واغسله بماء وثلج وبرد،ونقه من الخطايا كما ينقى الثوب الأبيض من الدنس،وأبدله دارا خيرامن داره، وأهلا خيرا من أهله،وزوجا خيرا من زوجه، وقه فتنة القبر وعذاب النار.
สำนักข่าว The PEN
ขอร่วมไว้อาลัยต่อการกลับไปสู่ความเมตตาของอัลลอฮ ของ อัฟกัน เจ๊ะเตะ แห่งสำนักสื่อ WARTANI
สื่อสันติภาพที่ร่วมเป็นสักขีพยานเพื่อสันติภาพ ณ ปาตานี
วันอาทิตย์ ที่ 15 กันยายน 2567 (11 Rabiul Awal 1446) เวลา 13.50 น.

حول شيج دأود الفطاني งานยิ่งใหญ่แห่งปี Haul Syeikh Daud รำลึกถึงชีวประวัติและเกียรติประวัติเชคดาวูดฟาฏอนีย์29 สิงหาคม 25...
29/08/2024

حول شيج دأود الفطاني
งานยิ่งใหญ่แห่งปี Haul Syeikh Daud รำลึกถึงชีวประวัติและเกียรติประวัติเชคดาวูดฟาฏอนีย์
29 สิงหาคม 2567
สถานที่: สภาอูลามะอฺ ฟาฏอนีย์ ดารุสสลาม บ้านปาเระ ต.บาราโหม อ.เมือง จ.ปัตตานี
(ฝ่ายสตรีจัดช่วงบ่ายที่มัสยิดกรือเซะ)

26/08/2024

ชายแดนใต้: เผยช่องว่างความเหลื่อมล้ำ 20 เท่า แก้จนด้วยนวัตกรรม

ในปี 2566 สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส มีประชากรทั้งสิ้น 2,510,000 คน โดยมีสัดส่วนคนจนถึง 249,300 คน หรือเกือบ 1 ใน 3 ของประชากรทั้งหมด ซึ่งตัวเลขนี้สูงกว่าระดับประเทศถึง 3.8 เท่า นอกจากนี้ รายได้เฉลี่ยของคนในพื้นที่นี้ยังต่ำสุดเพียง 5,725 บาทต่อเดือน ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยทั้งประเทศที่ 9,409 บาทต่อเดือน ความเหลื่อมล้ำระหว่างคนรวยที่สุดและคนจนที่สุดในพื้นที่นี้ก็สูงถึง 20.6 เท่า โดยกลุ่มคนรวยได้รับส่วนแบ่งรายได้ถึง 41.4% ขณะที่กลุ่มคนจนมีส่วนแบ่งเพียง 2% เท่านั้น

ดร.ไอร์นี แอสะดง รองหัวหน้าโครงการวิจัย “โครงการแก้จนคนตานี” ซึ่งเป็นโครงการวิจัยแก้ไขปัญหาความยากจนจังหวัดปัตตานี สนับสนุนโดย บพท. หรือ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ กล่าวว่าครัวเรือนยากจนในพื้นที่ส่วนใหญ่ประสบปัญหาการขาดแคลนทุน 5 ด้าน อันได้แก่ ทักษะอาชีพ(ทุนมนุษย์) เงินออม(ทุนการเงิน) การช่วยเหลือกันในชุมชน(ทุนสังคม) ที่ดินทำกิน(ทุนกายภาพ) และบ้านอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยพิบัติ(ทุนธรรมชาติ)

เพื่อแก้ไขปัญหานี้ โครงการวิจัยได้พัฒนาขึ้นมาทั้งหมด 104 โมเดลแก้จน ซึ่งครอบคลุมหลายมิติ ทั้งการสนับสนุนแบบครัวเรือน การเสริมศักยภาพการรวมกลุ่ม และการยกระดับเครือข่ายเพื่อให้ความช่วยเหลือครอบคลุมกว้างขวางขึ้น

เมื่อคนรวยกับคนจนมีช่องว่างของรายได้ถึงกว่า 20 เท่า ก็ยากจะปฏิเสธว่าการแก้ปัญหาความยากจนในพื้นที่ชายแดนใต้เป็นสิ่งที่ไม่อาจละเลยได้อีกต่อไป

#ทุนท้องถิ่น #ชายแดนใต้ #ความยากจน #ความเหลื่อมล้ำ #ปัตตานี #เศรษฐกิจ #ความยั่งยืน

26/08/2024

แก้จนด้วยนวัตกรรม

25/08/2024

BOOK TALK “เกิดบนเรือนมลายู” พูดคุยในความธรรมดาสามัญและความเป็นมนุษย์ของชาวมลายูผ่านสายตา “คนใน” จากหนังสือ “เกิดบนเรือนมลายู” เขียนโดย ณายิบ อาแวบือซา กับบทสนทนาในหลากความทรงจำต่างมุมมองกับ
💬ศ.ดร.นิติ ภวัครพันธุ์ อดีตอาจารย์ประจำภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
💬รศ.ดร.ยุกติ มุกดาวิจิตร อาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
💬คุณดลยารัตน์ บากา
คุณณายิบ อาแวบือซา ผู้เขียน หนังสือ “เกิดบนเรือนมลายู”
💬คุณดลยารัตน์ บากา
ดำเนินรายการโดย นวลน้อย ธรรมเสถียร บรรณาธิการหนังสือ “เกิดบนเรือนมลายู” และคอลัมนิสต์ Decode.plus

 #หากพรุ่งนี้ศาลไม่รับฟ้องคดีตากใบ ? ก่อนคดีจะหมดอายุความเก็บตกจากวงเสวนา หัวข้อ “คืนความยุติธรรมให้ตากใบ คืนลมหายใจให้ป...
22/08/2024

#หากพรุ่งนี้ศาลไม่รับฟ้องคดีตากใบ ? ก่อนคดีจะหมดอายุความ

เก็บตกจากวงเสวนา หัวข้อ “คืนความยุติธรรมให้ตากใบ คืนลมหายใจให้ประชาชน” จัดโดย สมัชชาประชาสังคมเพื่อสันติภาพ เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2567 ณ โรงแรมอิมพีเรียล อ. เมือง จ.นราธิวาส ก่อนที่ศาลจังหวัดนราธิวาสนัดอ่านคำสั่งว่าจะประทับรับฟ้องหรือไม่ ในวันพรุ่งนี้ 23 สิงหาคม 2567 ในคดีอาญาที่ผู้เสียหายจำนวน 48 คนฟ้องเจ้าหน้าที่รัฐเอง ก่อนที่คดีจะหมดอายุความ 20 ปีในวันที่ 25 ตุลาคม 2567 นี้
คำถามสำคัญ คือหากศาลมีคำสั่งไม่รับฟ้อง คดีตากใบจะจบลงแค่นี้หรือยังมีช่องทางไหนได้อีกที่จะทำให้ผู้เสียหายได้ความยุติธรรมอย่างแท้จริง และคนทำผิดได้รับการลงโทษ

#ตั้งศาลประชาชน กลไกค้นหาความจริง

นางสาวพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ผู้อำนวยการมูลนิธิผสานวัฒนธรรม กล่าวว่า ถ้าพรุ่งนี้ (23 สิงหาคม 2567) ศาลมีคำสั่งที่เป็นคำสั่งที่มีมูลไม่สามารถอุทธรณ์ ฎีกาได้ แต่ถ้าไม่รับฟ้องสามารถอุทธรณ์ ฎีกาได้
“ถ้าสิ้นสุดกระบวนการยุติธรรมของไทยแล้ว ในทางต่างประเทศก็ยังทำได้อีกหลายมิติ เรียกว่า ศาลประชาชน เมื่อกลไกยุติธรรมในประเทศล้มเหลว ก็มีโอกาสที่ภาคประชาสังคมทั้งในและต่างประเทศสามารถริเริ่มการดำเนินการด้านกระบวนการยุติธรรมในลักษณะศาลประชาชน ไม่ใช่ศาลเตี้ยที่หมายถึงการใช้อำนาจตัดสินก่อนการพิพากษาคดี อย่างประเทศเราเรียกว่าวิสามัญฆาตกรรมบางประเทศเรียกว่าศาลเตี้ย”
นางสาวพรเพ็ญ กล่าวว่า ศาลประชาชน คือการจัดตั้งศาลจำลอง โดยผ่านกระบวนการให้มีผู้พิพากษารับเชิญ อาจจะเป็นผู้พิพากษาจากต่างประเทศ จากในประเทศ คณะมนตรีอะไรต่างๆ มาจัดสรรให้เป็นพื้นที่ในการรับฟัง คือการค้นหาความจริงรูปแบบหนึ่ง และบันทึกไว้ แล้วให้ผู้พิพากษาหรือผู้เชี่ยวชาญต่างๆที่ได้เชิญมาได้ตัดสินคดีในลักษณะที่เป็นคำพิพากษาของประชาชน ก็จะมีขั้นตอนที่สามารถทำได้ในบริบทสากล

#นี่คือโอกาสของกระบวนการยุติธรรมไทย ถ้ากลัวยกระดับเป็นเรื่องระหว่างประเทศ

นายรอมฎอน ปันจอร์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาชน กล่าวว่า นี่เป็นความรับผิดชอบของรัฐไทยทั้งหมด ไม่ใช่แค่เรื่องอำนาจทาง ด้านหนึ่ง นี่คือสุดมือแล้วสุดทางแล้ว มันไปได้แค่นี้แล้ว ไม่สามารถให้ความยุติธรรมได้จริงๆ ก็เลยเป็นเงื่อนไขว่า ถ้ากลไกภายในประเทศมันสุดทาง กลไกที่อื่นๆซึ่งอาจจะรวมถึงกลไกระหว่างประเทศจะเข้ามาแทนหรือเติมเต็ม
“ผมทราบดีว่า กอ.รมน. และหน่วยงานความมั่นคงหลายหน่วยกังวลต่อการยกระดับปัญหาจังหวัดขายแดนภาคใต้ขึ้นเป็นเรื่องระหว่างประเทศ หลักใหญ่ใจความคือกรณีตากใบเป็นจุดเริ่มต้นของความหวาดกลัวที่จะยกระดับเป็นเรื่องระหว่างประเทศ เพราะอะไร รู้ไหมว่าสภาผู้แทนราษฎรมาเลเซียพูดเรื่องตากใบนายกรัฐมนตรีมาเลเซียพูดเรื่องตากใบ อดีตนายกมหาเดร์พูดเรื่องตากใบ OIC เรื่องตากใบ และส่งคนมาในพื้นที่ในอีกไม่กี่เดือนหลังจากเหตุการณ์”
นายรอมฎอน กล่าวว่า นายมหาเดร์เทียบเคียงกรณีที่ปัตตานีกับปาเลสไตน์ สำหรับโลกมุสลิมเรื่องใหญ่มาก เพราะการจัดการภายในการบริหารราชการหรือว่าการรับมือกับสถานการณ์ภายในรับมือไม่ได้ มันเป็นเหตุผลโดยตัวมันเองให้เรื่องนี้เป็นที่พูดถึงในเวทีนานาชาติ เพราะฉะนั้นนี่คือโอกาสของกระบวนการยุติธรรมไทยว่าสามารถเดินไปให้สุดทางและอำนวยความยุติธรรมประชาชน
“พรรคก้าวไกลเดิม พูดถึงเรื่องตากใบเทียบเคียงกับกรณีการล้อมปราบที่ตาย 99 คน ที่นี่ตาย 85 คน เป็นการตายขนาดใหญ่แล้วไม่มีคนรับผิดชอบ เพราะฉะนั้นเรากำลังพูดถึงการเปิดโอกาสให้ศาลอาญาระหว่างประเทศเข้ามาไต่สวนเฉพาะกรณี ย้อนหลังได้ด้วย ซึ่งเคยมีในกรณีที่ไอวอรี่โคสต์ในแอฟริกา แต่ประเทศไทยไม่เคยทำประเทศในอาเซียนก็ไม่เคยทำ แต่ถ้ามันตันจริงๆ ก็อาจจะต้องไปทุกช่องทาง”
นายรอมฎอน กล่าวว่า ทำไมเรื่องตากใบเราอยากให้ยุติได้อย่างยุติธรรม เหมือนที่บอกว่าเรื่องแบบนี้ต้องไม่เกิดขึ้นอีก แต่หลักประกันคืออะไร เรื่องเลวร้ายแบบนี้ต้องมีคนรับผิดชอบ ต้องมีการลงโทษ อันที่ 2 ต้องมีหลักประกันอย่างเช่น การไปผูกพันธะกับกฎหมายระหว่างประเทศ คือธรรมนูญกรุงโรม แต่ประเทศไทยยังไม่ลงนามให้สัตยาบัน

justice, no peace
นายฮาร่า ชินทาโร่ นักแปลสารแห่งมลายูปัตตานี กล่าวว่า คนทั่วโลกมักจะพูดว่าเป็นภาษาอังกฤษ พูดว่า No justice, no peace แปลว่า หากไม่มีความยุติธรรม ก็ไม่มีสันติภาพ ความยุติธรรมเป็นเงื่อนไขสำคัญสำหรับการสร้างสรรค์สันติภาพ
“ด้วยเหตุนี้สันติภาพที่ปราศจากความยุติธรรมก็เท่ากับของปลอมที่ไม่มีค่าเลย ในที่นี้การสร้างสันติภาพเป็นนโยบายของรัฐอยู่แล้ว แต่ปัญหาคือว่ารัฐบาลไทยตั้งแต่สมัยก่อนจนถึงบัดนี้ไม่เคยแสดงถึงเจตจำนงทางการเมืองที่แน่ชัดที่จะสร้างสันติภาพ โดยเฉพาะในเรื่องของการอำนวยความยุติธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับคดีตากใบ”
นายฮาร่า กล่าวว่า ถ้าศาลไม่รับคดีนี้หรือปฏิเสธที่จะชี้แจงความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์หมายความว่า ต่อไปเราต้องใช้ชีวิตบนความเสี่ยง เพราะเหตุการณ์ลักษณะนี้อาจจะเกิดขึ้นได้อีกครั้งเพราะไม่มีการลงโทษหรือไม่มีการรับผิดชอบทางอาญาไม่ใช่ทางแพ่ง
นายฮาร่า กล่าวว่า ดังนั้น คำตัดสินของศาลที่จะออกมาในวันที่ 23 สิงหาคม ไม่ใช่มีความหมายในด้านกฎหมายอย่างเดียว เราเชื่อมั่นว่ามีผลต่อสถานการณ์ในพื้นที่ด้วยและอย่าลืมว่าการที่ประชาชนรู้สึกว่าไม่ได้รับความยุติธรรม อย่างเช่นผู้เสียหายจากคดีตัดใบก็ยังรู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม
“ขอให้การตัดสินครั้งนี้พิสูจน์ว่ากระบวนการยุติธรรมในประเทศนี้ยังมีความเป็นธรรม จะสามารถสร้างสันติภาพได้บนพื้นฐานของความยุติธรรม”
นายฮาร่า ชินทาโร่ กล่าวในช่วงท้ายว่า ผมขอฝากว่าคดีตากใบจะเป็นโอกาสของรัฐไทย อย่าคิดว่าถ้าเจ้าหน้าที่ถูกลงโทษรัฐจะเสียหน้า แต่อาจจะเป็นสิ่งที่ดีว่ารัฐมีความยุติธรรม ผมเคยคุยกับทาง BRN ว่าทำไมต้องต่อสู้ใต้ดิน เขาบอกว่าเพราะต่อสู้บนดินไม่ได้ ผมคิดว่าคดีนี้ถ้าศาลไม่รับคดีนี้ ผมคิดว่าเขาก็จะมีการต่อสู้ใต้ดินต่อไป สันติภาพจะไม่เกิดขึ้น แต่ถ้าหากศาลรับผมคิดว่าจะมีแสงสว่างปลายอุโมงค์

#กฎหมายเยียวยาจะเพิ่มเรื่องคุณภาพชีวิต
นายนันทพงศ์ สุวรรณรัตน์ รองเลขาธิการ ศอ.บต. กล่าว่า ภารกิจที่ ศอ.บต.ต้องมาทำก็คือการเยียวยาช่วยเหลือ แต่เดิมเราพูดถึงเรื่องการจ่ายเงิน แต่กำลังเปิดในส่วนของการเยียวยาช่วยเหลือที่เป็นเรื่องคุณภาพชีวิต
โดย พ.ร.บ.เยียวยาจะเพิ่มเติมเยียวยาเรื่องคุณภาพชีวิต เล็งเห็นการเกิดผลกระทบที่เกิดขึ้นกับผู้ได้รับผลกระทบ ที่ขาดเสาหลักของครอบครัวไป การเยียวยา ด้านอาชีพ ด้านจิตใจ ด้านการศึกษา เป็นต้น ซึ่งกำลังจะเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีใหม่นี้

#ถ้าฟ้องแล้วรัฐบาลเรียกเงินคืน?

พันเอกอุทัย รุ่งสังข์ รองผู้อำนวยการศูนย์ สันติวิธี กล่าวว่า การไต่สวนการเสียชีวิตการขนย้ายผู้ชุมนุม 78 ศพ ศาลจังหวัดสงขลาสรุปคดีว่า ผู้ตายขาดอากาศหายใจแม้จะตายในระหว่างการควบคุมของเจ้าหน้าที่แต่โดยเจ้าหน้าที่ได้ปฏิบัติราชการตามหน้าที่ถือเป็นอันยุติ
“สิ่งหนึ่งที่ผมคาใจผมสงสัยทำไมพึ่งจะมีการฟ้องตอนที่จะหมดอายุความ ทำปล่อยให้ยืดยาวจนเหลือไม่กี่วันจะหมดอายุความ ทำไมไม่ฟ้องกันตั้งแต่เมื่อ 11-12 ปีที่แล้วหลังจากได้รับเงินเยียว 7.5 ล้านบาท ถ้าคิดว่าได้รับเงินมาแล้วไม่รับความยุติธรรมก็ไม่ต้องเซ็นสัญญายอมรับเงินแล้วจะไม่ฟ้องคดีอาญา เพราะถ้าฟ้องแล้วรัฐบาลเรียกเงินคืนจะเอาเงินที่ไหนไปคืน”

#นั่นคือสัญญาที่ไม่เป็นธรรม เป็นโมฆะในตัวมันเอง

นางสาวพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ผู้อำนวยการมูลนิธิผสานวัฒนธรรม ตอบประเด็นนี้ว่า ข้อสัญญาดังกล่าว เป็นสัญญาที่ไม่เป็นธรรมมีลักษณะเป็นโมฆะในตัวมันเอง ไม่สามารถบังคับใช้ได้ เพราะเป็นอาญาแผ่นดิน แม้จะมีการไกล่เกลี่ยแล้วก็เป็นการไกล่เกลี่ยทางแพ่ง การรับเงินเยียวยาเป็นเรื่องการรับผิดทางแพ่ง ไม่สามารถที่จะยกโทษให้กันได้ในทางอาญา
“การทำสัญญาฉบับนั้นอยู่ในบรรยากาศทางการเมืองที่ทำให้ชาวบ้านไม่อาจที่จะปฏิเสธการลงนามไกล่เกลี่ยได้ ทางแก้ที่ดีที่สุดก็คือการนำให้ผู้กระทำความผิดเท่าที่มีหลักฐานยืนยันว่ามีส่วนเกี่ยวข้องในการสั่งการหรือการปฏิบัติการในช่วงนั้นขึ้นสู่กระบวนการยุติธรรม”

#เราไม่ได้แก้แค้นแต่ทวงความยุติธรรม

ผู้ร่วมฟังเสวนาแสดงความคิดเห็น ว่า ในนามตัวแทนญาติผู้เสียชีวิต รู้สึกคาใจกับคำถามที่ทำไมเพิ่งมาฟ้องตอนที่จะหมดอายุความ จริงๆแล้วเงินเยียวยาที่ได้ 7 ล้านกว่าบาทถ้าเทียบกับชีวิตคนหนึ่งคนไม่คุ้ม ที่เงียบไม่ฟ้องไม่ใช่เพราะพอใจกับเงินที่ได้ แต่เพราะกลัวตาย กลัวถูกจับกุม กลัวความไม่ปลอดภัยเพราะส่วนใหญ่ประชาชนไม่รู้กฎหมายทำให้กลัว ไม่รู้ว่าจะต่อสู้คดีอย่างไร เพื่อให้ได้รับความยุติธรรม
“ในวันนี้ที่เราสู้ไม่ใช่จะแก้แค้น แต่เพื่อทวงความยุติธรรมให้คนที่เสียชีวิต ไม่อยากให้คนที่เสียชีวิตเสียเปรียบ จะทำยังไงกับเขาก็ได้ ที่เราเพิ่งมาฟ้องตอนจะหมดอายุความ เพราะหลายเหตุผลที่เรารู้สึกคาใจ คดีจะหมดอายุความก็เรื่องหนึ่ง เขาบอกว่าสำนวนหายก็เรื่องหนึ่ง มันหมายถึงอะไร และที่ลากมายาวนานก็ไม่ใช่เพราะเราพอใจ”
เขากล่าวว่า ขอบคุณองค์กรที่ลงมาสอบถามความเป็นอยู่หลังจากเกิดเหตุการณ์ ถ้าลงมาสอบถามด้วยความจริงใจประชาชนในพื้นที่จะตอบด้วยความจริงใจ ถ้ารัฐจะฟ้องกลับเพราะเราจะหาความยุติธรรมเราก็ต้องยอม ที่ผ่านมาที่ยังไม่ฟ้องเพราะเราไม่รู้จะพึ่งใคร ไม่รู้วิธีการไม่มีคนช่วยแนะนำ

ที่อยู่

300/109 ถ. หนองจิก ม. 4 ต. รูสะมิแล อ. เมือง จ. ปัตตานี
Pattani
94000

เบอร์โทรศัพท์

+66882357777

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ THE PENผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ ธุรกิจของเรา

ส่งข้อความของคุณถึง THE PEN:

แชร์

About THE PEN

THE PEN เป็นองค์กรที่พยายามทำงานมุ่งไปสู่การเป็น “สื่อเพื่อสร้างสรรค์สังคม” โดยจะนำเสนอ เรื่องราว เนื้อหา มุมมอง ความคิด ที่มีความแปลกใหม่ แตกต่าง เท่าทันกระแส มีกลิ่นอายชวนถกเถียง แต่มีประโยชน์ต่อการสร้างการเรียนรู้ การสร้างสรรค์ และการสร้างความร่วมมือ โดยหวังว่าจะนำไปสู่การสร้างการเปลี่ยนแปลงในแบบที่สอดคล้องกับบริบทชุมชนวัฒนธรรมและบริบทสังคมสมัยใหม่ บนพื้นฐานความต้องการของประชาชนในพื้นที่ ปตานี/ชายแดนใต้

THE PENเป็นองค์กรสื่อที่มุ่งพัฒนารูปแบบการสื่อสารใหม่ๆ ที่หลากหลาย เพื่อวัตถุประสงค์..

1. เพื่อ “เป็นช่องทางสร้างการมีส่วนร่วม” จากทุกภาคส่วนในการแก้ไขปัญหา พัฒนา จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยหวังว่าจะนำไปสู่การสร้างการเปลี่ยนแปลงในแบบที่สอดคล้องกับบริบทของชุมชน บริบทของสังคม และความต้องการของภาคประชาชนในพื้นที่อย่างแท้จริง

2. เพื่อ “การเป็นพื้นที่สื่อสารทำความเข้าใจ” ถึงความคิด ความรู้ มุมมอง และเสียง ของกลุ่มคนที่แตกต่างหลากหลาย หรือ คล้ายกัน ไม่ว่าจะเป็นภาคราชการ ภาคประชาชน ภาควิชาการ ภาคธุรกิจ และภาคชุมชน