19/06/2025
💂♂️รู้จักกับบำเหน็จตกทอด💰
สวัสดีค่ะ วันนี้จะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับบำเหน็จตกทอดว่าคืออะไร ? บุคคลใดมีสิทธิได้รับบ้าง ? มีวิธีการคำนวณและการขอรับอย่างไร ?
📍บำเหน็จตกทอด คือ เงินที่รัฐจ่ายให้เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ทายาทของข้าราชการ หรือทหารกองหนุนมีเบี้ยหวัด หรือผู้รับบำนาญที่ถึงแก่ความตายซึ่งจ่ายเป็นเงินก้อนครั้งเดียวค่ะ
___________________________
📍ผู้มีสิทธิรับบำเหน็จตกทอด ได้แก่ ทายาทที่ยังมีชีวิตอยู่ 3 ลำดับ โดยมีคุณสมบัติและมีสิทธิตามเกณฑ์ ดังนี้
1. บิดามารดา 🧓👵
🔖คุณสมบัติ : ต้องเป็นบิดาและมารดาที่ชอบด้วยกฎหมาย คือ
- บิดาจดทะเบียนสมรสกับมารดาในขณะที่ผู้ตายเกิด (แม้หย่ากันภายหลังก็มีสิทธิ)
- บิดามีหนังสือรับรองว่าผู้ตายเป็นบุตร
- มีคำสั่งศาลว่าผู้ตายเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดา
- มารดามีสิทธิเสมอไม่ว่าจะจดทะเบียนสมรสกับบิดาหรือไม่
🔖 สิทธิบำเหน็จตกทอด : ได้รับ 1 ส่วน
2. คู่สมรส 👩❤️👨
🔖 คุณสมบัติ : จดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมาย
🔖 สิทธิบำเหน็จตกทอด : ได้รับ 1 ส่วน
3. บุตร 👶
🔖 คุณสมบัติ : ต้องเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย คือ
- บิดามารดาจดทะเบียนสมรสกัน (แม้ภายหลังหย่าแล้ว ก็ไม่ตัดสิทธิบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย)
- มีหนังสือรับรองบุตร หรือเป็นบุตรบุญธรรมที่มีหนังสือรับรองบุตรบุญธรรม
- มีคำสั่งศาลให้เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย
🔖 สิทธิบำเหน็จตกทอด : บุตร 1 - 2 คน ได้รับ 2 ส่วน แต่ถ้าผู้ตายมีบุตรตั้งแต่ 3 คนขึ้นไปให้ได้รับ 3 ส่วน
___________________________
📍การคำนวณยอดเงินบำเหน็จตกทอด แบ่งออกเป็น 4 กรณี ดังนี้
1. กรณีข้าราชการประจำการเสียชีวิต
🖌️บำเหน็จตกทอด = เงินเดือนเดือนสุดท้าย x เวลาราชการ (จำนวนปี)
2. กรณีทหารกองหนุนมีเบี้ยหวัดเสียชีวิต
🖌️บำเหน็จตกทอด = เงินเดือนก่อนออก (ถ้ามีการปรับในระหว่างรับเบี้ยหวัดใช้เงินเดือนที่ปรับ) x [เวลาราชการก่อนออก (จำนวนปี) + 1 ใน 4 ของจำนวนปีที่รับเบี้ยหวัด]
3. กรณีข้าราชการบำนาญเสียชีวิต
🖌️บำเหน็จตกทอด = 30 x บำนาญรายเดือน (รวมเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ ถ้ามี)
4. กรณีผู้รับบำนาญพิเศษเหตุทุพพลภาพเสียชีวิต
🖌️บำเหน็จตกทอด = 30 x บำนาญพิเศษเหตุทุพพลภาพ (รวมเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ ถ้ามี)
# # # # # # # #
✳️หมายเหตุ✳️ ถ้าผู้รับบำนาญได้รับบำเหน็จดำรงชีพไปแล้วเท่าใด ให้นำมาหักจากเงินบำเหน็จตกทอดก่อนแบ่งแก่ทายาท
(💸บำเหน็จดำรงชีพ คือเงินที่รัฐจ่ายเพื่อช่วยเหลือการครองชีพแก่ผู้ที่เลือกรับบำนาญ เป็นเงินที่ไม่ต้องเสียภาษี ไม่ต้องเสียดอกเบี้ย และเป็นส่วนหนึ่งของเงินบำเหน็จตกทอด แต่นำมาจ่ายให้แก่ผู้รับบำนาญก่อนเรียกว่าบำเหน็จดำรงชีพ โดยจ่ายจำนวน 15 เท่าของเงินบำนาญ (เฉพาะบำนาญเท่านั้น) โดยแบ่งจ่ายเป็น 3 ครั้ง ดังนี้
1. ผู้รับบำนาญอายุต่ำกว่า 65 ปี (ยื่นพร้อมขอรับบำนาญครั้งแรก) จำนวนเงินที่ได้รับคือ ไม่เกิน 200,000 บาท
2. ผู้รับบำนาญอายุตั้งแต่ 65 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป รับได้ไม่เกิน 200,000 บาท แต่รวมตามสิทธิที่เคยขอรับต้องไม่เกิน 400,000 บาท
3. ผู้รับบำนาญอายุตั้งแต่ 70 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป รับได้ไม่เกิน 100,000 บาท แต่รวมตามสิทธิที่เคยขอรับต้องไม่เกิน 500,000 บาท)
# # # # # # # #
___________________________
📍ตัวอย่างการคำนวณบำเหน็จตกทอด
✏️สมมติว่า...
A ข้าราชการทหาร มีบิดามารดา ภรรยา และ บุตร 2 คน
B ข้าราชการทหาร มีบิดามารดา ภรรยา และ บุตร 4 คน
🖍️ตัวอย่างที่ 1 กรณีข้าราชการเสียชีวิตในระหว่างรับราชการอยู่
● ถ้า A รับเงินเดือนสุดท้าย 50,000 บาท รับราชการมา 40 ปี
📍บำเหน็จตกทอด = 50,000 x 40 = 2,000,000 บาท
❤️แจกจ่ายเป็น 4 ส่วน (2,000,000 ÷ 4 = 500,000 บาท) ให้แก่
🎗️บิดามารดาได้ 1 ส่วน = 500,000 บาท
🎗️ภรรยาได้ 1 ส่วน = 500,000 บาท และ
🎗️บุตร 2 คน ได้ 2 ส่วน = 1,000,000 บาท (500,000 x 2)
💙บำเหน็จตกทอดที่แต่ละคนจะได้รับ ได้แก่
🎗️บิดาและมารดา คนละ 250,000 บาท (500,000 ÷ 2)
🎗️ภรรยา 500,000 บาท และ
🎗️บุตรคนละ 500,000 บาท (1,000,000 ÷ 2)
● ถ้า B รับเงินเดือนสุดท้าย 50,000 บาท รับราชการมา 40 ปี
📍บำเหน็จตกทอด = 50,000 x 40 = 2,000,000 บาท
❤️แจกจ่ายเป็น 5 ส่วน (2,000,000 ÷ 5 = 400,000 บาท) ให้แก่
🎗️บิดามารดา 1 ส่วน = 400,000 บาท
🎗️ภรรยา 1 ส่วน = 400,000 บาท และ
🎗️บุตร 4 คน ได้ 3 ส่วน = 1,200,000 บาท (400,000 x 3)
💙 บำเหน็จตกทอดที่แต่ละคนจะได้รับ ได้แก่
🎗️บิดาและมารดา คนละ 200,000 บาท (400,000 ÷ 2)
🎗️ภรรยา 400,000 บาท และ
🎗️บุตรคนละ 300,000 บาท (1,200,000 ÷ 4)
🖍️ ตัวอย่างที่ 2 กรณีข้าราชการบำนาญเสียชีวิต
● ถ้า A รับบำนาญรายเดือน ๆ ละ 8,000 บาท มีเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญเดือนละ 3,000 บาท
📍บำเหน็จตกทอด = 30 x (8,000 + 3,000) = 330,000 บาท
❤️ แจกจ่ายเป็น 4 ส่วน (330,000 ÷ 4 = 82,500 บาท) ให้แก่
🎗️บิดามารดาได้ 1 ส่วน = 82,500 บาท
🎗️ภรรยาได้ 1 ส่วน = 82,500 บาท และ
🎗️บุตร 2 คน ได้ 2 ส่วน = 165,000 บาท (82,500 x 2)
💙 บำเหน็จตกทอดที่แต่ละคนจะได้รับ ได้แก่
🎗️บิดาและมารดา คนละ 41,250 บาท (82,500 ÷ 2)
🎗️ภรรยา 82,500 บาท และ
🎗️บุตรคนละ 82,500 บาท (165,000 ÷ 2)
● ถ้า B รับบำนาญรายเดือน ๆ ละ 8,000 บาท มีเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญเดือนละ 3,000 บาท
📍บำเหน็จตกทอด = 30 x (8,000 + 3,000) = 330,000 บาท
❤️ แจกจ่ายเป็น 5 ส่วน (330,000 ÷ 5 = 66,000 บาท) ให้แก่
🎗️บิดามารดา 1 ส่วน = 66,000 บาท
🎗️ภรรยา 1 ส่วน = 66,000 บาท และ
🎗️บุตร 4 คน ได้ 3 ส่วน = 198,000 บาท (66,000 x 3)
💙 บำเหน็จตกทอดที่แต่ละคนจะได้รับ ได้แก่
🎗️บิดาและมารดา คนละ 33,000 บาท (66,000 ÷ 2)
🎗️ภรรยา 66,000 บาท และ
🎗️บุตรคนละ 49,500 บาท (198,000 ÷ 4)
___________________________
📍กรณีที่ผู้เสียชีวิตไม่มีทายาท ? สิทธิจะเป็นของผู้ซึ่งผู้เสียชีวิตแสดงเจตนา โดยผู้เสียชีวิตต้องทำหนังสือแสดงเจตนาระบุตัวผู้รับบำเหน็จตกทอดตามแบบและวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด (ตามแบบท้ายประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การแสดงเจตนาระบุตัวผู้รับบำเหน็จตกทอด ประกาศ ณ วันที่ 5 มกราคม 2554) และยื่นต่อหน่วยต้นสังกัดก่อนเสียชีวิต
___________________________
📍กรณีทำหนังสือแสดงเจตนาและทายาทผู้มีสิทธิรับบำเหน็จยังมีชีวิตอยู่ ? ทายาทผู้มีสิทธิรับบำเหน็จตกทอดเท่านั้นที่จะได้รับบำเหน็จตกทอด (ผู้ที่มีชื่ออยู่ในหนังสือแสดงเจตนาไม่มีสิทธิรับบำเหน็จตกทอด)
___________________________
📍กรณีไม่ได้ทำหนังสือแสดงเจตนาไว้ และผู้เสียชีวิตไม่มีทายาท ? สิทธิรับบำเหน็จตกทอดเป็นอันยุติ และไม่มีใครสามารถขอรับเงินได้อีก
___________________________
📍ขั้นตอนการขอรับบริการ
1. ติดต่อหน่วยเบิกจ่ายเงิน
1.1 กรณีข้าราชการประจำการเสียชีวิต💂♂️
ทายาทติดต่อหน่วยต้นสังกัดของผู้เสียชีวิต แจ้งการเสียชีวิตเพื่องดจ่ายเงินเดือน
1.2 กรณีทหารกองหนุนมีเบี้ยหวัดเสียชีวิต🪖
ทายาทติดต่อหน่วยที่ผู้เสียชีวิตรับเบี้ยหวัด (มณฑลทหารบกต่าง ๆ) แจ้งการเสียชีวิตเพื่องดจ่ายเบี้ยหวัด
1.3 กรณีข้าราชการบำนาญและผู้รับบำนาญพิเศษเหตุทุพพลภาพเสียชีวิต🎖️
ทายาทติดต่อหน่วยเบิกจ่ายบำนาญของผู้เสียชีวิต (กรมการเงินทหารบก หรือ มณฑลทหารบกต่าง ๆ) แจ้งการเสียชีวิตเพื่องดจ่ายเงินบำนาญ
2. ติดต่อ🗣️กรมสารบรรณทหารบก หรือ มณฑลทหารบกต่าง ๆ ยื่นเรื่องขอรับเงินช่วยพิเศษ 3 เท่า, บำเหน็จตกทอด และเงินค้างจ่ายต่าง ๆ
3. ทายาท🙋♀️🙋ติดต่อที่อำเภอตามภูมิลำเนาเพื่อสอบสวนการเป็นทายาท เมื่อสอบทายาทเสร็จแล้วให้นำเอกสารกลับมายื่นที่กรมสารบรรณทหารบก หรือ มณฑลทหารบกต่าง ๆ ที่ยื่นเรื่องไว้
4. เมื่อยื่นเอกสาร📄ครบถ้วนแล้ว กรมสารบรรณทหารบก หรือ มณฑลทหารบกต่าง ๆ จะส่งเรื่องไปยังกรมบัญชีกลางเพื่อพิจารณาอนุมัติสั่งจ่าย
5. กรมบัญชีกลาง ตรวจสอบเอกสารแล้วไม่มีข้อขัดข้อง ก็จะทำการอนุมัติสั่งจ่าย และกรมการเงินทหารบก หรือ มณฑลทหารบกต่าง ๆ โอน💵เงินบำเหน็จตกทอดเข้าบัญชีธนาคารตามที่แจ้งไว้ต่อไป
📚ทั้งนี้ รายละเอียดเพิ่มเติมสอบถามได้ที่ ศูนย์บริการกำลังพลแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) กรมสารบรรณทหารบก โทร 0 2297 8207 หรือ 06 3935 6436 และ กองประวัติและบำเหน็จบำนาญ กรมสารบรรณทหารบก โทร 0 2297 7519
📌 ขอบคุณข้อมูลจาก: กรมสารบรรณทหารบก
#กองทัพบก
#บำเหน็จตกทอด
#ข้าราชการทหาร #สิทธิกำลังพลกองทัพบก