ThaiPublica ความโปร่งใสและยั่งยืน

สำนักข่าวออนไลน์ไทยพับลิก้า ThaiPublica.org ก่อตั้งในเดือนกันยายน 2554 นำเสนอข่าวสืบสวนสอบสวน เน้นประเด็นตรวจสอบความโปร่งใสภาครัฐ ความโปร่งใสภาคเอกชน และการพัฒนาที่ยั่งยืน ดำเนินงานโดยทีมงานนักข่าวอาชีพที่มีประสบการณ์ในวงการรวมกันกว่า 60 ปี

ไทยพับลิก้ามุ่งหวังที่จะใช้อินเทอร์เน็ตเป็นทั้งพื้นที่ในการนำเสนอข่าวและแลกเปลี่ยนกับผู้อ่าน และเป็นเครื่องมือในการทำงาน โดยเชื่อมั่นในพลังของสื่อใหม่ว่า การ

ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นพื้นที่และเครื่องมือจะช่วยดำรงความเป็นอิสระของกองบรรณาธิการ ก้าวข้ามข้อจำกัดของสื่อกระแสหลัก และสร้างความแตกต่างให้กับสำนักข่าวไทยพับลิก้า ทั้งในแง่ของการนำเสนอข่าวเชิงลึก และการนำเสนอข้อมูลที่ซับซ้อนอย่างเข้าใจง่าย

เราเชื่อมั่นว่า การนำ "ความเร็ว" ของพลังสังคมและข้อมูลข่าวสารในโลกออนไลน์ มาผสานกับ "ประสิทธิภาพ" ของเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตในการเชื่อมโยงและนำเสนอข้อมูล ผนวกกับ "ความลึก" ของนักข่าวมืออาชีพมากประสบการณ์ จะเปิดมิติใหม่ให้แก่วงการสื่อสารมวลชนไทย

ไทยพับลิก้าภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของมิตินี้

บรรณาธิการบริหารและบรรณาธิการด้านความยั่งยืน
บุญลาภ ภูสุวรรณ

บรรณาธิการข่าวข้อมูล
กมล ชวาลวิทย์

บรรณาธิการข่าวต่างประเทศ
จิระประภา กุลโชติ

กองบรรณาธิการ
สิรินาฏ ศิริสุนทร ผู้สื่อข่าว
จารุกิตติ์ ธีรตาพงศ์ ผู้สื่อข่าว

ช่างภาพ
ทศวรรษ เนียมวิวัฒน์

กราฟิก
ณัฐวดี สุทธิสาร


คณะกรรมการที่ปรึกษา
คุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม กรรมการ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
บรรยง พงษ์พานิช ประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำกัด (มหาชน)
พงษ์ศักดิ์ พยัฆวิเชียร ผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน)
ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ อธิการบดี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ธาริษา วัฒนเกส อดีตผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
รตยา จันทรเทียร ประธาน มูลนิธิสืบ นาคะเสถียร

ผลสำรวจ UOB เผยธุรกิจไทยมุ่งขยายโอกาสในอาเซียน รับมือผลกระทบภาษีนำเข้าสหรัฐฯ| สู่อาเซียน | ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย เผยราย...
15/07/2025

ผลสำรวจ UOB เผยธุรกิจไทยมุ่งขยายโอกาสในอาเซียน รับมือผลกระทบภาษีนำเข้าสหรัฐฯ
| สู่อาเซียน | ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย เผยรายงาน UOB Business Outlook Study ประจำปี 2568 สะท้อนแนวทางการปรับตัวของภาคธุรกิจไทยท่ามกลางความท้าทายจากการประกาศมาตรการภาษีนำเข้าของสหรัฐอเมริกา และความไม่แน่นอนของห่วงโซ่อุปทานโลก
ผลสำรวจพบว่า ภายหลังจากการประกาศมาตรการภาษีนำเข้าของสหรัฐอเมริกา มากกว่า ร้อยละ 90 ของภาคธุรกิจคาดว่า จะเผชิญกับภาวะหยุดชะงักในการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานมากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกัน ร้อยละ 68 คาดว่าจะปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเร็วยิ่งขึ้น และ ร้อยละ 60 มองว่าความยั่งยืนมีความสำคัญ โดยมีมาตรการภาษีของสหรัฐอเมริกาเป็นปัจจัยเร่งสำคัญ
อีกทั้ง ความเชื่อมั่นทางธุรกิจปรับตัวลดลงจาก ร้อยละ 58 ในปี 2024 เหลือ ร้อยละ 52 โดยเฉพาะธุรกิจขนาดเล็กแสดงความกังวลมากที่สุด ปัจจัยหลักที่สร้างแรงกดดันคือ ต้นทุนการดำเนินงานและเงินเฟ้อ โดย ร้อยละ 60 ของผู้ตอบแบบสอบถาม คาดว่าต้นทุนจะเพิ่มขึ้น และ ร้อยละ 57 คาดว่าเงินเฟ้อจะปรับตัวสูงขึ้น โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ อสังหาริมทรัพย์และธุรกิจการให้บริการ
ทั้งนี้ ภาคธุรกิจไทยได้ริเริ่มมาตรการสำคัญเพื่อรับมือสถานการณ์ ดังนี้

▪️ ลดต้นทุน: ธุรกิจ 3 ใน 5 โดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลาง (ร้อยละ 67) ได้ดำเนินการมาตรการลดต้นทุน

▪️ เพิ่มรายได้: ธุรกิจจำนวนมากมุ่งขยายฐานลูกค้าใหม่และแสวงหาความร่วมมือเชิงกลยุทธ์

▪️ ต้องการการสนับสนุน: ธุรกิจให้ความสำคัญกับความช่วยหลือทางการเงิน (ร้อยละ 92) การสนับสนุนด้านการค้าและห่วงโซ่อุปทาน (ร้อยละ 65) และการให้คำปรึกษาหรือฝึกอบรม (ร้อยละ 50) เพื่อสร้างเสริมความสามารถในการปรับตัว
ติดตามอ่านรายละเอียดฉบับเต็มที่ช่อง [คอมเมนต์]

#ภาษีศุลกากรสหรัฐ #ความเชื่อมั่นทางธุรกิจไทย #ไทยพับลิก้า

Here (2024)… เล่าประวัติศาสตร์ American Dream ผ่านห้อง ๆ หนึ่ง| คอลัมน์ | การกลับมาของสองคู่ขวัญในภาพยนตร์เรื่อง Here ออ...
14/07/2025

Here (2024)… เล่าประวัติศาสตร์ American Dream ผ่านห้อง ๆ หนึ่ง
| คอลัมน์ | การกลับมาของสองคู่ขวัญในภาพยนตร์เรื่อง Here ออกฉายเมื่อปี 2024 นับเป็นผลงานทดลองภาพยนตร์เชิงปรัชญาของ Robert Zemeckis ที่ทำให้เราเห็นเรื่องราวชีวิตผู้คนต่างยุคสมัย
Here คือ การเดินทางผ่านสายตา “กล้องนิ่ง” ที่ไม่เคยขยับออกไปจากมุมเดียว
Zemeckis ตั้งใจเล่าเรื่องโดยตั้งกล้องจากมุมหนึ่งของบ้าน
แม้ภาพจะไม่เคลื่อนไปไหน…แต่เวลาพาเราย้อนจากยุคไดโนเสาร์… มาถึงชนพื้นเมืองอเมริกัน…เดินทางต่อมาที่ยุคประกาศอิสรภาพอเมริกา…. เรื่องราวของ Benjamin Franklin รัฐบุรุษรุ่นบุกเบิก… เข้าสู่สมัยสงครามกลางเมือง มองเห็นความรุ่งเรืองของอเมริกาหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง และเดินทางต่อมาถึงยุคโควิด-19
Zemeckis ใช้เทคนิคการ de-aging ทำให้ตัวละคร Hanks-Wright ย้อนวัยไปมาได้ตลอดเรื่อง
นอกจากนี้ เขายังถ่ายทำหนังด้วยแนวคิด “Static Camera” ที่มองจากห้อง ๆ เดียว ผ่าน “สายตาของสถานที่” แทนสายตามนุษย์
เหมือนสถานที่กำลังเล่าเรื่องมนุษย์…แทนที่จะเป็นมนุษย์เล่าเรื่องสถานที่
“สิ่งต่าง ๆ เข้ามาและจากไป แต่ ”สถานที่” ยังจำได้เสมอว่าเราเคยอยู่ตรงนั้น”
ผู้สนใจโปรดดู Here — Richard McGuire , Here (2024) – IMDb
ติดตามอ่านเนื้อหาฉบับเต็มที่ช่อง [คอมเมนต์]
ที่มาภาพ: imdb
บทความโดย: Hesse004
#ประวัติศาสตร์อเมริกัน #ไทยพับลิก้า

ธปท. ชี้เศรษฐกิจเสี่ยงโตต่ำกว่า 2% อย่างน้อยปีครึ่ง กนง. พร้อมปรับนโยบาย ถ้า Downside Risk เกิดขึ้น| เกาะกระแส | เมื่อวั...
14/07/2025

ธปท. ชี้เศรษฐกิจเสี่ยงโตต่ำกว่า 2% อย่างน้อยปีครึ่ง กนง. พร้อมปรับนโยบาย ถ้า Downside Risk เกิดขึ้น
| เกาะกระแส | เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2568 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้จัด Monetary Policy Forum ครั้งที่ 2/2568 เพื่อนำเสนอและแลกเปลี่ยนความเห็นกับนักเศรษฐศาสตร์ นักวิเคราะห์ และสื่อมวลชน ในประเด็นผลกระทบจากมาตรการภาษีสหรัฐฯ ประมาณการเศรษฐกิจและเงินเฟ้อล่าสุด รวมทั้งประเด็นสำคัญของการดำเนินนโยบายการเงิน
‘นายสักกะภพ พันธ์ยานุกูล’ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน และเลขานุการ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ชี้ว่าลักษณะของแรงกระแทกที่เกิดขึ้นจากภาษี ที่อาจจะไม่ได้ทำให้เศรษฐกิจไทยกระทบแบบรุนแรงเร็ว ๆ และตกลงไปแบบเร็ว ๆ ในระยะสั้น เหมือนในช่วงโควิดที่มีการกระทบการผลิต เกิดภาวะชะงัก แต่ลักษณะของแรงกระแทกในครั้งนี้ จะเป็นการทอดยาวเพราะผลกระทบหลัก ๆ จะมาจากในกลุ่มที่ส่งออกไปสหรัฐเป็นหลัก
“เราจะเห็นการผลของมันจะทอดยาวแล้วก็ลักษณะของเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า ก็จะขึ้นอยู่กับการปรับตัวของภาคธุรกิจด้วย”
ส่วนการดำเนินนโยบายการเงินคณะกรรมการ กนง. ก็ยังเห็นว่าควรที่จะผ่อนคลาย สนับสนุนเศรษฐกิจที่มีความไม่แน่นอนในระยะข้างหน้าสูง คณะกรรมการนโยบายการเงินมีความพร้อมที่จะปรับนโยบายเพิ่มเติมหากมีความจำเป็น ถ้าเห็นว่ามีความไม่แน่นอน และความเสี่ยงเริ่มมีความชัดเจนเพิ่มสูงขึ้น
ด้าน ‘นางสาวบัณณรี ปัณณราช’ ผู้อำนวยการ ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค กล่าวว่า เมื่อมองไปในระยะข้างหน้า แนวโน้มเศรษฐกิจคาดว่าจะชะลอลงพอสมควร โดยเมื่อเทียบการเติบโตครึ่งปีแรกกับปีที่ผ่านมาในช่วงเวลาเดียวกัน (Year on Year) ครึ่งปีแรกอาจจะโตประมาณใกล้ๆ 3% ประมาณ 2.9% แต่ในระยะข้างหน้าการเติบโตจะชะลองพอสมควรอยู่ที่ประมาณ 1.6% แล้วปีหน้าอยู่ที่แค่ประมาณ 1.7% ซึ่งก็เป็นความท้าทายของเศรษฐกิจในระยะข้างหน้าที่จะมีอัตราเติบโตที่ต่ำกว่า 2% ในช่วงเป็นอย่างน้อยปีครึ่งไปข้างหน้า
โดยปัจจัยที่ทำให้เศรษฐกิจในระยะข้างหน้ามีแนวโน้มชะลอลง คือ ผลกระทบจากการส่งออกที่คาดว่าจะหดตัวรุนแรง และได้รับผลกระทบจากมาตรการภาษีของสหรัฐที่จะมีความชัดเจนขึ้นในระยะข้างหน้า แต่ก็ยังคงมีความไม่แน่นอนที่ต้องติดตามสถานการณ์เป็นระยะและการเจรจาของภาครัฐ
ติดตามอ่านรายละเอียดฉบับเต็มที่ช่อง [คอมเมนต์]
#แนวโน้มเศรษฐกิจไทย #เงินเฟ้อ #ภาษีศุลกากรสหรัฐ #กนง #ธปท #ไทยพับลิก้า

นิคมอุตสาหกรรมจะนะ “นักรบผ้าถุง” ยังสู้ต่อ ทำฐานข้อมูลชุมชนสัตว์น้ำ-ทรัพยากรชายฝั่ง เครื่องมือต่อรองสิ่งแวดล้อม | เกาะกร...
14/07/2025

นิคมอุตสาหกรรมจะนะ “นักรบผ้าถุง” ยังสู้ต่อ ทำฐานข้อมูลชุมชนสัตว์น้ำ-ทรัพยากรชายฝั่ง เครื่องมือต่อรองสิ่งแวดล้อม
| เกาะกระแส | ริมชายฝั่งหาดสะกอม ม.4 ต.ปากบาง อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ยังคงมีเสียงคลื่นซัดกระทบฝั่ง และเสียงของชาวบ้านที่ไม่เคยเงียบหายไป นั่นคือกลุ่มคนธรรมดาที่รวมตัวกันเพื่อรักษาทะเล บ้านเกิด และความมั่นคงทางอาหารของลูกหลาน
พวกเขาเรียกตัวเองว่า “นักรบผ้าถุง” เช่นเดียวกับอีกหลาย ๆ กลุ่มคนที่เป็นเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น ร่วมรักษาทะเลจะนะ และยังคงยืนหยัดผ่านมาหลายครา ตั้งแต่ท่อก๊าซไทยมาเลยเซีย เมื่อ 30 ปีก่อน ตลอดจนจนถึงโรงไฟฟ้าถ่านหิน จนมาล่าสุดโครงการเขตอุตสาหกรรมนิคมจะนะ
เมื่อสองสามปีก่อน ชาวบ้านกลุ่มนี้ยอมทิ้งอวน ทิ้งเรือ ออกเดินทางไกลจากบ้านเกิด รวมกับอีกหลายคนกลุ่ม ไปยังหน้าทำเนียบรัฐบาล และองค์การสหประชาชาติในกรุงเทพฯ เพื่อทวงสัญญาจากรัฐให้ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมอย่างรอบด้าน
โครงการเขตนิคมอุตสาหกรรมจะนะ ซึ่งมูลค่าการลงทุนกว่าหมื่นล้านนั้น ไม่เพียงแต่จะทำให้เปลี่ยนผืนดินให้เป็นโรงงาน แต่กำลังจะกลืนชีวิต กลืนกินวิถีประมง ที่สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน
แม้โครงการพัฒนาเขตอุตสาหกรรมจะนะจะถูกชะลอ แต่ชาวจะนะผู้ต่อต้านทั้งหมดไม่เคยวางใจ พวกเขารู้ดีว่าการลงทุนของนายทุนใหญ่ยังไม่ยุติ เพียงแค่หลบอยู่ในเงา และพร้อมจะกลับมาเมื่อมีโอกาส
นั่นคือเหตุผลที่เครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น ต้องกลับมารวมพลังให้เข้มแข็งมากยิ่งขึ้น
ติดตามอ่านเนื้อหาฉบับเต็มที่ช่อง [คอมเมนต์]
รายงานโดย: สุกรี มะดากะกูล
#นักรบผ้าถุง #นิคมอุตสาหกรรมจะนะ #เครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น #ไทยพับลิก้า

ปฏิบัติการ ‘โดรน’ ของอิสราเอลและยูเครน ทำให้โลกสู่ยุค “สงครามกองโจรของยานยนต์” | เกาะกระแส | ในรายงานข่าวของ The New Yor...
14/07/2025

ปฏิบัติการ ‘โดรน’ ของอิสราเอลและยูเครน ทำให้โลกสู่ยุค “สงครามกองโจรของยานยนต์”
| เกาะกระแส | ในรายงานข่าวของ The New York Times เรื่อง As Drone Warfare Evolves, Pentagon Sees Its Own Vulnerabilities ที่เกี่ยวกับจุดอ่อนของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ในเรื่องสงครามอากาศยานโดรน เขียนไว้ว่า การที่อิสราเอลและยูเครนสามารถลักลอบ นำโดรนลึกเข้าไปดินแดนเพื่อโจมตีฝ่ายตรงกันข้าม ทำให้กองทัพสหรัฐฯ เห็นถึงจุดอ่อนของตัวเอง
ในปี 2024 Eric Smith ประธานคณะกรรรมการความมั่นคงสหรัฐฯ ด้าน AI และเป็นอดีต CEO ของ Google กล่าวว่า การพุ่งขึ้นมาของโดรนราคาถูก ทำให้เทคโนโลยีเก่า อย่าง เช่นทำให้ “รถถัง” ไร้ประโยชน์ และแนะนำให้สหรัฐฯ หันมาซื้อโดรนแทน ปี 2024 Elon Musk เขียนใน X ว่า “มีแต่คนโง่เท่านั้นที่ยังสร้างเครื่องบินรบ F-35 สงครามในอนาคตจะเป็นเรื่องของโดรน”
การใช้ระบบอาวุธราคาถูกและไม่มีนักบินทำการโจมตี ทั้งยูเครนและอิสราเอล ได้ทำให้เกิดต้นทุนที่ไม่สมดุลกับฝ่ายตรงกันข้าม
ยูเครนกล่าวว่าทำลายเครื่องบินรัสเซียกว่า 40 ลำ เป็นเครื่องบินทิ้งระเบิด 11 ลำ เครื่องบินทิ้งละเบิดระยะไกลของรัสเซีย มีราคาลำละ 270 ล้านดอลลาร์ ส่วนต้นทุนโดรนของยูเครนอยู่ที่ลำละ 600-1,000 ดอลลาร์
รวมปฏิบัติการของยูเครน Operation Spider’s Web มีค่าใช้จ่ายทั้งหมดประมาณ 117,000 ดอลลาร์ ขณะที่ Javelin จรวดต่อต้านรถถังที่สหรัฐฯ ช่วยยูเครน มีราคาลูกละ 200,000 ดอลลาร์
อาวุธจำนวนมากที่แม่นยำอย่างโดรน ไม่เพียงแต่มีราคาถูกกว่าอาวุธแบบดั้งเดิม ยังสามารถผลิตขึ้นมาได้อย่างรวดเร็ว ทุกวันนี้ ในปีหนึ่ง ยูเครนสามารถผลิตโดรนขึ้นมาได้หลายล้านลำ แต่รัสเซียต้องใช้เวลาหลายปี ที่จะผลิตเครื่องบินรบขึ้นมา
ช่องว่างการสร้างอาวุธมาชดเชยที่เสียไปนี้ สามารถเป็นปัจจัยที่กำหนดผลลัพธ์ของสงครามที่ยืดเยื้อ ระหว่างฝ่ายหนึ่งที่ลงทุนมากในอาวุธราคาแพง และยากที่จะผลิตมาชดเชย กับอีกฝ่าย ที่สามารถผลิตอาวุธที่เป็นแบบปริมาณมาก และมีความแม่นยำในการทำลาย อย่างโดรน
ติดตามอ่านเนื้อหาฉบับเต็มที่ช่อง [คอมเมนต์]
ที่มาภาพ : RAND
รายงานโดย: ปรีดี บุญซื่อ
#สงครามกองโจรของยานยนต์ #ปฏิบัติการโดรน #สงคราอิสราเอล #ยูเครน #ไทยพับลิก้า

‘ออมสิน’ พร้อมเชื่อมฟันเฟืองเล็กๆ ต่อจิ๊กซอว์ บรรเทาปัญหาเชิงโครงสร้าง ด้วย ‘Creating Shared Value’ | คนในข่าว | ที่ผ่าน...
14/07/2025

‘ออมสิน’ พร้อมเชื่อมฟันเฟืองเล็กๆ ต่อจิ๊กซอว์ บรรเทาปัญหาเชิงโครงสร้าง ด้วย ‘Creating Shared Value’
| คนในข่าว | ที่ผ่านมาประเทศไทยใช้ “ทุน” ทั้งที่เป็นธรรมชาติและที่สร้างขึ้นมาอย่างฟุ่มเฟือย จน “ทุน” ที่ดีร่อยหรอ ขีดความสามารถในการแข่งขัน ศักยภาพของประเทศลดลงไปเรื่อยๆ จึงมีคำถามว่า ถ้าประเทศไทยต้องรอด เราจะร่วมกันฟื้นฟูอย่างไร
‘นายวิทัย รัตนากร’ ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน มองสถานการณ์ประเทศไทยว่า ถ้าพูดถึงสถานการณ์เศรษฐกิจของไทย ตอนนี้ที่คุยกันปลายเดือนมิถุนายน 2568 มีความผันผวน มีความไม่ชัดเจนมาก ๆ ในหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องภาษีของอเมริกาซึ่งการเจรจายังไม่สิ้นสุด ไม่ชัดเจนว่าผลการเจรจาภาษีของไทยเรื่องจะเป็นยังไง ซึ่งมีผลต่อการส่งออกของเราทั้งหมด
ขณะที่สงครามในตะวันออกกลางดูเหมือนจะดีขึ้น แต่ว่ามีปัจจัยที่ยังไม่จบ ไม่ชัดเจน รวมถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจไทย พี่งพาหลักๆ อยู่สองตัวมาตลอด 2-3 ปีที่ผ่านมา ก็คือการส่งออกกับการท่องเที่ยว
ท่ามกลางสงครามการค้าจะจบยังไง เพราะฉะนั้นการส่งออกคงพึ่งไม่ได้มากนัก ส่วนการท่องเที่ยวที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจเป็นหลักของเรา ในช่วงที่ผ่านมานักท่องเที่ยวเราเพิ่มจาก 11 ล้านคน เป็น 28 ล้านคน เป็น 35 ล้านคน ปีนี้กังวลว่าน่าจะเป็นตัวที่ไม่ถึง 35 ล้านคน น่าจะเป็นตัวติดลบ GDP คงจะมีผลกระทบแน่นอน
“เรากังวลเรื่องเศรษฐกิจจะชะลอตัวไปยาว ๆ ซึ่งชะลอตัวมาต่อเนื่อง เราเติบโตต่ำกว่าศักยภาพ แล้วศักยภาพเราก็ต่ำลงมาเรื่อยๆ อันนี้เป็นเรื่องจริง เราเคยเติบโต 5% สบายๆ 3% เราก็งง ๆ หน่อย ตอนนี้เราพูดถึงต่ำกว่า 2% ปีนี้จะ 1% (1.7-1.8%) มันต่ำลงมาเรื่อยๆ ต่ำกว่าศักยภาพของเราลงมาเรื่อยๆ”
เพราะฉะนั้น ผมคิดว่าต้องมีอะไรเปลี่ยน ถ้าอยู่เหมือนเดิม กระตุ้นด้วยการลดดอกเบี้ยนิดหนึ่ง เหมือนเดิม นโยบายการคลังอัดเงินเข้าไป จนกระทั่งตัวหนี้ต่อ GDP หนี้สาธารณะมัน 64% ปีหน้าน่าจะ 67-68% จะตันที่ 70% แล้ว ต้องแก้ไข ต้องรีบเปลี่ยน
ติดตามอ่านบทสัมภาษณ์ “คนในข่าว” ฉบับเต็ม ที่ช่อง [คอมเมนต์]
#วิทัยรัตนากร #คนในข่าว #ประเทศไทยต้องรอด #ไทยพับลิก้า

เปิดทริค! สมัคร ‘สินเชื่อสร้างเครดิต สร้างโอกาส’ จากธนาคารออมสิน ดอกเบี้ยหมื่นละ 60 บาท/เดือนวงเงินสูงสุด 20,000 บาท สนใ...
14/07/2025

เปิดทริค! สมัคร ‘สินเชื่อสร้างเครดิต สร้างโอกาส’ จากธนาคารออมสิน ดอกเบี้ยหมื่นละ 60 บาท/เดือน
วงเงินสูงสุด 20,000 บาท สนใจคลิก >> https://to.gsb.or.th/CQKUKa9

สมัครได้เลยผ่าน MyMo ตั้งแต่วันที่ 14 มีนาคม 2568 - 31 ธันวาคม 2568 หรือจนกว่าจะครบวงเงินโครงการ หรืออย่างใดอย่างหนึ่งถึงก่อน

⚠️ รู้ก่อนกู้ .. กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว
#สินเชื่อสร้างเครดิตสร้างโอกาส
#เป็นลูกค้าเราเท่ากับช่วยสังคม

ฝากสลากออมสิน 2 ปี ลุ้นรางวัลที่ 1 มูลค่า 30 ล้านบาท ฝากร่วมกับสลากออมสิน 1 ปี ลุ้นสองต่อ รางวัลที่ 1 มูลค่า 10 ล้าน...

ระบบธรรมาภิบาลวัด จะสร้างได้อย่างไร?| เกาะกระแส | 10 กว่าปีที่ผ่านมา มีกรณียักยอกเงินวัดจนกลายเป็นคดีดังอยู่หลายคดี เกิด...
14/07/2025

ระบบธรรมาภิบาลวัด จะสร้างได้อย่างไร?
| เกาะกระแส | 10 กว่าปีที่ผ่านมา มีกรณียักยอกเงินวัดจนกลายเป็นคดีดังอยู่หลายคดี เกิดเป็นวิกฤติความศรัทธา มีผลกระทบกับจิตใจคนไทยจำนวนมาก คำถามก็คือเราจะช่วยกันสร้างระบบให้วัดมีการบริหารจัดการที่ดี มีธรรมาภิบาลได้อย่างไร เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้เรื่องเหล่านี้เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า
ในเวทีเสวนาเรื่อง “ระบบธรรมาภิบาลวัด : จะสร้างได้อย่างไร?” ที่ได้มีการระดมความคิด วิเคราะห์ปัญหา และช่วยกันหาแนวทางคำตอบอย่างเป็นรูปธรรม “รศ.ดร.ณดา จันทร์สม” ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาพัฒนาการเศรษฐกิจ คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ฉายภาพว่าจากการศึกษาเรื่อง “การบริหารการเงินของวัดในประเทศไทย” เมื่อปี 2555 วัดมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 เป็นองค์กรไม่แสวงหากำไรประเภทองค์กรทางศาสนา และมีเจ้าอาวาสเป็นผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลความเรียบร้อยต่าง ๆ ภายในวัด แต่ก็ยังมีโครงสร้างการบริหารที่ไม่สอดคล้องกับหลักธรรมาภิบาล
ล่าสุดจากการทำวิจัยเกี่ยวกับเรื่องบัญชีวัดโดยตรง พบว่า สำนักพระพุทธฯ มีความพยายามที่จะทำเรื่องบัญชีวัดให้มีมาตรฐาน โดยมีการออกคู่มือมาตรฐานบัญชีวัดมาใช้กับวัดนำร่องตั้งแต่ปี 2561 ซึ่งมีวัดเริ่มใช้บัญชีนี้แล้วจำนวน 16 วัด แต่จากการติดตามหลังจากนั้น ยังไม่เห็นเรื่องของการประเมินผล หรือการขยายผลจากคู่มือดังกล่าว
“นับตั้งแต่ทำวิจัย 10 กว่าปีที่ผ่านมา ระหว่างทางเกิดกรณีที่เป็นข่าวดังอยู่ประมาณ 7-8 กรณี ซึ่งเราตั้งคำถามทุกครั้งว่าทำไมเรื่องนี้ถึงยังไม่ได้รับการเปลี่ยนแปลงสักที เป็นคำถามที่ผู้วิจัยและภาคสังคมตั้งคำถามมาตลอดว่ามันเกิดอะไรขึ้นและจะแก้ไขได้อย่างไร”
ปัจจุบันมีข้อมูลรายงานทางการเงินของวัดเข้าไปที่สำนักงานพระพุทธฯ มากกว่า 20,000 แห่ง ตั้งแต่มีคำสั่งของมหาเถรสมาคม ส่วนหนึ่งที่จะทำให้ความโปร่งใสและการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการวัดเกิดขึ้นได้ การเปิดเผยข้อมูลเป็นเรื่องสำคัญ
“คำถามคือข้อมูลที่สำนักงานพระพุทธฯ มีอยู่ ถูกจัดเก็บไปอย่างไร เก็บไปแล้วนำไปทำประโยชน์อะไรบ้าง เพราะในการทำวิจัย เราต้องมานั่งขุดกันพอสมควร กว่าจะได้ข้อมูลหรือคำตอบว่ามีจำนวนวัดกี่แห่งที่ทำรายงานทางการเงิน เพราะเชื่อว่าข้อมูลที่ได้ น่าจะนำไปทำประโยชน์ได้มากกว่าที่เราคิด” ดร.ณดา กล่าว
ขณะที่ “ดร.บัณฑิต นิจถาวร” ประธานกรรมการ มูลนิธินโยบายสาธารณะเพื่อสังคมและธรรมาภิบาล เล่าว่า มูลนิธิฯ ได้จัดทำโครงการ “การบริหารวัดในพุทธศาสนาตามหลักธรรมาภิบาล” ร่วมกับ สวนโมกข์กรุงเทพ สนับสนุนโดยกองทุนรวมธรรมาภิบาลไทย เพื่อวางระบบการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลให้กับวัด ซึ่งปัจจุบันมี 16 วัดนำร่องทั่วประเทศ สมัครใจเข้าร่วมโครงการ
หลักธรรมาภิบาลของวัดที่มูลนิธิฯ ทำการศึกษา พบว่ามีอยู่ 3 เรื่องที่สำคัญ คือ 1.พระธรรมวินัย 2.พ.ร.บ.สงฆ์ 3.การตัดสินใจเป็นหมู่คณะ ซึ่งเป็นคุณค่าของสังคมสงฆ์มาตั้งแต่ยุคโบราณ ที่จะให้มี check and balance ในการตัดสินใจ จึงมีการโปรโมทไอเดียของการตัดสินใจเป็นหมู่คณะ
แต่นอกจากนั้น หากมาดูในยุคปัจจุบัน value ของ good governance ที่ทุกคนอยากจะเห็น ก็มีเรื่องที่จะต้องให้ความสำคัญ ไม่ได้ยึดเรื่องที่เป็นของสงฆ์อย่างเดียว อันหนึ่งที่มูลนิธิฯ คิดว่าสำคัญมากๆ สำหรับสถานการณ์ปัจจุบันในเรื่อง good governance คือ ความโปร่งใส อันที่สองคือ การทำงานอย่างเป็นระบบและมีมาตรฐาน และอันที่สามก็คือ การตรวจสอบจากภายนอก
ติดตามอ่านเนื้อหาฉบับเต็มในช่อง [คอมเมนต์]
#ยักยอกเงินวัด #ระบบธรรมาภิบาลวัด #การบริหารการเงินวัด #ไทยพับลิก้า

EIC วิเคราะห์การเจรจาสหรัฐฯ ที่ยังไม่ลุล่วงกับเส้นตาย 1 ส.ค. นี้ : นัยต่อไทย| Research Reports | SCB EIC มองภาษีตอบโต้ขอ...
14/07/2025

EIC วิเคราะห์การเจรจาสหรัฐฯ ที่ยังไม่ลุล่วงกับเส้นตาย 1 ส.ค. นี้ : นัยต่อไทย
| Research Reports | SCB EIC มองภาษีตอบโต้ของสหรัฐฯ ล่าสุดที่ไทยอาจโดนเก็บสูงกว่าคู่แข่งสำคัญ เป็นความเสี่ยงเพิ่มเติมต่อเศรษฐกิจไทยใน 5 ประเด็นสำคัญ
1) สินค้าส่งออกสำคัญของไทยอาจเผชิญความเสี่ยง จากการสูญเสียส่วนแบ่งตลาดในสหรัฐฯ ให้คู่แข่งซึ่งคู่แข่งหลักของไทยเกือบทั้งหมดถูกสหรัฐฯ เก็บภาษีตอบโต้ในอัตราต่ำกว่า (ณ อัตราล่าสุด) โดยเฉพาะกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ไทยอาจต้องสูญเสียส่วนแบ่งตลาดให้คู่แข่งสำคัญในอาเซียน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ อีกทั้งไทยยังอาจเผชิญความเสี่ยงจากการถูกเก็บภาษีสวมสิทธิ เช่นเดียวกับเวียดนาม ซึ่งจะยิ่งเพิ่มต้นทุนการค้า และอาจเผชิญกับมาตรการตรวจสอบแหล่งกำเนิดสินค้าที่เข้มงวดขึ้น
2) หากไทยเจรจายอมเปิดตลาดเสรีให้สินค้าสหรัฐฯ โดยไม่มีเงื่อนไข (กรณีแย่ที่สุด) อุตสาหกรรมเกษตรและปศุสัตว์ โดยเฉพาะสุกร ไก่เนื้อ และข้าวโพด นับว่ามีความอ่อนไหวสูง เพราะต้นทุนการผลิตของไทยสูงกว่าสหรัฐฯ ค่อนข้างมาก (แม้จะรวมค่าขนส่งมาไทยแล้ว) ที่สำคัญไทยยังพึ่งพาผลผลิตในประเทศเป็นหลัก และผู้ผลิตส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรายย่อย หากรัฐบาลยอมเปิดตลาดกลุ่มสินค้าเหล่านี้เพื่อแลกกับการลดภาษีตอบโต้ ผู้บริโภคในประเทศอาจได้ประโยชน์จากราคาสินค้าที่ถูกลง แต่ก็อาจเผชิญความเสี่ยงความมั่นคงทางอาหารเพิ่มขึ้น
3) อุปสงค์ในประเทศจะยิ่งแผ่วลงในครึ่งหลังของปี อาจเห็นการลงทุนภาคเอกชนหดตัว และการบริโภคจะชะลอตัวแรงขึ้นโดยเฉพาะไตรมาส 4 แผนการลงทุนอาจชะลอออกไป ผลจากความไม่แน่นอนของนโยบายภาษีนำเข้าสหรัฐฯ และอัตราภาษีตอบโต้ที่สหรัฐฯ เก็บไทยที่อาจสูงกว่าประเทศคู่แข่ง โดยเฉพาะหากคู่แข่งสำคัญถูกตั้งกำแพงภาษีสหรัฐฯ ต่ำกว่า การลงทุนจากต่างประเทศอาจถูกดึงดูดไปประเทศคู่แข่งแทนได้ และการที่สหรัฐฯ-จีนมีข้อตกลงเก็บภาษีตอบโต้ในอัตราต่ำลงมากจากที่เคยสูงกว่า 100% ในช่วง 1-2 เดือนก่อนอาจทำให้ปัจจัยดึงดูดให้เกิดการย้ายฐานการผลิตจากจีนมาส่งออกจากไทยไม่มากเช่นเดิม
4) โอกาสมากขึ้นที่จะเห็น กนง. ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก 2 ครั้งในปีนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับแนวโน้มเศรษฐกิจในระยะข้างหน้าที่จะแย่ลงกว่าที่ กนง. เคยประเมินไว้ แต่หากการเจรจาสหรัฐฯ ไม่ประสบความสำเร็จ เศรษฐกิจไทยจะยิ่งเผชิญความเสี่ยงด้านต่ำสูงขึ้น อาจมีโอกาสเห็น กนง. ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงมากกว่า 2 ครั้งในปีนี้
5) ภาครัฐควรประเมินผลดีและผลเสียของการเปิดตลาดสินค้าให้สหรัฐฯ ให้ถี่ถ้วนรอบด้าน การเจรจาขอลดภาษีต้องคำนึงถึงความสมดุลเป็นหลัก ทั้งประโยชน์ที่จะได้รับจากอัตราภาษีตอบโต้ที่ลดลง และผลกระทบต่อผู้ประกอบการไทยที่จะได้รับจากสินค้าภายนอกประเทศที่เข้ามาแข่งขันได้ง่ายขึ้น ซึ่งอาจพิจารณาเปิดตลาดสินค้าบางรายการแบบมีเงื่อนไข โดยไม่ใช่การเปิดตลาดแบบเสรี พร้อมเตรียมเยียวยาผู้ประกอบการที่อาจได้รับผลกระทบ รวมถึงการให้สภาพคล่องระยะสั้น การหาตลาดใหม่ และการเร่งยกระดับขีดความสามารถของผู้ผลิตในประเทศให้สามารถแข่งขันได้
ติดตามอ่านบทวิเคราะห์ฉบับเต็มที่ช่อง [ คอมเมนต์ ]
#ภาษีศุลกากรสหรัฐ #ภาษีตอบโต้ #ไทยพับลิก้า

ไต่สวน ‘คดีชั้น 14’ นัดที่ 3 ศาลซักละเอียด ‘ผู้คุม’ 9 ปาก เคลื่อนย้าย ‘ทักษิณ’ จากเรือนจำถึง รพ.ตำรวจ| เกาะกระแส | เมื่อ...
14/07/2025

ไต่สวน ‘คดีชั้น 14’ นัดที่ 3 ศาลซักละเอียด ‘ผู้คุม’ 9 ปาก เคลื่อนย้าย ‘ทักษิณ’ จากเรือนจำถึง รพ.ตำรวจ
| เกาะกระแส | เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2568 ศาลฎีกา แผนคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ไต่สวนการบังคับโทษคดีถึงที่สุดของ ‘นายทักษิณ ชินวัตร’ อดีตนายกรัฐมนตรี นัดที่ 3 โดยไต่สวนกลุ่มเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ทั้งหมด 9 ราย แบ่งเป็นกลุ่มเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ที่ทำหน้าที่ควบคุมตัวนายทักษิณ นำส่งโรงพยาบาลตำรวจในคืนวันที่ 22 สิงหาคม 2566 รวม 5 ราย และกลุ่มเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ที่ไปปฏิบัติหน้าที่ควบคุมตัวนายทักษิณ พักรักษาตัวอยู่ที่ชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจ ตั้งแต่วันที่ 22 สิงหาคม 2566 – วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2567 อีก 4 ราย
ภายหลังศาลฎีกาฯสอบปากคำเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ทั้ง 9 รายเสร็จเรียบร้อย ‘นายวิญญัติ ชาติมนตรี’ ทนายความของนายทักษิณ ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่า ได้ยื่นคำร้องต่อศาลมาแล้ว 2 ครั้ง โดยขอให้ศาลออกข้อกำหนดในการพิจารณาไต่สวนคดีเป็นวาระลับ หรือจำกัดจำนวนผู้เข้าฟังการไต่สวน และห้ามนำคำเบิกความไปเผยแพร่ เนื่องจากมีผู้เข้าฟังบางรายการนำข้อเท็จจริง หรือคำเบิกความไปเผยแพร่ต่อสาธารณะ นำไปวิเคราะห์สรุปประเด็นการซักถามว่าศาลถามเรื่องอะไร แสดงอากัปกิริยาอาการอย่างไร อาจทำให้สังคมเกิดความสับสนได้
“ปรากฏว่าศาลเห็นว่ายังไม่มีเหตุจำเป็นที่ต้องออกข้อกำหนดในการพิจารณาไต่สวนคดีเป็นวาระลับตามที่ร้องขอ ซึ่งผมก็น้อมรับคำสั่งศาล และขอขอบคุณศาลที่ได้กำชับประเด็นที่ร้องขอ โดยมีคำสั่งให้คู่ความและผู้เข้าฟังการพิจารณาคดีปฏิบัติตามคำสั่งศาลอย่างเคร่งครัด โดยห้ามเผยแพร่คำเบิกความ” นายวิญญัติ กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่ากรณียื่นคำร้องต่อศาลฎีกา ฯ ขอให้ศาลออกข้อกำหนดพิจารณาไต่สวนเป็นวาระลับนั้น นายทักษิณกำชับมาหรือไม่
นายวิญญัติ ตอบว่า “ไม่ใช่ครับ คุณทักษิณไม่ได้กังวลอะไรอย่างนั้น ผมในฐานะคนที่ทำงานอยู่หน้างาน ต้องประเมินว่าอะไรเป็นอะไร ประเมินบรรยากาศในห้องพิจารณาคดีว่าเป็นอย่างไร รวมทั้งดูว่าหลังจากนั้นแล้วมีฟีดแบ็ก หรือ มีผลอะไรตามมาหรือไม่ ผมก็เป็นคนหนึ่งที่ช่วยศาลตรวจสอบ และศาลเองก็มีเจ้าพนักงานตรวจด้วย ส่วนเรื่องการออกข้อกำหนดนั้น ก็เป็นดุลยพินิจของศาล ท่านเห็นอย่างไร ผมก็ต้องน้อมรับ“
ติดตามอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม..ข่าวและบทความที่เกี่ยวข้องที่ช่อง [คอมเมนต์]
#คดีชั้น14 #ทักษิณชินวัตร #วิญญัติชาติมนตรี #ศาลฎีกา #ไทยพับลิก้า

รายงาน UNESCO เผยการลงทุนกับการศึกษาในระดับประเทศ และระดับนานาชาติกำลังลดลง| Sustainability | ข้อมูลประมาณการเมื่อเร็ว ๆ...
14/07/2025

รายงาน UNESCO เผยการลงทุนกับการศึกษาในระดับประเทศ และระดับนานาชาติกำลังลดลง
| Sustainability | ข้อมูลประมาณการเมื่อเร็ว ๆ นี้ ขององค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก:UNESCO) ชี้ว่า ปัจจุบันมีเด็กและเยาวชนที่อยู่นอกระบบการศึกษาทั่วโลกจำนวน 272 ล้านคน ซึ่งในจำนวนนี้ 18 ล้านคน อาศัยอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
รายงานฉบับนี้กล่าวถึงความท้าทายของภาคการศึกษา รวมถึงการขาดการลงทุนอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในประเทศที่มีรายได้น้อย และความจำเป็นในการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เช่น การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพื่อการเปลี่ยนแปลง
การลงทุนกับการศึกษาในระดับประเทศและระดับนานาชาติกำลังลดลง

▪️ การใช้จ่ายด้านการศึกษาของภาครัฐทั่วโลกลดลง 0.4 จุดร้อยละของจีดีพี ระหว่าง ค.ศ. 2015 และ ค.ศ. 2022 ระดับมัธยฐานลดจากร้อยละ 4.4 เป็นร้อยละ 4

▪️ สัดส่วนของการศึกษาในการใช้จ่ายของภาครัฐโดยรวมลดลง 0.6 จุุดร้อยละจากร้อยละ 13.2 ใน ค.ศ. 2015 เป็นร้อยละ12.6 ใน ค.ศ. 2022
ติดตามอ่านรายละเอียดฉบับเต็มที่ช่อง [คอมเมนต์]
#การลงทุนด้านการศึกษา #ยูเนสโก #ไทยพับลิก้า

พลังมหาสมุทรคือความหวังใหม่ ทรงพลังจนอาจเทียบชั้นพลังงานนิวเคลียร์| Sustainability | มหาสมุทรไม่ได้เป็นเพียงแหล่งกำเนิดอ...
13/07/2025

พลังมหาสมุทรคือความหวังใหม่ ทรงพลังจนอาจเทียบชั้นพลังงานนิวเคลียร์
| Sustainability | มหาสมุทรไม่ได้เป็นเพียงแหล่งกำเนิดอาหารที่สำคัญของมนุษย์ แต่ยังกักเก็บพลังงานในรูปแบบต่าง ๆ ไว้อย่างมหาศาล
พลังงานมหาสมุทรกลายเป็นอีกหนึ่งในความหวังสำคัญของพลังงานสะอาด ที่ปราศจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังเชื่อกันว่าหากพัฒนาจนถึงจุดสูงสุด พลังงานจากมหาสมุทรอาจมีศักยภาพเทียบเท่าพลังงานนิวเคลียร์ได้เลยทีเดียว
คลื่นในมหาสมุทรถูกจับตามองในฐานะแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่มีศักยภาพมหาศาลมานานแล้ว มนุษย์ศึกษาหาวิธีเปลี่ยนคลื่นและกระแสน้ำในมหาสมุทรให้กลายเป็นพลังงานทดแทนมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 แต่ก็มีชะตากรรมเช่นเดียวกับพลังงานทดแทนอื่น ๆ ที่ไม่ได้รับความสำคัญมากนัก เพราะการใช้พลังงานฟอสซิลนั้นสะดวกกว่ามาก
จนกระทั่งเกิดวิกฤติราคาน้ำมันในปี 1973 การวิจัยเกี่ยวกับพลังงานทางเลือกจึงทวีความเข้มข้นและจริงจังขึ้น ซึ่งรวมถึงพลังงานมหาสมุทรด้วย
ความน่าสนใจของพลังงานคลื่นก็คือความสม่ำเสมอ และความสามารถที่จะพยากรณ์การก่อเกิด ได้ค่อนข้างแม่นยำกว่าพลังงานทดแทนชนิดอื่น เช่น พลังงานลมและพลังแสงอาทิตย์
นอกจากนั้น ในเมื่อคลื่นสามารถเดินทางได้ไกลหลายพันกิโลเมตรจากแหล่งกำเนิด จึงทำให้พื้นที่ชายฝั่งยังคงมีคลื่นอยู่เสมอแม้จะเป็นวันที่ลมสงบก็ตาม
บทความในนิตยสาร Forbes ระบุว่า ในทางทฤษฎีนั้น พลังงานคลื่นสามารถผลิตไฟฟ้าได้มากกว่า 29,500 เทราวัตต์ชั่วโมงต่อปี ซึ่งเทียบเท่ากับปริมาณการใช้ไฟฟ้าทั่วโลก
ห้องปฏิบัติการพลังงานหมุนเวียนแห่งชาติ กระทรวงพลังงานสหรัฐฯ ประเมินว่า พลังงานคลื่นสามารถผลิตไฟฟ้าได้ 66% ของความต้องการไฟฟ้าของสหรัฐอเมริกา หรือประมาณ 1,400 เทราวัตต์ชั่วโมงต่อปี ซึ่งเพียงพอต่อการจ่ายพลังงานให้กับบ้านเรือนประมาณ 130 ล้านหลัง เลยทีเดียว
ติดตามอ่านเนื้อหาฉบับเต็มที่ช่อง [คอมเมนต์]
ที่มาภาพ: Offshore magazine
รายงานโดย: สุนิสา กาญจนกุล
#พลังงานมหาสมุทร #พลังงานหมุนเวียน #พลังงานสะอาด #ไทยพับลิก้า

ที่อยู่

Phra Nakhon

เบอร์โทรศัพท์

+6629706998

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ ThaiPublicaผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ ธุรกิจของเรา

ส่งข้อความของคุณถึง ThaiPublica:

แชร์

Our Story

สำนักข่าวออนไลน์ไทยพับลิก้า ThaiPublica.org ก่อตั้งในเดือนกันยายน 2554 นำเสนอข่าวสืบสวนสอบสวน เน้นประเด็นตรวจสอบความโปร่งใสภาครัฐ ความโปร่งใสภาคเอกชน และการพัฒนาที่ยั่งยืน ดำเนินงานโดยทีมงานนักข่าวอาชีพที่มีประสบการณ์ในวงการรวมกันกว่า 60 ปี ไทยพับลิก้ามุ่งหวังที่จะใช้อินเทอร์เน็ตเป็นทั้งพื้นที่ในการนำเสนอข่าวและแลกเปลี่ยนกับผู้อ่าน และเป็นเครื่องมือในการทำงาน โดยเชื่อมั่นในพลังของสื่อใหม่ว่า การใช้อินเทอร์เน็ตเป็นพื้นที่และเครื่องมือจะช่วยดำรงความเป็นอิสระของกองบรรณาธิการ ก้าวข้ามข้อจำกัดของสื่อกระแสหลัก และสร้างความแตกต่างให้กับสำนักข่าวไทยพับลิก้า ทั้งในแง่ของการนำเสนอข่าวเชิงลึก และการนำเสนอข้อมูลที่ซับซ้อนอย่างเข้าใจง่าย เราเชื่อมั่นว่า การนำ "ความเร็ว" ของพลังสังคมและข้อมูลข่าวสารในโลกออนไลน์ มาผสานกับ "ประสิทธิภาพ" ของเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตในการเชื่อมโยงและนำเสนอข้อมูล ผนวกกับ "ความลึก" ของนักข่าวมืออาชีพมากประสบการณ์ จะเปิดมิติใหม่ให้แก่วงการสื่อสารมวลชนไทย ไทยพับลิก้าภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของมิตินี้ บรรณาธิการบริหาร บุญลาภ ภูสุวรรณ กองบรรณาธิการไทยพับลิก้า กมล ชวาลวิทย์ ผู้สื่อข่าวอาวุโส อโนทัย จันทร์ดี ผู้สื่อข่าวอาวุโส จิรัฐิติ ขันติพะโล ผู้สื่อข่าว เอมปวีณ์ วัชระตระการพงศ์ ผู้สื่อข่าว กัลย์สุดา ปานอ่อน เลขานุการกองบรรณาธิการ คณะบรรณาธิการ ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา บรรณาธิการบริหารสำนักพิมพ์ openbooks และพิธีกร บุญลาภ ภูสุวรรณ อดีตบรรณาธิการบริหาร หนังสือพิมพ์ ประชาชาติธุรกิจ ปกป้อง จันวิทย์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สฤณี อาชวานันทกุล นักเขียนอิสระ และบล็อกเกอร์ สนิทสุดา เอกชัย ผู้ช่วยบรรณาธิการ หนังสือพิมพ์ Bangkok Post คณะกรรมการที่ปรึกษา คุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม กรรมการ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) บรรยง พงษ์พานิช ประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำกัด (มหาชน) พงษ์ศักดิ์ พยัฆวิเชียร ผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ อธิการบดี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ธาริษา วัฒนเกส อดีตผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย รตยา จันทรเทียร ประธาน มูลนิธิสืบ นาคะเสถียร พันธมิตรออนไลน์ เครือข่ายพลเมืองเน็ต - http://www.thainetizen.org/ ประชาไท - http://www.prachatai.com/ ประสงค์ดอทคอม - http://www.prasong.com/ สำนักข่าวอิศรา - http://www.isranews.org/ ศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง (TCIJ) - http://www.tcijthai.com/ โอเพ่นออนไลน์ - http://www.onopen.com/ ไอลอว์ (iLaw) - http://www.ilaw.or.th/