
24/07/2025
ทีมวิจัย ม.เทคโนโลยีเกาสง พลิกโฉมวงการปศุสัตว์❗ พัฒนาระบบเพาะเลี้ยง “สาหร่ายทะเลสีแดง” บนบกสำเร็จ ผลิตสารธรรมชาติ “โบรโมฟอร์ม” ได้สูงกว่ามาตรฐานสากลถึง 2 เท่า ช่วยยับยั้งแบคทีเรียในกระเพาะสัตว์เคี้ยวเอื้อง ลดการปล่อยมีเทนจากวัวอย่างมีประสิทธิภาพ👉 นอกจากนี้ งานวิจัยนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Science of The Total Environment ถือเป็นก้าวสำคัญของไต้หวันสู่การเลี้ยงสัตว์อย่างยั่งยืนและลดคาร์บอน 🎉 💪🌏
👉สาหร่ายทะเลสีแดง หรือในภาษาจีนเรียกว่า “ไห่เหมินตง” (海門冬) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Asparagopsis taxiformis เป็นสาหร่ายในกลุ่ม สาหร่ายแดง (Red algae) พบได้ในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน ซึ่งจุดเด่นของสาหร่ายชนิดนี้คือ มีสารธรรมชาติชื่อ โบรโมฟอร์ม (Bromoform) ซึ่งสามารถยับยั้งจุลินทรีย์ในกระเพาะวัวที่ก่อให้เกิดก๊าซมีเทน จึงมีแนวคิดนำมาเป็นส่วนผสมในอาหารสัตว์ เพื่อลดการปล่อยก๊าซมีเทนจากปศุสัตว์
👉การเลี้ยงปศุสัตว์ เป็นหนึ่งในกิจกรรมที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับสูง เนื่องจากต้องใช้ทรัพยากรธรรมชาติจำนวนมาก ตั้งแต่การปลูกพืชอาหารสัตว์ไปจนถึงการเลี้ยงให้เติบโต โดยเฉพาะสัตว์เคี้ยวเอื้องอย่างวัว ซึ่งต้องพึ่งแบคทีเรียในลำไส้ช่วยย่อยอาหาร กระบวนการนี้จะสร้าง ก๊าซมีเทน ขึ้นภายในลำไส้ และถูกปล่อยออกมาทางการเรอหรือผายลม
👉ล่าสุด ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเกาสง ไต้หวัน พัฒนาเทคนิคเพาะเลี้ยงสาหร่ายสีแดงชนิดนี้ได้สำเร็จ โดยควบคุมสภาพแวดล้อมอย่างแม่นยำ ทำให้ได้สารโบรโมฟอร์มในปริมาณสูงกว่ามาตรฐานสากลถึง 2 เท่า นอกจากนี้ กระบวนการผลิตมีความเสถียร ลดการพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ และพร้อมต่อยอดสู่การผลิตในระดับเชิงพาณิชย์
👉รายละเอียด คลิกภาพอ่านต่อได้เลยครับ ⬇️⬇️
ทีมนักวิจัย ม.เทคโนโลยีเกาสง พัฒนา “สาหร่ายทะเลสีแ...